ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและการจัดการกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ตำบลปากน้ำ และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่212 พฤษภาคม 2567
12
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Kumpl
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

"กิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE (ครั้งที่ 2)"
วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ.ศาลากลางน้ำ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เวลา 08:30 - 12:30 น. มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก5พื้นที่ มีจำนวน คน ดังนี้ : 1). นายหะฟิซ ติงหวัง 2). นางสาวรัศญา องศารา 3). นางสาวขนิษฐา โสตา 4). นางบีฉีะ องศารา 5). นางราตรี โสสนุย 6). นางสาวอภัสนันต์ โสสนุย 7). นางสุทิพธ์ ผิวดี 8). นายอาหมาด หยี่ยูโส๊ะ 9). นายอาเหรน นิ่งสระ 10). นายสมคิด อำมาตี 11). นางสาวภิราภรณ์ เบ็ญขุนทด 12). นายกัมพล ถิ่นทะเล 13). นายตัมสัก สันบาหมีน 14). นายสมนึก ขุนแสง 15). นายเจษฎา บังคม 16). นายบุญคล่อง รองเดช 17). นายบูอาสัน หับหยู่โส๊ะ 18). นางนัชชา งะสมัน 19). นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ 20).นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล 21).นายสมยศ โต๊ะหลัง 22).นายจักรกริช ติงหวัง 23).นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี 24).สุวัลยา ญายาหมัน เป็นการเปิดเวทีโดย นายกสมาคมฯรักษ์ทะเลไทย (พี่แท๊บ) และได้ให้แต่ละพื้นที่ (5พื้นที่ คือ ปากน้ำ,หลอมปืน,บ่อเจ็ดลูก,ขอนคลาน,ท่าหิน) แนะนำคณะทำงานรวมไปถึงการเล่าสถานการณ์ในพื้นที่ หลังจากนั้นพี่เลี้ยงก็ได้ชี้แจงรายละเอียดของการถอดบทเรียนโครงการให้โจทย์และได้ให้แต่ละพื้นที่ไประดมข้อมูลมา ดังนี้ โจทย์ข้อที่1 : กลไกของการบริหารจัดการ มีคณะทำงานทั้งหมด ดังนี้ : 1.นายกัมพล ถิ่นทะเล (ผู้รับผิดชอบโครงการ) 2.นายอารัญ หลีหมันสา (คณะทำงาน) 3.นายอารอปัน นุ้นไฉน (คณะทำงาน) 4.นายณรงค์ อัลมาตร (คณะทำงาน) 5.นางสาวถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด (ฝ่ายบัญชี) 6.นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล (คณะทำงาน) 7.นางนุชชุรา งะสมัน (คณะทำงาน) 8.นางวานิตา สำสู (คณะทำงาน) 9.นางห่อดีย๊ะ อาดำ (คณะทำงาน) 10.นัชชา งะสมัน (คณะทำงาน) ** การมีส่วนร่วม - การมีการประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมดูแลเขตอนุรักษ์ ร่วมใช้ประโยชน์ และร่วมรับประโยชน์ ** ภาคี เครือข่ายและหน่วยงาน

หน่วยงาน - สำนักงานประมงจังหวัด - อบต. - อมจ. - อุทยานเภตรา (ตะรุเตา) - ทช - ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง (สตูล) (ให้การสนับสนุนงบประมาณในบางเรื่องบางโครงการ ให้คำปรึกษา ออกแบบผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการขาย เช่น กรขายออนไลน์) เครือข่าย (องค์กร) - สมาคมรักษ์ทะเลไทย - กลุ่มประมงพื้นบ้านหลอมปืน - กลุ่มประมงพื้นบ้านบ่อเจ็ดลูก - กลุ่มประมงพื้นบ้านท่าหิน - สมาคมชางประมงพื้นบ้านขอนคลาน (ต.ขอนคลาน) - ร้านคนจับปลา (สตูล) - ประมงพื้นบ้าน ต.สาคร (อ.ท่าแพ) โจทย์ข้อที่2 : การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ 1.พื้นที่อนุรักษ์ซั้งกอมีพื้นที่ 20 ไร่ อุปกรณ์ทำซั้ง 20 ต้น และมีสบทบจากหน่วยงาน สำนักงานประมงจังหวัด 150 ต้น
2.พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล (เกาะลิดี) มีจำนวน 5 ไร่ ใช้หญ้าจำนวนปลูก 500 ต้น
** ในพื้นที่มีกฏกติกาอย่างไรในพื้นที่อนุรักษ์
1. ห้ามใช้เครื่องมือ ที่เป็นเครื่องมือพาณิชย์ทำประมงในพื้นที่อนุรักษ์ (อวนลาก,อวนรุน,ปั่นไฟ) หญ้าทะเล (บริเวณซั้งให้ใช้เบ็ตอย่างเดียว) หลักฐานคือ การใช้ประโยชน์บริเวณซั้ง (ชุมชนและหน่วยงาน) ** ระบบเฝ้าระวังทะเลบริเวณพื้นที่อนุรักษ์
1. มีข้อตกลงกับพี่น้องชาวประมวงให้ช่วยกันดุแล เครื่องมือที่ผิดกฏหมายไม่ให้มาทำประมงในพื้นที่อนุรักษ์
2. หากพบเห็นเครื่องมือที่ผิดกฏหมาย ให้แจ้งมาที่กลุ่มหรือสมาคมปากน้ำ เพื่อที่จะแจ้งให้กับเจ้าที่รับผิดชอบดำเนินการต่อไป 3.มีการพูดคุยกับชาวประมงในพื้นที่ ไม่ใช้เครื่องมือที่ทำลายจับสัตว์ในพื้นที่อนุรักษ์ ** ใช้เครื่องมือชิดอะไรบ้างในการจับสัตว์น้ำ ในพื้นที่อนุรักษ์ อวน -อวนกุ้ง -อวนปลาทู -อวนปลาทราย -อวนปลากระพง -อวนปุ ไซปู เบ็ต บ๊ะโต๊ะ ผที่ต่อยหอย) ช้อน (ขูดหอยเสียบ)
** สัตว์น้ำ "ก่อน" ที่ทำการอนุรักษ์ - ปลา : ปลาทู,ปลาทราย,ปลาชีกุน - กุ้ง : กุ้งแช่บ๋วย - ปูม้า พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล - หอย - ปู (ลูกปูมีน้อย) ** สัตว์น้ำ "หลัง" ในพื้นที่อนุรักษ์ - มีปลาเพิ่มขึ้นบริเวณอนุรักษ์ เช่น เปาเก๋า,ปลากระพงขาว,ปลากระพงแดง,ปลากระพงข้างพาน,ปลาสาก,ปลาอินทรา,ปลาหลังเขียว,ปลาอินทรีย์,ปลาชีกุน,ปลาทู,ปลามง,ปลาทราย,ปลาสีเสียด,ปลาตาขี้มัน,หอยแมลงภู่,กุ้งแช่บ๋วย,กุ้งหัวเรียว,กุ้งหัวมัน ในพื้นที่ปลูกหญ้าทะเล -ปูม้า - หอย หอยชักตีน,หอยเจ โจทย์ที่3 เกิดการจัดการต้นทุนเครื่องมือ/กลุามออมทรัพย์/รายได้+ช่องทางการขาย **คณะกลุ่มทำงานกลุ่มออมทรัพย์ - นายกัมพล ถิ่นทะเล (ประธาน) - นางนัชชา งะสมัน (รองประทาน) - นางสาวถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด (คณะทำงาน) ** รายได้ ก่อนและหลัง ทำประมง ก่อนทำการทำซั้ง - รายได้ 7,000-12,000 บาท/เดือน หลังทำการวางซั้ง - รายได้ 10,000-15,000 บาท/เดือน (สำรวจจากพี่น้องชาวประมง,กับตัวเองและแพชุมชน) ** การบริโภคอาหารทะเล ก่อนและหลัง ก่อน - กินอาหารทะเลไม่ค่อยสด - อาหารทะเลถูกการแช่น้ำแข็งเพราะที่จับสัตว์น้ำอยู่ไกลจากชายฝั่งต้องค้างคืน ประมาณ 1-2 คืน ค่อยกลับเข้าฝั่ง - กินน้อยลงเน้นขายมากกว่า เพราะราคาต้นทุนสูง (นัชชา งะสมัน) หลัง - กินอาหารสด อาหารทะเลสดมากขึ้น - บริโภคมารกขึ้นเพราะอาหารทะเลสดตลอด
- ต้นทุนลดลง เพราะว่าทำการประมงใกล้ๆบ้านและออกบริเวณแถวหน้าบ้าน (อีฉ๊ะ ถิ่นทะเล) ** ผลิตภัณฑ์การแปรรูปสัตว์น้ำพื้นบ้าน ปลาสดแช่ - ปลากระพง -ปลาเก๋า - ปลาอินทรีย์ - ปลาน้ำดอกไม้ - ปลาทราย - กุ้งแช่บ๋วย - ปุ (เนื้อปูกับปูนึ่ง) - ปลาทู
- ปลาหลังเขียว - ปลามง สัตวืน้ำที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสัตวืน้ำตามฤดุกาล ประเภทอาหารปรุงสุก ผรับลูกค้าที่ร้านและส่งนอกสถานที่) - แกงตูมิ - แกงส้ม - หมึกพัดน้ำดำ - กุ้งสามรส - ปุนึ่ง - หมึกพัดพริกไทดำ - น้ำพริกปลากรอบ - น้ำพริกสมุนไพรทรงเครื่อง - น้ำพริกปลาสามรส (ใช้ปลาน้ำดอกไม้และลูกปลาพลอยจับ ** ปัญหา (ในโครงการ) - เกี่ยวกับเอกสารต้องรายงานในระบบคอมซึ่งชาวบ้านบางคนใช้ไม่เป็น ** ปัญหา อุปสรร และการมองไกลในอนาคต ปัญหา - เวลาว่างไม่ตรงกัน เวลามีประชุม - สัตว์น้ำราคาไม่คงที่ - สัตว์น้ำไม่ตรงตามฤดูกาล อุปสรรค - เป็นพายุ - สภาพอากาศ - เรื่องการขาย,การส่งออกสินค้า การมองไกลในอนาคต - ถ้ามีโครงการสนับสนุนครั้งต่อไปจะทำเขตคุ้มครองทางทะเล ขยายการขับเคลื่อนเขตคุ้มครองทางทะเล การจัดการระบบนิเวศ (หญ้าทะเล,บ้านปลา,ป่าชายเลนในเขตปากน้ำ ** การจัดการผลผลิต/แปรรุป - ยกระดับร้านคนจับปลาเป็นภัตตาคารอาหารทะเลชุมชน เช่น การรังสรรค์เมนูโดยต้องการให้เชฟมาสอน พัฒนาการยกระดับในการทำอาหาร ** การจัดการผลผลิต/งานอนุรักษ์ - เขตคุ้มครองทางทะเล ถ้ามีโครงการสนับสนุนครั้งต่อไป จะทำเขตคุ้มครองทางทะเลและขยายการขับเคลื่อนทำเขตคุ้มครองทางทะเล การจัดระบบนิเวศ (หญ้าทะเล,บ้านปลา,ป่าชายเลนในเขตตำบลปากน้ำ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้ลงพื้นที่ ร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน 5 พื้นที่
  • ในอนาคตจะมีการต่อยอดในเรื่องงานการอนุรักษ์ให้สามารถขยับขยายไปได้อีก