โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านฮูแตกอแล

กิจกรรมถอดบทเรียน25 ธันวาคม 2566
25
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Naemah_9407
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสาวมารีแย ดุลลาเตะ เชิญคณะสภาแกนนำชุมชน และ คณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรม ถอดบทเรียน วันที่  25 เดือนธันวาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้านฮูแตกอแล... โดยให้มีการลงทะเบียน
เชิญประธานเปิดกิจกรรม

ติดตามและประเมิณผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ( ปัญหา อุปสรรค ) เพื่อสะท้อนผลลัพท์กิจกรรมที่ดำเนินการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอดบทเรียนโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านฮูแตกอแล ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ชุมชนหมู่ 3 บ้านฮูแตกอแล ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด อาชีพหลักของชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ เช่นทำนา กรีดยาง ชุมชนบ้านฮูแตกอแลมีครัวเรือนทั้งสิ้น 133 ครัวเรือน และประชากรทั้งหมด 689 คน แบ่งเป็นชาย 357 คน หญิง 332 โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุ 69 คน และร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุจะมีปัญหาด้านสุขภาพ รวมทั้งคนในชุมชนจะไม่มีความรู้ไม่มีทักษะการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย จากการสังเกตการดำเนินการจัดทำกิจกรรมในพื้นที่ชุมชนบ้าน ฮูแตกอแล เช่น การจัดประชาคมหมู่บ้านเพื่อสำรวจความต้องการของชาวบ้าน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม พัฒนาชุมชน ส่วนใหญ่เห็นได้ว่าผู้สูงอายุจะเป็นแกนหลักในการเข้าร่วมดำเนินงานทุกครั้ง จึงสรุปได้ว่าผู้สูงอายุในชุมชนเป็นกำลังหลักของชุมชน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน ปัญหาที่เกิดในพื้นที่หมู่3 บ้านเตราะบอนจากที่ประชุมร่วมหารือกับชาวบ้าน ได้ผลว่าชุมชนที่อยู่ในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีปัญหาด้านความมั่นคงและมีประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียที่ได้ค่าแรงสูงกว่าทำให้วัยแรงงานเลือกที่จะออกจากพื้นที่ เพื่อไปทำงาน จึงให้กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ถูกทอดทิ้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เกิดพฤติกรรมส่วนบุคคลในทางลบ เช่น ไม่เข้าสังคม ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตขาดความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาวะของตนเองทั้งเรื่องการอุปโภคบริโภค การออกกำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ขาดการป้องกันโรคและขาดการดูแลโรคที่จะตามมารวมทั้งวัยผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งการเสื่อมโทรมด้านร่างกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวาน อีกทั้งปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความมั่นคงทางการเงินและด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ขาดผู้ดูแลในครอบครัว ขาดความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ขาดแกนนำและการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือวางแผนการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้ โดยปัญหาจากการไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ดำเนินการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบคือกลไกสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุจำนวน 69 คนป่วยเรื้อรังจากโรคความดัน...26.....คน ป่วยจากโรคเบาหวาน...3....คน ความดันและเบาหวานทั้งหมด 6 คน (ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน) ด้วยภาวะร่างกายเสื่อมโทรมข้อเข่าเสื่อม เคลื่อนที่ไม่คล่องตัว ทำให้ผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคม ด้วยอาชีพหลักของคนในชุมชน และกลุ่มวัยแรงงานที่ต้องออกไปหางานทำไกลบ้าน ทำให้เหลือกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาดความอบอุ่นในครอบครัว และอาจถูกทอดทิ้งไว้เพียงลำพัง มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตไม่เหมาะสม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่เกษียณงานแล้วไม่มีรายได้ กำลังแรงน้อยลง  จึงต้องให้ผู้ที่อยู่วัยแรงงานต้องทำงานมากขึ้น และรับภาระดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ด้วยภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ค่าครองชีพสูงทำให้การออมลดลง ลงทุนน้อยลง การเงินฝืดไม่พอกับรายจ่ายตลอดจนต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มอีกด้วย จากสภาพปัญหาและผลกระทบที่กล่าวมา ทำให้ทราบถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาชุมชน กลุ่มแกนนำชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านฮูแตกอแล ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ และยังไม่มีกลุ่มแกนนำหรือชมรมผู้สูงอายุที่สามารถบริหารจัดการเองได้ จึงอยากให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ โดยมีการดำเนินโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านฮูแตกอแล ผ่านการสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การจัดตั้งสภาชมรมผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดแผนขับเคลื่อนกิจกรรม เกิดการเรียนรู้ทักษะและกิจกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยกิจกรรมและความรู้ต่างๆจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้กัน เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน และ เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างเมาะสม เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคมและไม่เป็นภาระทางสังคมและครอบครัว ทั้งนี้จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องชุมชนบ้านฮูแตกอแลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม
1.ความสำเร็จและผลลัพธ์ที่ปรากฎ จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านฮูแตกอแล ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี  ในระยะเวลา 1 ปี ด้วยการขับเคลื่อนกระบวนการด้วยคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล เช่น การประชุมของคณะกรรมการทุก เดือน การส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมอาลาเกาะห์ การกำหนดกติกาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านเตราะบอน การสนับสนุนให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีบทบาททำน้ำมันนวด และการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในผู้สูงอายุ ชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม คือ
1.การเกิดชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล จากผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนบ้านฮูแตกอแล ซึ่งได้แจ้งข้อมูลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล พร้อมทั้งผลกระทบจาก ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในเวทีประชุมต่างๆ ในชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความตระหนัก และตั้งใจร่วมแก้ไขปัญหา โดยตั้งเป้าหมายให้ชุมชนบ้านฮูแตกอแล เป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี จึงจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เลือกคณะทำงานผู้สูงอายุ มีการรับสมัครสมาชิก และมีคณะทำงานเป็นทีม มีผู้นำที่มีจิตอาสา แกนนำชุมชน และเสนอชื่อในการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อให้มีการลงมติรับรอง ส่งผลให้คณะทำงานมีองค์ประกอบด้วย กำนันตำบลเตราะบอน โต๊ะอีมามประจำมัสยิดบ้านฮูแตกอแล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านฮูแตกอแล ผู้ช่วยใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ บัณฑิตอาสาประจำหมู่บ้านบ้านฮูแตกอแล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน จำนวน 10 คน แบ่ง บทบาทหน้าที่ คณะกรรมการออกมา เป็น 2 รูปแบบ 1.การแบ่งบทบาทตามความถนัดของคณะกรรมการ เช่น ฝ่ายบริหารและอำนวยการ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายบันทึกข้อมูล ฝ่ายวิชากการ ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายอาหาร 2.การแบ่งหน้าที่ตามละแวก โดยคณะกรรมการ 1 คน จะรับผิดชอบผู้สูงอายุ 10 คน หน้าที่ของคณะกรรมการ เพื่อติดตามข้อมูลพฤติกรรม การประชาสัมพันธ์โครงการ การเชิญชวนผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งการคณะกรรมการ 1 คน จะมีบทบาท 2 บทบาท รับผิดชอบฝ่าย และรับผิดชอบบุคคล และคณะทำงานมีการ ออกแบบแผนการดำเนินงาน เช่น กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ และ ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ หลังจากการดำเนินการคณะทำงานจะมีการประชุมติดตาม วางแผนแก้ไข ปัญหาอุปสรรค และปรับแนวทางทำงานร่วมกันตามปฏิทินงานที่กำหนด ในการประชุมทุกเดือน พร้อมทั้ง ติดตามประเมินและสะท้อนผลการทำงาน และมีการประเมินผลลัพธ์สะท้อนผลลัพธ์ โดยการประเมิน 3 ครั้ง ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่าง ดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นการประเมินร่วมกันระหว่างคณะทำงานและพี่เลี้ยงโครงการ ซึ่งจาก การประเมินหลังดำเนินโครงการ พบว่า คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่างๆ มีข้อมูลเชิงประจักษ์มีคณะทำงานที่เข้มแข็ง จำนวน 16 คนประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 4 คน ผู้ศาสนา 1 คน บันฑิตอาสา 1 คน อสม. 3 คน เจ้าหน้าที่รพ.สต.เตราะบอน 1 คน
2.ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น จากการมีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแลที่ขับเคลื่อนงานดำเนินงานอย่างจริงจังส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแลมีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจำนวน 50 คน ซึ่งมีบทบาทในการร่วมดำเนินงานกับคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เช่นร่วมทำกิจกรรมตามโครงการ ร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผน ร่วมถอดบทเรียน แต่บางกิจกรรมกลุ่มสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจะดำเนินการตามความสนใจ เช่น การรวมกลุ่มอาลาเกาะห์ 3 ครั้ง โดยจะเป็นกิจรรมที่เน้นให้เกิดค่านิยมของการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุบ้านฮูแลกอแล ทำให้เกิดพลังในการต่อยอดกิจกรรมอื่นๆ ของผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล เช่นกิจกรรมผลิตน้ำมันนวด เพื่อหารายได้เข้ากลุ่ม เป็นต้น
จาการการขับเคลื่อนโครงการผ่านกิจรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล ส่งผลให้ผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล จำนวน 50 คน ร้อยละ 70 ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ด้วยการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ณ.อาคารเอนกประสงค์หมู่บ้านบ้านฮูแตกอแล ร่วมกันในวันเสาร์ นอกจากนั้นจะออกกำลังกายตามบ้านด้วยไม้พลองให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้านด้วย เช่นกัน ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ร้อยละ 70 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมอาลาเกาะห์ 3 ครั้ง การร่วมกลุ่มอาชีพทำน้ำมันนวด มีผู้สูงอายุติดบ้าน 12 คน ติดเตียง 2 คน ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง  โดยทีม คณะกรรมการและตัวแทนผู้สูงอายุร่วมกับ อสม. และผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ร้อยละ 43.47 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม (ลดหวานมันเค็ม ลดการกินขนมหวานหลังอาหาร ลดการกินบูดู และเพิ่มการกินผัก) ส่งผลให้ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ร้อยละ 43.47 มีความสุขเพิ่มขึ้น
3.เกิดกลไกลหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มอื่นๆ ด้วยกระแสการออกกำลังกาย และการนวดผ่อนคลาย และการรวมกลุ่มส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดผู้สูงอายุต้นแบบ จำนวน 30 คน โดยผู้สูงอายุต้นแบบ จะมีกิจกรรมออกกำลังโดยใช้ไม้พลองทุกวัน และมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ทำให้ค่าความดันโลหิตอยู่เกณฑ์ปกติ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เบาเทาอาการปวดตามตัว จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านฮูแตกอแล สามารถสรุปได้ว่า หากต้องการให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงอายุ ความดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์ด้านคณะกรรมการก่อน ทั้งที่เนื่องจาการ คณะกรรมการเป็นกลไกที่จะทำเกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้สิ่งแวดล้อมและกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงอันจะส่งผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นเอง 3.กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ จาการดำเนินงานจนได้ผลลัพธ์ที่ดี สามารถสรุปได้ว่า กิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้สามารถส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุ ดังนี้
1). การประชุมชี้แจงเพื่อให้ชุมชนทราบรายละเอียดโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมและผลกระทบต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นหากไม่ดำเนินการ ผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน รวมทั้งบทบาทในการร่วมกิจกรรต่าง ๆ ที่โครงการกำหนดไว้ อีกทั้งต้องขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะข้อมูลเพิ่มเติม และขอความร่วมมือในการเสนอชื่อหรือสมัครเป็นคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุอันจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการ แต่ทั้งนี้คณะกรรมการจะต้องกระตุ้นเตือนกลุ่มเป้าหมายให้มาร่วมประชุมสมาชิกชมรมให้มากที่สุด มิเช่นนั้นจะไม่สามารถสร้างการรับรู้และเกิดการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง โดยคณะกรรมการได้แบ่งระแวก ผู้สูงอายุไว้ รับผิดชอบ เพื่อการติดตามและเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
2).กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 3 อ2 ส เป็นกิจกรรมสร้างการรับรู้ให้กับผู้สูงอายุ กระตุ้น และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง โดยวิทยากร จะต้องมากด้วยความชำนาญในการเป็นวิทยากร กระบวนการ ซึ่ง ถ้าเป็นวิทยากรที่มีองค์ความรู้อย่างเดียว ไม่สามารถดึงความสนใจและดึงความร่วมมือของผู้สูงอายุ ทำให้ไม่เกิดการรับรู้เรื่องสุขภาพ 3).การประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีการคืนข้อมูลจาก คณะกรรมการได้สำรวจข้อมูลพฤติกรรม และเมื่อทางสมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้ทราบสถานะสุขภาพตนเอง จึงเกิดเป็นข้อตกลงร่วมกัน ในรายที่สถานะสุขภาพไม่ดี ทางคณะกรรมการ ได้ส่งต่อข้อมูลให้กับทาง รพ.สต.เตราะบอน เข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
4).กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต และกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจ จะส่งต้องมีการออกแบบ หรือคิดรูปแบบกิจกรรม ที่สอดคล้องกับบริบท งบประมาณและความสนใจของผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล เป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมชมรมผู้สูงอายุได้สำรวจ รูปแบบการออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต และกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจ ในชุมชนบ้านฮูแตกอแล ที่สอดคล้องกับบริบท และสถานที่ที่เอื้อ ทั้งงบประมาณที่จำกัด จึงได้รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง สัปดาห์ ละ 1 วันที่ ณ. อาคารเอนกประสงค์หมู่บ้าน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นการทำอาลาเกาะห์ 3 เดือน ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจ เป็นกิจกรรมนวดเพื่อผ่อนคลาย พร้อมผลิตน้ำมันนวด เนื่องจากในพื้นที่มีวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านฮูแตกอแลอยู่แล้ว ทำให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยดี
4.โอกาสความยั่งยืนของโครงการ จากการดำเนินโครงการโดยผ่านกระบวนการดำเนินโครงการโดย คณะทำงานและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และการแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนบ้านฮูแตกอแล จนเป็นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสม่ำเสมอการบริโภคอาหารลดหวานมันเค็ม และการนวดผ่อนคลายซึ่งเกิดบุคคลต้นแบบ จำนวน 30 คน และการดำเนินงานทุกอย่างจะมีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสรุปผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงานพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากความมุ่งมั่นของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล ที่ดำเนินการส่งเสิรมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จที่เกิดจากคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านฮูแตกอแล ที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของภาคีต่างๆ ในทุกขั้นตอน มีการติดตามประเมินผลและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมาย จึงเป็นหลักประกันได้ว่าบ้านฮูแตกอแลจะเป็นชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีความยั่งยืนต่อไป