แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สำนึกรักบ้านเกิด ”

ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา

หัวหน้าโครงการ
นางปราณี ทวีรส

ชื่อโครงการ สำนึกรักบ้านเกิด

ที่อยู่ ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา จังหวัด พังงา

รหัสโครงการ 55-01796 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1055

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"สำนึกรักบ้านเกิด จังหวัดพังงา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สำนึกรักบ้านเกิด



บทคัดย่อ

โครงการ " สำนึกรักบ้านเกิด " ดำเนินการในพื้นที่ ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา รหัสโครงการ 55-01796 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 197,700.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ...ให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เตรียมเวทีสู่ความพร้อมการนำเสนอการแลกเปลี่ยนและการศึกษาข้อมูลในพื้นที่เพื่อจัดการการปรับทัศนคติให้กับผู้่ร่วมโครงการให้กับเยาวชนในพื้นที่

    วันที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 8.30-16.00 น. เริ่มต้นจากการเข้าลงทะเบียนของกลุ่มเป้าหมายโดยมีชาวบ้าน เยาวชนและผู้ที่สนใจเข้าลงทะเบียน จากนั้นเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย มีประธานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการและกล่าวความเป็นมาของโครงการว่าโครงการที่ได้มาเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินมาจากสำนักงานสสส.ซึ่งได้งบประมาณมาจัดทำโครงการให้กับประชาชนในหมู่บ้านและอธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำตลอดทั้งงบประมาณนี้ ต่อมาได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในวันนี้ และได้เชิญผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมากล่าวถึงความเป็นมาของท้องถิ่น โดยมีวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเขตของตำบลบางเตย 3 ท่าน และมีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้รู้เรื่องราวของบ้านบางเตยเป็นอย่างดี เริ่มด้วยการกล่าวของปราชญ์ชาวบ้านที่มากล่าวถึงความเป็นมาของบ้านบางเตยกลาง อาณาเขตเป็นของบ้านบางเตยกลางเป็นอย่างไร อาชีพของคนในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอาชีพใดที่เป็นอาชีพหลักของคนในท้องถิ่นและยังคงสภาพจนถึงปัจุบัน จากนั้นเวลาเที่ยงตรงได้พักรับประทานอาหารกลางวัน เมื่อเสร็จเรียบร้อยเวลาบ่ายโมงตรง เริ่มเข้าสู่กระบวนการอธิบายต่อจากช่วงเช้าซึ่งมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดพังงาที่เป็นผู้รับผิดชอบในเขตของบ้านบางเตยกลาง กล่าวถึงสภาพหมู่บ้านของบ้านบางเตยกลางในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จากนั้นเวลาบ่ายสองโมงครึ่งได้พักเพื่อรับประทานอาหารว่าง หลักจากพักเรียบร้อย ได้สอบถามความคิดเห็นจากเยาวชนและชาวบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านบางเตยกลาง เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและหาแนวทางแก้ไขปัญหา ต่อมาเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชาวบ้าน เยาวชน ปราชญ์และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น เพื่อปรับทัศนคติให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไป

     

    0 0

    2. ประชุมปฐมนิเทศน์แลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างและท้องถิ่นให้น่าอยู่โซนภาีคใต้ตอนบน(จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ืื พังงา และสุราษฎร์ธานี)

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เรียนรู้วิธีการการบันทึกข้อมูลรายละเอียดของโครงการผ่านเว็บไซด์
    2. ทบทวนโครงการ 3.ฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
    • มีทิศทางในการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
    • มีปฏิทินกำหนดกิจกรรม

     

    0 0

    3. 1.ถอดบทเรียนจากปราชญ์ท้องถิ่น 2.สรุปเป็นบทเรียนและจัดทำเป็นเอกสาร 3.พัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับท้องถิ่นและมีการถ่ายทอดสู่กลุ่มเยาวชน 4.อบรมแต่ละศูนย์เพืิ่้่่่อสร้างความรู้และให้กลุ่มเป้าหมายไปใช้ประโยชน์และใช้ความรู้ในบ้านของตนเองได้

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาพัฒนาจัดทำเป็นเอกสารเพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 9.00-16.00น. เริ่มต้นจากประธานโครงการได้กล่าวถึงกิจกรรมที่จะทำในวันนี้ จากนั้นได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้มาอธิบายถึงความรู้แต่ละแขนงที่ตนมี เริ่มต้นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลชก ได้อธิบายวิธีการทำน้ำตาลชาก เนื่องจากพื้นที่ของบ้านบางเตยกลางเป็นพื้นที่ที่มีบริเวณติดกับแนวภูเขาทำให้มีต้นชกจำนวนมาก จึงทำให้เป็นอาชีพของชาวบ้านเริ่มต้นจากการไปเอาน้ำตาลโดยมีกระบอกไม่ไผ่ใส่น้ำตาล โดยปราชญ์จะขึ้นไปบนต้นชก โดยมีบรรไดไม้ไผ่พาดที่ต้นชก จากนั้นก็ใช้มีดปาดก้านของต้นชกเพื่อให้น้ำหวานออกมา น้ำกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมมาไปแขวนไว้กับก้านของต้นชกเพื่อให้น้ำหวานไหลลงในกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นรอประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงไปนำกระบอกไม้ไผ่ลงมา จากนั้นนำน้ำหวานที่ได้ไปต้นให้เดือดประมาณ 30 นาที จะได้เป็นน้ำตาลสด เมื่อต้องการทำเป็นน้ำตาลแว่นให้เคี้ยวน้ำหวานให้ข้นและเหนียวประมาณ 40 นาที แล้วค่อยหยอดลงพิมพ์ พิมพ์ของน้ำตาลแว่นทำจากใบเตยใหญ่ นำใบเตยใหญ่มาตากแดดให้แห้งจากนั้นค่อยน้ำมากรีดโดยใช้มีดที่มีลักษณะด้ามยาว หัวของมีดคล้ายช้อนส้อมแต่จะไม่มีตรงกลางมีเฉพาะต้านซ้ายและขาวห่างกันประมาณ2ซม.เมื่อกรีดใบเตยจะได้ใบเตยเป็นเส้น จากนั้นนำมาม้วนให้เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ2ซม.นำน้ำหวามที่เคี้ยวมาหยอดใส่พิมพ์ โดยภาชนะที่ใส่น้ำตาลก่อนที่จะหยอดมีลักษณะคล้ายกับกระบวยกินน้ำของคนในสมัยโบราณมีไม้พายที่ใช้คนน้ำตาล จากนั้นก็หยอดน้ำตาลลงพิมพ์รอจนน้ำตาลแข็งแล้วจึงแพ็ค วิธีการแพ็คให้ใช้ใบเตยวางเป็นรูปกากบาทแล้ววางน้ำตาลลงตรงกลางแล้วใช้ใบเตยที่เหลือห่อน้ำตาลแล้วใช้ยางรัด พร้อมนำไปจำหน่าย ต่อมาเป็นปราชญ์ที่มีความรู้เรื่องการทำเครื่องแกง เริ่มจากการทำเครื่องแกงส้ม ซึ่งมีส่วนผสม คือ พริกสด พริกแห้ง ตะไคร้ ขมิ้น หอมแดง กระเทียม และเกลือ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นจึงนำไปบด ต่อมาเป็นเครื่องผสมของเครื่องแกงกะทิ ประกอบด้วย พริกแห้ง ตะไคร้ พริกไท กระเทียม หอมแดงและเกลือ จากนั้นจึงนำไปบด และสุดท้ายเป็นเครื่องแกงพริก ประกอบด้วย พริกแห้ง ตะไคร้ พริกไท กระเทียม หอมแดงและเกลือ เครื่องแกงพริกจะมีส่วนผสมที่คล้ายกับเครื่องแกงกะทิแต่จะเน้นพริกไทให้มีประมาณมากกว่าเครื่องแกงกะทิ จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ต่อเป็นเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ด้านสมุนไพร ซึ่งปกติแล้วหมู่บ้านบางเตยกลาง ทุกครัวเรือนจะมีการปลูกผักสวนครัวและสมุนไพรไว้ใช้ภายในบ้านอยู่แล้ว มีเพียงบางชนิดที่ชาวบ้านอาจไม่ทราบถึงสรรพคุณ ปราชญ์จึงแนะนำเรื่องของสมุนไพรบางอย่างให้ทราบ จากนั้นเวลา12.00น.พักรับประทานอาหารเที่ยง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มเป้าหมายได้ข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นเอกสาร เพื่อจะนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตร เวลาประมาณ 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง จากนั้นก็ได้ทำการสรุปบทเรียนต่อ เพื่อที่จะจัดทำเป็นหลักสูตรเพื่อแจกจ่ายให้กับศูนย์การเรียนรู้ที่ผู้ที่สนใจต่อไป

     

    0 0

    4. ถ่ายทอดความรู้โดยการสาธิตการทำเครื่องแกง

    วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการสาธิตการทำเครื่องแกง เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงพริก ให้กับชาวบ้านและเยาวชน โดยมีกลุ่มแม่บ้านทำเครื่องแกงเป็นผู้สาธิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 09.00-16.00น. จากกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ฯที่ผ่านมาได้ทราบถึงวิธีการทำเครื่องแกง กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ชาวบ้านเยาวชนและผู้ที่สนใจได้ทดลองการทำเครื่องแกง เริ่มต้นจากการอธิบายโดยหัวหน้ากลุ่มเครื่องแกงบ้านบางเตยกลาง (นางสาวพันธ์ชุดา ฉิมสุกล)อธิบายถึงวิธีการทำเครื่องแกงเริ่มจากการทำเครื่องแกงส้ม โดยการเตรีมอูปกรณ์ พริกสด พริกแห่งโดยการเลือกสิ่งที่เจือปนมากับพริกจากนั้นนำพริกสดไปล้างให้สะอาด ตั้งเอาไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำตะไคร้ที่รับซื้อจากชาวบ้านในหมู่บ้าน มาหั่นให้ละเอียด นำขมิ้นที่ได้จากการรับซื้อจากชาวบ้านในหมู่บ้านมาล้างให้สะอาด น้ำหอมแดง กระเทียม ไปแช่น้ำเพื่อให้ปอกง่าย ส่วนผสมทุกอย่างจะต้องล้างให้สะอาด นำส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดมารวมกันแล้วนำไปบด เมื่อได้เครื่องแกงที่ละเอียดแล้ว ให้ตั้งเครื่องแกงไว้ให้เย็นจากนั้น จึงคลุกเคล้าให้เข้ากันจึงถือว่าเรียบร้อย เครื่องแกงทุกอย่างมีกรรมวิธีทำที่เหมือนกัน ยกเว้นแต่ส่วนผสมที่ต้องใส่ เมื่อได้เครื่องแกงเรียบร้อยแล้วสมาชิกในกลุ่มแม่บ้านจะช่วยกันหาตลาดเพื่อที่จะจำหน่ายเครื่องแกง ทั้งแบบแบ่งขายเป็นกล่อง เป็นถุงครื่งกิโล ทำให้สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ว่างจากการทำอาชีพหลัก -ปราชญ์ชาวบ้านที่ให้ความรู้ในครั้งนี้ คือ นางสาวพันธ์ชุดา ฉิมสุกล และมีผู้ให้ความสนใจร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ จำนวน

     

    0 0

    5. กิจกรรมสาธิตการแกะลูกชก

    วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วีธีการเอาลูกชกจากต้นและมีการบรรยายถึงวิธีการทำลูกชกโดยปราชญ์ชาวบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 22 ธันวาคม 255 เริ่มจาก เวลา 08.00-16.00น.เริ่มต้นด้วยการไปตัดลูกชกจากต้น ลักษณะของลูกชกจะเป็นทะลายใหญ่และยาวเป็นพวง มีลักษณะเป็นสีเขียว แต่ละลูกจะมี 3 เม็ด ผู้ตัดจะเลือกทะลายที่มีลูกสีเขียวจัด จากนั้นจะตัดลงมาและนำไปเผา(แต่ปัจจุบันนิยมการนำไปต้มเพื่อให้สะดวกและรวดเร็ว จากนั้นเมื่อเผาเสร็จแล้วจะนำลูกชกที่ได้มาตัดตรงส่วนท้าย จากนั้นจะนำไม้ไผ่มาเหลาให้บางมีลักษณะเหมือนไม้พายเพื่อจะมาแกะลูกชก(แต่ปัจจุบันจะนิยมใช้ปลายช้อนกลาง เพราะมีความแข็งแรงมากกว่า)เมื่อได้ลูกชกออกมาแล้วต้องนำไปล้างน้ำให้สะอาด เอาเปลีอกที่ติดออกมากับลูกชกออกให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดอาการคันเมื่อรับประทาน จากนั้นเวาลาประมาณ12.00น.พักรับประทานอาหารเที่ยง เมื่อเรียบร้อยแล้วเป็นการให้เยาวชนและผู้ที่สนใจร่วมกันสาธิตการแกะลูกชก โดยมีปราชญ์ที่มีความรู้ทางด้านลูกชก คือนายบัณฑิต เพชรเล็ก มาให้คำแนะนำและสาธิต จากนั้นเวลาประมาณ 14.30น.พักรับประทานอาหารว่าง และต่อด้วยการบรรยายการแกะลูกชก กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดีด้วยความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนในหมู่บ้านและกลุ่มผู้ที่สนใจ

     

    0 0

    6. เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่1

    วันที่ 13 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและติดตามผลการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้รับคำแนะนำในด้านการจัดเก็บเอกสารเป็นไปตามที่ระเบียบ สสส.กำหนด -มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่ก็ได้มีการจัดเก็บและรวบรวมไว้ได้ค่อนข้างครบตามกิจกรรมที่ได้จัดกิจกรรมไปแล้ว

     

    0 0

    7. กิจกรรมสาธิตการทำน้ำตาลสด น้ำตาลเหลว

    วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มต้นจากการลงทะเบียนของกลุ่มป้าหมาย จากน้ันผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายถึงจุดประสงค์ของการจัดกิจจกรรมในวันนี้ขึ้น ต่อมาได้มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลสด น้ำตาลเหลวอธิบายถึงขั้นตอนการทำ และวิธีการทำจะนำน้ำตาลออกมาจากต้น ขั้นแรกต้องไปนำน้ำตาลที่ได้จากต้นมาต้มให้เดือดทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตั้งไว้ให้เย็น นำใส่ขวดสามารถรับประทานได้เลย ส่วนน้ำตาลเหลวต้องเขี้ยวให้น้ำตาลมีความเหนียว น้ำตาลเหลวสามารถนำมารับประทานกับข้าวหลามและอาหารอื่นได้อีกหลายชนิด จากนั้นพักรับประทานอาหาร เมื่อพักรับประทานอาหารเรียบร้อย ก็ได้ลงมือปฎิบัติการทำน้ำตาลเหลว และน้ำตาลสด จากนั้นเวลา 14.00 น. ได้พักรับประทานอาหารว่าง และสาธิตการทำน้ำตาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนรุ่นหลังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปปรับเป็นอาชีพ ทั้งยังเป็นการสืบสานอาชีพดั้งเดิมได้อย่างดี

     

    0 0

    8. กิจกรรมสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สาธิตวิธีการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน ให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนได้ทดลองทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-16.00น. เริ่มต้นจากการรับลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ จากนั้นประธานโครงการและหัวหน้าโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจจกรรมในวันนี้ แนะนำผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งมีที่ปรึกษาโครงการ คือ นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนภักดี ได้เข้าร่วมโครงการในวันนี้ด้วย เริ่มจากการสาธิตการทำน้ำตาลแว่นซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านคือนายบัณฑิต เพชรเล็กเป็นผู้มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลชกเป็นอย่างดี ได้นำน้ำตาลชกมาต้มตามกรรมวิธีทิ้งไว้ประมาณ40นาที จากนั้นได้นำน้ำตาลที่เคี้ยวจนสามารถมาหยอดเป็นน้ำตาลแว่นได้แล้วมาหยอดลงแว่น โดยให้เยาวชนและผู้ที่สนใจทดลองทำ จากนั้นเมื่อทำน้ำตาลแว่นเรียบร้อยแล้วเราสามารถเคี้ยวน้ำตาลต่อจนน้ำตาลแข็งตัว จะสามารถทำเป็นน้ำตาลกวนได้ เมื่อสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวนเสร็จแล้วได้พักรับประทานอาหารเที่ยง จากนั้นได้มีกิจกรรมนันทนาการและทำกิจกรรมการเล่นเกมส์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกเบื่อ จากนั้นได้พักรับประทานอาหารว่าง ปราชญ์ชาวบ้านได้กล่าวถึงวิธีการสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวนในวันนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีความรู้สึกยินดีและดีใจมากที่ได้ทราบถึงอาชีพดั้งเดิมของคนในหมู่บ้าน ต่อไปอาจนำไปปรับเปลี่ยนเป็นอาชีพในอนาคตได้

     

    0 0

    9. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ พื้นที่ภาคใต้ โครงการร่วมสร้าวชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โครงการเปิดรับทั่วไป โครงการผู้สูงอายุ

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการจากเว็บไซด์ พร้อมทั้งปรับแก้ให้มีความสมบรูณ์ 2.จากการประเมินคุุณค่าของโครงการทำให้พบจุดเด่นและกิจกรรมที่มีลักษณะเด่นในหบายจุด ซึ่งเป็นความภูมิใจของผู้ทำโครงการเป็นอย่างยิ่ง 3.มีแนวทางที่จะพัฒนาและต่อยอดโครงการที่จะดำเนินโครงการในปีต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ ประเมินคุณค่าของโครงการ ทำให้เกิดจุดเด่นของโครงการ

     

    0 0

    10. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธ์ปลาให้กับผู้ที่สนใจ

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันนี้ เริ่มการการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ จากน้ันมีการแนะนำ การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการขยายพันธุ์ปลาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์จังหวัดพังงา และผู้ใหญ่บ้านบางเตยกลาง อธิบายถึงการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน เพื่อส่งเสริมให้เป็นอาชีพของคนในชุมชน และเพื่อจัดให้เป็นแหล่งการเเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนผู้ที่สนใจ จากนั้นได้มีการมอบพันธุ์ปลาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปเพาะพันธ์เป็นอาชีพหรือเพื่อรับประทนในครัวเรือนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ในการขยายพันธุ์สัตว์น้ำทั้งยังได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ ทำให้ชาวบ้านมีความยินดี และจะนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพต่อไป

     

    0 0

    11. จัดมหกรรมอาหารพื้นบ้านและพืชสมุนไพร

    วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันนี้เริ่มต้นจากการลงทะเบียนผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้นชาวบ้านและผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้มีการนำสมุนไพร อาหารและน้ำที่ทำจากสมุนไพรพื้นบ้านมาจัดแสดง ตัวอย่างอาหารเช่น ข้าวยำสมุนไพรซึ่งจะประกอบด้วย ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบพาโหม เครื่องแกงพริก มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน น้ำพริกตะไคร้ น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง ยำหัวทือ ข้าวที่หุงจากน้ำดอกอัญชัญ ส่วนน้ำสมุนไพรก็จะมี น้ำดอกอัญชัญ น้ำขิง น้ำดาหลา น้ำใบเตย น้ำคลอโรฟิลที่ผลิตจากผักบุ้ง น้ำใบเตยหอม น้ำมะพร้าว เป็นต้น จากน้ันมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาอธิบายถึงประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด และอธิบายถึงอาหารคุณค่าของอาหารที่บริโภคทุกวัน เช่น กาแฟ ควรจะบริโภควันละเท่าไหร่คุณค่าทางอาหารเท่าไหร่ ประโยชน์ของน้ำสมุนไพรแต่ละชนิด 1.น้ำใบเตยหอม   - ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง   - ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม   - รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว   - รากและลำต้น     ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น
    ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม 2.น้ำดาหลา   แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยาคล้ายกับพวก ขิง ข่ามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้
    ดาหลาเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ลำต้นเทียมที่อยู่บนดินเป็นกาบ ใบสีเขียวเข้มเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ดอกสีแดง อมชมพู มีกลีบช้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง ส่วนปลายของขอบกลีบเป็นสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก ไม่มีกลิ่น ดอกตูม หน่ออ่อน กินได้ รสชาดเผ็ดเล็กน้อย หน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดแกงกะทิ แกงคั่ว ยำและผสมในข้าวยำ 3. น้ำมะพร้าว   น้ำมะพร้าวเป็นอาหารบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้นมะพร้าวยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูง สามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป หมอพื้นบ้านไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ในเวลาอันรวดเร็วได้..
    4. น้ำขิง   ช่วยดับกลิ่นคาวในอาหาร ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะในเหง้าขิงแก่ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำนม แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้บิด บำรุงธาตุ ช่วยในด้านการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดความดัน ช่วยลดคลอเลสเตอ รอล ช่วยลดการอักเสบ ช่วยแก้ปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักมีอาการเมายาสลบให้จิบน้ำขิงเข้มข้นสักครึ่งช้อนชา จะช่วยแก้อาการเมายาได้ 5.น้ำฝาง   แก่นฝาง (Sappan wood) มีสารสีชมพูส้มถึงแดง (ขึ้นกับปริมาณ) ชื่อ Brazilin แก่นฝางมีรสขื่นขม ฝาด ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แพทย์ชนบทใช้ต้มน้ำกินแก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา
    เนื้อไม้ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้ไข้ รักษาโรคทั่วไป
    นอกจากนี้ส่วนเปลือก ลำต้นและเนื้อไม้สามารถใช้ต้มรับประทานรักษาวัณโรค ท้องเสียและอาการอักเสบในลำไส้ เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล
    จากข้อมูลรายงานการทดลองต่างๆ ที่มีอยู่ไม่พบข้อมูลการยับยั้งเชือ้ MRSA ของฝาง ทราบแต่เพียงว่าสาร Brazilin ในแก่นฝางที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เมื่อผ่านการต้ม สาร Brazilin จะเปลี่ยนเป็นสาร Brazilein ซึ่งมีสีแดงซึ่งสมัยก่อนใช้ในการย้อมผ้า แต่งสีขนมและทำน้ำยาอุทัย 6. หัวกะทือ ลำต้น      ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร
    ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม  เอาน้ำดื่มกิน
    ดอก        เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
    เหง้า        ใช้เป็นยาขับลม  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด    ปวดท้อง  บำรุงธาตุ
                    ขับปัสสาวะ  เสมหะเป็นพิษ
                    และบำรุงน้ำนม    วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด  ประมาณ  2  หัว  (20  กรัม)
                    ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับ                 น้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว  แล้วใช้น้ำดื่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมดังกล่าวทำให้เกิดการเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด ซึ่งบางคร้ังชาวบ้านรับประทานไปอย่างเดียวแต่ไม่ได้ทราบถึงประโยชน์จากพืชชนิดน้ัน เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน

     

    0 0

    12. จัดให้มีแปลงผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและในโรงเรียนที่อยู่ในชุมชน

    วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการจัดทำโครงการในวันนี้ได้จัดกิจกรรมขึ้นที่โรงเรียนบ้านเขาเฒ่า โดยการใช้พื้นที่ภายในโรงเรียนจัดทำแปลงผักปลอดสารพิษ วิธีการปลูกผักและวิธีการดูแลผัก โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการและนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาเฒ่า จากน้ันได้ให้คุณครูที่สอนวิชาการเกษตรได้อธิบายวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และได้ให้ปราชญ์ชาวบ้านคือ นายสมนึก โภคผล ที่ทำอาชีพปลูกผักปลอดสารพิษได้พบปะและพูดคุยกับผู้เข้าร่วมโครงการ พูดการการปลูกผักปลอดสารพิษ วิธีการทำแปลงผัก การดูแลผัก จากนั้นได้ให้นักเรียนและผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันขุดแปลงผักและลงมือปฏิบัติจริง จากน้ันทางคณะผู้จัดทำโครงการได้มอบพันธุ์ผักไว้ให้กับโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ใช้สอยต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีแปลงผักปลอดสารพิษในโรงเรียน 2.มีแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

     

    0 0

    13. ถอดบทเรียนจากบุคคลต้นแบบในการทำนาข้าว

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันนี้เริ่มต้นจากการลงทะเบียนของผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จากน้ันประธานในงานได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรมในวันนี้ ในวันนี้จะมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องของการทำนาแบบดั้งเดิมมาให้ความรู้ เพื่อที่จะนำความรู้ในวันนี้ไปปฏิบัติในกิจกรรมต่อไปของโครงการนี้ โดยปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำนา ได้แก่ นายแคล้ว วงศ์แฝด นายสุทัศน์ ทวีรส นางจำปี อินฉ้วน นายสมทรง พุทธรักษา โดยปราชญ์ชาวบ้านทั้งหมด ได้เริ่มต้นจากการอธิบายถึงลักษณะความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นในสมัยโบราณ โดยปราชญ์ได้กล่าวว่า บ้านบางเตยกลางในสมัยก่อนผู้คนในชุมชนมีอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกรรม ทำสวน การสัญจรไปไหนมาไหนค่อนข้างลำบาก คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะปลูกผักและปลูกข้าวไว้กินเอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านบางเตยกลางเป็นทุ่งนา แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีและการคมนาคมเข้าถึงพื้นที่นาในอดีตจึงกลายมาเป็นส่วนยางพาราและส่วนปาล์มน้ำมัน โดยการทำนาของคนในอดีตจะใช้กระบือ (ควาย) เพื่อใช้ในการลากไถ่ ไม่เหมือนกับในปัจจุบันที่โดยเครื่องไถ่นา เพื่อช่วยในการถุ้นแรง การทำนาของคนในสมัยโบราณเริ่มต้นจากหว่านกล้า คือการหว่านต้นกล้า เริ่มต้นจากการเตรียมแปลงนา จากน้ันนำเมล็ดกล้าหรือพันธุ์ข้าวมาหว่าน รอประมาณ 30-40 วัน ในระหว่างที่รอต้นกล้าโตน้ัน ก็ไปเตรียมแปลงนาที่จะใช้ในการลงแขก หรือที่ชาวบ้านบางเตยเรียกว่าการ 'ดำนา'โดยเปิดน้ำเข้าในแปลงนา จากน้ันใช้ควายในการไถ่และคลาด โดยมีอุปกรณ์ที่ผูกติดกับตัวควายที่เรียกว่าคลาดซึ่งทำมาจากไม้ มีคนจูงควายหนึ่งคน จากน้ันให้ควายเดินวนไปรอบๆ แปลงนาจนทั่ว จากน้ันเมื่อเวลาผ่านไป 30-40 วัน ต้นกล้าที่หว่านเตรียมไว้เริ่มโตจนได้ขนาดก็จะทำการถอนต้นกล้าโดยการใช้แรงงานคน การถอนต้นกล้า ถอนให้ได้ประมาณ 1 กำมือ จากน้ันก็นำมามัดและตัดปลายของต้นกล้าให้พอประมาณกับปริมาณน้ำในแปลงข้าว เมื่อได้ต้นกล้าเป็นทีเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านก็จะนัดวันที่จะลงแขก โดยมีคนในหมู่บ้านมาช่วยกัน เจ้าของแปลงนาก็จะเตรียมอาหารและน้ำมาเพื่อบริการให้กับคนที่มาช่วยลงแขก การลงแขกน้ันนา 1 แปลงใช้คนประมาณ 3-4 คน ขึ้นอยู่กับขนาดและความกว้างของแปลงนา ผู้ที่ลงแขกจะยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดาน จากน้ันแต่จะคนจะต้องมีต้นกล้าของต้นเอง โดยในสมัยโบราณจะใช้กะละมังพลาสติกเป็นที่ใส่ต้นกล้า ลอยน้ำในแปลงนา เพื่อให้ผู้ที่ลงแขกไม่ต้องถือต้นกล้า (จากประสบการณ์ของผู้บันทึกข้อมูล)จากน้ันชาวบ้านก็จะเริ่มน้ำต้นกล้าประมาณ 2-3 ต้น ปักลงในดินและใช้นิ้วบีบเบาๆ เพื่อให้ต้นกล้าไม่ล้ม เมื่อได้กอที่หนึ่งก็จะถอยหลังลงมาปักให้เป็นแถว เพื่อให้ง่ายแต่การเก็บเกี่ยว เมื่อลงแขกเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการหว่านปุ๋ย จากน้ันรอเวลาประมาณ 2-3 เดือน ให้ข้าวสุกเต็มที่ก็จะเริ่มทำการเก็บเกี่ยว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากปราชญ์ท้องถิ่นไปใช้ได้จริง 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นในอดีต 3.สามารถนำความรู้ไปบอกต่อกับคนรุ่นหลังได้ 4.รักษาความเป็นบ้านบางเตยกลางให้อยู่คู่กับท้องถิ่นต่อไป 5.ได้ร่วมพูดคุยและเปิดประสบการณ์ที่ไม่เคยทราบ จากปราชญ์ในท้องถิ่น

     

    50 52

    14. ติดตามโครงการ ตรวจเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน เพิ่มเติมรายละเอียดของเอกสาร ตรวจสอบผลการดำเนินงานทางเว็บไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แก้ไขเอกสารโครงการให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการ ดำเนินการให้โครงการเป็นปัจจุบัน

     

    2 2

    15. จัดกิจกรรมลงแขก ทำนาข้าว

    วันที่ 22 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันนี้ได้มีการเตรียมที่นาเพื่อทำการลงแขก โดยการไถ่นาเพื่อ และเตรียมต้นกล้าเพื่อที่จะใช้ลงแขกดำนา ได้รับความรับความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้ที่ในใจในการทำนาแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นอาชีพที่มีกันอยู่แล้วในหมู่บ้าน และปัจจุุบันด้วยสภาพความเป็นอยู่และเทคโนยีที่เปลี่ยนไป ทำให้คนในชุมชนไม่สามารถกลับมาทำนาได้เช่นเดิม ที่นาเดิมได้กลับกลายมาเป็นสวนยางพาพา และปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมที่นาในวันนี้ใช้เวลาไปค่อนข้างมาก เนื่องจากการเตรียมที่นาต้องทำด้วยวิธีการไถ่ ให้ดินที่กลับตัว และปรับให้แปลงนามีร่องน้ำที่น้ำสามารถถ่ายเทได้ เพราะถ้าน้ำไม่สามารถไหลได้ น้ำก็จะท่วมทำให้ต้นข่าวเน่าและตายในที่สุด จากน้ันในวันต่อมา ชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันลงแขก โดยได้เอาต้นกล้าที่หว่านไว้ มาลงแขก โดยทุกคนลงไปยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดานในแปลงนา จากน้ันก็เริ่มการดำนา โดยทุกคนจะเริ่มปักต้นกล้าตามแนวยาว ปักมาเรื่อย ๆ จนเต็มแปลงนาจากน้ันก็ย้ายไปยังแปลงนาอีกแปลงหนึ่ง หลังการการดำนาหรือลงแขกเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้นข้าวเริ่มโต มีใบอ่อนแตกออกมา ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยข้าว จากน้ันก็ต้องคอยดูเรื่อย ๆ ว่ามีอะไรมากัดกินต้นข้าวหรือไม่ หากมีต้องกำจัดออก เพื่อไม่ให้ต้นข้าวเสียหาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ทำให้เยาวชนและคนในหมู่บ้านทราบถึงวิธีการทำนา รักษาอาชีพดั้งเดิมของคนในหมู่บ้านได้

     

    50 45

    16. ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน สรุปรูปแบบโครงการ รายงานผล

    วันที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะพี่เลี้ยงจาก สจรส.ได้ทำการตรสจเอกสารทางการเงินและรูปแบบรายงาน แก้ไขให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานและรูปแบบมีความถูกต้องและชัดเจน

     

    2 2

    17. สรุปบทเรียน จัดทำเอกสารจากการทำโครงการทั้งหมด จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์

    วันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เกิดการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและคณะทัศนศึกษาดูงานจากสถานที่ต่าง ๆ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน ทำให้เกิดผลจากการทำโครงการในคร้ังนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หมู่บ้านเกิดความสะดวกต่อการเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและคณะต่าง ๆ ที่สนใจศึกษาดูงานของชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนด้วยกันและเยาวชนร่วมทั้งผู้ที่สนใจ

     

    50 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ...ให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : ...มีชาวบ้านเข้ากิจกรรมร้อยละ 80

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ...ให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สำนึกรักบ้านเกิด

    รหัสโครงการ 55-01796 รหัสสัญญา 55-00-1055 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เ- นำความรู้ทีจากปราชญ์ชาวบ้านซึ่งปกติไม่ได้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการจัดทำบทเรียนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานจริง เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจซึ่งประกอบด้วย ประชาชนในชุมชน กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นนักเรียนและผู้ทีสนใจทั่วไปได้ศึกษา - ทำให้เป็นองค์ความรู้ที่ไม่หายไปกับตัวบุคคล - สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ สังเกตได้จากน้ำเสียงและแววตาของผู้ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ (ปราชญ์ชาวบ้าน)โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน

    ปราชญ์ด้านการทำลูกชก - นายบัณฑิต เพชรเล็ก - นายปราโมท บุญมา - นายถวิล เสมอภาค - นายสุทัศน์ ทวีรส ปราชญ์ชาวบ้านด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ - นายสมนึก โภคผล - นายแคล้ว วงศ์แฝด ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำเครื่องแกง - นางสาวพันณ์ชุดา ฉิมสกุล - นางสุทิน ฉิมสกุล - นางสวิง เสมอภาค

    • เนื่องจากเป็นวิถีชุมชนและมีทรัพยากรอยู่ในชุมชน และเป็นการสืบสานภูมิปัญญาให้กับเยาวชนรุ่นต่อไปและผู้ที่สนใจทั่วไป และจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
    • เป็นทรัพยากรของท้องถิ่นซึ่งคู่ควรอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ให้คงไว้กับชุมชนต่อไป
    • มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้อำนวยความสะดวกให้เข้ากับการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่
    • เกิดกระบวนการทำงานใหม่ จากเดิมที่มีการทำงานแบบต่างคนต่างทำ เมื่อเกิดกิจกรรมขึ้น ทุกคนต่างนำความรู้ที่ ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่ตนเองมี มาช่วยรวบรวมความคิด ทำให้เกิดกระบวนการทำงานแบบใหม่ ความคิดใหม่ เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป
    • มีการถอดบทเรียน และนำมารวบรวมเป็นเอกสารจากปราชญ์ชาวบ้านเรื่องลูกชก จากน้ำตาลสด น้ำตาลเหลว น้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน เครื่องแกงซึ่งประกอบด้วย เครื่องแกงกะทิ แกงส้มและแกงพริก ได้ถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจได้
    • จากการจัดทำเป็นเอกสารสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนและผู้ที่ในใจได้
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • นำความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียนจากปราชญ์ชาวบ้านมาจัดทำเป็นเอกสาร และนำเอกสารดังกล่าว มาจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ประจำหมู่บ้านซึ่งต้ังอยู่ที่ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน เพื่อการการอนุรักษ์อาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชนให้อยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
    • ในขณะนี้เป็นนแหล่งศึกษาดูงานของคณะต่างที่สนใจ ซึ่งมีผู้มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    • หนังสือแสดงความจำนงขอศึกษาดูงาน โดยผ่านเทศบาลตำบลบางเตย
    • ของที่ระลึกที่มอบโดยกลุ่มศึกษาดูงาน -เอกสารแผ่นพับประกอบการบรรยาย
    • จัดเป็นศูนย์เรียนรู้ และให้มีการนำเด็กและเยาวชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้บ่อยขึ้น
    • ให้มีการพัฒนาหลักสูตรของท้องถิ่นสอดแทรกในการเรียนการสอนของโรงเรียนในท้องถิ่น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    -การเลือกบริโภคพืชผักที่ปลอดสารเคมีและมีการปลูกผักไว้รับประทานเองในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่าย  ซึ่งเป็นการลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้

    การมีสวนครัวประจำบ้าน

    -การขยายเป็นตลาดนัดสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    -แหล่งผลิตอาหารของชุมชนที่ปลอดสารพิษ ซึ่งจากการจัดมหกรรมอาหารพื้นบ้าน  พบว่ามีหลายชนิด  โดยทุกครัวเรือนจะมีแปลงผักไว้ประจำบ้าน  ส่วนที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนจะมีการนำออกมาจำหน่าย

    -แปลงผักประจำครัวเรือน

    -พัฒนาเป็นตลาดนัดสุขภาพ เพื่อให้ชุมชนมีที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์  และเป็นแหล่งเรียนของชุมชนต่างๆทั้งในและนอกจังหวัด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • มีการระดมปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นองค์ความรู้จากบุคคลและถอดบทเรียนสู่ชุมชนให้กับเยาวชนรุ่นหลัง

    ปราชญ์ด้านการทำลูกชก - นายบัณฑิต เพชรเล็ก - นายปราโมท บุญมา - นายถวิล เสมอภาค - นายสุทัศน์ ทวีรส ปราชญ์ชาวบ้านด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ - นายสมนึก โภคผล - นายแคล้ว วงศ์แฝด ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำเครื่องแกง - นางสาวพันณ์ชุดา ฉิมสกุล - นางสุทิน ฉิมสกุล - นางสวิง เสมอภาค

    • การค้นหาปราชญ์ชาวบ้านด้านอื่น ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มเติม ซึ่งในหมู่บ้านมีอยู่หลายสาขาเช่น ด้านสมุนไพร ด้านจักสาน ด้านการรักษากระดูก
    • ส่งเสริมให้มีการนำความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในชีวิตประจำวัน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    -เกิดความรักสามัคคีภายในหมู่บ้าน  ที่สามารถพึ่งตนเองได้  มีความเป็นอยู่ที่มั่นคง

    -การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่ม รวมทั้งเยาวชนในหมู่บ้าน

    -เอกสารการถอดบทเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สำนึกรักบ้านเกิด จังหวัด พังงา

    รหัสโครงการ 55-01796

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางปราณี ทวีรส )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด