โครงการส่งเสริมสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

เก็บข้อมูลผู้สูงอายุ (หลังดำเนินโครงการ)27 พฤศจิกายน 2566
27
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย korijoh_kml1109
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 - 30 พฤศจิกายน 2566 ศวชต. ร่วมกับชุมชนบ้านสุไหงปาแน ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี จัดกิจกรรม สำรวจข้อมูลหลังดำเนินโครงการ จำนวน 30 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลังดำเนินโครงการ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ก่อนที่จะแบ่งแบบสอบถามให้กับคณะทำงานแต่ละคนไปเก็บตามโซนของตัวเองโดยใช้ระยะเวลาในการเก็บ 1 สัปดาห์ และนัดรวบรวมแบบสอบถามในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เพื่อส่งให้หัวหน้าโครงการได้ทำการบันทึกและวิเคราะห์ในลำดับต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจแบบสอบถามหลังดำเนินโครงการ
  2. คณะทำงานได้เก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน
  3. มีข้อมูลของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลังจากเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
    1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน 2) โรคประจำตัว ร้อยละ 57 มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น และผู้สูงอายุ ร้อยละ 43 ไม่มีโรคประจำตัว 3) การเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ของโครงการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย หลังเข้าร่วม ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ร้อยละ 90 เข้าร่วมฟังบรรยายธรรม (ฮาลาเกาะเพื่อสุขภาพ) ทุกวันศุกร์ของเดือน 5) การออกกำลังกายแบบรวมกลุ่ม ร้อยละ 90 มีการเข้าร่วมออกกำลังด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม และออกกำลังกายที่บ้าน ร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ ยางยืด เดิน เบาๆ ที่บ้าน วิ่งไปมา เดินบนกะลา เล่นยาง เป็นต้น 6) พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน บริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 93.33 ทานทุกวัน ทานเป็นบางวัน และ รสชาติที่ทานเป็นประจำ ร้อยละ 20 ทานรสชาติจืด 7) ความเครียดในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40 ไม่มีความเครียด และร้อยละ 56.67 เครียดเป็นบางเรื่อง มีการจัดการความเครียดคือ อ่านอัลกรุอาน ละหมาด ทำงาน ออกกำลังกาย หาอะไรทำ ปล่อยวาง และ 8) ความสุขในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 90 มีความสุขในทุกวัน เพราะ ได้พบปะกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