เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

จัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ)5 กันยายน 2566
5
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กำหนดรูปแบบและพิกัดจุดในการจัดวางแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา
  2. ลงทะเลเพื่อการวางทุ่นทำแนวเขตอนุรักษ์
  3. วางบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) จำนวน 3 จุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลักษณะกิจกรรม : ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย   1. สมาคมประมงพื้นบ้านในถุ้ง   2. สมาคมรักษ์ทะเลไทย   3. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สจ.เริงวุฒิ เชาวลิต
  4. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น สระแก้ว และท่าศาลา   5. ประมงอำเภอท่าศาลา   6. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าขึ้น   7. หน่วยป้องกันและปราบปรามทางทะเลและชายฝั่ง สิชล   8. ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   9. ภาคเอกชน NSWฟาร์ม   10. เจ้าหน้าที่จากสภาผู้ชมผู้ฟังรายการ TPBS   11. คณะครูโรงเรียนวัดทางขึ้น   12. กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ กิจกรรมเริ่มต้นด้วย 1. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์โดย นายกิตติ ไวยฤทธิ์ ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ     โดยได้กำหนดเขตพื้นที่ที่แนวเขตอนุรักษ์กว้าง 500 เมตร ห่างจากฝั่ง (จากระดับน้ำทะเลต่ำสุด) 200 เมตร ลักษณะสัญลักษ์แนวเขตอนุรักษ์ เป็นไม่ไผ่ติดผ้าธงสีแดง วาง 8 จุด สำหรับบ้านปลา เดิมกำหนดวางเป็นกอง 3 จุด แต่ที่ประชุมคณะกรรมการ พิจารณาแล้วว่า เห็นควรให้วางกระจายและเพิ่มจึด เป็น 5 จุด เพื่อเพิ่มที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมพื้นที่เขตอนุรักษ์ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับฟังทัศนคติจากมุมมองเครือข่ายองค์กรที่เข้าร่วม ในการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลาบ้านตะเคียนดำ     ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังทัศนคติจากกลุ่มเครือข่ายองค์กรที่เข้าร่วม เพื่อสร้างการรับรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ หลักๆ 3 ข้อคือ     - ภาคส่วนท้องถิ่น : เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ และจะคอยสนับสนุน รวมถึงการสร้างการรับรู้และความร่วมมือกับชาวประมงในพื้นที่อื่นๆ     - ภาคส่วนราชการและอบจ. : ได้เห็นเจตนารมย์ของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ และจะจัดทำแผนให้การสนับสนุนงบประมาณและงานวิชาการต่างๆ เท่าที่จะสามารถช่วยได้     - ภาคส่วนวิชาการ (มวล.) : จะให้การสนับสนุนงานวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะพันะุ์และขยายพันธุ์ปูม้า ต่อจากนี้     - ภาคส่วนเครือข่ายองค์กรภาคี : คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้และพร้อมสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในทุกมิติ   - ภาคส่วนเอกชน : พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมและองค์คามรู้ดารการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้กลักลุ่มอย่างต่อเนื่อง   - โรงเรียนในชุมชน : เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ และจะร่วมกันพัฒนาทรัพยากรบุคคล (เด็กในโรงเรียน) ให้เป็นไกด์สามารถนำเสนอความสมบูรณ์จากกิจกรรมของชุมชน และพร้อมร่วมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้เป็นห้องเรียนเรื่องการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนร่วมกับกลุ่ม ให้เด็กๆในโรงเรียนได้มาศึกษาเรียนรู้ 3. ลงเรือจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และวางบ้านซั้งปลา     ผู้เข้าร่วมที่มีความพร้อมลงเรียนไปร่วมกันวางปล้าปลา ด้วยกัน ปิดท้อยด้วยการร่วมกันปล่อนลูกปูม้าร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1. ชาวประมงในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจ ที่เห็นหลายเครือข่ายองค์กรให้ความสำคัญและมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนครั้งนี้ 2. กลุ่มเครือข่างองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมพร้องให้การสนับสนุนในทุกมิติทั้ง งบประมาณ ความรู้ ความร่วมมือ และรวมถึงมาตรการป้องกัน