แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการเกาะบุโหลนเลปลอดขยะ

ชุมชน บ้านเกาะบุโหลน ม. 1 ต. ปากน้ำ อ. ละงู จ. สตูล

รหัสโครงการ 55-01883 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0980

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน มีนาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศ

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อบรมเชิงปฏิบัิติการการจัดทำเวปไซท์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีความเข้าใจรายละเอียดในการทำโครงการ สามารถรายงานการปฏิบัติงานของโครงการทางเว๊บไซตได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้ทำอบรมเชิงปฏิบัิติการในเรื่องการทำเว๊บไซตและบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจกระบวนการในเรื่องการทำเว๊บไซตของโครงการและฝึกปฏิบัติการรายงานกิจกรรมผ่านเว๊บไซต์

 

0 0

2. ปฐมนิเทศ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ลงบันทึกข้อมูลในเวป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทีมงานจำนวน สองคน สามารถเปิดเข้าไปใช้งานในเวบได้ สมัครเข้าเป็นสมาชิกและทดสอบการรายงานผ่านหน้าเวบได้ถูกต้อง 2.ทีมงานจำนวน 2 คนมีความมั่นใจในการรายงานผลงานของโครงการผ่านหน้าเวป และมีการนัดแนะกันเพื่อจะไปบอกต่อๆให้สมาชิกในทีมคนอื่นมีความเข้าใจ
3.สมาชิกในทีมได้มีการวางแผนในการทำงานในพื้้นที่เพื่อการรายงาน ได้แก่ การตกลงกันว่าจะใช้คอมพิวเตอร์ของใคร จะรายงานที่ไหน และมีคนช่วยกันจำนวนกี่คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บันทึกงานลงเวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถใช้เวป และลงบันทึกข้อมูลเพื่อการรายงานโครงการได้ถูกต้อง

 

0 0

3. สื่อสารประชาสัมพันธ์(กิจกรรมย่อย ประชาสัมพันธ์โครงการ )

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชาสัมพันธ์โครงการเกาะบุโหลนเลปลอดขยะให้ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ทุกคนบนเกาะได้รับทราบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แกนนำได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านเข้าใจและเข้าร่วมโครงการได้อย่างสมัครใจจำนวนชาวบ้านที่รับทราบโครงการให้ความสนใจและบอกว่าจะมาร่วมในวันเปิดโครงการ จำนวนประมาณ 80 คน โดยมีทั้งชาวบ้าน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว
  2. แกนนำสนุกสนาน กับการประชาสัมพันธ์มีเด็กๆบนเกาะมาช่วยติดป้ายประชาสัมพันธ์ และช่วยเดินบอกต่อให้
  3. ผู้ใหญ่บ้านมีสีหน้าสดชื่นและแสดงความชื่นชอบในการทำงานของแกนนำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. แกนนำของโครงการจำนวน 7 คน เดินประชาสัมพันธ์รอบเกาะ  โดยการบอกปากเปล่าและติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดต่างๆ ได้แก่ ทางเดินของเกาะ บ้านแกนนำ บ้านผู้ใหญ่บ้่าน
  2. แกนนำของโครงการแจ้งวันเวลาที่เปิดโครงการเพื่อให้ชาวบ้าน ผู้ประกอบการมาเข้าร่วม และได้แจ้งถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะของกิจกรรมในโครงการบ้าง เช่น การจัดทำธนาคารขยะ การรณรงค์ให้แยกขยะที่บ้าน เป็นต้น
  3. ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ผ่านที่ประชุมของหมู่บ้านโดยให้แกนนำได้มีโอกาสไปพูดคุยและแนะนำวัตถุประสงค์ แนะนำทีมงาน ของความร่วมมือชาวบ้านในการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. แกนนำจำนวน 5 คน ได้มีการประชาสัมพันธ์ตามแผนโดยการเดินบอกปากเปล่าและติดป้ายตาม่จุดที่ได้วางไว้
  2. แก่นนำโครงการได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ ลักษณะกิจกรรมของโครงการพร้อมนัดวันที่เปิดโครงการเพื่อให้ชาวบ้านมาร่วมมากๆ
  3. ผู้ใหญ่บ้านมีการประชาสัมพันธ์โครงการตลอดที่มีการประชุมและทุกครั้งที่มีนักท่องเที่ยวหรือหน่วยงานราชการมาติดต่อเพื่อดำเนินงานต่างๆบนเกาะบุโหลน เช่น นักศึกษาจากคณะพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

0 0

4. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อทำความเข้าใจกับแกนนำในการดำเนินโครงการ
  2. เพื่อหารือมาตราการจัดการขยะ การแยกขยะและแปรรูป
  3. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของแกนนำในการร่วมระดมความคิด วางแผนการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดแกนนำในการขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะในชุมชนเกาะบุโหลนเล
  2. มีการกำหนดวันที่ 28-29 พฤศจิกายน เป็นวันเปิดโครงการและจัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะการจัดการขยะของเกาะ
  3. แกนนำมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมแกนนำจำนวน 6 คนที่บ้านนางปรีดา โสรมณ์
  2. หารือวันเปิดโครงการ และวันจัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะการแยกขยะ
  3. หารือมาตรการจัดการขยะ และแยกขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมแกนนำจำนวน 6 คนที่บ้านนางปรีดา โสรมณ์ โดยมีนางปรีดาโสรมณ์เป็นประธานและนางสาวภัทริกา องศาราเป็นเลขา จำนวนสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 6 คน
  2. หารือวันเปิดโครงการ ได้เป็นวันที่ 28-29 พฤศจิกายน โดยเริ่มงานตอนเย็นและอบรมตอนเช้าของวันที่ 29 พฤศจิกายน ลักษณะกิจกรรมให้มีการแสดงในวันที่ 28 ตอนกลางคืนเพื่อให้มีคนมาร่วมจำนวนมาก
  3. หารือมาตรการจัดการขยะ และแยกขยะโดยทุกคนเห็นด้วยการการจัดทำธนาคารขยะและช่วยกันคิดหาทีมงานให้ให้ครบถ้วนหาดต่างๆบนเกาะ

 

0 0

5. 1 เปิดเวทีเตรียมความพร้อม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการบุโหลนเลปลอดขยะและเปิดโครงการ
  2. เพื่อใหชาวบ้านบนเกาะมีส่วนร่วมในโครงการ
  3. เพื่อให้ความรู้เรืองขยะ การจัดการขยะบนเกาะ
  4. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะ
  5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแกนนำโครงการ ทีมงานและชาวบ้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนเข้าร่วมโครงการจำนวนมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้
  2. เกิดแกนนำจำนวน 3 กลุ่ม
  3. ประชาชนทุกกลุ่มเข้าร่วม ได้แก่ ชาวบ้านทั่วไป ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ คือ อุทยานแห่งชาติ  ครู นักเรียน หน่วยงานสาธารณสุข
  4. ประชาชนบนเกาะรับทราบโครงการกันอย่างทั่วถึงทุกอ่าว
  5. มีการเดินสำรวจรอบเกาะโดยแกนนำร่วมกับทีมวิทยากร พี่เลี้ยง เพื่อประเมินก่อนดำเนินโครงการ เรื่องจำนวนขยะ พบว่ามีขยะตามชายหาดมากพอสมควร ผู้ประกอบการไม่มีการแยกขยะ ครัวเรือนต่างๆบนเกาะไม่มีการแยกขยะ และชุมชนบนเกาะแบ่งตามหาด ได้แก่ หาดบังกาน้อย บังกาใหญ่ อ่าวม่วง อ่าวโรงเรียน จึงมีคำแนะนำจากพี่เลี้ยงให้มีการจัดหาแกนนำให้ได้ครบทุกหาด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เปิดโครงการ โดยการชีแจงวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ เพื่อสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องในการจัดการขยะของประชาชน และเพื่อสนับสนุนกลไกลชุมชนในการจัดการขยะอย่างครบวงจร
  2. ชาวบ้านบนเกาะมาร่วมงานอย่างน้อย 80 คน
  3. มีการอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องขยะ การจัดการขยะ มีการสร้างมาตรการร่วมกันในการจัดการขยะของเกาะ
  4. เพื่อให้ชาวบ้านบนเกาะได้มาร่วมงานและมีกิจกรรมผ่อนคลายสร้างความสนุกสนาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กิจกรรมที่เกิดได้แก่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 เริ่มงาน เวลา 17.00-22.00 น.มีชาวบ้านเข้าร่วมจำนวน 112 คน มีกิจกรรมการแสดงโดยวิทยากรจากวง ครัวราบารา ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญตัวแทนจากสสส.ได้แก่ พี่เลี้ยงคุณนภาภรณ์ แก้วเหมือน มากล่าวที่มาของโครงการและร่วมร้องเพลงสุนกสนานกับชาวบ้าน หลังจากนั้นมีการแสดงรอเง็งของสมาชิกแม่บ้านซึ่งเป็นชาวเลบนเกาะและได้มีการแจกรางวัลโดยการสนับสนุนรางวัลของพี่เลี้ยงจากสสส. และมีการให้ชาวบ้านนักท่องเที่ยวรับประทานอาหารร่วมกัน และร่วมแสดงความคิดเห้นเกี่ยวกับโครงการ
  2. กิจกรรมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เริ่มงานเวลา 9.00 น- 15.00 น.มีชาวบ้านมาเข้าร่วมจำนวน 120 คน กำหนดการได้แก่
      -  เปิดงานโดยตัวแทนจากสจรส. มอ. กล่าวเปิดงานให้โอวาส   -  พี่เลี้ยงโครงการกล่าวถึงที่มาของโครงการ แนะนำสมาชิกโครงการและจำนวนงบประมาณที่ได้รับ การตรวจสอบงบประมาณผ่านหน้าเว็ป
      -  ตัวแทนแกนนำ กล่าวถึงการดำเนินงานของโครงการแนะนำสมาชิก   -  อบรมให้ความรู้เรืองประเภทของขยะ ทีมาของขยะ และการจัดการขยะวิธีการต่าง รวมถึงการนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยวิธีต่างๆ เช่น การขาย การทำปุ๋ยหมัก การดัดแปลงทำเป็นอุปกรณ์นำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น   -  เปิดเวทีสะท้อนข้อมูลของขยะบนเกาะโดยแกนนำ และการขอความร่วมมือในการดำเนินงาน   -  กิจกรรมสร้่างแรงบันดาลใจ โดยวงครัวราบารา เปิดวีดีโอ ชุดอัลเลาะโน เพื่อให้มิติทางศาสนาในการเหนี่ยวนำให้ทำความดีมีแรงบันดาลใจ
      -  ประชาชนที่มาร่วมงานแสดงความคิดเห็น และกล่าวความรู้สึกต่อทีมงาน   -  กล่าวคำสัญญาในการดำเนินโครงการ จัดมือร่วมกันและให้มีการลงชื่อครัวเรือนที่เข้าร่วมดำเนินโครงการ

 

0 0

6. การจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน(กิจกรรมย่อย จัดทำธนาคารขยะ)

วันที่ 2 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างโรงเรือนธนาคารขยะเป็นแหล่งรับซื้อขยะจากชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีโรงเรือนธนาคารขยะในุมชนและมีการรับซื้อขยะจากชาวบ้านที่นำมาขายกับธนาคารขยะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สร้างโรงเรือนธนาคารขยะ 1 แห่ง ในบ้านเกาะบูโหลนขนาด กว้าง 6 เมตรยาว 7 เมตร มีฝากั้นหลังคามุงสังกะสีบนพื้นที่บริจาคให้โดยชาวบ้านบนเกาะ
  2. จัดทำป้ายธนาคารขยะติดหน้าโรงเรือนธนาคารขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการสร้างโรงเรือนธนาคารขยะโดยกลุ่มแกนนำจำนวน 5 คน และจ้างวานผู้ที่มีความชำนาญมาช่วยอีก 2 คน

 

0 0

7. พัฒนาสวัการจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน(กิจกรรมย่อย รับซื้อขยะชุมชน)

วันที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้มีการนำขยะมาขายทุกเดือน
  2. เพื่อรับซื้อขยะจากชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านและตัวแทนจากร้านอาหารให้ความร่วมมือดี
  2. แกนนำติดภาระกิจบ้างและมีการส่งตัวแทนมาช่วยงานบางส่วน
  3. การรับซื้อและกิจกรรมหยุดชงักเพราะมีวฝนตกต้องให้ชาวบ้านนำขยะมาขายในวันต่อมา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชาสัมพันธ์ให้มีการนำขยะมาขายทุกเดือน
  2. กลุ่มแกนนำช่วยกันตรวจการคัดแยกขยะและรับซื้อขยะ
  3. กลุ่มแกนนำร่วมกันจัดทำบัญชีรับซื้อขยะจากชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. มีชาวบ้านนำขยะมาขาย จำนวน 8 คน และรีสอร์ทต่างๆจำนวน 7 แห่ง
  2. จำนวนขยะที่รับซื้อมีดังนี้ ขวดแก้ว 157 กิโลกรัม ขวดพลาสติก 150 กิโลกรัม กระดาษลัง 100 กิโลกรัม กระป๋องนม 48 กิโลกรัม กระป๋องน้ำอัดลม 23 กิโลกรัม ได้นำไปขายบนฝั่งได้เงินมาจำนวน 3176 บาท

 

0 0

8. การจัดทำข้อมูลสถานการณ์ขยะชุมชน(กิจกรรมย่อย )

วันที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแกนนำและเยาวชนโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ
  2. เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแกนนำโครงการ เยาวชนและประชาชนทั่วไปบนเกาะ
  3. เพื่อจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ให้กับประชาชนบนเกาะ
  4. เพื่อประเมินผลการตอบรับของประชาชนในการดำเนิ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนบนเกาะมาร่วมงานจำนวนมากทั่วทุกอ่าวบนเกาะ
  2. บรรยากาศในงานสนุกสนาน มีเสียงหัวเราะรอยยิ้ม และคนร่วมงานจนถึงงานเลิกเวลา 22.30 น.
  3. ผลประเมินตอบรับโครงการดีมาก ประชาชนให้ความร่วมมืออยากให้มีโครวการต่อเนื่องแบบนี้นานๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ให้กับประชาชนบนเกาะ
  2. ประเมินผลการตอบรับของประชาชนในการดำเนินโครงการ
  3. กิจกรรมสันทนาการระหว่างชาวบ้านโดยแทรกกิจกรรมการแยกขยะ จิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม
  4. มอบรางวัล ของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กำหนดการวันที่ 17 ธันวาคม 2555 เริ่มงาน 18.00 น
    • เปิดงานแบบสนุกสนานโดยทีมวิทยากรวงครัวราบารา
    • การแสดงของแกนนำ 1 ชุด
    • การแสดงกลุ่มเยาวชน กลุ่มตาวิเศษของเกาะ 1 ชุด
    • กิจกรรมสันทนาการ จับรางวัล ครอบครัวอบอุ่น
    • กิจกรรมตอบปัญหา เช่น ชนิดของขยะ การทำลายขยะ รับรางวัล
    • จับรางวัลผู้ลงทะเบียนร่วมงาน โดยรางวัลทุกชิ้นได้รับการสนับสนุนจากทีมพี่เลี้ยงโครงการ
    • ทีมแกนนำจากอ่าวต่างๆ ได้แก่ อ่างบังกาน้อย อ่าวบังกาใหญ่ อ่าวโรงเรียน อ่าวม่วง กล่าวถึงการดำเนินงานแต่ละอ่าวและแสดงความรู้สึกต่อการดำเนินโครงการ
    • สันทนาการสลับกับการจับรางวัล
    • ปิดงานเวลา 22.30 น และประชาสัมพันธ์เรืองการจัดอบรมในวันรุ่งขึ้น เป็นการอบรบแกนนำและกลุ่มเยาวชนแกนนำ
  2. ประเมินเสีียงตอบรับโครงการจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและลงทะเบียนในงาน

 

0 0

9. การจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อพัฒนาสวัสดิกการชุมชน(กิจกรรมย่อย)

วันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อทำความเข้าใจกับแกนนำในการจัดการกับขยะของชุมชน
  2. เพื่อจัดตั้งทีมแกนนำในเยาวชนเป็น ตาวิเศษของเกาะ
  3. เพื่อให้แกนนำในกลุ่มและเยาวชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแกนนำและเยาวชนโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านตกลงจะให้ความร่วมมือในการกำจัดขยะบริเวณที่ตนอยู่ช่วยกันดูแลความสะอาด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดการขยะ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกวิธี
  2. กิจกรรมสันทนาการสลับกับให้ความรู้ เช่น แบ่งกลุ่มคัดแยกขยะ กิจกรรมร้องเพลง
  3. แบ่งกลุ่มจัดทำสถานการณ์ขยะบนเกาะ แหล่งที่มาของขยะ การจัดการขยะแต่ละวิธี
  4. คัดเลือกตัวแทนแกนนำและตัวแทนเยาวชนในการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดอบรมเยาวาชนแม่บ้านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันระหว่างเยาวชนแม่บ้านและวิทยากรและแกนนำ
  2. มีรายชื่อแกนนำแต่ละอ่าวพร้อมทั้งผู้นำของแต่ละอ่าวและตัวแทนเยาวชนในการดำเนินงาน

 

0 0

10. การจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน(กิจกรรมย่อยรับซื้อขยะชุมชน)

วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ชุมชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนบ้านเกาะบุโหลน
  2. เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณขยะและเห็นถึงคุณค่าของขยะที่สามารถนำมาเป็นรายได้ของครอบครัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านนำขยะมาขายโดยแยกขยะได้อย่างถูกต้อง รีสอร์ทร้านค้าต่างๆมีการคัดแยกขยะและนำขยะมาขายมากขึ้น
  2. ชาวบ้านเริ่มกระจายข่าวกันมากขึ้นและมีการพูดกันปากต่อปากในการับซื้อขยะของชุมชนทุกเดือน เริ่มมีการพูดคุยถึงการดำเนินการที่สะดวกขึ้น เช่น ให้มีการขนขยะให้สะดวกโดยอาจเป็นรถเข็นหรือแกนนำช่วยกันขน และพูดคุยถึงราคาขยะรับซื้อ เลือกชนิดขยะที่ดี เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประช่าสัมพันธ์ให้มีการนำขยะมาขาย
  2. รับซ์้อขยะจากชุมชน
  3. ชาวบ้านนำขยะมาขาย โดยมีแกนนำร่วมกันรับซื้อขยะจากชาวบ้านและบันทึกจำนวนเงินที่ได้จากการขายขยะลงในสมุดบัญชีเงินฝากของแต่ละคน
  4. แกนนำนำขยะที่รับซืื้อไปขายบนฝั่งและนำเงินมาให้กับชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. มีชาวบ้านนำขยะมาขายเป็นจำนวนมากกว่าเดิม่ และมีผู้ประกอบการร้านอาหาร รีสอร์ทต่างๆเพิ่มมากขึ้น
  2. จำนวนขยะที่รับซื้อทั้งหมดมีปริมาณมากกว่าเดือนก่อน
  3. แกนนำนำขยะทั้งหมดไปขายบนฝั่งได้เงินมาจำนวน 4,419 บาทและจัดให้กับสมาชิกที่ได้มาขาย

 

0 0

11. สื่อสาประชาสัมพันธ์(กิจกรรมย่อย เปิดเสียงตามสายเชิญชวนให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะชุมชน)

วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านและเยาวชนบ้านเกาะบูโหลนให้ความสนใจ และตอบรับในการเข้าร่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดเสียงตามสายที่มัสยิดบ้านเกาะบูโหลน โดยเชิญชวนให้ชาวบ้านมาร่วมการจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะชุมชนในวันที่ 23 มกราคม 2556

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการเปิดเสียงตามสายที่มัสยิดบ้านเกาะบูโหลน โดยเชิญชวนให้ชาวบ้านมาร่วมการจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะชุมชนในวันที่ 23 มกราคม 2556

 

0 0

12. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 22 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมแกนนำโครงการเพื่อรายงานความก้าวหน้าและบอกถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำโครงการเกิดความเข้าใจในโครงการและร่วมกันปรึกษาหารือแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำโครงการร่วมกันปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการร่วมกันปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มีคณะแกนนำมาประชุม 8 คน

 

0 0

13. จัดตั้งกองทุนขยะเพื่อสวัสดิการชุมชน

วันที่ 23 มกราคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อจัดทำแนวทางการจัดตั้งกองทุนและการดำเนินงานของชุมชน
  2. เพื่อหารายชื่อสมาชิกในการดำเนินงานของกองทุน
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การจัดตั้งกองทุนเกิดจากความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
  2. สมาชิกกองทุนได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในพื้นที่
  3. ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมมาด้วยความสมัครใจ
  4. บรรยากาศในที่ประชุมเป็นไปด้วยดีมีความเห็นร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมประชาชนและแกนนำเพือหารือแนวทางการจัดตั้งกองทุนและดำเนินงานของชุมชน
  2. คัดเลือกสมาชิกในการดำเนินงานของกองทุน
  3. จัดตั้งกองทุน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. มีการประชุมประชาชนและแกนนำตามเวลาที่กำหนดเพื่อร่วมกันหารือแนวทางการจัดตั้งกองทุนและดำเนินงานของชุมชน
  2. มีการคัดเลือสมาชิกในการดำเนินงานของกองทุน
  3. มีการจัดตั้งกองทุน

 

0 0

14. ปรับพื่นที่ให้สะอาด

วันที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เยาวชนและชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนบ้านเกาะบุโหลน
  2. เพื่อให้เยาวชนและชุมชนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเหมาะสม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการปรับพื้นที่บริเวณชายหาด โดยมีแกนนำ เยาวชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันทำความสะอาดทำให้บริเวณชายหาดสะอาดยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำร่วมกับเยาวชนทำความสะอาดตามอ่าวบริเวนชายหาด

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำร่วมกับเยาวชนทำความสะอาดตามอ่าวบริเวนชายหาด โดยมีแกนนำ เยาวชน และนักท่องเที่ยว รวมกัน จำนวน 25 คน

 

0 0

15. ปรับพื้นที่ให้สะอาด

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เยาวชนและชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนบ้านเกาะบุโหลน
  2. เพื่อให้เยาวชนและชุมชนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเหมาะสม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. บริเวณชายหาดพังกาน้อยสะอาดไม่มีขยะให้เห็น
  2. แกนนำและเยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการพูดคุยสนุกสนานและนัดแนะกันในการมาช่วยกันเก็บขยะในอีกเดือนต่อไป
  3. เกิดตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. แกนนำร่วมกับเยาวชนร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการทำความสะอาด
  2. ทุกคนร่วมกันทำความสะอาดตามอ่าวบริเวนชายหาดพังกาน้อยเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร
  3. ทุกคนร่วมกันนำขยะที่ได้ไปแยกให้กับกองทุนขยะและกำจัดโดยการเผาตามที่เหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. แกนนำร่วมกับเยาวชนกำหนดพื้นที่ในการทำความสะอาดได้แก่อ่าวบริเวนชายหาดพังกาน้อย
  2. ร่วมกันคัดแยกให้กับกองทุนขยะและกำจัดโดยการเผา
  3. แกนนำกล่าวขอบคุณในการสละเวลาและสรรเสริญความดี

 

0 0

16. การจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อพัฒนาสวัสดิการชุมชน(กิจกรรมย่อย รับซื้อขยะชุมชน)

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ชุมชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนบ้านเกาะบุโหลน
  2. เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณขยะและเห็นถึงคุณค่าของขยะที่สามารถนำมาเป็นรายได้ของครอบครัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านและผู้ประกอบการให้ความร่วมมือมากขึ้นและแยกขยะได้อย่างถูกต้อง
  2. มีการรับทราบอย่างทั่วถึงทั้งเกาะในเรื่องธนาคารขยะและกองทุนขยะของเกาะ
  3. นักท่องเที่ยวมาสมทบและผู้ใหญ่บ้านขอคำแนะนำจากแกนนำและอยากให้มีโครงการนี้บนเกาะบุโหลนดอนซึ่งเป็นเกาะที่ใกล้เคียงกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประช่าสัมพันธ์ให้มีการนำขยะมาขาย
  2. รับซ์้อขยะจากชุมชน
  3. ชาวบ้านนำขยะมาขาย โดยมีแกนนำร่วมกันรับซื้อขยะจากชาวบ้านและบันทึกจำนวนเงินที่ได้จากการขายขยะลงในสมุดบัญชีเงินฝากของแต่ละคน
  4. จัดเก็บขยะในโรงขยะให้เป็นระเบียบ
  5. แกนนำนำขยะที่รับซืื้อไปขายบนฝั่งและนำเงินมาให้กับชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. มีชาวบ้านนำขยะมาขาย
  2. มีการแยกขยะ ชั่งน้ำหนักขยะและลงบันชีขยะของแต่ละคน หรือร้านค้า รีสอร์ท
  3. มีการคัดแยกขยะพักในโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สวยงาม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 28 16                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 186,000.00 93,873.00                  
คุณภาพกิจกรรม 64 46                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. ในการประชุมดครงการแต่ละครั้ง แกนนำมาไม่ค่อยครบ เนื่องจากติดธุระที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวของตัวเอง
  2. การขนย้ายขยะเพื่อนำไปขาย มีความยากลำบาก เพราะต้องขนย้ายลงเรือ ซึ่งบ้างครั้งภูมิอากาศในทะเลไม่แน่นอน

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางปรีดา โสรมณ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