แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

ชุมชน บ้านอู่แก้ว หมุ่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 55-01833 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0964

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มกราคม 2556 ถึงเดือน ตุลาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อแบ่งงานในหน้าที่รับผิดชอบ โดยมอบคณะกรรมการจัดเตรียมเอกสารและเนื้อหาในการจัดกิจกรรมคัรั้งต่่อไป  คณะกรรมการทุกคนเต็มใจและทำหน้าที่ของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการเพื่อมอบหมายงานและติดตามความก้าวหน้า

 

0 0

2. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครังที่2

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรในชุมชน 2.การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้วิธีการน้ำยาเอนกประสงค์มากขึ้น 4.มีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความสามัคคีและลดการขัดแย้ง 5.ลดการใช้สารเคมีน้อยลง 6.ลดรายจ่ายครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยาสระผม แชมพู

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมเรียนรู้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรในชุมชน

 

60 60

3. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

วันที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมงานร่วมกันเล่าผลงานที่เกิดขึ้นให้พี่เลี้ยงฟัง ดังนี้
1.มีการประชุมคณะกรรมการไปแล้ว 5 ครั้ง ประชุมชี้แจงประชาชนและรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 60 ครัวเรือน 2.มีกิจกรรมรื้อครัว โดยการรณงค์ลดการใช้เครื่องปรุงรส ปลูกผักสด และปรุงสดๆ แทน
3.กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพ มีการจัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง
4.กิจกรรมน้ำยาเอนกประสงค์ จัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง
5.กิจกรรมปลูกผัก จัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมให้พี่เลี้ยงทราบ 

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นแกนนำ 6 คน เข้าร่วมกิจกรรมรายงานความก้าวหน้าของและรับคำนแนะนำจากพี่เลี้ยง

 

0 0

4. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6

วันที่ 6 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการ 18 คนเข้าร่วมประชุม 2.คณะกรรมการร่วมกนประเมินผลงานที่ผ่าน ซึ่งเป็นตามไปแผนที่กำหนดไว้ 3.คณะกรรมการประเมินความพึงพอใจ พบว่าร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมาย พึงพอใจและให้ความร่วมมือเกินคาดหมาย 4.เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย 5.กรรมการเสนอว่าปัญหาที่พบคือปัญหาการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ต้องไปใช้ internet ที่ รพ.สต.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ในกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

 

0 0

5. ประชุมกลุ่มปลูกผัก ครั้งที่3

วันที่ 8 มีนาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและสร้างความสามัคคีกันในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมายมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปลุกผักปลอดสารพิษ สิ่งที่พบคือ 1.กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือเป็อย่างดี 2.เกิดฐานเรียนรู้ในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 3.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 บอกว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์มาก และทำให้ทุกคนมีสุขภาพดีถ้าปฏิบัติจริง
4.ทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดสารเคมี่ในเลือด 5.การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือผู้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีการดำรงชีวิตที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น 6.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงคือใช้เกษตรอินทร์ปลูกผัก อนุรักษ์ดิน 7.มีการปรับปรุงดินที่ว่างเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 8.มีแกนนำชุมชน เช่น อบต. ผู้นำ ผู้ช่วย และ อสม.ให้ความร่วมมือในการพัฒนาเป็นอย่างดี 9.แต่ละครัวเรือนยอมรับและถ่ายความรู้ให้กันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรรมตามโครงการที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน (เป็นฐานเรียนรู้ในชุมชน) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันว่าเมื่อเราปลูกผักปลอดสารพิษแล้วไปใช้ประโยชน์มีผลดีเป็นอย่างไร 

 

60 60

6. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 3

วันที่ 19 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมรื้อครัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คนเข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดปริมาณการใช้สารเคมี หันมาปรุงรสตามธรรมชาติ 3.ครัวเรือนได้ตระหนักถึงการปรุงอาหารด้วยของสดได้รสชาติ ได้ประโยชน์ 4.ทุกคร้วเรือนยอมรับในกิจกรรมนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การลดสารเคมีในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมรั้อครัว ที่ศาลาเอนกประสงค์ ให้และความรู้เพิ่มเติม

 

60 60

7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 2

วันที่ 25 มีนาคม 2556 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ 2.ประชาชนให้การตอบรับเป้นอย่างดี 3.ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มขี้นจากกระบวนการพัฒนา 4.ประชาชนในชุมชนได้เจอแต่ส่ิงที่ดี ทำให้เพิ่มคุณค่าในตนเองและชุมชนเข้าใจกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำุปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพในการลดสารเคมี

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

 

60 60

8. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 7

วันที่ 6 เมษายน 2556 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการเห็นด้วยกับพัฒนากิจกรรม พบว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 2.กลุ่มเป้าหมายพึงพอใจต่อกิจกรรมทุกกิจกรรม
3.ประชาชนก็ให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเพื่อประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนในการพัฒนากิจกรรมต่อไป 

 

0 0

9. เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมจัดเวทีเรียนรู้กับเครือข่ายในอำเภอ

วันที่ 19 เมษายน 2556 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายระดับอำเภอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เครือข่ายระดับอำเภอให้ความสนใจและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งเขียนคำนิยม
2.ภาคีเครือข่ายระดับอำเภอมีความพึงพอใจเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน
3.ได้แลกเปลี่ยนวิธีการปลูกผักโดยใช้นำหมักชีวภาพและการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งราก 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การดำเนินงานโครงการให้กับเครือข่ายระดับอำเภอซึ่งเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 10 กองทุน 150 คน 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานให้กับเครือข่ายระดับอำเภอเชียรใหญ่ ทั้งแนวทางการปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น

 

0 0

10. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครังที่4

วันที่ 27 เมษายน 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพือแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้ในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กิจกรรมครั้งนี้สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้จริง 2.มีกระบวนการเรียนรู้ ใช้สมุนไพรของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และให้ความสำคัญต่อการลดสารเคมี 4.สามารถใช้สมุนไพรจากธรรมชาติจากมะนาว มะเฟือง มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยาสระผม แชมพู

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศาลาเอนกประสงค์ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยใช้อุปกรณ์มี n70 ผงข้น น้ำมะนาว f24  ผงฟอง มะละมัง2 ใบ

 

60 60

11. ประชุมกลุ่มปลูกผัก ครั้งที่4

วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน 2.ได้เริ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน 3.ประชาชนเริิ่มตื่่นตัวและให้ความสำคัญกับการลดรายจ่าย การลดโรคและการเพิ่มรายได้ 4.ลดปริมาณขยะในชุมชนเพราะขยะที่เหลือใช้ ลงถังทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
5.แกนนำชุมชนให้ความสนใจ 6.เกิดฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ มีการชวนพูด ชวนคุย ชวนคิด

 

60 60

12. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 8

วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประเมินผลและติดคามกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมตามแผนที่กำหนด 2.จากการสอบถามครัวเรือนพบว่าทุกครัวให้ความสนใจในการทำกิจกรรมดังกล่าว 3.กิจกรรมดังกล่าวทำให้คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น 4.ทำให้แกนนำชุมชนและประชาชนร่วมมือกันเป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม

 

0 0

13. เผยแพร่ผลการดำเนินงาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีสุขภาพระดับอำภอและจังหวัด

วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานพัฒนาชุมชนลดโรค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนสร้างชีวิตที่ปลอดโรคให้กับภาคีอำเภอเชียรใหญ่ จำนวน 10 ตำบล รวม 100 คน
2.กลุ่มภาคีเครือข่ายมีข้อเสนอแนะที่ดีในการพัฒนา 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานสาธารสุขอำเภอเชียรใหญ่ ให้นำเสนอผลการดำเนินงาน ใหักับภาคีเครือข่ายสุขภาพในระดับอำเภอและจัวหวัด

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้รับคัดเลือกให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรคให้กับเครือข่ายอำเภอเชียรใหญ่และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 

 

0 0

14. ติดตามผลการดำเนินงานและสรุปบทเรียนของ สจมรส.มอ.และสสส.

วันที่ 13 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรูู้และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมงานร่วมกันคิดและนำเสนอผลการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.กิจกรรมที่ทำไปแล้วได้แก่ -การรื้อครัวเพือลดการใช้สารเคมี -เศษผักจากครัวเรือนทำปุ๋ยหมักชีวภาพ -น้ำหมักชีวภาพนำมาใช้ปลูกผักเป็นผักปลอดสารพิษ -การทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรสด -การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ

2.เหตุผลที่ทำโครงการ -ต้องการลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน -ต้องการลดสิ่งปนเปื้อนในอาหาร -ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ -ต้องการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พัฒนาชุมชน

3.สิ่งที่เกิดขึ้น -น้ำหมักฮอร์โมนซาวข้าว -น้ำหมักลูกยอล้างจาน -น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร -ศูนย์เรียนรู้การทำน้ำหมัก -ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ -ทุกครัวเรือนเป้าหมายมีการรื้อครัวเรือนลดการใช้เครื่องปรุงรส

4.องค์ความรู้ใหม่ -การทำฮอร์โมนซาวข้าว -น้ำหมักลูกยอ

5.กระบวนการที่ใช้คือการมีส่วนร่วม มีการมอบหมายอย่างชัดเจนในชุมชน มีกลุ่มปลูกผัก กลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์

6.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน 2 ฐานคือน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์

7.บทเรียนที่ได้คือ ทุกวันนี้ประชาชนในบ้านอู่แก้ว สนใจการบริโภค ปลูกเอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลูกผักกินเอง ผักเหลือก็แลกเปลี่ยนกัน ลดการใช้เครื่องปรุงรส นำภูมิปัญญามาใช้ร่วมกันในการจัดกิจกรรม โดยใช้สมุนไพรมาดุแลสุขภาพ ทำยาสระผม

8.สิ่งที่เปลี่ยนแปลง -ปลูกผักกินเอง ขยะเหลือใช้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ -พื้นที่ว่างเปล่าก็ถุกนำมาใช้ประโยชน์ -ผู้ใหญ่บ้าน,  อบต.เป็นแกนนำหลักในการพัฒนา -สร้างอาชีพ สร้างรายได้ -ใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคมเป็นกลไกในการพัฒนา -กองทุน อบต.เขาพระบาท, โรงเรียน. รพสต. กศน. อบต.เขาพระบาท โรงเรียนอุ่แก้ว ให้การสนับสนุนการทำงาน -คนรักกัน สามัคคีกัน -ปลูกผักใช้สมุนไพรช่วยรักษาดิน -ประชาชน รัฐ ช่วยกันทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมงานร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน สจรส.มอ. และพี่เลี้ยง สสส.ของนครศรีฯ 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมงาน 5 คน เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลผลิตที่ได้จากชุมชนไปแสดง เพื่อให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ทีเกิดขึ้นในพื้นที่ 

 

0 0

15. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 4

วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายในการลดใช้เครือ่งปรุงรส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมรื้อครัว ร้อยละ 100
2.กลุ่มเป้าหมายสามารถลดเครื่องปรุงรสได้ ร้อยละ 50 3.ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี 4.ร้อยละ 50 ที่เหลือมีการปรับลดปริมาณการใช้อย่างต่อเนื่อง 5.ประชาชนได้ความรู้และเรียนรู้วิธีการเลิกใช้เครื่องปรุงรส ใช้ผักสดแทนหรือใช้อาหารธรรมชาติแทน 6.มีการเรียนรู้การปรุงอาหารตามธรรมชาติ เช่น เก็บผักสดๆ แล้วมาทำเป็นผักเหนาะ  แกงปลาทีจับได้สดๆ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การลดสารเคมีในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตามกลุ่มเป้าหมายในการลดใช้เครื่องปรุงรสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาการดำเนินกิจกรรม

 

0 0

16. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 9

วันที่ 6 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพิ่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและติดตามสรุปความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมตามระยะเวลาที่กำหนด

2.กลุ่มเป้าหมายให้ความรว่มมือเป็นอย่างดี

3.เกิดความรัก ความสามัคคีในหน่วยงาน

4.ได้เรียนรุ้กระบวนการพัฒนางานและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

5.มีกระบวนการพัฒนางานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

บทเรียนที่ได้จากการพัฒนา
1.แกนนำ ผู้นำชุมชน คิดบวก คิดใหม่ ทำใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเดิม แต่ถ้าเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ก็จะประสบความสำเร็จ
2.ทีมงาน ทำงานด้วยความเสียสละ ตั้งใจจริง และมีการกำหนดเป้าหมายไว้ร่วมกัน และเป็นเป้าหมายเดียวคือการลดสารเคมี 3.การนำแนวคิดเศรษฐกิจของพ่อหลวงมาร่วมพัฒนา เป็นสิ่งที่ถูกต้องในเวลา ช่วยประหยัด และทุกคนทำได้
4.การพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น พบว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม  ผู้นำชุมชนพัฒนาด้วยตนเอง เกิดความรัก ความสามัคคี และทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและสรุปความก้าวหน้าของโครงการและจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

 

0 0

17. ถอดบทเรียน การดำเนินงานครั้งที่ 1

วันที่ 17 มิถุนายน 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรุู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ครัวเรือนเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกระบวนการถอดบทเรียน โดยการบอกเล่าและชวนคุย พบว่า ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจ และอยากเห็นกิจกรรมนี้อีกในปีถัดไป

2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการวิธีการลดปริมาณขยะในครัวซึ่งเป็นขยะสดที่ย่อยสลายได้ ให้มีปริมาณลดลง โดยการทิ้งลงถังหมัก เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

3.ประชาชนในชุมชนมองเห็นวิธีการลดสารเคมีชัดเจนขึ้น คือการผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง และร่วมกันทำงานจนเกิดกระบวนการพัฒนางานที่่ชัดเจน มีการมอบหมายงานในหน้าที่ และช่วยกันทำ

4.ประชาชนในชุมชนเกิดความรักและช่วยเหลือกัน

5.ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ นำกินได้โดยเชื่อมั่น และผักมีรสชาติที่หวาน ได้กินของ และเริ่มเข้าใจวิธีลดโรค ทำให้เกิดหลักคิดคือ ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก

6.มีกลวิธีในการลดเครืองปรุงรส คือ การกินผักสดทำให้ได้รสหวาน ลดการใช้เครื่องปรุงรส

7.นำภุมิปัญญาและสุมนไพรมาใช้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อลดการปนเปื้อนสารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการในกระบวนการพัฒนาชุมชน และความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 60 ครวเรือน ในประเด้น 1.การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ 2.ผลที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการ

 

60 60

18. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 3

วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้จากการปฏิบัติจริง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกันและเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม 2.ได้รับการสนับสนุน จาก กศน.เชียรใหญ่ เป็นวัสดุทำปุ๋ยชีวภาพ เป้นเงิน 9,000 บาท
3.กองทุนหลักประกันสุขภาพให้การสนับสนุนถังหมัก 100 ถัง เป็นเงิน 20,000 บาท
4.ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
5.ได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรใหม่ -ผงพะโล้ ช่วยไล่แมลง -ผงกะหรี่่ ช่วยไล่แมลง -เครื่องแกง ช่วยไล่แมลง 6.ชุมชนมีความเสียสละ ช่วยเหลือกันมากขึ้น
7.ปัจจุบันสังคมน่าอยู่มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำน้ำหมักชีวภาพ ลดสารเคมีในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมร่วมกัน

 

60 60

19. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 10

วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณาะกรรมการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมและเพื่อความก้าวหน้าของการดำเนินงาน พบว่า
1.คนในชุมชนร่วมกิจกรรม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น มีทัศนคติและมุมมองที่เปลี่ยนไป สัมพันธภาพแบบมิตรไมตรีเกิดขึ้นในชุมชน เกิดความรัก หวงแหนและมี ความสามัคคี

2.ทีมงานเกิดความรัก เป็นพวกเดียวกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันขับเคลื่อนงานและเกิดกลไกลการพัฒนาที่ชัดเจน

3.มีการปลูกผักปลอดสารเคมี  เพิ่มผลผลิตโดยฮอร์โมนธรรมชาติ ทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ

4.ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต. เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

5.มีผู้รู้ ปราชญ์ชุมชนและประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาอย่างจริงจัง

6.มีการวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง

นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ 1.น้ำหมักลูกยอล้างจาน นำลูกยอสุกมาหมัก โดยหมักกับน้ำตาลทรายแดง เป็นเวลา 6 เดือนปิดฝาไว้ เมื่อครบระยะเวลาก็นำมาล้างจาน ไม่ต้องผสมกับอะไร กลิ่นสะอาด ล้างจานได้หมดจด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
2.น้ำซาวข้าว สูตรเร่งลูก เป็นการนำน้ำซาวข้าว  นำมาหมักเป็นสูตรเร่งดอก เร่งผล ทำให้ลูกดก
3.น้ำหมักชีวภาพแบบสมรม ใช้เศษอาหารที่เหลือจากในครัวเรือน หัวปลา เศษผัก เศษข้าว ผสมกับกากน้ำตาล และผสมกับสะเดา ยาเส้น เพื่อใช้ในการไล่แมลง

กิจกรรมเด่น คือ กิจกรรมรื้อครัว เป็นวิธีการลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยกลุ่มเป้าหมายสำรวจว่าบ้านของตนเองใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง มีโทษอย่างไร และหาวิธีการโดยการค่อยๆลด และมีการปลูกผักสดไว้ทดแทน  มีการปรุงอาหารก่อนกิน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการ 15 คน ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการและประเมินผลการทำงาน

 

15 15

20. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานและถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม วันละ 2 รอบ รอบละ 200 คน รวม 400 คนต่อวัน
2.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเรียนรุ้สุ่ชีวิตที่ปลอดโรคในประเด็น -การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง -การทำน้้ำหมักชีวภาพ -การทำปุ๋ยชีวภาพ -การทำน้ำยาเอนกประสงค์ -การใช้สมุนไพรในการไล่แมลง -สูตรน้ำฮอร์โมนต่างๆ -กิจกรรมรื้อครัวลดสารปรุงแต่ง 3.การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับคำชมจากผุ้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข รองเลขาธิการ สปสช. นายแพทย์ สสจ.นครศรีฯ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ว่ามีการถ่ายทอดความรุ้ กระบวนการและเนื้อหาได้ดีมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมงานบ้านอู่แก้ว ร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาพระบาท และรพ.สต.เขาพระบาท จัดนิทรรศการผลการดำเนินงานโดยจัดเป็นฐานเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดนิทรรศการแสดงผลงาน โดยการจัดเป็นฐานเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้รับชม แลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยเติมเต็ม

 

0 0

21. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 5

วันที่ 13 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อลดการใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เต็มใจกับกิจกรรม ร้อยละ 100
2.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ลดเครื่องปรุงรส -30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด (ร้อยละ 50) -30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงจาก 2 ชนิดเหลือ 1 ชนิด (ร้อยละ 50) -10 ครัวเรือน เลิกการใช้ผงชูรส ไม่ใช้เลย คิดเป็นร้อยละ 20 -ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้กินเองข้างบ้าน ร้อยละ 100 -ครัวเรือนเป้าหมาย มีการจัดการขยะโดยทิ้งลงถังหมัก ร้อยละ 100 -ครัวเรือนเป้าหมายมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมข้างบ้านให้ดีขัึ้น ร้อยละ 100
-กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมี และลดปริมาณสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย
-กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ100 ร่วมกันพัฒนาชุมชน จนทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี   

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การลดสารเคมีในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรุ้และสรุปกิจกรรมการรื้อครัว

 

0 0

22. พี่เลี้ยง สจรส.ติดตามโครงการ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปและรายงานผลการดำเนินงานให้พี่เลี้ยง สจรส.และรายงานผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สจรส.มอ.ได้ตรวจสอบเอกสารผลการดำเนินงานทั้งกระดาษและรายงานผลออนไลน์ 2.แนะนำให้เพิ่มเติมรูปถ่ายในการประชุมคณะกรรมการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน นำผลงานและเอกสารให้พี่เลี้ยง สจรส.ตรวจสอบความถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยงพื้นที่และผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน นำเอกสารและให้ผลการดำเนินงานให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบ 

 

0 0

23. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 11

วันที่ 6 สิงหาคม 2556 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจกับคณะกรรมการและมอบหมายหน้าที่ในการทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุม สรุปผลงานทีผ่านมาและมอบหน้าที่กิจกรรม เพื่อให้ผลงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
การจัดกิจกรรมครัั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงานและมอบหมายหน้าที่

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 15 คน เพื่อสรุปงานและมอบหมายหน้าที่

 

0 0

24. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 4

วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำองค์ความรู้ของแต่ละบุคคลมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยจะนำความรู้ที่ได้ไปทดลองและปฏิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมายร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ 2.เกิดองค์ความรุ้ใหม่ที่จะนำไปปฏิบัติงาน ได้แก่ น้ำหมักลูกยอ น้ำหมักซาวข้าว ฮอร์โมนไข่ 3.ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน ได้พูดคุย สนุกสนาน ลดความข้ดแย้ง 4.สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ  หากไมเข้าร่วมสังคมบ้าง ก็จะมีความรู้เท่าที่มีอยู่ แต่หากได้พูดคุยกับคนอื่นจะมีความรุ้เพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำน้ำหมักชีวภาพ ลดสารเคมีในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย 60 คน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

0 0

25. ถอดบทเรียนการดำเนินงานตามโครงการ

วันที่ 23 สิงหาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลตนเองและผลการเปลี่ยนแปลง 3.ได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำน้ำหมักทำแล้วได้ผลดี 4.แลกเปลี่ยนการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นตู้เย็นข้างบ้าน ลดสารพิษ ลดรายจ่าย
5.พบว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 อยากเข้าร่วมกิจกรรมอีกในปีถัดไปเพราะ 5.1มีการลดขยะในครัวเรือน ได้ร้อยละ 80
5.2 ขยะที่เหลือและย่อยสลายได้สามารถทำน้ำหมักชีวภาพได้ 5.3มีกลวิธีลดเครื่องปรุงรสคือ ปรุงด้วยผักสด ทำให้ได้รสหวาน 5.4ได้เรียนรู้สูตรการทำน้ำหมัก บำรุงปุ๋ยต้นไม้หลายสูตร
5.5 มีการปรับสภาพดิน ให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น 5.6ใช้ที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 5.7 สุขภาพแข็งแรง ได้ออกแรง
5.8 ครัวเรือนได้ช่วยเหลือ รักกันมากขึ้น
5.9ผู้นำชุมชน ประชาชน หันหน้ามาพูดคุยและร่วมทำกิจกรรม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอดบทเรียนการพัฒนาการเรียนรู้ตามโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 40 คนเข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

 

60 60

26. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 12

วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและติดตามความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการและพี่เลี้ยง ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน 16 คน
2.การดำเนินงานครั้งนี้ประสบผลสำเร็จคือ 2.1 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 2.2 มีฐานเรียนรู้ในชุมชน คือฐานปุ๋ยหมัก ฐานน้ำหมัก ฐานน้ำยาเอนกประสงค์ และฐานรื่อครัว 2.3เกิดความรัก ความสามัคคีในกลุ่มทีมงาน
2.4ระดับสารเคมีในเลือดกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
2.5 ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน มีความเสียสละ ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
2.6 นวัตกรรมได้แก่ น้ำหมักลูกยอ น้ำซาวข้าว น้ำหมักสูตรไล่แมลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการในการติดตามงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมของโครงการ 15 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อปิดโครงการ

 

0 0

27. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการ

วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสุรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมเจาะเลือดหาระดับสารเคมีในเลือด 2.จากการพูดคุยสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า
2.1เกิดองค์ความรู้ใหม่คือฮอร์โมนน้ำซาวข้าวใช้เร่งดอกผล และน้ำหมักชีวภาพผสมผงพะโล้ เครื่องแกง ใช้ในการไล่แมลง
2.2เกิดนวัตกรรมคือฮอร์โมนน้ำซาวข้าว น้ำหมักลูกยอ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร 2.3กระบวนการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือเมื่อก่อนทำงานแบบตัวใครตัวมัน ปัจจุบันทำงานเป็นกลุ่มและมีส่วนร่วม 2.4เกิดแแหล่งเรียนรู้ในชุมชนคือฐานเรียนรู้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ฐานเรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์ และฐานเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ/รื้อครัว 2.5 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค พบว่า กลุ่มเป้าหมายหลักและรอง (60 ครัวเรือน) ลดการใช้เครื่องปรุงรส จำนวน 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 50)
-ลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด -ร้อยละ 20 เลิกการใช้ผงชูรส
-ร้อยละ 100 ปลูกผักสดไว้กินเอง 2.6การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพคือ เศษอาหารจากครัวเรือนที่ย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ทำให้ดินอุดมสมบุูรณ์และลดปริมาณขยะ
2.7เกิดกฎ กติกาคือ วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้จัดกิจกรรมเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมถ้าไม่ทำกิจกรรมจะโดนตัดสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลการดำเนินตามกิจกรรม พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายคือคณะกรรมการ 15 คน และประชาชนผุ้สนใจ 30คน เข้าร่วมกิจกรรมเจาะเลือดหาระดับสารเคมีในเลือด และยืนยันผลการเปลี่ยนแปลงจากการเข้าร่วมกจิกรรม

 

0 0

28. สรุปปิดโครงการ

วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานพร้อมทั้งเปรียบเทียบกิจกรรมการดำเนินงานและปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทีมงานร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าตามโครงการ 2.ตรวจการบันทึกข้อมูลออนไลน์ตามโปรแกรม 3.จัดทำสรุปรายงน ส.1 ส.2 และส.3 พร้อมทั้ง ส่ง ส.4

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมงานและพี่เลี้ยง สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมและปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมงานและพี่เลี้ยงร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและปิดโครงการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 50 50                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 149,160.00 149,360.00                  
คุณภาพกิจกรรม 200 190                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาววันดี อักษรคง
ผู้รับผิดชอบโครงการ