เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

เวทีอบรมให้ความรู้การจัดทำธนาคารปูม้า25 สิงหาคม 2566
25
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เรียนรู้รูปแบบ วิธีการ เพาะเลี้ยงปูม้า
  2. การคัดเลือกแม่พันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ
  3. การเลือกพื้นที่ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และรวมถึงการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนทำการปล่อย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สืบเนื่องจากกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ริเริ่มจะจัดทำธนาคารสัตว์น้ำ (ปูม้า) แต่ขาดความรู้เรื่อง การเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ปูม้า ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดเวทีในครั้งนี้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยผู้ที่มาให้ความรู้เรื่องการจัดทำธนาคารปูม้า คือ นายวิรชัช เจ๊ะเหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ริเริมจัดทำธนาคารปูม้าของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบกับนอเวศชายหาดของ อำเภอหัวไทรนั้นมีลักษณะคล้ายกับของบ้านตะเคียนดำ ดังนั้นทั้งรูปแบบบ้านปลา และการเพาะเลี้ยงจึงนำของหัวไทรมาเป็นตัวอย่าง โดยในเวทีจะเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการอบรมให้ความรู้อย่างเดียว เพราะเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสามารถแลกเปลี่ยนกันอย่างไม่เก้อเขิน ซึ่ง นายวิรชัช ได้ลำดับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ส่วนคือ
  ส่วนที่ 1 เรียนรู้รูปแบบ วิธีการ เพาะเลี้ยงปูม้า   เน้นการทำควาทเข้าใจกับปูม้าไข่นอกกระดองก่อน ซึ่งเดิมทีการที่ปูม้าไข่นอกกระดองอยู่ในทะเลนั้นจะสามารถเพิ่มอัตราส่วนการของของลูกปูได้มากกว่าการนำมาอยู่ในธนาคารปู แต่ด้วยมีการจับปูม้าไข่นอกกระดองขึ้นมา ทำให้ปริมาณปูม้าลดจำนวนลงในปัจจุบัน จึงต้องมีการจัดทำธนาคารปูม้าขึ้น เพื่อต้องการสร้างจิตสำนึกกับชาวประมง (ผู้จับ) และเพื่อการสื่อสารสาธารณะ (ผู้กิน) ให้ลดการซื้อขายปูม้าไข่นอกกระดอง รวมถึงยกระดับการรับรู้สร้างการเรียนไปยังเด็กและเยาวชนหรือกลุ่มคนที่สนใจอื่นๆ ให้มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในธานคารปูม้าหรือศูนย์การเรียนรู้ได้   อัตราส่วนการรอดของปูม้าที่นำมาเพาะในธนาคารปูม้า มีเพียง 3% เท่านั้น เพราะด้วยอุณหภูมิของน้ำ ที่อยู่อาศัย (ภาชนะที่ใส่) ที่อาจจะทำให้แม่พันธุ์เกิดความเครียด ทุกอย่างมีส่วนสัมพันกันหมดเพราะมันไม่ใช้ที่อยู่ตามธรรมชาติของปู แต่เพื่อต้องการรักษาจำเป็นต้องทำ ดังนั้นการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่เป็นสำคัญ ต้องเป็นภาชนะที่ใหญ่ (ถังสีขาวถ่ายรูปสวย แต่แม่ปูจะมาความเครียมมากกว่าถังสีดำหรือคล้ำ) มีน้ำสะอาด และแสงสว่างน้อย รวมถึงการปรับลดออกซเจนให้มีความเหมาะสม

  1. การคัดเลือกแม่พันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ   ปูไข่นอกกระดองนั้นจะมาสีไข่ 3 แบบคือ 1) ปูไข่เหลือง จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 10 - 20 วัน 2) ปูไข่สีน้ำตาล จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 5 - 10 วัน 3) ปูไข่ดำ จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 1 - 5 วัน ดังนั้นการเลือกแม่พันธุ์ก็มีส่วนสำคัญที่จะระบุผลลัพธ์ที่จะได้ที่ต่างกัน ปูม้า 1 ตัว สามารถปล่อยตัวอ่อนได้มากถึง 250,000 - 2,000,000 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์ ดังนั้นธนาคารปูม้าที่ชาวประมงเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ขณะนี้ สามารถทำได้แค่ระยะซูเอี๊ย (Zoea) จากนั้นก็ปล่อยกลับลงสู่ทะเล ให้เจริญเติบโตด้วยตัวเอง แต่ก็สามารถทำได้ถึงขั้นระยะเมกาโลปา (Megalope) แต่จะต้องมีการให้อาหารซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับชาวประมง ซึ่งอาธิเมีย มีราคาแพงมาก ดังนั้นจึงทำได้แค่เพื่อการทดลอง เทา่นั้น และมีในส่วนของภาคเอกชนที่เขาเห็นความสำคัญและสามารถทำได้ถึงขั้นนี้
  2. การเลือกพื้นที่ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และรวมถึงการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนทำการปล่อย   การคัดเลือพื้นที่ปล่อยก็มีส่วนสำคัญ เพราะหมายรวมถึงอัตราการรอดของปูม้าด้วย ดังนั้นระดับความเค็มของน้ำในขณะที่เพาะฟักจึงมีส่วนสำคัญ โดยต้องไม่ต่างกับความเค็มของน้ำทะเลที่จะนำไปปล่อยด้วยเช่นกัน และการปล่อย ไม่ควรปล่อยในที่เดิมๆ ซ้ำ ต่อเนื่อง เพราะจะมีกลุ่มนักล่า (ปลาต่างๆ) มาเฝ้าพื้นที่นั้นๆและจะกิจลูกปูม้าที่ปล่อยหมด ทำให้อัตราการรอดน้อยลง ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนพื้นที่ปล่อยบ่อยๆ เพื่อหลอกล่อนักล่า

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในเวทีมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสาชาวเลกันได้เข้าใจมากขึ้น เพราะวิทยากรก็เป็นชาวประมง เกิดคามร่วมมือระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำกับสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร ในการร่วมกันปกป้องดูแลรักษาทรัพยากรหน้าบ้าน