directions_run

โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.1 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ 1.2 จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน

 

 

  • ระดับการมีส่วนร่วมของประชาขนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับดี แต่ละครั้งของการจัดกิจกรรมมีประชาชนเข้าร่วมประมาณร้อยละ 80
  • จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมร่วมของคนในชุมชน โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจและเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ
2 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม ให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1 ร้อยละของพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับการพัฒนาต่อพื้นที่ทั้งหมด 2.2 ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

 

  • พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยในปีแรกมุ่งเน้นพื้นที่ต้นน้ำที่มีทรัพยากรสมบูรณืก่อน จึงทำให้พื้นที่ได้รับการพัฒนาค่อนข้างจำกัด
  • ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้ประโนชน์จากพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อยู่ในระดับดี โดยส่วนใหญ่พอใจในข้อมูลความรู้ที่เส้นทางจัดทำและนำเสนอในเส้นทางท่องเที่ยว
3 เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 3.1 จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมเป็นกลไกการดำเนินงานกองทุนเส้นทางท่องเที่ยวป่าต้นน้ำ 3.2 จำนวนอาสาสมัครนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

 

  • ภาคีที่เข้าร่วมในการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีจำนวน 5 เครือข่าย ประกอบด้วย กลุ่มคนรักษ์เกาะเต่า  กลุ่มสื่อนักจัดรายการวิทยุคลื่นประชาคม  กลุ่มเยาวชน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำท้องที่
  • จำนวนอาสาสมัครซึ่งได้จากการสมัครใจเข้าร่วมโครงการและร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจำนวน 21 คน
4 เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ
ตัวชี้วัด : 4.1 การเข้าร่วมประชุมกับสจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 4.2 มีภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ มีป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่แสดงในสถานที่จัดประชุม/ในชุมชน มีการจัดส่งรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ให้กับสสส.

 

 

  • ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุมกับ สจรส.มอ. จำนวน 3 ครั้ง จากทั้งหมด 4 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 75
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานผลโครงการพร้อมแนบภาพถ่ายเป็นระยะผ่านระบบรายงานผ่านเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข