การฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งสู่การจัดการเขตอนุรักษ์บันเบ๋อในตำบลขอนคลาน

กิจกรรมประชุมถอดบทเรียนการทำงาน (ARE) ครั้งที่ 212 มีนาคม 2567
12
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Dungporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีถอดบทเรียนโครงการในพื้นที่จังหวัดสตูล (ภายใต้งบประมาณการสนับสนุนจาก สสส.) วันอาทิตย์ที่ 12 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.30 น. – 12.30 น. ณ ศาลากลางน้ำ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

เปิดเวทีถอดยทเรียนโครงการ โดย นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย
ตอนนี้ทาง 4 จังหวัดได้ดำเนินกิจกรรมโครงการ เหมือนกัน และมีการถอดบทเรียนที่รวมกลุ่มกันทั้งจังหวัด เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินการ การดำเนินงานของทีมเรา มีหลายคนที่กำลังจับจ้อง และมีคนพร้อมที่จะช่วยเหลือ นอกจาก 5 จังหวัดที่ได้ดำเนินการก็ต้องมีการขยายผล ขยายจังหวัดในการดำเนินงาน วันนี้คงใช้เวลาไม่นานที่จะใช้เวลาในการถอดบทเรียน ประชาสัมพันธ์งานที่พื้นที่ราไว งานบอบอดี ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 เป็นพื้นที่ที่ให้ชาวบ้านได้ออกมาปลดปล่อยความสามารถหรือสิ่งที่อยากทำ งานที่จะเกิดขึ้นที่เป็นงานสุดท้ายในการดำเนินโครงการทั้ง 5 จังหวัด คือ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม สถานที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

ตัวแทนแต่ละพื้นที่ แนะนำคณะทำงานและเล่าสถานการณ์ในพื้นที่
ขอนคลาน : ได้ดำเนินการเรื่อง เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ปากน้ำ : ได้ดำเนินการเรื่อง 1.เขตอนุรักษ์ 2.การพัฒนาการตลาด 3.กลุ่มออมทรัพย์ และอีกส่วนที่อยากจะทำ เริ่มที่จะออกไปดูงาน คือ กองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน
ท่าหิน : สิ่งที่ท่าหินกำลังดำเนินการอยู่ คือ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในบริเวณท่าหิน หลอมปืน : ดำเนินการเรื่อง คือ เขตอนุรักษ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพื้นที่ เพื่อให้เกิดรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ บ่อเจ็ดลูก : การดำเนินการ ตอนนี้เน้นการทำงานด้านการ อนุรักษ์พื้นที่และพันธุ์สัตว์น้ำ

ชี้แจงรายละเอียดการถอดบทเรียนโครงการให้โจทย์ และให้แต่ละพื้นที่ไประดมข้อมูล โจทย์ถอดบทเรียน
1. รายชื่อคณะทำงานแต่ละพื้นที่ มีกี่คน
2. ประมงอาสาในพื้นที่มีกี่คน , รายชื่อประมงอาสา (พื้นที่ที่มีประมงอาสา) 3. พิกัดที่แต่ละโครงการทำงานอนุรักษ์ จำนวนกี่ไร่ (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) 4. กติกา/ข้อตกลง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ MOU (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) 5. สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) 6. เครื่องมือประมงที่ทำการประมง ช่วงเวลาการทำประมง จำนวนเรือ  (ก่อนและหลังทำโครงการ) 7. รายได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) 8. ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พื้นที่ผลิต (พื้นที่ที่ทำการแปรรูป) 9. การบริโภคอาหารทะเลในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง (ก่อนและหลังทำโครงการ) 10. ภาคีเครือข่ายที่แต่ละพื้นที่ทำงานร่วมกัน มีหน่วยงานใหนบ้าง
11. ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
12. ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ 13. ปัญหา อุปสรรค และการมองไปในอนาคตของแต่ละพื้นที่

ข้อมูลพื้นที่ปากน้ำ
รายชื่อคณะทำงานแต่ละพื้นที่ มีกี่คน
1. นายกัมพล ถิ่นทะเล ผู้รับผิดชอบโครงการ 2. นายอารัญ หลีหมันสา คณะทำงาน 3. นายอารอปัน นุ้ยไฉน คณะทำงาน 4. นายณรงค์ อัลมาตร คณะทำงาน 5. น.ส.ถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด ฝ่ายบัญชี 6. นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล คณะทำงาน 7. นางนุซุรา งะสมัน คณะทำงาน 8. นางวานิตา สำสู คณะทำงาน 9. นางห่อดีย๊ะ อาศา คณะทำงาน 10. นางนัชชา งะสมัน คณะทำงาน

คณะกลุ่มทำงานกลุ่มออมทรัพย์ประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ
1. นายกัมพล ถิ่นทะเล ประธานกลุ่มออมทรัพย์ 2. นางวานิตา        สำสู รองประธานกลุ่มออมทรัพย์ 3. นางนัชชา งะสมัน การเงิน/เหรัญญิก
4. น.ส.ถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด ทะเบียนกลุ่มออมทรัพย์ 5. นางนุซุรา งะสมัน กรรมการ 6. นางห่อดีย๊ะ อาดำ กรรมการ
7. นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล กรรมการ

ประมงอาสาในพื้นที่มีกี่คน , รายชื่อประมงอาสา (พื้นที่ที่มีประมงอาสา) พื้นที่ตำบลปากน้ำ เราไม่มีกลไกประมงอาสาที่ชัดเจน แต่มีระบบเฝ้าระวังทะเลบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ ดังนี้
1. มีข้อตกลงกับพี่น้องชาวประมงให้ช่วยดูแลสอดส่องเครื่องมือที่ผิดกฎหมายไม่ให้มาทำประมงในพื้นที่อนุรักษ์ 2. หากพบเห็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมายให้แจ้งมาที่กลุ่มหรือสมาคมปากน้ำ เพื่อที่จะแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการต่อไป 3. มีการพูดคุยกับชาวประมงในพื้นที่ไม่ให้ใช้เครื่องมือที่ทำลายสัตว์น้ำในพื้นที่อนุรักษ์





พิกัดที่แต่ละโครงการทำงานอนุรักษ์ จำนวนกี่ไร่ (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น) 1. พื้นที่อนุรักษ์ซั้งกอ
พื้นที่ อนุรักษ์ซั้งกอ มีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ ในโครงการนี้พื้นที่ปากน้ำมีการทำซั้งกอทั้งหมด 20 ต้น และได้รับการสมทบจากหน่วยงานสำนักงานประมงจังหวัดสตูล 150 ต้น อยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล














2.พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล
พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล ตำบลปากน้ำ ทั้งหมด 5 ไร่ อยู่ในพื้นที่ เกาะลิดี โดยใช้หญ้าในการปลูก 500 ต้น














กติกา/ข้อตกลง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ MOU (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น) ๑) ไม่ใช้ล้อมอวนทุกชนิดในลักษณะล้อมซั้ง เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำบริเวณซั้งกอ บ้านปลาจำนวนมากเกินไป
๒) ไม่ใช้แพปั่นไฟ ที่มีการปั่นไฟด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิด บริเวณซั้งกอบ้านปลา เว้นแต่ใช้ไฟ แสงสว่างจากแบตเตอรี่ หรือเพื่อให้แสงสว่างบนเรือ ๓) ไม่ใช้เครื่องมือกระทุ้งน้ำ หรืออื่นใด ที่มีลักษณะคล้ายกัน เพื่อวัตถุประสงค์ไล่ต้อน สัตว์น้ำ กระทำต่อสัตว์น้ำ ในบริเวณซั้งกอ
๔) ไม่ใช้เครื่องมือประมงอื่นใดที่กฎหมายกำหนดห้ามมิให้ใช้ในเขตทะเลชายฝั่ง
๕)จะใช้“เบ็ด”เพียงอย่างเดียวในบริเวณซั้งกอบ้านปลาเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากซั้งกอ บ้านปลาเป็นไปอย่างยั่งยืน ห้าม การใช้เบ็ดทำการประมงเพื่อการอื่น เช่น การใช้เบ็ดตกปลาเชิงพานิชย์ หรือการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ ๖) กำหนดมีขอบเขตในการจัดการที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อย่างยั่งยืน ในข้อกำหนด ๑-๕ ในรัศมี ๒๐๐ เมตร รอบซั้งกอบ้านปลา


สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง สัตว์น้ำก่อนที่ทำการอนุรักษ์ 1. ปลา : ปลาทู ปลาทราย 2. กุ้ง : กุ้งแช่บ๊วย 3. หอย
4. ปู : ปูม้า พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล 1. หอย 2. ปู : ลูกปู ที่มีจำนวนน้อย หลังจากทำการอนุรักษ์วางซั้งกอ ปลาที่มีเพิ่มขึ้นบริเวรพื้นที่อนุรักษ์ มีการสำรวจโดยชาวประมงและทีมคณะทำงานโครงการฯ 1. ปลาเก๋า 2. ปลากะพงขาว 3. ปลากะพงแดง 4. ปลากะพงข้างพาน 5. ปลาสาก 6. ปลาอินหา 7. ปลาหลังเขียว 8. ปลาอินทรีย์ 9. ปลาซีกุน 10. ปลาทู 11. ปลามง 12. ปลาทราย 13. ปลาสีเสียด 14. ปลาราตาขี้มัน 15. หอยแมลงภู่ 16. กุ้งแช่บ๊วย 17. กุ้งหัวเรียว 18. กุ้งหัวมัน พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล 1. ปูม้า 2. หอย : หอยชักตีน หอยเล

เครื่องมือประมงที่ทำการประมง ช่วงเวลาการทำประมง จำนวนเรือ  (ก่อนและหลังทำโครงการ) 1. เครื่องมือ ประเภท อวน ได้แก่ อวนกุ้ง อวนปลาทู อวนปลาทราย อวนปลากะพง อวนปู 2. ไซปู 3. เบ็ด 4. บ๊ะโต๊ะ ใช้สำหรับต๋อยหรือเจาะในการหาหอย 5. ช้อน ให้สำหรับขุดหอยเสียบ

รายได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน การทำซั้ง หลัง การทำซั้ง รายได้ที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือน
- 7,000 บาท – 10,000 บาท/เดือน รายได้ที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือน - 10,000 บาท – 15,000 บาท/เดือน หมายเหตุ : ข้อมูลที่เกิดขึ้น เกิดจากการสำรวจพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน และจากแพชุมชน

ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พื้นที่ผลิต (พื้นที่ที่ทำการแปรรูป) 1. สินค้าอาหารสด ที่มีตามฤดูกาล ประกอบไปด้วย ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาอินทรีย์ ปลาน้ำดอกไม้ ปลาทราย กุ้งแช่บ๊วย ปู เนื้อปู ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลามง 2. อาหารปรุงสุก โดยการรับลูกค้าที่เข้ามาทานที่ร้าน และส่งนอกสถานที่ ประกอบไปด้วย แกงตูมี่ แกงส้ม หมึกผัดดำ กุ้งสามรส ปูนึ่ง หมึกผัดพริกไทยดำ น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกสมุนไพรทรงเครื่อง น้ำพริกปลาสามรส

การบริโภคอาหารทะเลในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง 1. กินอาหารทะเลที่ไม่สด 2. อาหารทะเลถูกการแช่น้ำแข็งเพราะที่จับสัตว์น้ำอยู่ไกลจากชายฝั่งต้องค้างคืน 1-2 คืน ค่อยกลับมาเข้าฝั่ง 3. กินน้อยลง เน้นขายมากกว่า และราคาต้นทุนสูง โดย นางนัชชา ง๊ะสมัน กินอาหารทะเลสดมากขึ้น บริโภคมากขึ้น เพราะการทำประมงใกล้บ้าน สามารถหาได้บริเวณหน้าบ้านของตนเอง


โดย นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล


ภาคีเครือข่ายที่แต่ละพื้นที่ทำงานร่วมกัน มีหน่วยงานใหนบ้าง
หน่วยงานราชการ ภาคีเครือข่าย 1. สำนักงานประมงจังหวัดสตูล 2. องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ 3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล 4. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
5. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา 6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงจังหวัดสตูล 7. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1. สมาคมรักษ์ทะเลไทย 2. กลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 3. กลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านบ่อเจ็ดลูก 4. กลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านท่าหิน 5. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน 6. ร้านคนจับปลา จังหวัดสตูล 7. กลุ่มประมงพื้นที่ตำบลสาคร

ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
การมีส่วนร่วมในชุมชน ผ่านการประชุมปรึกษาหารือร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมดูแลเขตอนุรักษ์ รวมถึงการร่วมใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์

ปัญหา อุปสรรค และการมองไปในอนาคตของแต่ละพื้นที่ 1. ปัญหา อุปสรรค
a. การรายงานโครงการในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากทีมคณะทำงานเป็นชาวประมงที่ไม่ถนัดในด้านนี้ b. เวลาว่างของคณะทำงานไม่ตรงกัน
c. ราคาสัตว์น้ำที่ไม่คงที่ d. สัตว์น้ำไม่ตรงตามฤดูกาล e. สภาพอากาศไม่อำนวยในการออกประมงหาสัตว์น้ำ 2. การมองไปในอนาคต a. ยกระดับร้านคนจับปลา เป็นภัตตาคารอาหารทะเลชุมชน เช่น การรังสรรค์เมนูต้องการให้เชฟมาสอนในการปรุงอาหาร พัฒนาและยกระดับในการทำอาหาร b. เขตคุ้มครองทางทะเล และขยายการขับเคลื่อนทำเขตคุ้มครองทางทะเล การจัดระบบนิเวศ (หญ้าทะเล บ้านปลา ป่าชายทะเล)








ข้อมูลพื้นที่ขอนคลาน รายชื่อคณะทำงานแต่ละพื้นที่ มีกี่คน
1. นายสมนึก ขุนแสง
2. นายตัมสัก สันบ่าหมีน 3. นางดวงพร ชุ่มพลวงศ์ 4. นางดวงจิต รวนเร 5. นางราตรี โสสนุย 6. นายกอเฉ็ม นิยมเดชา 7. นางสุทิพย์ ผิวดี 8. นางปรีดา หมานหยวง 9. นายประสิทธิ์ รวนเร 10. น.ส.อภัสนันท์ โสสนุย 11. นางมินตรา โมหาญ

ประมงอาสาในพื้นที่มีกี่คน , รายชื่อประมงอาสา (พื้นที่ที่มีประมงอาสา) รายชื่อทีมประมงอาสา 1. นายสราวุธ ไชยเทพ 2. นายอนุสรณ์ มองเหีย 3. นายอนุมัด โสสนุย 4. นายอิคลาส ขุนแสง 5. นายธนายุทธ รวนเร 6. นายณัฐวุฒิ รวนเร 7. นายประเสริฐ เหมรา 8. นายนิตย์ หมานยวง 9. นายอรุณ ท้ายวัง 10. นายเทวี ขุนแสง 11. นายสมญา ผิวดี 12. นายสมวงศ์ รักชาติ 13. นายหมัด แหน่งนุ้ย 14. นายเดช หลังเถาะ 15. นายมูฮัมหมัด ผิวดี


ระบบการเฝ้าระวัง 1. ลาดตะเวนโดยคณะทำงานร่วมกับประมงอาสาและเจ้าหน้าที่ โดยมีลายเซ็นและรูปภาพในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง 2. กลุ่มชาวประมงในพื้นที่มีการช่วยสอดส่องดูแล ส่งข่าวให้คณะทำงาน

พิกัดที่แต่ละโครงการทำงานอนุรักษ์ จำนวนกี่ไร่ (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น )

บริเวณการังเต่า บ้านปลา บ้านขอนคลาน





























แผนที่เขตอนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ


เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ 1. วางซั้งกอ บริเวณกระรังเต่า 2. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจากธนาคารปู 4 หมู่บ้าน 1 ชุมชน 3. ปลูกหญ้าทะเล 4. ซั้งเชือก 5. ศึกษาวิจัยประเมินความเปลี่ยนแปลงในเขตอนุรักษ์ฯ 6. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ
7. ปลูกป่าชายเลน 8. วางทุ่นแนวเขต 9. ทำป้ายกติกาประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์ 10. เสนอข้อบัญญัติต่อหน่วยงาน อบต. 11. ทำ MOU บันทึกความเข้าใจกับทุกหน่วยงาน 60 ต้น 10 ล้านตัว 5 ไร่ 70 ต้น

ปีละ 2 ครั้ง


4 ป้าย

15 หน่วยงาน

กติกา/ข้อตกลง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ MOU (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) 1. การทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนรุนประกอบเรือยนต์ 2. การทำประมงโดยอวนลากทุกชนิด 3. การทำประมงโดยใช้อวนล้อมที่มีสานพาน 4. การทำประมงโดยใช้อวนทุกชนิดประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำการประมงในเวลากลางคืน ยกเว้นใช้ แบตเตอรี่ หรือเพื่อใช้เป็นแสงสว่างภายในเรือ 5. ห้ามทำการประมงทุกชนิดในระยะ 200 เมตร ระบบบริเวณที่มีการทำ ซั้งกอบ้านปลา ยกเว้นการทำประมงด้วยเบ็ดเพียงอย่างเดียว 6. การใช้โพงพาง รั้วไซมาน หรือ หั้นซู่ รั้วไซมาน ลี่ ละวะ โป๊ะยก จันทา หรือเครื่องมือที่มีลักษณะและวิธีคล้ายคลึงกัน 7. การทำประมงโดยใช้ไม้กระทุ้งน้ำ 8. ห้ามจับสัตว์น้ำวัยอ่อน 9. การทำประมงโดยใช้เครื่องมือคราดหน้าดินประกอบเรือยนต์ทุกชนิด 10. การทำประมงโดยใช้ไซ หรือลอบที่มีขนาดตาอวนต่ำกว่า 2.5 นิ้ว

สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง สัตว์ทะเล 1. กุ้ง 2. ปลา ได้แก่ ปลาทู ปลากะพง ปลาเก๋า ปลากูกู่ ปลาตะหลัง ปลาจาระเม็ด ปลาทราย ปลาตาขาว ปลาหลังเขียว ปลากุเหร่า ปลาล่าหมา
3. ปู ได้แก่ ปูม้า ปูเสือ ปูดำ ปูแดง 4. หอย ได้แก่ หอยหมาก หอยท้ายเภา หอยเจดีย์ หอยเดือน หอยตาแดง หอยแมลงภู่
5. หมึก ได้แก่ หมึกกระดอง หมึกหอม หมึกกบ หมึกกล้วย
6. แมงกระพรุ่น หลังจากดำเนินโครงการ มีชนิดสัตว์น้ำเท่าเดิม แต่มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มจำนวนมากขึ้น *อ้างอิงข้อมูล จากใบเสร็จชาวประมง และแพในชุมชน

เครื่องมือประมงที่ทำการประมง ช่วงเวลาการทำประมง จำนวนเรือ  (ก่อนและหลังทำโครงการ)

ก่อน หลัง 1. อวนลอยกุ้ง 2. อวนปู 3. อวนปลาทราย 4. อวนปลาหลังเขียว 5. ลอบหมึก 6. ลอบปู 7. โป๊ะยก/โป๊ะน้ำตื่น 8. อวนรุน/อวนลาก/โพงพาง 9. กระทั่งน้ำ 10. ไซหนอน 1. อวนลอยกุ้ง 2. อวนปู 3. อวนปลาทราย 4. อวนปลาหลังเขียว 5. ลอบปู 6. ลอบหมึก 7. เบ็ดโศก 8. ไซหนอน อ้างอิงข้อมูล จาก ชาวเรือประมงและแพชุมชน ที่ทำประมงบริเวณในเขตและนอกเขตอนุรักษ์

รายได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง แต่ก่อนเปรียบเสมือนหม้อข้าว ได้มาพอกินพอใช้ในครัวเรือน มีหนี้สินผูกพันกับแพในชุมชน

เฉลี่ยต่อปีในครัวเรือน 150,000 บาทต่อปี เปรียบเสมือนตู้ ATM ของชาวประมง หนี้สินลดลง รายได้เพิ่มขึ้น

เฉลี่ยต่อปีในครัวเรือน 250,000 บาท ถึง 350,000 บาทต่อปี อ้างอิงข้อมูลจาก ใบเสร็จ แพในชุมชน และรายรับรายจ่ายของชาวประมง

ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พื้นที่ผลิต (พื้นที่ที่ทำการแปรรูป) พื้นที่ที่ใช้ในการจำหน่ายและแปรรูปสินค้า คือ “วิสาหกิจชุมชนริมเลขอนคลาน” ผลิตภัณฑ์แปรรูป ดังนี้ 1. น้ำพริกปู 2. ปูหยองทรงเครื่อง 3. ปลาสามรส 4. ปลาเค็ม 5. ข้าวเกรียบปู 6. ขนมผูกรัก 7. คั่วกลิ้งปู 8. มันปู 9. น้ำปลาหวานมันปู 10. แมงกะพรุนลวกจิ้ม

การบริโภคอาหารทะเลในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง เน้นขายก่อนบริโภค ทานสัตว์น้ำที่มีตำหนิจากการคัดเลือกจากแพ เช่น กุ้งหัวขาด ปลาทรายหางขาด ปูม้านิ่ม ฯลฯ นำมาทานเพื่อไม่ได้มีผลกระทบต่อรายได้ที่เกิดขึ้น และจำนวนสัตว์น้ำที่หามาได้น้อย เน้นบริโภคก่อนขาย มีจำนวนสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นและการหาสัตว์น้ำได้จำนวนเพิ่มขึ้น จึงสามารถแบ่งส่วนมาบริโภคในครัวเรือนและนำไปขายได้

โดย นางราตรี โสสนุย

ภาคีเครือข่ายที่แต่ละพื้นที่ทำงานร่วมกัน มีหน่วยงานใหนบ้าง
การทำงานของโครงการ มีหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนด้านงบประมาณ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลขอนคลาน ร่วมถึงภาคีเครือข่ายที่คอยช่วยสนับสนุนการทำงาน หน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่าย 1. ที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า 2. องค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน 3. ประมงจังหวัดสตูล 4. ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล 5. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา 6. หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะสตูล 7. ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 26 (ทุ่งหว้า สตูล) 8. ประมงอำเภอทุ่งหว้า 9. เจ้าท่าส่วนภูมิภาคสตูล 10. องค์กรศาสนา 1. สมาคมประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน 2. สมาคมรักษ์ทะเลไทย 3. มูลนิธิอันดามัน 4. สภาองค์กรชุมชนตำบลขอนคลาน ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
คนในชุมชนเห็นความสำคัญและเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรในเขตอนุรักษ์มากขึ้น

ปัญหา อุปสรรค และการมองไปในอนาคตของแต่ละพื้นที่ ปัญหา อุปสรรค 1. มีการลักลอบทำเครื่องมือผิดกฎหมายกติกาของชุมชนมาจากคนนอกพื้นที่ 2. ไม่มีงบประมาณในการออกลาดตะเวนอย่างต่อเนื่อง 3. ฝ่ายปกครองไม่ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการอนุรักษ์ การมองไปในอนาคต 1. สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อเป็นทายาทในการอนุรักษ์ 2. สรรหากิจกรรมอย่างต่อเนื่องในเขตอนุรักษ์
































ข้อมูลพื้นที่บ่อเจ็ดลูก รายชื่อคณะทำงานแต่ละพื้นที่ มีกี่คน
กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งบ้านบ่อเจ็ดลูก 1. นายอาหมาด หยียูโส๊ะ ประธาน 2. นายสมชัย มณีโชค รองประธาน 3. นางอน ถิ่นสตูล เลขานุการ 4. นายมารูดดีน หวังสบู กรรมการ
5. นายบาเอน ถิ่นสตูล กรรมการ 6. นายอาหรน หวังสบู กรรมการ 7. นายเล็ก สอและ กรรมการ 8. นางลัดดา เหมรา กรรมการ

พิกัดที่แต่ละโครงการทำงานอนุรักษ์ จำนวนกี่ไร่ (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น )

ปลูกป่าโกงกาง  ต้นโกงกางใบเล็ก จำนวน 100 ต้น  ต้นโกงกางใบใหญ่ จำนวน 100 ต้น

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  ลูกปูม้า จำนวน 2 ล้านตัว  ลูกกุ้ง จำนวน 1.5 ล้านตัว


พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ปลูกป่าชายเลน และยังเป็นพื้นที่ที่มีบริเวณในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ








กติกา/ข้อตกลง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ MOU (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) 1. ห้ามใช้เครื่องมือผิดกฎหมายทำลายล้างเข้ามาทำการประมงในบริเวณหน้าบ้านบ้านบ่อเจ็ดลูก
2. ดูแลติดตามเฝ้าระวังเขตพื้นที่ปลูกป่าโกงกาง 3. สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในบริเวณป่าชายเลนได้ เช่น ตกปูดำ  แต่ต้องมีการฟื้นฟูและช่วยกันอนุรักษ์ 4. ห้ามทิ้งขยะบริเวณป่าชายเลน 5. กำหนดเขตปลูกป่าโกงกาง 10 ไร่ เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูบ้านบ่อเจ็ดลูก

สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง เมื่อก่อนจำนวนสัตว์เหล่านี้มีจำนวนน้อย และชาวประมงที่จับสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่จะจับได้ในปริมาณน้อยและมีสัตว์ตัวเล็กติดมาด้วย 1. ปูม้า 2. ปลาสร้อย 3. ปลาดอกหมาก 4. ปลาเก๋าแดง 5. หอยโข่ง 6. กุ้งแช่บ๊วย ปัจจุบันชาวประมงจับสัตว์น้ำในปริมาณที่เยอะขึ้น เช่น
1. กุ้งแช่บ๊วย
2. ปลาทราย 3. ปลาหลังเขียว
4. หอยท้ายเภา
5. หอยหวาน 6. หอยผีเสื้อ 7. หอยลักไก่ 8. ปูม้า 9. ปลาสร้อย 10. ปลาดอกหมาก 11. ปลาเก๋าแดง 12. หอยโข่ง 13. กุ้งแช่บ๊วย

ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พื้นที่ผลิต (พื้นที่ที่ทำการแปรรูป) กลุ่มการจัดการผลผลิต ยังไม่มี แต่มีการปรึกษาหารือ เพื่อต่อยอดงานในปีต่อไป

การเกิดธนาคารปูม้าบ้านบ่อเจ็ดลูก โดยมีขั้นตอนการเริ่มดำเนินการ ดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมสถานที่ หาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำธนาคารปูม้า
2. ติดตั้งอุปกรณ์พักแม่ปู 3. รอรับบริจาคแม่ปูจากสมาชิก





การบริโภคอาหารทะเลในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง เมื่อก่อนการรับประทานอาหารทะเล ใน 1 วัน รับประทานอาหารทะเล จำนวน 2 มื้อ เพราะต้องคำนึงถึงรายได้ในครัวเรือนที่ต้องนำสัตว์น้ำที่ได้ไปขายก่อนที่จะนำมาบริโภคในครัวเรือน ในปัจจุบันสัตว์น้ำมีจำนวนมากขึ้น สามารถนำมาบริโภคในครัวเรือนได้ และแบ่งขายในจำนวนนึง โดยการบริโภคในครัวเรือนของคนในพื้นที่ มีการบริโภคอาหารทะเลที่เกิดจากการแบ่งปัน ออกหาด้วยตนเองและซื้อจากแพในพื้นที่

ภาคีเครือข่ายที่แต่ละพื้นที่ทำงานร่วมกัน มีหน่วยงานใหนบ้าง ภาคีเครือข่ายและบทบาทหน้าที่ ชื่อหน่วยงานภาคีเครือข่าย บทบาท 1. กองป้องกัน ปราบปรามและบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง (ป่าชายเลน) 2. สำนักงานประมงจังหวัดสตูล 3. โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก 4. สมาคมรักษ์ทะเลไทย 5. มูลนิธิอันดามัน 6. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 7. กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 8. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน 9. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 10. แกนนำ ผู้นำ ชาวบ้านภายในชุมชน สนับสนุนพันธุ์ต้นโกงกาง

สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ เข้าร่วมกิจกรรม พี่เลี้ยงโครงการและหน่วยเก็บรวบรวมข้อมูล พี่เลี้ยง ทำงานร่วมกัน ทำงานร่วมกัน ทำงานร่วมกัน สนับสนุนข้อมูลและกฎหมายประมง

เข้าร่วมกิจกรรม

ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
1. สร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน ในเรื่องการจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์และนอกเขตอนุรักษ์ 2. จำกัดเรื่องเวลาของชาวประมงในการออกทะเล โดยข้อตกลงส่วนใหญ่มาจากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการประชุม

ปัญหา อุปสรรค และการมองไปในอนาคตของแต่ละพื้นที่ ปัญหาและอุปสรรค 1. ในพื้นที่ไม่ค่อยมีอินเตอร์เน็ต หรืออินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ 2. การจัดทำเอกสาร ที่คณะทำงานไม่ค่อยเข้าใจ 3. การลงระบบที่มีความยุ่งยาก เนื่องจากคณะทำงานเป็นแค่ชาวประมง อาจจะใช้เวลาในการทำความเข้าใจ 4. ขาดการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ การมองไปในอนาคต 1. การทำป้ายสื่อสาร เรื่องกติกาในการจับสัตว์น้ำ เวลาที่ชาวประมงจะออกทะเล เป็นต้น

