directions_run

โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม ”

ชุมชนบ้านควนยูง หมู่ที่4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หัวหน้าโครงการ
วิภาดา วาสินธุ์

ชื่อโครงการ โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม

ที่อยู่ ชุมชนบ้านควนยูง หมู่ที่4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ 55-01850 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0843

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม จังหวัดสุราษฎร์ธานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านควนยูง หมู่ที่4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านควนยูง หมู่ที่4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสโครงการ 55-01850 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,210.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสรุปบทเรียนและสร้างรูปแบบการจัดการป่าชุมชนอย่างมีระบบ
  2. เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
  3. เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการป่าชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เวทีสรุปบทเรียนการทำงาน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง พร้อมถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา กระบวนการ PL  (participatory learning ) ช่วงเช้า 10.00 - 12.00 น.
    • Motivation ด้วยวีดีโอ ภาพป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง กว่าจะได้มาเป็นป่าชุมชนทั้งภาพและ วีดีโอ (มีภาพของทุกคนในชุมชนที่ช่วยกันอนุรักษ์ป่า) ถกคิด สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลายและ สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศ สถานการณ์ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง(สถานการณ์ปัญหา  ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับชุมชน)

    • แนวทางการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม

    • รับสมัครอาสาสมัครจัดการป่าชุมชน
      ช่วงบ่าย

    • กระบวนการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุม 23คน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
    • ได้บทเรียนการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูงจากผู้เข้าร่วมเวที เพื่อนำบทเรียนที่ได้ไปปรับใช้ในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูงต่อไป
    • ผู้เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนมีความภูมิใจ ที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนผืนนี้
    • สามารถสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยพระอาจารย์วิสุทธิ์ วิสุทธิจารีย์ ให้ความสนใจมาก
    • ได้รูปแบบจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
    • ได้อาสาสมัครเยาวชนรักษ์ป่าควนยูงเพิ่มขึ้น
    • ได้แกนนำ (ผู้ใหญ่ในชุมชน) ในการอนุรักษ์ป่าควนยูงเพิ่มขึ้น

     

    0 0

    2. ปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผูรับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่โซนภาคใต้ตอนบน

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สร้างความเข้าใจการดำเนินงานโครงการ
    • สอนการทำรายงานความก้าวหน้า รายงานการเงิน ผ่านเว็ปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานมีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการมากขึ้น
    • ทีมงานสามารถทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ รายงานการเงิน ผ่านเว็ปไซด์ได้

     

    0 0

    3. ประชุมคณะทำงานและผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำความเข้าใจ รายละเอียดกิจกรรมทั้งโครงการ
    • จัดทำแผนปฏิบัติการ ปฏิทินงาน
    • แบ่งภาระงาน ในทุกกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วม 13คน
    • มีผู้ใหญ่ทั้งหมด  ไม่มีเยาวชนเลย
    • ปฏิทินงานที่ได้เป็นปฏิทินงานที่ยืดหยุ่นมาก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุตามปัจจัย และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของชุมชน

     

    0 0

    4. . เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน (เขียนป้ายป่าชุมชนและป้ายโครงการ)

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปรับปรุงแผ่นป้าย ป่าชุมชน และ ป้ายโครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้คนที่ผ่านไปผ่านมาสามารถเห็นได้เด่นชัด โดยการทาสีเพิ่ม และจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผ่นบ้ายเบ็นไม้ขนาดใหญ่ จำนวน 2 แผ่นป้าย เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่โครงการให้เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน

     

    0 0

    5. ประชุมคณะทำงาน (เตรียมความพร้อมในการบวชป่าวันที่ 4 ธันวาคม)

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:00-18.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงกิจกรรมบวชป่า
    • ได้แบ่งภาระงานตามความถนัด
    • ลงมือทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การพัฒนาป่า การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องเสียง เต้นท์ เก้าอี้ ลานกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานเข้าใจการจัดกิจกรรมการบวชป่าที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม2555  ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 100 คน โดยมีพระอาจารย์วิสุทธิ วิสุทธิจารี เจ้าอาวาสวัดสานติไมตรี เป็นประธานการบวชป่า
    • ทุกคนสามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ
    • มีการกำหนดวันลงพัฒนาป่าชุมชน ช่วยกันลงแรงในการทำงาน เพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุดก่อนถึงวันจัดงานจริง
    • ชุมชนใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมการจัดงานวันรักษ์ป่าชุมชน (บวชป่าชุมชน) หลายวัน คือ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน - วันที่ 3 ธันวาคม 2555  เนื่องจากเป็นงานใหญ่ ที่สามารถสร้างกระแสด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้กับคนได้อย่างกว้างขวาง

     

    0 0

    6. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเยาวชนอนุรักษ์ป่าชุมชน (โรงเรียนบ้านควนยูง)

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทักทายเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • แนะนำโครงการการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยบอกเล่าถึง ที่มา และหน่วยงานที่มห้การสนับสนุนงบประมาณ
    • ฉาย วีดีทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์โลกร้อน และความสำคัญของป่ากับภาวะโลกร้อน
    • บอกเล่าถึงสถานการณ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • บอกเล่าถึงกิจกรรมที่กลุ่มอนุรักษ์และกลุ่มเยาวชนร่วมกันทำมาแล้วในการอนุรักษ์ป่าชุมชน
    • บอกเล่าถึงแผนงานการทำกิจกรรมที่เราจะทำต่อไป (พิธีบวชต้นไม้)
    • หาแนวร่วมในการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • ชี้แจงการประกวดคำขวัญ คำกลอนเกี่ยวกับการอุรักษ์ป่าควนยูง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจที่มาของโครงการ
    • เยาวชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดคำกลอน คำขวัญ
    • โรงเรียนอยากให้เยาวชนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และดูแลป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • โรงเรียนมีความตั้งใจที่จะใช้ป่าชุมชนบ้านควนยูงเป็นสถานที่เรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 56คน
    • เกิดเครือข่ายการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง โดยโรงเรียนสนใจให้ป่าควนยูงเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชน

     

    0 0

    7. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเยาวชนอนุรักษ์ป่าชุมชน (โรงเรียนมัธยมพัชรกิตติยาภา 3)

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทักทาย แนะนำโครงการ ที่มา และหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ
    • ฉายวีดิทัศน์ ความเป็นมาของป่าชุมชน
    • แนวทางในการทำงานร่วมกัน
    • สมัครสมาชิกกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่าชุมชนเพิ่ม
    • เขียนคำขวัญ คำกลอนอนุรักษ์ป่าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนในโรงเรียนมัธยมพัชรกิตติยาภา จำนวน 63 คน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • ได้อาสาสมัครในการดูแลรักษาป่าควนยูงเพิ่มขึ้น 7 คน ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้
    • นักเรียนโรงเรียนมัธยมพัชรกิตติยาภาช่วยกันแต่งคำขวัญ คำกลอน เพื่อนำมาใช้ในการอนุรักษ์ป่าควนยูง
    • ได้คำขวัญ คำกลอนอนุรักษ์ป่าที่สามารถนำมาสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่อได้

     

    0 0

    8. ส่งเ้สริมการขยายพันธุ์พืชหายาก พืชสมุนไพรสำคัญในป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ (กิจกรรมวันรักษ์ป่าชุมชน)

    วันที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00-15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พิธีบวงสรวงรุกขเทวดาเพื่อบูชาและระลึกบุญคุณในการปกปักรักษาต้นไม้ในป่าชุมชน
    • พิธีสงฆ์ สวดมนต์ ไหว้พระ ถวายอาหารเพล
    • พิธีบวชต้นไม้ โดยการนำจีวรขอรับบริจาคจากวัด และผู้มีจิตศรัทธามาห่มให้ต้นไม้ในป่าชุมชน
    • ประกาศผลการประกวดคำขวัญคำกลอนและมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดคำขวัญ คำกลอน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • ครูภูมิปัญญานำเอาบทกลอนมาร้องเป็นเพลงบอก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 559 คน โดยเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีที่มาทำกิจกรรมที่วัดสานติไมตรี นักเรียนจากโรงเรียนพัชรกิตติยาภา โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนอนุบาลบ้านควนยูง และชาวบ้านในพื้นที่ทุกเพศทุกวัย
    • เกิดเครือข่ายคนอนุรักษ์ป่าชุมชนเพิ่ม ทั้งระดับเยาวชนและระดับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเครือข่ายจาก อ.ท่าชนะ ที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่ได้นัดหมาย และชื่นชอบในกิจกรรม จึงเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอนุรักษ์ป่า
    • เกิดการเชื่อมโยงของคนทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคราชการ ที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าควนยูง
    • ต้นไม้ในป่าชุมชนบ้านควนยูงได้รับการดูแลรักษาดีขึ้น เพราะมีการบวชเอาไว้แล้ว ไม่มีใครสามารถมาตัดได้ เนื่องจากกลัวบาป
    • ต้นไม้ที่ผ่านพิธีบวชป่าชุมชนบ้านควรยูงร่วม 300 ต้น จะยังคงอยู่ในป่าชุมชน เป็นสมบัติของชุมชนต่อไป

     

    0 0

    9. เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน (ประชาสัมพันธ์โครงการผ่่านรายการวิทยุชุมชน)

    วันที่ 9 ธันวาคม 2555 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควรยูงผ่านรายการวิทยุ สวท. สุราษฎร์ธานี
    2. เนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ คือ
    • แนะนำป่าชุมชนบ้านควนยูง

    • แนะนำกลุ่มองค์กรที่ทำงานอนุรักษ์ป่าชุมชน

    • เล่าเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาในอดีต และแผนงานที่จะทำในอนาคต
    • เล่ากิจกรรมที่เพิ่งเสร็จสิ้น งานบวชต้นไม้ในป่าชุมชนเนื่องในวันพ่อและวันสิ่งแวดล้อมไทย
    • ฝากบทกลอนอนุรักษ์ป่าด้วยทำนองเสนาะและสรภัญญะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาสัมพันธ์รายการผ่านวิทยุ สวท. สุราษฎร์ธานี โดยนักประชาสัมพันธ์รุ่นเยาว์ของชุมชน
    • มีผู้ฟังในจังหวัดสุราษฎร์ธานีรู้จักโครงการ การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม อย่างน้อย 100 คน
    • สร้างแรงกระเพื่อมด้านการอนุรักษ์ป่าให้กับกลุ่มเยาวชน ที่ฟังรายการ
    • เยาวชนได้มีประสบการณ์ตรงในการเป็นนักประชาสัมพันธ์

     

    0 0

    10. เยาวชนเรียนรู้ป่าชุมชนจากแกนนำชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มๆ จำนวนเท่าๆ กัน เดินตามผู้ใหญ่ที่เป็นแกนนำเดิม พร้อมจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในป่าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้จัก เห็นความสำคัญของป่าชุมชนบ้านควนยูงมากขึ้น
    • เยาวชนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง

     

    0 0

    11. พัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เป็นนักประชาสัมพันธ์

    วันที่ 5 มกราคม 2556 เวลา 08:00-17.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่าชุมชน ร่วมกับกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เข้ารับการอบรม กระบวนการจัดรายการวิทยุ การนำเสนอข่าวสาร อย่างสร้างสรรค์ โดยมีท่าน ผอ.สวท. ท่านหัวหน้าฝ่ายรายการ และนักสื่อสารมวลชน ที่มากด้วยประสบการณ์ มาถ่ายทอดประสบการและมีการปฏิบัติการจริงที่สถานีวิทยุ
    • ทดลองเป็นนักจัดรายการวิทยุ ออกอากาศจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนได้ฝึกทักษะการเป็นนักสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุ สามารถสื่อสารเรื่องราวที่อยากนำเสนอสู่สังคมได้
    • เยาวชนได้ทดลองฝึกปฏิบัติเป็นนักจัดรายการวิทยุด้วยการออกอากาศจริง
    • เยาวชนมาจากหลากหลายที่ เกิดเครือข่ายเยาวชนที่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์สังคม

     

    0 0

    12. เยวชนเรียนรู้เรียนรู้ป่าชุมชนจากแกนนำชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 13 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่ในชุมชนเดินร่วมกับเยาวชนที่เป็นลูกหลานของตนเอง
    • มีการแนะนำ ลักษณะของสมุนไพรแบบง่ายๆ นี่คือต้น อะไร และมีสรรพคุณอย่างไร
    • สรุปจำนวนสมุนไพรที่ได้เรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ใหญ่ในชุมชนเดินร่วมกับเยาวชนที่เป็นลูกหลานของตนเองทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 วัย
    • เยาวชนได้ความรู้จากครูภูมิปัญญาในการแนะนำลักษณะของสมุนไพรแบบง่ายๆ นี่คือต้น อะไร และมีสรรพคุณอย่างไร
    • มีการสรุปจำนวนสมุนไพรที่ได้เรียนรู้จากครูภูมิปัญญา
    • ผลที่เกิดขึ้นเกินความคาดหวัง ก็คือ ในวันนั้นมีอดีตอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา คุณ Joel Gerstman ขอลงเยี่ยมพื้นที่ป่าด้วย
    • ผลปรากฏว่าหลังจากที่ ครูภูมิปัญญาด้านสมุนไพร แนะนำสมุนไพร และสรรพคุณแล้ว คุณ โจซึ่งเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี ก็อธิบายเป็นภาษาอังกฤษ ด้วย ไทยด้วย ทำให้เยาวชนได้ บูรณาการเรียนรู้
    • ครูภูมิปัญญาด้านสมุนไพร คุณลุง อุดม ไสยรินทร์ ท่านตลึงกับความสมบูรณ์ของป่าชุมชนและ ตื่นเต้นที่เห็น สมุนไพร จำนวนมากมายมหาศาล ในผืนป่าแห่งนี้

     

    0 0

    13. ประชุมร่วมกับ สจรส.

    วันที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรียนรู้เกี่ยวกับการลงข้อมูล การรายงานความก้าวหน้าโครงการ ส.1 รายงานการติดตามโครงการ ส.2 และรายงานการเงิน ง.1 ผ่านเว็ปไซด์
    • เพิ่มเติมรายงานในส่วนที่ดำเนินการผ่านมาแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • บันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง
    • รายงานการเงิน รายงานความก้าวหน้า รายงานการติดตามโครงการ มีความสมบูรณ์
    • ทีมงานสามารถลงรายงานได้อย่างถูกต้องมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น

     

    0 0

    14. บระชุมคณะทำงาน

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชน
    • ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ทำไมจึงได้มี ป่าชุมชนนี้ มีปัญหาอะไร เมื่อได้ป่า มาเป็นป่าชุมชนแล้ว มีปัญหาอะไรบ้าง สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ยังไม่ได้ตามแผนที่วางเอาไว้ ต้องประชุมอีก สองสามครั้ง จึงจะสามารถจัดทำยุทธศาตร์ได้

     

    0 0

    15. เวทีประชาคมร่วมสร้างกฏ กติกา ในการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทบทวนผลการประชุมจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการป่าชุมชน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
    • เชื่อมโยงปัญหา่ที่เกิดขึ้นในการจัดการป่าชุมชน
    • ร่วมกันคิด ระดมสมอง สิ่งที่ชุมชนอยากเห็นในป่าชุมชน และแนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ยังไม่สามารถจัดทำร่างได้ ต้องอาศัยการประชุมเตรียมความพร้อมหลายๆ ครั้ง เพื่อให้กฏ กติกา การจัดการป่าชุมชนเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง
    • ได้นำข้อมูลจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีมาใช้ประโยชน์ในการจัดการป่าชุมชน ทำแผนพัฒนาชุมชน

     

    0 0

    16. ประชุมติดตามโครงการ

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ และให้คำแนะนำ
    • จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการทางเว็บไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นำเอกสารการเงินมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ และให้คำแนะนำ ทำให้ได้เอกสารการเงินที่ถูกต้อง สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำรายงานการเงินโครงการ
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการมีความสมบูรณืมากขึ้น

     

    0 0

    17. เยาวชนเรียนรู้ป่าชุมชนจากแกนนำชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:30 - 14.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำความรู้จักกับแกนนำ อนุรักษ์บ่าชุมชน ลุงอนุชา ลุงจำรัส ลุงประสาร
    • ทำความรู้จักกับแผนที่เดินเท้าในบ่าชุมชน
    • แบ่งกลุ่มเดินบ่า โดยมี แกนนำ นำทาง เบ็นโซนๆ
    • คุณครูเดินตามเบ็นพี่เลี้ยง
    • สรุบสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบ่าชุมชน
    • เดินทางกลับโรงเรียนโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70  คน เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนป่าชุมชน
    • เยาวชนได้เรียนรู้ รู้จักพันธุ์พืช สมุนไพร ที่มีในป่าชุมชน
    • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย ผู้ใหญ่กับเด็กที่ได้กันทำกิจกรรมร่วมกัน

     

    0 0

    18. เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน และกฎ กติกาชุมชนที่จัดทำขึ้นให้เป็นที่รับทราบอย่างทั่วถึง

    วันที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 10:00-20.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงานด้วยการออกบูท จัดนิทรรศการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนและคนทั่วไปที่ได้เห็นนิทรรศการและการเผยแพร่ผลงานของชุมชนได้ทราบถึงผลการทำงานในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูงอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และเห็นความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษืป่าชุมชน

     

    0 0

    19. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 30 มีนาคม 2556 เวลา 10.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงาน
    • ชี้แจงเรื่องการเงิน การส่งรายงาน และ การทำกิจกรรมครั้งต่อไป
    • ชี้แจงกิจกรรมที่ยังคงค้างอยู่ และช่วยทำปฏิทินในการปฏิบัติงาน
    • ร่วมกันใส่ข้อมูลสำคัญในแผ่นพับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผ่นพับ 2 แบบ แต่ก็ เป็นการออกมาจากความคิดของคนสอง สามคน

     

    0 0

    20. พัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เป็นนักประชาสัมพันธ์ ( ติดตามประเมินผล )

    วันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมประชุม ลงทะเบียนอยากพร้อมเพรียง
    • ที่ประชุมบอกเล่าถึงงานที่เยาวชนทำในชุมชน รอบ สามเดือนที่ผ่านมา
    • บอกเล่าถึงงานประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาในระยะ สามเดือน ทำเรื่องอะไรบ้าง ผลของงานที่ทำ  ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อชุมชน
    • มีการวางแผนงานประชาสัมพันธ์งานของตนเอง (แต่ละประเด็น) ในสามเดือนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีคณะทำงาน กลุ่มเยาวชน  จำนวน 50 คน
    • ที่ประชุมได้แผนปฏิบัติการของเยาวชน เห็นถึงผลการดำเนินงานโครงการที่ดำเนินงานผ่านกลุ่มเยาวชน และร่วมกันวางแผนการทำงานในส่วนที่เหลือที่ยังต้องดำเนินงานต่อไป

     

    0 0

    21. ประชุมคณะทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุรพ.สต.เฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง

    วันที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมให้ผู้สูงอายุเข้าใจ
    • หาอาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อทำงานคู่กับเยาวชนในชุมชน โดยวิธีการรับสมัครผู้ที่สนใจ
    • กำหนดแผนงานกิจกรรมการทำงานร่วมกันในป่าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำจำนวน 27 คน เข้าร่วมประชุมร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ
    • แกนนำและผู้สูงอายุเข้าใจและพร้อมจะทำงานร่วมกัน
    • ได้อาสาสมัครดูแลป่าชุมชนที่มาจากแกนนำผู้สูงอายุ เป็นการให้ความสำคัญ มอบบทบาทหน้าที่ และสร้างคุณค่าให้กับผู็สูงอายุในชุมชน

     

    0 0

    22. เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน และกฎ กติกาชุมชนที่จัดทำขึ้นให้เป็นที่รับทราบอย่างทั่วถึง ในวันรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์

    วันที่ 12 เมษายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ขอโอกาสจากท่ายนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลขุนทะเล พูดถึงโครงการการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม
    • ชี้แจงแผ่นพับที่ต้องการประชาสัมพันธ์
    • คณะทำงานร่วมแจกแผ่นพับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการอนุรักษ์ป่าควนยูงให้คนในชุมชนทราบมากขึ้น โดยได้รับโอกาสจากทางเทศบาลให้ใช้เวทีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ พูดคุยกับชาวบ้านเพื่อประชาสมัพันธ์โครงการ แจกแผ่นพับโครงการ
    • คนในชุมชนสนใจการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนควนยูงเพิ่มมากขึ้น

     

    0 0

    23. กิจกรรม เยาวชนเรียนรู้พันธุ์พืชพันธุ์สมุนไพรจากผู้ใหญ่ในชุมชนครั้งที่4( วันคุ้มครองโลก)

    วันที่ 22 เมษายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำและเยาวชนรวมตัวกันที่เรียนรู้ป่าชุมชน
    • แกนนำชี้แจงกระบวนการลงพื้นที่เรียนรู้ป่า
    • แบ่งกลุ่มลงพื้นที่ในป่าตามโซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนในชุมชน ในวันปกติจะเรียนหนังสือที่โรงเรียน จะมีเฉพาะนักศึกษาที่มาเรียนรู้และมาทำกิจกรรมในชุมชนมาร่วมทำกิจกรรมด้วย
    • เยาวชนที่ลงมาศึกษาชุมชน มาจาก มรส.สาธารณสุข จะมุ่งเน้นหาข้อมูลด้านพืชสมุนไพร เป็นส่วนใหญ่ เพื่อจะ เอาข้อมูลไปนำเสนอในเวทีประชาคม อีก 2วันข้างหน้าเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน

     

    0 0

    24. ทำเวทีประชาคมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับนักศึกษา สาธารณสุข มรส.

    วันที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำป่าชุมชน นายธนเทพ วาสินธุ์ และนายศุภวัฒน์ซุ่นห้วนได้ ชี้แจงสิ่งที่ได้ค้นหาพบเจอในชุมชน
    • ปัญหาที่พบ
    • แนวทางแก้ไข
    • ร่วมกันทำโครงการที่พอทำได้ตามศักยภาพของชุมชน
    • ออกแบบโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนได้รับรู้ข้อมูลและปัญหา
    • ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
    • เกิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

     

    0 0

    25. เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน และกฎ กติกาชุมชนที่จัดทำขึ้นให้เป็นที่รับทราบอย่างทั่วถึงในวันทอดผ้าป่าวัดศานติ-ไมตรี

    วันที่ 27 เมษายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้เยาวชนเป็นผู้แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ
    • ทีมงานพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ที่มาร่วมงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แจกแผ่นพับจำนวน 150 แผ่น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ป่าควนยูงให้คนที่มาร่วมงานทราบ
    • มีการพูดคุยบอกเล่าสิ่งที่ำทำกับคนที่สนใจสอบถาม

     

    0 0

    26. ประชุมทำความเข้าใจกระบวนการทำงานพร้อมหาอาสาสมัครเก็บข้อมูลเพิ่ม(ประชุมคณะทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุรพ.สต.เฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง)

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงกิจกรรมของคณะทำงานที่ผ่านมาในรอบ 1 เดือน ที่ทำงานร่วมกับผู้สูงอายุ
    • สรุปบทเรียนการทำงานร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ และความยั่งยืนของป่า
    • สรุปบทเรียนของชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติฯถึงความยั่งยืนของกลุ่ม
    • วางแผนทำงานในช่วงเดือนพฤษภาคม 56
    • จัดทำรายงานการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำโครงการ จำนวน 27 คน ได้แผนการทำงานร่วมกัน ทราบแนวทางการดำเนินงาน และเห็นเป้าหมายในการทำงานร่วมกันในชุมชน

     

    0 0

    27. ประชุมติดตามโครงการ

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ
    • จัดทำรายงานการประเมินคุณค่าของโครงการ
    • จัดทำแนวทางการต่อยอดโครงการในปีที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ได้จากการประเมินคุณค่าของโครงการในปีแรก
    • จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการให้สมบูรณ์
    • ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้จ่ายงบประมาณ

     

    0 0

    28. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลำดับเนื้อหาและความสำคัญในการพูด สิ่งอยากให้เป็นไปตามเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความพร้อมในการทำงานมากขึ้น คณะทำงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง
    • มีการวางแผนกาทำงานที่เป็นระบบ ทุกคนเข้าใจแผนการทำงานเหมือนกัน

     

    0 0

    29. เวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ป่าป่าชุมชนบ้าควนยูง

    วันที่ 3 มิถุนายน 2556 เวลา 08:30-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์
    • เล่าความเป็นมาของโครงการการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม
    • ความสำคัณของการทำงานร่วมกันในชุมชน
    • ฉายวิดีโอเกี่ยวกับ กิจกรรมที่เคยทำในป่า วิทยากรพูดเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • วางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน ในคราต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมจำนวน 70 คน
    • ไม่ได้มาจากทุกครัวเรื่อน แต่มาจาก คนที่ทำงานอาสาอยู่ในชุมชนเดิม เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม. กลุ่ม องค์กรพัฒนาสตรีฯลฯ

     

    0 0

    30. ส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชหายาก พืชสมุนไพรสำคัญ ในป่าชุมชน เพื่อการอนุรักษ์

    วันที่ 5 มิถุนายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รู้ในชุมชน และเยาวชน รวมตัวกันที่ หน้าบริเวณทางเข้าป่าชุมชน
    • นำพันธุ์ไม้หายาก มาลงทะเบียนต้นไม้
    • แบ่งกลุ่ม เด็กและผู้ใหญ่ เพื่อลงไปขยายพันธุ์พืชหายาก ในแปลงป่าชุมชน
    • นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนและหาข้อบกพร่อง เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้สูงวัยได้นำพันธุ์ไม้ที่เพาะชำไว้แล้วมาจากบ้าน (สำเร็จแล้ว) แล้วมา บอกเล่าให้เด็กฟังว่าทำยังไง
    • เยาวชนทุกคนสามารถทำการเพาะชำกล้าไม้ได้

     

    0 0

    31. พัฒนาอาสาสมัครและเยาวชนอนุรักษ์สู่การเบ็นผู้นำทางในการเดินบ่าชุมชน

    วันที่ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    • เดินทางสู่ป่าชุมชน ลงพื้นที่จริง เห็นของจริง เรียนรู้จากของจริง
    • ปฏิบัติการจัดทำร่างแผนที่ทางเดิน พร้อมระบุต้นไม้สำคัญ
    • จัดทำแผนที่ป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม
    • ฝึกอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับป่าชุมชน การเป็นไกด์นำเที่ยวป่าชุมชนบ้านควนยูง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีคนในชุมชนและเยาวชนข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน
    • เยาวชนและแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถอธิบายเรื่องราวของป่าได้ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา พันธุ์พืชพันธุ์ไม้ที่มีในป่าชุมชน และแผนที่ป่าชุมชน

     

    0 0

    32. ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม โครงการ การจัการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม อำเภอท่าชนะ

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ร่วมกิจกรรมกับชุมชน วันพระ
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ การจัดการป่าชุมชนฯ แบบมีส่วนร่วม
    • แจกแผ่นพับแผ่นปลิว
    • เชิญชวนให้ทำกิจกรรม แบบเดียวกันที่ ป่าชุมชน ของสวนป่าไทรงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ร่วมกิจกรรมกับชุมชน ในวันพระ เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงาน
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ การจัดการป่าชุมชนฯแบบมีส่วนร่วม โดยการบอกเล่าเรื่องราวและแจกแผ่นพับแผ่นปลิว
    • เชิญชวนให้ทำกิจกรรม แบบเดียวกันที่ ป่าชุมชน ของสวนป่าไทรงาม
    • ชาวบ้าน เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ชุมชนไร่ยาวก็มีป่า  อยากทำบ้าง
    • ได้ประชาสัมพันธ์ งานและเชิญชวนให้ทำกิจกรรมแบบเดียวกัน

     

    30 30

    33. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานกิจกรรมที่ผ่านมาในรอบเดือน
    • รายงานการเงิน และค่าใช้จ่ายต่างๆ
    • แผนงานเดือนกรกฎาคม ปรับให้สอดคล้องกับบริบท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 20คน
    • ได้แผนงานที่ชัดเจน และกำหนดวันทำงานต่อ

     

    20 20

    34. เวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตอนเช้าทำความเข้าใจเรื่อง ภาวะโลกร้อน
    • ตอนบ่าย เยาวชน นักศึกษา ลงพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นเท่าที่ทำได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เบ็นกิจกรรมแรกที่ได้มีโอกาสทำกับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงตามความตั้งใจเดิม ทุกคนที่เป็นเป้าหมาย มารวมกันในเวทีนี้

     

    100 50

    35. ประชุมคณะทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุรพ.สต.เฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง

    วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสัญจร ที่บ่อน้ำร้อนท่าสะท้อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานโครงการจำนวน 30 คน เดินทางไปจัดประชุมสัญจรที่บ่อน้ำร้อนท่าสะท้อน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนมากนัดเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการประชุม
    • ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกผ่อนคลายในการทำงาน และสามารถเสนอแนวทางการทำงานได้

     

    20 30

    36. ส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชหายาก พืชสมุนไพรสำคัญ ในป่าชุมชน เพื่อการอนุรักษ์

    วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชาวบ้านแกนนำร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัชสุราษฎร์ธานี รวมกันที่ป่าชุมชน รับฟังคำชี้แจงจาก คณะกรรมการโครงการฯ/( ประธานธนาคารต้นไม้ )คุณประสาร มณีน้อย
    • แบ่งกลุ่ม และรับวัสดุอุปกรณ์ พร้อมพันธุ์ไม้
    • ดำเนินการตามแผนงานที่ร่วมกันวางไว้
    • สรุปจำนวนพันธุ์ไม้และจำนวนต้นที่ได้ลงไปในป่าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้พันธุ์ไม้เพิ่มมากกว่า 10ชนิด  ดังนี้ ต้นยมหอม ต้นหงอนไก่ ต้นหว้า ต้นเหรียง ลูกปราบ ต้นขุนไม้ ต้นเกาลัด ต้นมะขามป้อม ต้นผักเขลียง เทพทาโร ต้นยาง ต้นเปล้าน้อย ม่วงป่า และกลัวยไม้อีกหลากหลายชนิด
    • ผู้เข้าร่วม 85 คน ซึ่งเกินเป้าที่วางไว้ โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีมาร่วมปลูกป่าด้วย( นักศึกษานั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง ที่ไปเรียนต่อ )
    • โอกาส หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนสุราษฎร์ธานี ให้ความสนใจและมีความตั้งใจที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับแกนนำของโครงการการจัดการป่าชุมชนมาก

     

    100 85

    37. ประชุมติดตามโครงการ

    วันที่ 4 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ
    • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข
    • ถอดบทเรียนการทำงานโครงการโดยทีมงาน สจรส. มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารต่างๆ ยังไม่เรียบร้อย
    • ทำรายงานผลการดำเนินงานเพิ่มเติม
    • ได้ถูกถอดบทเรียนโดย สื่อของ สจรส. ทำให้เห็นประสบการณ์และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

     

    2 2

    38. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 2 กันยายน 2556 เวลา 09:00-13.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานความก้าวหน้าของงานป่าชุมชน -แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการทำกิจกรรมในป่าชุมชน
    • หาเวลาให้ตรงกันเพื่อทำกิจกรรมอีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนรับทราบข้อมูล การทำงานป่าชุมชน
    • ทุกคนทราบว่า โครงการกำลังจะปิดแล้ว
    • ทุกคนร่วมกันสมทบค่าอาหาร โครงการออกเฉพาะ อาหารว่าง 2มื้อ

     

    20 30

    39. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรในป่าชุมชน

    วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำชุมชน กลุ่มเยาวชน ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทรัพยากรในป่าชุมชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรในป่าชุมชน โดยนักวนศาสตร์ชุมชน จากศูนย์วนศาสตร์ชุมชนที่ 12 ลงพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อยืนยันข้อมูลที่เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชนร่วมกันค้นหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำและนักวนศาสตร์ชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 8คน
    • ได้ทราบพันธุ์พืชและพันธุ์สมุนไพร ราวๆ 25 เปอร์เซนต์
    • ได้เยาวชนที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเป็นรูปเล่ม
    • ทราบว่าในป่าชุมชนแห่งนี้มีพันธ์ไม้หายาก เช่น ต้น ไข่เน่า เยอะมาก
    • แกนนำป่าชุมชน มีรายชื่อพันธุ์ไม้เดิมในมือ
    • นักวนศาสตร์เข้าไปในป่าเพื่อหาพันธุ์ไม้ที่คนในชุมชนไม่ทราบเพิ่มเติม
    • ช่างภาพ ( เยาวชนในชุมชน )เก็บภาพแต่ละพันธุ์พืช
    • แกนนำทำแผนที่ต้นไม้นั้นๆอยู่ตรงไหน

     

    50 8

    40. เผยแพร่ข่าวสารการทำงาน และกฏกติกาชุมชน

    วันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกแบบ ป้ายนิทรรศการ จำนวน 7 ป้าย
    1. ความเป็นมา แรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ป่า 1 ป้าย
    2. บุคคลต้นแบบในการอนุรักษ์ป่า ( ในชุมชน) กับสิ่งที่พบเจอที่น่าอัศจรรย์  1ป้าย
    3. กิจกรรมที่ ร่วมกันทำในป่าชุมชน ผลที่ได้รับแต่ละกิจกรรม 5 ป้าย
    • นำแบบป้ายนิทรรศการที่ออกแบบ ไปสั่งทำที่ร้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายนิทรรศการ 7 แผ่น เพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธุ์กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน

     

    100 100

    41. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร พันธุ์พืชสมุนไพร

    วันที่ 17 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือพันธุ์พืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านควนยูง จำนวน 1 เล่ม เป็นเอกสารสี 71 หน้้ากระดาษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือพันธุ์พืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านควนยูง จำนวน 1 เล่ม เป็นเอกสารสี 71 หน้้ากระดาษ

