โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ARE 4 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา8 ธันวาคม 2566
8
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย kamialh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ARE 4 ครั้งที่ 4 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโดย พี่เลี้ยงโครงการฯ จัดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี เริ่่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. 09.00 น. เริ่มกระบวนการเวที ARE โดย ผู้รับผิดชอบกล่างต้อนรับและแนะนำผู้เข้าร่วม จากนั้นพี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) พี่่เลี้ยงชวนชวนพื้นที่ให้จัดบทบาทหน้าทีทีมงานในการ ARE (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) อธิบายขั้นตอนและกระบวนการ ARE และทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม ผู้รับผิดชอบโครงการฯและทีมงานโครงการฯ นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา โดยชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมครบทุกกิจกรรม เกิดผลลัพธ์เยาวชนเกิดการปรับเปลี่ยนความคิดหันมาสร้างงาน สร้างรายได้มีรายได้และสามารถประกอบอาชีพได้
- เกิดทักษะอาชีพปลูกผักยกแคร่ และ สามารถนำไปสร้างงานสร้างอาชีพได้ 20 คน มีการปลูกผักไฮโดร ขายกิโลละ 120 บาท มีรายได้ต่อ เดือน 600 บาท
- เกิดทักษะในการนำสินค้าชุมชนมาขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถนำไปสร้างงาน สร้างอาชีพได้10 คน
- เกิดทักษะเลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงไก่ 30 ตัว มีรายได้วันละ 57 บาท
- ทำมันทอด ขายมันสำปะหลังทอด ถุงละ 20 บาท มีรายได้สัปดาห์ละ 400 บาท
- เกิดเยาวชนมีทักษะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายและทำ ต่อเนื่อง 10 คน - เกิดกติกาของคณะทำงาน และเยาวชน มีจำนวน 4 ข้อ 1.ต้องมาประชุมพร้อมกันอย่างน้อยร้อยละ 80 2.ทุกคนสามารถขาดการประชุมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง 3.ต้องมีการสรุปการประชุมทุกครั้งเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน 4.คณะทำงานทุกคนต้องรับผิดชอบกลุ่มย่อยในแต่ละชุมชนของตนเอง - เกิดกลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา รพ.สต. เทศบาลตำบล
- เกิดภาคีเครือข่ายเทศบาลให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกสถานที่ในการทำกิจกรรม สถานที่ประชุม และปรึกษาหารือ ให้พื้นที่เรียนรู้การปลูกผักยกแคร่   ช่วงสุดท้าย พี่เลี้ยงนำกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนและร่วมกันสะท้อนผลลัพธ์ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ โดย ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละด้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่ได้เรียนรู้การประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จโครงการ และการเกิดผลลพัธ์ในบันไดขั้นสุดท้ายที่จับต้องได้ เยาวชนมีอาชีพมีงานทำ ที่ชื้วัดได้