เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

เวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง26 กันยายน 2566
26
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ให้ความรู้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ในรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
  2. ให้ความรู้เรื่องสาเหตุที่ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง และประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
  3. ให้ความรู้เรื่องกฎหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงพื้นบ้าน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดเวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายจิรวิช จุลบัษปะ ประมงอำเภอท่าศาลา เป็นวิทยากร ในครั้งนี้ 1. ให้ความรู้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ในรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่   วิทยากรกล่าว : จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำก่อนหน้านี้ และได้ทราบเจตนาของกลุ่มและความเป็นมาพอสมควร และต้องขอชื่นชมกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำมาที่จัดลำดับการดำเนินงานได้เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำกิจกรรมและการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ แนวเขต/บ้านปลา ให้สอดคล้องกับนิเวศของพื้นที่ และรวมถึงการศึกษาเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานกับพื้นที่ที่มีการจัดทำกิจกรรมในลักษณะนี้มาก่อน ในะื้นที่ที่เหมือนกัน อย่างเช่น พื้นที่หัวไทร ดังนั้นประเด็นนี้จึงไม่ต้องแนะนำอะไรมากนัก

  1. ให้ความรู้เรื่องสาเหตุที่ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง และประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
      สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประมาณสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งนครศรีธรรมราชลดลงนั้น เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ การใช้เครื่องมือประมงที่กระทบกับระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่เป็นผลทำให้สัตว์น้ำลดลง การใช้เครื่องมือประเภทที่ผิดกฎหมาย อาทิเช่น ไซตัวหนอน (ไอ้โง่) และเรือรุน ซึ่งเป็น 2 ประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ยังคงมีแอบอยู่ในบางพื้นที่ถึงแม่จะมีการปราบปรามมาอย่างต่อเนื่อง อีกประการคือ เครื่องมือประมงที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่ผิดเพราะมีการนำมาใช้ในเขตพื้นที่ทะเลชายฝั่ง ซึ่งตาม พ.ร.ก.ประมง ปี 2558 และ 2560 ระบุห้ามใช้ในเขตทะเลชายฝั่ง ประกอบด้วย เรืออวนลาก คราด เป็นต้น จากเดิมเมื่อปี 2560 ปริมาณเรือเหล่านี้ลดจำนวนลงมาก เหลือเพียงไม่ถึง 120 ลำ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพบมาในบ้านบางควาย ท่าไร ปากนคร อ.เมือง และปากพยิง บ้านแหลม อ.ท่าศาลา แต่ปัจจุบันจำนวนเรือดังกล่าวเพิ่มขึ้น กว่า 500 ลำ ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนเจ้าพนังงาน และงบประมาณ ไม่เพียวพอ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดความต่อเนื่อง ประกอบกับการมีกลุ่มนายทุนเข้ามาหนุนหลังกลุ่มประมงดังกล่าวทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เกิดปัญหาอุปสรรค

  2. ให้ความรู้เรื่องกฎหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงพื้นบ้าน   พ.ร.ก.ประมมง ปีพ.ศ.2558 และ 2560   เรียนรู้เรื่องกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งการนิยามคำว่า ชาวประมง หรือประมงพื้นบ้าน เพื่อแยกประเถทเรือประมงตามกฎหมาย และมาตรที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนนเขตทะเลชายฝั่ง เพื่อแยกพื้นที่ทำการประมงของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ รวมถึงการกำหนดประเภทเครื่องมือที่ไม่สามารถทำการประมงได้ในเขตทะเลชายฝั่ง ถึงแม้จะเป็นประมงพื้นบ้านก็ตาม   ประเด็นมาตรที่ชาวประมงให้ความสนใจอาทิเช่น ม.57 การกำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าของการบังคับใช้ที่ชัดเจน ที่สำคัญเป็นการเปิดทางให้กลุ่มเครื่องมือที่มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ให้สามารถดำเนินการได้ และเป็นผลให้เกิดความขัดแย้งดังเช่นในปอ่าวปากพนังในขณะนี้   พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 และประกาศกระทรวงคมนาคมที่ 32/2560 ประกอบกฎกระทรวง 64/2537
      ซึ่งเป็นประเด็นที่ชุมชนเกิดความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 นี้ คลาดเคลื่อนกัน โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลกับ สิ่งปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ดังนั้นจึงไม่มีผลกับการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา ที่กลุ่มประมงพื้นบ้านดำเนินการ เพราะไม่ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถาวร และต้องไม่กระทบกับการเดินเรือ ซึ่งลักษณะการจัดว่างแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลานั้น ไม่ได้จัดวางเต็มพื้นที่ แต่เป็นการจัดวางที่มีลักษณะเป็นเขต แนว เป็นกลุ่มกองที่ชีดเจน พร้อมกับมีการแสดงสัญลักษณ์ ที่ชัดเจน อีกทั้งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น สร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มชาวประมงที่อาจจะได้รับผลกระทบได้แล้ว และทุกคนคิดเห็นและรับรู้ร่วมกัน จึงไม่ต้องกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกิจกรรม

ปิดท้ายด้วยกิจกรรมการร่วมกันปล่อยลูกปูม้าลงสู่ทะเลร่วมกัน ซึ่งเป็นลูกปูม้าของกลุ่มประมงพื้บ้านตะเคียนดำ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกในกลุ่มประมงเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายประมงที่มีผลต่ออาชีพมากยิ่งขึ้น เกิดการพูดคุยจนนำไปสูการหาแนวทางหรือมาตรการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มที่ชัดเจนมากขึ้น