โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบในชุมชนตำบลพ่อมิ่ง9 ธันวาคม 2566
9
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kamialh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียนจัดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 สถานที่ ลานอเนกประสงค์เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ผู้เข้าร่วม 50 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบ คณะทำงาน ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบโครงการทบทวนบันไดผลผลัพธ์ ทบทวนกิจกรรมที่ทำมาทั้งหมด และให้ผู้เข้าร่วมสะท้อนการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรม ตังชี้วัดของแต่ละขั้นบันได และประเมินผลลัพธ์ที่ละบันได โดยร่วมกันสะท้อน ขั้นที่ 1 สร้างทีมให้มีความรู้ เยาวชนเกิดการพัฒนาทักษะของตนเอง ในด้านทัศนคติ การอยู่ร่วมกันในสังคม การเคารพความเห็นต่างของผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต เกิดทักษะในการทำบัญชีและรู้จักทรัพยากรในพื้นที่ผ่านการทำแผนที่ชุมชน ขั้นที่ 2 กลไกคณะทำงาน เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ประกอบด้วย นายก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอีหม่าม รพ.สต. เกิดกติกาการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน ตลอดจนเกิดแผนการติดตามเยาวชนในพื้นที่ โดยใช้ภาคีจากเทศบาลตำบลพ่อมิ่งและสภาเด็กและเยาวชน ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ขั้นที่ 3 สร้างเยาวชนต้นแบบ ที่มีคุณสมบัติ คือ การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีบุคลิกภาพในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นด้วยดี
ขั้นที่ 4.เยาวชน มีรายได้ มีอาชีพ มีงานทำ ผลที่เกิด... - เกิดทักษะอาชีพปลูกผักยกแคร่ และ สามารถนำไปสร้างงานสร้างอาชีพได้ 20 คน มีการปลูกผักไฮโดร ขายกิโลละ 120 บาท มีรายได้ต่อ เดือน 600 บาท
- เกิดทักษะในการนำสินค้าชุมชนมาขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถนำไปสร้างงาน สร้างอาชีพได้10 คน
- เกิดทักษะเลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงไก่ 30 ตัว มีรายได้วันละ 57 บาท
- ทำมันทอด ขายมันสำปะหลังทอด ถุงละ 20 บาท มีรายได้สัปดาห์ละ 400 บาท
- เกิดเยาวชนมีทักษะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายและทำ ต่อเนื่อง 10 คน - เกิดกติกาของคณะทำงาน และเยาวชน มีจำนวน 4 ข้อ 1.ต้องมาประชุมพร้อมกันอย่างน้อยร้อยละ 80 2.ทุกคนสามารถขาดการประชุมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง 3.ต้องมีการสรุปการประชุมทุกครั้งเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน 4.คณะทำงานทุกคนต้องรับผิดชอบกลุ่มย่อยในแต่ละชุมชนของตนเอง - เกิดกลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา รพ.สต. เทศบาลตำบล
- เกิดภาคีเครือข่ายเทศบาลให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกสถานที่ในการทำกิจกรรม สถานที่ประชุม และปรึกษาหารือ ให้พื้นที่เรียนรู้การปลูกผักยกแคร่ ปัญหาอุปสรรค - เยาวชนบางส่วนยังขาดความรับผิดชอบในตนเอง - เยาวชนยังไม่เห็นความสำคัญในการทำงานและการประกอบอาชีพ - เยาวชนยังไม่มีเป้าหมายและแบบแผนชีวิตที่ชัดเจน สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข -ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง -การจัดกิจกรรมควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง -เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง ต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในพื้นที่ตำบลพ่อมิ่ง โดยการอาศัยความร่วมมือกันของคนในชุมชนในทุกภาคส่วน ผู้ปกครองต้องมีแนวคิดร่วมและร่วมทำงานไปด้วยกัน - ควรร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการออกประกาศนียบัตรเพื่อการรันตีการมีทักษะฝีมือของเยาวชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการสะท้อนผลมุมมองการทำงานกับเยาวชนจาก รองนายก ครูกศน. ผู้ปกครองเยาวชน จำนวน 3 คน เกิดข้อมูลผลการดำเนินงานจากทีมงานและกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนจำนวน 50 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการรวมกลุ่มและทำงานเป็นกลุ่ม เกิดแกนนำ กลุ่มย่อยในชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม เกิดหัวหน้าทีม/แกนนำกลุ่มย่อย 4 คน รับผิดขอบงานติดตามเพื่อนภายในกลุ่ม และเยาวชนจำนวน 30 คน มีความรับผิดชอบลุกขึ้นมาเข้าร่วมกิจกรรมร่วมเรียนรู้ต้นทุนทรัพยากรในชุมชน มีทักษะทำงานกลุ่มและทำแผนที่แสดง ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ได้สำเร็จ และมีงานสร้างรายได้ให้ตนเอง