โครงการเสริมสร้างวัคซีนชีวิตแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวในยุควิถีชีวิตใหม่ ตำบลชัยบุรี

รับการประเมินโครงการ จากสำนักวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก สสส.โดย ดร.สัญชัย รัตนขวัญ1 พฤศจิกายน 2566
1
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 1 พย.2566 เวลา 13.30 น.
คณะทำงานชมรมจิตตปัญญา ร่วมต้อนรับ ดร.สัญชัย รัตนขวัญ เจ้าหน้าที่ประเมินจากแนงานร่วมทุน ซึ่งมาจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กรุงเทพ เข้าพื้นที่เพื่อประเมินโครงการ โดยเมตตาจากพระครูสิทธิการโสภณ (ผ่อง ฐานุตตฺโม) ประธานที่ปรึกษาชมรมชมจิตตปัญญา มีเมตตาร่วมต้อนรับ นำชมสถานที่ทำงานชมรมจิตตปัญญา วัดโดนโสภณะปัญหาวิหาร หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้และฐานกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและครอบครัว ฐานจิตใจ และจิตตวิญญาณ  ร่วมตอบข้อซักถามความสำเร็จของโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ประเมิน สอบถามความสำเร็จของโครงการ ท่านให้แนวคิดว่า ในโครงการว่า
จากที่ผ่านมา เด็กเยาวชน เข้ามาทำกิจกรรมในวัดมากขึ้น และที่ดีขึ้นคือ วันไม่มีกิจกรรมเด็กเยาวชนก็ยังมาช่วยกวาดขยะ  มานั่งเล่นในวัด ถือเป็นนิมิตรที่ดีของโครงการที่ทำให้เด็กเข้ามาในวัดมากขึ้น ดีกว่าไปเที่ยวหรือเล่นเกมส์

เวลา 14.30 น. คณะทำงานนำเจ้าหน้าที่ประเมินเข้าชมศูนย์เรียนรู้ บริการสังคมในโรงเรียนพรหมพินิต ชัยบุรี และพบปะผู้มีส่วนร่วมรับประโยชน์จากโครงการ ซึ่งมีผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมพินิต ชัยบุรี นายภูวไนย รักจำรูญ ให้การต้อนรับ พร้อมรองผู้อำนวนการ และคณะครู นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน  จากนั้น พระสมุห์ธนภัทธ ธนภททฺโท พระวิทยากร ในโครงการ และสมาชิกชมรมจิตตปัญญา นำไหว้พระ สวดมนต์ และเปิดวงสุนทรียสนทนา แนะนำให้ทุกท่านรู้จักกัน โดย นางสาวณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดสุนทรียสนทนา ให้ชื่อวันนี้ว่ากิจกรรมนี้ว่า กิจกรรม "วันชัยบุรี" ซึ่งถือว่า  ระฆังสติ ได้ตีให้ดังขึ้นแล้ว ที่ทุกคนร่วมกันทำงาน เข้าร่วมกิจกรรม และมีผู้เข้าเยี่ยมพื้นที่ ร่วมประเมินและถอดบทเรียนที่มาจากนอกพื้นที่ และเชิญให้ทุกท่าน แนะนำตัวเอง เล่าสิ่งที่ประสบจากการเรียนรู้ในโครงการ โดยท่านใดพร้อมให้เชิญเชิญระฆังให้ดังและพูดเล่าประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรม เริ่มจาก ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่า มีแรงบันดาลใจ เห็นครู และนักเรียนร่วมกิจกรรมในวัดเขาเมืองเก่า ด้วยความสามัคค่ี เมื่อหลายปีที่ผ่านมา และเข้ามาเที่ยวชัยบุรีบ่อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ มีอัตตลักษณ์ จิตวิญญาณ และคุณค่าของเมืองเก่าชัยบุรี สมัยโบราญที่มีชื่อเสียงและอาณาเขตกว้างขวาง จึงชอบนำคนนอกพื้นที่ ชาวต่างชาติ มาเที่ยวที่นี่บ่อยครั้ง ในบางครั้งห็นเด็กขับรถเกเร บนถนน เห็นช่องว่าของช่วงวัยเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมที่อยู่ในความเสี่ยงเช่น เล่นเกมส์ หนีเรียน มานั่งในพื้นที่ เขาบ่อลา ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า จึงมีแนวคิดสร้างระบบความคิดให้เด็กเห็นคุณค่าของเมืองเก่ารักบ้านเกิดสำนึกจิตสาธารณะ ช่วยกันสร้างชุมชน โดยได้จัดกิจกรรม ร่วมกับโรงเรียนและวัด จึงเป็นที่มาของโครงการ และพบว่า เด็กทุกคนพร้อมเปิดใจเรียนรู้ ให้ความร่วมมือ ชุมชนเห็นประโยชน์ จึงจัดตั้งชมรม มีคณะทำงานอย่างมีส่วนร่วมที่เป็นระบบขึ้นในชุมชน ทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน รพสต.ปกคอง ท้องถิ้นเข้ามาร่วมช่วยกันขับเคลื่อนการทำงาน นอกจากนั้นมีหน่วยงานวนอุทยานก็มีส่วนสนับสนุนกิจกรรม ชาวบ้านมาร่วม นี่คือความสำเณ้จของโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เล่าว่า โรงเรียนได้แนวคิดการทำงาน เปิดโอกาสให้เป็นพื้นที่บริการสังคม ให้โอกาสและทางเลือกแก่เด็กในการสร้างงาน ฝึกปฏิบัติการงานอาชีพ ในเด็กที่ไม่สามารถเรียนต่อได้ และส่งเสริมให้โรงเรียนนำกิจกรรมจากโครงการไปพัฒนาต่อยอดเป็นโรงเรียนให้เป็นโครงการคุณธรรมดีเด่น จนได้รับรางวัลจากเขตการศึกษาพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนั้น๕ะนักเรียนที่ทำงานในโครงการ ได้เข้ารับคัดเลือกเป็นนักเรียนพระราชทาน คนทำงานมีการพัฒนาการมากขึ้นไปพร้อมกับโครงการ

