โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก7 ธันวาคม 2566
7
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางวริดา ดอเลาะ ได้รับมอบหมายจาก นายการริยา แวอูมา (ประธานชุมชน) นำทีมแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 9 คน เข้าร่วมกิจกรรม คุณมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเลาะ (วิทยากร) สรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมากิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ และกิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมแนวทางการแก้ไข ดังนี้ 1.พื้นที่เสี่ยงศาลาริมคลอง ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เด็กว่ายน้ำข้ามคลอง 2) พื้นที่ลาดน้ำลึก 2 เมตรกว่าช่วงเวลาปกติ -
การดำเนินการ เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยเหลือ 2.พื้นที่เสี่ยงลานอเนกประสงค์ - ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เป็นพื้นที่ริมคลองที่มีน้ำตื้น เด็กเล็กเล่นน้ำได้ 2) จังหวะน้ำขึ้นน้ำจะลึกกว่าระดับน้ำปกติ 3)พื้นที่ลงเล่นน้ำลื่น
การดำเนินการ 1) ติดป้ายเตือน 2)ติดสื่อให้ความรู้ 2 เรื่อง การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีตกน้ำ 3. พื้นที่เสี่ยงสะพานเฉลิมพระเกียรติ
ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เป็นพื้นที่น้ำลึก 2) เด็กโตจะมาเล่นน้ำที่ตรงนี้ 3) เด็กกระโดดลงเล่นน้ำบนสะพาน การดำเนินการ ติดป้ายเตือน 4. พื้นที่เสี่ยงโรงเรียนตะฮฟิส ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เด็กนักเรียนเล่นน้ำช่วงเวลาว่าง
การดำเนินการ พื้นที่ส่วนบุคคลไม่สามารถดำเนินการได้ แบ่งกลุ่มคณะทำงานเพื่อไปติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ป้ายเตือน 2 รูปแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม 1. จำนวนผู้เข้าร่วม ได้แก่ แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 9 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 6 คน 2. โฟมบอร์ด 2 อัน เรื่องการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลกรณีการจมน้ำ
3. ไวนิวป้ายเตือนตามจุดเสี่ยงต่างๆ 3 แผ่น
4. อุปกรณ์การช่วยเหลือเบื้องต้น เสื้อชูชีพ 5 ตัว เชือกกู้ภัย 1 ชุด ห่วงไฟเบอร์ 2 อัน 5. จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 จุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนจุดเสี่ยงที่ชุมชนแก้ไขได้ ดังนี้ ศาลาริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ สะพานเฉลิมพระเกียรติและบริเวณเส้นทางชุมชนริมคลอง 6.  วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยงที่ดำเนิน การมีความเหมาะสมสามารถลดอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงนั้นๆ ได้จริงดังนี้ ติดป้ายเตือนต่าง ๆ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือ มีสื่อความความรู้วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีจมน้ำ