ข้อมูลพื้นที่หลอมปืน รายชื่อคณะทำงานแต่ละพื้นที่ มีกี่คน
จากการดำเนินโครงการฯ กลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย ก่อนเริ่มดำเนินโครงการฯ มีกลไกที่ประกอบด้วย เยาวชน 3 คน, ชาวประมง 4 คน และกลุ่มแม่บ้าน 3 คน ซึ่งเมื่อผ่านการดำเนินงานผลที่เกิดขึ้น โดยมีกลไกในการบริหารเพิ่มขึ้น ได้แก่ เยาวชน 14 คน, ยุวชน 5 คน, ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 14 คน และกลุ่มแม่บ้าน 14 คน โดยมีรายชื่อ ดังนี้ 1. คณะกรรมการสมาคมฯชาวประมงพื้นบ้าน 1) นายจักรกริช ติงหวัง นายกสมาคมฯ 2) นายอนิรุต เหมนะ อุปนายกคนที่ 1 3) นายธันวา หวันสู อุปนายกคนที่ 2 4) น.ส.รัศญา องศารา เลขานุการคนที่ 1 5) น.ส.ภาวิณี โต๊ะสาเล่ เลขานุการคนที่ 2 6) นายนันทวัฒน์ ติงหวัง ประชาสัมพันธ์ 7) น.ส.ดวงใจ ใจดี บัญชี 8) น.ส.ขนิษฐา โสตา นายทะเบียน 9) นางโสภา ตาเอ็น เหรัญญิก 10) นายปรัชญา ตาเอ็น ปฏิคม 11) นายดาเร๊ะ ขวัญทอง กรรมการ 12) นายอะนัธ โต๊ะสาเล่ กรรมการ 13) นายสำสุเด็น องศารา กรรมการ 14) นายกษิดิส ตาเอ็น กรรมการ 2. กลุ่มแม่บ้าน 1) น.ส.รัศญา องศารา ประธานกลุ่ม 2) น.ส.ขนิษฐา โสตา รองประธาน 3) น.ส.สุวรรณา โส๊ะตา 4) น.ส.มารีหวัน วาโร๊ะ 5) น.ส.กัลยา องศารา 6) นางปรารถนา ตาเอ็น 7) นางแสงโสม ติงหวัง 8) นางโสภา ตาเอ็น 9) นางสนธยา ใจดี 10) น.ส.ฝาตีม๊ะ กุลหลำ 11) นางหัสนะ ปิ 12) นางบีฉ๊ะ องศารา 13) นางสาอีฉ๊ะ ใจดี 14) นางยุพิน ติงหวัง 3. เยาวชน 1) น.ส.รัศญา องศารา 2) น.ส.ขนิษฐา โสตา 3) ด.ญ.สิลินนา หวันสู 4) นายฮะฟิส ติงหวัง 5) นายอะนัส โต๊ะสะแล่ 6) นายกษิดิศ ตาเอ็น 7) นายนวิน ติงหวัง 8) นายปรเมศร์ ตาเอ็น 9) นายนันทวัฒน์ ติงหวัง 10) นายปรัชญา ตาเอ็น 11) นายปิยทัศน์ สำเร 12) นายนันทนัช ติงหวัง 13) ด.ช.เตาฟีก องศารา 14) ด.ช.อัจญมัล ไมมะหาด 4. ยุวชน 1) ด.ช.อัสลัน สะยัง 2) ด.ญ.อัสลินดา สะยัง 3) ด.ช.อิมตียาซ องศารา 4) ด.ญ.ฮีดาย๊ะฮฺ องศารา 5) ด.ญ.มาริษา ใจดี

พิกัดที่แต่ละโครงการทำงานอนุรักษ์ จำนวนกี่ไร่ (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) จุดวางซั้งบ้าน หลอมปืน มีการทำซั้งบ้านปลา 3 หลัง
และเป็นเขตอนุรักษ์บ้านหลอมปืน ขนาดพื้นที่ 536 ไร่ 2 งาน 69 ตรว.





อ่าวทุ่งนุ้ย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล พื้นที่ขนาด 2 งาน 58 ตร.ว. มีการปลูกต้นจากเพิ่ม เพื่อทดแทนทรัพยากรทางธรรมชาติประมาณ 300 ต้น








กติกา/ข้อตกลง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ หรือ MOU (บ้านปลา ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกต้นจาก ปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น ) ข้อตกลงของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบริเวณซั้งกอบ้านปลา 1. ไม่ใช้อวนล้อมทุกชนิด ในลักษณะล้อมซั้ง เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำบริเวณซั้งกอ บ้านปลา จำนวนมากเกินไป 2. ไม่ใช้แพปั่นไฟ ที่มีการปั่นไฟด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิด บริเวณซั้งกอบ้านปลา เว้นแต่ใช้ไฟ แสงสว่างจากแบตเตอรี่เพื่อให้แสงสว่างบนเรือ 3. ไม่ใช้เครื่องมือกระทุ้งน้ำ หรืออื่นใด ที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อวัตถุประสงค์ไล่ต้อนสัตว์น้ำ กระทำต่อสัตว์น้ำในบริเวณซั้งกอ 4. ไม่ใช้เครื่องมือประมงอื่นใดที่กฎหมายกำหนด ห้ามมิให้ใช้ในเขตทะเลชายฝั่ง 5. จะใช้ เบ็ด เพียงอย่างเดียวในบริเวณซั้งกอบ้านปลา เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากซั้งบ้านปลาเป็นไปอย่างยั่งยืน ห้ามการใช้เบ็ดทำการประมงเพื่อการอื่น เช่น การใช้เบ็ดตกปลาเชิงพาณิชย์ หรือท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ 6. กำหนดให้มีขอบเขตในการจัดการที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง 1. แมงกะพรุน 2. หมึก 3. กุ้ง 4. หอยเดือน 5. หอยแครง 1. หมึกกล้วย 2. หมึกสาย 3. หอยเดือน 4. หอยแครง 5. กุ้งแช่บ๊วย 6. กุ้งหัน 7. กุ้งยาว 8. แมงกะพรุน 9. ปลาทราย 10. ปลาเก๋า 11. ปู 12. หอยแครง 13. ปลาจั่งบ๋ง หมายเหตุ : หอยแครงกับหอยเดือน จะหาพบมากที่สุดบริเวณหน้าอ่าวทุ่งนุ้ย หาดบางศิลา

เครื่องมือประมงที่ทำการประมง ช่วงเวลาการทำประมง จำนวนเรือ  (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง 1. สวิง 2. ลอบ 3. อวนกุ้ง 1. ลอบ 2. อวน อวนกุ้ง 3. สวิง (พบน้อย) 4. อวนปลา 5. อวนปู


รายได้จากการทำประมง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง 1. อวนกุ้ง : 500 – 600 บาทต่อวัน ประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน 2. อวนปู : 40,000 บาทต่อเดือน 3. สวิง : 400 – 500 ตัว เฉลี่ยวันละ 2,000 บาท ประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน 4. ลอบหมึก : 45,000 บาทต่อเดือน 1. อวนกุ้ง : 1,500 – 2,000 บาทต่อวัน 2. อวนปู : 1,000 บาทต่อวัน ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน 3. สวิง : 700 – 1,000 ตัว (ตัวละ 4 บาท) 4. ลอบหมึก : 4,000 บาทต่อวัน ประมาณ 96,000 บาทต่อเดือน 5. หอย : 1,400 บาทต่อครั้ง 6. ปลาทราย : 800 บาทต่อวัน หมายเหตุ : รายได้ชาวประมงพื้นบ้านไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้

ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พื้นที่ผลิต (พื้นที่ที่ทำการแปรรูป) ในชุมชน มีการก่อตั้ง วิสาหกิจผลิตภัณฑ์ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาจำหน่ายภายในชุมชนและนอกชุมชน ดังนี้ 1. ปลาส้ม 2. ขนมผูกรัก ไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ปลา ไส้กุ้ง ไส้ไก่หย่อง ไส้สับปะรด


การบริโภคอาหารทะเลในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง (ก่อนและหลังทำโครงการ) ก่อน หลัง การบริโภคอาหารใน 1 วัน 3 มื้อ มีการบริโภคสัตว์น้ำที่หาได้ไปแล้วจำนวน 2 มื้อ ซึ่งอาจบริโภคได้ในจำนวนที่ไม่มากหนัก เพราะสัตว์น้ำในช่วงก่อนหน้านี้มีจำนวนน้อย และสัตว์น้ำบางชนิดก็ราคาแพง ปัจจุบันมีการบริโภคสัตว์น้ำมากขึ้นจากก่อนหน้านี้เทียบได้ว่าบริโภคแค่ 2 มื้อ ได้ปรับมากขึ้นมาเป็นการบริโภคทั้ง 3 มื้อ เพราะได้ออกทะเลวางอวนกุ้งเอง ได้เห็นว่าสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น การบริโภคจึงได้มีหลากหลายมากขึ้น และเมื่อสัตว์น้ำมีจำนวนมากขึ้น ราคาสัตว์น้ำในการซื้อก็ราคาน้อยลง ทำให้มีกำลังในการซื้อมากขึ้น รวมทั้งการทำสัตว์น้ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้อีกด้วย


ภาคีเครือข่ายที่แต่ละพื้นที่ทำงานร่วมกัน มีหน่วยงานใหนบ้าง
ชื่อหน่วยงาน บทบาท 1. ประมงจังหวัดสตูล 2. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา 3. กองป้องกัน ปราบปรามและบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง (ป่าชายเลน) 4. ชลประทาน 5. โต๊ะอีหม่าม
6. สจ.นายอารีย์ ติงหวัง 7. ที่ว่าการอำเภอละงู 8. โรงเรียนบ้านปากละงู 9. สมาคมรักษ์ทะเลไทย 10. มูลนิธิอันดามัน 11. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) 12. Cognitive Behavioral Therapy (CBT) 13. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 14. กระทรวงยุติธรรม 15. องค์การบริหารส่วนตำบลละงู 16. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 17. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ให้คำปรึกษาเรื่องของการจดทะเบียนและแผนงาน ให้คำปรึกษาเรื่องเขตอนุรักษ์และแผนงาน ให้คำปรึกษาเรื่องระเบียบจัดการชายเลน

ทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนวางผังประตูระบายน้ำ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการ ให้คำปรึกษาเรื่องการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงโครงการ ให้คำปรึกษาและติดตามงาน เข้ามาชวนเยาวชนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้คำปรึกษาหารือและวางแนวคิด สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบของกิจกรรม วางแผนและแนวคิดร่วมกัน เข้าร่วมกิจกรรม ให้คำปรึกษาในการทำเขตอนุรักษ์และการทำงาน สนับสนุนรูปแบบแนวคิดการจัดตั้งกลุ่ม





ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
ภายในชุมชนบ้านหลอมปืน มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการทำประมงพื้นบ้าน และยกร่างกติกาหรือข้อตกลงร่วมกันภายในชุมชน

ปัญหา อุปสรรค และการมองไปในอนาคตของแต่ละพื้นที่ ปัญหาและอุปสรรค 1. กิจกรรมวางซั้งกอ บ้านปลา  วางซั้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มาถอดองค์ความรู้ร่วมกันทุกโครงการ เรียนรู้การทำงานร่วมกันของแต่ละพื้นที่ ข้อดีข้อด้อย การทำงาน ผลที่เกิดขึ้นแต่ละโครงการ ทุกพื้นที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของพื้นที่เองต่อไป