โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ARE 2 ติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา1 กันยายน 2566
1
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kamialh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ARE ครั้งที่ 2 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโดย พี่เลี้ยงโครงการฯ จัดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เริ่่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. 09.00 น. เริ่มกระบวนการเวที ARE โดย ผู้รับผิดชอบกล่าวต้อนรับและแนะนำผู้เข้าร่วม จากนั้นพี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) พี่่เลี้ยงชวนพื้นที่ให้จัดบทบาทหน้าที่ทีมงานในการ ARE (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) อธิบายขั้นตอนและกระบวนการ ARE และทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม ผู้รับผิดชอบโครงการฯและทีมงานโครงการฯ นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา โดยชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมมาแล้ว 2 กิจกรรม เกิดผลลัพธ์ เกิดคณะทำงานจำนวน 12 คน เกิดการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skill ที่เห็นได้ คือ เยาวชน จำนวน 30 คน มีความกล้าแสดงออกในที่สาธารณะ กล้าพูด กล้าเสนอและเล่ากิจกรรมที่ทำมา สามารถรวมกลุ่มและทำงานเป็นทีมได้สำเร็จ เช่น การทำแผนที่ทรัพยากรในชุมชนตนเอง เกิดทักษะการทำงานกลุ่ม การทำแผนที่ชุมชน และรู้ต้นทุน ทรัพยากรในชุมชนของตัวเอง เยาวชนจำนวน 40 คน เกิดการสำรวจทรัพยากรต้นทุนที่มีอยู่ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสความเป็นไปได้ที่จะนำมาเป็นต้นทุนการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสามารถทำเป็นแผนที่ชุมชนของตนเองได้ - เกิดกลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา รพ.สต. เทศบาลตำบล
- เกิดภาคีเครือข่ายเทศบาลให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกสถานที่ในการทำกิจกรรม สถานที่ประชุม และปรึกษาหารือ ให้พื้นที่เรียนรู้การปลูกผักยกแคร่   ช่วงสุดท้าย พี่เลี้ยงนำกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนและร่วมกันสะท้อนผลลัพธ์ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ โดย ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละด้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1. ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้ร่วมเรียนรู้ เช่น ข้อมูลทัวไป ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลความสนใจในการประกอบอาชีพ 2. ได้รูปแบบเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ร่วมเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรม ผลลัพธ์ 1. ผู้ร่วมเรียนรู้มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มีความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน 3. ต้องการเก็บข้อมูลของผู้ร่วมเรียนรู้อายุ 15-25 ปี 4. ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้รับทราบพฤติกรรมปัญหาของผู้ร่วมเรียนรู้