การฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งสู่การจัดการเขตอนุรักษ์บันเบ๋อในตำบลขอนคลาน

กิจกรรมเวทีประกาศเขตอนุรักษ์บันเบ๋อ ในระดับตำบล29 เมษายน 2567
29
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Dungporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ที่ขค.009 / 2567   สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน                                                       134 หมู่ที่ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า
  จังหวัดสตูล 91120
20 เมษายน พ.ศ.2567

เรื่อง ขอเชิญร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
เรียน ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสตูล
เอกสารที่แนบมาด้วย  กำหนดการ 1 ฉบับ         ร่างบันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
ด้วยทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน มีความประสงค์จะมีการจัดเวทีลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ” เพื่อแสดงความสมัครใจในการปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งจะปรากฏในหนังสือลงนาม และให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน จึงเรียนเชิญท่าน ในฐานะตัวแทนหน่วยงานความร่วมมือในการจัดการเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ ในวันจันทร์ ที่ 29 เมษายน        พ.ศ. 2567  เวลา 09.00 – 12.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์สวนสาธารณะหาดราไว ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาจากท่าน&nbsp; <br />



ขอแสดงความนับถือ


        (นายต้มสัก  สันบ่าหมีน )                                     นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน 


บันทึกการประชุม เวทีลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU
“เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ” วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 – 12.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์สวนสาธารณะหาดราไว ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

เวลา                                             กิจกรรม 09.00 – 10.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม ก่อนเข้าสู่เวทีเป็นทางการ
นายวิโชคศักดิ์  รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้เกริ่นที่มาที่ไปของการจัดเวทีวันนี้
เวทีลงนามMOU ทางพื้นที่ได้มีการประสานไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมทำงานกับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลขอนคลาน ทางสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้ส่งพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สนาม มาทำงานในพื้นที่ ขับเคลื่อนกิจกรรมทางด้านทรัพยากร เราเห็นความสมบูรณ์ของทรัพยากรในยตำบลขอนคลาน จากงานวิจัยที่ทางเราและอาจารย์อภิรักษ์ได้ลงมาเก็บ เห็นได้ว่า รายได้ของพี่น้องในพื้นที่ตำบลขอนคลาน มาจากทะเลหน้าบ้าน เป็นแหล่งปูม้าที่ใหญ่ในจังหวัดสตูล
โชคดีที่ที่นี่มีประสบการณ์เยอะและมีน้องน๊ะ หรือมีหลายๆหน่วยงานเข้ามาช่วย
เพื่อทำยังไงให้ทะเลตรงนี้เป็นหม้อข้าวหม้อแกงให้กับเราเองและช่วงหลังมานี้มีหน่วยงานที่มีเงินหรืองบประมาณเข้ามา เช่น สสส. เพื่อให้เรามีกิน มีบ้าน และมีสุขภาพที่ดี 10.00 – 10.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ เวทีลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
โดย นายสมนึก  ขุนแสง  หัวหน้าโครงการ/อุปนายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน เรียนท่านโชติ ดำอ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน กระผมนายสมนึก ขุนแสงแกนนำกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านขอนคลาน วันนี้ถือเป็นโอกาสดีและมีความสำคัญของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลานที่ได้มีเวทีบันทึกความเข้าใจ MOU ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ(ทะเลหน้าบ้าน) ตำบลขอนคลานประกอบด้วย 4 หมู่บ้านมีครัวเรือน834ครัวเรือน มีประชากร2,881คน เป็นพื้นที่ติดทะเลชายฝั่ง ประชากร80เปอร์เซ็นในตำบลต้องพึ่งผิงฐานทรัพยากรชายฝั่งทะเลในการดำรงชีพทำงานจับสัตว์น้ำโดยใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ที่ผ่านมาจากคนตัวเล็กๆของชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างต่อเนื่องนับจากปี2541 ร่วมทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเป็นต้นมาอย่างเช่น - รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลให้ชาวประมงพื้นบ้าน ลด ละ เลิก การใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายและทำลายล้าง - ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทุกๆปี (2 ครั้ง/ปี) - จัดทำธนาคารปูม้าทั้ง4หมู่บ้าน 11 ชุมชน - จัดค่ายเยาวชน “คนรักษ์เลย์ขอนคลาน” - สถานที่ทำปะการังเทียมบ้านปลาแบบพื้นบ้าน - ร่วมปลูกป่าชายเลน - ฝึกอบรมประมงอาสาออกตรวจลาดตระเวนในเขตอนุรักษ์ศึกษาวิจัยและเป็นความเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลจากการทำเขตอนุรักษ์บันเบ๋อ โดย ดร.อภิสิทธ์ ส่องรัก มทร.ศรีวิชัยตรัง - ทำเวทีประชาคมกำหนดกติกาข้อห้ามในการทำประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์บันเบ๋อพื่อเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น
ดังนั้นเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งทะเลได้อย่างสมดุลยั่งยืน บนพื้นฐานเศรษฐกิจชุมชนในเขตอนุรักษ์บันเบ๋อให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถเข้มงวดกวดขัน ร่วมเฝ้าระวังในการใช้ประโยชน์เป็นเขตพื้นที่พิเศษ จึงได้ประสานขอความช่วยเหลือหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ กระผมในนามตัวแทนกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลานรู้สึกเป็นเกียรติและขอบคุณท่านชติ ดำอ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลานที่มาร้วมลงสนามและเปิดเวทีบันทึกความเข้าใจ MOU เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อในวันนี้
ขอบคุณครับท่าน กล่าวเปิดเวที โดยนายโชติ  ดำอ่อน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน กระผมต้องขอบคุณ พิธีกร ประธานชมรมศูนย์ทะเลตำบลขอนคลาน นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย หัวหน้าอุทยาน หัวหน้าป้องกันปราบปราม มูลนิธิอันดามัน ประมงอ.ทุ้งหว้า สมาชิกสภาเกษตร
ในส่วนพิกัดถามว่าหน่วยงานตระหนักถึงความเป็นอยู่ของพี่น้องในตำบลขอนคลาน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ให้ดูสภาพภายในตำบลว่าเมื่อก่อนทำประมงโดยใช้เครื่องมือการทำประมงแบบธรรมดาๆ แต่ปัจจุบันเครื่องมือหลากหลายมากขึ้น เลยใช้เครื่องมือประมงที่หลากหลายขึ้นทำให้สัตว์น้ำลดน้อยลง เดิมชาวบ้านมีรายได้เยอะ แต่ด้วยเพราะทรัพยากรและสัตว์น้ำสูญหายสูญพันธุ์ สัตว์ตัวเล็กก็หมด สัตว์ตั้งท้องก็หมด เมื่อสัตว์เหล่านั้นน้อยลง รายได้ก็ลดน้อยลง ทางตำบลขอนคลานโชคดีที่มีผู้คนร่วมด้วยช่วยกันหาวิธีจัดการทรัพยากรในพื้นที่ให้ยังคงอนุรักษ์ไว้
ทาง อบต. ผมได้พูดคุยกับปลัดว่า เราจะต้องทำภารกิจตรงนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องชาวตำบลขอนคลานซึ่งทาง อบต. ตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้องในพื้นที่ เมื่อเราได้รับงบประมาณมาจำนวนมาก เราจึงอยากทำให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องในชุมชนให้เยอะมากที่สุด ในฐานะนายก อบต. ขอนคลาน ผมให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนและผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างมากที่ทางกำนันได้นำทรัพยากรในพื้นที่ไปจัดให้คนข้างนอกได้เห็นและรู้จักทรัพยากรในบ้านเรา ทั้งนี้ผลกระทบต่างๆในการใช้ทรัพยากรในทางที่ผิดทำให้ผู้คนในพื้นที่จำต้องไปหางานทำในต่างจังหวัดและทรัพยากรในทะเลลดน้อยลง พี่น้องชาวประมงจับสัตว์น้ำได้น้อยลงรายได้ก็ลดน้อยลงการบริโภคสัตว์น้ำก็ลดน้อยลง อนุรักษ์ตรงนี้เรามีการวางแนวเขตเพื่อไม่ให้คนนอกเข้ามาทำลายล้างทรัพยากรในพื้นที่ หลายคนไม่รู้ว่าเขาบันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายมาชี้แล้วว่า ถ้านายกไม่สั่งก็ไม่สามารถทำได้ เช่น พ่อแม่ไม่ให้เราทำก็ไม่มีสิทธ์ เราได้งบประมาณมาจากกรมโยธา 30 กว่าล้าน ได้นำมา - ทำสนามฟุตบอล
- มีอาคารอเนกประสงค์ และแต่ก่อนเราก็เคยได้รับรายได้ปีละล้านกว่า แต่ปัจจุบันนี้ผ่านมา4ปีแล้วที่เรายังไม่ได้รับรายได้ในส่วนตรงนี้เลย
วันนี้นายกได้รับเกียรติจากคณะกรรมมาดูแลตรงนี้เป็นเกียรติอย่างสูงที่สามารถสร้างรายได้อย่างล้ำค่า เมื่อสัตว์น้ำลดน้อยลง จากที่เมื่อก่อนที่มีรายได้เย้อะกว่านี้ แต่ด้วยเพราะสัตว์น้ำสูนหาย สัตว์ตัวเล็กก็หมด เมื่อสัตว์เหล่านั้นน้อยลง รายได้ก็ลดน้อยลงทำให้เกิดผลกระทบในครอบครัว ชาวบ้านหดหู่ นายกก็หดหู่ด้วย - เราต้องทำหาดราไว ในเรื่องทรัพยากรที่เรามีอยู่ ทางอบต.ต้องดำเนินการได้จัดกิจกรรม
ผลกระทบจากปีของโควิด 19 ทำให้ทั้งรายจ่ายและรายรับลดน้อยลง การลงทุนก็ลดน้อยลง ถ้าเราจะทำตามยุทธศาสตร์ที่ตั้งหลักไว้เราก็ไม่สามารถทำตามแผนนั้นได้เพราะงบประมาณน้อย และวัตถุประสงค์หลักในวันนี้คืออยากให้พี่น้องชาวขอนคลานมีรายได้เพิ่มขึ้นและยังคงมีการอนุรักษ์ทรัพยากรตรงนี้ไว้ ซึ่งผมเชื่ออย่างสูงสุดว่าตรงนี้จะเกิดประโยชน์ให้กับคนในตำบลขอนคลานต่อไป

10.30 – 11.30 น. เล่าความเป็นมา  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
โดย นายต้มสัก  สันบ่าหมีน นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน ความเป็นมาทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ สลาม ขอความเจริญสุขแก่นายกอบต. หน่วยงานราชการทุกๆหน่วยงาน และลูกๆที่มีความเกี่ยวข้อง ผมมาทำความเข้าใจเกี่ยว “บันเบ๋อ” และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง - ปี 40 จากที่ชาวตำบลขอนคลานต้องทำงานใหญ่ในเรื่องของการอนุรักษ์บันเบ๋อ ในการฟื้นฟูอนุรักษ์บันเบ๋อ เพราะที่ตรงนี้เป็นหม้อข้าวหม้อแกงให้กับคนในชุมชน ซึ่งจะทำยังไงให้เขาเข้ามาลงงบประมาณให้เราเยอะๆ ทำอย่างไรให้สัตว์น้ำเป็น ATM ที่มีมากยิ่งขึ้น จึงได้เกิดเป็นเขตอนุรักษ์บันเบ๋อขึ้น โดยมีพื้นที่ 1หมื่น600กว่าไร่ แล้วเราจะทำยังไงให้เป็นที่ยอมรับเพื่อให้ทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เลยได้ประสานหน่วยงานเชิญ อบต.และกลุ่มภาคีเครือข่าย เข้ามารับรู้ อาณาเขตบันเบ๋อจาก10,600กว่าไรตรงนี้เอามาจากส่วนหนึ่งที่กฎหมายพานิชย์กำหนดไว้ว่า3ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นเขตจังหวัดสตูลและจังหวังตรัง คือเกาะตะบัน - ความเป็นมาโดยละเอียดของเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ มาจากการประชุมรับฟังความเห็นของชาวประมงพื้นบ้านในตำบลขอนคลาน ซึ่งได้เสนอให้มีขอบเขตพื้นที่ตามพิกัดที่เหมาะสม “เขตบันเบ๋อ” เป็นชื่อเรียกเขตทางทะเลที่ชาวบ้านตำบลขอนคลานเข้าใจกัน รู้จักและใช้ชีวิตประจำวันโดยแนวเส้นสายตาที่เรียกว่า “บันเบ๋อ” จะอยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งมากนัก หากเรือเกิดจมที่แนว บันเบ๋อ คนเรือก็ยังสามารถเอาตัวรอดได้ ว่ายน้ำเข้าฝั่งได้ พิกัดโดยธรรมของชาวประมงที่ใช้เป็นหมุดหมายจะมีชื่อเรียกของแต่ละจุดแต่ะละถิ่นแตกต่างกันไป โดยการเรียกพิกัดบันเบ๋อเป็นจุดพิกัดหนึ่งที่ชาวบ้านตำบลขอนคลานใช้กันโดยทั่วไป จากคำว่า “เขาตะบันเสมอ” ลดเสียงลงเหลือ “บันเบ๋อ” โดยเป็นสำเนียงใต้ลดเสียงให้สั้นลง หมายถึงจุดหรือแนวสายตาที่เมื่อมองไปแล้วจะสามารถมองเห็น “เขาตะบัน” ซึ่งเป็นภูเขากลางทะเลด้านทิศเหนือชองตำบลขอนคลาน “เสมอเป็นแนวเดียวกับหัวแหลมบังโก๊ะ” โดยเป็นปลายแหลมบนแผ่นดินใหญ่บริเวณตำบลทุ่งบุหลัง - โดยสรุปแล้วจุดเริ่มต้นการจับพิกัดของบันเบ๋อคือ ออกเรือไปแล้วไม่ติดแห้ง ซึ่งคือจุดที่เรียกว่า “การังเต่า” และมีหินขึ้นอยู่ใต้น้ำซึ่งก่อนจะเป็นการังเต่านั้นสมัยก่อนเต่าทะเลเข้าไข่จะว่ายผ่านการังเต่าก่อนเสมอ - ในเขตอนุรักษ์ตรงนี้เราได้มีการวางซั้งกอปีละ2ครั้ง มีการทำเขตอนุรักษ์ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่คน ขอนคลาน - ในวันนี้จึงจะมาทำ MOU ร่วมกันว่า จะทำยังไงให้ทดแทน ATM และอนุรักษ์บันเบ๋อต่อไป


ตัวแทนหน่วยงานและชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
จากชาวบ้าน - รู้สึกยินที่ได้มีกิจกรรมที่ได้ให้คนในหมู่บ้านขอนคลานใความร่วมมือกัน ทั้งหน่วยงานเองก็ขอบคุณที่เข้ามาร่วมมือในตรงนี้ - ขอบคุณหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือ ที่ต่อสู้ตรงนี้เพื่อลูกหลานด้านหลังต่อไป ผู้อาวุโส - มาด้วยความดีใจที่คนขอนคลานมีที่ทำกิน คนขอนคลานเมื่อก่อนถ้ามีพายุออกทะเลไม่ได้ก็กินเห็ดแม็ดกับปลาเค็ม - เสนอแนะ ผมอยากให้ท่านนานยกพาไปตามที่ท่านนายกเล่าให้ฟังและให้ชาวบ้านเป็น จีพีเอส เพื่อจับพีเอสกัน และนำเอานวัตกรรมใหม่เข้ามาช่วย ปลัดอาวุโส ทุ่งหว้า - การบริหารจัดการน้ำ มีข่าวดี เรื่องการจ่ายน้ำ เพื่อแก่ปัญหาน้ำกินน้ำใช้ - เรื่องที่ท่านนายกเสนอไปรอฟังข่าวดี
- ตำบลขอนคลานปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นจากการจัดกิจกรรม - ทะเลปัจจุบันมีปัญหาเยอะ ถูกบุกรุก ถูกทำลาย ทั้งที่ใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนี้เป็นกิจกรรมที่ดีเพื่ออนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำต่อไปเพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้กับคนรุ่นหลังได้ นายสมยศ โต๊ะหลัง - เชื่อมั่นว่าสามารถจัดการเรื่องทรัพยากรบ้านบันเบ๋อ และต่อไปก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยว นำเสนอบันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
โดย นางสาวราตรี  โสสนุย กรรมการสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลขอนคลาน บันทึกความเข้าใจ MOU เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ หนังสือบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งบริเวณ เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล (ตามเอกสารแนบ) 11.30 – 12.00 น.  ตัวแทนหน่วยงานและภาคีเครือข่าย ลงนาม บันทึกความเข้าใจ MOU  “เขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบันเบ๋อ”
ถ่ายภาพร่วมกัน 12.00 เป็นต้นไป รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน





                                                                  …………………………………………ผู้บันทึก                                                             (นางดวงพร  ชุ่มพลวงศ์)

                                                                    ……………………………………ผู้ตรวจบันทึก                                                           (นายสมนึก ขุนแสง)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อตกลงการทำงานร่วมกับหน่วยงาน 13  หน่วย ได้รับการยอมรับจากหน่วยที่เขาไม่เคยสัมผัสกับการทำงานของชาวบ้านที่สามารถทำเวทีแบบนี้ได้ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานในความสามัคคีของคนในชุมชน ได้ข้อบัญญัติที่สามารถเข้าไปอยู่ในแผนของท้องถิ่นได้ ได้กติการ่วมที่สามารถบังคับใช้ได้จริง