task_alt

พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม

ชุมชน บ้านกะโสมเหนือ บ้านผู้ใหญ่ นายวิรัตน์ ใจกระจ่าง เลขที่ประจำตัวประชาชน 3800900394916 ที่อยู่ 26 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80310 โทรศัพท์ 083-1825046 80310

รหัสโครงการ 55-01868 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0955

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน มีนาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุมชี้แจงดำเนินการนำร่องโครงการ

วันที่ 5 ตุลาคม 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการมีความเข้าใจ  และรับมอบหมายหน้าที่ตามมติที่ประชุม  คณะกรรมการรับเอกสารของโครงการไปศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติม  และเตรียมไว้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของโครงการตลอดระยะเวลา  1 ปี  คณะกรรมการที่เป็นคณะกรรมการขององค์กรเกษตรผสมผสานจะรับหน้าที่เป็นวิทยากรในกิจกรรมต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แจ้วรายละเอียดของโครงการ ทำความเข้าใจ และมอบหมายงานให้ทีมคณะกรรมการ

กิจกรรมที่ทำจริง

แจ้งรายละเอียดของโครงการ ทำความเข้าใจ และมอบหมายงานให้ทีมกรรมการ

 

0 0

2. มาปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับทราบการดำเนินงานของโครงการ จาก ตัวแทน สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมเสร็จตามกำหนดการประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้ตามแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ร่วมโครงการ 3 คน มาร่วมประชุม กับ ตัวแทน สสส. ในเรื่องการบริหารโครงการ เป็นที่เข้าใจ และสามารถนำมาปฏิบัติได้

 

0 0

3. มาปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับทราบการดำเนินงานของโครงการ  จาก  ตัวแทน  สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมเสร็จตามกำหนดการประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ได้ตามแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ร่วมโครงการ  3 คน มาร่วมประชุม กับ ตัวแทน สสส. ในเรื่องการบริหารโครงการ เป็นที่เข้าใจ และสามารถนำมาปฏิบัติได้

 

0 0

4. จัดเวทีชี้แจงโครงการแก่ชุมชน.

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแจ้งรายละเอียดของโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสาน สร้างความเข้าใจให้กับตัวแทนครัวเรือน ในการพัฒนาอาชีพให้กับตนเอง ในเวทีประชุมประจำเดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 126 คน ที่เข้าร่วมประชุมรับทราบโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม ซึ่งมีนายสัจจา พิพัฒน์ผล เป็นประธานโครงการฯ มีชาวบ้านหลายคนให้ความสนใจ และแจ้งความประสงค์จะสมัครร่วมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมตัวแทนครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานโครงการ คือ นายสัจจา พิพัฒน์ผล เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน แจ้งวาระการประชุมต่อประธานในที่ประชุม คือ นายวิรัตน์ ใจกระจ่าง เพื่อขอเวลาแจ้งรายละเอียดของโครงการฯ เวลา 14.30 น. ได้แจ้งรายละเอียดกับตัวแทนครัวเรือน 126 คน และประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

 

20 20

5. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการจำนวน 15 คน ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการองค์กรเกษตรผสมผสาน โดยมีนายสัจจา พิพัฒน์ผล เป็นประธานในที่ประชุม ได้แจ้งวาระการประชุม ในเรื่องการสรุปกิจกรรมจัดเวทีชี้แจงโครงการแก่ชุมชน คณะกรรมการช่วยกันออกแบบใบสมัครและช่วยกันกำหนดวิธีการ โดยในช่วงที่มีการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการได้ช่วยกันสรุปกิจกรรมในวันที่ 16 พ.ย.2555 การจัดเวทีชี้แจงโครงการชาวบ้านเข้าร่วม 126 คน มีหลายคนสนใจ โครงการน่าจะดำเนินไปได้ คณะกรรมการได้ออกแบบใบสมัครและมอบหมายให้คณะกรรมการไปรับสมัครชาวบ้านในเขตบ้านของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ไปตามแผนสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการจำนวน 15 คน ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการองค์กรเกษตรผสมผสาน โดยมีนายสัจจา พิพัฒน์ผล เป็นประธานในที่ประชุม ได้แจ้งวาระการประชุม ในเรื่องการสรุปกิจกรรมจัดเวทีชี้แจงโครงการแก่ชุมชน คณะกรรมการช่วยกันออกแบบใบสมัครและช่วยกันกำหนดวิธีการ โดยในช่วงที่มีการหาเสียงของการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลกะปางจนเลือกตั้งเสร็จ ให้คณะกรรมการช่วยกันรับสมัครชาวบ้านที่สนใจในเขตบ้านของตนเอง และให้นำมารวมกันในวันที่ 19 ธ.ค.2555

