โครงการ การฟื้นฟูอาชีพและสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มลี้ยงสัตว์ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

ลงแขกปลูกพืชอาหารสัตว์ในชุมชน ครั้งที่ 3/520 เมษายน 2023
20
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Charroen
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำและสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมประชุมและลงแขกปลูกพืชอาหารสัตว์ แปลงที่ 3
  2. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. คัดเลือกแปลงลงปลูกหญ้า ซึ่งในแปลงที่ 3 เป็นการลงแขกหว่านปลูกเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่
  5. ดำเนินการหว่านปลูกเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำและสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน ลงหว่านเมล็ดปลูกพันธุ์หญ้ารูซี่
หญ้ารูซี่ (Ruzi Grass) มีอีกชื่อว่า หญ้าคองโก เป็นพันธุ์พืชหญ้าที่มีลักษณะแบบค้างปี ได้รับความนิยมในกลุ่มเกษตรที่ทำการเกษตรกึ่งปศุสัตว์ว่าสามารถปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ทดแทนได้มากถึง 60% เป็นทางเลือกและทางรอดของเกษตรกรที่สูญเสียเงินทุนจากค่าอาหารสัตว์มหาศาลต่อปี อีกทั้งการเก็บหญ้าตามธรรมชาติยิ่งทำปศุสัตว์ภายในพื้นที่ชุมชนก็ยิ่งหาได้ยากเพราะมีหลายครัวเรือนที่ทำปศุสัตว์แล้วต้องแบ่งกันเก็บหญ้าในพื้นที่เดียวกันจนบางครั้งก็ไม่ทันใช้ ด้วยความที่พืชหญ้าชนิดนี้มีถิ่นฐานเดิมจากทวีปแอฟริกาแถบประเทศคองโก จึงสามารถเกิดและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศที่เป็นเขตร้อน
ลักษณะของหญ้ารูซี่นั้นสามารถสังเกตได้ไม่ยาก เพราะเป็นต้นหญ้าพุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 150 – 300 เซนติเมตร ส่วนใบแทงออกบริเวณข้อของลำต้น ประกอบด้วยกาบใบที่ค่อนข้างบางคล้ายกระดาษที่มีขนปกคลุม แผ่นกาบใบหุ้มลำต้นยาวประมาณ 9-16 เซนติเมตร โดยหญ้าชนิดนี้มีคุณค่าทางสารอาหารที่ดีกับสัตว์ใหญ่โดยเฉพาะโปรตีน 7-10 เปอร์เซ็นต์ซึ่งรองลงมาจากหญ้าเนเปียร์แต่เป็นที่นิยมปลูกมากกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากและสามารถ ใช้เป็นวัตถุดิบของอาหารสัตว์ได้ดี สามารถสร้างรายได้เพราะถือเป็นหญ้าที่ตลาดปศุสัตว์ต้องการ
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้ารูซี่จะประกอบไปด้วย 1. โปรตีนรวม 8.5% 2. เยื่อใย NDF 65.5% 3. เยื่อใย ADF 37.6 4. พลังงาน 54 5. ฟอสฟอรัส  0.26 6. แคลเซียม 0.57