รองผู้อำนวยการ เล่าว่า ผลสำเร็จการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนักเรียน เห็นเด็กพัฒนาการมากขึ้นด้าน คุณธรรมจริยธรรม การช่วยเหลือสังคม

นักเรียนในโครงการเล่าว่า กล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอ และชอบมาโรงเรียนเพื่อได้ทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนมากขึ้น

เยาวชนผู้หญืงเล่าเรื่องการออกนอกพื้นที่ เพื่อไปศึกษากสถานที่สำคัญเช่น พื้นที การทำเกษตรพอเพียง การทำคลิปแนะนำชัยบุรี เป็นต้น ถือ่ว่าชอบมาก และตัวเองได้แรงบันดาลใจ ได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่น เป็นต้นผู้ประเมินชื่นชม คณะทำงาน
ผู้เข้าร่วมโครงการเล่าการร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ประเมิน ให้ ตอบข้อซักถาม
1.ความรู้อะไรที่นำไปใช้ได้ เยาวชนตอบว่า สมาธิ การสร้างแรงบันดาลใจ การฝึกทำงานเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำงานกลุ่ม ทำให้เขากล้า มั่นใจ มากขึ้น 2.ประทับใจกิจกรรมอะไร เยาวชนสรุปตอบว่า การออกสึกษานอกห้องเรียน การทำคลิปนำเสนอพื้นที่
3.ประทับใจอะไรที่สุดในโครงการ ความสามัคคีในการทำงาน ของเพื่อนเพื่อนในกลุ่ม

สรุปปิดโดยผู้ประเมินชื่นชม คณะทำงาน ให้การแนะนำสร้างชุดคู่มือการทำงาน เพื่อขยายผล และแนะนำให้เขียนหนังสือทางวิชาการการแก้ปัญหาเด็กเยาวชนยุควิถีชีิวิตใหม่และแนะนำให้ส่งผลงานนำเสนอระดับชาติ
ปิดการประเมิน 17.30 น.พระสมุห์ธนภัทธ นำไหว้พระเป็นการ กราบลาพระรัตนตรัย ในการเปิดและปิดประชุมวงสุนทรียสนทนาทุกครั้ง ของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระฆังสติ เป็นเครื่องหมายของการ เปิดใจ เปิดทัศนะการแสดงความคิดเห็น
ได้นำมาใช้ในการเปิดวงสุนทรียสนทนาเชิงประเมินสรุปโครงการ โดยให้ทุกคนเล่าบรรยากาศ กิจกรรม ทีตัวเองประสบมา และผู้ประเมินนั่งจดประเด็นตามที่ประเมินได้
จัดรอบการดำเนินการ ทั้งหมด 3 รอบ เมื่อระฆังมาถึงใคร เมื่อตนเอพร้อมพูดก็ให้พูดหากยังไม่พร้อมให้เลื่อนระฆังไปที่ท่านอื่น เมื่อพร้อมพูดจะตีระฆังให้สัญญาณ เพื่อให้ผู้ฟังได้ตั้งใจฟังที่ตนเล่า วนเรื่อยไป เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างกระบวนกรใหม่ 20 คน ที่าเข้าร่วมในการประเมิน
สรุปผลลัพธ์ ดังนี้ 1.ได้เครื่องมือในการทำกิจกรรม 2.ได้กระบวนการ และกระบวนกรเพิ่มขึ้น 3.ได้ชุดความรู้การประเมินโครงการ จาก สสส.และแผนร่วทุน