โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

กิจกรรมที่ 9 เวที สรุปบทเรียนการดำเนินงาน27 ธันวาคม 2566
27
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Tontanod10013
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย และคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ณ อาคารเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านต้นโตนด ในวันที่ 27 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.30 น. – 16.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆสมาชิกชมรมมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น โดยสมาชิกจะปฏิบัติตาม มาตรการข้อตกลงของชุมชนที่กำหนดไว้คือ
    • ออกกำลังร่วมกันสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทุกวันจันทร์/พุธ/ศุกร์ ได้แก่ วันจันทร์รำไม้พลอง วันพุธยางยืด วันศุกร์กะลาบิดยางยืด
    • ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม ทุกมื้ออาหารเน้นการทานผักเป็นหลักและการทำบุญใส่บาตรต้องเป็นอาหารที่ดีถูกหลักโภชนาการ
    • ตรวจประเมินภาวะสุขภาพ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง
    • ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมวันพระ เดือนละ 1 ครั้ง
    • เยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง
  2. คืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุติดสังคมทั้งหมดในชุมชนหมู่ 1 บ้านต้นโตนด มีจำนวน 129 คน ตั้งแต่ก่อนดำเนินโครงการผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 67.44 และออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 32.55 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 72.8 ผู้สูงอายุขาดการยกย่องจากสังคม ขาดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต สุขภาพกาย และยังไม่มีสมาชิกชมรมที่เป็นบุคคลต้นแบบ
  3. หลังจากสิ้นสุดโครงการ ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เช่นรำไม้พลอง กะลาบิค ยางยืด และเต้นบาสโลบอย่างสม่ำเสมอเพิ่มขึ้น จากเดิมจำนวน 42 คน เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 54.26 สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง เช่น ไม่ทานอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม ในรายเป็นโรคเรื้อรังสามารถควบคุมโรคของตนเองได้ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนกลุ่มปกติไม่เกิดโรคและกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 50.38 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เดือนละ 1ครั้ง จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 50.38 และมีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 13 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 65 คน คิดเป็นร้อยละ 20 หลังจากนี้เป็นต้นไปขอให้ชมรมผู้สูงอายุบ้านต้นโตนด มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสมตลอดไปเรื่อยๆ
  4. สรุปบทเรียนการดำเนินงาน
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกิดแกนนำคณะกรรมการโครงการและคณะทำงาน จำนวน 16 คน ที่เข้าใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนและสามารถติดตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เกิดบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 13 คน
    • ปัญหาอุปสรรค ผู้สูงอายุบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย และมีผู้สูงอายุอีกบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ ที่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำงานนอกพื้นที่ ปัญหาฝนฟ้าอากาศฝนตกบ่อยทำให้มารวมตัวออกกำลังกายลำบากแต่ทุกคนก็สามารถออกกำลังกายที่บ้านได้     - ข้อเสนอแนะ จากการสรุปผลการดำเนินงาน และผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน/กิจกรรมโครงการ และการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 จะเห็นได้ว่าสามารถดำเนินได้สำเร็จลุล่วงบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสรุปได้จากการตอบรับเข้าร่วมอบรมของผู้สูงอายุเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ ส่วนในการดำเนินโครงการในครั้งต่อไปต้องเพิ่มในด้านระยะเวลาการอบรมเพื่อให้ได้ความรู้และร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนทักษะเพิ่มขวัญและกำลังใจ ทำให้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ร่วมกิจกรรมสร้างความสุขสนุกสนานและความรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้ง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุต่อไป