แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า

ชุมชน บ้านเกาะยะระโตดนุ้ย

รหัสโครงการ 55-01814 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1057

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 26 ตุลาคม 2555 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมโครงการให้กับชาวบ้านได้รับทราบถึงที่มาของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้านและเยาวชนเข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงโครงการ 90 คน
  • ชาวบ้านเข้าใจที่มา วัตถุประสงค์ ให้ความสนใจโดยดูจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมหมู่บ้านชี้แจงโครงการและกิจกรรมโครงการให้กับชาวบ้านได้รับทราบถึงที่มาของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมโครงการ
  • เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการ

 

0 0

2. การประชุมปฐมนิเทศกองทุนโครงการร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่ภาคใต้

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ผู้เสนอโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการลงข้อมูลโครงการในเว็บ www.happynetwork.org -ได้รับทราบวิถีการทำบัญชีเงินสดรายวัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผูรับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง

กิจกรรมที่ทำจริง

-ทบทวนและออกแบเชิงระบบของโครงการ

 

0 0

3. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/1

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แกนนำทำฐานข้อมูลฯทั้งหมด 34 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รับสมัครเยาวชน 10 คน เป็นอาสาสมัครสำรวจจำนวนชนิดพื้นที่สิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนและประชุมเยาวชนเพื่อวางแผนการเก็บข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของมัสยิดให้เยาวชนและชาวบ้านรับทราบถึงกิจกรรมที่จัดเพื่อรับสมัครเยาวชนและตัแทนกลุ่มต่างเพื่อสำรวจข้อมูลทรัพยากรทางทะเลเยาวชน มาลงทะเบียนสมัคจำนวน 22 คน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ 12 คน รวมทั้งหมด 34 คน จึงรับไว้ทั้งหมด

 

0 0

4. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/2

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อออกสำรวจสิ่งมีชีิวิตในป่าชายเลนในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชน 24 คน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ 10 คน รวมทั้งหมด 34 คน ลงปฏิบัติสำรวจป่าชายเลน ตั้งแต่บริเวณหน้าเกาะถึงหลังเกาะ เพื่อสำรวจสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน โดยให้เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ จดบันทึกข้อมูลที่พบเช่น ชื่อต้นไม้แต่ละชนิด สัตว์น้ำแต่ละชนิด ซึ่งเยาวชนได้จดบันทึกไว้ สิ่งที่ไม่รู้จักก็จะสอบถามจากตัวแทนกลุ่มที่ได้ไปร่วมสำรวจร่วมกัน จากการสำรวจในครั้งนี้ทำให้เยาวชนได้รู้จักชื่อพันธ์ไม้ ชื่อสัตว์น้ำมากขึ้น จากที่ได้สอบถามเยาวชนที่ไปสำรวจป่าชายเลนว่ามีความรู้สึกอย่างไรในการไปสำรวจป่าครั้งนี้ เยาวชนได้ตอบว่า รู้สึกภูมิใจที่ป่าบริเวณรอบเกาะยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ และในการสำรวจในครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักชื่อพันธ์ไม้ที่ไม่รู้จักมากขึ้น ได้เรียนรู้ว่าในป่าชายเลนนั้นมีสิ่งมีชีวิตหลายอย่างอาศัยอยู่ จากที่เห็นแบบผ่านตาก็ได้รู้มาขึ้น และจะช่วยอนุรักษ์ป่าชายเลนรอบเกาะให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป

ทรัพยากรที่พบในป่าชายเลน

  1. ต้นไม้

- ต้นโกงกางใบเล็ก - ต้นโกงกางใบใหญ่ - ต้นแสม - ต้นปีปี - ต้นมูตา (ต้นตาตุ่ม) - ต้นปาด - ต้นลำพู (ต้นแซะ) - ต้นดูหงุน - ผักบุ้งทะเล

  1. หอย

- หอยเข็ม - หอยตาแดง - หอยลอกัน (หอยหยวก) - หอยลิงโก้ง (หอยควาย) - หอยแครงลิง - หอยแครง - หอยนางรมเล็ก - หอยเสียบ

  1. ปู

- ปูดำ - ปูลม - ปูหิน - ปูก้ามดาบ - ปูเปรี้ยว

  1. ปลา

- ปลาตีน - ลูกปลากระบอก - ปลาตาปู (ปลากัวกัว) - ปลาหัวมัน - ปลาโทงเล็ก

  1. กุ้ง

- กุ้งฝอย - กุ้งเคย - ลูกกุ้งขาว

  1. นก

- นกควัก - นกกระยาง - นกกุนจง

  1. มด

- มดแดง - มดตะนอย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สำรวจข้อมูลสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน พันธ์ไม้ สัตว์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เยาวชน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ  ลงปฏิบัติสำรวจป่าชายเลน ตั้งแต่บริเวณหน้าเกาะถึงหลังเกาะ เพื่อสำรวจสิ่งมีชีิวิตในป่าชายเลน โดยให้เยาวชนและตัวแทนกลุมต่างๆ จดบันทึกข้อมูลที่พบเช่น ชื่อต้นไม้แต่ละชนิด สัตว์น้ำแต่ละชนิด

 

0 0

5. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/3

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำเสนอผลการสำรวจสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ข้อมูลที่ได้ไปสำรวจมาว่ามีอะไรบ้างดังนี้ ทรัพยากรที่พบในป่าชายเลน 1. ต้นไม้ - ต้นโกงกางใบเล็ก - ต้นโกงกางใบใหญ่ - ต้นแสม - ต้นปีปี - ต้นมูตา (ต้นตาตุ่ม) - ต้นปาด - ต้นลำพู (ต้นแซะ) - ต้นดูหงุน 2. หอย - หอยเข็ม - หอยตาแดง - หอยลอกัน (หอยหยวก) - หอยลิงโก้ง (หอยควาย) - หอยแครงลิง - หอยแครง - หอยนางรมเล็ก - หอยเสียบ 3. ปู - ปูดำ - ปูลม - ปูหิน - ปูก้ามดาบ - ปูเปรี้ยว 4. ปลา - ปลาตีน - ลูกปลากระบอก - ปลาตาปู (ปลากัวกัว) - ปลาหัวมัน - ปลาโทงเล็ก 5. กุ้ง - กุ้งฝอย - กุ้งเคย - ลูกกุ้งขาว 6. นก - นกควัก - นกกระยาง - นกกุนจง 7. มด - มดแดง - มดตะนอย

มีชาวบ้ายเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม 50คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ให้เยวชนนำเสนอข้อมูลการสำรวจป่าชายเลนต่อที่ประชุมหมู่บ้าน เป้าหมาย : เยาวชน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ชาวบ้าน 50 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนเยาวชน 4 คน ออกมาเล่าจากการที่ได้ไปสำรวจสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟัง ว่าได้ไปพบอะไรมาบ้างและมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้ไปสำรวจมา

 

0 0

6. ธนาคารปูไข่

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารปูไข่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะกรรมการทำงานมีดังนี้
  1. นายสุรัตน์  อังสุพานิชย์ ประธาน

  2. นายสุวรรณ  ตีกาสม รองประธาน

  3. นายเปน  ลัดเลีย รองประธาน

  4. นายบากาด  หลงกอหราบ เหรัญญิก

  5. นายสมศักดิ์  สันเหล็ม เลขา

  6. นายสำสูเด็น  ใบดี ประชาสัมพันธ์

  7. นายบุญรักษ์  สันเหล็ม กรรมการ

  8. นายวีระ  ยีละงู กรรมการ

  9. นายลำหลี  อุโหยบ กรรมการ

  10. นายวัชรินทร์  ยาวาระยะ กรรมการ

  11. นายเจ๊ะมาหนุน  อุไสนี กรรมการ

  12. นายหมาน  หนูชูสุก กรรมการ

  13. นายอารี  เหมรา กรรมการ

  14. นายเจ๊ะเหรน  อุโหยบ กรรมการ

  15. นายอนันต์  ขาวผ่อง กรรมการ

  16. นายสุรัช  สุวาหลำ กรรมการ

  17. นายอาหลี  เหมรา กรรมการ

  18. นายประพันธ์  จันงาม กรรมการ

  19. นายสอแหละ  เหมรา กรรมการ

  20. นายดลฮอนี  สุวาหลำ กรรมการ

ที่ปรึกษา

  1. นายตาเหลบ  หัสนี อีหม่ำ

  2. นายอัมพร  เอียดนุช อาจารย์โรงเรียนบ้านเกาะยะระโตดนุ้ย

เวลา 16.00 น. นายดลฮอนี  สุวาหลำ ปิดประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสมาชิกธนาคารปูไข่ เพื่อ หากรรมการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสมาชิกนำธนาคารปูไข่ 34 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ วันที่ 30 พฤศจิกายน  2555
  • มีการคัดเลือกกรรมการโดยสมาชิก

 

0 0

7. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน

วันที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อวางแผนการทำงาน ทำโรงเพาะชำกล้าไม้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้กำหนดรูปแบบโรงเพาะชำกล้าไม้ มีขนาดความกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สถานที่ในการทำโรงเพาะชำบริเวณร่องเรือหน้าเกาะเป็นพื้นที่ราบมีขนาดกว้างเหมาะแก่การทำโรงเพาะชำและสะดวกในการดูแลกล้าไม้ ได้ออกแบบโรงเพาะชำกล้าไม้เสร็จ ก็แบ่งงานกันทำ โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ทีมที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมที่สองไปซื้ออุปกรณ์มาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยในแต่ละทีมกำหนดวันเอาเองว่าจะทำวันไหน โดยกำหนดวันที่ 22 ธันวาคม 2555 มาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆ เพื่อวางแผนการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะแกนนำทั้งหมด 30 คน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการทำงาน ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน ปรึกษากันว่าจะทำขนาดความกว้าง-ยาว เท่าไหร่ โดยออกแบบกันว่าทำรูปแบบในลักษณะไหน ทำบริเวณไหน ที่เหมาะแก่การเพาะชำกล้าไม้

 

0 0

8. เก็บข้อมูลปริมาณปูไข่ที่จับได้ 13/1

วันที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลธนาคารปูไข่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-หลังชี้แจงรายละเอียดให้ตัวแทนครัวเรือน 36 คนลองลงข้อมูลดู ผลปรากฎว่าผู้ที่ทำอวนปูทั้งหมด 36 ครัวเรือนสามารถลงได้ถูกต้องทุกคน  จากเดิมคาดว่าจะมีสมาชิกธนาคารปูไข่ 50 ครัวเรือนแต่พบว่าอ 14 ครัวเรือนออกนอกพื้นที่เพื่อทำงาน ทำให้เป้าหมายที่วางไว้ลดจำนวนลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ชี้แจงให้แต่ละครัวเรือนที่ทำอวนปูจดน้ำหนักปูที่จับได้ในแต่ละวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประธานโครงการ นายดลฮอนี สุวาหลำ ได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมเก็บข้อมูลปูไข่และชี้แจงวิธีการจดบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกว่าต้องบันทึกอะไรบ้าง

 

0 0

9. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้

วันที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วางแผนการทำงานสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆ 30 คนเพื่อวางแผนการทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ที่มที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมสอง ไปซื้ออุปกรณ์ทำโรงเพาะชำ หลังประชุมเสร็จทีมแรกก็เข้าป่าเพื่อตัดไม้นำมาสร้างโรงเพาะชำทีมที่สองนัดวันที่จะขึ้นฝั่งเพื่อไปซื้ออุปกรณ์มาทำโรงเพาะชำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆเพื่อวางแผนการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆ 30 คนเพื่อวางแผนการทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ที่มที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมสอง ไปซื้ออุปกรณ์ทำโรงเพาะชำ

 

0 0

10. ชักชวนผู้ทำอวนปูที่เหลือเข้าร่วมกลุ่ม

วันที่ 9 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชักชวนครัวเรือนที่อวนปูเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ออกเดินพบปะถึงประตูบ้าน เพื่อพูดคุยชักชวนให้ 30 ครัวเรือนที่ยังไม่เข้าร่วม เข้าร่วมธนาคารปูไข่ โดยแสดงให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันหากสามัคคีกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แบ่งกลุ่มละ 5 คน ออกเดินพบปะถึงประตูบ้าน เพื่อพูดคุยชักชวนให้อีก 30 ครัวเรือนเข้าร่วมธนาคารปูไข่ โดยแสดงให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันหากสามัคคีกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

-ออกเดินพบปะถึงประตูบ้าน เพื่อพูดคุยชักชวนให้ 30 ครัวเรือนเข้าร่วมธนาคารปูไข่ โดยแสดงให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันหากสามัคคีกัน

 

0 0

11. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/2

วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 00:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ที่ใช้ปลูกเพิ่มปริมาณป่าชายเลน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำฯ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จะทำต่อในวันพรุ่งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมแรงกันสร้างโรงเพาะชำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำ

 

0 0

12. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/2

วันที่ 23 ธันวาคม 2555 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ที่ใช้ปลูกเพิ่มปริมาณป่าชายเลน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มประมง ,กลุ่มธนาคารปูไข่ 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ต่อจากวันแรกที่ยังสร้างไม่เสร็จสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-  กลุ่มประมง ,กลุ่มธนาคารปูไข่ร่วมแรงกันสร้างโรงเพาะชำฯ 1 โรงเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

-  กลุ่มประมง ,กลุ่มธนาคารปูไข่ ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ต่อจากวันแรกที่ยังสร้างไม่เสร็จสร้างต่อจนเสร็จ

 

0 0

13. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/3

วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • นำฝักโกงกางมาเพาะชำ
  • เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ต้นกล้าโกงกางทั้งหมด 500 ต้นกล้า -เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กๆกล้าคิดกล้าพูดกับพวกผู้ใหญ่มากขึ้น แสดงความคิดเห็นในการทำงานว่าน่าจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง ขอทำงานชำกล้าไม้ให้เสร็จก่อนรับประทานอาหารถึงแม้จะเหนื่อยและเลอะเทอะแต่หน้าตามีความสุขทุกคน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กลุ่มประมง ธนาคารปูไข่ เยาวชน 30 คน มาร่วมกันเก็บพันธ์ไม้แล้วนำมาเพาะชำกล้าไม้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีชาวบ้ากลุ่มต่างๆตัวแทนกลุ่มต่างๆและเยาวชนทั้งหมด 35 คน ร่วมกันเอาดินบรรจุลงถุงเพาะชำ และนำพันธ์กล้าไม้โกงกางมาเพาะชำลงในถุง

 

0 0

14.

วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมสมาชิกกลุ่มธนาคารปูไข่ประจำเดือนเพื่อวางแผนการทำงานประจำเดือนมกราคม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะกรรมการปูไข่ 23 8น ร่วมประชุม ประจำเดือนมกราคม โดยมี ประธานปูไข่ นายสุรัตน์ อังสุพานิชย์ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงที่จะอบรม เรื่องธนาคารปูไข่ให้แก่ชาวบ้าน เพื่อชักชวนชาวบ้านที่เหลือเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่ ในวันที่ 24 มกราคม 2556 จัดที่อาคารอเนกประสงค์มัสยิดโตดนุ้ย หลังจากชี้แจงให้กรรมการทุกท่านทราบ ก็ได้แบ่งหน้าที่ให้กับแต่ละคนไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดสถานที่ ติดต่อวิทยากร และประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบถึงเรื่องที่จะอบรมธนาคปูไข่ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบ และเข้าร่วมรับฟังการอบรมตามวันเวลาดังกล่าวได้ถูกต้องและพร้อมเพียงกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมแกนนำธนาคารปูไข่ จำนวน 20 คน วางแผนการจัดประชุมเรื่องธนาคารปูไข่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการปูไข่ ร่วมประชุม ประจำเดือนมกราคม โดยมี ประธานปูไข่ นายสุรัตน์ อังสุพานิชย์ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงที่จะอบรม เรื่องธนาคารปูไข่ให้แก่ชาวบ้าน เพื่อชักชวนชาวบ้านที่เหลือเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่ ในวันที่ 24 มกราคม 2556

 

0 0

15.

วันที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชาสัมพันธ์กิจกรรมธนาคารปูไข่ สร้างความเข้าใจ และชักชวนเข้าร่วมกลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ - อัตราการจับสัตว์น้ำจากเรือสำรวจประมงฝั่งทางทะเลอันดามัน
- สาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรม - แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและแหล่งประมง -การสร้างแหล่งอาศัยทางทะเล
- วงจรชีวิตของปูม้า
- วิธีการดูแลบ่ออนุบาลปูม้า

หลังจากที่วิทยากรให้ความรู้ในด้านต่างๆเสร็จก็ได้เปิดให้ชาวบ้านได้ซักถามข้อแลกเปลี่ยนกัน ประเด็นที่ชาวบ้านให้ความสนใจมากที่สุด คือ วงจรชีวิตปูม้า ซึ่งชาวบ้านได้ทำอวนปูกันมาเกือบตลอดชีวิตแต่ไม่ค่อยสนใจว่า ธรรมชาติของปูม้านั้นเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากการอบรมทำให้ชาวบ้านได้ทราบว่ากว่าจะเป็นตัวปูที่สามารถให้จับได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาในแต่ช่วงนั้นนานเท่าไหร่ และปูไข่นั้นมมีสีไข่กี่สีและใช้ระยะเวลาในแต่ละสีนั้นใช้กี่วันกว่าจะออกมาเป็นตัวอ่อน และระยะเวลากว่ากว่าจะเป็นที่สามารถจับได้ จากที่ได้รับความรู้นั้นชาวบ้านได้ให้ความสำคัญในการทำธนาคารปูไข่มากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดอบรมเรื่องธนาคารปูไข่ โดยวิทยากรจากประมงจังหวัด
  • เกิดความตื่นตัวและให้ความร่วมมือ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดอบรมเรื่องธนาคารปูไข่ ให้กับครัวเรือนที่ทำอวนปู โดยวิทยากร ชื่อนายสนธยา บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ ประมงทะเลจังหวัดสตูล  ที่อาคารอเนกประสงค์มัสยัดโตดนุ้ย

 

0 0

16. สายตรวจป่าชายเลน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เยาวชนออกตราจตราต้นไม้ บริเวณชายหาดรอบเกาะและเก็บฝักโกงกางกลับมาเพาะชำ
  • เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีเยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ รวม 45 คน ออกตราจตราต้นไม้ บริเวณชายหาดรอบเกาะ พร้อมทั้งจดบันทึก พบว่า พบต้นไม้ที่ปลูกไว้ตาย 20 ต้น มีต้นโกงกางรอบต้น 10 นิ้วถูกตัด 22 9้น ไม่พบการปลูกทดแทน และ เก็บพันธ์ไม้โกงกางกลับมาเพาะชำได้ 650 ฝัก
  • เยาวชนให้ความร่วมมือและสนใจเป็นอย่างมากในการออกตรวจตราต้นไม้ เก็บพันธ์ไม้ และนำมาเพาะชำ ซึ่งที่ผ่านมาในหมู่บ้านไม่ค่อยมีกิจกรรมเหล่านี้เท่าไหร่ จากที่กิจกรรมนี้เกิดขึ้นเยาวชนรู้สึกสนุกในกิจกรรมและได้เรียนรู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นกว่าที่โต ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ เราต้องห่วงแหนไม่ให้ใครมาตัดไม้ทำลายป่า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เยาวชนออกตรวจตราต้นไม้ที่ปลูก ซ่อมแซม  สำรวจป่าชายเลนและเก็บฝักโกงกางมาเพาะชำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ  ออกตราจตราต้นไม้  ปลูกซ่อมแซม บริเวณชายหาดรอบเกาะ พร้อมกับ เก็บพันธ์ไม้โกงกางกลับมาเพาะชำ ณ โรงเพาะชำกล้าไม้

 

0 0

17. สายตรวจป่าชายเลน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรายงานผลการสำรวจป่าชายเลยของชุมชน
  • ให้เด็กได้กล้าแสดงออกและรู้สึกมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ มาร่วมกิจกรรมทั้งหมด 45 คน
  • ผลการำรวจมาป่ายังคงถูกตัดทำลายพอสมควร คือ พบต้นโกงกางขนารอบ 10 นิ้ว จำนวน 22 ต้น ไม่พบเห็นการปลูกทดแทนในบริเวณที่ต้นโกงกางถูกตัด
  • เยาวและตัวแทนกลุ่มต่างๆก็ได้ฝักโกงกางมาเพาะ 650 ฝัก นำกลับมาเพาะต่อ
  • หลังจากรับฟังการรายงานผลแล้วทำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะดูแลและหวงแหนป่า โดยการตั้งกฏในการตัดไม้ ซึ่งจะมีในกกิจกรรมครั้งหน้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตัวแทนเยาวชนรายงานผลการสำรวจป่าให้ชาวบ้านรับทราบ
  • มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเห็นถึงข้อมูลที่ได้รับทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เยาวชนมารายงานผลการสำรวจป่าให้ชาวบ้านรับทราบที่มัสยิดโตดนุ้ย
  • จากสำรวจป่าได่มีการเก็บฝักโกงกางเพื่อมาเพาะชำด้วย
  • ชาวบ้านที่มารับฟังายงานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสอบถามเด็กๆเรื่องลักษณะต้นโกงกางที่พบว่ามีการตัดทำลาย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 60 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 194,218.00 46,674.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 50                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.การดำเนินโครงการมีความล่าช้าเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมทางเกาะชาวบ้านต้องประกอบอาชีพประมงในช่วงน้ำเป็น ทำให้ในช่วงนั้นไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ 2.การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งต้องมีเยาวชนเข้าร่วมด้วยจึงไม่สามารถจัดในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ได้ ต้องจัดในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่หยุดเรียน 3.นำข้อมูลลงเว็บมีความล่าช้าไม่ตรงกับปฎิทิน เนื่องจากที่เกาะไม่มี Internet ต้องใช้แอการ์ด ซึ่งสัณญาณมีบ้างไม่มีบ้าง

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายดลฮอนี สุวาหลำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