โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

จัดเวทีชี้แจงโครงการ19 สิงหาคม 2566
19
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kamialh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 ทีมงาน แกนนำเยาวชน พี่เลี้ยงประจำโครงการ ได้จัดกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. ประกาศตัวตน เพื่อให้รู้ว่าเราทำกิจกรรมอะไร อย่างไร 2. เพื่อให้รู้จักกันและกัน 3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4. เพื่อลงพื้นที่พบปะเยาวชน ขั้นตอนดำเนินงาน เวลา 9.00 น. รวมตัวเยาวชน ณ เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง เดินทางไปยัง ซัมปลีมอโฮมเสตย์ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อมาถึงที่หมาย ดำเนินการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม หลังจากนั้นรับฟังการชี้แจงความเป็นมาของโครงการและเป้าหมายของกิจกรรม โดยนางสาวกามีละฮ์ หะยียะโกะ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากครอบครัว พื้นที่และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เฉกเช่นเดียวกับเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ที่ต้องการให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้รับการดูแลให้สามารถกลับเข้าระบบการศึกษา และได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ ให้สามารถมีรายได้ และมีงานทำ และได้แนะนำคณะทำงาน (แกนนำเยาวชน) จำนวน 6 คน ประกอบด้วย 1. นางสาวซูไรนี สูหลง 2. นางสาวตัสนีม สาและ 3. นางสาววันดานิช มะสาแม 4. นายฟุรกอน สูหลง 5. นายฟาติณ มะเกะ 6. นายฟิรฮัน มะสา และคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. นางสาวสะปียะ ยะดารอ 2. นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง 3. นางสาวนูรีย๊ะ หลำขุน 4. นายฮาฟิซ มะซา 5. นายซูไรมาน วามะ
หลังจากนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับทราบถึงความคาดหวังของโครงการ ความเป็นไปได้ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะทำให้กิจกรรมประสบความสำเร็จ เสร็จสิ้นกิจกรรมภาคเช้า ภาคบ่าย กิจกรรมลงพื้นที่ พบปะเยี่ยมบ้านของเยาวชน โดยคณะทำงานลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเยาวชน เพื่อสำรวจนิเวศ และวิเคราะห์ถึงฐานทุนของเยาวชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับการต้อนรับและรอยยิ้มจากเจ้าบ้าน (ผู้ปกครองของเยาวชน) เป็นอย่างดี รวมทั้งได้พูดคุย แลกเปลี่ยน และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ เพื่อให้ผู้ปกครองของเยาวชน รู้สึกสบายใจ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในครั้งนี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ 1. ผู้ร่วมเรียนรู้มีความสนใจในการจัดกิจกรรม 2. ภาคีเครือข่ายในพื้นที่สามารถเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ

ผลผลิต 1. ได้รับความชัดเจนจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. 2. ได้ค้นหากลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง