task_alt

โครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน

ชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านควนดิน ตำบลทุ่งตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

รหัสโครงการ 55-01840 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0914

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน มกราคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ม.6 บ้านควนดิน จำนวน 2 คนมาเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โซนภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี โดยได้เรียนรู้เรื่องการลงรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซต์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ม.6 บ้านควนดิน จำนวน 2 คน ได้ฝึกปฏิบัติและลงรายกิจกรรมต่างๆของโครงการที่ทำแล้ว/วางแผน ผ่านทางเว็ปไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โซนภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี

กิจกรรมที่ทำจริง

ม.6 บ้านควนดิน จำนวน 2 คนมาเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โซนภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี โดยได้เรียนรู้เรื่องการลงรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซต์

 

2 2

2. ค้นหา/คัดเลือกอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมและชายฝั่ง และเยาวชนกลุ่มอนุรักษ์ป่า พืชสมุนไพร พันธุ์สัตว์น้ำ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ค้นหา/คัดเลือกอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมและชายฝั่ง และเยาวชนกลุ่มอนุรักษ์ป่า พืชสมุนไพร พันธุ์สัตว์น้ำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ประชุมชี้แจงโครงการให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 6 บ้านควนดิน จำนวน 217 คนและมีหน่วยงานได้แก่ อำเภอทุ่งตะโก, อบต.ตะโก,สถานีตำรวจทุ่งตะโก โรงเรียนทุ่งตะโกวิทยาและโรงเรียนวัดท่าทอง โดยผู้รับผิดชอบโครงการชีแจงถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน โดยมีการวางแผนการทำงานปลูกป่าเสริม ปล่อยพันธุ์สัตว์ เช่น กุ้ง ปูดำ หอยจุ๊บแจง หอยกัน โดยวางแผนในการซื้อพันธ์จากนอกพื้นที่มาดำเนินการปล่อยในแหล่งป่าชายเลนในชุมชน ซึ่งมีพื้นที่ 2,000 กว่าไร่ ซึ่งการที่ต้องซื้อพันธุ์สัตว์น้าดังกล่าวเนื่องในชุมชนมีพันธุ์สัตว์จำนวนน้อยลง จำเป็นต้องเร่งขยายพันธุ์

2.หน่วยงานในพื้นที่ และชุมชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าเป็นโครงการที่ได้ทำต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ อบต.ดำเนินการในช่วงวันสำคัญในแต่ละปี และเป็นกิจกรรมที่ทางชุมชนได้ดำเนินการกันเอง

3.กำหนดวันปลูกป่าชุมชน โดยได้การสนับสนุนพันธุ์ต้นกล้าจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสวี พันธุ์ไม้ที่ได้รับการสนับสนุน ได้แก่ ต้นพังกาหัวสุม คุณสมบัติของต้นไม้ดังกล่าวช่วยรักษาหน้าดิน ให้ร่มเงากับสัตว์ป่า และในอนาคตชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ค้นหา/คัดเลือกชุมชน มาเป็นรสทช.เพิ่มขึ้น70 คน (เดิม 80 คน) - ค้นหา/คัดเลือกเยาวชน 3 กลุ่ม   กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้   กลุ่มรักษาพืชสมุนไพร   กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มละ 20 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชาวบ้านเพื่อชี้แจงโครงการและค้นหา/คัดเลือกอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อม

 

0 0

3. ติดตามการดำเนินโครงการ/เข้าร่วมกิจกรรมการจัดเสวนา

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดกิจกรรมเสวนาเครือข่าย รสทช.ชุดใหม่และชุดเก่าและจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการป่าชายเลน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง(รสทช.)และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 215 คน ได้แลกเปลี่ยนความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การอาศัยของพันธู์สัตว์น้ำรวมทั้งพืชสมุนไพรซึ่งมีวิทยากรจากสำนักงานทรัพยากรป่าชายเลนและชายฝั่ง รวมทั้งนายอำเภอทุ่งตะโก อาจารย์โรงเรียนทุ่งตะโกวิทยา

2.ผู้เข้าร่วมเสวนาจำนวน 215 คน ร่วมกันปลูกป่าต้นพังกา จำนวน 6,000 ต้น ในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่

3.เกิดการติดตามต้นกล้าที่ทำการปลูกไปแล้ว พบว่า อัตราการรอดของต้นกล้าประมาณ 90 เปอร์เซ็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการในพื้นที่บ้านควนดิน ต.ตะโก เนื่องจากพื้นที่ขอเลื่อนจากวันที่ 20/11/55

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมเสวนาเครือข่าย รสทช.ชุดใหม่และชุดเก่าและจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการป่าชายเลน

 

0 0

4. จัดกลุ่มอาสา3 กลุ่ม คือกลุ่มดูแลป่า พืชสมุนไพร และอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ และสำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ทรัพยากรชุมชน

วันที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกลุ่มอาสา3 กลุ่ม คือกลุ่มดูแลป่า พืชสมุนไพร และอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ และสำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ทรัพยากรชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดูแลป่า จำนวน 80 คนที่ประะกอบด้วยประชาชนในชุมชน (รสทช.)โดยกลุ่มจะมีบทบาทในการดูแลป่า ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 30 คน ประกอบด้วยนักเรียนทุ่งตะโกวิทยาและโรงเรียนวัดท่าทอง กลุ่มมีบทบาทเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในป่าชายเลน พืชสมุนไพรที่พบในป่าชายเลนได้แก่ต้นขลู่ ต้นแก้มสมอ ต้นเหงือกสมอ กำแพงเจ็ดชั้น หัวร้อยรูฯลฯ พืชสมุนไพรดังกล่าวมีสรพคุณในการรักษาโรคความดัน เบาหวาน ซึ่งชาวบ้านในชุมชนที่นำสมุนไพรข้างต้นมาชงน้ำร้อนกินเพื่อดูแลสุขภาพ และยังพบข้อมูลอีกว่าพื้ชสมุนไพรบางตัวมีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ อาสาอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 90 คน ประกอบด้วยนักเรียนและชาวบ้าน มีบทบาทในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในป่าชายเลน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.มีกิจกรรมปล่อยพันธุ์หอยจุ๊บแจง หอยกัน จำนวน 5,000 ตัว ปูดำ จำนวน 200 ตัว คนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่นักเรียน ชาวบ้าน และหน่วยงาน จำนวน 211 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดกลุ่มอาสาทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มดูแลป่า 70 คน กลุ่มดูแลพืชสมุนไพร 70 คน กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า 70 คน -สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ทรัพยากรชุมชน 3 กลุ่ม แหล่งสถานที่/ความสมบูรณ์/ทั้งในอดีต-ปัจจุบัน-ภาพอนาคตที่ต้องการ เพื่อปรับปรุงและวางแผนการดำเนินการต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาชน/นักเรียน/แกนนำทั้ง 3 กลุ่ม ร่วมออกสำรวจข้อมูลทรัพยากรและร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ/ปลูกพืชสมุนไพร

 

0 0

5. จัดเวทีเสนอแผนที่ทรัพยากรชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม

วันที่ 10 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดเวทีนำเสนอแผนที่ทรัพยากรชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม ให้ชุมชนทั้งชุมชน ฟัง/รับรู้/ช่วยวิเคราะห์/ช่วยกันวางแผน โดยแกนนำกลุ่มละ 15 คน และประชาชนทั่วไปประมาณ 105 คน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนอาสาสมัครกลุ่มปลูกป่า พืชสมุนไพรและกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ได้ร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินกิจกรรมทั้งเรื่องการปลูกป่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โดยกลุ่มปลูกป่าได้วางแผนในการปลูกทดแทนต้นกล้าที่ตายไป ปลูกขยายเพิ่มเติมในแปลงที่เหลืออยู่ และระดมแรงในการตกแต่งกิ่งต้นกล้าและกำจัดวัชพืชที่เลื้อยคลุมต้นกล้า สำหรับกลุ่มพืชสมุนไพร จะมีแนวทางขยายพันธุ์พืชสมุนไพรเข้ามาในแปลงปลูกใหม่ในป่าชายเลน กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ จะปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมในป่าชายเลน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เวทีนำเสนอแผนที่ทรัพยากรชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม ให้ชุมชนทั้งชุมชน ฟัง/รับรู้/ช่วยวิเคราะห์/ช่วยกันวางแผน โดยแกนนำกลุ่มละ 15 คน และประชาชนทั่วไปประมาณ 105 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีนำเสนอแผนที่ทรัพยากรชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม ให้ชุมชนทั้งชุมชน ฟัง/รับรู้/ช่วยวิเคราะห์/ช่วยกันวางแผน โดยแกนนำกลุ่มละ 15 คน และประชาชนทั่วไปประมาณ 105 คน

 

0 0

6. ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สจรส มอ ในการติดตามผลการดำเนินงาน

วันที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 13:00-15.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีความเข้าใจการดำเนินกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำความเข้าใจกับเอกสาร เช่น เอกสารการเงิน และการจัดทำข้อมูล

 

3 4

7. ปลูกป่าชายเลน

วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ประชาชน นักเรียนโรงเรียนวัดท่าทอง นักเรียนโรงเรียนทุ่งตะโก หน่วยงานราชการในพื้นที่/อำเภอ(อบต.ตะโก/นายอำเภอ/หน่วยงานทรัพยากรทะเลและชายฝั่งฯ เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 213 คน ร่วมกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่นากุ้งที่ถูกยึดมาจากการบุกรุกป่าชายเลน โดยพื้นที่มีลักษณะเป็นคันบ่อกุ้ง ทำให้การปลูกป่าต้องปลูกไม้มะกอกตานี สะเดาเทียม และกระทินณรงค์ โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 30 ไร่ ต้นกล้าประมาณ 3,000 ต้น 2.ให้เด็กนักเรียนได้เยี่ยมชมวิถีชีวิตของคนรอบๆริมคลองตะโก บางมุดและถ้ำพระในหมู่บ้าน เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปลูกป่าชายเลน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 28 7                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 213,000.00 112,650.00                  
คุณภาพกิจกรรม 28 20                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น ฝนตก การขึ้นลงของระดับนำทะเล

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสายใจ ปราบภัย
ผู้รับผิดชอบโครงการ