แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สิทธิชุมชน

ชุมชน 1. บ้านนายอดทอง,บ้านทุ่งไพร,บ้านกลาง หมู่ที่ 5 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง

รหัสโครงการ 55-01889 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0865

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2012 ถึง 31 ตุลาคม 2013

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2012 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2013

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมทีมงานคณะกรรมการ แบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมครั้งแรก

วันที่ 23 ตุลาคม 2012 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการและทีมงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการและทีมงานเข้าร่วมการประชุมตามที่กำหนด และมีการแบ่งหน้าที่กันตามความเหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีการประชุม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมครั้งแรก

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการและทีมงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามกิจกรรม

 

0 0

2. การประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2012 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • คณะกรรมการและผู้รับผิดชอบโครงการร่วสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ เข้าร่วมประชุมและอบรมเรื่องการเขียนรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์ www.happynetwork.org

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับความเข้าใจในการดำเนินงานตามกิจกรรมและการรายงานผลผ่านทางเว็บไซต์ www.happynetwork.org

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการและผู้รับผิดชอบโครงการร่วสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ เข้าร่วมประชุมและอบรมเรื่องการเขียนรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์ www.happynetwork.org

 

0 0

3. จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2012 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้คนในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิชุมชน 2.เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนในชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิชุมชน และได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชนเพื่อการจัดการสุขภาพระดับกลุ่มบ้าน(บ้านทุ่งไพร-บ้านแหลม)

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชนเพื่อการจัดการสุขภาพระดับกลุ่มบ้าน ณ โรงเรียนบ้านแหลม หมู่ที่ 3 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง โดยที่มีวิทยากร คือ 1.นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ มูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง 2. นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ เข้ามาให้ความรู้เรื่องสิทธิต่างๆที่พึงจะได้รับ และมีการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข จากคนในชุมชนเอง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 70 คน

 

0 0

4. จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน

วันที่ 2 ธันวาคม 2012 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้คนในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิชุมชน
2.เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มมีความเข้าใจในเรื่องของสิทธิชุมชน และสิทธิต่างๆตามรัฐธรรมนูญ ที่พึงจะได้รับ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชนเพื่อจัดการสุขภาพระดับกลุ่มบ้าน(บ้านกลาง-บ้านท่าเรือ)

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องความเข้าใจในเรื่องสิทธิของชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ม.2 บ้านห้วยลึก ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง โดยมีวิทยากรเข้ามาร่วมให้ข้อมูล จำนวน 3 ท่าน คือ 1. นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง 2.อาจารย์เสน่ห์ หมื่นโพธิ์ อดีตข้าราชครู 3. นายประสพ สมาธิ ทนายความ โดยใช้กระบวนการและเทคนิคการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น มาเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 108 คน

 

0 0

5. จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน

วันที่ 15 ธันวาคม 2012 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้คนในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิชุมชน 2.เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดเวทีให้ความรู้ ณ บ้านห้วยลึก ต.วังวน (ห้วยลึก-นายอดทอง)โดยวิทยากร ในเรื่องสิทธิต่างๆที่ชมชนควรจะได้รับ และบอกกล่าวถึงกรณีศึกษาต่างๆที่ทำให้ผู้เข้าร่วม เห็นถึงบทบาทของคน ชุมชน ที่จะได้รับสิทธิต่างๆตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และมีการระดมความคิดเห็นร่วมกันของคนในชุมชนในเรื่องสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนในด้าน ทรัพยากร ความเป็นอยู่ สุขภาพ และอื่น โดยมีคนเข้าร่วมจำนวน 90 คนซึ่งเกินเป้าที่ได้ตั้งไว้ ถือได้ว่าประชาชนให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้เป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนและระดมความคิดเห็นของคนในชุมชนเพื่อการจัดการสุขภาพระดับกลุ่มบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีให้ความรู้ ณ บ้านห้วยลึก ต.วังวน (ห้วยลึก-นายอดทอง)เรื่องกระบวนการส่งเสริมสิทธิของชุมชนทั้งในเรื่องสิทธิด้านการจัดการทรัพยากร สิทธิด้านการทำมาหากิน สิทธิตัวบุคคลและสิทธิที่พึงได้รับในเรื่องสุขภาพ โดยได้เชิญวิทยากร 3 ท่าน คือ 1.คุณพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง 2.อาจารย์เสน่หื หมื่นโพธิ์ อดีตข้าราชการครู 3. คุณประสพ สมาธิ ทนายความ

 

0 0

6. ติดตามระหว่างการดำเนินงาน โดย สจรส. ติดตามโครงการครั่งที่ 1

วันที่ 12 มกราคม 2013 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานของชุมชน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงได้ติดตามผลการดำเนินการของโครงการ และร่วมกันเรียนรู้และแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สจรส.มอ. ติดตามระหว่างการดำเนินงาน ติดตามโครงการครั่งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยง สสส. ติดตามการดำเนินงานของชุมชน เสนอแนะแนวทางการจัดทำบัญชี และการรายงานกิจกรรม

 

0 0

7. สำรวจและหาข้อมูลทางด้านสุขภาพทั้ง 4 ด้าน (กาย จิต สังคม ปัญญา)

วันที่ 26 มกราคม 2013 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเก็บข้อมูลด้านสุขภาพในเรื่องของการจัดการทรัพยากรของชุมชน และการส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมในการประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษทางจาก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ว่าการดำรงชีวิตของชาวบ้านในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรายได้เสริม เพื่อมาจุนเจือครอบครัว หลังจากที่ว่างจากการประกอบอาชีพหลัก โดยการนำทรัพยากรที่เหลือใช้จากการประกอบอาชีพใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาเรื่องขยะจากทรัพยากรในชุมชน และทำให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพของชุมชนทั้ง 4 ด้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูลด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอาชีพทำดอกไม้จากกระดาษทางจาก ณ โรงเรียนบ้านแหลม ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง ในเรื่องของการจัดการทรัพยากรของชุมชน และการส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมในการประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษทางจาก โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน คือ 1.คณะทำงานสำรวจข้อมูลโครงการ 2. สมาชิกกลุ่มกระดาษทางจาก 3. เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง 4.ครูโรงเรียนบ้านแหลม 5.กลุ่มเยาวชน

 

0 0

8. สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชนทั้ง 4 ด้าน

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพด้านทรัพยากร สุขภาพ และปัญญา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลด้านสุขภาพของชุมชน ม.5 จาก อสม. ในประเด็นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของคนในชุมชน และประเด็นเรื่องสาธารณสุข ของคนในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนสุขภาพของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมอาสาสมัครชุมชนทั้ง 15 คน ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการโครงการ ตัวแทน อสม.และตัวแทนเยาวชน ลงสำรวจและเก็บข้อมูลชุมชนทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลของบ้านนายอดทอง ในประเด็นเรื่องข้อมูลสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมงานอาสาสมัคร 15 คน ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลจากทีม อสม. ณ บ้านนายอดทอง ม.5 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง เพื่อหาข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน และข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บของคนในชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจาก รพ.สต.วังวน และจากการสัมภาษณ์ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ อสม. ซึ่งได้ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

 

0 0

9. สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชนทั้ง 4 ด้าน

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพด้านทรัพยากร สุขภาพ และปัญญา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลสุขภาพด้านทรัพยากร สุขภาพ และปัญญา จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและมีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ โดยมีทีมอาจารย์จาก สช. ร่วมกับทีมอาสาสมัคร ร่วมสำรวจข้อมูลดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมงานอาสาสมัครชุมชนทั้ง 15 คน ลงสำรวจและเก็บข้อมูลชุมชนทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมอาสาสมัคร ร่วมกันจัดเวทีโดยมีอาจารย์จากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติลงมาให้ข้อมูล การทำข้อมูล CHIA และร่วมกันสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพด้านทรัพยากร สุขภาพ และปัญญา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ มีการลงพื้นที่กระชังหอย กระชังปลา ป่าชายเลนในพื้นที่ ม.3 และม.5 ต.วังวน

 

0 0

10. การติดตามระหว่างการดำเนินงาน โดย สจรส.มอ. ติดตามโครงการครั้งที่ 2

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สจรส.ลงติดตามการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 มีการสรุปรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินของโครงการ เพื่อส่งให้ สจรส. ตรวจผลการดำเนินงานงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการสรุปรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินของโครงการ เพื่อส่งให้ สจรส. ตรวจผลการดำเนินงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สจรส.มอ.ติดตามระหว่างการดำเนินงาน มีการติดตามโครงการครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

สจรส.ลงติดตามการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 มีการสรุปรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินของโครงการ เพื่อส่งให้ สจรส. ตรวจผลการดำเนินงานงวดที่ 1 ณ มูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง 

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 10                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 199,350.00 45,410.00                  
คุณภาพกิจกรรม 40 37                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1) ปัญหาอุปสรรคและเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นในชุมชนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปฏิทินที่ได้กำหนดไว้ 2) ปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชนที่เกิดมาจากความคิดและความเข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่หลากหลาย 3) ปัญหาความซับซ้อนของการนำเสนอและการสรุปกิจกรรมและโครงการ ทำให้ชาวบ้านและคณะทำงานเองเกิดความไม่เข้าใจและต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสุจินต์ ไข่ริน
ผู้รับผิดชอบโครงการ