โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5
- เกิดกฎกติกาหมู่บ้าน1ชุดโดยมีรายละเอียดครอบคลุม10ด้านซึ่งเป็นกฎที่ชาวบ้านต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
กำหนดระเบียบและมาตรการทางสังคมในการที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา แหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์น้ำ และเยาวชนดังนี้
1.การอนุรักษ์ป่าไม้ที่ประชุมได้กำหนดแนวเขตจากห้วยไม่น้อยกว่า 2 เมตรในการปลูกป่าแทนยางพารา และกำหนดปลูกป่าเพิ่มโดยจัดหาพันธ์ไม้ใช้สอยและไม้ยืนต้นให้กับสมาชิกโครงการ
2.การอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ประชุมได้มีการกำหนดเขคพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในระยะทาง 450 เมตร และมีมาตรการในการป้องกันเฝ้าระวังโดยการกำหนดลงโทษผู้ฝาฝืนจับปลาในเขตห่วงห้าม เป็นการปรับ 500-1000 บาท
3.การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำประปาหมู่บ้านที่ประชุมกำหนดให้มีการสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ได้นานที่สุด และทางสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำในเรื่องการจ่ายน้ำประปาให้กับหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ
4.การดูแลและป้องกัน/เฝ้าระวัง/พัฒนาเด็กและเยาวชน ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในเรื่องการส่งเสริมให้เยาวชนเล่นกิฬาจัดกิจกรรมเข้าค่ายเยาวชนจิตอาสาถ่ายทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้กับเยาวชน
โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ
ข้อตกลงกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 1 ชุด เป็นข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้ชุมชนได้มีเมล็ดพันธ์เป็นของชุมชนไม่ต้องซื้อจากภายนอก ได้เมล็ดพันธุ์ดี เป็นพันธ์ข้าวพื้นบ้านอินทรีย์มีคณะกรรมการดูแล และแบ่งปัน มีการคืนกลับ ขยายในชุมชน
โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง
- กติกาของกลุ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะ ทุกครัวต้องคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ทำปุ๋ยหรือใช้หลุมกลบฝัง ขยะอื่นที่สามารถใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ รีไซเคิลให้คัดแยกเป็นประเภท โดยมีกำหนดนัดหมายกันเพื่อรวมขาย
โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
- เกิดกติกาในการดูแลต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองเพลิ๊ยะ โดยมีการดูแลและปลูกแทนกรณีที่ต้นไม้ที่ปลูกไว้เกิดตายลง ต้องมีการปลูกซ่อม ตามจำนวนพื้นที่ที่มีการแบ่งกันไว้
โครงการ : ต่อลมหายใจคนปลายน้ำที่บ้านทุ่งแซะ
-มีกฏ ระเบียบของชุมชนในการกำกับดูแลเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
-การกำกับดูแลในการในการให้ความร่วมมือ การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของชุมชน ด้านการอนุรักพันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีคณะกรรมการ ออกตรวจตราพื้นที่เขตอนุรักษ์ สามวันต่อหนึ่งครั้ง
โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร
เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน ที่มีความสมบูรณ์และมีผลบังคับใช้เป็นปัจจุบัน
โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2
มีกฎระเบียบข้อชันชีสุขภาพของชุมชนและตำบล
โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )
การพัฒนาสิ่งเเวดล้อมในชุมชนการฝื้นฟูข้อบังคับโดยเเบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. ว่าด้วยเรื่องการฝื้นฟูได้มีการนำเสนอ
1.1 การปลูกป่าชายเลนประจำปี คือวันที่5 ธันวาคมเเละ 12 สิงหาคม
ของทุกปีจัดให้มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลน
1.2 จัดทำบ้านปูดำหรือธนาคารปูดำเพื่อเป็นเเหล่งเพาะพันธ์เเละขยายพันธ์
1.3 จัดทำเเนวเขตห้ามตัดไม้บริเวณป่าชายเลน
1.4 รงณรงค์สร้างความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน
1.5 สร้างเเหล่งเพาะพันธ์หอนนางรมหรือบ้านหอย
1.6 ปล่อยพันธ์สัตว์นำ 4 ชนิด กุ้งกุลาดปลากะพงปูดำเเละหอยำ
2.วาระ ลดการทำลายทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม
2.1จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
2.2เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องป่าชายเลย
2.3จัดทำระเบียบกติกาว่าด้วยเรื่องการจัดการป่าชายเลนการจักการเรื่องขยะในชุมชนการปล่อยน้ำเสีย
3.การพัฒนาเรื่องทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม
3.1 พลัดดันให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
3.2 พัฒนาเเหล่งเรียนรู้ป่าชายเล่น
3.3 พัฒนาเเหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน
3.4 ผลักดันให้เกิดการลดใช้พลังงานเกี่ยวข้อง
3.5 ผลักดันให้เกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการ : ร้อยเรียงวิถีชุมชน ชุบชีวิตแบบยั่งยืน คืนชุมชนสู่ธรรมชาติ
ได้กติกาหมู่บ้านในการใช้ประโยชน์จากการ ใช้ป่ายเลนร่วมกัน จำนวน 10ข้อประกอบด้วย
1. ห้ามตัดไม้บริเวณป่าชายเลน
2. ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าทดแทน
3. ห้ามบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน
4. ห้ามมีการทำประมุงผิดประเภทในชุมชน
5. ส่งเสริมการทำบ้านปลา(ธนาคารปลา)
6. จัดให้มีชุดลาดตระเวรเพื่อจับคุมผู้กระทำผิด
7. สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ธรรมชาติ
8. ไม่ทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ
9. ห้ามล่าสัตว์สงวนภายในชุมชน
10. ชุมชนต้องยอมรับกฎกติการะเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
มีกฎกติกาของกลุ่มกองทุน มีกองทุนเห็ด ให้สมาชิกสะสมเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท สมาชิกกลุ่มสามารถออมเงินได้ 15 % และมีกติการ่วมกัน ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของกองทุนจะต้องมีกิจกรรมเพาะเห็ดเป็นของตนเองและสามารถเปิดรับสมาชิกที่อยู่ต่างหมู่บ้านได้ และเงินตั้งกองทุนครั้งแรกจะเอาเงินที่เหลือจากการดำเนินโครงการเข้ามาสมทบด้วย
โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ
การพัฒนากองทุน และชี้แจง เพื่อให้มีทุนเข้าร่วมสมทบ และให้คนในชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการออมเงิน และสามารถกู้ยืมเงินในกองทุนนี้ไปเป็นการลงทุนในการเพาะเห็ดของตนเองได้ แต่มีกติกาอยู่ว่า หุ้น 100 บาท ต้องออมทุกเดือน และออมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องมีผู้ค้ำประกัน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน และจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกๆเดือน เมื่อครบสิ้นปี จะมีเงินปั้นผลให้สมาชิกที่ทำเห็ดกู้เงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย
...
โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
สภาผู้นำและผู้ที่เลี้ยงด้วงและชาวบ้านในชุมชน
ร่วมกันตั้งกฏกติกาในการร่วมกันดูแลรักษาป่าสาคู
โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
กองทุนขยะสินสืบสุขดำรงต่อเนื่อง คือการรับซื้อขาย ขยะทุกวันที่ 5
กติกาสินสืบสุขปลอดขยะมีต่อเนื่อง จำนวน 5 ข้อคือ 1.แยกขยะก่อนทิ้ง 2. ขายขยะรีไซเคิล 3. ทำน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ 4. ร่วมกิจกรรมสสส.ทุกครั้ง 5. ทำบัญชีครัวเรือนลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
กติกากลุ่มออกกำลังกายแต่ละกลุ่ม และการสนับสนุนวัสดุอุกรณ์ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม
โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข
เกิดข้อตกลงการตั้ง จตุภาคีขับเคลื่อนชุมชนหอยราก ประกอบด้วยเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย ผู้สูงอายุ อสม. เยาวชน และผู้ประกอบการขนมลา
โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน
คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน
โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร
ผู้เข้าร่วมโครงการมีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด
โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง
มีการกำหนดกติการ้วมกันว่าคนที่เข้าร้วมโครงการจะต้องปลูกผักกินเองโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปรับปรุงครัวหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
เกิดกติกาของชุมชนในการลดการใช้สารเคมี โดยหันมาปลูกผักและข้าวปลอดสารพิษบนเรือนแพ
รวมถึงเกิดการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม
โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
เกิดข้อบัญญัติชุมชน มี 11 ข้อ ประกอบด้วย
1.ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด
2.ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด
3.ลดใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรสในการปรุงหรือประกอบอาหาร
4.ทุกบ้านต้องมีรั้ว และเป็นรั้วที่มีชีวิต มีป้ายบอกข้อคติเตือนใจ
5.ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
6.ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย
7.ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
8.ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน้อค
9.ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวันให้มีเหงื่อซึม วันละ 30 นาที 10.ทุกครัวเรือนเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของชุมชน
11.ร่วมกำจัดยุงลายไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
การบังคับใช้ในระยะแรก ให้ทำเป็นแผ่นพับไปติดไว้ทุกบ้าน และทำไวนิล ติดไว้ในชุมชน
โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
ทุกครั้งที่ทำกิจกรรม มีการพัฒนาสถานที่ไปด้วย นำอุปกรณ์หรือวัสดุจากบ้านไปร่วมสมทบ นำสมุนไพรไปปลูกในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน
โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
1.เกิดกติกาการทำกลุ่ม
1.1 อุปกรณ์เครื่องใช้ มี 1 ชุด เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อใช้แล้วให้นำมาคืนที่กองกลาง
1.2 สมาชิกกลุ่มที่สม้ครใจเข้าร่วมกิจกรรม จะได้การสนับสนุน แต่ถ้าขาดกิจกรรมจะไม่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม
โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
1.เกิดกติกาชุมชนในการทำกลุ่มปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ สมาชิกกลุ่มต้องนำเศษผัก เศษอาหารที่บ้านมาเข้าร่วมกิจกรรม จึงจะได้สิทธิ์ในการรับส่วนแบ่งทำกิจกรรม
2.ถ้าไม่เข้าร่วมกิจกรรมหรือขาดกิจกรรม จะไม่ได้รับสิทธิ์ใดๆ จากการทำกิจกรรมของกลุ่ม
โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน
1. ห้ามสูบบุหรี่บริเวณรอบเขาปูน ซึ่งเป็นสถานที่เดินวิ่ง ออกกำลังกายของคนในชุมชน
2. ครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง และนำมาแลกเปลี่ยนกัน
3. คณะกรรมร่วมกับ อสม ผลัดเปลี่ยนกัน ออกเยี่ยมผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
4. ช่วยกันดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยงกับสิ่งเสพติด
โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง
1. ในการจัดกิจกรรมในชุมชน ห้ามทุกคนสูบบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม
2. งดเลี้ยงเหล้าในงานบุญ
3. ช่วยสอดสู่ดูแลแลบุตรหลานในชุมชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
4. จัดกิจกรรมในวันผู้สูงอายุ วันแม่ วันพ่อ ฯลฯ ทุกปี มีกิจกรรมให้คนในชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรม
โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด
1. งดการตัดต้นไทรต้นมะเดื่อ เพราะเป็นพืชที่ให้น้ำ และรักษาน้ำ
2. พืช ต้นไม้บริเวณหูช้าง งดการทำลายโดยสิ้นเชิงรัศมี 1ตารางกิโลเมตร
3. ทุกปี วันปีใหม่ วันสงกรานต์ กำหนดให้มีการปล่อยปลาในแหล่งคลองบ้านเขาแก้ว
โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี
เกิดกติกาชุมชนในการทิ้งขยะ ห้ามทิ้งขยะบนที่สาธารณะโดยเด็ดขาดหากใครเห็น หรือเกิดการฝ่าฝืน ทางคณะกรรมการหมู่บ้านจะดำเนินการปรับตามระเบียบของชุมชน เกิดกติกา การรักษาสายน้ำบ้านขุนคีรี เช่น การสูบน้ำการรักษาปลาพลวงที่เป็นปลาพื้นบ้านของคีรีวง
โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้
กติกาอนุรักษ์ป่าชายเลน
โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)
- กติกาชุมชน
โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง
ไม่มี
โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)
กติกาการอนุรรักษ์ปูไข่
โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)
กติกาการอนุกรัษ์ป่าชายเลนและสัตว์น้ำวัยอ่อน
โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง
- มาตรการครอบครัวพอเพียง
โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)
มีกติกากลุ่มอาชีพเสริมในครัวเรือนที่มีการผูกไม้กวาดดอกอ้อ ทำดอกไม้จันท์ และจักสาน ผลิตอุปกรณ์ของใช้ต่างๆด้วยเศษวัสดุเป็นของที่ระลึก โดยมีคณะกรรมการจัดการกลุ่มดูแลกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เกิดนำรายได้จากการขายมอบให้กับผู้จัดทำอาชีพเสริมตามภาระงานที่ทำจำนวน 60%หักทุนไว้ เพื่อเป็นทุนต่อไป20%และค่าบริหารจัดการ20% และสั่งจองผ่านทางสมาชิก และมีระเบียบว่าผู้ที่จะสมัครนายกและแกนนำชุมชนต้องไม่สูบบุหรี และต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างกับชุมชน
โครงการ : ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค(ต่อเนื่อง)
กฏกติกาชุมชนในการจับสัตว์น้ำ เช่น กำหนดขนาดของสัตว์น้ำแต่ละชนิดที่เหมาะสม และอนุญาตให้จับได้
โครงการ : บ้านทุ่งยอน่าอยู่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)
มีนโยบายเรื่องการใช้พื้นที่ป่าต้นน้ำ และการใช้น้ำ โดยตั้งเป็นกติกาชุมชน ได้แก่ ห้ามตัดต้นไม้และทำลายป่าต้นน้ำ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ
โครงการ : รักษาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งบ้านสามเสียม
มีการกำหนดกติกาการใช้พื้นที่ป่าชายเลนและการทำประมงชายฝั่ง ดังนี้ 1. ห้ามเรืออวนล้อมจับปลากระตักเข้ามาทำการประมงในทุนแนวเขต 2. ห้ามเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาทำการประมงในทุนเขตแนว 3. อวนปู/เรือพาณิชย์/เรือขนาดใหญ่ วางในแนวเขต 4. ห้ามลอบปู/เรือพาณิชย์/เรือขนาดใหญ่วางในทุนแนวเขต 5. ห้ามเรืออวนล้อมจับ(อวนดำ)วางในทุนแนวเขต 6. ห้ามทำโป๊ะ/ยอ ในทุ่นแนวเขต 7. อสนลอยปลาทูห้ามใช้ช่องอวนต่ำกว่า 1.7 นิ้วหรือ 4.5 เซนติเมตร 8. ห้ามตัดไม้/ขุด/ทำลายไม้ทุกชนิดในพื้นที่ป่าชายเลน มาตราการดำเนินการเมื่อทำผิดกติกาชุมชน 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. ปรับเป็นเงินตั้งแต่ 5,000 - 10,000 บาท 3. ยึดเครื่องมือ 4. ดำเนินคดีตามกฎหมาย มีการปลูกป่าชายเลนทดแทนป่าที่เสื่อมโทรมจำนวน 1 ไร่ มีการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณชายหาดปีละ 2 ครั้ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งตามแนวเขตทุนที่ได้วางไว้ เมื่อสิ้นสุดโครงการมีการมอบประกาศเกียรติบัตรให้แก่กลุ่มผู้ทำดีจำนวน 10 คน เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคลดังกล่าว
โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
มีมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านห้วยคล้า จำนวน 10 ข้อ ได้แก่
1.ห้ามตัดไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจและการค้า
2.ห้ามใช้ยาหรือสารเคมีในการจับสัตว์น้ำ 3. ห้ามบุกรุกหรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์โดยเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง 4. ห้ามไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์อันจะก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ 5. ห้ามตัดต้นไม้หรือแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ห้ามนำยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิดเข้าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยเด็ดขาด 7. ผู้ใดพบบุคคลเข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่าหรือเข้าไปใช้ประโยชน์อื่นใดในการทำลายป่าหรือกระทำผิดต่อกฎหมายให้แจ้งต่อผู้นำชุมชนโดยทันที 8. ห้ามทิ้งขยะหรือสารเคมีในพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลน 9. ห้ามใช้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งมั่วสุมในการกระทำผิดกฎหมายใดๆทั้งสิ้น 10. ประชาชนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลป่าอนุรักษ์ทุกคน
โครงการ : บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนมีนโยบายสาธารณะด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้
1. กำหนดบริเวรห้ามสูบบุหรี่ 3 สถานที่ 1)โรงเรียนบ้านพัง 2) สำนักสงฆ์บ้านในเหวด 3) ที่ประชุมหมู่บ้าน
2. กำหนดกฏระเบียบเกี่ยวกับยาเสพติดในชุมชน 1) ผู้นำหมู่บ้านทุกคน บุคคลที่อยู่ในบ้าน เสพ จำหน่าย ผู้ทำต้องลาออกโดยปริยาย 2)ถ้ามีการจับกุมเยาวชนที่ติดยาเสพติดห้ามบำบัดให้รับโทษโดยตรงและยึดเงินค่าประกันเข้าหมู่บ้าน 3)ให้ผู้ปกครองมีส่วนรับผิดชอบด้วย 4) ถ้าผู้ปกครองเสพ จำหน่ายให้ดำเนินคดีตามกฏหมาย ยึดเงินประกันเข้าและห้ามยุ่งเกี่ยวกับสถาบัญการเงินในหมู่บ้าน 5) ถ้ามีผู้ปกครองและเยาวชนทำผิดจริงต้องบำเพ็ญประโยชน์ในหมู่บ้าน 4 สถานที่ สำนักสงฆ์ โรงเรียน สถานีอนามัย และสถานีตำรวจ 6) ถ้าปฏิบัติตาม 5 ข้อข้างต้นไม่ได้ให้คณะกรรมการหมู่ ผู้ใหญ่บ้านตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาขั้นรุนแรงต่อไป
โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง
ประกาศเขตปลอดบุหรี่ในที่ประชุมหมู่บ้าน
โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ
1. ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณศาลาหมู่บ้าน
2. ครัวเรือนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น ศาลาหมู่บ้าน เส้นทางสาธารณะในหมู่บ้าน
3. ครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิกจรรมทางศาสนาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
1. ชุมชนมีการกำหนดวันทำความสะอาดเดือนละ1ครั้ง เพื่อให้ชุมชนสะอาด และร่วมกันพัฒนาชุมชนของตัวเอง ทำไห้ประชาชนมีความสามัคคี
2. ชุมชนมีการกำหนดเขตปลอดขยะ โดยมีป้ายกำกับห้ามทิ้งขยะ เช่น แหล่งน้ำ 2แหล่งในชุมชนสถานที่ราชการ 6แห่ง
โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)
เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในรูปแบบธรรมนูญชุมชน ประกอบด้วยข้อตกลงร่วมกัน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่
1.ด้านการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด กำหนดให้มีคณะทำงานด้านการป้องกันยาเสพติด
2.ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กำหนดให้ทุกครัวเรือนเปิดไฟส่องสว่างในตอนกลางคืนอย่างน้อย 1 ดวง และการกำหนดให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ลาดตระเวนทุกคืน ทำให้ปัญหาการลักขโมย และปัญหาอาชญากรรมในชุมชนลดลง
3.ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กำหนดให้สมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมศาสนาร่วมกับมัสยิดอย่างสม่ำเสมอ
4.ด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ทุกครัวเรือนมีการแยกขยะก่อนทิ้ง และการทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ทำให้ปริมาณขยะและของเสียในชุมชนลดลง
5.ด้านการดูแลสุขภาพ กำหนดให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับการบริการด้านสุขภาพและเข้าถึงการบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น
โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)
ร้อยละ 60 คนในชุมชนสามารถปฎิบัติตามข้อตกลงการจัดการขยะเปียก และแห้งในครัวเรือนเพื่อลดขยะในพื้นที่ชุมชน ผ่านกองทุนขยะสร้างสุขโดยมีการรับซื้อขยะรีไซเคิ่ลจากสมาชิกการแลกขยะพิษ กับเครื่องอุปโภค บริโภค ,และกิจกรรมจิตอาสา e-co kids ทำให้เกิดการขยายผลในชุมชนใกล้เคียงอีก 5 ชุมชน
โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน
มีมาตรการการผลิตอาหารปลอดภัยโดยร่วมกับ อบต.ควนรู ในการให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนในการลดใช้สารเคมี
โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )
1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน
2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน
เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น
โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู
เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน
1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว
1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
1.1 มีปูเปี้ยวชายทะแลเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเก็บได้วันละ 20 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 60 กิโลกรัม
1.2 ป่าชายเลนได้สร้างเป็นบ้านปลาบ้านปูร้อยละ 80 ของพื้นที่
1.3 มีกติกาการทำประมงชายฝั่งในระดับหมู่บ้าน
1.4 มีการกำหนดขอบเขตเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปู และพันธุ์ปลาของหมู่บ้าน
โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
จัดตั้งกลุ่มจัดตั้งกลุ่มตลาดนัดเคลื่อนที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดนัด168 ตรงข้ามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกเย็นวันอังคารมีคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม ประเมินผลการลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือน
โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่
มีกติกากลุ่มการเกษตรลดการใช้สารเคมี 1 กลุ่ม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพในการเกษตร และใช้น้ำยาสมุนไพรไล่แมลง
โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)
เกิดกติกาตลาดที่จะช่วยกันดูแลความสะอาด และความเป็นระเบียบ มีการขีดเส้นทางเดินในตลาด
โครงการ : ชุมชนบูเกะสูดอร่วมใจจัดการขยะ สร้างสุขภาพ
เกิดกติกาในการจัดการขยะในชุมชน โรงเรียน ตลาดนัด มัสยิด ซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะของชุมชน อีกทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนดังนี้
- ในตลาดนัดชุมชน มีการกำหนดกติกาให้ พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนที่อยู่บริเวณตลาดนัดให้มีการคัดแยกขยะให้แล้วเสร็จภายในเวลา 17.00 น. และรณรงค์ให้มีการลดการใช้ถุงพลาสติก.
- ในพื้นที่ในโรงเรียน ทุกๆเช้าของวันจันทร์ และ วันศุกร์ ก่อนเข้าห้องเรียนนักเรียนต้องช่วยกันเก็บขยะ และทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน สังเกตุได้ว่าหลังจากมีการรณรงค์ลดขยะครั้งนี้ทำให้ ครู บุคลากรในโรงเรียนรวมทั้งนักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการแก้ไขปัญหาขยะ และตื่นตัวกับการลดขยะมากขึ้น
ในชุมชนเกิดกติกาชุมชนในการจัดการขยะ ดังนี้
1. ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ตะกร้าจ่ายตลาด
2. ลดการใช้กล่องโฟม โดยใช้ปิ่นโตแทน
3. ห้ามทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ
4. ทิ้งขยะในที่คัดแยกขยะประจำตลาดนัด
6. มีการสอดแทรกวาระการลดขยะในกิจกรรมต่างๆของชุมชน เช่น คุตบะห์ทุกวันศุกร์ การสอนเกี่ยวกับหลักธรรมศาสนาในมัสยิดประจำวันเสาร์-อาทิตย์
7. สร้างค่านิยมรณรงค์ลดขยะโดยนำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ เช่นการนำขยะมูลฝอยสดหรือเศษอาหารมาหมักทำปุ๋ย
8. มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน
โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
เกิดกติกา ในชุมชน
1. มีการบริโภคสมุนไพรมากขึ้น
2. ครัวเรือนในชุมชนมีการปลูกสมุนไพร
โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย
ลานวัดปลอดเหล้า บุหรี่ เป็นมาตรการการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรีและเหล้าในพื้นที่วัดใด้เน้นปฏิบัติตนตามเขตปลอดบุหรี่ และสุรา งานบุญปลอดเหล้า ไม่ฝ่าฝืน ซึ่งจากการดำเนินการชุมชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และมีผู้สอดส่องดูแลอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
1.ห้ามสูบุหรี ในที่สาธารณะ และที่ประชุมของชุมชน
2.ห้ามทิ้งขยะ สองข้างทาง
3.ห้าม ตัดไม้ ในพื้นที่สาธารณะ
โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข
เกิดกติกาที่ส่งเสริมสุขภาพเมื่อมีการตรวจสุขภาพ 6 เดือนครั้งแล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั้นจะมีรางวัลให้
โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง
มีกฏกติกาของครัวเรือนนำร่อง
โครงการ : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บ้านสูแกเราเปลี่ยนได้
ข้อตกลงระหว่างชุมชนบ้านสูแกกับผู้ประกอบการร้านอาหาร
1. ร้านอาหารใช้มาตรการลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยค่อยๆลดทีละนิด
2. ร้านอาหารต้องมีสถานที่ประกอบอาหารที่สะอาดและใช้ของที่ฮาลาล
3. ให้ร้านอาหารปกปิดให้มิดชิด ป้องกันแมลงและที่แปลกปลอมปนเปื้อนอาหาร
4. คณะกรรมการร่วมตรวจเยี่ยมร้านอาหารเดือนละครั้ง
5. กำหนดให้ร้านอาหารตามสั่งมีเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
6. หากผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการตักเตือน และให้คำแนะนำ
โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2
เกิดข้อตกลงข้อตกลงที่ทุกฝ่ายในบ้านลาเกาะ จะต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังดังต่อไปนี้
1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับมัสยิดอันเป็นศูนย์กลางการปกครองหมู่บ้านมุสลิม จะต้องใช้หลักการศาสนาโดยตรงที่สั่งห้ามเรื่องยาเสพติดออกประกาศแก่สัปปุรุษทุกคน
2. รัฐจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามและแพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลร้ายและวิธีการป้องกัน รวมถึงการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดของคดียาเสพติดอย่างจริงจังและจริงใจ
3. ครูสอนศาสนาจะต้องปลูกฝังอีหม่ามที่เข้มแข็งให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ให้มีสภาพจิตใจที่พร้อมสำหรับการต่อสู้กับวิถีชีวิตและค่านิยมที่หลั่งไหลมาจากตะวันตก
4. ครูสามัญรวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นตัวอย่างในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดที่แพร่ระบาดในสังคมเรา
5. สถาบันครอบครัวจะต้องมีบทบาทในการสังเกต และสามารถกวดขันพฤติกรรมเด็กและให้ความสำคัญในการดูแลอบรมลูกหลานตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นบิดามารดา เมื่อไม่สนใจต่อปัญหาของพวกเขาไม่ปลูกฝังศีลธรรมและจรรยาก็จะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับความอบอุ่นทางครอบครัว ในที่สุดเยาวชนที่ควรจะเป็นคนดีของสังคมหันไปพึ่งยาเสพติดและสร้างจุดบอดขึ้นในสังคมมุสลิม
โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู
เกิดกฏ กติกา ข้อตกลงในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู ประกอบด้วย กำหนดเขตพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในพื้นที่คลองบ้านควนตุ้งกู การกฏ ระเบียบในการจัดการป่าชายเลนชุมชน และเกิดระเบียบกำหนดเครื่องมือประมงที่สามารถทำการประมงในพื้นที่ทำการประมงของพื้นที่บ้านควนตุ้งกู
โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
- การดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้หากอยู่หน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดูแล ให้อยู่รอดและเจริญเติบโต
- ให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านแลชุมชน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก้ไขปัญหาลดผลกระทบมลภาวะจากโรงงาน
โครงการ : ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่
- มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง
2.1 เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน
ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน
ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง
ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย
โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ
เกิดแผนสุขภาพตำบลนาเกตุ จำนวน 1 แผน ที่ได้มาจากความต้องการและสอดคล้องกับสภาพปัญหาสุขภาวะของประชาชนอย่างแท้จริง
ประชาชนมีมาตรการในชุมชนในการร่วมกันดูุแลสุขภาวะประชาชนในพื้นที่เป็นระแวกของชุมชนในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
เกิดทีมงานเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุ ในการเป็นผู้ประสานงานในการดูแลปัญหาสุขภาวะประชาชนบ้านนาเกตุ และบ้านหัวควน แบบมีส่วนร่วมในทุกกระบานการ ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ
โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2
1. ประเด็นเยาวชนของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของเยาวชน คือการมั่วสุม กินน้ำกระท่อม แก้ปัญหาการลักขโมยของเยาวชนโดยการสร้างความสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน
2. ประเด็นการส่งเสริมด้านศิลปะวัฒนธรรมชุมชนทั้ง มโนราห์ และกลองยาวชุมชน
3. ประเด็นการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนแสดงออก เช่น ลานวัด ลานมัสยิด
4. เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม รักษา พัฒนา วัฒนธรรมท้องถิ่น
โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ
- ห้ามสูบบุหรี่ภายในบริเวณมัสยิดที่กำหนด โดยมีผู้มาละหมาดที่มัสยิด จำนวน 15-20 คน ทุกวัน 5 เวลาได้รับความปลอดภัยจากควันบุหรี่
โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2
เกิดมาตรการทางสัมคมจากสภาผู้นำและสภาชูรอ ทั้งหมด 4 เรื่อง คือ
1.มาตรการทางสังคมเรื่องการพนัน
2.มาตรการทางสังคมเรื่องยาเสพติด
3.มาตรการทางสังคมเรื่องชู้สาว
4.มาตรการทางสังคมเรื่องการลักเล็กขโมย
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน
1. ประเด็นเรื่องการจัดการขยะของชุมชน
โดยขอให้ทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมองค์ความรู้ต่างๆให้กับประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการขัดแยกขยะการจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชน การลดการใช้ถุงพลาสติกของร้านค้าต่างเป็น เพื่อหาทางแก้ปัญหาเรื่องขยะของชุมชน
2. ประเด็นการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อลดรายจ่ายเสริมรายได้แก่ครอบครัว การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสิมความรู้ด้านเกษตรในแก่เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอีกทางนึง และที่สำคัญการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนที่เราอีกด้วย
3. ประเด็นเยาวชนของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของเยาวชน คือการมั่วสุม กินน้ำกระท่อม แก้ปัญหาการลักขโมยของเยาวโดยการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนมีงานทำ มีเงิน และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
- เกิดกติกาการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ การกำหนดขนาดอวนในการจับปลา กำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ มาตรการทางกฎหมายเมื่อพบผู้กระทำผิด
โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
- ให้ครัวเรือนปลูกสมุนไพรอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด
- คัดแยกขยะก่อนทิ้ง
- ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ศาลาประชุม ศูนย์ศสมช. ลานสุขภาพ เป็นต้น
- กำหนดให้ วันที่ 11 เมษายน ของทุกปี เป็นวันส่งเสริมสุขภาพ
โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม
2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด
3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป
โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
- เกิดกฎกติกาและข้อตกลงในชุมชนว่าบริเวณแหล่งเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัยของกลุ่มและของเด็กเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ ปลอดเหล้าอย่างถาวร
โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)
คนในชุมชนมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะ
1. มีการจัดเก็บขยะตามสถานที่สาธารณะในหมู่บ้านทุกเดือนโดยผู้นำกลุ่มบ้านรับผิดชอบกลุ่มบ้านตนเองอุปกรณ์ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้จัดเตรียม
2. ทุกครัวเรือนไม่ทิ้งขยะตามที่สาธารณะหากฝ่าฝืนจะมีการแจ้งเตือนทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน
3. อบต คลองน้อยเก็บขยะที่รวบรวมไว้ทุกวันที่ 6 ของทุกเดือน เน้นขยะที่ไม่สามารถจัดการได้เช่นถุงพลาสติก
4. ขยะมีพิษให้ทุกครัวเรือนนำไปรวบรวมที่บ่อขยะพิษคือที่บริเวณศาลาหมู่บ้านและวัดศรีสุวรรณารามเพื่อรอ อบต นำไปจัดการอย่างถูกต้องต่อไป
5. กลุ่มบ้านรับผิดชอบในการเก็บขยะที่ลอยน้ำ ตามลำคลองในกลุ่มบ้านตนเอง
6. ร่วมกันรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านปีละ2 ครั้ง ในวันพ่อและวันแม่
7. มอบประกาศนียบัตรให้บ้านที่จัดบ้านน่าอยู่และสามารถจัดการขยะได้ ในเดือนมกราคม ของทุกปี
โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
1.ทุกคนต้องเข้าร่วมประชุม ร่วมคิด ร่วมทำ จึงจะได้รับสิทธิ์การแบ่งปันผลประโยชน์
2.การแบ่งผลประโยชน์ แบ่งตามสัดส่วน ที่ให้ความร่วมมือกับชุมชน ถ้าทำมาก ได้พิจารณามาก ทำน้อย ได้น้อย
3.ห้ามทะเลาะกัน ในการทำกิจกรมเน้นสร้างสามัคคี ถ้าทะเลาะกันจะตัดออกจากกลุ่ม
4.ทุกกิจกรรม ถ้าจะทำอะไรต้องแจ้งในที่ประชุมหมู่บ้าน
โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
กติกาชุมชน
1.ครัวเรือนมีสมุดบันทึกความดี บ้านละ 1 เล่ม เพื่อบันทึกกิจกรรมดีๆที่เป็นประโยชน์
2.ครัวเรือนมีสมุดรับ-จ่าย บ้านละ 1เล่ม เพื่อบันทคชึกรายรับรายจ่าย ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ
3.จัดการขยะตามแนวทางของบ้านดอนทะเล
4.ผู้นำหรือตัวแทนมีข้อมูลครัวเรือนที่ตนเองเป็นตัวแทนเพื่อนำผลมาพูดคุยแบ่งปันในที่ประชุมสภาเพื่อแลกเปลี่ยน ได้แก่
4.1)ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าวสวยในงานต่างๆ ของหมู่บ้าน
4.2)ใครทิ้งขยะเพ่นพ่านให้รีบไปบอกกติกา และนำมาเสนอในที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในหารจัดการขยะ ใช้กลุ่มกระตุ้นให้บุคคลรักษาที่สาธารณะให้สะอาดอยู่เสมอ
โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง
เกิดกติกา การห้ามสูบบุหรี่ในที่ประชุมหากมีคนฝ่าฝืนจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท
โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู
1.มีกติกา ข้อตกลง การใช้ประโยชน์และการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ คือ ตรวจพบผู้ที่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ครั้งที่ 1 ตักเตือนพบครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พบครั้งที่ 3 ยึดเครื่องมือประมงและสัตว์น้ำที่จับได้
2.มีคณะกรรมการออกตรวจลาดตระเวณ และประชุมทำงานร่วมกับศูนย์บริหารประมงทะเลภาคใต้ตอนล่าง สงขลา เดือนละ 1 ครั้ง
โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
เกิดกติกาชุมชนโดยประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันนำเสนอและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดังนี้
1. โรงเรียนและวัดปลอดบุหรี่และเหล้า
2. ร้านค้าในหมู่บ้านจะต้องไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่แก่เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี
3. ปิ่นโตเมนูสุขภาพถวายพระ
4. ทุกครัวเรือนจะต้องปลูกพืชผักสมุนไพรอย่างน้อย 5 ชนิด
5. ประชาชนในหมู่บ้านจะต้องมีการออกกำลังกายไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3วัน
6. งานบุญปลอดเหล้า
7. ใช้น้ำสมุนไพรแทนน้ำหวานหรือน้ำอัดลมในงานเลี้ยงต่างๆ
โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป
๑.ชุมชนกำหนดกติกาในการนำไม้ชายเลนมาใช้สอย ๑ ต้น จะต้องปลูกเพิ่มจำนวน ๑๐ ต้น
๒.ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษทางสังคม ดังนี้
๑)บริเวณภายในมัสยิด และบริเวณรอบๆมัสยิด โดยเด็ดขาด
๒)บริเวณภายในโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว และบริเวณโดยรอบๆโรงเรียน
๓)บริเวณเต็นท์การจัดงานบุญต่างๆ ของคน ในชุมชน
โดยผู้หนึ่งผู้ใดในชุมชนไม่ปฏิบัติตามจะใช้มาคราการดังนี้
๑.อิหม่ามมัสยิดจะเรียกผู้นั้นมาตักเตือน
๒.ถ้าอิหม่ามตักเตือนเกิน ๓ ครั้งแล้วผู้นั้นยังไม่เชื่อฟัง เมื่อผู้นั้นจัดงานบุญที่บ้าน อิหม่ามก และคณะกรรมการมัสยิดก็จะไม่ไปงานบุญนั้นตามคำเชิญ
๓.ถ้ายังฝ่าฝืนอีก เมื่อเวลาคนในบ้านผู้ที่ฝ่าฝืนเสียชีวิต อิหม่ามจะอนุญาติ คณะกรรมการมัสยิดไปทำพิธีฝังศพ ได้แค่ ๓ คน
โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว
เกิดกฎกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลอง เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดและบังคับใช้พฤติกรรมส่อทำลายทรัพยากรคลองทั้งทางตรงและทางอ้อม
โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค
ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติของชุมชน เพราะเป็นปัญหา ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน และสร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชน
โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์
เกิดกฎ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน เช่น มาตรการลดละเลิกเหล้าในหมู่บ้าน การจัดการขยะ ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ 2) เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น กลไกสภาผู้นำ, เกิดกองทุนของชุมชน, ระบบเตือนภัย/เฝ้าระวังภัยในชุมชน, การจัดพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน, เกิดกลุ่มแกนนำอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 3) เกิดต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน)
โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ
กติกาการร่วมของชุมชนเพื่อว่างกฎกติกาในการเป็นระเบียบปฏิบัติ
ในการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนเพื่อลดความแตกแยก
ด้านศาสนา
1. มีการจัดอบรมจริยธรรมเดือนละ 1 ครั้ง ให้กับมุสลีมะฮ.และเยาวชนโดยเชิญวิทยากรด้านศาสนาหรือโตะตรูมาอบรม (จัดอบรมตอนกลางวัน)
2. กิจกรรมทางศาสนา เช่น วันรายาอีดิลฟิตรี มีกิจกรรมกีฬาและอานาซีด
3. ทำกองทุนออมทรัพย์เพื่อการกุบาน (เสนอกรรมการสุเหร่า)
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. ให้มีการอบรมเกี่ยวกับป่าชายเลน
2. มีการปลูกป่าปีละ 1 ครั้ง
3. ถ้ามีคนนอกมาตัดไม้ทำลายป่า ควรมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหา
4. ให้ทุกคนในชุมชนสอดส่องดูแลพื้นที่ป่าชายเลนของท่ามาลัยเนื้อที่ 400 ไร่
5. ห้ามเผ่าขยะประเภทสารเคมีต่างๆในหมู่บ้าน (ธุรกิจรับซื้อของเก่า)
6. แต่ละบ้านควรแยกประเภทของขยะก่อนนำไปทิ้งเสมอ
7. มีการรนรงค์การแยกขยะ
8. ควรลดการใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟม
9. กำหนดพัฒนาสองข้างทาง 3 เดือนครั้ง
10. แกนนำ 20 ครัวเรือนต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่างในการพัฒนาชุมชน
11. ต้องมีการประชุม/จัดตั้งกลุ่มทำแผนบริหารการคัดแยกขยะในชุมชน
ด้านสาธารณะสุข
1. บันทึกการปฏิบัติกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2. อสม.และแกนนำครอบครัวเขตรับผิดชอบร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง
3. จัดให้มีแต่ละครัวเรือนมีการปลูกตะไคร้หอม
4. จัดการประกวดเขตรับผิดชอบดีเด่นในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
ด้านเยาวชน
1. ให้ทุกครัวเรือนส่งเด็กเข้าเรียนศาสนา
2. คณะกรรมการหมู่บ้านติดตามเด็กที่ไม่เรียน
3. จัดให้มีเยาวชนสอดส่องดูแลเยาวชนกันเองในหมู่บ้าน (พี่ดูแลน้อง)
4. มีการสำรวจรายชื่อของเยาวชนที่ติดยาเสพติดเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
5. มีการเยี่ยมครอบครัวของเยาวชนที่ติดยาเสพติด
6. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาว่างของเยาวชนให้เกิดประโยชน์
ด้านการพัฒนาหมู่บ้าน
1. ห้ามทิ้งน้ำเสียและขยะลงคลอง
2. จัดให้มีการติดตั้งไฟแสงสว่างสองข้างทางในชุมชนให้เพียงพอ
3. มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะ ดังนี้
3.1 ขยะที่ใช้ได้นำมารีไซเคิลใช้ประโยชน์ต่อไป
3.2 ขยะที่ใช้ไม่ได้ควรทำลายโดยวิธีที่ปลอดภัย เช่น ฝั่งหรือกลบดิน
ด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน
1. จัดให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
2. คนที่ไม่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านไม่สามารถรับโครงการใดๆหรือรับสิทธิประโยชน์ได้
3. ถ้าคนในชุมชนคนใดคนหนึ่งมีจัดทำงานบุญ หรือมีการเจ็บไข้ได้ป่วย จะต้องมีการเยี่ยมเยียน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน
ชุมชนมีมาตรการในการดูแลความสงบเรียบร้อบมีการลาดตระเวรหากพบใครในยามวิกาลทางกลุ่มแกนนำสามารถเรียกตรวจได้และมีกติกาในการรักษาความสะอาดทุกวันสำคํญจะต้องร่วมกันพัฒนาชุมชนของเรา
โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย
เกิดกฏกติกาการอนุรักษ์คลองเขากอย คือ
1. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยหรือของเสียลงในคลองเขากอย
2. ไม่ฉีดยาฆ๋าหญ้าสองข้างคลองเขากอยข้างละ 5 เมตร
3. ไม่จับสัตว์น้ำด้วยอวนตาถี่ กัดตาถี่ การเบื่อปลาและการช๊อตปลาในคลองเขากอย
บทลงโทษ
1. ตักเตือน
2. ปรับขั้นต่ำ 500 บาท ไม่เกิน 5,000 บาท
โดย 100 % ของผู้ที่มาเข้าร่วมยอมรับกฏกติกานี้
โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่
- เกิดพื้นที่ปลอดบุหรี และเกิดกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็กๆในชุมชนและเป็นการสร้างกลไกกลุ่มผู้นำเกิดขึ้น
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
- มีนัดเก็บขยะริมทางในชุมชนประจำทุกวันศุกร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
- งดสูบบุหรี่ บริเวณ , มัสยิด , โรงเรียน , รพ.สต. , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ห้ามตัดต้นไม้ และจับสัตว์น้ำบริเวณป่าชายเลน
โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี
1. ผู้ใช้สารเคมีให้สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีการใช้สารเคมี
2. ภาชนะที่บรรจุสารเคมีเมื่อใช้หมดแล้วให้นำไปทิ้งที่หลุมขยะตามจุดที่ทำไว้
3. สมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษเมื่อต้องการทำน้ำหมักชีวภาพ ให้รวมกลุ่มกันแล้วมาใช้อุปกรณ์ของโครงการได้
4. คนในชุมชนคอยสอดส่องผู้ที่มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ เมื่อพบเห็นให้ช่วยกันตักเตือนและคอยให้กำลังใจกับผู้ที่เลิกสูบบุหรี่
โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง
เกิดกติกา การห้ามสูบบุหรี่ในที่ประชุมหากมีคนฝ่าฝืนจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท
โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง
เกิดข้อตกลงร่วมกันของชุมชนร่วมกันดังนี้คือ
๑.กำหนดเขตห้ามเรือประมง ประเภทอวนรุน อวนลากเข้ามาทำการประมงในระยะเขต ๑,๐๐๐ เมตร ห่างจากฝั่ง
๒.กำหนดห้ามทำการประมงโดยเด็ดขาดในระยะ ๓๐๐ เมตรห่างจากฝั่ง ยกเว้นการตกเบ็ด
๓.กำหนดการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำปีละ ๒ ครั้ง
๔.กำหนดปลูกป่าชายเลน ปีละ ๒ ครั้ง
โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )
1)ห้ามจับสัตว์น้ำบริเวณเขตอนุรักษ์
2)ห้ามตักไม้ทำลายป่า
3)ห้ามนำพืชสมุนไพรออกนอกพื้นที่ และให้คณะกรรมการคนใดอยู่ใกล้พื้นที่ป่าชายเลนไหนก็ให้คณะกรรมการคนนั้นรับผิดชอบดูแลสอดส่อง
4)แบ่งหน้าที่กันทำงานว่าคณะกรรมการคนไหนมีหน้าที่ทำอะไรบ้างโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน
โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2
มีมาตรการชุมชน 8 ข้อ ประกอบด้วย1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน
โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ
การวางมาตราการทางสังคม /กติกาชุมชน 1. ผู้สูงอายุฝากเงินออมเดือนละ 100บาท 2. ผู้สูงอายุ ปลูกผักสวนครัวทุกหลังคาเรือน 3. ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายร่วมกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ทุก วันอาทิตย์วันอังคารและวันศุกร์ 4. ผู้สูงอายุลดหวาน มัน เค็ม 5. ผู้สูงอายุลดละ เลิกบุหรี่ สุรา
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)
เกิดฮูก่มปากัต ในการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน การศึกษาของเด็กและเยาวชน ในการสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต
โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)
มีมาตรการชุมชน ประกอบด้วย
1) ต้องรักษาบริเวณอาคารสถานที่อาศัยของตนเองไม่ให้มีขยะ สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ที่ขัดต่อสุขอนามัย
2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะ สิงปฏิกูลหรือมูลฝอย
3) ที่รองรับขยะสิางปฏิกูลหรือมูลฝอย ต้องเป็นภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่ส่งกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอกเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์
4) ห้ามทิ้งขยะบนที่สาธารณะ เช่น ริมถนนในหมู่บ้าน คู คลอง ลำห้วย ฝาย ทำนบ บริเวณหน้าสนามมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนา
5) ก่อนนำขยะไปทิ้งหรืทำลายให้มีการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนลงโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
- มีคณะทำงานดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนทั้ง 3 วงล้อร่วมกัน และใช้อย่างรู้คุณค่า โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
1.ลดการใช้ถุงพลาสติกให้ใช้ถุงผ้าแทน
2.ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง
3.ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารให้ใช้ปิ่นโตแทน
4.ทิ้งขยะลงถังให้ถูกที่
5.ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ (ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า)ปรับ 500 บาท
6.ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์
7.มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน
8.รณรงค์ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด
9.ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น
โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)
เกิดการให้ความรู้เสียงตามสาย และมาตรการการสุ่มตรวจผักผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรเพื่อความปลอดภัยสู่ชุมชน หากใครังคงใช้สารเคมี จะประกาศไว้ที่ ประชุมชนหมู่บ้าน
โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)
เกิดกติกาการปลูกผักเพื่อการใช้ บริโภคในครัวเรือน ข้อห้ามในการใช้สารเคมี
โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง
1.กฎ กติกา (ฮูกุมปากัต) ข้อตกลงร่วมของประชาชนในชุมชนบ้านสนี กำหนดเป็น 4 หมวด ว่าด้วย
หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของอบายมุข สุรา/ยาเสพติด
ข้อ 1.1 ครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีสมาชิกในครอบครัวเสพยาเสพติด คณะกรรมการหมู่บ้านจะเรียกมาตักเตือน โดยมีผู้ปกครองมาร่วมฟัง รับรู้และร่วมรับผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่องจำนวน 3 ครั้ง หากยังไม่เลิก ก็จะถูกส่งตัวไปบำบัดยังศูนย์บำบัดยาเสพติดต่อไป
ข้อ 1.2ครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมค้ายาเสพติด หรือใช้เป็นที่มั่วสุม หรือเป็นที่พักลำเลียงยาเสพติดคณะกรรมการหมู่บ้านจะเรียกมาตักเตือนโดยมีผู้ปกครองมาร่วมฟัง รับรู้และร่วมผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่องจำนวน 1 ครั้ง หากยังไม่หยุด ก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ข้อ 1.3หากครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดถูกจับกุม ดำเนินคดี ห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวเป็นอันขาดมิเช่นนั้นจะถือว่าท่านมีส่วนในความผิดนี้ด้วย
ข้อ 1.4หากครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามกรณีข้อ 1.1ข้อ 1.2และข้อ 1.3ถูกเรียกตัวแล้ว ถูกจับกุมดำเนินคดีแล้ว แต่ก็ยังไม่หลาบจำไม่หยุดพฤติกรรมการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับเสพติดอีกก็จะต้องใช้มาตรการขั้นสูงสุดคือ การปล่อยให้เดียวดาย ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปคลุกคลี ห้ามผู้นำศาสนาและชาวบ้านเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆที่ครอบครัวตามข้อ 1.1ข้อ 1.2และข้อ 1.3 จัดขึ้น และหากบุคคลเหล่านี้เสียชีวิตลง ก็จะไม่มีการจัดพิธีศพอย่างคนทั่วไป ไม่มีการเชิญคนทั่วไปมาทำการนมาซญินาซะ (สวดขอพรให้ศพ) นอกจากอีหม่าม คอเต็บ และบิลาล ตามหลักฟัรฎูกิฟาญะเท่านั้น
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของการลักขโมย
ข้อ 2.1 ผู้ใด ขโมยหรือลักทรัพย์ในหมู่บ้าน หากจับได้จะเรียกมาตักเตือน 3 ครั้ง ปรับ 2 เท่าของราคาทรัพย์สินที่ขโมยมา พร้อมกับขอโทษ (ขอมาอัฟ) เจ้าของทรัพย์สินที่ตนขโมย และหากยังไม่หยุดพฤติกรรมลักขโมยอีกก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปและห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวอีกด้วย
ข้อ 2.2 ผู้ใด มีพฤติกรรมรับซื้อของโจร ให้ที่เก็บ ที่ลำเลียงของโจร (ของที่ขโมย) หากจับได้จะเรียกมาตักเตือน 3 ครั้ง ส่งคืนทรัพย์สิน และปรับตามจำนวนของราคาทรัพย์สินที่รับซื้อมาหากยังมีการกระทำซ้ำๆ อีกก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปและห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวอีกด้วย
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของการให้ความร่วม มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน
ข้อ 3.1 ผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุม/ประชาคมหมู่บ้าน หรือกิจกรรมต่างๆที่ผู้นำจัดและแจ้งให้ทราบแล้ว หากขาดประชุม ประชาคม ๓ ครั้งติดต่อกันจะถูกตัดสิทธิ์ในการขอรับการช่วยเหลือในโครงการต่างๆที่รัฐ และชุมชนจัดขึ้น
ข้อ 3.2 ชายใดที่ขาดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดบ่อยๆ หรือขาดเกิน ๓ ครั้งติดต่อกัน ให้อีหม่าม และกรรมการมัสยิดเป็นผู้พิจารณาโทษ
หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ข้อ 4.1 การกำหนดพื้นที่การรับผิดชอบของแต่ละเขตบ้าน ทั้ง 7 คุ้มบ้าน โดยให้ผู้นำแต่ละเขต ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน ในการรับเรื่อง ร้องเรียน ร้องทุกข์ต่างๆของลูกบ้านในเขตนั้นๆ หากปัญหาใดที่สามารถแก้ไข ไกล่เกลี่ยได้ ให้อำนาจคำพิจารณาของผู้นำเขตบ้านนั้นเป็นที่สิ้นสุด แต่หากปัญหานั้นไม่สามารถไกล่เกลี่ยหรือแก้ไขได้ ให้นำเรื่องส่งต่อยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนปฏิบัติ และขั้นตอนกฎหมายต่อไป
ข้อ 4.2 การกำหนดขอบเขตการใช้สอยในที่ดินสาธารณะ ที่ดินสงวนของชุมชน ซึ่งถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมของชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เพื่องานส่วนรวมให้แจ้งผู้นำ หรือคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบโดยตรง และต้องได้รับอนุญาตจากผู้นำก่อนทุกครั้ง ก่อนจะดำเนินการต่างๆลงไป
ข้อ 4.3 การดูแลรักษาต้นน้ำ ลำธาร ซึ่งเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน ที่เปรียบเสมือนสายน้ำแห่งชีวิตคนในชุมชนบ้านสนีให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ที่ติดกับลำธารร่วมกันดูแลรักษาความสมบูรณ์ของต้นไม้ริมลำธารต้นน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นดินให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป
ข้อ 4.4 การปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทางเศรษฐกิจ ถนนทางขึ้นควน ขึ้นเขาแต่ละสาย หากเกิดความชำรุดทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางเพื่อทำมาหากินกรณีชำรุดไม่มาก ให้ผู้ที่มีสวน มีที่ทำกินอยู่ในเส้นทางสายนั้นและผู้ที่ใช้เส้นทางสายนั้นเป็นประจำ ช่วยกัน ลงขัน ลงแรง ร่วมกัน ปรับปรุง ซ่อมแซมแก้ไขปัญหากันเองก่อน จนกว่าจะมีหน่วยงานเข้ามาให้การช่วยเหลือต่อไป
2..ให้สถานที่ในชุมชน เช่นมัสยิด , ศูนย์การศึกษาจริยธรรม ตาดีกานัฮฎอตุ้ลอัฏฟาล (สนีล่าง),ตาดีกาดารุลนาอีม(สนีบน) และ โรงเรียนบ้านฉลุง เป็นสถานที่ปลอดยาเสพติด และจัดเป็นพื้นที่เรียนรู้ เกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อนำไปสการลดลงของยาเสพติดในชุมชน
โครงการ : พลังเยาวชนร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน: คนบ้านปริก
ในด้านวัฒนธรรมชุมชนมุสลิม จะมีมาตรการในเรื่องประเพณี เช่น การแต่งกายชาย หญิง การละหมาด การถือศีลอดโดยใช้หลักธรรมของศาสนาในการให้คนในชุมชนทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ในการดำเนินชีวิต
โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว
- ได้ร่วมกันออกกฎระเบียบการใช้สอยป่าชายเลนของชุมชนบ้านบางค้างคาว จำนวน 1 ชุด
- มีการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างจริงจังโดยคณะกรรมการป่าชายเลนร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน
โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
- ชุมชนมีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน
- ชุมชนใช้การประชาคมแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาความต้องการ
- ชุมชนใช้แผนชุมชนพี่งตนเอง
โครงการ : กล้วยเภาร่วมใจจัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ
มีมาตรการในการลดขยะของหมู่บ้าน
1.ขอความร่วมมือให้ลูกค้าในหมู่บ้านนำตะกร้าหรือกระเป๋าเวลาไปซื้อของที่ร้านค้าในหมู่บ้าน
2.ทุกหลังคาเรือนต้องมีการคัดแยกขยะ
3.ไม่ทิ้งขยะหรือสร้างความสกปรกบริเวณถนน คู หรือสถานที่สาธารณะในหมู่บ้าน
4.ไม่กองหรือเผาขยะบริเวณหน้าบ้าน
โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน
มีการแบ่งกลุ่มครัวเรือนออกเป็นสามกลุ่ม ทำนา เล้ยงสัตว์และปลูกผัก ต้องทำให้พอกินในครัวเรือนที่ทำ และถ้าเหลือจได้แบ่งปันสู่ครัวเรือนอื่นในหมู่บ้าน
โครงการ : ร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะในชุมชุนบ้านตูล
มีกฏการห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะของหมู่บ้านพร้อมทั้งมีมาตรการเฝ้าระวังคนนอกหมู่บ้านที่จะนำขยะมาทิ้งในหมู่บ้าน
โครงการ : โคกทรายเกษตรอินทรีย์สร้างสุข
เกิดมาตราการหมู่บ้านในการลดใช้สารเคมี
1.พื้นที่นาโซน ก และ ข ไม่ใช้สารเคมีเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
2.สมาชิกไม่ใช้สารเคมีในการทำนา โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า
3.สมาชิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี
หากมีใครไมาปฏิบัติตาม สมาชิกจะไม่ปล่อยน้ำในการทำนา
โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย
- ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แห่งคือ สถานที่ประชุมและลานจัดกิจกรรม
- มีข้อตกลงห้ามล่าสัตว์ ตัดไม้ ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนเนื้อที่ จำนวน 3 ไร่
โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด
ชุมชนมีกฏกติกาให้ปฏิบัติร่วมกันในเครือข่ายสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุด จำนวน 220 คน
1 เรื่อง ไม่จับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ฯหากใครฝ่าฝืนมีมาตราการลงโทษ เป็นลำดับขั้นจากเบาไปรุนแรง เช่น กล่าวตักเตือน, ไม่คุยไม่เข้าร่วมกรณีมีงานประเพณีทางศาสนา , ประสานเจ้าหน้าที่จับยึดเครื่องมือประมง
2 ถ้าจับสัตว์น้ำขนาดเล็กเกินไป กล่าวคือใช้อวนกันขนาดตาอวน ต่ำกว่า 5 เซนติเมตรทางแพปลาชุมชน จะไม่รับซื้อสัตว์น้ำเด็ดขาด
โครงการ : ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก
เกิดกฏกติกาการไม่สูบบุหรี่ ระหว่างการพูดคุย ประชุมอย่างน้อยมีการรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่เดือนละครั้ง โดยคณะทำงานคนที่ไม่สูบบุหรี่เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนในชุมชน รู้ว่าเมื่อเลิกบุหรี่สุขภาพจะดีขึ้น
โครงการ : รักษา"ครัวทะเล"ที่บ้านบาตู
- เกิดข้อบัญญัติการอนุรักษ์พะยูน และ หญ้าทะเล
โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกิดกติการ่วมกันของชุมชนคือ ควรหยุด หรือ ไม่สูบบุหรี่ในเวทีวงคุยประชุมปรึกษาหารือกัน หากจะสูบก็ให้ไปสูบนอกสถานที่เวทีประชุมฯและทุกคนควรให้ความสำคัญกับการดูแลความสะอาดในชุมชน ริมชายหาดโดยกลุ่มคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน นำร่องเป็นตัวอย่างให้กับคนชุมชน
โครงการ : ร่วมใจคืนสุขบ้านเกาะเหรียง
มีพื้นที่ปลอดบุหรี่
โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง
- เกิดกลุ่มทำนาอินทรีย์ มีกติการร่วมกันในการปรับเปลี่ยนการทำนาสู่การทำนาอินทรีย์ มีกองทุนพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์หมุนเวียนให้ชุมชนมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเอง
- มีพื้นที่เขตปลอดบุหรี่
โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ
ภายใต้การดำเนินงานโครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชุมชนมีระเบียบวินัยมากขึ้นโดยเฉพาะการมีกติกาข้อตกลงของชุมชนในการดํแลอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรที่คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงต้องถือปฎิบัติร่วมกันเพื่อนำไปสู่การเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและทรัพยากรที่อุดมสมบูณร์ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดอาชีพประมงที่ยั่งยืนในอนาคตโดยชุมชนมีการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและมีการดูแลร่วมกัน. มีประมงอาสาซึ่งเป็นตัวแทนขิงชุมชนทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่
- มีมาตรการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยมีการตรวจอาหาร และตรวจเลือด ให้กับคนในชุมชนทุกๆ 3 เดือน
- มีการขยายพื้นที่รณรงค์ การสูบบุหรี่ในชุมชน โดยจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายติดไว้ในสถานที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้อาหารปลอดภัย
โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน
1. มีการประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือน
2. ใช้การประชุมของหมู่บ้านในการกำหนดกติกา ระเบียบ หรือมาตรการของชุมชน
โครงการ : ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่
- เกิดระเบียบหมู่บ้าน เรื่อง การตัดไม้ทำลายป่า มีการทำประชาคมเรื่องกันว่าจะไม่บุกรุกทำลายป่า และเรื่องยาเสพติด การเล่นการพนัน ห้าเด็ดขาด
โครงการ : บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง
มีกติกาที่ทุกคนที่อยู่ริมคลองต้องดูแลรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสมำ่เสมอและต่อเนื่อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกเพิ่มเติม และร่วมกันพัฒนาชุมชนในวันสำคัญๆเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้และสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น
โครงการ : สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง
ข้อตกลงกันจำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย
1. สมาชิกเรียกว่าสมาชิกโครงการสภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้างร่วมกันจัดทำแผนกิจกรรมการจัดเก็บขยะ
2. สมาชิกทุกคนต้องเข้าร่วมอบรมการจัดเก็บขยะ และคัดเลือกขยะ
3. ต้องแยกขยะให้ขยะให้เป็น ขยะที่เป็นของใช้ ขยะเสียไม่มีประโยชน์ ขยะทำปุ๋ยได้และขยะขายได้ และขยะรีไซด์เค้นได้
4. ขยะทุกอย่างต้องใส่ภาชนะที่ อบต.นำมาวางไว้ เพื่อที่จะได้จัดเก็บไปทิ้ง
5. คนในครัวเรือนต้องมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะตามสภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุข
6. สมาชิกทุกคนร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บขยะในชุมชน
7. สมาชิกทุกคนร่วมทำกิจกรรมทุกกิจกรรมตามแผนการจัดเก็บขยะที่ทำไว้กับกลุ่ม
8. สมาชิกต้องให้สมาชิกในครัวเรือนร่วมกันให้เข้าใจต้องทำตามกิจกรรมกำจัดขยะในครัวเรือน
โครงการ : ชุมชนชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู
กติกาการใช้ทรัพยากร ( ป่าชายเลน )
1.ตัด 1 ต้น ปลูกทดแทน 5 ต้น
2.ต้องมีอายุการตัด 5 ปีขึ้นไป
3.การตัดแต่ละครั้งต้องตัดแบบทิ้งระยะห่าง
4.การตัดแต่ละครั้งต้องได้รับอนุญาติจากคณะกรรมการ
5.ห้ามตัดในเชิงธุรกิจ
6.กำหนดบทลงโทษของผู้บุกรุกตัดต้นไม้โดยไม่ได้รัอนุญาติ
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร
มีการตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ก็มีการตั้งกติกาในการทำงานไว้
โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง
1.เกิดข้อตกลงด้านสุขภาพด้านการบริโภค การออกกำลังกาย
2.กติการ่วมกันในการดำเนินงานโครงการ
โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
-ประชากรในพื้นที่ มีกิจกรรมกลุ่มอาชีพทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น จากวันละ 300 บาท เป็นวันละ 500 บาท กลุ่มชาวประมงเรือหางยาว จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำนักท่องเที่ยว ๆ ละ 500 บาท
-มีระบบการจัดการแบ่งผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ทำให้เป็นพื้นที่น่าอยู่มีความสะอาด ห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติด
โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
การประชุมรุ่มกันของสภาผู้นำและกรรมการโครงการทุกวันที่ 10
ร่วมฝากเงินกองทุนออม ทุกวันที่ 10
สมาชิกทำบัญชีครีวเรือน และปลูกผักกินเอง ร่วมจัดการขยะครัวเรือน
สถานที่ทำกิจกรรมปลอดบุหรี่
โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก
ข้อตกลงในครัวเรือนเรื่อการจัดการขยะ แยกขยะก่อนทิ้ง
การลดปริมาณขยะโดยนำกลับมาใช้ประโยชน์
การประชุมร่วมกันของสภาผู้นำทุกเดือน
การจัดตั้งพื้นที่ปลอดบุหรี่เมื่อทำกิจกรรม
โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
- มีกติการการใช่ "ลานสุขภาพชุมชน" โดยให้ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ไม่ให้จอดรถ
- คนในชุมชนสามารถขอใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ปีใหม่ รดน้ำดำหัว
โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน
สมาชิกในชุมชนคนใดที่ไม่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ
โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
การนัดประชุมกลุ่มทุกเดือน
การงดสูบบุหรี่ในสถานที่ประชุม
โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ
คนที่มาร่วมประชุมจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม แต่คนที่ไม่เข้าร่วมประชุมจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมทั้งหมดของหมู่บ้าน ห้ามสูบบุหรี่ในห้องประชุม
โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
กติกาในการจับปลาตัวเล็กในลำคลอง และการทำลายสิ่งแวดล้อมก่อนได้รับอณุญาต
โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด
1.ต้องมาร่วมกันเตรียมกระจาดใหญ่ 1 กระจาด ตั้งที่ศาลาหมู่บ้าน ในเทศกาลบุญเดือนสิบ
2.กระจาดที่ตั้งที่ศาลาให้เป็นกระจาดส่วนกลางของหมุ่บ้าน 1 กระจาด ในทุกๆ ปี
3.จะต้องมีพิธีการสมโภชกระจาด ณ ศาลาหมู่บ้านก่อนนำไปถวายวัดต่างๆ
โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง
1.สมาชิกกลุ่ม/ตัวแทนต้องเข้าร่วมประชุมทุกกิจกรรมตามโครงการ
2.กลุ่มสมาชิกต้องปลูกกผักสวนครัวกินเองอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด
โดยไม่มีการใช้สารเคมี
โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
- มีกฏกติกาในการเข้าร่วมกิจกรรม ต้องมีใบสมัครเข้าร่วมโครงการ ในครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมี การทำบัญชีครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการทุกครั้งคือการสมัครใจเข้าร่วมโครงการโดยกรอกใบสมัครโดยความสมัครใจ จำนวน 25 ครัวเรือน ในครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมี มีการทำบัญชีครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการทุกครั้ง
โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม
-ให้คนในชุมชนรู้จักเก็บขยะสิ่งปฏิกูลหรือวัชชพืชให้เป็นที่ไม่กีดขวางทางน้ำ
-มีการเรียนรู้เรื่องแก้มลิง ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน
-มีการเรียนรู้การพัฒนาแก้มลิงหานหาดเขือ/คลองน้ำผลุง คูน้ำและสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านปีละ4ครั้ง
ใน1ปี
-มีแผนรับมือภัยพิบัติ(แผนพัฒนาการรับมือภัยพิบัติ/แผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม/แก้มลิง)
โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง
1.ผัก และผลผลิตในตลาด ต้องมีคุณภาพ ไม่มีสารเคมี
2.พ่อค้ารับซื้อผลผลิต ต้องมาที่ตลาด ห้าไปรับซื้อตามสวน
3.สมาชิกกลุ่มต้องร่วมกันดูแลตลาด
โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ การทำบัญชีครัวเรือน จะต้องทำแผนปฏิบัติการของครัวเรือน
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยอันตรายของสารเคมีและการปลูกผักปลอดสารผิด จะต้องลงมือปฏิบัติจริง
- คณะกรรมการจะต้องเข้าร่วมประชุมทุกเดือน
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ
- กลุ่มเป้าหมาย 150 คน ไม่ใช้ใช้สารเคมี ในการปลูกผักกินเองและจำหน่ายในชุมชน
- กลุ่มเป้าหมยจะต้องใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตกันในกลุ่ม
- ครัวเรือนต้นแบบ 20 ครัวเรือน ต้องทำบัญชีครัวเรือน เป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน (ครอบครัว อสม.ทุ่งหล่อ เป็นครัวเรือนต้นแบบ)
โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2
ลดการใช้สารเคมี รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม
โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง
กติกาการนำพืชผักมาวางไว้ที่ร้านค้าคุณธรรม
กติกาการดูแลร้านค้าคุณธรรม
โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
1.การประชุมประจำเดือนทุกๆเดือนเกิดการพูดคุยคิดและแก้ไขปัญหาการเรียนรู้แบบเข้าใจตรงกัน
2.เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยให้คนที่มาเรียนรู้เข้าแล้วนำมาปฏิบัติในทางเดียวกัน
โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ
ทางกลุ่มตั้งกติกาไว้ว่า สมาชิกผู้ปลูกกล้วยต้องไม่ใช้สารเคมีในการปลูกกล้วย
โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน
สมาชิกกลุ่มหรือตัวแทนต้องเข้าร่วมโครงการทุกครั้ง
ให้ชุมชนลดละเลิกการใช้สารเคมี
โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
- ผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ฯ จะต้องไม่ใช่เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำ และไม่หากินนอกพื้นที่เขตอนุญาตเพาะเลี้ยงหอย
โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล
เกิดกฎ กติกา ระเบียบ กับกลุ่มที่เกิดใหม่และออกกฎระเบียบเพิ่มกับกลุ่มที่มีอยู่แล้วตามมัติที่ประชุม
กลไก ระบบ ที่เกิดใหม่
1. เกิดสภาผู้นำ 1 กลุ่ม มีการจัดประชุมทุกเดือนที่จะมาสุมหัวกันคิดว่างแผนการในการพัฒนาชุมชน
2.เกิดกลุ่ม ทำข้าวไร่
3.กลุ่มทำขนมกล้วยรังนก
4.กลุ่มปลูกผัก
5.กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ
แหลงเรียนรู้ในชุมชนศาลาเอนกประสงค์ และตามบ้านตัวอย่างในชุมชน
โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง
1. ห้ามตัดต้นไม้และโค่นต้นไม้ทุกชนิด
2. ผลผลิตทุกชนิดเก็บกินได้แต่ห้ามนำไปจำหน่าย
3. คนในชุมชนต้องช่วยปลูกต้นไม้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4. ต้องช่วยกันผลิตผักพื้นบ้านและต้นไม้เพื่อช่วยเหลือชุมชนอื่น
5. ห้ามทำกิจกรรมอันหนึ่งอันใด ที่ฝืนมติของกรรมการสวนป่าฯ
6. ต้องจัดงานถวายราชสักการะในวาระเฉลิมพระชนม์พรรษาทุกปี
โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
1. ใช้การถางหรือถอนแทนการฉีดยากำจัดวัชพืช
2. ใช้นำ้จากแหล่งนำ้ที่สะอาด
3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกแทน
4. ต้องได้รับการรับรองจาก จีเอพี
5. เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงเวลาการเก็บเกี่ยว
โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว
1มีการนัดประชุมทุกๆสิ้นเดือน
2.ชาวบ้านให้ความร่วมมือและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อโครงการ
โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก
1.กติกาของสมาชิกกลุ่มคือ ครัวเรือนหรือตัวแทนต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งโดยกลุ่มทำผ้าฮฺิญาบมีสมาชิก 30ครัวเรือน กลุ่มปลูกผักร่องสวนมีสมาชิก 30 ครัวเรือน
2.ครัวเรือนสมาชิกทำบัญชีครัวเรือนสัปดาห์ละ 1ค รั้ง และ พบกลุ่มเพื่อตรวจสอบและชี้แนะเดือนละ 1 ครั้ง
โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
- มีข้อตกลงในการจัดการขยะ คือจะมีการรับซื้อขยะรีไซเคิล ทุกวันที่ 9 ของเดือน
- มีการขยายพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แห่งคือ ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน และที่หน้าโรงเรียน บ้านกลาง
โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี
1. ครัวเรือนมีใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร
2. ครัวเรือนต้องเข้าร่วมกองทุนการออม
3. คนในชุมชต้องลดละบุหรี่และเหล้าในงานบุญของชุมชนและวันจัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน
4. คนในชุมชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายและมีการประเมินผล
โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
- เกิดกติกาชุมชน 4 ข้อ คือ
1. ให้ครัวเรือนเป้าหมายปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 10 ชนิด เพื่อใช้ในครอบครัว
2. ในการแลกเปลี่ยนสมุนไพรที่มีอยู่ในธนาคารสมุนไพรนั้น ต้องเอาสมุนไพรมาแลกทุกครั้งเพื่อให้สมุนไพรในธนาคารมีจำนวนเท่าเดิมหรือมากขึ้น
3. ในส่วนของตู้อบสมุนไพรของหมู่บ้าน จะเปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. - 18.00 น. ทุกวันโดยไม่มีการเก็บค่าบริการ
4. ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูกสมุนไพรมากขึ้น
โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง
1. คนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ตามวัย
2. คนในชุมชนลดละบุหรี่ในวันจัดกิจกรรมของชุมชน
3. ครัวเรือนต้องปลูกผักที่จะบริโภค และบริโภคผักที่ปลูกในชุมชน
4. ครัวเรือนนำเมนูอาหารที่ชุมชนจัดขึ้นไปเป็นเมนูในครัวเรือน
โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม
1. ช่วยกันสอดส่องดูแลบุตรหลานไ่ม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
2. ช่วยกันสืบสารภูมิปัญญาของชุมชน
3. ครัวเรือนต้องจัดสภาพแวดล้อมบ้านให้เอื้อต่อสุขภาพ
4. ปรับสถานที่มั่วสุ่มของวัยรุ่นในชุมชนมีทีมงานค่อยส่อดสู่ดูแล
5. ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณสุขในชุมชนปีละ 2 ครั้ง
โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง
-จัดตั้งคณะกรรมการโครงการ 15 คน
-ปฏิบัติตามสัญญษข้อตกลง
-มาร่วมประชุมทำกิจกรรมทุกครั้ง
-เป็นสมาชิกของโครงการ
-ชักชวนคนในชุมชนมาทำกิจกรรม
โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
- เยาวชน และคนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของประเพณีพื้นบ้าน ประเพณีทางศาสนาในชุมชน และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมมากขึ้น โดยในแต่ละครั้งที่มีการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา เช่น ชวนลูกหลานเข้าวัดทำบุญ ร่วมสร้างวัดให้น่าอยู่น่าเข้า การทำขนมพื้นบานในงานบุญ มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้
- มีการรื้อฟื้นกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมเดิมๆ ในชุมชน เช่น การลงแรงทำขนมพื้นบ้าน ขนมตามเทศกาลงานบุญ มีการช่วยกันห่อขนมต้มใบพ้อเพื่อใช้ในงานออกพรรษาและชักพระ มีการช่วยกันลากเรือพระ มีการช่วยกันทำความสะอาดวัด
- มีกติกาในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ข้อ คือ
1. ให้มีการการแต่งกายด้วยผ้าไทยในงานบุญ งานวัดของชุมชน
2. ให้มีการแสดงมโนราห์ของเยาวชนในงานบุญงานวัดในชุมชน
3. สนุบสนุนให้เยาวชนได้มีเวทีในการแสดงมโนราห์
4. ให้มีการซ้อมมโนราห์ และดนตรีในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ ที่โรงมโนราห์คณะผ่องศรีอำนวย
โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน
1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ทดแทน
2. ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพให้ครัวเรือน
3. ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารผักไว้รับประทานเองในครัวเรือนมีผู้ติดตามครัวเรือน
4. ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุ่มขยะพิษของชุมชนเพื่อนำไปจัดการที่ถูกวิธีต่อไป
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด
1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน
3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง
โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข
1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน
3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง
4. ครัวเรือนปลูกพืชผักเสริมขายกลุ่มเครื่องแกงเพิ่มรายได้
โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง
1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน
3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง
4. ในการจัดกิจกรรมในชุมชนห้ามผู้เข้าร่วมทุกคนสูบบุหรี่
โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์
1. ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
1.1 ผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและผู้ค้าเมื่อถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดจริงจะไม่ให้การช่วยเหลือทุก ๆ ด้าน และไม่รับเป็นสมาชิกทุกองค์กรในหมู่บ้าน
1.2 หลังจากถูกพ้นโทษและให้คณะกรรมการติดตามภายใน 1ปีหากว่าทางคณะกรรมการจะไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วจะพิจารณาให้เป็นสมาชิกได้ทุกองค์กรในหมู่บ้าน 1.3 ทางคณะกรรมการ สสส.จะคอยเฝ้าดูการแก้ปัญหาการเผยแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างเข้มแข็ง
2. การประชุมราษฎรประจำเดือนของหมู่บ้านทุก ๆ เดือน ของวันที่ 8ของทุกเดือนทุกครัวเรือนจะมีผู้เข้าประชุมอย่างน้อย 1 คน หากครัวเรือนใด ไม่เข้าร่วมประชุม ติดต่อ 3 ครั้ง คณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์จะพิจารณาร่วมมือในเรื่องทุก ๆ ด้าน ไม่มีการช่วยเหลือ ด้านบริการประชาชน
3. ข้อพิพาททางเพ่งและทางอาญาที่ยอมความกันได้ ให้นำข้อพิพาทแจ้งกับคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์ และแก้ปัญหาหากไม่สามารถตกลงกันได้ให้ส่งไปศูนย์ดำรงธรรมทางอำเภอ
4. การรักษาสิ่งแวดล้อมทุกครัวเรือนต้องช่วยกันดูแลทรัพย์สินของท่านด้วย ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ ห้ามใช้อวน ซ๊อตไฟฟ้า ระเบิด หากใครฝ่าฝืนปรับครั้งละ 3,000บาท
ห้ามยิงปืนทุกประเภทในงานพิธีต่าง ๆ
5. ผู้ใดที่ทำผลประโยชน์ที่สารธารณะจะต้องแจ้งกับคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์และผู้นำในหมู่บ้านทุกครั้ง
6. ห้ามทิ้งขยะและเศษวัสดุต่าง ๆ ริมถนนทุกเส้นทางในหมู่ที่ 8
7. ทุกครั้วเรือนที่ใช้น้ำประปาให้ถือปฎิบัติตามกฎระเบียบกลุ่มผู้ใช้น้ำประปา
8. ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก
9. ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก
10. ร่วมออกกำลังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
11. ลดละเลิกการเล่นการพนันในงานพิธ๊ ของชุมชน
12. ในครัวต้องปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 5 ชนิด
13. ให้คณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์เป็นผู้ดูแลบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามระเบียบของหมู่บ้านควนสวรรค์ในทุก ๆ เรื่อง
โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
1.กำหนดให้ทุกคนเป็นสมาชิกโดยสมัคร ในการเข้าร่วมโครงการ และมีสิทธิที่จะเรียนรู้กิจกรรมตามโครงการ
2.สมาชิกต้องเข้ารวมกิจกรรมทุกครั้ง
3.อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมต้องเป็นวัสดุกองกลาง เมื่อใช้แล้วให้นำไปไว้ที่เดิม
โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
เกิดกฏกติกาในการปลูกผักปลอดภัยผู้ที่เข้าร่วมโครงการห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
1.มีการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
2.กลุ่มเป้าหมายต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
3.มีการเรียนรู้เรื่องหนี้สิน การทำบัญชีครัวเรือน วิธีลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เรียนรู้การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำปุ๋ยหมักน้ำ-แห้ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
4.ทุกคนต้องปฏิบัติและเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามฐานการเรียนรุ้
โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
เกิดกฏกติการ่วมกัน 97 ครัวเรื่อน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องมี ผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 อย่าง
โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
เกิดกฎ กติกา ในการรวมกลุ่มการทำยาเหลือง และนัดกันมาทำยากันในชุมชน และที่บ้านของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ ครูณรงค์ เนาว์สุวรรณและเปิดรับสมาชิกให้มาร่วมกลุ่มกันทำในรูปแบบของการระดมทุนและเป็นสมาชิกกลุ่มและจดทะเบียนเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากส่วนท้องถิ่น และกระตุ้นให้คนในชุมชนรู้จักดูแลตนเองโดยใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจุบัน
โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
1. กำหนดให้ทุกคนในชุมชน สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา
2. ทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม
โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร
โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
1 เกิดกลุ่มสภาผู้นำในชุมชน เพื่อร่วมพลังกันมีการปรุชุมทุก วันอาทิตย์ที่สาม ของทุกเดือนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ ในชุมชนและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
2 เกิดกลุ่มเยาชน เพื่อสนับสนุนการทำงานของสภาผู้นำ
3 เกิดกลุ่มสวัดดิการชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมาร่วมกันออมเงินเพื่ออนาคน และหากมีส่วนของกำไรส่วนหนี่งจะนำไปบริจาคแก่ผู้ยากไร้ในชุมชน โดยมติของที่ประชุม
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้
สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการตกลงร่วมกันที่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงในการปลูกพืชผักทั้งบริโภคในครัวเรือนและปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมจัดให้มีการติดตามการปลูกพืชผักปลอดสารพิษการทำสารไล่แมลงน้ำหมักชีวภาพ ของสมาชิกหลังการประชุมประชาคมประจำเดือนทุกครั้งมีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุในครัวเรือนทุกครัวเรือน
โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน
มีการกำหนดกติการ่วมกันในการทำบัญชีครัวเรือน โดยกำหนดให้มีการประเมินการบันทึกบัญชีครัวเรือนทุก 3 เดือนเพื่อได้รับรู้รายได้รายจ่ายสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน
โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ
1.คนที่เข้าร่วมโครงการ ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกผัก
2.การทำบัญชีครัวเรือนของผู้เข้าร่วมโครงการ จะต้องมาประเมิน 3 เดือนต่อครั้ง
โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก
มีการกำหนดกติการ้วมกันว่าคนที่เข้าร้วมโครงการจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ต้องมีการทำปัญชีคัรวเรือนโดยกำหนดมีการประเมินการบันทึกบัญชีครัวเรือนทุก 3 เดือน
โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง
กฏกติกา ชุมชน ในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในชุมชน ตามป้ายรณรงค์โครงการ
โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง
1. เกิดกฏกติกาในชุมชน เรื่องลด ละเลิกการใช้สารสารเคมีในชุมชน โดยใช้ป้ายรณรงค์ *ป้ายบ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิต พอพียง*
โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
ทุกเย็นวันศุกร์เป็นวันที่จะมีการประชุมชุมชน มีเรื่องราวที่นำมาแจ้งแก่ตัวแทนครัวเรือน หลังจากการทำละหมาดทุกวันศุกร์
โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน
เกิดคณะตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน
ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ
ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด
ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร
ห้ามช้อตปลาในลำคลอง
ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง
ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้
ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน
การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม
กติกา คือ 1.ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด 2.ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร 3.ห้ามช้อตปลาในลำคลอง 4.ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง 5.ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ 6.ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน 7.การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม
โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก
ยังไม่ดำเนินการในกิจกรรมนี้หรือ การประเมินสรุปผล ประกาศนำมาใช้
โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
กติกาการใช้สารเคมี คือ
1. พยามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร หันมาใช้สารชีวภาพแทน
2. ถ้าจำเป็นต้องใช้ศึกษาให้เข้าใจถึงอันตรายและวิธีการใช้แต่ละชนิด
3. ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อป้องกันอันตรายขณะที่มีการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมี
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีควรตรวจสุภาพปีละครั้ง
4. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีการใช้สารเคมี
5. อย่าล้างภาชนะบรรจุสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นยาลงไปในแม่น้ำ ลำธาร บ่อ คลอง ฯลฯ
โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
มีกติกาชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
เชิงปริมาณ
มีข้อตกลงการจัดการขยะบ้านหัวหิน จำนวน 1 ฉบับ
เชิงคุณภาพ
ชุมชนมีกติกาในการจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือน
โครงการ : Green Food- Green market ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจิก
เชิงปริมาณ
มีมาตรการการบริโภคผักปลอดสารพิษในกลุ่มเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความใส่ใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ
โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน
เชิงปริมาณ
มีกติกาชุมชนในการจจัดการป่าชายเลน
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความใส่ในในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน
โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน
ไม่มี
โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
กฎิกาชุมชน
1.ร่วมกันสืบทอดคลังปัญญาชุมชนให้คงอยู่ยาวนาน
2.ปลูกผักสมุนไพรอย่างน้อย 5 ชนิดในครัวเรือน
3.ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัว 100 เปอร์เซ็น
4.ทำบัญชีครัวเรือ รายได้ /รายจ่าย
5.สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนบริโภคผัก
6.ส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพใช้ในครัวเรือน
7.ประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันใช้นำ้อย่างประหยัด
8.ร่วมกันอนุรักทรัพยากรนำ้ของหมู่บ้าน
9.ประหยัดนำ้
โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน
กติกาชุมชนด้านเด็กและเยาวชน
โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง
ไม่มี
โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ
1. ทุกครัวเรือนต้องมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านและการประชุมประจำเดือนทุกครั้ง
2. ทุกครัวเรือนต้องมีการปลูกผักปลอดาสารพิษ
3. ทุกครัวเรือนต้องมีการการแยกขยะ ดูแลบริเวณบ้านให้มีความสะอาด
4. ทุกครั้งต้องไม่มีลูกน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
5. ทุกครัวเรือนต้อง่วยกันประหยัดค่าไฟฟ้า
6. ทุกครัวเรือนเน้นการใช้ปุ๋ยหมัก,น้ำหมักชีวภาพ
7. ทุกครัวเรือนห่างไกลยาเสพติด
โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ
1. ใช้มาตรการทางสังคม ฮูก่มฟากัส 7 ข้อ เป็นมาตรการหลักซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักศาสนา
เกิดฮูกุมฟากัส
*กลุ่มบุคคลที่ได้รับมาตรการลงโทษทางสังคม*
1). สัปบุรุษที่ไม่ละหมาดญุมอัตเกินกว่า 3 ครั้งติดต่อกันน ไม่มีเหตุผล
2). สัปบุรุษที่ไม่ถือศีลอดอย่างเปิดเผย โดยไม่มีเหตุผล
3). สัปบุรุษที่ผลิตหรือขายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างเปิดเผย
4). สัปบุรุษที่เล่นการพนันเป็นอาชีพ
5). สัปบุรุษที่ไม่ส่งลูกเรียนฟัรฎูอัยนฺ
6). สัปบุรุษที่ผลิตหรือขาย หรือเสพสิ่งเสพติดให้โทษ
7). สัปบุรุษชาย-หญิงที่อยู่ด้วยกันฉันสามี-ภรรยา โดยไม่นิกะหฺ
*ขั้นตอนและมาตรการลงโทษทางสังคม*
1). ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาอย่างน้อย 1-3 ครั้ง
2). หากไม่มีผลตามข้อ 1 จะต้องกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
3). ใช้มาตรการลงโทษ โดยคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะงดร่วมกิจกรรมต่างๆที่สัปบุรุษจัดดังกล่าว ดังนี้
- งานเลี้ยงสมรส
- งานเลี้ยงทั่วไป
- หากเสียชีวิตจะละหมาดญานาซะไม่เกิน 3 คน
4).เมื่อกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้อบรมตักเตือนตามขั้นตอนครบ 6 เดือน ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม จะถูกคัดออกจากทะเบียนมัสยิด
2. เพิ่มข้อตกลงโดยใช้หลักกฏหมาย เช่น ห้ามทะเลาะวิวาท ห้ามดื่มสุราในหมู่บ้าน ห้ามพกพาอาวุธ ห้ามลักขโมย หากมีการกระทำเหตุดังกล่าวจะใช้กฏหมายเป็นหลัก
3. ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบร่วมกับเยาวชนที่กระทำความผิด
4. หากกรณีไม่ร้ายแรงให้ผู้นำในหมู่บ้านพิจารณาเป็นกรณีๆไป
โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน
- การทำงานเพื่อให้เกิดกติกาชุมชนด้านเด็กและเยาวชน
- เกิดกติกาครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง
โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน
- ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืช ผัก มากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป
- มีการจัดทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
- เป็นสมาชิกกลุ่มในหมู่บ้าน มีการออมอย่างสม่ำเสมอ
- เกิดการมีส่วนร่วมของครัวเรือนอื่นๆเพิ่มมากขึ้น
โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร
1. มีเขตพื้นที่อนุรักษ์เพื่อดูแลทรัพยากรร่วมกัน จำนวน 4 แปลง
2. กลุ่มเยาวชนนักอนุรักษ์มีทักษะในการบริหารจัดการป่าชุมชน
3. เกิดศูนย์เรียนรู้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 1 แปลง
4. มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่
โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เกิดกติกาชุมชนดังนี้
1.ซื้อของ ไม่เอาถุงพลาสติก เปลี่ยนเป็นถุงผ้าหรือตะกร้า
2. แยกขยะเปียก เช่น ปลาเปลือกผลไม้ สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก แล้วนำมาใช้ใส่ต้นไม้
- ขยะที่ย่อยยากแต่บางอย่างสามารถนำมาใช้ได้อีกคือมีการแยกออกเป็นแต่ละประเภท
- ขยะอันตราย ต้องการเก็บให้ถูกวิธี
3.การงดใช้โฟมในร้านค้า เพราะมีสารอันตรายต่างๆ
4.น้ำมันให้ใช้แค่ 2 ครั้ง
5.การทำอาหารต้องมีพื้นที่สูง 10 เซนติเมตร
6.ถ้วยชามต้องมีผ้าสีขาวปิดไว้
7.อาหารควรมีการแยก ผักและอาหารสด ถ้ามีเป็นกล่องจะดีมาก
8. ช้อนต้องตั้งให้ถูกต้อง ปลายขึ้นบน
9. ร้านของชำ ชั้นวางของต้องสูง ต้องมีการแยกขนม มีการแนะนำการใช้ถุง ย่าม หรือตะกร้า
โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
1.มีการวางแผนการทำงาน
2.ผู้ร่วมกิจกรรมต้องช่วยกันทำและแบ่งปันซึ่งกันและกัน
3.ผู้ร่วมกิจกรรมต้องพูดคุยปรึกษาหารือกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ
1.ในหมู่บ้านเกิดกฏ กติกา ชุมชน และประกาศใช้ภายในหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด
โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน
1.ชาวสะพานเคียนร่วมใจคัดแยกขยะในครัวเรือน
2.ชาวสะพานเคียนร่วมใจหิ้วตะกร้าหรือถุงผ้าไปตลาดเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
3.ชาวสะพานเคียนลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
4.ชาวสะพานเคียนร่วมใจงดใช้โฟมในชุมชน
5.ชาวสะพานเคียนร่วมใจพัฒนาชุมชนทุกวันศุกร์
โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง
1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม
2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด
3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย5 ชนิดขึ้นไป
โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง
หมู่ที่ 7 ต้องปฎิบัติ 7 ข้อ ดังนี้
1. ต้องลดการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม และสารปรุงแต่ง
2. ต้องร่วมกันบริโภคผักและผลไม้ปลอดสารพิษ 5 ขีดต่อวัน
3. ต้องร่วมกันใช้สมุนไพรในสวนครัว
4. ต้องออกกำลังกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับตนเอง
6. ต้องลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา
7. ต้องไม่ทิ้งขยะในบริเวณบ้านเรือนและที่สาธารณะ
โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)
เชิงปริมาณ
เกิดกติกากองทุนนำ้ชาชุมชน 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
เยาวชนมีการแบ่งบทบาทหน้าที่และการบริหารจัดการสวัสดิกากองทุนนำ้ชา
โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)
เกิดการเรียนรู้ในด้านวัฒนธรรมในชุมชน
โครงการ : โครงการชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรัทธา
- เกิดฮูก่มปากัตชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรััทธา
โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน
ในการประชุมหมู่บ้าน ทุกครัวเรือนต้องมีตัวแทนเข้าร่วม หากมีครัวเรือนไหนที่ขาดการมีส่วนร่วม จะไม่มีสิทธิในการได้รับช่วยเหลือจากทุนในชุมชน
โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร
เกิดระเบียบการปฏิบัตรของสภาแกนนำในชุมชน
โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย
มีกติกาชองกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัย เช่น การผลิตข้าว ในช่วงของข้าวตั้งท้องห้ามใช้สารเคมี เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในส่วนการปลูกผัก ก่อนจำหน่ายต้องมีการยินยอมให้กลุ่มมีการตรวจผลผลิต หากกรณีมีการตรวจพบสารตกค้างของสารเคมี ต้องหยุดจำหน่ายผลผลิตให้กับกลุ่ม และให้มีการปรับเปลี่ยนลดการใช้สารเคมี กลุ่มถึงจะมีการรับซื้อผลผลิตต่อไป
โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ
ทำให้เกิดข้อตกลงด้านการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1.บริเวณอาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อใน
2.บริเวณจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น
เกิดระเบียบการปฏิบัตรของสภาแกนนำในชุมชน
โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ
1.ตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คนเข้าร่วมพัฒนาบ้านเรือนและสถานที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง
2.ห้ามทิ้งขยะบริเวณถนน หนทาง
โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1. ห้ามทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านหรือทิ้งขยะไม่เป็นที่หากพบผู้ใดฝ่าฝืนต้องลงโทษโดยให้ทำคุณประโยชน์ให้กับสถานที่สาธารณะหมู่บ้าน
2. การจัดกิจกรรมภาคกลางคืนทุกครั้ง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมให้เยาวชนจูเนียร์บ้านบาลา สำรวจขยะในครัวเรือนตนเองช่วยกันเก็บขยะไปยังศาลาหมู่บ้าน เพื่อการคัดแยกอีกครั้งก่อนส่งธนาคารขยะ
3. ร่วมกันสอดส่องขยะในบริเวณน้ำตกที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน
4. ช่วยกันทำความสะอาดกูโบร์ ฝายน้ำ คลอง ทุกๆเดือน และทำความสะอาดบริเวณมัสยิดทุกเดือน
5. ให้มีการช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หากพบผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษโดยให้ทำคุณประโยชน์ให้กับสถานที่สาธารณะหมู่บ้าน
โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ
ชุมชนมีการกำหนดบริเวณมัสยิด ให้เป็นเขตการปลอดบุหรี่
และไร้มลพิษทางตรงและทางอ้อม ทำให้สุขภาพของผู้ที่ไปปัฏิบัติศาสนกิจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
เกิดระเบียบในการออมทรัพย์ในการเบิกจ่ายเงินออมทรัพย์ของกองทุน
โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง
ชุมชนมีการกำหนดบริเวณมัสยิด ให้เป็นเขตการปลอดบุหรี่ และไร้มลพิษทางตรงและทางอ้อม ทำให้สุขภาพของผู้ที่ไปปฏิบัติศาสนกิจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
- ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนามีมติเกี่ยวกับเยาวชนในสานศึกษาว่าจะมีการจัดกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน เช่นการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เนื่องจากประสบปัญหาในชุมชนเรื่องเด็กแว๊นรถจักรยานในช่วงกลางคืน ซึ่งได้มีการตั้งกฎใหม่ว่าหากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวในเวลาหลัง 21.00 น. จะเรียกผู้ปกครองเยาวชนมาพูดคุยตักเตือน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองด้วยที่ต้องดูแลบุตร
โครงการ : หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง
การกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นโดยแจ้งให้ทุกฝ่ายรับทราบเกี่ยวกับชายหญิงที่มิได้เป็นสามีภรรยากันหากพบอยู่ที่ปลอดผู้คนสองต่องก็จะมีการตักเตือนแต่หากมีการปฎิบัติที่เกินเลยระหว่างชายหญิงก็จะมีมาตรการโดยบังคับแต่งงานกัน
โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก
เกิดกติกาในกลุ่มของเยาวชน โดยมีผู้นำและ สมาชิก เล่นกีฬาทุกวันในตอนเย็น
โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด
เกิดฮูกัมปากัต (ข้อตกลงร่วมกัน) ในหมู่บ้าน 5 ข้อ ดังนี้
1.ห้ามทิ้งขยะในเขตพื้นที่สาธารณะ ริมทาง ริมคลอง มัสยิด กูโบร์
2.ทุกบ้านเรือนต้องทำความสะอาดบ้านเรือนตนเอง ทุกๆวันศุกร์
3.ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ ถนน ริมทาง กูโบร์ ทุกเดือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน
4.ทุกครัวเรือนต้องมีถังขยะ ห้ามทิ้งขยะกองหน้าบ้าน
5.ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติก (ใช้ถุงผ้าแทน
โครงการ : หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข
ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดยมีการกำหนดกติกา ดังนี้
ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจากท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า หากไม่เป็นการยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน
กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ
มึตรัวเรีอนตามเป้าหมายต้องมีการออมเกิดขี้นมีความสะอาดถุกหลักอนามัย มีครอบครัวไม่ยุ้งกับยาเสพติดเกิดแกนนำเยาวชนในหมู่บ้านในกิจกรรมทางศาสนาอิสลามในการใช้ชีวิตประจำวันจำนวน 6คน และทุกวันที่20ของทุกเดือนมีนัดพบกันที่มัสยิดทุกกลุ่มวัย
โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ
1.ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกพืชผักพื้นบ้านทุกครัวเรือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 20 ชนิด และรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่ทำลายพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน
2.รณรงค์ให้มีการขยายพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในชุมชน จำนวน 2 พื้นที่
โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้
- มีกติกาชุมชนการลดการใช้สารเคมีในแปลงผัก
โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)
- เกิดกติการ่วมของชุมชน ดังนี้
1) ห้ามทุกคนในชุมชนเล่นการพนันทุกชนิดหรือข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด หากพบเห็นโทรแจ้งตำรวจ
2) ไม่ให้ร้านค้า ขายสุรา บุหรี่ ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกปรับโดยกรรมการหมู่บ้านคนละ 300 บาท
3) ห้ามมิให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เที่ยวเตร่หรือออกจากบ้านเวลากลางคืน หลังเวลา 24.00 น. โดยลำพัง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง หากฝ่าฝืนจะถูกปรับคนละ 300 บาท เป็นต้น
4) การลักทรัพย์และทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายผู้ที่ลักทรัพย์สินของมีค่าของผู้อื่น ปรับ 3-5 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สิน นั้น
5) ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดและปล่อยสัตว์ให้ไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น ให้มีความผิดและปรับค่าเสียหาย ดังนี้ 5.1 ประเภทพืชยืนต้น คิดค่าปรับในอัตรา100 บาท/ต้น 5.2 นาข้าว ตารางเมตรละ 100 บาท 5.3 พืชไร่/พืชสวน คิดค่าปรับ ในอัตราระหว่าง 200-1,000บาท(แล้วแต่ความเสียหาย)
6) การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
7) ห้ามก่อเหตุทะเลาะวิวาทภายในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ก่อเหตุ จะถูกปรับเป็นเงิน 500 บาท
8) ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ้ายิงเล่นปรับ 500 บาทต่อ 1 นัด
9) สมาชิกครัวเรือนละ 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน หากครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมประชุม สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจะให้การพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมทุกเดือนก่อน ไม่ว่ากรณีใดๆ
10) ครัวเรือนต้นแบบ
10.1 ต้องทำบัญชีครัวเรือน 10.2 ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด 10.3 ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง 10.4 ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 10.5 ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน
- คนในชุมชนยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน
โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย
- คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างกติกาในหมู่บ้าน คือ ห้ามการพนันทุกชนิดมาเล่นในหมู่บ้าน,
- ห้ามนำยาเสพติดมาจำหน่าย หรือเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน,
- ประชาชนทุกครัวเรือนต้องร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
- การกู้ยืมเงินของกองทุนหมู่บ้านจะต้องชำระตามเวลาที่กำหนด ห้ามปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น วัวหรือแพะไปกินยางพารา หรือ กินพืชต่างๆของผู้อื่น
- จะต้องช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยภิบัติในหมู่บ้าน
- ช่วยกันสอกส่องดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน
การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงได้ในวันประชุมประจำเดือน หรือตามที่คณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นสมควรเป็นเรื่องไป
- ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน
โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
- ชุมชนได้กฎกติการ่วมกัน เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
- ชุมชนได้กฎกติการ่วมกัน เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ธรรมนูญหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 (กติกาหมู่บ้าน)
- หมวดที่ 1 ว่าด้วยการศึกษา
1.จัดให้มีการเรียนการสอนด้านศาสนาแก่เด็กเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมสนับสนุนอบรมแก่มุสลีมีน มุสลีม๊ะ
2.จัดการเรียนการสอนอัลกรุอ่านในชุมชน
3.สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครองและผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบล
- หมวดที่ 2 ว่าด้วยสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
4.ร่วมดูแลบำรุงรักษาเส้นทางสัญจร ภายในหมู่บ้าน
5.จะใช่ช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและทันสถานการณ์ เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เอกสารเผยแพร่
- หมวดที่ 3 ว่าด้วยการป้องกัน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน
6.กำหนดเพิ่มมาตรการ เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย สร้างความเข้มแข็งให้ชุดรักษาความสงบเรียบร้อย และชุดอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในชุมชน
7.ไม่ยิงปืน ประทัด ในหมู่บ้าน ตำบล และในงานประเพณีต่างๆ
8.กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ยาเสพติดและร่วมสอดส่องดูแลติดตามเด็ก เยาวชนในหมู่บ้านตำบลให้ห่างไกลยาเสพติด
9.การลักขโมย ของผู้อื่น เช่น ขี้ยาง (เศษยางพารา) จะต้องหมดไป
10.ร่วมสร้างค่านิยม รู้รักสามัคคี เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อลดความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน
11.ช่วยสอดส่อง ตรวจสอบร้านเกมส์ให้มีการขออนุญาตเปิด-ปิด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพร้อมประสานความร่วมมือไปยังท้องถิ่นข้างเคียงเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือกติกาชุมชน
- หมวดที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนารายได้การส่งเสริมอาชีพ
12.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ สร้างงาน เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ความยากจน การรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- หมวดที่ 5 ว่าด้วยศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
13.ศรัทธาและยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามย่างแน่วแน่ เช่น การละหมาด 5 เวลาและการละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น
14.รณรงค์ให้มุสลิมละศีลอด ร่วมกันที่มัสยิดและปลูกจิตสำนึกให้แก่ร้านค้าในชุมชน งดจำหน่ายหรือบริการอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน
15.พัฒนาศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนและการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
- หมวดที่ 6 ว่าด้วยสุขภาพและการสาธารณสุข
16.ร่วมรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน
17.คนในตำบล หมู่บ้านทุกกลุ่มวัยรู้จักการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
18.งดสูบบุหรี่/ใบจาก สิ่งมึนเมาในที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน มัสยิด สถานที่ราชการ
19.ให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือน
20.รณรงค์รวมพลังชุมชนลดการซื้อสินค้าตามโฆษณาที่เกินจริง
- หมวดที่ 7 ว่าด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน
21.สร้างความร่วมมือในการลดความขัดแย้งในชุมชนและระหว่างชุมชนที่เกิดจากความไม่ เข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองและด้านอื่นๆ
22.ทุกหมู่บ้านกำหนดวันประชุมประจำเดือนและให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนตามที่หมู่บ้านนั้นๆ กำหนด
23.พัฒนากระบวนการประชาธิปไตยทางตรงเพื่อเป็นพื้นที่กลางในชุมชน
24.จัดทำแผนผังหมู่บ้านโดยจัดโซนเพื่อการบริการข้อมูลต่างๆ
- หมวดที่ 8 ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25.ร่วมกับภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรท้องที่ องค์กรท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่นการจัดการที่ดินทำกินและเพื่อที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้
- หมวดที่ 9 ว่าด้วยกองทุนการเงินชุมชนและสวัสดิการสังคม
26.ร่วมรณรงค์และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน (สัจจะเดือนละ 20 บาท) ให้ครอบคลุมและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินต่างๆ ในตำบล
27.ให้ทุกครัวเรือนดูแล บริเวณบ้านเรือนของตนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีขยะมูลฝอย
28.ร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้าน ตำบลมีการรวมกลุ่มกันจัดทำกลุ่มออมทรัพย์
โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู
- ก่อให้เกิดกฎ กติการ่วมกันในสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการทำงานเป็นทีมในการวางกฎกติกา ด้านการอนุรักษ์คลองละงู เช่น การลงพื้นที่ลาดตระเวณ และกลุ่มแกนนำได้ทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชน ซึ่งทำให้กลุ่มเยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด และได้มีการเรียนรู้ภายในคลองละงูนอกห้องเรียนจากการวางแผนการทำงานด้านการมีส่วนร่วมที่จะทำให้ทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมภายในชุมชนด้วย
โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู
- เกิดกติกาหมู่บ้านและมาตรการเรื่องการเข้าประชุมคือหากผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุมเกิน3ครั้งจะไม่พิจารณาเรื่องต่างๆ
- คนในหมู่บ้านได้ปฏิบัติตามกฎกติกาหมู่บ้านที่ตั้งไว้เพราะหากผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุมประชาคมต่างๆไม่สามารถได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ
โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร
- ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์จากการลงรายรับรายจ่าย
- ห้ามมิให้ลูกหลานของตนเองยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
- ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในสถานที่ราชการและบริเวณสวนของชาวบ้านที่
โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง
- การเฝ้าระวังดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ไม่ให้ลูกหลานทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพโดย อสม และการลงเยี่ยมบ้านให้มีเป็นประจำทุกเดือน
โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
มีกฎระเบียบเพิ่ม 3 กลุ่ม และปฏิบัติร่วมกันทำให้คนในชุมชนมีวินัยทางสังคมมากขึ้น
โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)
1. การทำปุ๋ยหมัก เกิดกฎ กติกา คือ ช่วยกันทำช่วยกันใช้ จะเป็นการนัดหมายว่าจะทำวันไหน เมื่อเตรียมวัตถุดิบพร้อม ก็ให้ช่วยกันลงมือทำโดยนัดหมาย ชักชวนกัน ร่วมไม้ร่วมมือกันทำ
2. การทำกระจาด เนื่องจากเป็นความสำนึกหรือตระหนักว่า ผู้ที่ทำนั้นเป็นผู้ที่ได้ตอบแทนบุญคุณตายายหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จึงไม่มีกฎตายตัว จึงเป็นการแบ่งงานกันทำตามความรู้ ความสามารถ ความถนัดของแต่ละบุคคล
โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ
การยิงปืนในที่สาธารณะปรับ500 บาท
โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร
- การเข้าร่วมการประชุมของคนในชุมชนเพื่อสร้างมาตรการให้เป็นแบบแผนของชุมชนให้น่าอยู่
- การติดตามการกู้ยืมของกองทุนหมู่บ้านไปไปด้วยกฏ กติกาที่ได้วางไว้
- สมาชิกทุกคนสามารถทำตามกฎ ระเบียบแบบแผนได้อย่างลงตัว
โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่
1.มีการตั้งกติกาในการรับซื้อขยะในชุมชน
2.ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น ทำให้ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น
โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น ทำให้ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น
โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี
- ทำให้เกิดกฎระเบียบในหมู่บ้านในเรื่องของ เขตพื้นที่ปลอดบุหรี่ เช่น มัสยิด โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่
กติกาชุมชน ชุมชนปลอดยาเสพติด
1. ชุมชนกำหนดกฎเกณฑ์ว่า “บ้านไหนค้าหรือเสพ จะตักเตือนโดยการเชิญมาคุยทั้งครอบครัวกับคณะกรรมการชุมชน แต่ถ้ายังปฏิบัติอีก จะไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และขั้นสุดท้ายตัดความช่วยเหลือที่ชุมชนมีทุกประการ” แต่ขั้นตอนต่างๆนั้นจะผ่านกระบวนการสภาชุมชนในการพิจารณา
ขั้นตอนที่ 1 เรียกตัวบุคคลที่ค้าและเสพ และสังเกตุพฤติกรรม
ขั้นตอนที่ 2 หากมีพฤติกรรม เช่นเดิม จะเรียก ผู้เสพ หรือผู้ค้า พร้อมครอบครัว เชิญมาคุย
ขั้นตอนที่ 3 ถ้ายังปฏิบัติอีก จะไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และขั้นสุดท้ายตัดความช่วยเหลือที่ชุมชนมีทุกประการ
โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน
- 1.สมาชิกกลุ่ม/ตัวแทนต้องเข้าร่วมประชุมทุกกิจกรรมตามโครงการ 2.กลุ่มสมาชิกต้องมีการคัดแยกขยะ โดยหน้าบ้านและบริเวณข้างถนนจะต้องไม่มีขยะ
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2
มีกติกาชุมชนในด้าน1) กรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายต้องมีการประชุมชี้แจงประชาชนในทุกเดือน
2) ประชาชนต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนออมทรัพย์หมู่บ้านจะมีสิทธิกู้เงินกองทุนได้และจะต้องมีการออมทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 100 บาทและผ่านการออมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
3) ทุกกลุ่มกองทุนต้องหักเงินจำนวนร้อยละ 20 ของผลกำไรเพื่อใช้เป็นกองทุนสวัสดิการสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน
4) จัดให้มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาหมู่บ้านตามแขวงในวันสำคัญครบทั้ง 8 แขวง
5) ชาวบ้านทุกครัวเรือนต้องมีการเวียนกันทำข้าวกับข้าวไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดตลอดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาสามเดือนโดยจะแบ่งกันเวียนวันละสามครัวเรือน
โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)
มีการกำหนดกฎการใช้ประโยชน์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
และข้อตกลงในการไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ
โครงการ : รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านศาลาไม้ไผ่(ต่อเนื่อง)
ได้มาตรการทางสังคม อย่างน้อย 1 เรื่อง ยาเสพติด หากบ้านใครยุ้งเกี่ยวกับยาเสพติด ทางชุมชนจะไม่ช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางสังคม
โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
1.ใส่หมวกกันน็อคเมื่อขับรถมอเตอร์ไซต์ทุกครั้ง
2.ไม่ขับรถย้อนสอน
3.สถานที่ประชุมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
1.ให้คนที่เข้าร่วมกรรมนำวัสดุ ในการทำปุ๋ยหมักมาร่วมกันทำปุ๋ยหมัก
2.ทุกครัวเรือนให้ปลูกผักกินเองที่บ้าน ครัวเรือนละ 5 ชนิด
3.สถานที่ประชุมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
4.
โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
เกิดกติกาชุมชนจากการประชุม
1.ถ้ามีการขาดประชุมเกิน 4 ครั้งจะถือว่าขาดการเป็นสมาชิกประจำกลุ่ม
2.คนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ถ้าเอาวัสดุมาให้กับทางกลุ่มและร่วมทำกิจกรรมก็ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องซื้อจากกลุ่ม
3.คนที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม จะต้องซื้อสินค้าเพื่อนำเงินมาเป็ฯสวัสดิการชุมชน
เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร
4.ในที่ประชุมจะร่วมกันรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่โดยสถานที่ประชุมจะเป็นที่งดสูบบุหรี่
โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร
โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
1)ให้ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้นำเอาขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ 2)ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสมุนไพรกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 3)ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมต้องมีรังผึ้งโพรง
โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)
1. กำหนดการในการฝึกซ้อมและการเรียนรู้ปันตงของเด็กและเยาวชน ในช่วงระยะเวลาว่าง เสาร์-อาทิตย์
2. ระยะเวลาในการเรียนรู้ปันตง ในช่วงเวลา 13.00-16.00 น.
โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
1.ทุกในครัวเรือนต้องปลูกพืชสมุนไพรครัวเรือนละ 5ชนิด
2.ทุกครัวเรือนต้องมีเห็ดนางฟ้าครัวเรือนละอย่างน้อย 10 ก้อน
3.ทุกครัวเรือนต้องมีปุ๋ยน้ำหมัก 1กระสอบ
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2
กติกาชุมชนประกอบด้วย 1)ทุกครัวเรือนมีการแยกเก็บขยะได้อย่างถูกต้อง 2)ขยะแห้งเก็บไว้ขาย/ไว้ใช้ซ้ำ/ทิ้งถังขยะ3)ขยะเปียกทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือขุดฝังขยะอันตรายแยกเก็บใส่ถุงที่ปลอดภัยก่อนทิ้งหรือขาย รวมทั้งชุมชนต้องจัดการชุมชนและหน้าบ้านตนเองให้น่ามองด้วยการจัดการให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น
โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)
1.เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชนได้แก่
1.1 มีเขตอภัยทานปลาคลองนาท่อมเป็นมาตรการของชุมชนเป็นเขตอนุรักษ์
1.2 มีมาตรการการจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วม โดยมีการจัดการขยะต้นทางที่ครัวเรือน
1.3 มีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน
โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)
เชิงปริมาณ
มีเวทีการพูดคุยในการจัดการขยะในชุมชน 5 ครั้ง
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความใส่ใจในการจัดการขยะเพิ่มขึ้น
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
กติกาของกลุ่มทำนาอินทรีย์ที่จะไม่ใช้สารเคมีในการทำนา ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา และสมาชิกลุ่มจะต้องขายข้าวที่ได้ให้กับกลุ่มตามจำนวนที่กำหนดเพื่อทำเป็นข้าวสารบรรจุถุงขายในชุมชน
โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)
- มีข้อตกลงในการผลิตข้าวที่ปลอดภัย
- ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน จำนวน 2 แห่งคือ สถานที่ประชุมและสถานที่จัดกิจกรรม
โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)
มีกฏกติกาในดูแลป่าที่ยังคงบังคับใช้มาอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)
กติกาครอบครัวด้านเด็กและเยาวชน
1. ให้ลูกได้ร่วมกำหนดกฎระเบียบกฎหนดกฎเกณฑ์การปฏิบัติร่วมกับลูก กฎระเบียบต้องชัดเจน ปฏิบัติได้และเข้าใจง่าย
2. พ่อ แม่ผู้ปกครองอนุญาตให้ออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ แต่ต้องกลับบ้านไม่เกิน 1 ทุ่ม
3. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ เช่น อาจยกย่องชมเชยหรือจัดหารางวัลให้เหมาะสมกับโอกาส และสถานการณ์
4. ทำกิจวัตรในครอบครัวร่วมกันเช่นการรับประทานอาหารร่วมกันละหมาดพร้อมกัน
5. ห้ามคนในครอบครัวพูดด้วยวาจาไม่สุภาพ ด่าทอ หยาบคาย และรุนแรง
6. ไม่มีเวลาให้กันภายในครอบครัว เช่น ไปเที่ยวด้วยกัน เดือนละครั้ง
7.พ่อ แม่ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ
8.คนในครอบครัวต้องไม่มั่วสุมกับสิ่งเสพติดและอบายมุขต่างๆ
9.คนในครอบครัวประพฤติตนตามหลักศาสนาอิสลาม
โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)
- การทำงานเพื่อให้เกิดกติกาชุมชนด้านการจัดการขยะ
โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)
สลับหมุนเวียนดูแลแม่น้ำลำคลอง 3 เดือนต่อ 1 ครั้งและต้นไม้ที่ปลุกในสวนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
เชิงปริมาณ
มีระเบียบธนาคารขยะ 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
ชุมชนร่วมกันดำเนินการธนาคารขยะ
โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี
-มีการยกระดับความเร่งด่วนในการทำงานและการช่วยเหลือ
-การก้าวข้ามการทำงานแบบพหุวัฒนธรรม
-ลงขันในการทำงานและร่วมเป็นหุ้ส่วน
-ต้องมีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5
-เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนโดยประชุมผ่านสภาผู้นำชุมชนเดือนละ1ครั้ง
โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
เกิดกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งยาว โดยในกองทุนได้มีคณะกรรมการจำนวน ๓ ฝ่าย ๑ฝ่ายนโยบาย ๒ ฝ่ายป้องกันและเฝ้าระวัง ๓ ฝ่ายพัฒนา ในการนี้กองทุนได้มีทุนที่จะมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท โดยทุนเหล่านี้ได้รับการสมทบจากคนทั้งในและนอกชุมชน จากองค์กรในชุมชน ซึ่งทุนนี้จะนำไปพัฒนา/เฝ้าระวังเด็กและเยาวชน ตลอดจนฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
โครงการ : เกาะทองสมใหม่เกษตรอินทรีย์สร้างสุข
สภาผู้นำชุมชนที่มีทั้งส่วนของคณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนจากการคัดเลือกจากชุมชนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน และจัดการโครงการ จนเป็นที่ยอมรับของอำเภอ จังหวัด และเป็นศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายสุขภาพของหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด
โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
1. ระบบผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้บริโภคในชุมชนร้านค้าชุมชนขายพืชผักที่ปลูกในชุมชน คนในชุมชนเจาะจงเลือกพืชผักจากชุมชนมากขึ้น
2. เกิดสภาแกนนำหมู่บ้านที่มากจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ร่วมคณะกรรมการหมู่บ้าน สนับสนุนผู้หญ่บ้านในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน
โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
1. ระบบผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้บริโภคในชุมชนร้านค้าชุมชนขายพืชผักที่ปลูกในชุมชน คนในชุมชนเจาะจงเลือกพืชผักจากชุมชนมากขึ้น
2. เกิดสภาแกนนำหมู่บ้านที่มากจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ร่วมคณะกรรมการหมู่บ้านรวม 20 คน ร่วมประชุมหมู่
ุ่บ้าน และสนับสนุนผู้หญ่บ้านในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน
โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ
มีสภาผู้นำและกลุ่มมีกระบวนการรร่วมคิด ร่วมตัดสินใจร่วมรับประโยชน์มีการวางแผน สรุปการทำงานและติดตามประเมินผล เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและมีความร่วมมือจากภาคคีพี่เลี้ยงเสริมขบวนการขับเคลื่อน เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วสมาคมรักษ์ทะเลไทย เครือข่ายเกษตรทางเลือก
โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง
มีระบบการรวบรวมขยะที่แตกต่างกันใน 3 หมู่ในหมู่ 6 และ 8 ครัวเรือนจะคัดแยกขยะเอง และมีพ่อค้ามีรับซื้อที่บ้าน ส่วนในหมู่ 5 จะนำขยะไปรวมที่ศาลาหมู่บ้าน แล้วทำการคัดแยก และนำไปขายให้กับพ่อค้าเองบ้าน
โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
มีชุดลาดตระเวณจำนวน 8 คน ที่มีตารางการทำงานเดือนละสองครั้ง
โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร
เกิดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรเครือข่ายที่มีความสนใจ และสามารถปลูกจิตสำนึกเยาวชนคนรุ่นใหม่ เกิดสำนึกรักบ้านเกิดและเป็นกระบอกเสียงให้คนในชุมชนในการสร้างความรักความสามัคคีการมีส่วนร่วม เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนได้
โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2
เกิดสภาสุขภาวะชุมชนบ้านนาเปรีย
โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )
ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน
ประชุมทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 10 ครั้ง
ผู้เข้าร่วมแต่ละครั้งประมาณ 40 – 60 คน ประกอบด้วย
คณะกรรมการสภาชุมชน เด็กและเยาวชน สตรี
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
กลุ่มอนุรักษ์กลุ่มอาชีพ
โครงการ : ร้อยเรียงวิถีชุมชน ชุบชีวิตแบบยั่งยืน คืนชุมชนสู่ธรรมชาติ
- มีกรรมการหมู่บ้าน กรรมการสภา 7 คน และชาวบ้าน จำนวนกว่า 30 คน
ร่วมกันติดตามประเมินผล จำนวน 12 ครั้ง และมีความต่อเนื่องตลอดไป
- คณะกรรมการสภาชุมชนจำนวน25 คน ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน
ตัวแทนผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นตัวแทนชาวบ้าน
- มีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 12 ครั้ง
โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
ทางกลุ่มมีการเชื่อมโยงประสานกับทางหน่วยงานพัฒนาชุมชน และทางเทศบาลตำบลปากพูนในการร่วมกิจกรรมต่างๆเช่นการออกร้านจำหน่ายผลิตผล
โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ
มีการสุนใจสุขภาพเรื่องการป้องกันการรับมลพิษโดยการเสวนาเรื่องการดูแลระบบทางเดินหายใจโดยการนำขยะมาเป็นทุน
โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
เพิ่มพื้นที่ป่าสาคูขึันในชุมชนเพราะทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันว่า ป่าสาคูมีประโยชน์ เพราะพื้นที่ลุ่มที่สาคูอยู่จะเป็นแหล่งพักพิงของปลา และปลาจะวางไข่ตามร่องระหว่างต้นสาคู
โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
1.เชื่อมโยงประสานงานกรรมการชุมชน กรรมการอสม. และสภาผู้นำในเครือข่าย
2.เกิดกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ สร้างสรรค์สินสืบสุข โดยเด้กและชาวบ้านที่ชอบทำสิ่งเดียวกันมาร่วมกันทำสิ่งประดิษฐ์และรวมกลุ่มส่งขายออกบูทในชุมชน
โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
มีการประชุมกรรมการโครงการต่อเนื่องจำนวน 15 คน ทุกเดือน เน้นการพูดคุยเป็นวาระต่อเนื่อง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโครงการแต่ละครั้ง และมีการประชุมภาคี ทุกเดือน กับบุคลภายนอกที่ทีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนโครงการ มีส่วนร่วมกับกิจกรรม และผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่ และในตำบล เพื่อขอความร่วมมือ
โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข
กลุ่มเยาวชนและอสม.ร่วมกันเป็นผู้อาสาดูแลสุขภาพชุมชนและมีแผนเป็นรูปธรรม
โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน
คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน
โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร
ชุมชนมีกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินของโครงการที่ดำเนินการกันอย่างต่อเนื่องในการทำงานในชุมชน มีกลุ่มเยาวชนรักษ์สมุนไพรเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่เป็นพลังของคนรุ่นใหม่ในชุมชน
โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง
มีคณะทำงานของโครงการช่วยกันดำเนินกิจกรรมตามโครงการและเป็นแกนกำลังสำคัญของชุมนในการขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน
เกิดการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
เกิดกลไลการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันผลิตผักและข้าวปลอดสารพิษบนเรือนแพ คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่ชำนาญเรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน การปลูกข้าว การปลูกผัก การเลี้ยงปลา ถ่ายทอดสู่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำให้มีเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของคนในชุมชน
โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
1.มีรูปแบบการทำงานเป็นทีม โดยนำทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน
2.มีการทำงานแบบทีมไขว้ โดยจะมีพี่เลี้ยงจากทุกหมู่ที่ ที่เคยรับโครงการ สสส.จะมาช่วยติดตาม ประเมินผลการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ
โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
เกิดกลไกในการติดตามงาน มีการทำงานร่วมกันทุกหมู่บ้าน ตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน มาร่วมติดตามงาน เพื่อช่วยกระตุ้น ให้กำลังใจ และเรียนรู้งานไปพร้อมกัน
โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
1.ในการทำกิจกรรมจะมีภาคีร่วมทำงานหลายภาคี และมีการมอบหมายหน้าที่การทำงานชัดเจน
โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
1.การทำกิจกรรม จะมีสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมแบบสมัครใจ ไม่มีการบังคับ
2.การประเมินผลและการติดตามงาน จะมีทีมพี่เลี้ยงจากโครงการรุ่นพี่ จะมาร่วมติดตามสอนแนะงาน และกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพราะมีบุคคลต่างหมู่บ้านคอยสอดส่องดูแล โปร่งใส และทำงานเป็นทีม
โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน
เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน จำนวน 2 แห่ง
1. มีโรงเรียนบ้านเขาปูนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านสุขภาพของชุมชนโรงเรียนได้เปิดบริการการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เนตเชิญนักวิชาการด้านสุขภาพมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพที่โรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง โดยเน้นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ เยาวชน
2. มีเขาปูนเป็นสถานที่ออกกำลังกายของคนในชุมชนโดยการเดนวิ่งรอบเขาปูนอย่างต่อเนื่อง 225 คน
โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กรและชุมชนในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง คือวัดเกาะรุ้ง เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนโดยมีเจ้าอาวาส เป็นแกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนในชุมชนหันมาเข้าวัด พัฒนาจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน
โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด
1. เกิดสภาชุมชนบ้านเขาแก้วขึ้นจำนวน 1คณะ 25คน ทำหน้าที่ในการประสานงานพัฒนากิจกรรมในหมู่บ้าน
2. เกิดกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นจำนวน 1กลุ่ม สมาชิก50คน ทำหน้าที่ในการดูแลและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี
เกิดสภาชุมชนบ้านขุนคีรี จำนวน 1คณะมีสมาชิก 30คนทำหน้าที่ในการดูแลพิจารณาและดำเนินการกิจกรรมในการแก้ปัญหาของชุมชนบ้านขุนคีรี ทำให้ชุมชนเกิดความรัก สามัคคี แบ่งปัน
โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้
สภาผู้นำชุมชน
โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)
สภาผู้นำชุมชน
โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง
สภาผู้นำชุชมน
โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)
สภาผู้นำชุชมน
โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)
สภาผู้นำ
โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง
- มาตรการครอบครัวพอเพียง
โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)
มีสภาผู้นำชุมชนที่เข็มแข็ง มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน มีการบูรณาการการดูแลด้านสุขภาพทุกภาคส่วน ประกอบด้วยเจ้าหน้าทีรพสต. เทศบาล โรงเรียนชุมชนทะเลทรัพย์ สถาบันราชมงคลฯ ตำรวจ และภาคประชาชน แกนนำอสม. จิตอาสา เยาวชน และชมรมผู้สูงอายู เป็นต้น
โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
-เกิดโครงสร้างสภาผู้นำ แบ่งโซนการดูแลในละแวกบ้านที่เข้มแข็ง มีชุดรักษาความสงบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในหมู่บ้าน
-เกิดกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนจำนวน 50 คน ช่วยกันสอดส่องดูแลป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์
โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง
มีคณะทำงานเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้าน
โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ
1.กลุ่มทำปุ๋ยหมัก
2.กลุ่มอนุรักษ์น้ำตกสวนใหม่
โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
1. คณะทำงานร่วมกันขับเคลื่อน และทำให้เทศบาลบรรจุการจัดการขยะในแผน3ปี ของเทศบาล
2. มีกองทุนสำหรับนำไปบริจาคไห้กับวัดเพื่อสร้างอาคาร
โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)
เกิดกลุ่มอาสาสมัครใหม่ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่
1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติด เพื่อทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านยาเสพติดของชุมชน กำหนดแผน และเป็นแกนนำในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
2 เกิดกลุ่มอาสาสมัครยุวดาอีย์ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์เชิญชวนกลุ่มเยาวชนให้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนา และเป็นแกนนำเยาวชนในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3 เกิดกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง เพื่อทำหน้าที่ดูแลและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการความช่วยเหลือ
4 เกิดกลุ่มอาสาสมัครมัคคุเทศน์อาสา เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของชุมชน และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้มาทัศนศึกษาดูงานในชุมชน
5 เกิดกลุ่มอาสาสมัครส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุงทัศนียภาพภายในชุมชน เป็นแกนนำในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
โครงการ : พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชน บ้านไทรขึง
-เกิดระบบกลไกลผลัดกันดูแลลูกเธอลูกฉัน
โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)
เกิดแกนนำชุมชนและเด็ก เยาวชน จำนวน 15 คน ในการทำงานขับเคลื่อนโครงการ และกองทุนขยะสร้างสุข ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน เช่น การประชุมหารือ การประชาสัมพันธ์ เช่น เสียงตามสาย บอร์ดนิทรรศการแผ่นพับ
โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน
เกิดทีมทำงานคณะทำงานโครงการ ที่มาจากปราชญ์ชุมชน ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำทางการ ครูมาเป็นกลไกในการวางแผนการปฎิบัติงานร่วมกัน มีการประชุมปรึกษาหารือ และการกระจายข่าวสาร ข้อมูลให้กับคนในชุมชน
โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )
1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน
2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน
เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น
โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู
เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน
1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว
1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)
เชิงปริมาณ
1.1 มีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้การทำนา อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 70
1.2 มีเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70
1.3 มีกลุ่มชุมชนสารมารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70
เชิงคุณภาพ
กลุ่มนาอินทรีย์มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เนื่องจากได้มีการประชุมชี้แจงจนชาวบ้านเข้าใจ และมีแกนนำไปชวนถึงบ้าน ไปติดตามการทำที่ถูกวิธี ร่วมกันทำงานเพื่อจัดการดินให้ดี ไม่เสื่อมโทรม ทำเกษตรอินทรีย์ได้เหมือนเดิม ได้ร่วมกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเพื่อทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าโครงการเสร็จสิ้น แต่ชาวบ้านยังรวมตัว ประชุม เรียนรู้ และจัดกลุ่มทำเหมือนเดิม ต่อยอดเป็นกลุ่มวัวอีก 1 กลุ่ม พัฒนาเพิ่มเติมจากกลุ่มนาอินทรีย์ จากคำตอบของผู้รับผิดชอบโครงการเล่าว่า “คนที่เข้าร่วมมีความเข้าใจ เมื่อก่อนไม่เคยรู้ ในโครงการได้เรียนรู้จากวิทยากร และบอกคนอื่นได้ต่อว่าต้องทำแบบไหน เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมเวทีก็ตอบได้ และแนะนำให้คนที่ไม่มาเข้าร่วมได้นำไปปฏิบัติได้”
โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)
1. เกิดกลุ่มสวนผักคนเมือง
2. มีตัวอย่างบ้านเรียนรู้การใช้พื้นที่จำกัดชุมชนเมืองปลูกผัก (บ่านายประจวบ เมฆเรือง)
โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
1.1 มีปูเปี้ยวชายทะแลเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเก็บได้วันละ 20 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 60 กิโลกรัม
1.2 ป่าชายเลนได้สร้างเป็นบ้านปลาบ้านปูร้อยละ 80 ของพื้นที่
1.3 มีกติกาการทำประมงชายฝั่งในระดับหมู่บ้าน
1.4 มีการกำหนดขอบเขตเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปู และพันธุ์ปลาของหมู่บ้าน
โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
1.คนว่างงานได้ทำงาน
2.ผู้สูงอายุได้ลดโรคเรื้อรัง
3.เกิดตลาดนัดเคลื่อนที่ 4. เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย
5.ลดหนี้สินในครัวเรือน
6.สร้างความสามัคคีมีความเอื้ออาทรจากการทำกิจกรรม
7.จัดการตนเองได้
8.สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยคนในชุมชนเอง
โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)
เกิดคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการตลาด แกนนำเยาวชน กลุ่มออกกำลังกายไทเก็ก และเกิด อสม. ในชุมชน
โครงการ : ชุมชนบูเกะสูดอร่วมใจจัดการขยะ สร้างสุขภาพ
มีกลุ่มสภาผู้นำชุมชนอามันดามัย และสภากลุ่มธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน
“สภาชุมชนอามันดามัย” เป็นสภาในการแก้ปัญหาการจัดการขยะและผลักดันกติกาการจัดการขยะในชุมชนมีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 50 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ มาร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน มีเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน โดยมี เครือข่ายการทำงาน 2 เครือข่าย ประกอบด้วย
- แกนนำครัวเรือนต้นแบบมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 70 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ คิดเป็นร้อยละ 27.8 จากครัวเรือนทั้งหมด 252 หลังคาเรือน โดยมีบทบาทที่เป็นตัวอย่างครัวเรือนในชุมชนด้านการนำความรู้เรื่องการจัดการขยะมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนโดยมีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง การนำขยะที่มีอยู่ในครัวเรือนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งทำให้ครัวเรือนต้นแบบได้รับประโยชน์และลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย เพราะสามารถผลิดได้เอง มีความปลอดภัยอีกทั้งยังเป็นต้นแบบแก่ครัวเรือนอื่นๆในชุมชน
- กลุ่มธนาคารขยะมีบทบาททำหน้าที่ในการดูแลการรับซื้อขยะในชุมชน โดยมีสมาชิกธนาคารขยะทั้งหมด 35 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากครัวเรือนต้นแบบ ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้านอสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชนจากโรงเรียนบูเกะสูดอครูตาดีกาสอนตาดีกาซึ่งมีบทบาทในการรณรงค์ให้ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตนเอง และเชิญชวนนำมาขายให้กับธนาคารขยะ เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ขยะในหมู่บ้านลดลงทำให้ชุมชนน่าอยู่ สะอาด ปลอดภัยจากโรค
โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
เกิดกลไกในชุมชน ในการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันต่อยาแผนปัจจุบัน โดยหันมาบริโภคสมุนไพร เช่น การรับประทานคู่กับอาหาร การหมัก การรับประทานแบบแคปซูล การประคบ นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบในสบู่ พิมเสน น้ำมันไพล น้ำสมุนไพร ชาสมุนไพร อีกทั้งยังมีกลุ่มที่สนใจทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของหมูบ้านอีกด้วย
โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่
1.1 เกิดกลุ่มเยาวชนที่มีคุณธรรม และเกิดความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง นอกจากนี้เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าค่ายมาใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกให้รู้จักการอยู่รวมกัน ฝึกความสามัคคีในหมู่คณะ ความอดทน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พี่ดูแลน้อง พี่สอนน้อง 1 กลุ่ม คือ กลุ่มPemuda โดยมีสมาชิกเป็นเยาวชในหมู่บ้านอุเปจำนวน 50 คน ซึ่งมีแกนนำเยาวชนที่เป็นแรงขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาชุมชน จำนวน 5 คน
1.2 เกิดทีมฟุตบอล 1 ทีม ที่เกิดจากการต่อยอดจากเสริมทักษะด้านกีฬาฟุตบอลเพิ่มขึ้น ที่สามารถเป็นตัวแทนของชุมชนไปแข่งขันในระดับสูงขึ้นต่อไปได้ ทำให้เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด
โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
- มีการจัดการพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์และภูมิปัญญาประจำหมู่บ้าน 1 ศูนย์ และเกิดกองทุนผู้สูงอายุกุนุงจนอง
โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย
เกิดกลุ่มเยาวชนธรรมมะสร้างสุขภาพ และกลุ่มสูงอายุนำพาสู่ธรรมะร่วมทำสมาธิร่วมกัน ออกกำลังกาย และดูแลผู้สูงอายุ เกิดพื้นที่สร้างสุขภาพ และพื้นที่สร้างกิจกรรมสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชุมชนได้สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจโดยใช้กระบวนการทางวิถีพุทธ โดยใช้วัดเป็นพื้นที่สร้างสุขภาพ
โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
1.ชุมชนมีการตระหนักมากขึ้นในการจัดการ สิ่งแวดล้อม
2.ชุมชนมีการจัดการแบบพึ่งพาตนเอง
3.มีกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข
1. เกิดกลไกการใช้สภาผู้นำในการพิจารณากิจกรรมหรือกำกับทิศทางของการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
2. ผู้นำหรือตัวแทนจากชมรมต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนมีบทบาทการพัฒนาชุมชนมากขึ้นและสมาชิกให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆของชุมชนมากขึ้น
โครงการ : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บ้านสูแกเราเปลี่ยนได้
กลุ่มสภาสุขภาพชุมชน เกิดกลุ่มร้านค้าเข้าร่วมโครงการ ร่วมร่างข้อตกลงเกี่ยวกับร้านค้าสุขภาพเป้นร้านอาหารทางเลือกในชุมชน ส่งเสริมเมนูอาหารสุขภาพ 1 กลุ่ม ที่มีเมนูอาหารสุขภาพเป็นทางเลือก 1- 2 เมนูตามวิถีชุมชน ชุมชนสามารถออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนูในชุมชนเอง
โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2
หลังจากที่ชุมชนบ้านลาเกาะ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจาก สจรส. ในการจัดกิจกรรมเยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะขึ้น พื้นที่ใหม่ที่ได้จากโครงการนี้ คือ เวทีการประุชุมประจำเดือนของสภาผู้นำชุมชนบ้านลาเกาะ ในทุกๆวันศุกร์ที่ ๒ ของเดือน โดยใช้สถานที่หลักๆ คือ ห้องประชุมของมัสยิดนูรุลญัณนะห์ บ้านลาเกาะ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน และ ลานกิจกรรมหน้าที่ทำการกำนันตำบลเกาะจัน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนบ้านลาเกาะ ทั้งจากภาคส่วนของหน่วยงานราชการ และศาสนกิจต่างๆ จากภาคส่วนของผู้นำศาสนา และชมรมครูตาดีกาในตำบลเกาะจัน โดยเวทีแห่งนี้ ได้เน้นย้ำให้เยาวชน ต้องเข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุมทุกๆครั้ง
โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู
1. เกิดการจัดวางโครงสร้างการทำงานของกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านควนตุ้งกู
2. เกิดระบบการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชน
3. มีการพัฒนากลไกการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลร่วมกับชุมชนอื่นๆใกล้เคียง
โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
- ให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านแลชุมชน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก้ไขปัญหาลดผลกระทบมลภาวะจากโรงงาน
โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ
เกิดกลไลการดูแลผู้ด้อยโอกาสร่วมกันเป็นเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุุ ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้คณะกรรมการ สภาชุมชนเป็นแกนนำขับเคลื่อน กระบวนการจัดการสุขภาวะ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีของผู้นำทึ่กลุ่มในชุมชน ในการให้ความสำคัญและเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมจาก ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ในการเข้าร่วมการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาสุขภาวะของประชาชนบ้านนาเกตุ และบ้านหัวควน อย่างเป็นระบบและเป็นรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นสร้างนำแผนสุขภาวะสู่การปฎิบัติได้อย่างเป็นระบบ
โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2
เกิดสภาผู้นำชุมชน ที่ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ กลุ่มต่างประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน อสม.
กลุ่มเยาวชนคนวัฒนธรรม (นาฎราชศรัทธา) ทั้งศิลปะกลองยาว มโนราห์
โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ
- ชุมชนแวกูบา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กของหมู่ 7 วังกระบือ ได้มีการรวมตัวจากจำนวนครัวเรือน เพียง 37 ครัวเรือนพัฒนาชุมชนแวกูบาเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อให้ผู้คนจากภายนอกมาเยี่ยมเยือนและซื้อต้นไม้จากการเพาะขยายต้นสมุนไพรโดนมีการตั้งเป็นคณะกรรมรูปแบบย่อยของชุมชนขึ้นมา เกิดเป็นบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ 15 ครัวเรือน
โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2
เกิดสภาผู้นำ บ้านคลองช้าง ที่ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้อง กลุ่มต่างประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส
กลุ่มผู้ได้รับกระทบ และเกิดโครงการการบริหารจัดการปัญหาสุขภาวะของคนในชุมชน
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน
เกิดการประชุมของสถาผู้นำชุมชนในทุกๆคน มีทีมผู้ใหญ่และชรบ.ที่ดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านและเฝ้าระวังเรื่องต่างๆ
โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
1. เกิดกลไกการบริการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วม (co-management)ที่เป็นความร่วมมือของภาคส่วนที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับองค์กรชุมชนเป็นหลัก
โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
- ชุมชนชนเป็นผู้เรียนรู้ และจัดการสุขภาพของตนเอง
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน
- สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงและปรึกษาวิชาการ
- ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนา
- มีการจัดการความรู้สิ่งดีๆ และนวัตกรรมชุมชน
- มีระบบเฝ้าระวังและติดตามประเมินผลที่ดี
โครงการ : เพิ่มต้นทุนชีวิต พิชิตโรค สู่ชุมชนน่าอยู่ บ้านหัวสะพานเหล็ก
มีการใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน
คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพ โดยการรวมกลุ่มชมรมจักรยานของชุมชน
ภูมิปัญญากับการส่งเสริมสุขภาพ ลดโรค
โครงการ : พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เกิดระบบการจัดการด้านการตลาดจำหน่ายสินค้าจากการผลิต
โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
1. มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล
2. ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง
โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
1. เกิดกลุ่มแกนนำชุมชนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนจำนวน 20 คน หญิงจำนวน 13 คน ชาย 7 คน โดยจัดการประชุมเดือนละครั้งในการติดตามวางแผนและดูแลกลุ่มเด็กยุวเกษตรกรในชุมชนที่เข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฯทุกวันเสาร์อย่างสม่ำเสมอ
2. เกิดกองทุนชุมชนของกลุ่มผลิตผักปลอดภัยได้มาตรฐานและกลุ่มยุวเกษตรกร โดยการหักเปอร์เซนต์จากการขายผลผลิตโดยแบ่ง 50 เปอร์เซนต์เป็นค่าตอบแทนสมาชิก 25 เปอร์เซนต์เป็นกองทุนออมทรัพย์กลุ่มอีก 25 เปอร์เซนต์เป็นกองทุนหมุนเวียน
โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)
เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน20 ในการจัดการขยะและปัญหาอื่นๆของชุมชนและเป็นการนำในพัฒนาชุมชน ทุกด้านเช่นด้านสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ ให้สามารถพึงตนเองได้
โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
1.ใช้เวทีการมีส่วนร่วม จากเดิมไม่มีทุกคนต้องร่วมกิจกรรม จึงจะได้สิทธิ์ในหมู่บ้าน
โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
1.เกิดกติกาชุมชน 6 ข้อ
2. เกิดรูปแบบการประชุม 2 เวที คือ 1. สภากาแฟบ้านนางปราณี เทพา
2. เกิดเวทีประชุมสภาผู้นำและภาคีชุมชน ดอนทะเล ต่อเนื่อง
โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง
เกิดโครงสร้างผู้นำเงา และคุ้มบ้านต้านยาเสพติดทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในคุ้มของตนเอง
โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 15 คน
ซึ่งมาจากตัวแทน แกนนำชุมชน เช่น ปราช์ญชาวบ้าน จำนวน 3 คน, กลุ่มอาชีพ
จำนวน3 คน , เด็ก เยาวชนจำนวน 2 คน ,ตัวแทนครูโรงเรียนวัดป่าขาดจำนวน2 คน
คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 3 คน , คณะกรรมการฟาร์มทะเล จำนวน 2 คน
โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
เกิดกลไกและโครงสร้างในชุมชน ดังนี้
1. เกิดสภาผู้นำชุมชนด้านสุขภาพ
2. เกิดกลุ่มชมรมด้านสุขภาพจำนวน12ชมรม
3. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านควนสินชัย
4. มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียน
5. มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลลานกีฬาและอุปกรณ์กีฬาของหมู่บ้าน
โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป
ชุมชนร่วมกันกำหนดพื้นที่ของชุมชน จำนวน ๑๐ ไร่ในการ ปลูกป่าชุมชน เพื่อไว้ใช้สอย ของชุมชน แต่ถ้าจะมีการนำมาใช้งาน จำนวน ๑ ต้นก็จะต้องมีการปลูกเพิ่ม จำนวน ๑๐ ต้น มีการสร้างศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศทรัพยากรป่าชายเลน
โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว
เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาคลองสายต้นตะเคีบยต่อไป
โครงการ : ร้อยดวงใจ สู่ชุมชนสุขภาวะ วิถีไทยชุมชนบ้านกลาง(ต่อยอด)
ผู้นำ กรรมการ สตรี เยาวชน และชาวบ้าน จำนวน 30 คน
ร่วมประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมดตลอดทั้งโครงการ 12 ครั้ง
สภาผู้นำได้ขับเคลื่อนโครงการ เกิดการทบทวนกิจกรรมที่ผ่าน
และวางแผนกิจกรรมครั้งต่อๆ ไป โดยกิจกรรมที่ผ่านการขับเคลื่อน
ได้แก่ 1.กิจกรรมสำรวจและสรุปพฤติกรรม
2.กิจกรรมจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
3.กิจกรรมจดทุกครั้งที่จ่ายเพื่อให้ครัวเรือนรู้รายรับ
รายจ่ายที่แท้จริงและสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
4.กิจกรรมลดรายจ่ายโดยการสอนสาธิตการทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด
และการทำสมุนไพรไล่ยุงจากวัสดุธรรมชาติเพื่อหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับสารเคมี
5. กิจกรรมครัวเรือนมีการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ อย่างต่อเนื่องเพื่อ
เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ทำให้ทีมมีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการ
โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค
ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับ แนวทางการจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน
โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์
- การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- การสร้างระบบบริการสังคมที่มีประสิทธิภาพ
- การสร้างกลไกภาครัฐที่มีเป้าหมายและความรู้ในการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยื่น
- การสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา
โครงการ : อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย
มีแกนนำชุมชนที่มาจากคณะกรรมการโครงการ จำนวน 5 คน เป็นแกนหลัก ร่วมกับแกนนำคนอื่นๆ ขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการโดยสร้างพื้นที่การเรียนรู้คนเข้ามาเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้สมุนไพร
โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ
-เกิดผู้นำที่เข้มแข็งขึ้นเช่น ผุ้นำหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา
-กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพกลุ่มเยาวชนอสม.ครูศูนย์ตาดีกาเข็มแข็งมากขึ้น
โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน
มีกลุ่มแกนนำในหมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่
โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย
1. เกิดคณะทำงานสภาผู้นำ จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาวิธีการทำงานต่างๆให้ผลออกมาดตามเป้าหมาย มีการผสานงานกันทุกขั้นตอนภายในคณะทำงานมีการช่วยเหลือช่วยชี้แนะ เสนอแนะวิธีการทำงานกันภายในกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
2. คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผักกินเอง และสนใจสรรพคุณของพืชผักสมุนไพรในครัวเรือน
3. คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติต่อแม่น้ำลำคลองและการอนุรักษ์พันธุ์ปลาในลำคลอง
โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่
- โครงการนี้ได้เกิดกลุ่มแกนนำอาสาดูแลผู้สูงวัยในชุมชน
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
- ออมทรัพย์บ้านคลองยาง
- กู้ชีพ-กู้ภัย คลองยาง
- ชมรมรักษ์คลองยาง
โครงการ : ชีวินทรีย์เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย
กลุ่มกันจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนและผลิตอาหารสัตว์นำไปใช้ประโยชน์จำนวน 53 คน ได้แก่ แม่บ้านเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา ผู้เลี้ยงปศุสัตว์, แพะ,ไก่พื้นเมือง, เพาะเลี้ยงประมง อาชีพรับจ้าง และเยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด
โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี
1. เกิดสภาผู้นำ ในชุมชน จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน
2. เกิดแกนนำชุมชน จำนวน 10 ราย ซึ่งมาเป็นคณะทำงานช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆของโครงการและยังชักชวนขยายผลต่อไปยังกลุ่มนอกเป้าหมาย
3. คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผัก(กินเอง)โดยใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี และนำสมุนไพรมาสกัดสารกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
4. คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลียนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีโดยสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งและนำขยะพิษใส่หลุมที่ทำไว้
โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง
-เกิดโครงสร้างสภาผู้นำ แบ่งโซนการดูแลในละแวกบ้านที่เข้มแข็ง มีชุดรักษาความสงบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในหมู่บ้าน
-เกิดกลุ่มเพาะเห็ดฟางที่มีทุนจากสมาชิก 40 คน มีเงิน 50,500 บาท และเงินบริหารจัดการที่หักจากการขายร้อยละ 20 เป็นเงิน 15,000 บาท มีสมาชิกหมุนเวียนกันขายวันละ 3 คน
โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง
การพัฒนาการเฝ้าระวัง ของชุมชนโดยมีการออกลาดตะเวณตรวจตรา การเฝ้าระวัง ไม่ให้เรืออวนรุน อวนลาก คนนอกพื้นที่ เข้ามาวางยาเบื่อ ระเบิดปลาของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และเฝ้าระวังทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง และกลุ่มเยาวชนรักษ์บ้านเกิด ทำให้ชุมชนได้รู้ว่า การที่คนในชุมชนร่วมมือกันเฝ้าระวัง ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถลดรายจ่าย ทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น และคนในชุมชนก็อยู่กันอย่างมีความสุข
โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )
มีสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น คนในชุมชนมีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชน ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชน
โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2
เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษที่มีทุนจากสมาชิก 34 คน มีเงิน 12,030 บาท และเงินบริหารจัดการที่หักจากการขายร้อยละ 20 เป็นเงิน 15,430 บาท มีสมาชิกหมุนเวียนกันขายวันละ 2 คน
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)
เกิดกลไก สภาชูรอและพัฒนาขยายผลเป็นสภาชูรอเครือญาติ รวมถึงเกิดโครงสร้างในการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนขึ้นมาใหม่
รวมถึงเกิดระบบเครือข่ายการเกษตรยั่งยืน ตามแนวทางวิถีอิสลามในการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาจากโมดูลต่างๆของชุมชน
โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)
เกิดกลุ่มที่จะร่วมพัฒนาต่อยอด
โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
- เกิดสภาผู้นำเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ จำนวน 20 คน
โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
มีกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม 1 กองทุน
โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)
เกิดสภาพชุมชนที่ถ่ายทอดมาจาก คณะกรรมการชุมชน ทำหน้าที่พัฒนาชุมชนหมู่ที่ 10 บ้านสาคูเหนือ
โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)
เกิดสภาชุมชนบ้านมะม่วงขาว พัฒนามาจากคณะกรรมการหมู่บ้าน ทำงานในรูปแบบของสภา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน จำนวน 1คณะ
โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง
มีการรวมเอา สภาองค์กรชุมชน กรรมการหมู่บ้าน มาร่วมกันทำงานภายใต้วงสภาผู้นำชุมชน ทำให้เกิดวงปรึกษาหารือ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกิจกรรมต่างๆในชุมชน
โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว
- มีการจัดตั้งสภาแกนนำชุมชนโดยมาจากแกนนำจากกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน
- สภาแกนนำมีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 10 ของเดือน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
- เดิมกลไกขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็ง คือ ทีมผู้ใหญ่ผู้ช่วย 4คน
- ปัจจุบันการบริหารขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็ง ใช้กลไกสภาผู้นำ 23 คน ใช้แผนชุมชนจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเครื่องมือ
โครงการ : ทบทวนปลดหนี้คนหมู่ 4 บ้านหน้าเขา
มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกับคณะกรรมการมูบ้าน และมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ
โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน
มีการใช้สภาฯบริหารโครงการและบริหารชุมชนได้ตามที่กำหนดไว้
โครงการ : ร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะในชุมชุนบ้านตูล
เริ่มเห็นการก่อตัวของสภาฯคาดว่าน่าจะใช้ในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบนี้ได้
โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย
- เกิดกลไกสภาผู้นำจำนวน 35 คน
- เกิดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวังป่าไม้ จำนวน 15 คน
- เกิดแกนนำอาสาสมัครเด็กเยาวชนพิทักษ์ป่า จำนวน 15 คน
โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด
เกิดการพัฒนาองค์กรชุมชนให้เป็นนิติบุคคล คือสมาคมประมงทะเลสาบ อ.สทิพระ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงาน และบุคคลภายนอกมีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ สมาชิก โดยมีการประชุมพูดคุยเพื่อวางแผนการดำเนินงาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง มีกลุ่มกองทุนหมุนเวียนได้ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน เช่น กองทุนเครื่องมือประมง กองทุนสวัสดิการมีกองทุน และแผนป้องกันรับมือภัยพิบัติ เป็นต้น
โครงการ : ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก
เกิดระบบกลไกการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำร่วมกัน เช่น เมื่อมีการทำซั้งกอ(บ้านปลา) ทุกๆคนต้องเข้ามาร่วมกันทำด้วยความเสียสละเพื่ออาชีพ รายได้ ของชาวประมงทุกคน มีกลไกการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนข้าวสารบริการให้สมาชิกคนในชุมชน
โครงการ : รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย
มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9คน ร่วมกับคณะกรรมการมูบ้าน15คน รวมเป็น 24คนและมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ
โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกิดกลไกการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน เช่น สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ ต้องมีการระดมทุนโดยชุมชน และภายนอก เพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือแกนนำ คนทำงานเพื่อส่วนร่วมอย่างน้อย 5-10 คน , มีแกนนำเป็นต้นแบบในการรักษาสิ่งแวดล้อม การปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 คน คือ นายวิรัตน์เอียดประดิษฐ์
โครงการ : ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ
มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกับคณะกรรมการมูบ้านจำนวน 27คน และมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ
โครงการ : ร่วมใจคืนสุขบ้านเกาะเหรียง
- เกิดกลไกสภาผู้นำขับเคลื่อนงานทำให้หมู่บ้านน่าอยู่ ปฏิบัติการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง
เกิดสภาชุมชนกลไกขับเคลื่อนการทำงานของชุมชนมีกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์
เกิดการใช้สภาในการบริหารจัดการโครงการ
โครงการ : อยู่ดี กินดี มีสุข บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ
เกิดสภาหมู่บ้าน
โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ
ในระหว่างการดำเนินงานโครงการทำให้เกิดเวทีการพูดคุยระหว่างแกนนำชุมชนและผู้นำทางการมากขึ้นโดยผ่านเวทีสภาผู้นำ ส่งผลให้เกิดแกนนำและเพิ่มกลไกการทำงานที่เข้มแข็งมากขึ้นในชุมชน ในขณะเดียวกัน ยังเกิดกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันในการทำกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านเช่นเก็บขยะ ปลูกป่าริมทะเล กลุ่มเยาวชเหล่านี้ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายเยาวชนในจังหวัดพัทลง จนเกิดเป็นสถาเด็กเยาวชนพัทลุง
โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่
- มีกลไกสภาผู้นำ ที่มาจากตัวแทนครัวเรือน แกนนำ ผู้นำ ที่ครอบคลุมจากองค์กรที่มีอยู่ในชุมชน เข้ามาขับเคลื่อน บริหารจัดการชุมชนร่วมกัน
- เกิดครัวเรือนนำร่องการผลิตอาหารปลอดภัย
- มีชุดเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยเน้นอาสาสมัครสาธารณสุขปประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหลัก
โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน
เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 21 คน ประกอบด้วย
กลุ่มผู้นำชุมชน
1.นายชัยเลิศ รัตนรังสี
2.นายธวัชชัย หนูดำ
3.นายสุชาติ สงรอด
4.น.ส.นิพาพร จันทร์มุสิก
กลุ่ม อสม.
1.น.ส.อาภรณ์ นวลเต็ม
2.นางรัชนี ชูกาล
3.นางสุปรียา แสงสว่าง
4.น.ส.ดุษฎี คงจันทร์
5.นางหทัยกาญจน์ วาสุเทพ
กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
1.นายสมพร คงสง
2.นางรัชฎ์สุรางค์ บุญเพ็ง
3.นางนุชนาฏ ชูโรจน์
4.นางรุจิเรศ หนูดำ
กลุ่มแม่บ้าน
1.นางสาธณี ขาวศรี
2.นางสุจินต์ แก้วทอง
3.น.ส.กัลยา รัตนรังษี
4.นางสมใจ สงรอด
5.นางวรรณา สงรอด
6.นางทัศนี เหตุทอง
7.นางพรรณารินทร์ คงสง
8.นางปิยะนุช พลายแสง
โครงการ : บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง
มีการจัดตั้งธนาคารกองทุนหมู่บ้านที่มีการออมของสมาชิกตั้งต้นคนละ50บาทต่อเดือน ในระยะเริ่มแรกยังร่างระเบียบข้อบังคับและปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิอยู่
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร
1. มีการประชุมประจำเดือน
2. มีการประชุมประจำกลุ่ม
3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มคนที่ทำงานด้วยกัน
4. มีการทำงานเป็นทีม
5. มีการทำงานกันของเยาชนและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน
โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง
1.เกิดกลไกสภาผูนำจำนวน 30 คน
2.การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเรื้อรังโดยกลุ่มอาสาสมัคร
3.มีแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง
4.มีระบบองค์กร
5.มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
-มีการจัดวางระบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย โดยแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบตามเส้นทางการท่องเที่ยว กลุ่มจำหน่ายสินค้าชุมชน กลุ่มไกด์ชุมชน กลุ่มเรือหางยาว กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
สภาผู้นำ ขับเคลื่อนโครงการ ร่วมกับ กรรมการชุมชนและกรรมการโครงการ
โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก
ทีมสภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อน กรรมการโครงการ และภาคีเครือข่าย อสม. ปราชญ และสมาชิกชุมชนที่มีจิตอาสา
กลุ่มเยาวชนจิตอาสา
เทศบาลเมืองปากพนังด้านการสนับสนุน สถานที่ อุปกรณ์ เรือ เก็บขยะ
โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
- สภาผู้นำชุมชน ที่เกิดจากแกนนำชุมชน อสม. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์ส่้งเสริมสุขภาพชุมชน เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เกษตรอำเภอ ทำหน้าที่ในการปรึกษาหารือแนวทางการทำงาน แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนแบบมีส่วนร่วม
โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน
สมาชิกคนใดที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการแล้วนำไปปฏิบัติจริงทางคณะกรรมการลงติดตามประเมินผลแล้วมีการเปลี่ยนแปลงทางเราจะมีรางวัลให้เพื่อเป็นกำัลงใจให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติจริง
โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
สภาผู้นำขับเคลื่อนโครงการ โดยการราวมกลุ่มระหว่า กรรมการหมู่บ้าน และกรรมการโครงการ และสมาชิกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
อบต.กศน รพ.สต. เป็นภาคีสนับสนุนด้าน วิชาการ วิทยากร
โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ
1 เกิดกลุ่มปลูกพริกขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มขึ้นมาใหม่ จากการต่างคนต่างปลูก
2 จากการทำบัญชีครัวเรือน จากคนทำไม่เป็น พัฒนาได้ทำเป็น
3 ทำให้เกิดการออมขึ็นในเด็ก
โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
กลุ่มอาสาอนุรักษ์พันธ์ุปลา พันธ์ุไม้พื้นบ้าน
โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด
ให้ชุมชนร่วมกันกำหนด ขั้นตอน ข้อตกลง ในการจัดประเพณี "กระจาด" เพื่อถวายแก่สมเด็จพระเทพฯ และให้มีการสืบสานขั้นตอนที่ร่วมกำหนดในปีต่อๆไป
เปิดเวที ให้ชุมชนรับทราบข้อมูลจาการสำรวจความสุขของครัวเรือนเกษตรกร ข้อมูลผู้มีภูมิรู้แต่ละด้าน ข้อมูลผู้ที่ต้องการอนุรักษ์การทำกระจาดดั้งเดิม การทำกระจาดประยุกต์ ข้อมูลแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
ให้ชุมชนร่วมกันกำหนดขั้นตอน วิธีดำเนินการ ทำพิธีสมโภชกระจาด
โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง
1.มีการแบ่งโซนกลุ่มเป็น4โซน โดยมีคณะกรรมการโซนเพื่อการติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม
2.มีการติดตามและประเมินกิจกรรมเป็นระยะโดยคณะกรรมการโครงการ
โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
- ใช้การสำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา เพื่อสร้างความสนใจให้ชุมชน
- เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร ตำรับอาหาร และขนม ฟื้นฟูบัญชีครัวเรือน
- พัฒนาให้เกิดแปลงสาธิตพืชพื้นบ้านทำอาหาร และขนมปลอดสารเคมีในร่องสวน 4 แปลง
- พัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ เข้ามาขับเคลื่อนกิจกรรม งาน และช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคอื่นๆของหมู่บ้าน
โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม
-มีการประชุมชักชวนคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรับมือกับน้ำท่วม
-มีแผนสำรองงบประมาณเพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม
-มีศูนย์การจัดการภัยพิบัติคอยช่วยเหลือเมื่อเกิดน้ำท่วม
-มีผู้นำแกนนำ/อาสาภัยพิบัติร่วมกันเรียนรู้การจัดกิจกรรมในโครงการและนโยบายอื่นๆของหน่วยงานของราชกการต่างๆและพูดคุยวิเคราะห์เพื่อให้เกิดแนวทางช่วยเหลือแก้ปัญหาในชุมชน
โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง
มีตลาดของชุมชน ที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน มีแหล่งวัตถุดิบในหมู่บ้านเอง ดีต่อสุขภาะผู้บริโภคไม่ใช้สารเคมี และกำหนดให้พ่อค้าต่างหมู่บ้านมารับซื้อผลผลิตที่นี่เท่านั้น
โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ในการจัดประชุมคณะกรรมการแต่ละเดือน จะเน้นเข้าร่วมประชุมพร้อมกับการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เพื่อจะได้แจ้งแนวทางดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ให้ชาวบ้านได้ทราบอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ
- คนในชุมชนร่วมกันคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน จากการร่วมกันทำกิจกรรมและวางแผนการดำเนินกิจกรรม
- หัวหน้าโครงการ คณะกรรมการ และแกนนำเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน พร้อมชี้แจงกิจกรรมโครงการที่จะทำอย่างต่อเนื่อง (เช่น กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปลูกผักริมรั้ว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดผักสวนครัวปลอดสารพิษ) ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ
โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2
เกิดฐานการเรียนรู้เรื่องเห็ดแครงเพิ่มขึ้น 1 ฐาน ในชุมชน ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้การประกอบอาชีพให้คนในและนอกชุมชน
โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง
ใช้กลไกร้านค้าคุณธรรมนำการเปลี่ยนแปลง ลดการใช้สารเคมี
โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
1.ผู้นำชุมชนมีความสนใจและมอบหมายหน้าที่ในการรับผิดชอบการทำงานของโครงการ
2.ชาวบ้านมีการนัดหมายในกลุ่มของการลงแขก
3.กลุ่มชาวบ้านและเด็กรวมกลุ่มกันทำงานแบบวิถีชิวิตแบบดั้งเดิม
โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ
เป็นองค์กรเพื่อศึกษาเรียนรู้เช่นการสะกัดสมุนไพรไล่แมลงเพื่อใช่แทนสารเคมี เพื่อศึกษาเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักใช่แทนปุ๋ยเคมี
โครงการ : ควนสูงน่าอยู่ ครอบครัวสดใส ห่างไกลอบายมุข
- สภาผู้นำชุมชน
โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน
ใด้เกิดกลุ่มผลไม้ปลอดสารเคมี
กลุ่มปุ๋ยหมัก
โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
- เกิดกลุ่มนักสืบสายน้ำ จำนวน 30 คน
โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล
โครงสร้างถูกปรับเปลี่ยนเมือเกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่นถ่ายทอดให้แก่คนที่เป็นสมาชิกในชุมชนที่ขยายเพิ่มมากขึ้น จาก 10 คน เป็น 20 คน
โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง
- สภาผู้นำชุมชน ที่มีการประชุมทุกเดือนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ ออกแบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
- เกิดกลุ่มสภาผู้นำ
- เกิดกลุ่มสมุนไพร
โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว
1.เกิดการประชุมกันขึ้นทุกๆเดือน
2.เกิดกลไกความรู้ความคิดที่สามารถให้ชาวบ้านสามารถนำไปพัฒาและปลูกพืชที่ปลอดสารเคมีได้
3. เกิดกระบวนการประสิทธิภาพในการลดการใช้สารเคมีและสามารถที่จะหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพกันมากขึ้น
โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก
1เกิดกลไกสภาผู้นำติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 1 สภา
2.เกิดกลุ่มแกนนำการทำบัญชีครัวเรือน จำนวน9 คน3
.เกิดกลุ่มแกนนำการทำผ้าฮิญาบด้วยมือ จำนวน3 คน
2.เกิดกลุ่มแกนนำการทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้เลื่อยจำนวน2 คน
โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
- มีการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน 30 คน
โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง
วัดบางคุระเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน และกำหนดเป็นที่เขตปลอดบุหรี่ของชุมชน
โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
- เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน จำนวน 25 คน โดยจะมีการประชุมทุกวันที่ 8 ของทุกเดือน เพื่อพุดคุยเรื่องราวที่ได้จากการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอเวียงสระ และการปรึกษาหารือ วางแผน ออกแบบการดำเนินงานโครงการ ผัก สมุนไพร เชื่อมใยรักคนเขาปูนด้วย
โครงการ : บ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร
- มีสภาผู้นำ แต่บทบาทหลักยังเป็นของผู้ใหญ่บ้าน
โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง
โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน2 แห่ง
1. พระตำหนักเมืองนคร
2. ถ้ำเขาขุนพนม
โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง
-มีคณะกรรมหลักและผู้รับผิดชอบโครงการ 7 คน
-สร้างแกนนำในชุมชม 15 คน
-แบ่งโซนพื้นที่รับผิดชอบ 4 โซน 4 กลุ่ม
-ประชุมคณะทำงานทุกเดือน
-กำหนดแผนการดำเนินงานลำดับดำเนินการ
-ดำเนินงานตามวัตุประสงค์
โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
- เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 25 คนที่จะใช้เวทีประชุมหมู่บ้านพูดคุยเรื่องราวของโครงการ และเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
- เกิดมโนราห์เยาวชน อายุตั้งแต่ 5 ขวบ - 15 ปี จำนวนกว่า 20 คน และมีคณะมโนราห์ผ่องศรีอำนวยที่มีสมาชิกทั้งมโนราห์เยาวชน นักดนตรี ผู้สูงอายุ กว่า 50 ชีวิต ที่จะมาซ้อมกันทุกวันเสาร์ อาทิตย์
โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน
1. ศาลาหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ ของชุมชน จำนวน1 แห่ง
2. งานประเพณีในชุมชนปลอดเหล้า วันมาฆบูชา จำนวน 1 งาน
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน
สถานที่จัดกิจกรรมของชุมชนจัดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 1 แห่ง
โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง คือศาลาหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน
โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง
เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่งศาลาหมู่บ้านจัดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
- เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มดาวเรืองสร้างสุข ทำหน้าที่ในการดูแลพี่น้องผู้ปลูกดาวเรือง การบริหารจัดการ การดูแลรักษา การตลาด ทำให้ผู้ปลูกดาวเรือง มีอาชีพ มีรายได้เสริม
โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
1. เกิดกลไกโครงสร้างชุมชนบ้านท่าแห้ง เกิดสภาชุมชนบ้านท่าแห้ง ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง
2. สภาชุมชนบ้านท่าแห้งเกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่
3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย มีคณะกรรมการจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 3 คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 12คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่
โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง
กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านปากเปียด หมู่ที่ 5 ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชจากการดำเนินงานรอบแรกเกิดสภาชุมบ้านปากเปียดขึ้น ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านปากเปียดโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในโครงการที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ การส่งเสริมให้ครัวเรือนหันมากินผักปลอดสารพิษ เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์มีสมาชิกจำนวน 30คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้านทั้งหมด
โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์
เกิดสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์ จำนวน 1คณะ มีสมาชิกสภา จำนวน 25คน มีระเบียบวาระและแผนการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน
โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง
1. เกิดกลไกโครงสร้างชุมชนบ้านควนยูงเกิดสภาชุมชนบ้านควนยูง ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง
2. สภาชุมชนบ้านควนยูงเกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่
3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย มีคณะกรรมการจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10 คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 8คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่
โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
1.การทำงานมีภาคีร่วมทำงานตั้งแต่ผู้นำ อสม เยาวชน และประชาชน
2.มีหน่วยงานราชการมาเป็นภาคี ได้แก่ รพสต.ไร่เหนือ อบต.เขาขาว และมีกองทุนสวัสดิการชุมชน กลุ่มออมทรัพย์
โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
เกิดการชักชวนยุยงส่งเสริมแกนนำในการปลูกพืชผสมผสานแบบปลอดภัยสู่ชุมชนจากเมื่อก่อนปลูกพืชเชิงเดียวและใช้สารเคมีในการปลูกพืชเพื่อการบริโภคและสู่ตลาดในชุมชน
โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
1.การเรียนรู้จะทำกันเป็นกลุ่มสมาชิก ในกล่มสมาชิกจะมีทั้งเยาวชน ประชาชน แกนนำชุมชน โดยเรียนรู้ร่วมกัน แล้วทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ การทำบัญชีครัวเรือน โดยใช้ทุนในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ เริ่มแรกให้มีการทำฐานเรียนรู้ที่บ้านแกนนำ
2.มีหน่วยวงานราชการ เข้ามาร่วมเป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ รพสต.เขาขาวสหกรณ์เขาขาวสหกรณ์นิคม สหกรณ์ที่ดิน พัฒนาการอำเภอ มหาวิทยาลัยราชมงคงศรีวิชัย
โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
เกิดกลไกของชุมชน โดยมีสภาผู้นำ มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ คือมูลใส้เดือนผักเพาะจากเมล็ดทานตะวัน
โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
มีหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ เข้ามาเป็นเครือข่ายการทำงาน มากระตุ้นเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ เห็นคุณค่าของการใช้ยาเหลือง ประชาชนเกิดความมั่นใจและมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปด้วยกัน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงและเพิ่มปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
1.การทำกิจกรรมในชุมชน เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัย ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น
2.ทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาและข้อตกลงลงร่วมกันของกลุ่ม
3.มีการจัดเวรยามและออกลาดตระเวณในหมู่บ้านและดูแลความสงบในชุมชนโดยมีการแต่งตั้งชุดชรบ.อปพร.อสตร จากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์เมื่อมีการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเหตุดวนเหตุร้าย ให้กับชุมชน
โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร
โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
จากการพูดคุยในที่ประชุมทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนจนเกิดกลุ่มการทำงานต่างๆ ในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความแข็มแข็งขึ้นมีอำนาจเรียกร้องจากหน่วยงานราชการมากขึ้นเช่น เมื่อในชุมชนมีความเห็นว่าต้องการไฟทางในหมู่บ้านเนื่องจากไม่มีแสงสว่างในกลางคืนทำให้เกิดอันตรายบ่อยครั้งจึงทำการรวบรวมรายชื่อคนในชุมชนเพื่อยื่นคำร้องให้กับทางเทศบาลตำบล จำส่งผลให้เกิดการทำไฟทางขึ้นมา
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้
มีสภาผู้นำ20คนจัดให้มีการประชุมทุกเดือน และเข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้านโดยประธานนำเสนอผลงานความเคลื่อนไหวและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ทั้งการผลิตและการตลาดจัดให้สมาชิกสภาผู้นำประจำคุ้มบ้านโดบแบ่งเป็น3คุ้ม ดูแลให้คำปรึกษารับทราบปัญหานำปัญหาสู่ที่ประชุมสภาผู้นำและนำเสนอต่อที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน
โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน
มีสภาผู้นำจำนวน 18 คน ในการขับเคลื่อนการทำงานของโครงการและจัดการจัดกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน มีโครงสร้างชุมชนในการจัดการตามโครงการและแบ่งโซนบ้านเป็น 3โซน มีโซนบ้านเหนือ โซนบ้านกลาง และโซนบ้านใต้ เพื่อให้สะดวกต่อการบริการจัดการ
โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ
ได้มีกลุ่มแกนนำในชุมชน เช่น กลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชนกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อร่วมกันแบ่งหน้าที่ในการทำงานตามหน้าที่เช่น การหาคนเข้าร่วมโครงการ อสม.เป็นแกนนำหาคนมาเพื่อตรวจสุขภาพ หาสารเคมีตกค้าง กลุ่มเยาวชนเป็นตัวแทนฝึกสอนทำบัญชีครัวเรือนให้คนในชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุ หันมาดูแลสุขภาพโดยการปั่นจักรยานในการออกกำลังกาย
โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก
มีสภาผู้นำเกิดขึ้น20คนช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน
เกิดการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุง
มีการแบ่งกลุ่มตามคุ้มบ้านเกิดขึ้น5คุ้มบ้านเพื่อการแบ่งงานติดตามประเมินผลตามโครงการ
มีป้ายประชาสัมพันธ์ตารางปฏิทินของโครงการเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ตารางการดำเนินกิจกรรมของโครงการโดยได้ติดตั้งไว้ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติของหมู่บ้าน
โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง
1. ประชุมคณะกรรมการโครงการ และกลุ่มสมาชิกครัวเรือน สร้างกฏ กติกาชุมชนในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในชุมชน
2. ทำป้ายรณรงค์ จำนวน 5 ป้าย ติดตามกลุ่มบ้าน ทุกกลุ่มบ้าน
3. มีแกนนำของทุกกลุ่มบ้านเพื่อขับเคลื่อนและติดตามงานในชุมชน
โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง
1.จัดป้ายรณรงค์ 6ป้าย ติดรณรงค์ ใน 6กลุ่มบ้าน
2.มีแกนนำแต่ละกลุ่มบ้านๆ 1 คน เพื่อติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม
3.มีการประเมินทุก 2 เดือน
โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านชะเอียน เกิดสภาชุนบ้านชะเอียน ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านชะเอียนโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในโครงการที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย และ รักษ์สุขภาพ จำนวน 35 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 15คน แกนนำออกำลังกายมาจาก อสม. จำนวน 12คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่
โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน
กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านทุ่งโชน เกิดสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในกิจกรรมที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ กิจกรรมการสืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชนและการสร้างฝายมีชีวิต จำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 10คน
โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก
1. มีการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการบริหารชุมชนจำนวน 6 ครั้ง
2. จัดตั้งสภาชุมชนบ้านคลองตูกมีสมาชิก จำนวน 25คน
3. มีการร่วมมือกันออกแบบสร้างเครื่องมือในการสำรวจหนี้สินและวิธีการทำการเกษตรภาคครัวเรือน
สำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน จำนวน 100 ครัว ในด้านการทำเกษตร ในหมู่ที่ 1 บ้านคลองตูกวิเคราะห์ข้อมูลคืนข้อมูลให้ชุมชน
4. สรุปรวบรวมข้อมูลจัดประชุมชี้แจง การคืนข้อมูลการการทำการเกษตรหนี้สิน และข้อมูลสุขภาพ
จัดตั้งกลุ่มเรียนรู้เพื่อการเกษตรแบบอินทรีย์ บ้านคลองตูก หมู่ที่ 1 ตำบลกะปาง
โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
1. เกิดกลไกโครงสร้างสภาชุมชนบ้านคันเบ็ด ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง
2. สภาชุมชนบ้านคันเบ็ดเกิดจากกลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่
3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการการเรียนรู้เรื่องการใช้สารเคมีโดยมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยถ่ายทอดกระบวนการคือครัวเรือนในชุมชนมีแปลงปลูกผักกินเองที่เป็นครู กจำนวน 10ครัวเรือน เพื่อทำการเป็นต้นแบบในการขยายต่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สารเคมี วิธีการป้องกัน โทษพิษภัยของสารเคมีผลกระทบี่เกิดจากการใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง จำนวน 100ครัวเรือน
โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
เกิดสภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานจัดการภัยพิบัติชุมชน
เกิดคณะทำงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในการช่วยเหลือเบื้องต้นจากภัยพิบัติ
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
ูเชิงปริมาณ
มีสภาผู้นำชุมชนในการจัดการขยะชุมชนบ้านหัวหิน จำนวน 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
มีการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม
โครงการ : Green Food- Green market ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจิก
เชิงปริมาณ
มีสภาผู้นำการดำเนินงาน จำนวน 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความใส่ใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ
โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน
เชิงปริมาณ
.มีสภาผู้นำคณะทำงานอนุรักษ์ป่าชายเลน บ้านอ่าวท่าเลน 1ชุด
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ป่าชายเลน และการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของอ่าวท่าเลน
โครงการ : ซีจันตุงฮาตี รวมพลอาบะ อาบี นำชีวีด้วยจริยธรรมแบบโคกทราย
- สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 30 คน ซึ่งเกิดการรวมจากกลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน
โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน
สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 35 คน
โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 30 คน
โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน
สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 20 คน
โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง
สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คน
โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ
สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คนเป็นตัวแทนจากผู้นำชุมชน 3 คน ผู้นำศาสนา2 ท้องถิ่นท้องที่ 1 คน เยาวชน 2 คน และตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน อสม. ผูสูงอายุ กลุ่มน้ำยาง รวมทั้งสิ้น 40 คน มีการประชุมร่วมกันทุกเดือน ในการประชุมแต่ละครั้งไดพูดถึงเรื่องทั่วๆไปของการดำเนินงานในกลุ่ม และเรื่องปากท้องของชาวบ้าน
โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ
1. สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คน
2. แกนนำเยาวชน 15 คน
โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน
- เกิดสภาผู้นำชุมชนขึ้น ชื่อว่าสภาแกหรามีจำนวนสมาชิก 40คน ซึ่งเกิดการรวมจากกลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน
โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน
เกิดสภาผู้นำชุมชน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา
โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร
1. เกิดสภาผู้นำเพื่อปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน
2. มีเวทีประชุมสภาผู้นำเดือนละ1 ครั้ง
3. มีกติการ่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โครงการ : เปิดลานบ้านกำแพง ลด ละ เลิก เกมส์ออนไลน์
1.มีแกนนำเยาวชน ร่วมทำงานในชุมชน
2.มีผู้ปกครอง เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมเด็กที่ติดเกมส์ ช่วยสอดส่องดูแลให้คำปรึกษา ให้ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน เช่น หางานให้เด็กทำ กระตุ้นการทำงานของเยาวชนในเขตเทศบาล
3.มีการรวมทีมจัดการแข่งขันกีฬาสามัคคีเด็กกล้าแสดงออก กล้าลงมือปฏิบัติจริง
4เด็กรู้จักการรักษาเวลา ตรงต่อเวลา มีการชักชวนเพื่อนๆมาร่วมกันทำกิจกรรม
5.เกิดสภาเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพง
-ลด ละ เลิก เกมส์ออนไลน์
-เยาวชนป้องกันเอดส์
-เยาวชนอาสาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กลุ่มครัวเรือนอาสา และกลุ่มจิตอาสาในชุมชน จำนวน 60 ครัวเรือน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อและใช้จ่ายสินค้าโดยใช้ถุงผ้าแทนถุงพาสติกในชุมชน
โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
เกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ รายจ่าย และสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อต้องการลดภาระหนี้สินในครัวเรือน
เกิดการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษอย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน และเหลือจากบริโภคในครัวเรือนก็นำไปขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน
โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ
1.เกิดสภาผู้นำเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระเบียบ
โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน
1. มีสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง 1 ชุด 2. ชุมชนมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขยะ จำนวน 1 ชุด 3. มีกลุ่มเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูล
โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง
1, การเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล
2. ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง
โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง
มีสภาผู้นำผู้นำชุมชนจำนวน1 ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าทีในการดำเนินงาน
โครงการ : พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ
ชมรมผู้สูงอายุ
โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)
เชิงปริมาณ
1. มีสภาผู้นำและสภาผู้นำชุมชนบ้านนาเกาะไทร จำนวน 1 ชุด
2. เกิดกองทุนนำ้ชาบ้านนาเกาะไทร 1 กองทุน
เชิงคุณภาพ
เยาวชนบ้านนาเกาะไทรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน
โครงการ : โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า
เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน42คน
โครงการ : โครงการลาซังสร้างสันติสุขบ้านเตราะแก่นเชื่อมพี่น้องสองศาสนา
เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำ
โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)
เกิดคณะกรรมการสภาผู้นำ
โครงการ : กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก
เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำ
โครงการ : โครงการชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรัทธา
- เกิดโครงสร้างคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน
โครงการ : โครงการ"อาหารของแม่สร้างพลังชุมชนปราแว"
เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
โครงการ : สร้างบ้านสร้างป่าบูโดให้น่าอยู่ ม.7 บ้านเจาะกะพ้อใน
โครงสร้างคณะทำงานและกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนและแก้ปัญหาของชุมชน
โครงการ : ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
เกิดทีมทำงานของชุมชนในรูปแบบสภาผู้นำ จำนวน 22 คนมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการรายงานผล และวางแผนปฎิบัติงานซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของชุมชน ซึ่งจากเดิมชุมชนขาดกระบวนการพูดคุย หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เมื่อมีกลไกสภาผู้นำเกิดขึ้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์ การส่งสาร ข้อมูลต่างๆให้คนในชุมชนได้รับรู้ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ
โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 40 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนในการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชนคณะทำงานมีการประชุมร่วมกำหนดแผนปฎิบัติงานร่วมกัน มีการประชุมรายงานผลทุกเดือน
โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุมประจำเดือนและขับเคลื่อนงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ระบุไว้ในโครงการ
โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 40 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการวางแผนปฎิทินงานร่วมกัน และมีการประชุมทุกเดือน
โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ
-ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพเสริมขึ้นในหมู่บ้านจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 40 คน
2.กลุ่มเลี้ยงผึ้งและชันโรง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน
3.กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน
-ทำให้เกิดกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพการเกษตรและเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 40 คน
โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุมประจำเดือนและขับเคลื่อนงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ระบุไว้ในโครงการ
โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ
เกิดคณะทำงานสภาผู้นำ จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาวิธีการทำงานต่างๆให้ผลออกมาดตามเป้าหมาย มีการผสานงานกันทุกขั้นตอนภายในคณะทำงานมีการช่วยเหลือ
ช่วยชี้แนะ เสนอแนะวิธีการทำงานกันภายในกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลรักษษสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสนใจปลูกพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพรในครัวเรือน
คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติต่อการรักษาความสะอาดรอบบ้านเรือนสถานที่สาธารณะ ร่วมกันดูแลรักษาความสะอาดของ ถนน คู คลอง
โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1. มีสภาผู้นำชุมชน
2. กลุ่มเยาวชนจูเนียร์
3. กลุ่มสตรีจัดทำผลิตภัณฑ์ในชุมชน
4. มีวิทยากรในชุมชนเอง
5. มีวิทยากรรุ่นจิ๋ว
โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ
ชุมชนเกิดสภาผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข็มแข็งหลังที่ได้ทำการอบรม เพราะสภาผูนำเกิดความรู้ในด้านการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้าน มีภาวะผู้นำสูง ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนมีการออมทรัพย์วันละ บาท ชุมชนมีความรัก ความสามัคคีต่อกัน สามารถนำมาเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียง เป็นชุมชนที่ยังพัฒนาด้านต่างๆเพื่อให้ชุมชนมีระเบียบใช้ชีวิตอย่างราบรื่นต่อไป
เกิดกระบวนการร่วมคิดร่วมทำ เกิดกลุ่มสตรีสร้างรายได้ในชุมชน
โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง
ชุมชนเกิดสภาผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข็มแข็งหลังที่ได้ทำการอบรม เพราะสภาผูนำเกิดความรู้ในด้านการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้าน มีภาวะผู้นำสูง ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนมีการออมทรัพย์วันละ บาท ชุมชนมีความรัก ความสามัคคีต่อกัน สามารถนำมาเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียง เป็นชุมชนที่ยังพัฒนาด้านต่างๆเพื่อให้ชุมชนมีระเบียบใช้ชีวิตอย่างราบรื่นต่อไป
โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
- กลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งของชุมชนคือการเพิ่มบทบาทของผู้นำศาสนา เนื่องจากเป็นบุคคลที่ชุมชนให้ความเคารพและเชื่อมั่น การดำเนินงานทุกกิจกรรมจึงกำหนดว่าต้องให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
โครงการ : หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง
ในชุมชนแบ่ง 4 เขต เขต 1 ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญบ้าน โต๊ะบีลา ผู้รับผิดชอบเขต 2 สมาชิกเทศบาล การเงินมัสยิด ที่ปรึกษาชุมชน ผู้รับผิดชอบ
เขต 3 ประกอบด้วย คอเต็บ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทีปรึกษาชุมชน ผู้รับผิดชอบ เขต 4 อีหม่าม ผู้ช่วย อุสตาส ผู้รับผิดชอบ ดูแลและมีหน้าที่รับผิดชอบเยียมประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรม เป็นที่ปรึกษาหากมีประชาชนในเขตมีปัญหาและดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ชักชวนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบไปละหมาดที่มัสยิดและรณรงค์ทำความดี
โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก
เกิดระบบ การ ดูแลสุขภาพที่ดีโดยทุกคน หันมาเล่นกีฬากลางแจ้ง
โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด
เชิงปริมาณ มีสภาผู้นำดำเนินการจัดการขยะ 1 ชุด เชิงคุณภาพ มีการร่วมมือกันในการจัดการขยะชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลดเกิดปฎิทินหมู่บ้าน
ทุกบ้านเรือนต้องทำความสะอาดบ้านเรือนตนเอง ทุกๆวันศุกร์
ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ ถนน ริมทาง กูโบร์ ทุกเดือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน
โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ
มีทีมสภาผุ้นำคณะทำงานมีกลุ่มเกิดขึ้นมาจากแกนนำในชุมชนเกิดเครือค่ายการทำงานเช่น กศนตำบลรพสตตำบล เกตรอำเภอ พัทนาการอำเภอยุวมุสลิมจังหวัดกระบี่จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมามีเครือข่ายเพิ่มขึ้นมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้ามาดูแลในกลุ่มคนพิการที่มีอยู่ในหมู่บ้านจำนวน 11 คน มีการสำรวจข้อมูลจะได้นำเนินงานต่อไป
โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ
1.มีสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา
2.มีการลงพื้นที่เฝ้าระวังปัองกันการทำลายพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน
โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้
- มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด
- มีสภาหมู่บ้านจำนวน1สภา
- สมาชิกสภามาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มอื่นๆจำนวน 30 คน
- มีการประชุมสภาผู้นำจำนวน 10 ครั้ง -มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 -มีแผนกิจกรรมอย่างน้อย 5 แผนงาน-
โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)
- มีการทำงานเป็นทีม
- มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน
- เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้
โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย
- เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน1สภา ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ส.อบต กลุ่มสตรี คณะกรรมการมัสยิด และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อเป็นกลไลในการขับเคลื่อนงานต่างๆ และมีแผนการทำงานที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชน
-
โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
- เกิดการทำงานเป็นทีมและมีสภาผู้นำหมู่บ้าน เพื่อคอยขับเคลื่อนงานของชุมชนพร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
- เกิดแผนพัฒนาร่วมกันของภาคีเครือข่าย หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู
- เกิดกลไกสภาผู้นำหมู่บ้าน
มีการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม ที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน
เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้
โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู
- มีการทำงานเป็นกลุ่ม
- มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน
- เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้
โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร
- เกิดกลไกสภาผู้นำหมู่บ้าน
- มีการทำงานเป็นกลุ่มที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
- มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน
- เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้
โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง
- เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา
- เกิดสภาผู้สูงอายุ 1 สภา
โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
เกิดสภาผู้นำที่จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนมากขึ้น เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มใหม่ 3 กลุ่ม 1) วิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน 2) วิสาหกิจผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ 3) วิสาหกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา (ผลิตหมอนยางพารา)
โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)
1. การทำกระจาดโบราณ เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากผู้สูงอายุ สู่กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มเด็ก
โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ
การเกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน28คน
โครงการ : สร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์
เกิดสภาผู้นำ จำนวน 21 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุม รายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน
โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร
- การมีกระบวนการการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ ในการพัฒนาให้ชุมชนน่าอยู่
- เป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับกลูุมเป้าหมายได้เรียนรู้และเป็นการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหมู่ได้รู้จักเรียนรู้การเกษตร
โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่
1.มีสภาเยาวชนผู้นำชุมชน
2.ชุมชนมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขยะ
3.มีกลุ่มเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูล
4.มีธนาคารขยะที่ชัดเจน
โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนให้พัฒนาขึ้นต่อไป
โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี
- ได้มีการร่วมมือของสภาผู้นำ เช่น คณะกรมการหมู่บ้าน แกนนำ และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาขึ้น
โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่
ระบบและกลไกที่เกิดขึ้นในชุมชน
1. การระดมความคิด และการแก้ปัญหาต่างๆในชุมชน ผ่านกระบวนสภาชุรอหมู่บ้าน
2. การมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มในชุมชน
3. ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง และมติที่ประชุมถือว่า ความต้องการของชุมชน
โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน
- 1.มีการแบ่งโซนเป็น4โซน โดยมีคณะกรรมการโซนเพื่อการติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม 2.มีการติดตามและประเมินกิจกรรมเป็นระยะโดยคณะกรรมการโครงการ
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2
การร่วมจัดกิจกรรมแปลงสาธิตพืชผักปลอดสารพิษชุมชนบ้านเนินทอง
โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)
เกิดกลุ่มมัคคุเทศก์อาสา โดยมีแกนนำเป็นกลุ่มเยาวชน
และเกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชน
โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
1.มีสภาผู้นำชุมชน และมีการประชุมทุกเดือน
2.มีการนำกลุ่มเยาวชนมาร่วมกันการทำกิจกรรมจากเมื่อก่อนที่ไม่ได้มีเยาวชนมาร่วมกิจกรรม
โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
1.เกิดสภาผู้นำในการร่วมกันพัฒนาหมู๋บ้าน
2.เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักขึ้น
3.วัดและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการใช้สถานมี่ของวัดในการทำกิจกรรม
โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
จากเมื่อก่อนผู้นำชุมชนไม่เคยให้ความร่วมมือแต่เมื่อได้มีโครงการทำให้ผู้นำชุมชนมีความสนใจและชักชวนลูกบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ชาวบ้านบางกลุ่ม ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมไม่เข้าร่วมประชุมหันมาสนใจร่วมกิจกรรมและสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม
-เกิดสภาผู้นำ 30คน-ในการขับเคลือน พัฒนาหมุ่บ้าน
โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร
โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
1)ให้ความรู้การทำน้ำหมักและกลับไปทำที่บ้านครัวเรือนละ 1 ถัง 2)ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรและกลับไปปลูกที่บ้านครัวเรือนละ 5 ชนิด 3)ให้ความรู้เรื่องผึ้งโพรงไทยและกลับไปทำที่บ้าน 1 รัง
โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)
1. เกิดเป็นหลักสูตรปันตงของชุมชน
2.เกิดการปรองดองระหว่างครอบครัว และชุมชน โดยผ่านกระบวนการของเครือข่าย โดยมีตัวเชื่อมความปรองดองที่สำคัญคือ ปันตง
โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรและให้ทุกครัวเรือนไปปลูกที่บ้าน 5 ชนิด
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและให้ทุกครัวเรือนไปทำที่บ้านอย่างน้อย 10 ก้อน
3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและให้ไปทำที่บ้าน 1 กระสอบ
4.มีกลุ่มปุ๋ยหมัก
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2
เกิดสภาผู้นำชุมชนที่กำลังพัฒนาให้มีความเข็มแข็งต่อไป ซึ่งในปีนี้มีคณะกรรมการและร่วมประชุมพบปะกันทุกเดือน
โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)
2. เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่
2.1 มีสภาแกนนำ จำนวน 15-21 คนเป็นกลไกพัฒนาขับเคลื่อนชุมชนหูยาน ใช้การประชุม พูดคุยเป็นหลัก
2.2 สภาแกนนำใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนหูยาน
2.3 ใช้วันที่ 10 ทุกเดือนเป็นวันครอบครัวของชุมชน ทานข้าวร่วมกันประชุมร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน เป็นการรวมคนสร้างจสร้างจิตอาสา
โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)
เชิงปริมาณ
มีสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
ชุมชนให้ความสนใจในการจัดการขยะชุมชน
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
กลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มมีคณะกรรมการกลุ่ม 9 คนมีการจัดโครงสร้างและแบ่งหน้าที่ชัดเจน มีกิจกรรมของกลุ่มดังนี้
1.ที่ได้ผลิตข้าวสารจากนาอินทรีย์จำหน่ายในชุมชนทั้งยังใช้พื้นที่นาอินทรีย์เป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาให้กับกลุ่มผู้สนใจในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
2.กลุ่มต้องผลิตข้าวสำหรับเป้นเมล็ดพันธ์ุไว้ใช้เองให้พอเพียง
โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)
- มีสภาผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน โดยมีโครงสร้างการบริหารจัดการชุมชนอย่างชัดเจนและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่
- มีการจัดพื้นที่เรียนรู้การผลิตข้าวปลอดภัยให้กับครัวเรือนนำร่องและคนในชุมชนจำนวน 3 ไร่ 3 แบบ คือ แปลงนาหว่าน แปลงนาดำ และแปลงนาโยน
โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)
ชุดลาดตระเวณยังคงทำหน้าที่ต่อเนื่อง
โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)
เกิดกลไกสภาหมู่บ้าน จำนวน 30 คน สามารถจัดประชุมได้ทุกเดือน
สามารถใช้สภาในการบริหารจัดการโครงการ ส่วนบทบาทของสภาในการบริหารจัดการชุมชนยังเห็นไม่ชัดเจนในขณะนี้
โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)
สภาผู้นำชุมชน
กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
1. นางชรินรัตน์เส็นสามารถ
2. นางตีอัมซ๊ะพระสุธาพิทักษ์
3. นางยูรีย๊ะโต๊ะบู
4. นางรีดาแดหวามาลัย
กลุ่มมุสลีม๊ะ
1. นางสรอม๊ะบูเก็ม
2. นางอำส๊ะสันโด
3. นางหยันสุวาหลำ
กลุ่มผู้นำชุมชน
1. นายยมอาดเตาวโต
2. นายยูโสบยีระงู
3. นายวาเหลด เส็นสามารถ
4. นายร่มหลียีระงู
5. นายหมัดสะอาดบุญเสน
กลุ่มผู้นำศาสนา
1. นายเชบดานเด็น
2. นายอารีย์ตีกาสม
3. นายอาหมาดเตาวโต
4. นายมุสตอฟายาหมาย
กลุ่ม อสม.
1. นางปอหราเตาวโต
2. นางวิลัดดาเส็นสามารถ
3. นางเจ๊ะน๊ะจิแอ
4. นางร่มหยันเตาวโต
5. นางมารูหนียาง๊ะ
6. นางอินทิราบุญเสน
6. กลุ่มออมทรัพย์
1. นางเจ๊ะร๊ะ บริกัน
2. นางมีนาสุวาหลำ
3. นางขอดีย๊ะเทศอาเส็น
4. นางตีรอเกี๊ยะปิยาเหล
5. นางสุกันยายีระงู
7. กลุ่มผู้สูงอายุ
1. นายสมาน หมันนาเกลือ
2. นายหลีเส็นสามารถ
กลุ่มเยาวชน(ไม่เรียนหนังสือ)
1. นายพานิชเตาวโต
2. นายอนันท์เส็นสามารถ
3. นายมุสตอฟายาง๊ะ
4. นายกอรอซีอุสมา
5. นายอามีรีนชุ่มจำรัส
6. นายกมลบริกัน
7. นายอับดุลคอลิคสุวาหลำ
8. นายอาทรหมาดอี
กลุ่มเยาวชน(กำลังศึกษา)
1. นายสราวุธเส็นสามารถ
2. นางสาวฐิติพรทุมาลี
3. นายดนุพลยาง๊ะ
4. นายอาหลียันติง
5. นายอาณัติยีระงู
6. นายสงกรานต์อยู่เย็น
7. นางสาวสุรัตติยาอุมารี
กลุ่มชมรมคนรักกีฬา
1. นางสิตีแบด๊ะโต๊ะราเกตุ
2. นางสาวมารีย๊ะดานเด็น
3. นายศักการียากอลาบันหลง
กลุ่มสตรี
1. นางสาวซารีฟ๊ะดำกระบี่
2. นางผ่องศรีหิรัญ
โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)
- เกิดสภาเยาวชน และสภาเยาวชนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะในชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลง
โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)
สมาชิกภายในหมู่บ้านช่วยกันดูแลแม่น้ำลำคลองและสวนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน มีความสามัคคีมากขึ้น
โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
เชิงปริมาณ
มีสภาผู้นำดำเนินการจัดการขยะ 1 ชุด
เชิงคุณภาพ
มีการร่วมมือกันในการจัดการขยะชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลด
โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี
มีแกนนำอาสาทำงานทุกพื้นที่ใน37 อำเภอ ใน3จังหวัดภาคใต้
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5
-มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน1แห่งที่ชาวชุมชนยังเห็นความอุดมสมบูรณ์
โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
มีชุมชนภายนอกมาศึกษาดูงานในเรื่องของการบรูณาการ รวมคน/รวมทุนที่มีในชุมชนตลอดถึงการประสานงานองค์กรในพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีระบบ
เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ได้มีคณะศึกษาดูงานจากชุมชนควนรู อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๖๐ คน
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ มีคณะศึกษาดูงานจากจังหวัดกระบี่ ๘๐ คน
และยังได้ลงนาม MOU. เป็นแหล่งเรียนรู้หรือห้องเรียนนอกพื้นที่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา ในการมาเรียนรู้การอนุรักษ์น้ำโดยการสร้างฝายชะลอร่วมกับชุมชน จำนวน ๕ ครั้งสามารถสร้างฝ่ายเพิ่มขึ้นได้ถึง ๒๐ ตัว มีอาจารย์และนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๕๐๐ กว่าคน
โครงการ : เกาะทองสมใหม่เกษตรอินทรีย์สร้างสุข
1.ศูนย์เรียนรูัการทำเกษตรปลอดสารพิษของชุมชนโดยนายวิโรจน์เหตุทอง
2.และเป็นศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายสุขภาพของหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด
3. แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งเพื่อลดสารเคมี
โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
เกิดการเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ 4 แบบ เพื่อเปรียบเทียบการลดต้นทุนการผลิต ได้แก่การทำนาหว่านนำตม การทำนาดำ การทำนาโยน และการทำนาดำกล้าต้นเดียว
โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ
แหล่งเรียนรู้อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน วิถีนาอินทรีย์ครบวงจร กระบวนการทำงานของชุมชน แปลงนาอินทีย์ใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืององค์ความรู้การทำนาอินทรีย์เอื้อเกิดสุขภาวะชุมชน สุขกาย สุขใจ ชุมชนมีสุข สิ่งแวดล้อมดี มีความมั่นคงทางอาหาร
โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร
จากกิจกรรมสำรวจของดีชุมชน ได้รู้จักนำ้ตกวังใต้หนานค่ายคอมมิวนิสต์ และต้นไม้หลากหลายพืชพันธุ์ เรียนรู้ถึงสมุนไพรรักษาโรคจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการสำรวจแหล่งนำ้ตามธรรมชาติ และป่าต้นนำ้ของชุมชนมีการสำรวจพื้นที่ทำกิน และการใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชน รวมทั้งพื้นที่ป่ากันชนที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์แนวเขตป่าไว้
โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2
ชุมชนมีแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก
โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )
สมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์10 คนคณะทำงาน 10 คน จำนวน 20 คน
สร้างโครงข่ายคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดต้นแบบ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมภายในกลุ่ม
ได้บ้านต้นแบบ เกิดกระแสการปลูกผักสวนครัวในชุมชน การจัดการขยะในครัวเรือน
และมีการทำของใช้เองในครัวเรือน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เป็นต้น
โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
เป็นแหล่งศึกษาดูงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ
เกิดกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดสมาชิกจำนวน 50 คน และสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดการเรียนรู้และประสบการการเพาะเห้ดแก่ผุ้สนใจได้ จำนวน 5 คน
โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
ที่บ้านของผู้รับผิดชอบโครงการอุทิศที่ให้สร้างศุนย์เรียนรู้
หน่วยงานราชการเช่นพัฒนาชุมชนนำชาวบ้านที่มีความสนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสถาบันการศึกษา ตลอดจนสื่อมวลชนมาถ่ายทำสารคดี เช่นจากช่อง 3 รายการ เกษตรโลก-เกษตรเรา โดยผุ้ดำเนินรายการ คุณคำรณ หว่างหวังศรี และช่อง NBT นครศรีธรรมราช และสถามีวิทยุคลื่น FM มาสัมภาษณ์ออกอากาศเพื่อเป็นตัวอย่าง
โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
ถนน พื้นที่รกร้าง หายไป กลายเป็นสวนผัก แปลงผักแทนที่ พื้นที่ในชุมชนสะอาดไม่มีขยะ เพราะคนเห็นคุณค่าขยะแต่ละประเภทและนำมาแปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์สร้างรายได้ และขายเพิ่มรายได้
โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
บ้านบางสระเป็นหมู่บ้านที่รับงบสนับวนุนสสส.ในเรื่องการลดละเลิกบุหรี่ ในปี 55 และเป็นบ้านที่รับสมัครเข้าร่วมโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินซึ่งเน้นการรณรงค์การใช้สารเสพติด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของโครงการจึงเน้นการบูรณาการให้เยาวชน และผู้ที่สบบุหรี่ ยาเสพติด ให้เกิดความตระหนักและจัดพื้นที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ สุราเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข
กลุ่มเยาวชนและอสม.ร่วมกันเป็นผู้อาสาดูแลสุขภาพชุมชนและมีแผนเป็นรูปธรรม มีการถ่ายทอดความรู้ในตัวบุคคลสู่กลุ่ม ในเรื่องการนวดบำบัดโรค
โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน
คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน
โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร
มีครัวตัวอย่างหลีกเลี่ยงสารเคมี
โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง
มีครัวตัวอย่างเพื่อเป็นฐานเรียนรู้ชุมชน 58 ครัวเรือน
โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
คนในชุมชนได้เรียนรู้การกินอยู่ด้วยการพึ่งตนเอง ลดการซื้อผักและข้าวจากนอกบ้าน หันมาทำกินเอง และมีแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรม เป็นการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
1.บ้านนายสัมพันธ์ พูลเสน แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไก่บ้าน
2.บ้านนางโฉมพยงค์ ชูแก้ว แหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยและเพาะเห็ดฟาง
3.บ้านนางวันดี อักษรคง แหล่งเรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์
4.บ้านนางประคิ่น แนมใส แหล่งเรียนรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพ
โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
1.รอบสถานที่ศาลาเอนกประสงค์ได้ถูกพัฒนาให้เป็นสวนสมุนไพรชุมชน โดยมีการนำสมุนไพรจากครัวเรือนมาปลูกที่ศูนย์กลางของหมู่บ้านและแบ่งเวรหน้าที่รับผิดชอบในการดูแล
2.วัดพระพุทธบาทเป็นสถานที่สำรวจสมุนไพรและเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมเรื่องสมุนไพร
โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
1.นายสุนทร ชื่นกลิ่น เป็นต้นแบบการปลูกมะนาว
2.นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร เป็นต้นแบบการเลี้ยงปลาและสร้างคลังอาหารปลอดภัย
3.นางประไพ จันทร์ทอง เป็นต้นแบบการทำเกษตรลดเคมี
โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
1.บ้านนางกัณหา จงไกรจักร เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักชีวภาพ
2.บ้านนางโสภา บางหรง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องข้าวกล้อง ปุ๋ยชีวภาพ
3.บ้านนางอารีย์ กรรมแต่ง เป็นแหล่งเรียนรู้่เรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ
โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน20 คน ชับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. ครูโรงเรียนวัดเขาปูน จำนวน3 คน จัดกระบวนการเรียนรู้พัฒนาความคิด โดยการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. อสม จำนวน 5 คนติดตามเยี่ยมดูแลกลุ่มป่วยติดเตียงจำนวน 5 คนกลุ่มพิการ 4 คนผู้สูงอายุ39 คน
โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เกิดแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการสำเร็จ
1. คณะสภาผู้นำชุมชน ในการขับเตลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนให้เกิดความรักความสามัคคี จากการร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน
2. ปราชญ์ชุมชนขับเคลื่อนการจัดกระบวนความคิดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ โดยการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน
3. ข้าราชการบำนาญ ร่วมในการถอดบทเรียน จำนวน 4 คน
4. อสม เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนพฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน มีคนร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายจำนวน 116 คน
โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด
1. เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศน์ที่อยู่ร่วมกันได้ระหว่างคน สัตว์พืช ระหว่างคนกับธรรมชาติ
โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี
เกิดต้นแบบของการเรียนรู้เรื่องต้นกำเหนิดของแหล่งน้ำ การเกิดแหล่งนำที่สำคัญคือการเกิดมาจากแหล่งน้ำซับซึ่งมีมากบนเขาคีรีวง น้ำนั้นมาจาก การที่พืชสังเคราะห์แสงและคายน้ำออกมาทางรากของพืช แล้วทำให้เกิดแอ่งน้ำซับหลาย ๆ แหล่ง เกิดเป็นแอ่งน้ำบนภูเขา และรวมตัวไหลมากลายเป็นน้ำตก และพบปัญหาที่สำคัญคือการที่ป่าไม้ถูกทำลาย บุกรุกจากการทำพืชสวน ทำให้แหล่งน้ำเหล่านี้หายไป น้ำในคลองลดลง และเป็นปัญหาในยามแล้ง
โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้
เพลงรองแง็งอนุรักษ์ป่าชายเลน ทำแผนที่ศักยภาพคน
โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)
- ธนาคารขยะ
- เกษตรอินทรีย์
โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง
เพิ่มรายได้จากการทำขนมพื้นเมือง
โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)
ธนาคารปูไข่
โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)
การลดใช้สารเคมีเพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อน
โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง
- กลุ่มเครื่องแกง
- กลุ่มเกษตรอินทรีย์
- กลุ่มประหยัดค่าไฟ
โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)
เกิดศูนย์เรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ (Day Care)ในพื้นที่ชุมชน และตำบลทะเลทรัพย์ โดยมีรพสต.ทะเลทรัพย์เป็นศูนย์กลางวิชาการและเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์สนับสนุนงบประมาณ และมีวัดทะเลทรัพย์เป็นจุดกลางในการปฏิบัติด้านจิตใจ
โครงการ : ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค(ต่อเนื่อง)
มีศูนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนที่มีฐานเรียนรู้และมีสถานที่รองรับการเรียนรู้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และร่วมปลูกป่าเสริมในส่วนที่เสียหาย ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งพื้นที่ป่า สัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนมีความคาดหวังมาตั้งแต่ต้น
โครงการ : อนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย (พื้นน้ำ อาหาร บ้านยา ผืนป่า ปะทิว) (ต่อเนื่อง)
ป่าต้นน้ำพรุตาอ้ายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ให้นักเรียนหรือหน่วยงานที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติได้ลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ในป่าต้นน้ำได้อย่างสมบูรณ์
โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
ป่าชายเลนบ้านห้วยคล้า หมู่12ตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโกจังหวัดชุมพร
โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง
มีแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์ชีวาศรม
โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ
1.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
2.แปลงปลูกข้าวไร่การตำข้าวและทำข้าวเม่า
3.เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์น้ำตกสวนใหม่
โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)
เกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านแคเหนือ เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาของชุมชน และเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของ เครื่องใช้ และภูมิปัญญาของคนในอดีต
โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)
-มีศูนย์เรียนรู้กองทุนขยะสร้างสุข 1 แห่ง เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและนอกชุมชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการขยะของชุมชนป้อมหก
-โรงเรียนบ้านป้าพร 1 แห่ง เพื่อเป็นพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนได้เรียนรู้กิจกรรมโครงการ และเสริมทักษะในด้านวิชาการ การเขียน อ่าน ภาษาไทย ศิลปะ โดยมีบัณฑิตอาสาเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เยาวชนในพื้นที่ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง
โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน
เดิมทีความรู้ด้านกลองยาวมโนราห์ มีอยู่เฉพาะกลุ่มในพื้นที่ชุมชนแต่หลังจากดำเนินโครงการทำให้เกิดศิลปินน้อยจำนวน 40 คน ที่มีความรู้ ความสามารถด้านกลองยาวมโนราห์ อีกทั้งทางโรงเรียนวัดไทรใหญ่ได้มีการจัดการเรียน การสอนในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มกลองยาวเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งนักแสดงมีทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเล็ก ของกลุ่มเด็ก เยาวชน ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ทำให้เกิดการจ้างงานให้กับกลุ่มในการออกไปแสดงตามสถานที่ต่างๆสร้างรายได้ให้กับเด็ก และกับครอบครัว อีกทั้งศิลปะการแสดงยังสามารถถูกถ่ายทอดส่งต่อ รุ่นสู่รุ่น
โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )
1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน
2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน
เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น
โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
2.1มีมัคคุเทศก์น้อยคนรุ่นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน 35 คน เกิดภาคีการเป็นมัคคุเทศก์เพิ่มเติมจากนอกหมู่บ้าน 1 คน รวม 36 คน
2.2 มีโฮมสเตย์ จำนวน 15 บ้าน ผู้มาเยือนมาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู"
1) บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน
2) บ้านนางส่อง คงเล่ห์รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน
3) บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน15 คน
4) บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน
5) บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน
6) บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน
7) บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน
8) บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน
9) บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน
10) บ้านนางภูษณิศาแก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน
11) บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน20 คน
12) บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน
13) บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน
14) บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน
15) บ้านนางหนูเล็ก คงขลิกรับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน
2.3 มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร
โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)
เชิงปริมาณ
2.1 เยาวชนและปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด รวม 30 คน
2.2 ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเเยาวชนและปราชญ์ชุมชนและมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสดเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลด
สารเคมี จำนวน 160 คน
เชิงคุณภาพ
เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้ เนื่องจากตะลุงโขนเป็นภูมิปัญญาของชาวปากเหมืองที่มีดั้งเดิม เมื่อได้รับหารฟื้นฟูทำให้ชาวบ้านสนใจมาชม มาร่วมเรียน และร่วมถ่ายทอดมาก ในเนื้อหาได้บอกเรื่องการทำนาอินทรีย์ เป็นบทกลอนและการแสดงที่เป็นการให้ข้อมูลความรู้แบบกลางๆ เพื่อให้ผู้ร่วมได้ความรู้และเกิดความสนใจไปทำนาอินทรีย์ต่อ มีครูกลอนคือ ครูลำดวน ข้าราชการครูบำนาญ ให้คณะกรรมการเล่าเรื่องโครงการ แล้วครูได้แต่งเป็นกลอนตะลุงสด ให้เด็กและคณะหนังตะลุงโขนได้ฝึกฝน ฝึกว่ากลอนจนชำนาญ แล้วสามารถไปแสดงได้ในงานต่างๆ ที่แสดงมาแล้ว ได้แก่ งานปีใหม่ งานบวชนาค งานกระตุ้นการท่องเที่ยวตลาดน้ำกลางคืน การแสดงในโรงเรียน และในวิชาดนตรี ให้เด็กได้เรียนรู้ได้ต่อในโรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียน และครูไพศาล (ผู้อำนวยการโรงเรียน) เป็นผู้สืบสานต่อเนื่อง ให้เด็กโรงเรียนวัดผาสุก ได้เรียนรู้ได้ต่อเนื่อง เป็นต้น
โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)
1. เกิดกลุ่มสวนผักคนเมือง
2. มีตัวอย่างบ้านเรียนรู้การใช้พื้นที่จำกัดชุมชนเมืองปลูกผัก (บ่านายประจวบ เมฆเรือง)
โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
2.1 เกิดแหล่งเรียนรู้บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านหน้าทับ 10 แห่ง
2.2 กลุ่มเป้าหมายมีรายได้ใช้หนี้นอกระบบได้ร้อยละ 90
โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
ต้นแบบที่1 ผักปลอดสารพิษ ได้แก่1.นายจำรัส สังข์อุ่น 2.นายเติม ดำคงสวน 3.นางวิริยา โยธาวงษา
ต้นแบบที่2 ต้นแบบน้ำยาอเนกประสงค์ ได้แก่ 1.นางกรวรรณ เพชรคงทอง 2.นางหนูแผ้ว พลายด้วง 3.นางสมปอง แดงช่วย
ต้นแบบที่3 ต้นแบบการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ได้แก่ 1.นางอำนวย ศรีวารินทร์ 2.นางธภร จันทร์ศรี 3.นางเริง เพชรคงทอง
ต้นแบบที่4 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ 1.นางนงเยาว์ บัวทอง 2.นางปราณี เพชรคงทอง 3.นางสมบูรณ์ พรหมเรือง
ต้นแบบที่5 ต้นแบบเลี้่ยงปลาวิถีพอเพียง ได้แก่ 1.นางชนิดา จันทร์ศรี 2.นางฉลวย เมฆตรง 3.นายประเสริฐ แก้วหนู
ต้นแบบที่6 ต้นแบบบ้านพอเพียง ได้แก่ 1.นางอารีย์ คงตุก 2.นางกัลยา โรจนธินัน 3.นางทิพรัตน์ พรหมด้วง
โครงการ : คืนสู่ธรรมชาติบ้านพัฒนา
มีชุดความรู้การทำเกษตรแบบดั้งเดิม จากการรวมกลุ่มปฏิบัติ 4 ชุดความรู้ ได้แก่ การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และเลี้ยงปลาแบบผสมผสานการทำปุ๋ยหมัก วิธีการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ การเสียบยอดต้นไม้ในตระกูลเดียวกัน เช่น มะนาว มะขวิด มะกรูด ส้ม
โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)
มีศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน ลานน้ำหมักชุมชน กำแพงภาพวาดในชุมชน
โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
เกิดศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น ณ หมู่ที่ 1 ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา (หมู่บ้านพิกุลทอง) ในศูนยืการเรียนรู้ มีตัวอย่างสมุนไพรท้องถิ่น ประมาณ 35 ชนิด
โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่
ไม่เกิด
โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
- ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์และภูมิปัญญาประจำหมู่บ้าน 1 ศูนย์ ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตาดีกากุนุงจนอง ถ่ายทอดเรื่องอาหารและสมุนไพร
โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย
เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพ กาย จิต ตามวิถีพุทธ และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนจากวัยสูงอายุสู่เยวชนที่วัด
โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
1.พื้นที่มีความสะอาด
2.แหล่งน้ำมีความสะอาด
3.คนในชุมชน มีใจรักสิ่งแวดล้อม
โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข
1. เกิดต้นแบบการปรับเปลี่ยนสุขภาพวิถีพุทธ
2. มีพื้นที่การเรียนรู้เรื่องฟาร์มตัวอย่างที่ส่งเสริมสุขภาพ
3. มีปราชญชาวบ้านเรื่องสมุนไพรและการดูแลตนเองของประธานชมรมผู้สูงอายุ
4. มีศูนย์สุขภาพชุมชนโดยชุมชนซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาในวัด
โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง
แหล่งเรียนรู่้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ้าน นายจวน คงชีภา เลขที่ 94/1 บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2
ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนบ้านลาเกาะ เกิดค่านิยมใหม่ๆขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะ พื้นที่การทำกิจกรรม พื้นที่การพุดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน โดยเฉพาะ มัสยิดนูรุลญัณนะห์ บ้านลาเกาะ ทุกๆคืน หลังละหมาดมัฆริบ ระหว่างละหมาดอีชา ประมาณ หนึ่งชั่วโมง จะมีการถกเถียงกันในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆในชุมชน จนกลายเป็นค่านิผมหลักของชุมชนบ้านลาเกาะ ที่ ถ้าใครตกข่าว ตามไม่ทันกิจกรรมในชุมช ก็จะตกเทรนด์ กลายเป็นว่า ช่วงค่ำระหว่างรอละหมาด ที่ปกติ ชาวบ้านจะไปกินน้ำชาตามร้านน้ำชาต่างๆ เปลี่ยนมาเป็นนั่งพูดคุยที่มัสยิดกัน ต่อด้วยการเสนอกิจกรรมต่างๆ ให้ อบต.เกาะจัน เป็นหน่วยงานจัดหางบประมาณในการจัดกิจกรรมต่อไป
โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู
1. ธนาคารปูม้าไข่นอกระดอง เพื่อเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนของชุมชน
2. มีพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนสำหรับการเรียนรู้ของเยาวชน คนในชุมชนและภายนอกชุมชน
โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ
เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในการดูแลห่วงใยผู้ด้อยโอกาสในชุมชน มีการเข้าไปร่วมดูแลโดยภาคีเครือข่ายของชุมชน นายก / รองนายก / เลขานุการนายก / ปลัด อบต. / นักพัฒนาชุมชน / ผู้ใหญ่บ้าน / ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน / สมาชิกสภา อบต. /ผอ.รพ.สต.นาเกตุ /เจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาเกตุ / อสม.นาเกตุ และเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุ ได้มีการร่วมกันดูแลผู้ด้อยโอกาสอย่างจริงจังและมีการเข้าเยี่ยมผู้ด้อยโอกาสถึงบ้านในรายที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ในรูปแบบคณะกรรมการสภาชุมชนขับเคลื่อนจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม
โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2
1. สภาผู้นำ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดการจัดการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของคนในชุมชน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ นำไปสู่กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่สอดคล้องตามสภาพปัญาที่แท้จริง และเกิดมาตรการทางสังคมที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน
2. เกิดการการร่วมมือในด้านทุนทางชุมชนเช่น วัดเลียบให้สถานที่ในการจัดกิจกรรม มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาวะชุมชน
โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ
- ศูนย์เรียนรู้ต้นไม้ของชุมชนแวกูบา 1 แห่งที่จัดขึ้นบริเวณบ้านของสมาชิกธนาคารต้นไม้ ซึ่งรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก และเพาะขยายต้นไม้เพื่อจำหนาย โดยสามารถเปิดให้ผู้เข้าชม นักเรียนสามารถมาเรียนรู้ต้นไม้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางศึกษาธรรมชาติในหมู่บ้านเกิดต้นแบบบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ 10 ครัวเรือนเป็นตัวอย่างแกนนำครัวเรื่อนที่สนับสนุนเป็นแหล่งเรียนรู้บ้านน่าอยู่รั้วกินได้ของชุมชนและสนับสนุนรวมถึงการสร้างกระแสบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ของชุมชนให้เพิ่มขึ้น
โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2
สภาผู้นำ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดการจัดการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของคนในชุมชน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ นำไปสู่กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่สอดคล้องตามสภาพปัญาที่แท้จริง และเกิดมาตรการทางสังคมที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน
โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
1. พื้นที่ต้นแบบ/พื้นที่เรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วม (co-management) โดยเป็นการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันวิชาการ ซึ่งถือเป็นพื้นที่แรกๆของประเทศไทย
2. เกิดพื้นที่เรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชน (community-based management)
3. เกิดพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ในการจัดทำธนาคารปูม้าไข่นอกกระดองและการเพาะพันธุ์หญ้าทะเล
โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
- ศูนย์ ศสมช. ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย นวด อบ และประคบสมุนไพร
- เป็นห้องเรียน อสม.หลักสูตร การส่งเสริมสุขาภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สวนสุขภาพ ประกอบด้วย ลานนวัตกรรมนวดฝ่าเท้า สวนสมุนไพร สุขศาลา ลานเปตอง กลุ่มคนปั่นจักยาน
- หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ
- มีอาสาสมัครจิตอาสาเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง "เพื่อนช่วยเพื่อน"
โครงการ : พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง
หลักสูตรชุมชนและหลักสูตรอาหารพื้นบ้านลดหวานมันเค็ม
โครงการ : ปราชญ์ตัวน้อยช่วยเศรษฐกิจที่บ้านไสหร้า
เกิดฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดประดิษฐาราม จำนวน 3 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเรียนรู้การทำน้ำยาไล่แมลง ฐานการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ
ฐานการเรียนรู้พลังงานทดแทน
โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
1. มีการรวมกุล่มด้านการจัดทำวิสาหกิจชุมชนด้านการเพาะเห้ด
2.มีการนำทุนทางสังคมด้านพื่ชสมุนไพร และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน
โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
1. แหล่งเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัยประเภทการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีเยาวชน ชาวบ้านที่สนใจเข้ามาศึกษากระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การปลูก และการดูแลจนถึงระยะการเก็บผลผลิต
2. เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนสำหรับให้นักเรียนโรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนมเข้ามาเรียนรู้งานการผลิตผัก
3. เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตเมล่อนในโรงเรือนที่ใช้วัสดุปลูกจากปุ๋ยหมักชีวภาพ การดูแลรักษา การผสมเกษร การตัดกิ่งแขนงเมล่อน ซึ่งเป็นสถานที่เรียนรู้แห่งแรกในตำบลคลองชะอุ่น
โครงการ : ปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
1. เกิดบุคคลต้นแบบในการทำเกษตรปลอดสารพิษภายในชุมชน คือ นางจำเนียร รักเมือง , นายสุธา แก้วมาเคียม , นายปัญญา , อดีตข้าราชการ , ลุงเบิ้ม
2. ชาวบ้านมีความตระหนักถึงสุขภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
3. ลานกีฬาเป็นพื้นที่พบปะของเยาวชนที่ร่วมกันใส่ใจสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย
โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)
เกิดแกนนำชุมชนที่สามารถเป็นวิทยากรเรื่องการจัดการขยะและขยายเครือข่ายให้ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มบ้านได้ และเป็นบ้านตัวอย่างในการจัดการขยะ
แกนนำกลุ่มบ้านมีบ้านตัวอย่างร่วมด้วยคณะทำงาน 20 คน แกนกลุ่มบ้านกลุ่มบ้าน 5 คน ตัวแทนผู้ค้า 30 คน รวม 55 คน
โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
ปราชญ์ชุมชนได้แก่
1.นางสาวนภารัตน์ เพชรทอง เป็นปราชญ์และต้นแบบการทำปุ๋ยหมัก
2.ผู้ใหญ่สุทัศน์ ไชยเดช เป็นต้นแบบของผู้นำและต้นแบบการพัฒนาทุกเรื่อง
3.นายชาตรี รองเรืองฤทธิ์ เป็นปราชญ์เรื่องการเลี้ยงปลา
4.นายจรูญ ขวัญแก้ว เป็นปราชญ์ด้านการพัฒนาทุกด้าน
5.นางปราณี นะสงคราม เป็นปราชญ์เรื่องการปลูกผัก
โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
เกิดร้านค้าสวัสดิการชุมชน ในพื้นที่ชุมชน รวม 4 โซน ซึ่งหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดการเรื่องสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และ การรีไซเคิล ขยะ โดยมีกรรมการโครงการมาประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง
โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง
เกิดต้นแบบด้านการลด ละ เลิกยาเสพติด ประเภท สุรา บุหรี่ กะท่อมจำนวน 3 รายและต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือน
โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู
บ้านหัวลำพู หมู่ 1 มีวิถีชุมชน แบบ โหนด นา เลในด้านการประกอบอาชีพประมง ชุมชนมีความตระหนักที่จะช่วนกันฟื้นฟู อนุรักษ์สัตว์น้ำในพื้นที่ โดยได้รวมตัวกันของกลุ่มคนทำประมง และเกิดเป็นกลุ่มในการอนุรักษ์ทรัพยากร มีกิจกรรมที่กลุ่มได้ร่วมกันทำ คือ การทำซั้งบ้านปลาการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และการออกตรวจลาดตระเวณในเขตอนุรักษ์โดยกลุ่มอาสาสมัครชาย จำนวน 15 คน
โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
เกิดพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน
1. ลานวัดลานกีฬา
2. สวนสมุนไพรหมู่บ้าน
3. ตลาดนัดผักปลอดสารพิษ
4. โรงเรียน อสม.ห้องเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป
ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน หมู่ที่ ๒ บ้านหาดทรายยาว เป็นศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนที่จะให้ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ประกอบด้วย
๑.พันธ์ุไม้ป่าชายเลนทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้านหาดทรายยาว มีดังนี้ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วดำ ถั่วขาว แสมทะเล แสมขาว แสมดำ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ปรงทะเล เป๋งทะเล หวายลิง เหงือกปลาหมอ
๒.สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน หอยตาแดง หอยกาบ(หอยลอกัน) ปลาตีน หอยเข็ม หอยอูมัง ปูดำ ปูก้ามดาบ ปูเปรี้ยว ปูไฟ(ก้ามมีหลายสี) งูทะเล ตะกรวด นาค หอยลอกัน หอยสันขวาน(เจดีย์) ลิงแสม งูปล้องทอง งูปล้องอ้อย
๓.สัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณชายฝั่ง กุ้งขาว กุ้งหางแดง กุ้งเปลือกแข็ง กุ้งหางแข็ง ปูดำ ปูม้า ปูขีดไฟ ปลากะพงขาว ปลาดุทะเล ปลาพงแดง กั้ง ปลาตรวด(ปลาลาหมา) กุ้งแม่แม่หวัด(กุลาดำ) ปลากระบอก ปลากุเรา หอยแครง ปลาเก๋า ปลากูกู่)
โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว
เกิดพื้นที่เรียนรู้ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในคลองหรือบริเวณคลอง และศึกษาหาข้อมุลที่ชัดเจนในการจัดการคลองให้มีระบบนิเวศดีขึ้นและมีประโยชน์ต่อคน ชุมชน และสังคม ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โครงการ : ร้อยดวงใจ สู่ชุมชนสุขภาวะ วิถีไทยชุมชนบ้านกลาง(ต่อยอด)
เกิดครัวเรือนต้นแบบด้านต่างๆ ได้แก่ ครัวเรือนต้นแบบปลูกผักเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรผสมผสาน,
ครัวเรือนต้นแบบปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน,
ครัวเรือนต้นแบบผักที่เหลือจากการกินนำมาขายเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค
มีต้นแบบบ้านจัดการขยะในชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบการจัดการขยะให้กับคนในชุมชนที่สนใจ เช่น การคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย เป็นต้น
โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์
"เศรษฐกิจพอเพียง" ประโยคนีี้ดูจะคุ้นหูและความรู้สึกของประชาชนในยุคนี้ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ปวงชนชาวไทยได้มีสติ รู้จักคิด รู้จักใช้ งดใช้เงิน-ของฟุ่มเฟือย เพื่ออนาคตของทุกคนจะได้ไม่ยากลำบากในยามเศรษฐกิจทรุด
บ้านควนโพธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้วยสภาพการเป็นอยู่ในชุมชน เน้นการพึ่งพาตนเอง จนเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างที่ดี มีผู้มาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดบ้านควนโพธิ์ส่งเสริมให้ประชาชน ได้นำผักพื้นบ้านมารับประทาน อาทิ ดอกอัญชัน ยอดมะระ ชะอม ใบชะพลู ใบบัวบก ฯลฯ ใช้ประกอบเป็นอาหารหลัก นางนาถลดาชินประสิทธิ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรพื้นบ้าน เล่าให้ฟังการทำหมู่บ้านให้เป๋นแหล่งศูนย์การเรียนรู้นี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องเงิน แต่มุ่งหวังเรื่องการเรียนรู้ ปัญหาคือ ชุมชนอ่อนแอเพราะขาดความรู้ ถ้าเราแบ่งคนเป็น 3 ฐาน ฐานที่ 1 คือคนระดับมันสมอง จะไหลออก ไม่อยู่ในชุมชน ผู้ที่เรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษามักไม่กลับไปบ้านเกิด ทำให้ชุมชนอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้กลับมาซึ่งยากเพราะแต่ละคนมีภารกิจหน้าที่ต้องดูแลครอบครัว เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้คนกลุ่มที่ 2 และ 3 ที่อยู่ในพื้นที่ให้เก่งให้ได้ กลุ่มที่ 3 คือฐานล่าง ที่สุด เพราะมีการเรียนรู้ช้า ต้องใช้เวลาในการพูดคุยหรือทำงานมากกว่ามาตรฐานคนปกติ 3 เท่า จึงจะสามารถขยับตัวขึ้นมาเป็นคนกลุ่มที่ 2 ได้ และทำให้คนกลุ่มที่ 2 พัฒนาเป็นคนกลุ่มที่ 1 แต่อยากให้คนกลุ่มที่ 1 ที่เคยออกจากพื้นที่ กลับมาเยี่ยมเยียนบ้าน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในพื้นที่แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว แต่ต้องใช้เวลา เพราะเป็นการพัฒนาคน สร้างคนรุ่นใหม่จากชุมชน วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับชุมชนฐานล่างให้มากขึ้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ ควรมีศูนย์การเรียนรู้ เพราะศูนย์การเรียนรู้มีค่า ตัวอย่างเช่น วิชาส้มตำถ้าเขากลับไปปลูกมะละกอสัก 5 ต้นก็คุ้มแล้ว สอนทุกเรื่องที่อยากรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใครอีก
นางนาถลดาชินประสิทธิ์ ประธานกลุ่มเกษตรพื้นบ้าน กล่าวว่าที่บ้าน ทำสวนเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกมะนาวในท่อ โดยใช้ปูุ๋ยหลายอย่างเพื่อเป็นการทดลอง เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย เพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว แค่นี้ก็พอใจแล้ว
โครงการ : หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง
เกิดคนต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพและครัวเรือนต้นแบบที่ใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 15ครัวเรือน
โครงการ : อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย
มีแปลงปลูกสมุนไพรตัวอย่าง เนื้อที่ 2 ไร่ มีพืชสมุนไพรปลูก 50 ชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ตะไคร้หอม ย่านาง ค้างคาวดำ หญ้าปักกิ่ง ต้นเนียม หญ้าหวาน บอระเพ็ด เจตมูลเพลิงแดง มะขามป้อม ฟ้าทะลายโจรฯลฯในบริเวณสำนักสงฆ์ป่าลูกโคกสุทธาวาสใสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับคนในชุมชน เยาชน เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง
โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ
-เกิดต้นแบบครอบครัวอบอุ่น
-การจัดการกองทุนสุขภาพ
-กองทุนการทำกุรบาน(พิธีกรรมทางศาสนา)
-เกิดการประชุมร่วมสภาอาซูรอ
โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน
มีการสร้างแหล่งเรียนรู้และใช้เป็นที่ประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย
เกิดแปลงสาธิตพืชผักสมุนไพรจำนวน 2 แปลงและเกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสามารถที่จะให้เด็ก เยาวชนภายในชุมชนได้รู้ถึงสรรพคุณของพืชผักสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเกิดแกนนำในการทำน้ำหมักชีวภาพที่จะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้
โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่
- โครงการนี้เป็นต้นแบบของจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุและ และเป็นต้นแบบของแกนนำในชุมชน
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
- แหล่งเรียนรู้เส้นทางธรรมชาติ ระยะทาง 500 เมตร + ศาลาศูนย์รวม
- แหล่งเรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- แหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี
1. เกิดต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน ซึ่งได้ดัดแปลงพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณหน้าบ้านที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นแปลงปลูกผักปลอดสารพิษและมีการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่องจำนวน 10 ครัวเรือน
2. มีจุดสาธิตและขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน
โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง
-มีบุคคลต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือน
-มีบุคคลต้นแบบในการลดละเลิกบุหรี่/สุรา
-มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองโชน
โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง
การพัฒนาอ่าวตันหยงโปให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีคณะทำงานเป็นตัวขับเคลื่อน ระหว่างคนในชุมชน ชาวประมงพื้นบ้าน ช่วยกันดูแลพื้นที่ ภายในระยะเวลา ๑ ปี ทำให้เกิดศูนย์เรียนรู้ ปูดำ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดในการอนุรักษ์ ดูแล รักษา อ่าวตันหยงโป ต่อไปอย่างยั่งยืน สามารถที่จะให้ผู้ที่สนใจ เข้าศึกษาดูงาน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่งได้
โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )
เป็นแหล่งเรียนรู้ในเยาวชน ประชาชนในชุมและหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาศึกษาด้านพันธุ์สัตว์น้ำพืชสมุนไพร ต้นไม้หายากในป่าชายเลน
โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทรัพย์อนันต์
โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)
เกิดต้นแบบครัวเรียนส่งเสริมสุขภาวะ ครัวเรือนเกษตรผสมผสาน ครัวเรือนส่งเสริมการออมและทางศาสนา และพื้นที่สวนต้นแบบวนเกษตร รวมถึงเกิดพื้นที่การวิจัยแปลงผักที่ไม่ตัดต่อพันธุกรรม และสวนเกษตรผสมผสาน
โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)
กระเป๋ากระดาษมีหูหิ้วใส่อาหาร
เสื้อยืดที่เลิกใช้แล้วเป็นกระเป๋าลดโรคร้อน
โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
- เกิดต้นแบบในพื้นที่ ม.3 จำนวน10 แปลง ที่สามารถทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ต้องพึ่งสารเคมี และเกิดความมั่นคงทางอาหารเพื่อตอบโจทย์ในการส่งเสริมสุภาพ อาหารปลอดภัย ไร้สารเคมี
โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
1.เกิดพื้นที่เรียนรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชน 1 แห่ง คือกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม หรือ ธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน
โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)
จุดรวมพลฝึกซ้อมกลองยาว เผยแพร่เรียนรู้การรำกลองยาว
โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)
เกิดพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้เรื่องการประกอบอาชีพ แบ่งเป็นฐานเรียนรู้ ตามละแวกบ้าน จำนวน 5 ฐานเรียนรู้ คือ
1. ฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคลูกผสม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 15/4 บ้านนางบุญมานาคเนตร
2. ฐานเรียนรู้การทอผ้ายกเมืองนคร ตั้งอย่บ้านเลขที่ 55/1นางสาววันดีปิละวัฒน์
3. ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และขนมไทย17/2บ้านนางสมบัติ ควรรรำพึง
4. ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และการทำบัญชีครัวเรือนบัญชีต้นทุนตั้งอยู้บ้านเลขที่ 168หมู่ที่ 4นางปราณีวางกลอน
5. ฐานเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้าน นายธวัชจิตคำนึงบ้านเลขที่ 11/2หมู่ที่ 4ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง
1.เกิดทีมทำงานในชุมชน "สภาผู้นำ" ในการขับเคลื่อนโครงการฯและกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนบ้านสนีสู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป
2 กลุ่มอาสาตาสัปปะรด โดยมี อสม.น้อยบ้านสนี เยาวชนกลุ่มเสี่ยง เป็นเป็นหู เป็นตาให้กับชุมชนเพื่อเฝ้าระวังภัยทางสังคม ร่วมกับอาสามัครชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและขั้นตอนการลงพื้นที่
3 เกิดข้อตกลง กฏกติกา(ฮูกุมปากัต) ข้อตกลงร่วมของประชาชนในชุมชนบ้านสนี โดยให้ มัสยิด , ศูนย์การศึกษาจริยธรรม ตาดีกานัฮฎอตุ้ลอัฏฟาล (สนีล่าง),ตาดีกาดารุลนาอีม(สนีบน) สถาบันปอเนาะนูรุลกุรอาน และ โรงเรียนบ้านฉลุง เป็นสถานที่ปลอดยาเสพติด และจัดเป็นพื้นที่เรียนรู้ นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
4 เกิดแหล่งเพาะพันธ์พืช กลุ่มธนาคารพันธุ์พืชและแปลงนาสาธิต ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
โครงการ : พลังเยาวชนร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน: คนบ้านปริก
1. แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรปลอดภัย ของนายฟาริด เบ็ญมุสา และนายกอริส โอกาส
2. แหล่งเรียนการจัดการขยะและพลังงานทดแทน นายอาหลีหมัดหนิ และนายซาการียา หมัดเลียด
3. แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพการทำน้ำพริกแห้ง น้ำพริกสมุนไพร
โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว
- ได้ร่วมกับโรงเรียนบ้านบางค้างคาวจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ป่าชายเลน มีสมาชิกจำนวน 25 คน เพื่อเป็นแนวร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน
- ได้จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลนเดือนละ 2 ครั้งโดยเรียนในห้องเรียน 1 ครั้ง และลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง 1 ครั้ง
โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
เกิดตลาดนัดเพื่อสุขภาพหรือตลาดเขียว 1 แห่ง คือ ตลาดใต้เลียบ เป็นตลาดอาหาร ผักสดทุกเช้า รณรงค์สร้างให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง 1 แห่ง
โครงการ : รักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษ์ชีวิต ที่บ้านเขาปู่
เกิดรูปแบบการสร้างฝายมีชีวิต จำนวน 1 จุด
โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน
ฐานกิจกรมทั้งสามฐานมีแนวโน้มว่าสามารถพัฒนายกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย
ป่าต้นน้ำเขาแก้วสามารถยกระดับขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ในการบริหารจัดการป่าต้นได้
โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด
แพปลาชุมชนบ้านคูขุด เป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ของการทำธุรกิจชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่ครอบคลุม ทั้งด้านทรัพยากรพัฒนาศักยภาพ การจัดการกลุ่มกองทุนฯกลุ่มสวัสดิการที่มีอยู่ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน มีฐานข้อมูลชุมชน ข้อมูลสัตว์น้ำ ข้อมูลเขตอนุรักษ์ ฯลฯ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน
โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ
ชุมชนมีทิศทางและแผนงานที่ชัดเจนโดยการต่อยอดจากการทำกิจกรรมในประเด็นการขยายผลองค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชนที่เชื่อโยงในการฟื้นฟูทรัพยากร เช่นการแปรรูปทำกะปิกุ้ง/ปลา ซึ่งเหลือเพียงที่เดียวในพื้นที่ชายฝั่งพัทลุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของหมู่บ้านและตำบลลำปำ โดยประสานแผนทำงานร่วมกับ กศน พัทลุงเรีบยบร้อยแล้ว.ขณะนี้มีผู้รู้ด้านแปรรูบได้แลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเด็กในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่
- มีแหล่งเรียนรู้เรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย
- มีแหล่งเรียนรู้เรื่องการเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหารการปลูกพืชร่วมในสวนยาง
- มีธนาคารพันธ์ไม้ พันธ์พื้นบ้านของชุมชน
- มีศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยมีฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน
โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน
1. กลุ่มการแปรรูปเห็ด เช่น ขนมเห็ดสามรส ห่อหมกเห็ด
2. กลุ่มการเพาะเลี้ยงไส้เดือน มีการผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือน สามารถเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน
3. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่วนหนึ่งสามารถจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร
1. เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่งตามโครงการ
2. เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนอีก 3 แห่ง
3. เกิดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ 1 กลุ่ม
โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง
1.มีพื้นที่ออกกำลังกาย
2.มีแหล่งเรียนรู้ ด้านสุขภาพระดับชุมชนเช่นโรงเรียนบ้านไม้ขาว โรงเรียนนวัตกรรมชุมชน ปราชญ์ุชุมชน
โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
เกิดสถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชน แหล่งใหม่ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ทำให้นักท่องเที่ยวอยากเข้าไปใช้บริการมากยิ่งขึ้น จุดสนใจพิเศษ คือ การเป็น อเมซิง แหล่งถ่ายรูปกลางทะเลลึกใต้สะพานสารสิน ฐานเรียนรู้ ตำนานรักสารสิน
โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
เกิดต้นแบบบัญชีครัวเรือน ได้แก่ นส.บังอร ช่วยสมบัติ
ต้นแบบปลูกผัก นางวิไล นวลศรี นส.จินดา ทองนุ่ม นางปรียา เจริญศรี นายอำพลดำรักษ์
โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก
คุณประเสริฐ ชูสุวรรณ ต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยการคัดแยกขยะในร้านของชำเกิดรายได้ และประโยชน์ในครัวเรือน
นายพวน เงินทอง นำเศษอาหารไปเลี้ยงไก่ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมได้
สท.วินัย เจริญสวัสดิ์ แปรรูปเศษอาหารตามร้านค้า ต่างๆ ไปเลี้ยงไก แพะ ลดรายจ่ายจากการซื้ออาหารสัตว์
โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
- "ลานสุขภาพชุมชน" เป็นพื้นที่เรียนรู้การออกกำลังกายในหลายรูปแบบ เช่น เปตอง แบตมินตัน กะลานวดฝ่าเท้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรที่ปลูกไว้รอบๆ ลานด้วย
โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน
นายวิชาญ หนูเล็ก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราเป็นต้นแบบให้แก่คนในชุมชนและยังประกอบอาชีพหลายด้านทั้งด้ารการเลี้ยงสัตว์ ด้านเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
นาย สัมฤทธิ์ เมืองบรรจง ต้นแบบปลูกพืชปลอดสารพิษ ทั้งกินเอง และเหลือจำหน่าย
โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ
นาย ปภังกร จงไกรจักร ผู้นำเลิกเหล้า และบุหรี่ เป็นตัวอย่างให้กับทุกๆคนในหมู่บ้าน
โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามวิถีชุมชนคนในอดีต
โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด
ศาลาหมู่บ้าน บ้านทุ่งจูดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ซึ่งจะมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์การทำกระจาดดั้งเดิม และขนมคู่กระจาดรวมอยู่ในศาลาอีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้บันทึกไว้ให้เรียนรู้ตลอดสู่รุ่นต่อไป
โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง
1. มีต้นแบบครัวเรือนปลูกผักปลอดสารเคมี 4 ครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดให้แก่สมาชิกคนอื่นๆได้
2.เกิดต้นแบบการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้น้ำหมักจากหอยเชอรี่ และหอยโข่ง 1 ครัวเรือน
โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
- เกิดแปลงสาธิตที่สามารถเรียนรู้ได้ ในโรงเรียนบ้านนาพา โดยมีการปลูกผักพืชบ้านและปลอดสารพิษคือการปลูก ผักเขลียง โดยมีเด็ก จำนวน 20 คน เข้าร่วมโครงการ
มีครัวเรือนต้นแบบจำนวน 25 ครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างและสามารถชักชวนคนในกลุ่มอื่นๆมาเข้าร่วมได้
โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม
-มีเป็นหมู่บ้านให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติ
โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับโครงการฯ โดยได้เข้ามาเป็นแกนนำในการรวบรวมสมาชิก เพื่อจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก ซึ่งเดิมเคยเจอปัญหาการขาดผู้นำที่มีคุณภาพ จนทำให้กลุ่มต้องหยุดกิจกรรม
- เกิดกลุ่มปุ๋ยหมัก
- กลุ่มปุ๋ยหมักได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินเสนอโครงการ
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ
- เกิดครัวเรือนต้นแบบ 20 ครัวเรือน ในการทำบัญชีครัวเรือน
โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2
1.เกิดต้นแบบการเรียนรู้ของชุมชน ในการพึ่งพาตนเองจากการร่วมกลุ่มกัน
2.กระตุ้นในภาพรวม
โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง
แหล่งเรียนรู้กระบวนการชุมชนเพื่อให้เกิดความสามารถจัดการตนเองได้ของชุมชน
โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
1.เกิดการลดการใช้สารเคมีลดลง
2.ชาวบ้านหันมารักสุขภาพในการใช้พืชสมุนไพรมากขึ้น
3.ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่บริเวณข้างบ้านมาเป็นแปลงผักปลอดสารพิษไว้กินเอง
4.แปลงสาธิต 10 แปลงหันมาใช้เกษตรอินทรีย์และใช้น้ำหมักแทนสารเคมีเพิ่มขึ้น
5.พื้นที่บ้านที่น้ำท่วมหันมาใช้ภาชนะที่เหลือใช้มาปลูกผักไว้กินเอง
โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ
ทำสารกำจัดศัตรูพืชจากชื่อไตรโคเดอร์มาร์
ทำสารไล่แมลงจากสมุนไพรกลิ่นฉุน รสขม ผสมสูตรของภูมิปัญญาบ้านพิตำ
โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน
เกิดพื้นที่เรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่สำนักสงค์ถํ่าหลอด
โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
- เกิดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำบ้านปลา/บ้านหอย จำนวน 10 จุด
โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล
ส.อบต. สุรัตนวดี ชุมไชโย
นางสมทรง สรรเพรชผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นจนสามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มทำขนมกล้วยรังนกบ้านคลองเล
จะจดเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป
โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง
- ป่าชุมชนบ้านโกงเหลง เป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการจัดการป่าชุมชน พืชสมุนไพรในชุมชน ที่มีนักเรียนทั้งในชุมชน และนอกชุมชนแวะเวียนมาศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
- เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน 1 จุด คือ บ้านนางอารีย์ จบฤทธิ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน
โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว
1.สภาพแวดล้อมในพื้นเอื้ออำนวยต่อการทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ
2.ชุมชนและสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกพืชแปลงผักการเกษตร
โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก
1.มีต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน 9 ครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดแก่สมาชิกกลุ่มได้
2.มีแหล่งเรียนรู้การทำผ้าฮิญาบทำมือ1 ศูนย์
3.เกิดศูนย์การทำปุ๋ยหมักในชุมชน 1ศูนย์
โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
- มีศูนย์ดูแลสุขภาพด้วยการอบสมุนไพรในชุมชน
โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน
3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน
โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
- เกิดศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิตสมุนไพรเพื่อชุมชน โดยมีการปรับพื้นที่ ปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้น ติดตั้งป้ายสื่อความหมาย ป้ายสรรพคุณ เพื่อให้เป็นที่เรียนรู้ของคนที่สนใจ โดยนำป้ายชื่อสมุนไพร ที่มีทั้งหมด 50 ชื่อ ไปติดให้ตรงกับชนิดของสมุนไพรที่ได้ปลูกไว้แล้วในสวนป่า ซึ่งต่อไปจะเป็นศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิตสมุนไพรชองชุมชน "บ้านเขาปูน"
โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน
3. เกิดแกนนำในการเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพ จำนวน 6 คน
4. แกนนำการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่จำนวน 2 คน
5. แกนนำการทำเกษตรอินทรีลดการใช้สารเคมี จำนวน 25 ครัวเรือน
โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยงไม่มั่วสุมสารเสพติด จำนวน 5 คน
3. มัคคุเทศในชุมชนและครูที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ เป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 8 คน
โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง
-เกิดกลุ่มคนที่เป็นคนต้นแบบเพื่อเป็นแกนนำในการนำร่องปรับพื้นที่ว่างปลูกผักปลอดสารพิษ
โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
- พื้นที่เรียนรู้มโนราห์ และภูมิปัญญาการร้อยลูกปัดทำชุดมโนราห์ ของคณะมโนราห์ผ่องศรีอำนวย เป็นพื้นที่กลางให้เยาวชนมาใช้ประโยชน์ทุกเย็น หรือเสาร์อาทิตย์ จะมีเยาวชนร่วม 20 คน มาซ้อทรำมโนราห์
โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน
3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน
โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. แกนนำ อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 7 คน
3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน
โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. แกนนำชุมชน ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คน
3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน
โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน
2. อสมและแกนนำ ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการลดการสูบบุหรี่ จำนวน 20 คน
3. มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน
โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
- ศูนย์เรียนรู้ดาวเรือง ที่มีการเพาะกล้าดาวเรืองไว้ขาย ไว้แจก มีการอบรมสร้างการเรียนรู้สำหรับคนที่สนใจจะปลูกดาวเรืองเป็นอาชีพเสริม
โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
1. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการเกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนจำนวน 1 องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ จนสามารถจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายได้สำเร็จ โดยมีคณะกรรมการแกนนำ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) นางจำเนียร สิทธิฤทธิ์ 2) นางสาวฉลวย ประชุม 3) นางสมสุข เสนาธิบดี 4) นางฉวี วิรัช 5) นางสาวสาธิตา มะปริด มีหน้าทีในการขับเคลื่อนกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
2. เกิดกลุ่มเต้นแอโรบิคขึ้นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 17.00-18.00 น. และได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เป็นวันเริ่มต้นกิจกรรมเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพของพี่น้องบ้านท่าแห้ง โดยมีนายโยธิน รอดเจริญ เป็นวิทยากรนำออกกำลังกายซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวได้มีป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้พี่น้องชุมชนใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย โดยไม่เก็บค่าบริการ และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้บริการฟรี ทั้งนี้ทางคณะกรรมการโครงการและทางกลุ่มออกกำลังกายยังได้ร่วมกันหาแนวทางในการดึงให้เยาวชนและชาวบ้านมาร่วมออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ในเวลาดังกล่าวด้วย เช่น กีฬาเทเบิ้ลเทนนิส กีฬาฟุดบอล และออกกำลังกายโดยใช้เครื่องออกกำลังกายของหมู่บ้านถึงแม้จะมีไม่กี่ชิ้นและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดก็ตาม ซึ่งตอนท้ายของการประชุมได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการเต้นแอโรบิคมาแนะนำวิธีการออกกำลังกาย "เต้นแอโรบิคอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ" หลังจากนั้นก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเป็นกันเองฉันท์พี่น้อง ซึ่งงบในการจัดหาอาหารดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของพี่น้องบ้านท่าแห้ง
โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง
การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการปลูกและกินผักปลอดสารพิษ ปลอดสารเคมีในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ ถึงหาทางออกในการดูแลสุขภาพของตนเอง