ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหลอมปืนอย่างสมดุลยั่งยืน

กิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE ครั้งที่ 130 พฤศจิกายน 2566
30
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Jakkrit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

"กิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE (ครั้งที่ 1)"
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ณ.สวนสาธารณะบ้านราไว หมู่ที่2 ตำบลบ้านขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
เริ่มเวลาประชุมเวลา 9:00 น. มีผู็เข้าร่วมประชุมจำนวน21คน ดังนี้ : 1). นางสาวขนิษฐา โสตา 2). นางสาวรัศญา องศารา 3). นางบีฉ๊ะ องศารา 4). นายสำสุเด็น องศารา 5). นายสมยม ฤทธิ์ธรรมนาถ 6). นางสาวสายพิณ ณ พัทยา 7). นายกัมพล ถินทะเล 8). นางปรีดา หมานยวง 9). นายเต็มสัก สันผ่าหมีน 10). นางราตรี โสสนุย 11). นางสาวอภัสนันต์ โสสนุย 12). นางดวงจิต รวนเร 13). นายสมชัย โสสนุย 14). นางดวงพร ชุ่มพลวงศ์ 15). นายกอเล็ม นิยมเดชา 16). นายสมนึก ขุนแสง 17). นายจักรกริช ติงหวัง
18). นางสาวอามีนะ อาลีแก 19). นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ ทางเจ้าหน้าที่ของ สสส. ได้ให้การชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้องานชองสสส. และได้พูลถึงว่าอยากเห็นผลลัพธ์ของทั้งสองชุมชนว่าอยากเห็นไปในทางรูปแบบใด ต่อมาก็ได้เชิญทางกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านทั้งสองหมู่บ้านมาชี้แจงรายละเอียดและสรุปผลของแต่ละชุมชน ถอดบทเรียนผลลัพธ์โครงการส่งเสริมการบริหารทรัพยากรชายฝั่งฯ (บ้านหลอมปืน) ผลลัพธ์ที่ 1 : มีกลไกคระทำงานที่เข้มแข็งในการสร้างจิตรสำนึกในการบริหารจัดการทรัพยากรในอ่าวทุ่งนุ้ย -ตัวชี้วัด : มีกลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย โดยมีกลไกคณะทำงาน 10 คน เยาวชน 3 คน ชาวประมง 4 คน แม่บ้าน 3 คน
-ข้อมูลที่สามารถยืนยันตัวชี้วัดว่าเกิดขึ้นจริง : 1.เยาวชน 20 คน/ยุวชน 5 คน
2.ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 30 คน 3.แม่บ้านประมงพื้นบ้าน 16 คน -ข้อมูลที่เราอ้างมานั้นอยู่ในรูปแบบไหน 1.มีรายชื่ออยู่ในรูปแบบเอกสาร/ใบลงทะเบียน/บันทึกการประชุม 2.มีรายชื่ออยู่ในรูปแบบโครงสร้างของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 3.มีรายชื่ออยู่ในรูปแบบโครงสร้างของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน -กิจกรรมหรือเนื้องานที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
  1.ประชุมคณะทำงาน 3 ครั้ง   2.ประชุมหารือการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย ตัวชี้วัด : มีนักสื่อความหมาย/ไกด์ชุมชน นักสื่อสารเยาวชน 10 คน ชาวประมงพื้นบ้าน 5 คน แม่บ้าน 7 คน
    - สื่อสารข้อมูลชุมชน
    - แนะนำสถานที่สำคัญในชุมชน
    +สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน
    -มีศูนย์เรียนรู้
    -มีพื้นที่ประวัติศาสตร์
-ข้อมูลที่สามารถยืนยันตัวชี้วัดว่าเกิดขึ้นจริง : 1.เยาวชน 10 คน
2.ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน 5 คน 3.แม่บ้านประมงพื้นบ้าน 7 คน -ข้อมูลที่เราอ้างมานั้นอยู่ในรูปแบบไหน 1.รูปภาพการทำกิจกรรมพานักท่องเที่ยว และรายชื่อนักสื่อความหมายชุมชนในรูปแบบเอกสาร
2. รูปภาพการทำกิจกรรมพานักท่องเที่ยว และรายชื่อนักสื่อความหมายชุมชนในรูปแบบเอกสาร
3. รูปภาพการทำกิจกรรมพานักท่องเที่ยว และรายชื่อนักสื่อความหมายชุมชนในรูปแบบเอกสาร -กิจกรรมหรือเนื้องานที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
  1.ประชุมเตรียมการวางแผน 4 ครั้ง (นอกรอบ)   2.อบรมนักสื่อความหมายชุมชน (อบรมภาษามลายู)   3.สรุปกิจกรรม/ออกแบบการปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัด : การจัดตั้งกลุ่มในชุมชน เกิดกลุ่มในชุมชน มี 2 กลุ่ม
    1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ ผลิตภัณฑ์ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน “     2.กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน(สมาคมฯ) -ข้อมูลที่สามารถยืนยันตัวชี้วัดว่าเกิดขึ้นจริง : 1.มีกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน
-ข้อมูลที่เราอ้างมานั้นอยู่ในรูปแบบไหน 1.ชื่อกลุ่ม
2.มีคระกรรมการ 16 คน + ,สมาชิก 13 คน + 3.มีระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม
4.มีบันทึกการประชุม 5.มีภาพกิจกรรม
-กิจกรรมหรือเนื้องานที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
  1.มีการประชุมหารือจัดจั้งกลุ่ม
  2.ประชุมคณะกรรมการ   3.รวบรวมเอกสาร
  4.ประสานหน่วยงานเกษตรอำเภอเพื่อขอยื่นจดทะเบียน   5.ประชุมหารือการทำแปรรูปสัตว์น้ำ -ข้อมูลที่สามารถยืนยันตัวชี้วัดว่าเกิดขึ้นจริง : 2.มีกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน (ยกร่างการจัดตั้งสมาคม) -ข้อมูลที่เราอ้างมานั้นอยู่ในรูปแบบไหน 1.มีรายชื่อว่าที่คณะกรรมการทำงาน 18 คน
2.มีชื่อสมาคม 3.มีระเบียบข้อบังคับ
4.มีบันทึกการประชุม 5.มีภาพกิจกรรม
-กิจกรรมหรือเนื้องานที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
1.มีการประชุมหารือจัดจั้งกลุ่ม
2.มีการประชุมการวางโครงสร้างคณะทำงาน
3.มีการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมุ่เกาะเภตรา

