โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

อบรมอาชีพแก่เยาวชน (ปลูกผักยกแคร่)23 กันยายน 2566
23
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kamialh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 09.30-10.00 น. รวมตัวเยาวชนเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ชี้แจงวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของกิจกรรม โดยนางสาวกามีละฮ์ หะยียะโกะ ผู้รับผิดชอบโครงการ จัดกิจกรรมนันทนาการ เพื่อสานสัมพันธ์เยาวชน จากนั้นอบรมการปลูกผักยกแคร่ ให้ความรู้ และสาธิตการปลูกผัก โดยคุณฮามีด๊ะ สูโรโรจน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ได้ให้ความรู้แก่เยาวชนในการปลูกผักยกแคร่ ซึ่งมีวิธีการดังนี้ 1. วิธีปลูกผักยกแคร่ การปลูกผักยกแคร่ ใช้พื้นที่น้อย ประหยัดพื้นที่ แต่ให้ผลผลิตดี และลดปัญหาวัชพืช และศัตรูพืช ขั้นตอนการปลูก การทำแปลงผักยกแคร่ ก็ทำได้ไม่ยาก 1.1 ทำแคร่ปลูกผัก ขนาด 1.2 x 2.4 x 1 เมตร ด้วยโครงเหล็ก หรือไม้ไผ่ จากนั้นใช้ตาข่ายไนล่อนรองพื้นที่ปลูก 1.2 เตรียมดินปลูก ดินจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก หากต้องการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ควรหมักดินทิ้งไว้ก่อนนำไปปลูก 1.3 นำเมล็ดพันธุ์ผัก หรือกล้าผักลงปลูก ผักที่เหมาะนำมาปลูกจะเป็นผักใบ เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง กวางตุ้ง เป็นต้น 1.4 จากนั้น ดูแล รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของผักที่ปลูก และเก็บเกี่ยวตามแต่ละชนิดของผัก เช่น ผักสลัด เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 40 วัน ต้นหอม เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 1 เดือน เก็บได้ตลอดปี ผักบุ้ง เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 20 วัน จิงจูฉ่าย เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 1 เดือน เก็บได้ตลอดปี กะหล่ำปลี เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 3 เดือน 2. ปลูกผักยกแคร่ ดีอย่างไร? 1. ขั้นตอนการปลูก และดูแลรักษาง่าย 2. สะดวกในการรดน้ำ และควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช และวัชพืชได้ง่าย 3. ลดความเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ สามารถปลูกได้ในที่น้ำท่วม 4. ลดปัญหาวัชพืช โรคพืช และศัตรูพืชบางชนิด 5. สามารถยืนปลูกผักได้ ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ลดการปวดเมื่อยได้ 6. ลดการใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตดี สะอาด มีคุณภาพ 7. ประหยัดพื้นที่ ประหยัดเวลา ผักโตเร็ว จากนั้น ทำการสาธิตการปลูกผักยกแคร่ เริ่มต้นให้เยาวชนทำการผสมดิน การเตรียมดิน ขี้เลื้อย และต้นกล้า จากนั้นให้แต่ละคนปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ เยาวชนได้รับความรู้ มีความเข้าใจในการปลูกผักยกแคร่ ซึ่งจะสามารถทำเป็นอาชีพได้ ร่วมถ่ายรูปหมู่และมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1. เยาวชนรู้จักวิธีการผสมดิน ปลูกผัก 2. สามารถเป็นรายได้ให้กับตัวเอง ผลลัพธ์ 1. สร้างอาชีพใหม่ให้แก่เยาวชน 2. เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน 3. รู้จักความรับผิดชอบในทีม