ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหลอมปืนอย่างสมดุลยั่งยืน

ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 130 กรกฎาคม 2566
30
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Jakkrit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะประชุม : นายอารีย์ ติงหวัง นายสำสุเด็น องศารา นางบีฉ๊ะ องศารา นางหัสนะ ปิ นายปรัชญา ตาเอ็น นายนิยม ติงหวัง นายชาฟาริส แสะอาหลี นายปฐมวิทย์ ตาเอ็น นายธันวา หวันสู นายดานัน ติงหวัง นางสาวดาวประกาย วัลนิยม นางฝ่าตีม๊ะ กุลหลำ นางสุวรรณา โสตา นางสาวฮาสานะห์ เกะมายอ นายนันทวัฒน์ ติงหวัง นางสอีฉ๊ะ ใจดี นายนันทนัช ติงหวัง นางสาวรัศญา องศารา นางสาวขนิษฐา โสตา นางชวาลา โสตา ประเด็นพูดคุย : วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่เข้มแข็งในการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยและความยั่งยืนในการดูแลทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ :- 1.มีกลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย เยาวชน ชาวประมงพื้นบ้าน และ
  แม่บ้านประมงพื้นบ้าน
2. มีนักสื่อความหมายชุมชน หรือ ไกด์ชุมชน จำนวน 5 คน 3. จดทะเบียนสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลละงู และการจดแจ้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น
4. เกิดกลุ่มการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นปัจจุบัน
5. จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน 1 กลุ่ม
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและสร้างกติกาการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ :- 1. เกิดกติกา การจัดการทรัพยากรและฟื้นฟูทรัพยากร อ่าวทุ่งนุ้ยและบริเวณบ้านปลาชุมชน 2. มีบ้านปลาชุมชนหน้าตำบลละงู จำนวน 1 จุด
3. การปลูกป่าชายเลนในอ่าวทุ่งนุ้ย จำนวน 1 แปลง 4. เกิดการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์  2 หมู่บ้าน(บ้านตะโละใส และ บ้านหลอมปืน )
5. มีข้อเสนอแนวทางการจัดการพื้นที่ต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
  องค์การบริหารส่วนตำบลละงู องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อยกระดับสัตว์น้ำจากชาวประมงพื้นบ้านให้มีมูลค่ามากขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ :- 1. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อาหารทะเลแปรรูป หรือ ของฝากจากชุมชนหลอมปืน อย่างน้อย
  4 ผลิตภัณฑ์ 2. กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการตลาดขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (เปิดเพจขายผลิตภัณฑ์) 3. แกนนำมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย อย่างน้อย30 คน บันทึกการประชุม
ในการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 11.00 น. – 17.00 น. ณ บ้านทอนตีโร๊ะ
  มีการชี้แจงเรื่องงบประมานซึ่งได้จากการสนับสนุนของสมาคมรักษ์ทะเลไทย (สสส.) และธรรมาภิบาล ที่จะนำใช้ในการทำโครงการในครั้งนี้ มูลค่า 179,100 บาท   จากวัตถุประสงค์ที่ 1 กล่าวถึงกลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย โดยตัวขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินไปได้บนความเข้มแข็ง ประกอบด้วย เยาวชน ชาวประมงพื้นบ้านและแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ซึ่งบุคคลเหล่านี้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่มีไปสู่การเป็นนักสื่อความหมายชุมชน หรือไกด์ จำนวน 5 คน โดยทางกลุ่มจะต้องมีการจดทะเบียนสมาคมชาวประมงพื้นบ้านและจดแจ้งเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น นอกจากนี้จะต้องให้มีการเกิดกลุ่มการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ ซึ่งต้องอยู่ในการบริหารจัดการที่เป็นปัจจุบัน และจะต้องมีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน 1 กลุ่ม     จากวัตถุประสงค์ที่ 2 มีการส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรอ่าวทุ่งนุ้ย ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเรื่องของการลักลอบตัดไม้ป่าชายเลนด้วย ทั้งนี้มีการกล่าวถึงการปลูกป่าชายเลนหน้าหาดผสมป่าต้นจาก ร่วมถึงอาจมีการแบ่งเขตชุมชนที่ชัดเจนขึ้นระหว่างชุมชนบ้านตะโล๊ะใสกับชุมชนบ้านหลอมปืน ซึ่งระหว่างการดำเนินโครงการในครั้งนี้ จะต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมรับรู้การขับเคลื่อนงานของโครงการนี้ด้วย (โดยทำให้เป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น)
  จากวัตถุประสงค์ที่ 3 กล่าวถึงการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำหรือของฝากจากชุมชน อย่างน้อย 4 อย่าง ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์จะส่งผลทำให้ทางกลุ่มมีรายได้เสริมจากการผลิตของเพื่อขาย ซึ่งจะต้องเป็นของที่ทำได้จริงและขายได้จริง เช่น ขนมพื้นบ้าน ของฝากงานแฮนด์เมด เป็นต้น   เบื้องต้นได้ทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านจำนวน 10 คน โดยเป็นการเก็บแบบสอบถามในช่วง ก่อน ระหว่าง และก่อนจบการทำโครงการ (รวมถึงการลงสำรวจสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ ในระหว่างการทำโครงการด้วย)   ทั้งนี้ได้พูดเรื่องมาตรา 65 ถึงประเด็นการประชุมว่า “ มาตรา 65 : อุทยานแห่งชาติฯ ให้ชาวประมงเข้าไปประกอบอาชีพ หาสัตว์น้ำในเขตได้ แต่ต้องมีชื่อชุมชน/ชาวประมง โดยมีอาณาเขต 1 กิโลเมตรนับจากฝั่งเกาะตะรุเตา และอาณาเขต 5 กิโลเมตร นับจากชายฝั่งของชาวประมงพื้นบ้าน ”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้กลุ่มเป้าหมาย ที่ได้เล็งไว้
  2. ได้คณะทำงาน
  3. สมาชิกมีความเห็นชอบด้วยกับในโครงการนี้
  4. สามชิกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญมากขึ้น