     

    0 0

    42. ร่วมขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่สู่วิถีการจัดการตนเอง (งานสร้างสุขภาคใต้)

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ในประเด็น เกษตร /อาหาร/ ศก.พอเพียง และเด็กเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ในประเด็น เกษตร /อาหาร/ ศก.พอเพียง และเด็กเยาวชน

     

    2 2

    43. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงาน ส.3
    • ตรวจเช็คข้อมูลให้สมบูรณ์ เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ

     

    2 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสรุปบทเรียนและสร้างรูปแบบการจัดการป่าชุมชนอย่างมีระบบ
    ตัวชี้วัด : - เกิดรูปแบบการจัดการป่าควนยูง การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

     

    2 เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : - เกิดอาสาสมัคร องค์กร เครือข่าย ดูแล ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

     

    3 เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการป่าชุมชน
    ตัวชี้วัด : - ได้องค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชน - ได้หลักสูตรด้านการจัดการป่าชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสรุปบทเรียนและสร้างรูปแบบการจัดการป่าชุมชนอย่างมีระบบ (2) เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม (3) เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการป่าชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม

    รหัสโครงการ 55-01850 รหัสสัญญา 55-00-0843 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • มีการจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูง ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีในป่าชุมชน มาจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ศึกษาได้จริง ไม่เฉพาะมีอยู่ในตัวครูภูมิปัญญาเท่านั้น
    • หนังสือชุดทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • จัดทำชุดความรู้ที่ได้เผยแพร่สู่หน่วยงานต่างๆ
    • ใช้คู้มือที่ได้เป็นสื่อสร้างการเรียนรู้ไปยังเยาวชนและคนในเยาวชนทุกกลุ่ม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
    • มีการจัดทำสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การทำงานด้านการอนุรักษ์ป่่าชุมชนบ้านควนยูงในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ป่า เช่น ไวนิล คู่มือศึกษาป่าชุมชน ดีเจน้อยบอกเล่าเรื่องป่าชุมชน คำกลอน คำขวัญในการอนุรักษ์ป่าชุมชน เพลงบอก กลอนมโนราห์เกี่ยวกับการอนุรักษืป่า
    • คู่มือศึกษาป่าชุมชน
    • ไวนิล
    • ผ้าเหลืองผูกต้นไม้ บวชป่าชุมชน
    • ป้ายป้าชุมชน
    • ใช้สื่อที่ได้ในการเผยแพร่ข่าวสาร บอกเล่าเรื่องราวการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนทุกครั้งที่มีโอกาส
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่
    • มีกระบวนการทำงานแบบเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายภายนอกมาหนุนเสริมการทำงานในชุมชน เพื่อชี้ให้คนในชุนเห็นความสำคัญและสร้างกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม
    • มีภาคีทั้งภายในและภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น มรภ.สุราษฎร์ธานี วัดสานติไมตรี ศูนย์วนศาสตร์ชุมชน
    • ใช้ศักยภาพของภาคีเครือข่ายการทำงานที่มีมาหนุนเสริมศักยภาพชุมชนตามบทบาทหน้าที่และศักยภาพของภาคีนั้นๆ เพื่อให้การทำงานตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่
    • เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น จากการใช้เวทีการประชุม การทำกิจกรรมในการปรึกษาหารือ พูดคุยสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ในชุมชนมากขึ้น โดยบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับป่้าชุมชนก็ได้
    • การประชุมประจำเดือน
    • ใช้วิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการทำงานแก้ไขปัญหา หรือทำงานพัฒนาในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    • มีการสร้างเครือข่ายการทำงานในกลุ่มเยาวชน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าควนยูงคู่กับแกนนำชุมชน ปราชญ์ชุมชน
    • กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าควนยูง
    • พัฒนาศักยภาพและความสามารถของกลุ่มเยาวชนให้มีความเข้มแข็ง และสามารถดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมได้เอง ถึงแม้จะไม่มีผู้ใหญ่คอยสั่งก็ตาม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • มีการประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านควนยูงที่เกิดจากการอนุรักษ์เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง และเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการเรียนรู้จากพื้นที่จริง
    • ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • ประสานงานกับโรงเรียนและสถานศึกษาในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ และหลักสูตรท้องถิ่นด้่านการอนุรักษ์ป่าชุมชน การเรียนรู้ป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
    • ในชุมชนมีการหันมาพึ่งพิงธรรมชาติมากขึ้น มีการเข้าไปหาของป่า หาสมุนไพรที่มีในป่าชุมชนมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นการรักษาด้วยภูมิปัญญาที่มีมาแต่เดิมของชุมชน
    • ครูภูมิปัญญา
    • ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • องค์ความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชน
    • สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรผ่านครุภูมิปัญญา โดยจัดทำเป็นชุดความรู้และถ่ายทอดสู่กลุ่มเยาวชน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้มีความยั่งยืน และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
    • มีการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มทุกวัย ทั้งเด็ก เยาวชน คนทำงาน ผู้สูงอายุ ท้องที่ ท้องถิ่น โรงเรียน วัด เพื่อให้ป่าชุมชนเป็นพื้นที่สำหรับคนทุกคนที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์
    • ป่าชุมชนบ้านควนยูง
    • ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการดูแลรักษาป่าชุมชนอย่างตัวเนื่อง ให้ป่าชุมชนเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชุมชนที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    • มีข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบ้านควนยูง ทุกคนมีสิทธิใช้ประโยชน์ แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากชุมชน และต้องช่วยกันดูแลรักษา มีการปลูกทดแทนต้นไม้ที่โดนตัดไป
    • กติกาป่าชุมชน ข้อตกลงร่วม
    • สร้างเป็นธรรมนูญชุมชนเรื่องการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • มีการเชื่อมโยงประสานงานเครือข่ายทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชนมาหนุนเสริมการทำกิจกรรมด้านการอนุรักษืป่าชุมชน เช่น โรงเรียนบ้านควนยูง โรงเรียนมัธยมพัชรกิตติยาภา 2 วัดสานติไมตรี มห่วิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ศูนย์วนศาสตร์ชุมชน จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมชนอื่นๆ มาร่วมในกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนสะท้อนคิดถึงความสำคัญของป่าชุมชนที่แม้แต่หน่วยงานภายนอก ยังให้ความสำคัญ
    • องค์กร ภาคีเครือข่ายการทำงานที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • นำศักยภาพของภาคีเครือข่ายการทำงาน ซึ่งแต่ละองค์กรมีความสามารถที่แตกต่างกันมาพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานเพื่อให้สามารถทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
    • กระบวนการตัดสินในในการแก้ไขปัญหาป่าชุมชน เกิดจากการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เรียนรู้ที่มาของปัญหา มีการประเมินสถานการณ์ปัญหาโดยการใช้ข้อมูลที่ร่วมกันทำ มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ แบบมีส่วนร่วม โดยการใช้เวที การประชุมปรึกษาหารือ ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการชุมชนทำแผนการดำเนินงานที่วางไว้ และมีการประเมิน สรุปผลการดำเนินงานทุกครั้งที่โอกาส โดยการใช้เวทีประชุมแลกเปลี่ยน
    • การประชุมคณะทำงานโครงการ
    • ใช้เวทีการประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่เป็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาอื่นๆ ของชุมชนด้วย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • มีการใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชนที่มีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพยากร (ป่าชุมชน) เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชน มีการระดมทุนในการทำกิจกรรมบ้างในบางครั้ง มีการใช้ทรัพยากรบุคคลที่ในชุมชนอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ครูภูมิปัญญาการสวดบูชารุกขเทวดา ครูภูมิปัญยาสมุนไพร มาหนุนเสริมให้กิจกรรมมีความเข้มแข็ง
    • ป่าชุมชน
    • ครูภูมิปัญญา
    • การทำโครงการพัฒนาที่ดี คือการนำทุนทางสังคมที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่จะพึ่งพาทุนจากภายนอก ซึ่งควรหนุนเสริมหรือจัดกิจกรรมพัฒนาอื่นๆ ที่อาศัยทุนในสังคม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
    • มีการขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านควนยูงของกลุ่มอนุรักษ์และกลุ่มเยาวชนทีเกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์เข้ามาหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มเยาวชนโดยการใช้งานวิจัยท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อสร้างการเรียนรู้ป่าชุมชนให้กับกลุ่มเยาวชนต่อไป
    • กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าควนยูง
    • กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • นำงานวิจัยและงานพัฒนามาใช้ในการสร้างการเรียนรู้ให้คนในวัยอื่นๆ ด้วย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
    • มีการจัดการความรู้เรื่องทรัพยากรที่มีในป่าชุมชนบ้านควนยูง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นอย่างรู้คุณค่า
    • ชุดความรู้เรื่องทรัพยากรในป่าชุมชน
    • นำความรู้ที่ได้เผยแพร่สู่คนในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการทรัพยากรที่มีอย่างรู้คุณค่า
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
    • คณะทำงานโครงการมีทักษะในการจัดการโครงการมากขึ้น มีการใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล มาต่่อยอดเป็นกิจกรรมด้านการอนุรักษืได้ มีการวางแผนการทำงานทุกกิจกรรม เพื่อให้ผลลัพธืของโครงการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
    • แผนปฏิบัติการโครงการ
    • เวทีการประชุมวางแผนการทำงาน
    • ส่งเสริมงานพัฒนาชุนด้นอื่นๆ ที่ใช้กระบวนการทำงานแบบมีข้อมูลมาใช้ในการทำงานพัฒนาชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • ครูภูมิปัญญาสมุนไพร ภูมิปัญญาป่าชุมชน เกิดความภาคภูมิใจที่ชุมชนให้ความสำคัญ ได้ถ่ายทอดความรู้ที่มีให้เยาวชน
    • คนทำงานเกิดความภูมิใจที่สามารถดูแลรักษาอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้ให้ลูกหลานได้
    • เยาวชนเกิดความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าชุมชน และผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของการทำงานพัฒนาร่วมกับเยาวชน
    • กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าควนยูง
    • กลุ่มอนุรักษ์ป่าควนยูง
    • ส่งเสริมให้กลุ่มกิจกรรมที่มีในชุมชนทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือในการทำงานด้านการอนุรักษืป่าชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
    • คนในชุมชนเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากขึ้น จึงหันมาร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนร่วมกัน เพื่อให้คนในชุมชนทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน
    • ป่าชุมชนบ้านควนยูง จำนวน 50 ไร่
    • ให้พื้นที่ป่าชุมชนเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ทุกคนในชุมชนสามารถใช้ประโญชน์ร่วมกันได้อย่างทั่งถึง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
    • คนในชุมชนเกิดความรักความเอื้ออาทรกันมากขึ้น จากการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม มีการนิมนต์พระมาร่วมกิจกรรม ก็จะมีคนเฒ่าคนแก่ถือปิ่นโตมาทำบุญ และแจกจ่ายให้คนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประทาน เป็นภาพที่หาดูได้ยากในสังคมปัจจุบัน
    • รายงานกิจกรรมด้านการอนุรักษ์
    • สร้างกิจกรรมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ของคนทุกวัยในชุมชน ให้คนทุกวัยได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย และสานสัมพันธ์คนสามวัยในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม จังหวัด สุราษฎร์ธานี

    รหัสโครงการ 55-01850

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( วิภาดา วาสินธุ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด