โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 527 ธันวาคม 2566
27
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย panrawee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วม คือคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินงาน เเละการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชนของผู้สมัครบุคคลต้นเเบบ รายงานการติดตามผลการดำเนินงาน การทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ และการติดตามการปฏิบัติตามกติกาชุมชนของผู้สมัครบุคคลต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการได้ติดตามกติกาชุมชน ที่ผู้สมัครบุคคลต้นแบบได้ปฏิบัติทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 อาหาร : ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางพรทิพย์ แก้วมณี พร้อมด้วยนางสุทิน ซ้ายศรี จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ส่งภาพเมนูอาหารมาในไลน์กลุ่ม จำนวน 28 คน
ด้านที่ 2 ออกกำลังกาย : เต้นแอโรบิค ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ มีจำนวนทั้งหมด 57 คน
ออกกำลังกาย : การปั่นจักรยาน ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ สิริอร ทับนิล กิจกรรมในการออกกำลังกายคือการปั่นจักรยาน ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. จุดนัดพบหลาบ้านตรัง จำนวนผู้ที่เข้าร่วมปั่นจักรยาน จำนวน 32 คน ออกกำลังกาย : เดิน–วิ่ง ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ กัลยารัตน์ ไชยแก้ว กิจกรรมในการออกกำลังกายคือการเดิน-วิ่ง เป็นการร่วมเดินวิ่งกับโครงการของ อบต. ในวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน สถานที่ลานกีฬา อบต.ตรัง จำนวน
ผู้ที่เข้าร่วมเดิน-วิ่ง จำนวน 31 คน ด้านที่ 3 อารมณ์ : เข้าวัดทำบุญ ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางกัลยารัตน์ ไชยแก้ว กลุ่มเสี่ยงเข้าวัดทำบุญ จำนวน 25 คน ด้านที่ 4 สูบบุหรี่ : ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางสาวมาลิบ แววสุวรรณ พร้อมด้วยนางติ๋ม กายประสิทธิ์ พบว่ากลุ่มเสี่ยงจะไม่สูบบุหรี่ในสถานที่เขตหวงห้าม รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบริเวณที่อยู่อาศัยและที่มีผู้คน ถือว่ากิจกรรม
  นี้เป็นการปลูกฝังให้กลุ่มเสี่ยงมีความรับผิดต่อสังคมและคนรอบข้างมากขึ้น ด้านที่ 5 สุรา : ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางสาวสิริอร ทับนิล พร้อมด้วยนางยุพิน พรหมจันทร์ กลุ่มเสี่ยงบางรายเกิดความคุ้นชินในการดื่มสุราที่น้อยลงและส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อสังสรรค์ดื่มสุราน้อยลงด้วยเช่นกัน ด้านที่ 6 การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน : ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ พบว่า กลุ่มเสี่ยงปลูกผักกินเอง จำนวน 77 คน ด้านระดับน้ำตาลในเลือด: ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ
พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงมีทั้งหมด จำนวน 71 คน ดังนี้
-กลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 32 คน
-กลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลลดลงแต่ยังเกิน 100 mg/dl จำนวน 39 คน -กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเท่าเดิมมี จำนวน 2 คน
-กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นมี จำนวน 19 คน การทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ
จากการดำเนินกิจกรรมปัจจุบันบันไดผลลัพธ์ของโครงการฯ อยู่ในขั้นที่ 4 คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งการดำเนินโครงการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ขั้นบันได บันไดขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงานกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 1. เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และเจ้าหน้าที่ อบต.ตรัง 2. มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน 3. เกิดแผนการดำเนินงานของคณะทำงานในการดำเนินงาน 4. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน และข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายก่อน-หลังการดำเนินโครงการ บันไดขั้นที่ 2 เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 92 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
2. มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน 3. กลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีการระดมความคิดเกี่ยวกับการจัดสรรเวลาสำหรับการออกกำลังกายร่วมกัน บันไดขั้นที่ 3 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1. มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง 2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 12 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ บันไดขั้นที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 1. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 77 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
2. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 87 มีการออกกำลังกาย