ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง

เวทีปิดโครงการ31 มีนาคม 2567
31
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย suchat06
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเวทีปิดโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจที่มาของโครงการ
  2. นำเสอนผลลัพธ์และตัวชี้วัดการดำเนินโครงการ ฯ พร้อมนิทรรศการนำสรุปข้อมูลผลการดำเนินงานตลอดกิจกรรม
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง ให้คณะทำงานและผู้เข้าร่วมได้ร่วมตรวจสอบและเปลี่ยนเพิ่มเติม
  4. แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม/ชุมชนชาวประมงบ้านชายคลอง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการทำงานตลอดโครงการ - เกิดประมงอาสาจำนวน 20 คน นายสุชาติ บุญญปรีดากุล นายประพันธ์ แสงอุทัย นายประดิษฐ ยอดแก้ว นายภาคินัย ยอดแก้ว นายสายทิพย์ โมราสิทธิ์ นายทวีโชค ขุนฤทธิ์ นายเสรี จีนเมือง นายสมชาย เลื่อนแป้น นายคาวี แก้วนวน นายสมชาย เจ้าเห้ง นายมโน เลื่อนแป้น นายเกริกฤทธิ์ ศรีจันทร์ นายประเสริฐ ยอดแก้ว นายอนันต์ พิจิตรรัตน์ นายพิเชษฐ ขุนพิทัก นายฤทธิไกร ห้องแก้ว นายบุญเลิศ บุญน้อย นายศิลป บุบผะเรณู นายอานนท์ เซ่งฮั่ว นายธนิต นิยมแก้ว

  • มีคณะทำงานจำนวน 15 คน นายสุชาติ บุญญปรีดากุล นายภาคินัย ยอดแก้ว นายสายทิพย์ โมราสิทธิ์ นายทวีโชค ขุนฤทธิ์ นายคาวี แก้วนวน นายฤทธิไกร ห้องแก้ว นายบุญเลิศ บุญน้อย นายธนิต นิยมแก้ว นางสาวพรทิพย์ อ่อนแก้ว นางเยาวดี โมราสิทธิ์ นางปรีดา บุญน้อย นางสาววัชรียา บุญน้อย นายสมครวน อ่อนแก้ว นายประดิษฐ ยอดแก้ว นายเกริกฤทธิ์ ศรีจันทร์

  • กฎกติกาชุมชน เขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง ปากประ หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 1.หากมีการฝ่าฝืนทำการประมงในเขตอนุรักษ์ จะทำการยึดเรือ เครื่องยนต์ เครื่องมือทำการประมง และสัตว์น้ำทั้งหมด โดยให้ผู้ทำการฝ่าฝืนมาจ่ายค่าปรับครั้งแรก 5,000 บาท และหากผู้กระทำผิดรายเดิมเข้ามาทำการลักลอบทำการประมงในเขตอนุรักษ์ซ้ำ จะดำเนินการปรับเป็น 2 เท่า จำนวน 10,000 บาท โดยทั้งหมดจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์
    2.คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ไม่มีสิทธิ์ทำการประมงใดๆ ในเขตอนุรักษ์ เว้นแต่เพื่อการศึกษาวิจัย หรือประเมินผลการทำเขตอนุรักษ์ หากคณะกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กระทำผิดจะมีโทษปรับ 10,000 บาท และให้ออกจากการเป็นคณะกรรมการกลุ่มทันที 3.หากจงใจทำลาย ให้ได้รับความเสียหายแก่ซั้งบ้านปลาในเขตอนุรักษ์ ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 10,000 บาท โดยคณะกรรมการจะยึดเรือ และเครื่องมือประมงไว้เป็นหลักประกัน หรือตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร 4.กรณีมีการเปลี่ยนแปลง ระเบียบ กฎกติกา หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ผ่านการประชุมประชาคม และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและชาวประมงได้รับทราบโดยทั่วกัน 5.หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอม จะถูกส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษความผิดกฎหมายประมง ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

  • มีบ้านปลาเพิ่มขึ้นจำนวน 10 จุด

  • มีพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้นจากเดิม 117 ไร่ เป็น 150 ไร่

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

2.ข้อมูลเครื่องมือประมงในพื้นที่
เครื่องมือประมง (ก่อนทำโครงการ) จำนวน 10 ชนิด
แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 2.8/3.5/4/5/7/12 เซนติเมตร) ยอ
เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล) อวนลาก
เครื่องมือประมง (หลังทำโครงการ) จำนวน 9 ชนิด แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 3.5/4/12/15 เซนติเมตร) ยอ เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล)
3.รายได้จากการทำการประมง และเวลาที่ใช้ทำการประมงในพื้นที่
รายได้จากการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
300 – 800 บาท / คน / วัน เฉลี่ย 450 บาท/ คน/วัน
รายได้จากการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 800 – 3000 บาท / คน / วัน เฉี่ย 1276 บาท/ คน/วัน เวลาในการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
5 – 12 ชั่วโมง / วัน
เวลาในการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 3- 8 ชั่วโมง / วัน

4.จำนวนครัวเรือนทำการประมง และจำนวนเรือประมงในพื้นที่
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
42 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (หลังทำโครงการ) 59 ครัวเรือน จำนวนเรือประมง(ก่อนทำโครงการ) จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 47 ลำ
จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 66 ลำ จำนวนครัวเรือนทำการประมงเพิ่มขึ้น 17 ครัวเรือน จำนวนเรือทำการประมงเพิ่มขึ้น 19 ลำ

5.คุณภาพชีวิตและการบริโภคอาหารในพื้นที่ คุณภาพชีวิต (ก่อนทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์)
หมู 10
ไก่ 3
กุ้งแช่แข็ง 1
กุ้งในพื้นที่ 0
ปลาในพื้นที่ 4
ปลาแช่แข็ง 2
อาหารสำเร็จรูป 1
ทานอาหารนอกบ้าน 0
คุณภาพชีวิต (หลังทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์) หมู 3 ไก่ 3 กุ้งแช่แข็ง 1 กุ้งในพื้นที่ 1 ปลาในพื้นที่ 12 ปลาแช่แข็ง 1 อาหารสำเร็จรูป 0 ทานอาหารนอกบ้าน 0