โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 และปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์18 กันยายน 2566
18
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกล่าวเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
วาระที่ 1 ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ Roundberry อ.เมือง จ.ปัตตานี 2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ณ บ้านดาหลา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3. อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี วันที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 4. ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี
ระยะเวลาสิงหาคม 66 - กันยายน 66 ณ สระว่ายน้ำ Yellow Member Swimming Pool อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 9 ครั้ง ตามวันที่วันที่ดำเนินการตามนี้ - ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 6 วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2566 (เช้า) - ครั้งที่ 9 วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2566 (บ่าย) จากการการดำเนินงานที่ผ่านมาตามแผนที่วางไว้ ทั้งระยะเวลา ช่วงเวลาการจัดกิจกรรม และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานในปัจจุบันการดำเนินงานของโครงการตอบโจทย์บันไดตัวชี้วัด 2 ขั้น เพื่อความสมบูรณ์ของครั้งต่อไปต้องชวนแกนนำในชุมชนมาร่วมในกิจกรรมต่อไป วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา   ไม่มี วาระที่ 3 เรื่องสืบเรื่องจากการะประชุมครั้งที่ผ่านมา (ปรึกษาหารือการดำเนินกิจกรรม) ภานในปลายกันยายนถึงต้นตุลาคม 2566 จะดำเนินกิจกรรม 4 กิจกรรมที่เหลือใหเตอบโจทย์ตัวชี้วัดดังนี้ 2.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี - กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ - กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็ก 2.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน - กิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน - กิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข 2.3 รูปแบบกิจกรรมคร่าว ๆ
- วันที่ 29 กันยายน 2566 ดำเนินกิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่และกิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข โดยมีนายมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ เป็นวิทยากร - วันที่ 30 กันยายน 2566 ดำเนินกิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คุณอานัติ หวังกุลำ (นายกสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ.) และผศ.สุนิดา อรรนุชิต (อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี) - อีก 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 9 ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กและกิจกรรมที่ 10 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง (2 กิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของพื้นที่)
- กิจกรรมทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม
วาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ไม่มี วาระที่ 5 อื่น ๆ (การดำเนินงานถัดไป) - แบดี ประสานแกนนำพื้นที่ด่วนที่สุดให้ บัง แบมะ เข้าพบแกนนำปรึกษาการจัดกิจกรรมในพื้นที่ วันเวลาที่คนในพื้นที่สะดวก และสถานที่ในการจัดกิจกกรม รายชื่อแกนนำในพื้นที่ 10 คนสำหรับเข้าร่วมกิจกรรม (ต้องเรียบร้อยก่อนวันที่ 25/9/66) - กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง + เด็ก 30 คน (หุสณาประสาน) รับสมัครผ่าน google from หลัง จากที่ทีมงานเขาพบแกนนำในพื้นที่ได้รูปแบบ กำหนดการแล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 9 คน ลากิจ 1 คน ป่วย 1 คน
  2. คณะทำงานเข้าใจกระบวนการทำงานและร่วมกันออกแบบกระบวนการ
  3. ทราบบทการการทำงานของตนเองชัดเจนเจนขึ้น
  4. ทำให้คณะทำงานดำเนินโครงการในแบบแผนเดียวกัน