 

15 30

6. ประคณะกรรมการดำเนินโครงการ

วันที่ 19 ธันวาคม 2555 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรวบรวมใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการและวางแผนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการช่วยกันรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการได้จำนวน 30 ครัวเรือน และกำหนดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนในวันที่ 27 มกราคม 2556 ทางโครงการได้เชิญวิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสาน 3 ท่าน และประสานงานกับ ธกส.สาขาที่วัง อำเภอทุ่งสง เรื่องขอสนับสนุนสมุดบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ไปตามแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการจำนวน 15 คนได้มาประชุม มีนายสัจจา พิพัฒน์ผล ประธานในที่ประชุม ได้คุยเรื่องการรวบรวมใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และการวางแผนการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน คณะกรรมการแต่ละคนได้นำใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการมารวบรวมได้ 30 ครัวเรือน และที่ประชุมมีมติว่า ควรจะเปิดให้ผู้สนใจสมัครเพิ่มได้อีกจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556

 

0 0

7. ประชุมคณะกรรมการ

วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อาจารย์พี่เลี้ยงแนะนำการรายงานผลการดำเนินงานทั้งทางอินเตอร์เนตและรายงานเอกสารทางการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการมีความเข้าใจการส่งรายงานผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเตรียมรับการติดตามผลงานของอาจารย์พี่เลี้ยง

กิจกรรมที่ทำจริง

อาจารย์พี่เลี้ยงแนะนำการรายงานผลการดำเนินงานทั้งทางอินเตอร์เนตและรายงานเอกสารทางการเงิน

 

0 0

8. รายงานความก้าวหน้าของโครงการกับพี่เลี้ยง

วันที่ 20 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อ.กำไล ,อ.อภิวัฒน์ และอ.สุดา ช่วยตรวจความเรียบร้อยของเอกสารและแนะนำการรายงานผลการทำกิจกรรมของกลุ่มให้ทำให้เสร็จทันตามงบประมาณ และเวลาที่กำหนด ตัวแทนโครงการมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พบอาจารย์พี่เลี้ยง รายงายความก้าวหน้าของโครงการ การเก็บหลักฐาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนโครงการ  3  คนเข้าพบพี้เลี้ยงโครงการ ที่ห้องประชุมชั้น 2 ตึกอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช รายงานการทำกิจกรรมที่ผ่านมา การเก็บหลักฐานทางการเงิน และ ปรับเปลี่ยนปฏิทินให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 

 

0 0

9. ปรชุมคณะกรรมการโครงการ

วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการ 15 คน ร่วมประชุมที่ ทำการโครงการ มีนายสัจจา  พิพัฒน์ผลเป็นประธาน ประชุมเรื่องการเตรียมความพร้อมในการทำบัญชีครัวเรือน  เรื่องวิทยากร เรียบร้อยดี  การจักหาสมุดบัญชีครัวเรือน นายพยนต์  จันทร์มาศ ไปขอ ธกส. สาขาที่วัง มาได้  30  เล่ม คระกรรมกราได้ร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กำหนดวันที่ 27  มกราคม 2556 ทำกิจกรรม ใช้สถานที่ ที่ทำการโครงการ จัดเตรียมสถานที่  เตรียมสมุดบัญชีครัวเรือนไว้แจกผู้เข้าร่วมโครงการ  38  เล่ม  และมีการทำกิจกรรมอื่นๆอีก คือ สาธิตการทำน้ำยาล้างจานแจกสมาชิก  และการทำหุ้นหมูหลุม ซึ่งคณะกรรมการได้ทดลองเลี้ยงไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้บริโภคหมูที่ปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเตรียมความพร้อมการทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการ 15 คน ร่วมประชุมที่ ทำการโครงการ มีนายสัจจา  พิพัฒน์ผลเป็นประธาน ประชุมเรื่องการเตรียมความพร้อมในการทำบัญชีครัวเรือน  เรื่องวิทยากร เรียบร้อยดี  การจักหาสมุดบัญชีครัวเรือน นายพยนต์  จันทร์มาศ ไปขอ ธกส. สาขาที่วัง มาได้  30  เล่ม คระกรรมกราได้รับแจกก่อนหน้านี้  8  เล่ม รวมจะมีสมุดที่สมาชิกได้ใช้  38  เล่ม

 

0 0

10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 27 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน สามารถทำบัญชีในชีวิตประจำวัน และใช้เป็นแนวทางในการลดรายจ่ายได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกรับแจกสมุดบัญชีไปทำบัญชีครัวเรือนของตนเองเริ่มวันที่  1 มีนาคม  2556 การประสานงานกับธกส. เป็นผลจากธกส.จะเลือกหมู่ที่ 4 เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และจะประสานงานให้เกิดธนาคารต้นไม้ในหมู่ที่4 ของตำบลกะปาง เพราะในสมาชิกขององค์เกษตรผสมผสานที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานมีการปลูกไม้ใช้สอย และไม่ยืนต้นที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นธนาคารต้นไม้ไว้แล้วหลายพันต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน  โดยมีวิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยน สอนวิธีการทำบัญชีครัวเรือนแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและผู่้สนใจ

กิจกรรมที่ทำจริง

สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทำบัญชีครัวเรือน ณ ที่ทำการโครงการ  โดยมีวิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยน โครงการได้ขอสนับสนุนสมุดบัญชีครัวเรือนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สาขาที่วัง อำเภอทุ่งสง จำนวน 38 เล่ม วิทยากรแนะนำการลงรายการในสมุดสมาชิกชักถามการลงรายการที่ไม่แน่ใจจะลงอย่างไร  การจัดกิจกรรมมีการกำหนดติดตามความก้าวหน้าของการทำบัญชืโดยการให้สมาชิกนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกวันที่ 27 ของเดือน  และทางโครงการมีการส่งเสริมให้สมาชิกทำบัญชีกันในทุกครัวเรือน โดยการจัดให้มีรางวัลสำหรับสามชิกที่ทำบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอแม่ใกล้จะสิ้นสุดโครงการ

 

50 60

11. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมณ ที่ทำการองค์กรเกษตรผสมผสานมีนายสัจจาเป๋็นประธาน  คณะกรรมการฃ่วยกันสรุปผลจากการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชชีครัวเรือน และกำหนดให้คณะกรรมการแบ่งหน้าที่ในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยน้ำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ผลสรุปการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจะมีการติดตามผลกันทุกวันที่ 27 ของเดือน มีการกำหนดรางวัลผู้ทำบัญชีครัวเรือนดีเด่น และกำหนดให้ นายสัจจา รับผิดชอบเรื่องการทำปุ๋ยน้ำจากขยะในครัวเรือน  นายจรินรับผิดชอบการทำน้ำหมักสำหรับหยอดขี้ยาง  นาปรีชารับผิดชอบการทำปุ๋ยน้ำจากพืชผัก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรูู้เรื่องการทำบัญฃีครัวเรือน  และวางแผนเตรียมงานของกิจกรรมเรื่องการทำปุ๋ยน้ำในวันที่ 8 ก.พ. 2556

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมณ ที่ทำการองค์กรเกษตรผสมผสานมีนายสัจจาเป๋็นประธาน  คณะกรรมการฃ่วยกันสรุปผลจากการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชชีครัวเรือน และกำหนดให้คณะกรรมการแบ่งหน้าที่ในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยน้ำ

 

0 0

12. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำป๋ยน้ำ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้สมาชิกผลิตปุ๋ยน้ำจากเศษขยะในครัวเรือน  ปุ๋ยน้ำจากพืชผัก และน้ำส้มหยอดขี้ยาง 2. เพื่อให้สมาชิกลดต้นทุนเรืองปุ๋ยและได้มีผักปลอดภัยจากสารพิษไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจการทำปุ๋ยน้ำ มีทั้งสมาชิกในหมู่ที่ 4 และหมู่ท่ี 6 ซึ่งเป็นหมู่บ้านติดต่อกันเข้าร่วมกิจกรรมด้วย  สมาชิกให้ความสนใจการทำปุ๋ยน้ำที่ใช้ใส่ต้นยางและปุ๋ยน้ำสูตรน้ำส้มหยอดขี้ยาง  เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับอาชีพของตนเองได้ โดยเฉพาะสูตรหยอดขี้ยางสมาชิกที่กรีดยางทำขี้ยางจะให้ความสนใจมาก  สนใจฝึกและรับแจกกากน้ำตาล และพด.2 ไปทำที่บ้านตนเองเมื่อทดลองทำแล้วไม่ยุ่งยาก
สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันในเรื่องประโยชน์ของปุ๋ยน้ำ มีสมาชิกได้ทดลองใช้ปุ๋ยน้ำแล้ว กรีดยางได้น้ำยางมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ใส่ปุ๋ยน้ำ สมาชิกอีกหลายๆคนสนใจจะใช้ปุ๋ยน้ำด้วย ผลจากการเข้ามาประสานงานของ กศน.อำเภอทุ่งสง เข้าร่วมเวทีชี้แจงโครงการที่ลงสู่ฃุมฃนให้ผู้ที่สนใจปลูกผักพื้นบ้าน  ก.ศ.น.จะทำให้โครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนซิ้อพันธ์ผักพื้นบ้าน จำนวน 9,100 บาท โครงการสามารถแจกพันธุ์เขลียงให้แก่สมาชิกจำนวน 30 ครัวเรือนในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชพืนบ้าน สมุนไพร และไม้ใช้สอย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้สมาชิกเข้าร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยน้ำจากเศษผักเศษอาหารในครัวเรือน โดยมีวิทยากรหลักคือ สมาชิกขององค์กรเกษตรผสมผสานที่เป็นสมาชิกของกองทุนปุ๋ยหมักชุมชน ม. 4 ต.กะปาง
โครงการนี้จัดเตรียมวัสดุในการฝึกปฏิบัติให้ และมีการแจกกากน้ำตาลให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการไปฝึกทำที่บ้านของตนเอง

กิจกรรมที่ทำจริง

สมาชิกเข้าให้ความสนใจร่วมเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยน้ำสูตรต่างๆ ได้แก่ สูตรหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน  สูตรหมักจากพืชผัก สูตรหมักจากส้มชนิดต่างๆ(สูตรน้ำส้มหยอดขี้ยาง) สมาชิกฝึกทำปุ๋ยน้ำ ฝึกเตรียมวัตถุดิบ เตรียมกากน้ำตาล เตรียมพด.2(เชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ติน)วิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานร่วมแลกเปลี่ยนกับสมาชิก  สมาชิกลงมือฝึกปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำ  โครการแจกกากน้ำตาล และ พด.2 ให้สมาชิกไปฝึกทำที่บ้านของตนเอง มีตัวแทนจาก กศน.อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาประสานงานกับโครงการเรื่องการปลูกผักและพืชพื้นบ้าน  จะให้งบประมาณสนับสนุนการทำกิจกรรมการขยายพันธุ์พืชของโครงการ คณะกรรมการโครงการจึงเชิญให้ชี้แจงรายละเอียดให้สมาชิกรับทราบด้วย

 

50 70

13. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้เรี่องการทำปุ๋ยน้ำ และวางแผนงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านพืชสมุนไพรและไม้ใช้สอย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการช่วยกันสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยน้ำ ได้ผลสรุปคือ การทำปุ๋ยน้ำมีสมาชืกสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งคนในหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 อาจมีผลมาจากผู้สนใจได้ทราบถึงประโยชน์ของการนำปุ๋ยน้ำไปใช้ ซึ่งสามารถทำสูตรบำรุงส่วนต่างๆของพืช และสามารถใช้แทนน้ำกรดหรือน้ำส้มฆ่ายางที่ชาวบ้านใช้ในการทำให้ยางแข็งตัว  ผู้สนใจนั้นได้เรียนรู้ปุ๋ยน้ำสูตรหมักจากพืช หมักจากเศษอาหารในครัวเรือน และสูตรหมักน้ำส้มหยอดขี้ยาง(ได้รับควมสนใจมาก) มีสมาชิกและผู้สนใจรับแจกกากน้ำตาลและ พด2 ไปทดลองทำที่บ้านของตนเอง ในวันนั้นและมีผู้สนใจเข้ามาขอความรู้เพิ่มหลังการทำกิจกรรม การวางแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนดรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก กำหนด  วันที่  25 กุมภาพันธ์ 2556 สถานที่ คือ ที่ทำการกองทุนปุ๋นหมักชุมชนหมู่ที่ 4  โครงการจะประสานงานกับคณะกรรมการของกองทุนปุ๋ยฯ ให้เตรียมวิทยากรและวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักตามงบประมาณที่โครงการมีให้
การวางแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอยนั้น กำหนดวนที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 คณะกรรมการ โครงการจะประสานงานกับคณะกรรมการกล่มพันธุ์กรรมพืชจัดเตรียมวิทยากรและวัสดุอุปกรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้เรี่องการทำปุ๋ยน้ำ และวางแผนงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านพืชสมุนไพรและไม้ใช้สอย

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการจำนวน 15 คนร่วประชุม มีนายสัจจา พิพัฒน์ผลเป็นประธานในที่ประชุมได้แจ้งวาระการประชุมเรื่องการสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้เรี่องการทำปุ๋ยน้ำ และวางแผนงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านพืชสมุนไพรและไม้ใช้

 

0 0

14. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้าน สมุนไพร และไม้ใฃ้สอย

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้สมาชิกมีเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชแล้วนำไปใช้ในพื้นที่ตนเอง 2.เพื่อให้สมาชิกมีอาหารที่ปลอดภัย และมีรายได้เสริม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกผุู้้เข้าร่วมโครงการสนใจการตอนกิ่งเขลียง ซึ่งการตอนนั้นสามารถปรับใช้ในการตอนพืชชนิดอื่นได้  สมาชิกมีการรวมกลุ่มกันลงแขกหรือหมุนเวียนกันช่วยตอนกิ่งเขลียงในพื้นที่ของตนเองและหมุนเวียนกัน จำนวน 10 คน ซึ่งกิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอนดังกล่าวจะนำมาจำหน่ายคืนให้กับโครงการบางส่วนและส่วนที่เหลือจะจำหน่ายผ่านกลุ่มพันธุ์กรรมพืช สมาชืกรับแจกถุงขุยมะพร้าวไปฝึกตอนที่บ้านตนเอง การปลูกพืชผักสวนครัวรับแจกพันธุ์มะเขือและพริกคนละ 15 ต้น กระถางคนละ 10 ใบ (เดิมจะแจกคนละ 15 ใบ แต่เนื่องจากมีผู้สนใจเพิ่มเติมจึงลดปริมาณเพื่อกระจายให้ได้คนปลูกจำนวนมากขึ้น)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้สมาชิกผุู้้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย
ฝึกขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง ฯ และให้สมาชิกไปฝึกขยายพันธุ์พืชในพื้นท่ีีตนเองมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกท่านอื่นๆ

กิจกรรมที่ทำจริง

สมาชิกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย  สมาชิกได้ฝึกขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านคือ ต้นเขลียง ด้วยวิธีการตอน ฝึกเตรียมถุงขุยมะพร้าว เชือกสำหรับผูกกิ่งตอน  ฝึกทำมีดสำหรับใช้ตอนกิ่ง
การปลูกพืชพื้นบ้านสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการปลูกต้นเขลียง เพราะสามารถปลูกแซมในสวนยางได้ ดูแลง่ายไม่ต้องใช้สารเคมี  ทางโครงการจะจัดหากิ่งพันธุ์เขลียงแจกให้สมาชิกเอง  เพราะการทำกิจกรรมนี้ทางโครงการได้รับความร่วมมือจาก กศน.ทุ่งสง สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 9100 บาท ทางโครงการจึงกำหนดจะใช้งบประมารดังกล่าวซื้อกิ่งพันธุ์เขลียง  โดยจะซื้อจากสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์กับโครงการ  สมาชิกที่ฝึกตอนกิ่งพันธุ์เขลียงในพื้นที่ตนเองต้งใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะสามารถให้กับโครงการได้ การปลูกผักสวนโครงการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักสวนครัว สมาชิกได้รับแจกพันธุ์พริก และมะเขือไปปลูกในกระถาง ซึ่งกระถางนั้นสมาชิกมีมติให้จัดซื้อด้วยงบประมาณค่าอาหารกลางวัน

 

60 60

15. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก 2. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกใช้ปุ๋ยหมักสร้างอาหารที่ปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมักได้ 1 กอง จะใช้เวลาหมักประมาณ 3 เดือน เมื่อเสร็จจะแบ่งกันไปใช้ที่บ้าน สมาชืกได้ใช้ปุ๋ยหมักที่กองทุนปุ๋ยหมักผลิตไว้แล้ว มาผสมกับดินเพื่อใส่กระถางปลูกพริกและมะขือที่โครงการแจกให้ สมาชิกของโครงการบางคนเป็นสมาชิกของกองทุนปุ๋ยหมักชุมชนหมู่ที่ 4 ได้ทดลองใช้ปุ๋ยตั้งแต่ ปี 2551 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการช่วยกันทำทุกปี ซึ่งจะทำกันช่วงปิดกรีด หรือหน้าแล้งเพราะว่างจากการทำสวนยาง เป็นระยะเวลาปิดกรีด และเป็นการเตรียมปุ๋ยไว้ใส่สวนยางก่อนจะเปิดกรีด แต่ละปีผลิตได้ไม่น้อยกว่า 30 ตัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้สมาฃิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปูุุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรจากกองทุนปุ๋ยหมักคอยให้คำแนะนำ

กิจกรรมที่ทำจริง

สมาฃิกเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปูุุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรจากกองทุนปุ๋ยหมักคอยให้คำแนะนำ มีการเรียนรู้สูตรปุ๋ยหมัก การเตรียมวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก สมาชิกได้ทดลองทำปุ๋ยหมักโดยใช้วัตถุดิบต่างๆ ได้แก่  มูลสัตว์(มูลวัว มูลไก่ มูลหมู มูลค้างคาว )รำข้าว  ผักตบชวา แกลบ  น้ำหมักชีวภาพ และ พด.1  สมาชิกได้ช่วยกันฝึกกองปุ๋ยหมักเป็นชั้นๆ ตามที่วิทยากรแนะนำ ซึ่งปุ๋ยกองนี้เมื่อหมักสำเร็จจะได้นำมาแจกให้สมาชิกไปทดลองใช้ที่บ้านตนเอง

 

50 50

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 128,160.00 59,735.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.การเมืองท้องถิ่น 2.ก่รทำกิจกรรมบางกิจกรรมผู้ร่มโครงการส่งตัวแทนผู้หญิง แต่ลักษณะะของงานเหมาะกับผู้ชาย อาจจะส่งผลให้การทำกิจกรรมได้ผลไม่มากนัก 3.การไม่มั่นใจว่าใครจะได้ประโยชน์

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายสัจจา พิพัฒน์ผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