ผลลัพธ์ที่ 2 จะดำเนินการทำในงวดถัดไป

ผลลัพธ์ที่ 3 : การจัดการกลุ่ม การจัดการผลผลิตและช่องทางการตลาดที่เหมาะสม ตัวชี้วัด : มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ มีจำนวน 2 ชนิด คือ
-ปลาส้ม/ปลาพอง(ปลาจวด)
-ขนมผูกรัก -ข้อมูลที่สามารถยืนยันตัวชี้วัดว่าเกิดขึ้นจริง : 1.มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 2.มีการขายผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ 3.มีการวางขายในชุมชน 4.มีการไปออกบูท -ข้อมูลที่เราอ้างมานั้นอยู่ในรูปแบบไหน 1.ตัวผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ 2.มีภาพผลิตภัณฑ์ 3.มีโลโก้ของกลุ่ม 4.มีสูตรและวิธีการทำผลิตภัณฑ์ -กิจกรรมหรือเนื้องานที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
1.มีการหารือคัดเลือกวัตถุดิบ
2.มีการทดลองทำโดยผู้มีประสบการณ์ในชุมชนและนอกชุมชน
3.มีการคิดคำนวณต้นทุนสินค้า 4.มีการคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์ 5.มีการทดลองขาย 6.มีการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางการขายต่างๆ ผลลัพธ์ที่ 3 : สร้างตลาดสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ *ตัวชี้วัดนี้จะทำในงวดที่ 2

ปัญหา อุปสรรค และการเชื่อมโยงกับสุขภาวะ -ปัญหา อุปสรรค 1.ปัญหาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในการหาสัตว์น้ำมาทำผลิตภัณฑ์ (วัตถุดิบ) 2.ระบบการรายงานซับซ้อน 3.คณะทำงานมีเวลาไม่ค่อยตรงกัน 4.สถานที่ทำกิจกรรมไม่เอื้ออำนวย 5.บิลใบเสร็จยุ่งยาก -การเชื่อมโยงกับสุขภาวะ 1.มีรายได้เพิ่มขึ้น 2.เกิดการบริโภคอาหารทะเลมากขึ้น 3.อาหารทะเลปลอดภัย 4.สร้างมูลค่าอาหารทะเลเพิ่มขึ้นให้ชาวประมงพื้นบ้าน
5.มีความสุขและสนุกในการได้มารวมตัวกันทำกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ชี้แจงรายละเอียดแต่ละกิจกรรมของแต่ละชุมชน ( ชุมชนบ้านขอนคลานและชุมชนบ้านหลอมปืน)
  • ได้บอกถึงงบประมาณที่ใช้แบ่งสรรปันส่วนยังไงบ้าง
  • ได้รู้ถึงผลว่าแต่ละกิจกรรมที่ทำไปผลออกมายังไงบ้าง
  • ได้ทราบถึงปัญหาของทั้ง2ชุมชน
  • ได้ชี้แจงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในกิจกรรมต่อไปที่ยังไม่ได้ทำและผลระยะยาวในอนาคต