โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข24 กันยายน 2566
24
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คุณมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเลาะ (วิทยากร) ชวนทีมชุมชนทบทวนสิ่งที่เกืดไปถึงกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ
วิเคราะห์ความเสี่ยงเด็กจมน้ำในพื้นที่ ช่วงเวลาปกติ 1. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมหลักเป็นพื้นที่แม่น้ำปัตตานีตลอดลำน้ำ โดยมีจุดที่มีเด็กเล่นน้ำชัดเจน 4 จุด 2. กลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เด็กจมน้ำคือกลุ่มเด็กที่อยู่นอกชุมชนที่เข้ามาเล่นน้ำ เนื่องจากว่าไม่รู้สภาพพื้นที่ลึกตื้นของแม่น้ำ 3. ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงจะเป็นช่วงหลังเลิกเรียนในตอนเย็น ช่วงวันหยุดและช่วงปิดเทอม เป็นช่วงที่เด็กเข้ามาเล่นน้ำในพื้นที่มากที่สุด 4. ความคึกคะนอง ความประมาทโดยคิดว่าว่ายน้ำได้แล้วไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือก็ได้ มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำ 5. เวลามีเด็กจมน้ำต้องใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ และขาดอุปกรณ์ที่มีความพร้อมต่อการช่วยเหลือ 6. เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ใช้ระยะเวลานานในการเข้ามาช่วยเหลือ

วิเคราะห์ความเสี่ยงเด็กจมน้ำช่วงน้ำท่วม 1. พื้นที่ในแม่น้ำปัตตานีมีความเสี่ยงมากในการปล่อยให้เด็กเล่นน้ำ เนื่องจากมีน้ำปริมาณมาก มีความลึกมาก น้ำไหลเชี่ยวแรง และการช่วยเหลือเป็นไปได้ยากเวลาเกิดสถานการณ์มีคนจมน้ำ อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตและสูญหายได้ 2. ช่วงระหว่างน้ำท่วมแรงดันน้ำจะดันฝาท่อระบายน้ำบางพื้นที่ออกมา มีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กตกท่อระบายน้ำได้ 3. ผู้ปกครองบางท่านปล่อยให้เด็กเล็กเล่นน้ำกับกลุ่มคนอื่น ๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กไปเล่นในพื้นที่น้ำลึกได้ 4. แกนนำชุมชนยังไม่มีทักษะในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธี

ข้อเสนอต่อการลดความเสี่ยงและการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ 1. เสริมทักษะการช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธีให้แก่ผู้นำ แกนนำชุมชน ที่อาศัยริมแม่น้ำปัตตานี 2. จัดการอุปกรณ์การช่วยเหลือที่จำเป็นไว้ที่ชุมชนริมคลองเพื่อใช้ในการช่วยเหลือเวลาเด็กจมน้ำสามารถที่ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 3. ไม่อนุญาตให้เด็กเล่นน้ำในแม่น้ำปัตตานีในช่วงของน้ำท่วมหรือช่วงที่มีน้ำหลาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการจมน้ำสูงมาก 4. จัดทำป้ายแจ้งระดับน้ำลึก ป้ายความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เด็กจมน้ำ และป้ายให้ความรู้การช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธีตามพื้นที่เสี่ยง 5. ช่วงน้ำท่วมควรจัดระเบียบพื้นที่ให้เด็กเล็ก เด็กโตเล่นน้ำให้ชัดเจน โดยการวางแผงกั้นน้ำ 6. ผู้ปกครองต้องดูแลเด็กเวลาพาเด็กมาเล่นน้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ปกครองที่เป็นเด็กเล็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม 1. จำนวนผู้เข้าร่วม แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 15 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 5 คน 2. มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด 3. แกนนำชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่ด้วยตนเอง