directions_run

สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน

รหัสโครงการ 55-01822 รหัสสัญญา 55-00-1015 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

1 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในหมู่บ้านเดิมรู้จัก 30 ชนิด ปัจจุบัน 146 ชนิด 2 มีความรู้เรื่องอบสมุนไพร 3.มีความรู้เรื่องทำลูกประคบสดและประคบแห้ง รู้จักตำรับสมุนไพร
ได้เรียนรู้ข้อมูลจากปราชญ์ชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่ศาลาเอนกประสงค์ ได้แก่
ความรู้เรื่องสมุนไพร ฐานอบสมุนไพร
ฐานประคบสมุนไพร

พัฒนาเป็นคู่มือความรู้ชุมชนด้านสมุนไพร

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

ลูกประคบ ชุดอบสมุนไพร สวนสมุนไพรชุมชน ตำรับยาสมุนไพร ชาใบขลู่และชาตระไคร้

เก็บไว้ที่ศาลาเอนกประสงค์ และสมุนไพรดูจากบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 51 หลังคาเรือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เดิมทำงานแบบตัวใครตัวมัน ไม่สนใจการพัฒนาชุมชนแต่ตอนนี้รวมตัวกัน ทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รวมทั้งมีการชักชวนผู้นำชุมชนเข้ามาร่วมทำงาน

1.บันทึกการประชุมและลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 2.มีการจัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศาลาเอนกประสงค์ 3.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม
4.มีภาคีร่วมทำงานและสนับสนุนกิจกรรมได้แก่
-อบต.เขาพระบาท สนับสนุนงบประมาณ -รพ.สต.เขาพระบาท เป็นพี่เลี้ยง ผู้ใหญ่ เป็นแกนนำร่วมทำกิจกรรม กองทุนฯ ให้สนับสนุนงบ
อบจ.สนับสนุนงบประมาณ -โรงเรียนวัดพระบาท ร่วมกิจกรรม

พัฒนาเป็นสภาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

การรวมกลุ่มกันทำงานอย่างชัดเจน  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มอบหมายงานอย่างเป็นทางการ และชี้แจงบทบาทของแต่ละบุคคล และทุกคนทำงานด้วยความสมัครใจ แบ่งกลุ่มกันปลูกสมุนไพร  3 กลุ่ม สมุนไพรไม่เหมือนกัน
กลุ่มบ่อหลา เน้นสมุนไพรที่ใช้อบ กลุ่มทางพล เน้นสมุนไพรประคบ กลุ่มในค่าย เน้นสมุนไพรทั่วไป สรรพคุณ

บ้านกลุ่มเป้าหมายมีการปลูกสมุนไพร โรงเรียนวัดพระบาท ปลูกสมุนไพร เอกสารบันทึกการประชุมและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน

พัฒนาเป็นสภาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

มีกลุ่มเกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ กลุ่มทำลูกประคบ กลุ่มทำชุดอบ กลุ่มปลูกสมุนไพร 3 กลุ่มบ้าน กลุ่มนักเรียน

1.ทะเบียนรายชื่อและสมาชิกกลุ่มเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ บ้านกลุ่มเป้าหมาย

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
ที่ศาลาเอนกประสงค์เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวสวนสมุนไพรในชุมชน  ฐานเรียนรู้การทำประคบ  ฐานเรียนรู้การอบสมุนไพร  โรงเรียนวัดพระบาททำสวนสมุนไพรเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

1.แหล่งเรียนรู้ที่ศาลาเอนกประสงค์

พัฒนาเป็นห้องเรียนชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

ครัวเรือนเป้าหมาย 51 ครัว ได้รับความรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและปลูกสมุนไพรที่บ้าน 5 ชนิด ครัวเรือนเป้าหมายนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพตัวเอง ได้แก่ ดื่มชาใบขลู่เพื่อลดระดับความดันโลหิต  ประคบสมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ  อบสมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย วัยทอง เหน็บชา นอนไม่หลับ ลดน้ำหนัก หอบหืด ภูมิแพ้

จากการถอดบทเรียนของกลุ่มเป้าหมาย

พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

ครัวเรือนมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการปรุงอาหาร เป็นอาหารสุขภาพ ได้แก่
ข้าวยำสมุนไพร มีผักพาโหม ใยยอ ชะพลู ใบขมิ้น ตะไคร้ ใบมะกรูด ยอดข่า  ใบผักพื้นบ้าน มีสารอาหารต้านมะเร็ง แก้เลือดลม ลดท้องอืด เป็นยาระบาย
แกงเลียงผักรวม ได้แก่ ตำลึง ยอดพริกขี้หนู ผักหวาน ยอดรกช้าง ยอดลำเท็ง ยอดขาม ยอดส้มป้อย สรรพคุณแก้ท้องอืด ช่วยย่อย เจริญอาหาร ช่วยฟื้นไข้

ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักและนำมาประกอบเป็นอาหาร
เป็นข้อมูลที่ได้จากการถอดบทเรียน

พัฒนาเป็นเมนูอาหารสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

1.ครัวเรือนเป้าหมายได้ออกกำลังกาย จากการเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่  ออก่แรงขุดดินปลูกสมุนไพร รดน้ำสมุนไพร ในแต่ละวันใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

1.ข้อมูลได้จากการบันทึกการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่ 2.จากการเก็บข้อมูลและติดตามเยี่ยม ซึ่งเก็บไว้ที่ฐานเรียนรู้ชุมชน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

1.มีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้ชุมชนและบ้านกลุ่มเป้าหมาย

1.ป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารเอนกประสงค์และศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

1.กลุ่มเป้าหมายมีการพูดคุยจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น มีการพูดคุยโดยใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ 2.กลุ่มเป้าหมาย มีสีหน้ายิ้มแย้ม  ได้ทำกิจกรรม ได้กลิ่นสมุนไพร ทำให้อารมณ์ดี เกิดจากกลไกการทำกลุ่ม ทำให้คนสุขภาพดี
3.กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ได้ดูแลสุขภาพตนเองไปด้วย เพราะการสูดกลิ่นสมุนไพรก็เป็นการรักษาสุขภาพด้วย 4 ทำให้ประชาชนหันหน้ามาพูดคุยมากขึ้น ลดทิฐิ เป็นการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

1.จากบันทึกผลการถอดบทเรียน 2.ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกสมุนไพรและนำสมุนไพรมาใช้ มีการแปรรูป

พัฒนาเป็นแนวทางสร้างสุขชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

นำสมุนไพรดังกล่าวมาใช้ในชีวิตประจำวัน
นำมาปรุงอาหาร
ใช้ในการรักษาโรค ได้แก่ กินขมิ้นแก้โรคกระเพาะ เป็นหวัดอบสมุนไพร กินฟ้าทะลายโจร
ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาหรือไปหาหมอ เป็นการประหยัดรายจ่าย ดูแลตนเองได้เมื่อเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ
คนในชุมชนไม่สบาย ปราชญ์ชุมชนสามารถวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้นได้
ใช้ในการบำบัดโรค ได้แก่ นำคลอโรฟิลล์ลดน้ำตาลในเลือด
ช่วยในการบำบัดร่างและฟื้นฟูสุขภาพ เช่น การดื่มน้ำสมุนไพรใบเตย น้ำผัก ทำให้ร่างกายสดชื่น
ลดการกินสารเคมีหรือสารปรุงแต่ แต่ใช้สมุนไพรสดแทน
สอนให้เยาวชนได้รู้จักสมุนไพร เช่น คดข้าวยำไปโรงเรียน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

1.ครัวเรือนเป้าหมาย 51 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้สมุนไพร ทั้งสรรพคุณ วิธีการปลูกและการนำไปใช้ในการดูแลตนเอง รวมทั้งนำสมุนไพรไปใช้ปรุงอาหาร เป็นยารักษาโรค
2.ครัวเรือนเป้าหมาย 51 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุข บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

1.จากหลักฐานบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยงพื้นที่ 2.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมายมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจากข้อมุลการติดตามผลของหัวหน้าโครงการ

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

1.มีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ ในการปลูกสมุนไพร  ไม่ใช้สารเคมี เป็นการอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ

1.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย และบันทึกการประชุม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

ชาวบ้านรู้สึกรัก หวงแหนสมุนไพร และพร้อมใจที่จะปลูกสมุนไพร โดยไม่ต้องคะยั้นคะยอ เกิดความเอื้อเฟื้อ มีสมุนไพรดีๆ ก็จะนำมาฝากและแจกจ่ายให้ปลูกกันทุกๆ บ้าน
1.เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ได้ช่วยกันทำงาน ได้แก่ พ่อแม่ปลูกสมุนไพร ตอนเย็นลูกกลับจากโรงเรียนก็ช่วยรดน้ำ หรือตอนเย็นก็ไปช่วยหาสมุนไพรทำลูกประคง ตอนค่ำๆ ก็กินข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว ลดปัญหายาเสพติดในชุมชน  ป้องกันไม่ให้บุตรหลานออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้าน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

1.ครัวเรือนเป้าหมาย  51 ครัวเรือน ลดรายจ่ายในการไปรักษาพยาบาล จากเดิม 1 ครั้งต่อเดือน ตอนนี้ 3 เดือนครั้ง มาหาหมอ ได้แก่ ราคามอเตอร์ไซด์รับจ้าง ไปกลับ 60 บาทต่อครั้งต่อเดือน ถ้า 3 เดือน 180บาท ปัจจุบันจ่ายแค่ 60 บาท เหลือ 120 บาท ซึ่งเป็นเงินเก็บได้
2.ครัวเรือนสามารถปลูกสมุนไพรขายได้ประมาณ 300 - 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นเงินออม
3 ส่งเสริมการกินผัก โดยไม่ต้องซื้อผักจากตลาด ลดรายจ่ายค่าผักได้ประมาณเดือนละ 500 – 1000 บาทต่อเดือนต่อครัว
ครัวเรือนเป้าหมายปลูกสมุนไพร ไม่ต้องซื้อจากรถเร่ ทำให้ประหยัด ลดค่าใช้จ่าย
3.ส่งเสริมให้ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้รับประทานเองข้างบ้าน  ได้อาหารสะอาด สด ปลอดสารเคมี โดยปลูกคู่กับสมุนไพร แมลงไม่กัดกิน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

พัฒนาโดยให้จัดทำบัญชีครัวเรือน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

ส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกในการดแลสุขภาพ ได้แก่ การประคบสมุนไพร การอบ รักษาโรคปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ วัยทอง มีผู้รับบริการอบสมุนไพร จำนวน 105 คน ผู้รับบริการทุกคนพึงพอใจ สุขภาพดีขึ้น เฉลี่ยผู้รับบริการวันละ 7 คน เปิดบริการทุกวัน เว้นวันอาทิตย์

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

กฎของกลุ่มสมุนไพร คือ
1.เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตชุดประคบหรือชุดอบสมุนไพร เก็บรวบรวมไว้ที่กองกลางคือฐานเรียนรู้ ใครจะใช้ต้องมายืม และใครทำเสียหายต้องหามาคืน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

พัฒนาเป็นระเบียบหมู่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

กติกาของกลุ่มสมุนไพร
ให้กลุ่มเป้าหมาย ปลูกสมุนไพร5ชนิด ตามกลุ่มบ้าน
ให้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มสมุนไพร ถ้าไม่ปลูกสมุนไพรจะไม่รับการพิจารณา สมาชิกกลุ่มถ้ารับบริการอบสมุนไพร ประคบ ให้บริการฟรี 3 ครั้ง ครั้งถัดไปเสียค่าบริการ เพียงร้อยละ 70
บุคคลที่ไม่เป็นสมาชิก บริการให้ฟรี 1 ครั้ง ครั้งถัดไปจ่ายเงินเต็ม

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

การเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ดังนี้ 1.อบต.เขาพระบาทให้การสนับสนุนงบประมาณในการทำสวนสมุนไพรสาธิต เป็นเงิน 23000 บาท ประชาชนให้การสมทบที่ดิน 25000 บาท 2.มีการจัดเลี้ยงน้ำชา เพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์เรียนรู้ โดย นายก อบจ.นครศรีฯ มอบเงินสด 10000 บาท ประชาชนตำบลเขาพระบาท 35000 บาท
3.ชมรม อสม.ให้การสนับสนุนในการพัฒนางานในพื้นที่และเป็นพี่เลี้ยงร่วม 4.รพ.สต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนบุคลากรและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 5.โรงเรียนวัดพระบาท ร่วมทำกิจกรรมในการขยายต่อยอดสมุนไพร

1.หลักฐานจากการเก็บข้อมูลและติดตามของพี่เลี้ยงพื้นที่
2.หลักฐานที่ศูนย์เรียนรู้ คือปุ๋ยชีวภาพ 3.หลักฐานที่บ้านกลุ่มเป้าหมายคือ      ถังหมักชีวภาพ

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

1.ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและวิธีพัฒนาชุมชน คือ ร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาแบบสมัครใจ 2.การวางแผน โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังทุกความคิด 3.การปฏิบัติการคือทุกคนต้องร่วมกันทำข้อมูล การทำอะไรต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ การใช้จ่ายเงินต้องเคลียร์ โปร่งใส และชัดเจน 4.การประเมินผล ต้องมีการประเมินทั้งคนในชุมชนเองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง และเชิญคนภายนอกชุมชนร่วมประเมินเพื่อยืนยัน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

1.ด้านวิชาการ มีการเชิญวิทยากรคือปราชญ์ในชุมชน จำนวน 5 คนมาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร
2.ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ นำสมุนไพรมารักษาสุขภาพ บำบัดโรค น้ำสมุนไพรมาฟื้นฟูสุขภาพ

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

1.มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชน มีการมอบหมายหน้าที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

1.กลุ่มมีการประชุมและเก็บข้อมูลเสมอ 2.กลุ่มมีการรวบรวมความรู้ และปรึกษาพี่เลี้ยง เขียนเป็นบทความวิชาการนำเสนอ จนได้รับรางวัล

1.มีการเขียนบทความวิชาการลงในงานวิชาการประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบนเมื่อ 8-9 กรกฎาคม 2556 2.โล่รางวัลการนำเสนอผลงาน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

ประชาชนภาคภูมิใจที่ร่วมกันปลูกสมุนไพรและนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพ และเป็นทางเลือกใหม่ในการดูแลสุขภาพของชุมชน ประชาชนสนิท ให้ความรัก เกิดความสามัคคี มีการเปิดใจที่จะร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านด้วยกัน
สมาชิกกลุ่มมีความเอื้อเฟื้อ ไม่เห็นแก่ตัว มีการช่วยเหลือกันและกัน

1.ชุมชนได้ร่วมมือกับพื้นที่ ในการจัดนิทรรศการเพื่อแสดง เผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ จนได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ 2.ทีมงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เสียสละ  ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

1.โล่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ 2.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

1.ทีมงาน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สอบต. กลุ่มอสม.และทีมงาน ให้ความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว  ทำงานด้วยความเสียสละ แม้ไม่มีค่าตอบแทนทุกคนก็เต็มใจ มีจุดหมายเดียวกันคือทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนให้มีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง

1.บันทึกการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

ประชาชนในหมู่บ้าน มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่จ่ายฟุ่มเฟือย ได้แก่ ปลูกผักพร้อมสมุนไพร ไม่ต้องใช้สารเคมี ลดการซื้อ
กลุ่มเป้าหมายหลายคนลดการพนัน และเลิกเล่นการพนัน เพราะมีกิจกรรมทำให้ต่อเนื่อง ไม่ว่างงาน ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

1.ชุมชนให้ความเชื่อถือ ช่วยเหลือกัน ให้เคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน 2.ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
3.มีการสรุปและนำเสนอผลงานวิชาการร่วมกัน ได้แก่ -นำเสนอให้กับภาคีระดับอำเภอเชียรใหญ่ 150 คน -นำเสนอให้กับภาคีจังหวัดและอำเภอ 200 คน -นำเสนอในงานวิชาการกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบน 8-9 กค56 จำนวน 1800 คน

1.ภาพถ่ายการออกแสดงนิทรรศการและการให้ความช่วยเหลือกันของทีม ที่จัดนิทรรศการจนได้รับคำชม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

1.แกนนำและประชาชน ยอมรับซึ่งกันและกัน มีการระดมความคิด ถอดบทเรียนร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียง แสดงความคิดเห็นและเคารพสิทธิบุคคล
2.นำภูมิปัญญา และระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ นำเรื่องราวสมุนไพรมาแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน  แก้ปัญหาการเล่นการพนัน สร้างความยั่งยืนโดยนำเข้าสู่บทเรียนของนักเรียนประถมศึกษา

บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

ตู้ยาอยู่หน้าบ้าน ทุกบ้านต้องปลูกสมุนไพร 5 ชนิด ตำรับยา การปรุงสมุนไพร