โครงการส่งเสริมสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

เวทีคืนข้อมูลและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ10 กรกฎาคม 2566
10
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย korijoh_kml1109
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม เวทีคืนข้อมูลและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ วันเดือนปีที่จัด วันที่ 10 กรกฎาคม 2566  เวลา 09.00 – 12.00 น. สถานที่ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน ประกอบด้วย  อสม. คณะกรรมการมัสยิด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นักพัฒนาชุมชนอบต.บานา ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และตัวแทนเยาวชน ........................................................................................................................................................................................... รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมเริ่มเวลา 08.00 – 09.30 น. คณะทำงานได้มีการลงทะเบียน และพร้อมกันตรวจสุขภาพ วันความดัน วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เวลา 09.30 – 09.45 น. เจ้าหน้าที่ ศวชต. มอ.ปัตตานี ได้ทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุก่อนเริ่มกิจกรรม เวลา 09.45 – 10.00 น. นายนูรดีน สะอิ ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ได้กล่าวเปิดงาน พูดคุยให้กำลังใจ และกล่าวขอบคุณผู้สูงอายุ และผู้ดูแลที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม และกล่าวดุอาเปิดกิจกรรม เวลา 10.00 - 12.00 น. หัวหน้าโครงการได้นำเสนอรายละเอียดโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อให้มีคณะทำงานในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนบ้านสุไหงปาแน 2) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะกาย ใจ ที่ดีขึ้น มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ และวัยก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมในการขับเคลื่อนจำนวน 10 กิจกรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนด้านพฤติกรรมของสุขภาวะทางกายใจ ที่ดีขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทางคณะทำงานได้มีการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย 30 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง 27 คน มีโรคประจำตัว ร้อยละ 53 เช่น หัวใจ ไขมัน ความดัน ภูมิแพ้ เก๊าท์ เบาหวาน ไต โรคข้อเสื่อมเป็นต้น และ ร้อยละ 47 ไม่มีโรคประจำตัว พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ร้อยละ80 ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย การดำเนินชีวิตประจำวันตามวิถีอิสลาม เป็นต้น ร้อยละ 53 ชอบทานรสชาติ เค็ม หวาน เปรี้ยว การออกกำลังกาย ร้อยละ 33.33 ชอบออกกำลังกาย เช่น เดินรอบบ้าน เดินเร็วตอนเช้า ปั่นจักรยาน ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เป็นต้น และการประเมินสุขภาวะความเปราะบาง ร้อยละ 43.33 มีความเปราะบางทางด้านความจำต้องพูดซ้ำ ๆ ตลอดเวลา มีความรู้สึกเหนื่อยล้าง่ายในบ้างครั้ง น้ำหนักลดง่ายกินข้าวไม่ค่อยได้ มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน อยากมีเพื่อน เป็นต้น จากนั้นทางคณะทำงานได้ให้ผู้เข้าร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง เพื่อขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับผู้สูงอายุในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบข้อมูลสุขภาพของตนเอง
  3. เกิดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง