แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

รหัสโครงการ 55-01833 รหัสสัญญา 55-00-0964 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

1.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำฮอร์โมนจากน้ำซาวข้าว ส่วนผสมใช้กากน้ำตาล พด.1 กับน้ำซาวข้าว หมักนาน 1 เดือน ใช้ในการเร่งดอกและผล

2.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักลูกยอ หมักนาน 6 เดือน นำไปใช้ล้างจานซึ่งขจัดคราบไขมันได้ดี

3.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักผัก-ผลไม้รวม ได้แก่ กล้วย มะละกอ แตงโม แตงกวา สัปปะรด  หมักรวมกับกากน้ำตาลและพด.1 น้ำหมักสูตรนี้ใช้เวลา 21 วัน ใช้บำรุงต้นและบำรุงใบ

4.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง มีส่วนผสมผงพะโล้ เครื่องแกง ใช้ในการไล่แมลง

1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว เก็บรวบรวมไว้ที่แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมัก-น้ำหมักชีวภาพ บ้านผู้ใหญ่โฉมพยงค์ ชูแก้ว

2.การทำน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง มีอยู่ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบหลักคือนางสุนีย์  อักษรคง

พัฒนาต่อโดยการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่เหลือในชุมชน จัดทำเป็นฐานเรียนรู้ และให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ จากการทำโครงการ คือ

1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว เป็นสูตรเร่งดอก เร่งผล

2.น้ำหมักลูกยอ ใช้ล้างจาน

3.น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ทำจากวัสดุที่เหลือใน ครัวเรือน ซึ่งย่อยสลายได้

4.น้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร นำเอาสมุนไพรในชุมชนมาทำน้ำยาเอนกประสงค์ ได้แก่  มะนาวสดใช้ขจัดคราบและแต่งกลิ่นมะนาว  และเติมสีจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มคุณค่าให้น่าใช้ได้แก่ สีม่วงจากอัญชัน  สีเขียวจากใบเตย สีแดงจากกระเจี๊ยบ

1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว

2.น้ำหมักลูกยอ

3.น้ำหมักชีวภาพ

4.ปุ๋ยชีวภาพ

5.น้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เดิมทำงานแบบตัวใครตัวมัน ไม่สนใจการพัฒนาชุมชน  แต่ตอนนี้รวมตัวกัน ทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รวมทั้งมีการชักชวนภาคีเครือข่ายร่วมทำงาน

1.บันทึกการประชุมและลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

2.มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้าน ผู้ใหญ่โฉมพยางค์ และบ้านคุณวันดี อักษรคง

3.มีฐานเรียนรู้ของชุมชน 4 ฐาน
4.มีภาคีร่วมทำงานและสนับสนุนกิจกรรมได้แก่
-กศน. สนับสนุนงบประมาณ
-อบต.เขาพระบาทเป็นพี่เลี้ยงดำเนินงาน

-รพ.สต.เขาพระบาท สนับสนุนวิทยากร

-เกษตรอำเภอ สนับสนุนวิทยากร

พัฒนาให้เกิดเป็นสภาชุมชน สร้างวิธีการทำงานให้ทุกคนมีส่วนร่วม ตัดสินใจร่วมกัน สร้างมติ-กติการ่วมกัน จนเป็นธรรมนูญหมู่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

มีการรวมกลุ่มกันทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการมอบหมายงานอย่างเป็นทางการ และชี้แจงบทบาทของแต่ละบุคคล และทุกคนทำงานด้วยความสมัครใจ มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นได้แก่  กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มข้าวกล้อง

1.มีการมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจนและจัดทำผังแบ่งหน้าที่มอบหมายงาน ติดไว้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านผู้ใหญ่โฉม          พยงค์

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นได้แก่ กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มยาสระผมมะกรูด

ทะเบียนรายชื่อและสมาชิกกลุ่ม

พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 4 ฐานได้แก่ 1.ฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ 2.ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 3.ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 4 ฐานรื้อครัวและข้าวกล้อง

ฐานเรียนรู้ในชุมชน 4 ฐาน ดังนี้

1.ฐานน้ำหมักบ้านผู้ใหญ่โฉมพยงค์

2.ฐานน้ำยาเอนกประสงค์บ้านวันดี

3.ฐานปลูกผักทุกบ้านเป้าหมาย

4.ฐานรื้อครัวและข้าวกล้อง ทุกบ้าน

พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิต และใช้ทุนทางสังคม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

การสร้างภาคีเครือข่าย มีการเชิญชวนภาคีเครือข่าย เข้ามาเป็นสมาชิกและร่วมทำงาน โดยให้การสนับสนุนบุคลากร ความรู้วิชาการและงบประมาณเพิ่มเติมในการพัฒนา ตลอดจนมีการถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่กระบวนการพัฒนาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง มีการสนับสนุนดังนี้

1.กศน.เชียรใหญ่ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นเงิน 9,000 บาท

2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนถังหมักชีวภาพ 100 ใบ เป็นเงิน 20,000 บาท

3.รพ.สต.เขาพระบาท  และ อบต.เขาพระบาทร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

4.เกษตรอำเภอเชียรใหญ่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้

1.บันทึกการประชุม 2.หลักฐานการสนับสนุนงบประมาณแต่ละกิจกรรม
3.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

1.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีลดสารเคมีและการลดระดับสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

2.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขบัญญัติส่วนบุคคล

3.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัว ร่วมกันกำจัดขยะโดยการทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ ลงถังหมักชีวภาพ

1.ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการเจาะหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม จากบุคลากร รพ.สต.เขาพระบาทร่วมกับทีมงาน

2.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มเติมจากบุคลากร รพ.สต.เขาพระบาท

3.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับถังหมักชีวภาพ สนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.เขาพระบาท

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

1.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค จากการเก็บข้อมูลพบว่า

1.1 กลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงรส จำนวน 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด หรือลดการใช้เครื่องปรุงรสจาก 2 ชนิด เหลือ 1 ชนิด จำนวน 18 ครัวเรือน (ร้อยละ 40) เลิกการใช้เครื่องปรุงผงชูรสและไม่ใช้เลย 12 ครัวเรือน(ร้อยละ 40)

1.2 ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักสดไว้กินเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อผักกิน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนกันผักด้วยกันเอง

1.3 ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย มีการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้ในครัว  โดยทิ้งลงถังหมักชีวภาพ

1.4 กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมี และลดปริมาณสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย

1.จากการบันทึกหลักฐานการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

2.จากการเก็บข้อมูลและติดตามเยี่ยม ซึ่งเก็บไว้ที่ฐานเรียนรู้ชุมชน

3.ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

1.ครัวเรือนเป้าหมายได้ออกกำลังกายจากวิถีชีวิตประจำวัน คือ การได้ออกแรงขุดดิน การปลูกผัก การรดน้ำต้นไม้ ในแต่ละวันใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

1.ข้อมูลได้จากการบันทึกการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

2.จากการเก็บข้อมูลและติดตามเยี่ยม ซึ่งเก็บไว้ที่ฐานเรียนรู้ชุมชน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

1.มีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้ชุมชน และบ้านกลุ่มเป้าหมาย

2.กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ 2 คน และลดการสูบบุหรี่ 6 คน

1.ป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารเอนกประสงค์และศูนย์เรียนรู้ชุมชน

2.ป้ายรณรงค์ลด ละเลิกบุหรี่ที่บ้านครัวเรือนเป้าหมาย

พัฒนาต่อให้เป็นคนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ากิจกรรมมีการพูดคุย และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น  การพูดคุยใช้เหตุผล ไม่โต้เถียงหรือใช้อารมณ์พูดคุย

2.ประชาชนในหมู่บ้าน มีสีหน้ายิ้มแย้มมากขึ้น เพราะกลไกการทำกิจกรรมของโครงการ ทำให้คนสุขภาพดี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน

3.กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ประชาชนหันหน้ามาพูดคุยมากขึ้น ลดทิฐิ เป็นการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

1.จากบันทึกผลการถอดบทเรียนพบว่าครัวเรือนเป้าหมาย ลดการซื้อเครื่องปรุงรส ลดรายจ่าย

2.ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักกินเองที่บ้านและผักที่เหลือนำไปขาย มีรายได้

3.บันทึกการถอดบทเรียนจากพี่เลี้ยงและแกนนำ

พัฒนาต่อยอดกิจกรรมโดยใช้วิถีวัฒนธรรมชุมชนร่วมด้วย เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดกับกลุ่มคน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

1.นำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น

-น้ำมะนาว ซึ่งเป็นกรด นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน ให้ให้สะอาดขึ้น ลดไขมัน มีกลิ่นมะนาว

-นำสมุนไพรมาผสมให้เกิดสี ในน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์สร้างการยอมรับ ได้แก่ สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากกระเจี๊ยบ อีกทั้งเป็นการลดสารเคมีที่จะเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

-นำยาเส้น ยากลาย มาผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อใช้ไล่แมลง

-นำไข่ที่เลี้ยงเอง มาผสมทำเป็นฮอร์โมนไข่ เร่งผล    เร่งดอก

1.น้ำยาเอนกประสงค์ มีประจำไว้ที่ฐานเรียนรู้บ้านวันดี 2.น้ำหมักชีวภาพ มีประจำไว้ที่ฐานเรียนรู้บ้านผู้ใหญ่โฉม พยงค์

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

1.ครัวเรือนเป้าหมาย30 ครัว (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้ที่จะลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยใช้ผักสด หรือปรุงอาหารสดๆ  ทำให้ได้รสชาติที่หวาน กลมกล่อม

2.ครัวเรือนเป้าหมาย30 ครัวเรือน (ร้อยละ100) ลดปริมาณขยะโดยการทำเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

3.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุข บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

1.จากหลักฐานบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยงพื้นที่

2.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจากข้อมุลการติดตามผลของหัวหน้าโครงการ

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ด้านสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

1.มีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากในครัวเรือน หัวปลา เศษผัก เศษข้าว ผสมกับกากน้ำตาล และผสมกับสะเดา ยาเส้น เพื่อใช้ในการไล่แมลง  หรือผสมกับผงพะโล้และเครื่องแกง เป็นสูตรไล่แมลง

1.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย และการทำน้ำหมักชีวภาพจากถังหมักชีวภาพ ครัวเรือนละ 2 ใบ

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

1.เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ได้ช่วยกันทำงานบ้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ พ่อแม่ปลูกผัก ตอนเย็นลูกกลับจากโรงเรียนก็ช่วยรดน้ำผัก นำผักที่ปลูกไปทำอาหารตอนเย็น และตอนค่ำๆ ก็กินข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว เป็นการป้องกันไม่ให้บุตรหลานออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้าน ลดปัญหายาเสพติดในชุมชน

1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

พัฒนาต่อยอดโดยการนำวัฒนธรรมชุมชนมาบูรณาการร่วมกับการสร้างสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

1.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรสน้อยลงทุกครัวเรือน ร้อยละ 100  ลดการซื้อน้ำยาเอนกประสงค์ทุกครัวเรือน (ร้อยละ 100) จากเดิมซื้อน้ำยาล้างจาน ปีละ 648 บาท (ครัวเรือนละ 2 ถุง ถุงละ 27 บาท เดือนละ54 บาท) ลดเหลือปีละ 300 บาท (น้ำยาเอนกประสงค์ 1ชุดต่อสมาชิกครอบครัว 2-3 คน ราคา 300 บาท) แตกต่างกัน 348 บาท จากเดิมซื้อรสดี ผงชูรส เดือนละ 15 บาท ปีละ 180 บาท ปัจจุบันไม่บริโภค ลดค่าผงชูรส รสดีได้ปีละ 180 บาท (ทั้ง 2 รายการ ลดได้ครัวเรือนละ 528 บาทต่อปี ถ้า 30 ครัวเรือน ลดได้ 1,5840 บาทต่อปี ถ้ารวมทั้งหมู่บ้าน 147 ครัวเรือน เป็นเงิน 77,616 บาทต่อปี)

2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้รับประทานเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อจากรถเร่ ได้อาหารสะอาด สด ปลอดสารเคมี

1.จากภาพถ่ายครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

2.บันทึกการติดตามเยี่ยมของทีมงาน

3.บันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

พัฒนาต่อยอดเป็นการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน หรือสวัสดิการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มีการตั้งกติกากลุ่มคือ
1.เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ให้เก็บรวบรวมไว้ที่กองกลางคือฐานเรียนรู้แต่ละแห่ง ใครต้องการใช้ให้มายืมและเก็บไว้ที่เดิม ดังนี้
1.1 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ ยืมได้จากศูนย์เรียนรู้บ้านผู้ใหญ่บ้าน

1.2 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยืมได้ที่บ้านคุณวันดี

1.เครื่องมือ-เครื่องใช้ และอุปกรณ์เก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ไว้เป็นกองกลาง

จัดทำเป็นแผ่นป้ายเพื่อแสดงให้ทุกคนได้รับรู้ และเป็นกฎบังคับใช้ในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

ทางกลุ่มมีมาตรการดังนี้

1.มาตรการในการปลูกผัก ถ้ากลุ่มมอบเมล็ดผักไปให้แล้ว ยังไม่ปลูกหรือเพาะชำ เมื่อทีมงานไปเยี่ยม ก็จะถูกตัดสิทธิ์ในรอบถัดไป ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน

2.มาตรการในการทำน้ำหมักชีวภาพ ถ้ามอบถังให้แล้ว ไม่ทำน้ำหมักชีวภาพหรือนำถังไปใส่น้ำ ก็จะถูกยึดคืนและตัดสิทธิ์ทุกกิจกรรม

1.บันทึกการประชุมประจำเดือนในการกำหนดมาตรการที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

มีการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ดังนี้

1.อบต.เขาพระบาท โดยรองนายก เป็นผู้เปิดเวทีประชุมและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนงบประมาณร่วมพัฒนา ถังหมักชีวภาพ 100 ใบ

3.ชมรม อสม.ให้การสนับสนุนในการพัฒนางานในพื้นที่และเป็นพี่เลี้ยงร่วม

4.รพ.สต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนบุคลากรและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้

5.กศน.เชียรใหญ่ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุทำปุ๋ย เป็นเงิน 9,000 บาท

1.หลักฐานจากการเก็บข้อมูลและติดตามของพี่เลี้ยงพื้นที่
2.หลักฐานที่ศูนย์เรียนรู้ คือปุ๋ยชีวภาพ

3.หลักฐานที่บ้านกลุ่มเป้าหมายคือถังหมักชีวภาพ

พัฒนาต่อยอดให้เกิดสภาชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

1.ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและวิธีพัฒนาชุมชน คือ การกำหนดแนวทางพัฒนา ใช้หลักการคือความสมัครใจ และร่วมพัฒนาความสามารถ การเลือกวิธีการโดยการโหวดหาข้อยุติ

2.การวางแผน โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังทุกความคิด

3.การปฏิบัติการคือ ทุกคนต้องร่วมกันทำข้อมูล การทำอะไรต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ การใช้จ่ายเงินต้องเคลียร์ โปร่งใส และชัดเจน

4.การประเมินผล ต้องมีการประเมินทั้งคนในชุมชนเองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง และเชิญคนภายนอกชุมชนร่วมประเมินเพื่อยืนยัน

1.บันทึกการประชุมของคณะกรรมการ

2.บันทึกเอกสารการถอดบทเรียน

พัฒนาต่อยอดให้เกิดการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในสภาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

1.ด้านวิชาการ มีการเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้มาถ่ายทอด ได้แก่ เรื่องสารเคมี เชิญวิทยากรจาก รพ.สต.เขาพระบาท ด้านน้ำหมักชีวภาพจากเกษตรอำเภอเชียรใหญ่  น้ำยาเอนกประสงค์จาก กศน.เชียรใหญ่

2.ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ลูกยอมาทำน้ำหมัก  มะนาวมาทำน้ำยาเอนกประสงค์  สะเดาและเครื่องแกงนำมาทำยาไล่แมลง  น้ำซาวข้าว มาทำฮอร์โมน

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

2.น้ำหมักชีวภาพ  น้ำยาเอนกประสงค์ จากฐานเรียนรู้ในชุมชน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

1.มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชน มีการมอบหมายหน้าที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

1.กลุ่มมีการประชุมและเก็บข้อมูลเสมอ

2.กลุ่มมีการรวบรวมความรู้ และปรึกษาพี่เลี้ยง เขียนเป็นบทความวิชาการนำเสนอ จนได้รับรางวัล

1.มีการเขียนบทความวิชาการลงในงานวิชาการประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบนเมื่อ 8-9 กรกฎาคม 2556

2.โล่รางวัลการนำเสนอผลงาน

พัฒนาต่อยอดการจัดการความรู้ชุมชนโดยสภาชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

1.มีการพูดคุยและสรุปผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดี แนวทางที่ดี ได้แก่ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ และกิจกรรมรื้อครัว สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนละ 528 บาทต่อปี  กลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดได้ 15,840 บาทต่อปี  ถ้าพัฒนาทั้งหมู่บ้าน 147 ครัว มีเงินออมปีละ  77,616 บาท ทำให้เกิดแนวคิดการออมจากกิจกรรมดังกล่าวในปีถัดไป

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

2.สรุปผลการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

1.ชุมชนได้ร่วมมือกับพื้นที่ ในการจัดนิทรรศการเพื่อแสดง เผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ จนได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

2.ทีมงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เสียสละ  ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

1.โล่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

2.บันทึกการประชุมประจำเดือน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

1.ทีมงาน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สอบต. กลุ่ม          อสม.และทีมงาน ร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว  ทำงานด้วยความเสียสละ ไม่มีค่าตอบแทน แต่ทุกคนมีจุดหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อพี่น้องประชาชนให้มีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง

1.บันทึกการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มขยาย ปลูกผักกินเอง ภายใต้คำพูด “ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก”

2.ปัจจุบันดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ได้แก่ เมื่อถึงเวลาทำอาหาร เดินไปเก็บผักมาปรุงอาหาร ล้างเอง ปรุงเอง กินทันที ทำให้ได้รสชาติที่อร่อย ไม่เสียเวลา ไม่ปนเปื้อนสารเคมี

1.บันทึกการถอดบทเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

1.ชุมชนให้ความเชื่อถือ ช่วยเหลือกัน ให้ความเคารพกัน

2.ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

3.มีการนำเสนอผลงานวิชาการและความก้าวหน้าโครงการ จำนวน 3 ครั้ง -นำเสนอให้กับภาคีระดับอำเภอเชียรใหญ่ 150 คน
-นำเสนอให้กับภาคีจังหวัดและอำเภอ 200 คน
-นำเสนอในงานวิชาการกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบน 8-9 กค 56 จำนวน 1800 คน

1.ภาพถ่ายการออกแสดงนิทรรศการและการให้ความช่วยเหลือกันของทีม ที่จัดนิทรรศการจนได้รับคำชม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

1.แกนนำและประชาชนมีการระดมความคิดในเวทีประชาคมและถอดบทเรียน โดยทุกคนมีสิทธิ์ออกความคิดเห็นและเคารพสิทธิระหว่างบุคคล

2.มีการนำภูมิปัญญาและระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ นำลูกยอมาทำน้ำหมัก เชิญครูหรือปราชญ์ในชุมชนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา  การตัดสินใจทุกครั้งใช้มติของที่ประชุม  การทำกิจกรรมหรือจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ ใช้หลักข้อตกลงจากมติกลุ่มตามลำดับ

1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างคุณค่าของคนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