assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำองค์ความรู้อาหารปลอดภัยในนาอินทรีย์3 พฤษภาคม 2556
3
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้เอกสารสำหรับเผยแพร่จำนวน 450 เล่มๆละ 100 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เนื่องจากเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ราคา 40บาทไม่สามารถทำได้ ประกอบกับต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เรียบเรียงและผู้ทำข้อมูล

สรุปกิจกรรม / การประเมินผล23 เมษายน 2556
23
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีเพื่อร่วมประเมินโครงการ ซึ่งใช้ 2 วิธี 1.เชิญแกนนำ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาคี 2. ประเมินจากเครื่องมือ ลักษณะแบบสอบถาม มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 35 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริงจากการประเมินคือ อยากให้มีโครงการดีดีอย่างนี้อีกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาทำนาและรักษาฐานอาหารในชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งการรักษาฐานอาหารไม่เฉพาะแต่ข้าวแต่หมายรวมไปถึงอาหารที่อยู่ในนาข้าวด้วย ซึ่งมีข้อเสนอให้ทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปลาคลักซึ่งเป็นปลาธรรมชาติที่อยู่ในนาขาวที่เกิดจากการที่ชาวนาไม่ใช้ปุ๋ยเคมี มีการสรุปผลจากการดำเนินโครงการเป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชน

งานวัฒนธรรมข้าวพื้นบ้านเวทีเสวนาเรื่องข้าว17 เมษายน 2556
17
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. พิธีเปิดช่วงเช้าโดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พิธีสงฆ์ ตามด้วยมโนราห์เยาวชน
  2. เวทีเสวนาหัวข้อเสวนา "ทำพรื่อ---ให้ข้าวพันธุ์พื้นบ้านเป็นวิถีและฐานอาหารของคนบ่อแดง"โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้และปฎิบัติจริงในการทำนามาให้ความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนับคนในชุมชนและคนในเครือข่ายต่างพื้นที่ นอกจากนั้นเยาวชนจากโรงเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการก็ให้ความสนใจและได้เข้าร่วมกิจกรรมการนวดข้าว ฝัดข้าว ซ็อมสารและเป่าปี่ซังข้าว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 75 คน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ในเวทีเสวนานอกจากวิทยากรที่เชิญแล้วยังมีผู้สูงอายุในชุมชนมาร่วมแลกเปลี่ยนและเล่าถึงอาชีพการทำนาสมัยโบราณให้เด็กและเยาวชนฟังด้วย และยังสาธิตการนวดข้าว การฝัดข้าว การซ็อมข้าว และสอนให้เด็กๆหัดทำปี่จากซังข้าวซึ่งจะมีขั้นตอนและคาถาในการทำปี่ดังนี้ยนๆแยงๆจับปลาหางแดงเข้าร่องดีปลี จับนายทองสีให้นั่งเป่าปี่ ติ๊แต่ ติ๊แต่ ติ๊แต่

- หาซังข้าวมาตัดให้ติดข้อยาวประมาณ3-4 นิ้ว - ปีบใต้ข้อให้แตกแล้วใช้ซังส่วนที่ติดกับรวงข้าวมาทิ่มเข้าไปในซังปี่เพื่อให้เยื่อของซังขาวหลุดออมาจะทำให้ปี่มีเสียงที่ไพเราะ พร้อมกันนั้นก็มีคาถาเสกไปพร้อมกันว่า ยนๆแยงๆจับปลาหางแดงเข้าร่องดีปลี จับนายทองสีให้นั่งเป่าปี่ ติ๊แต่ ติ๊แต่ ติ๊แต่

งานวัฒนธรรมข้าวพื้นบ้าน (รับเทียมดา ชาขวัญข้าว)16 เมษายน 2556
16
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เป็นกิจกรรมที่สร้างความเชื่อด้านจิตใจซึ่งทุกคนจะเชื่อว่าช่วงเดือนห้าจะเป็นช่วงว่างเทวดา หลังสงกรานต์ 3 วันจะมีการทำพิธีรับเทียมดาซึ่งเชื่อว่าเป็นการรับเทวดาองค์ใหม่และเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมเกิดความสุข -เป็นวิถีความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีของคนในุชุมชน -ผู้เข้าร่วมมีทั้งเด็กเยาวชน คนวัยทำงานและผู้สูงอายุ
-จำนวนผู้เข้าร่วม 35 คน -เริน หรือเรือนเทียมดาข้างในจะมีรวงข้าวที่ชาวบ้านนำมาเพื่อทำพิธีชาขวัญข้าว ส่วนบนหลังคาเรินข้าวจะมีธงที่เขียนว่า บ้านนี้รับเทียมดาแล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดผู้สนใจที่จะเข้าร่วมทำนาด้วยพันธุ์ข้าวพื้นบ้านจำนวน 6ครัวเรือน เฉพาะใน 1 หมู่บ้าน 2.เกิดการขยายในการทำพิธีรับเทียมดา ชาขวัญข้าว 2 หมู่บ้าน

ประชุมเตรียมงาน12 เมษายน 2556
12
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมงานวัฒนธรรมข้าว จำนวน 20 คน มีผญ. หมู่ที่ 6 อาจารย์จาก รร. สทิงพระชนูปถัมภ์เข้าร่วม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดงานวันนาวานลงแขกเกี่ยวข้าว2 มีนาคม 2556
2
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกันเก็บข้าวโดยใช้สมาชิกในเครือข่าย 4 ตำบลเข้าร่วมคือ ตำบลบ่อแดง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ่อดาน ตำบลม่วงงามและเครือข่ายโรงเรียนที่นำเด็กเข้าร่วมกิจกรรม มีการฝึกให้เด็กเก็บข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีการเก็บข้าวแบบซอแรง -สร้างสุขภาวะในชุมชนมีการเล่าถึงการเก็บข้าวสมัยก่อนให้เด็กฟังเช่นถ้าข้าวในนาสุกก่อนที่จะลงเก็บข้าว จะต้องมีพิธีกรรมแรกเก็บข้าวก่อนโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการลงแรกเก็บคือจะต้องดูตำราโหราศาสตร์ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในการแรกเก็บข้าวจะต้องให้ได้ ทั้งธาตุ ดิน และธาตุน้ำ มีการผูกซังข้าวตามด้วการร่ายคาถาเชิญแม่โพสพซึ่งเป็นเทพธิดาข้าวให้มาช่วยปกปักรักษาข้าวในนาซึ่งจะมีอยู่ตอนหนึ่งที่ว่า " มาแม่มา ใครเรียก ใครหา แม่อย่าไป" พอเล่าถึงตอนนี้ทำให้หลายคนที่มีอายุมากแล้วจะนึกขึ้นมาได้ในเรื่องที่ตัวเองรู้ก็จะร่วมกันเล่าเป็นที่สนุกสนานมาก แม้แต่อาหารที่ใช้เลี้งในวันนาวานก็พยายามฟื้นฟูอาหารสมัยโบราณ ซึ่งเด็กในสมัยนี้ไม่รู้จัก เช่นของหวานที่นำมาเลี้ยงชื่อเหนียวละหวะซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ 1.ข้าวเหนียว 2.สาคู 3.ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 4.น้ำกะทิ 5.น้ำผึ้งโตนดหรือน้ำตาลทราย 6.เกลือ วิธีทำข้าวเหนียวแช่น้ำให้นิ่มแล้วนำมานึ่งให้สุก นำน้ำกะทิมาตั้งไฟระวังอย่าให้แตกมันจากนั้นนำส่วนผสมที่กล่าวมาข้างต้นใส่ในหม้อแล้วกวนเข้าด้วยกันให้เป็นน้ำเหลวๆ ชิมรสดูให้มีรสกลมกล่อม หวานมัน วิธีรับประทานตักราดบนข้าวเหนียว อร่อยอย่าบอกใคร ที่นิยมอีกอย่างคือขนมลอดช่องเขียวกะทิสดหรือแถวบ้านเรียกว่า หนมเท่ะดิบ

พี่เลี้ยงลงพื้นที่ เพื่อติดตามโครงการ16 ธันวาคม 2555
16
ธันวาคม 2555รายงานจากพี่เลี้ยง โดย parichat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การลงพื้นที่ครั้งนี้มีกิจกรรมหลักๆด้วยกัน 2 กิจกรรม คือ 1. ติดตามการลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการเขียนรายงาน ส.1 ส.2 และง.1 ซึงจากการตรวจสอบไม่พบปัญหา และใบเสร็จที่ใช้ก็เป็นไปตามข้อกำหนดของสสส. 2. การถอดบทเรียนการทำนาพันธ์ข้าวพื้นบ้าน จากการพูดคุยกับพี่ลลิตาผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เล่าถึงที่มาของโครงการนี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่หันมาปลูกข้าวพันธุ์ผสม ข้อเสียของข้าวพันธ์นี เมื่อโดนน้ำท่วมจะไม่มีการฟื้นตัวได้ (โดยสภาพพื้นที่มักมีน้ำท่วมบ่อย) ดังนั้นพี่ลลิตาได้นำแนวคิดการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมืองจากกลุ่มคาบสมุทรมาปรับใช้ โดยชักจูงพื้นที่ ได้แก่บริเวณวัดจันทร์/บ่อดานและม่วงงามมาร่วมกันทำนาข้าว พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ได้แก่ พันธุ์ข้าวช่อขิงขาว/ช่อขิงแดง จากเทพา, พันธุ์ข้าวนางพญา/หอมจันทร์ เป็นต้น จากการดำเนินกิจกรรมพบภาคีเข้าร่วม คือ
- รพ.สต. จะช่วยในการให้ความรู้เกี่ยวกับสารพิษของสารเคมีที่ใช้ เพทฃื่อให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ - อบต. ให้ความสำคัญต่อการทำนาเกษตรอินทรีย์ กระบวนการทำนาหลักๆประกอบด้วย 1. การไถดะเพื่อให้หญ้าตาย ประมาณ 3 สัปดาห์ เริ่มไถตั้ง จากนั้นไถแปล ให้ดินมีน้ำ 2. เริ่มหว่าน
3. ใสปุ๋ย 4. พอข้าวสุกเต็มที่ ก็มีการลงแขกเกี่ยวข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ดำเนินตามปฏิทินโครงการ ซึ่งอาจมีเลื่อนวันทำกิจกรรมบ้าง เนื่องจากพันธ์ข้าวมีปัญหาเป็นเชื้อรา จำเป็นต้องหาซื้อใหม่ เพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้าน (ไม่ได้แจกฟรี แต่มีข้อกำหนดว่า หลังจากเกี่ยวข้าวได้แล้ว ต้องมีการคืนกลับให้กับชุมชน 5 กิโลต่อปี เพื่อจะได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านทำในปีต่อๆไป)
  • ชาวบ้านให้ความสนใจ ร่วมกันทำกิจกรรม เนื่องจากโครงการเอื้อต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน อีกทั้งยังช่วยลดรายจ่าย สามารถนำข้าวที่ปลูกไปใช้หุงหาอาหารได้อีกด้วย
  • ข้อดี ของข้าวพันธุ์พื้นบ้าน คือ เมื่อโดนน้ำท่วมสามารถฟื้นคืนได้ ดังนั้นจึงไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับชาวบ้านที่ปลูกข้าว
โยนกล้า24 พฤศจิกายน 2555
24
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ก่อนโยนกล้า 1 วันได้เตรียมไถ คราดนาเพื่อทำเทือกน้ำตมโดยแช่ไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นก็นำกล้าที่เพาะไว้แล้วไปโยนในนา  หลังจากนั้นทิ้งไว้สัก 5-7 วันค่อยปล่อยน้ำเข้าในนา ส่วนกล้าที่โยนแล้วก็จะทรงตัวขึ้นเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังจากโยนกล้าแล้ว ต้องรอให้ฝนตกเพื่อเลี้ยงต้นกล้าต่อไป เพราะในขณะนี้นาหลายแปลงกำลังขาดน้ำ

ถอนกล้าที่ตกไว้เมื่อเดือนกันยายน17 พฤศจิกายน 2555
17
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมาชิกร่วมกันถอนกล้าที่หว่านไว้เมื่อเดือนกันยายน เพื่อนำไปดำในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว ซึ่งในวันที่ 19 สมาชิกได้ร่วมกันดำนา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ต้นกล้าจะยาวมากแล้วเพราะได้เตรียมตกกล้าไว้หลายเดือนแล้ว แต่ด้วยเหตุผลที่ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวทำให้ต้องรอน้ำสำหรับดำนาเลยทำให้ต้นกล้ามีอายุที่ยาวมากถ้าเป็นช่วงที่น้ำสมบูรณ์การตกกล้าจะอยู่ทีประมาณปลายตุลาคมต้นพฤศจิกายน แต่ก็ไม่มีผลกระทบมากนัก

เพาะกล้าเตรียมนาโยน10 พฤศจิกายน 2555
10
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางทีมงานได้เตรียมพันธุ์ข้าว ถาดโยนกล้า และดินสำหรับใก้สมาชิกได้ร่วมกันเพาะ วิธีเพาะข้าว ดิน 1/2 หลุม หยอดเมล็ดลง2-3 เมล็ดแล้วกลบด้วยดินให้เต็มหลุม รดน้ำทุกวันโดยใช้  แสลนคลุมเวลารดน้ำ ประมาณ 5-7 วันก็เอาแสลนออกได้ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก็สามารถนำไปโยนได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ถาดโยนกล้าที่พร้อมโยนในนาจำนวน 180 ถาดและในวันที่ 11 อีก 170 ถาดรวม350ถาดใช้สำหรับโยนนาได้ 5 ไร่ ตามที่ได้วางแผนไว้ แต่ตอนชี้แจงโครงการมีสมาชิกจำนวนหนึ่งอยากทดลองทำบ้าง ทางโครงการจึงได้ซื้อถาดโยนกล้าเผื่อกับสมาชิกด้วยจำนวน 150 แผ่น และมีข้อตกลงเมื่อสมาชิกทำกิจกรรมแล้วเสร็จจะต้องนำถาดโยนกล้ามาเก็บไว้ที่เครือข่ายเพื่อจะได้ใช้อีกหลายปีจากข้อมูลการใช้งานสามารถใช้ได้2-3 ปี หมายถึงต้องเก็บและดูแลให้ดี

ไถแปรเพื่อเตรียมตกกล้า29 กันยายน 2555
29
กันยายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงมือทำจริงโดยการไถที่นาและหว่านข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดฝนตกก่อนที่จะไถแต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคเพียงแต่หลังจากไถเสร็จก่อนจะหว่านข้าวจะต้องสูบน้ำออกเพื่อให้เหมาะกับการหว่านข้าว  ตามปฎิทินงาน วันที่30ก.ย 55 จะต้องหว่านข้าว กิจกรรมนี้ต้องเลื่อนมาทำในวันที่ 29ก.ย55 เพราะหลังจากสูบนำออกแล้วได้เทือกพอดีแล้วถ้าปล่อยไว้เกรงฝนจะตกอีกจึงต้องหว่านเลย

นัดสมาชิกมาเพื่อเลือกพันธุ์ข้าวที่จะปลูก12 สิงหาคม 2555
12
สิงหาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หลังจากแจ้งความจำนงเลือกพันธุ์ข้าวได้แล้วก็ได้ร่วมกันทำปุ๋ยเพิ่มเพื่อไว้ใช้ในกิจกรรมซึ่งมีนาทั้งหมด 45 ไร่
ได้ข้าวพันธุู์พื้นบ้านทั้งหมด 8 สายพันธุ์ที่ทำนา45ไร่ พันธุ์ข้าวคอนเหมิง ข้าวเล็บนก ข้อาวหอมจันทร์ ข้าวช่อขิงแดงกับข้าวช่อขิงขาว ข้าวเชี่ยง ข้าวนางพญา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พันธุ์ข้าวที่สมาชิกเก็บไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์กลับใช้ไม่ได้เนื่องจากเมื่อปีที่ผ่านมา ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวตรงกับช่วงที่มีนำท่วมนา การเก็บรักษาจึงเป็นอุปสรรคทำให้ข้าวมีความชื้น เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราไม่สามารถนำมาเป็นพันธุ์ข้าวในปีนี้ได้และได้มีข้อตกลงกับสมาชิก หลังเก็บเกี่ยวแล้วทุกคนจะต้องนำข้าวมาคืนให้กับเครือข่ายหรือกับคณะทำงานโครงการคนละ 5 กก.เพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพันธ์ข้าวปลูกสำหรับของสมาชิกและขยายให้กับสมาชิกใหม่เพิ่มในปีถัดไป

ประชุมสมาชิกที่ทำนาอินทรีย์7 กรกฎาคม 2555
7
กรกฎาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการอบรมและให้ความรู้ผู้เข้าร่วม ความรู้เรื่องการออกแบบการทำนา สายพันธู์ข้าวพื้นบ้าน และให้ความรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ ฝึกทำปุ๋ยอินทรีย์
  • มีการแลกเปลี่ยนเรื่องการทำนา ระยะเวลาในการตกกล้า การดำนา
  • แลกเปลี่ยนเรื่องปุ๋ยและวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
  • ผู้เข้าร่วม เด็กและเยาวชน สมาชิกสภาองค์กรชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา จำนวน 80 คน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 45 คน
  • ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เตรียมไว้สำหรับใช้ในกิจกรรม
  • มีภาคีเข้าร่วมจากศูนย์วิจัยข้าว มาให้ความรู้ และภาคีจากโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ที่นำเด็กมาร่วมเรียนรู้
ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ20 มิถุนายน 2555
20
มิถุนายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ให้ความรู้เรื่องการออกแบบการทำนาด้วยข้าวพันธุ์พื้นบ้าน เรียนรู้เรื่องปุ๋ย ร่วมกันทำปุ๋ย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 45 คน -ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนจำนวน 20 คน -หน่วยงานภาคีจำนวน 4 หน่วยงาน กศน. รพสต. อบต. โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์