โครงการส่งเสริมความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการสุขภาพเด็กและเยาวชน อำเภอศรีนครินทร์

5.2 จัดประชุมคณะทางานขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัวด้วยภูมิปัญญาสุขภาพ4 กรกฎาคม 2566
4
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Ex220230
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญสมาชิกภาคีเครือข่ายคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัวด้วยภูมิปัญญาสุขภาพ เข้าร่วมประชุมหารือ วางแผน และติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมจัดกประชุมวางแผนและคัดเลือกภูมิปัญญาการจัดการสุขภาพชุมชนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน ผลการประชุมดังนี้
1. ภูมิปัญญาที่คัดเลือก คือ 1) แกงเลียงขี้เหล็ก 2) ตำรับยาพอกเข่า 3) การนวดตนเอง 4) พืชสมุนไพรหมากหมก 5) แกงเลียงหัวปลี 6)แกงคั่วหน่อกระทือ 2. รูปแบบการประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญา นำข้อมูลภูมิปัญญาที่ได้นำไปออกแบบเป็นสื่อโปสเตอร์ และนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ในสถานที่สำคัญในพื้นที่ชุมชน เช่น วัด โรงเรียน แหล่งเรียนรู้ เป็นต้น


กิจกรรมจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัวด้วยภูมิปัญญาสุขภาพ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 12 คน มีผลการประชุม ดังนี้
1. ประเด็นติดตามการดำเนินงาน มีมติการเริ่มการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนในช่วงเดือน มิถุนายน หลังจากโรงเรียนเสร็จสิ้นภารกิจกีฬาสีของโรงเรียน
2. ดำเนินการคัดเลือกและมอบหมายหมอพื้นบ้านในการจัดหาและเพาะพันธ์กล้าพืชสมุนไพร เพื่อนำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมุนไพรในพื้นที่โรงเรียน 3. ติดตามการดำเนินการประเมินความรู้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียนบ้านนา และโรงเรียนบ้านนาวง 4. มอบหมายและแลกเปลี่ยนความเห็นการเตรียมพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรในพื้นที่โรงเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน 5. ถอดบทเรียนการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญ คือ 1) การปรับแผนการทำงาน จะต้องมีการปรับแผนให้สอดคล้องกับตารางกิจกรรมของโณงเรียนเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมของโครงการได้
2) ระหว่างการรอจังหวะเวลาการจัดกิจกรรมให้คณะทำงานจัดเตรียมข้อมูลวิชาการ คู่มือ หรือสื่อสุขภาพให้พร้อม 3) มุ้งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงานในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง