แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน ”

ชุมชนบ้านทรายขาว หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หัวหน้าโครงการ
นายชัยวัฒน์ ศรีสุวรรณ

ชื่อโครงการ โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน

ที่อยู่ ชุมชนบ้านทรายขาว หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ 55-01847 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0984

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2012 ถึง 31 ตุลาคม 2013


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านทรายขาว หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านทรายขาว หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสโครงการ 55-01847 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านพืชอาหารในชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนและชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 20 ตุลาคม 2012 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประจำเดือนคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ เตรียมความพร้อมในการจัดเวทีประชุมในชุมชน กำหนดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555  โดยความร่วมมือของคณะทำงาน  กำนันตำบลถ้ำสิงขร  และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ณ  โรงอาหารโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
    • มีการเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีประชุมในชุมชนที่จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555  โดยให้นักเรียนและครูร่วมเข้าร่วมประชุมพร้อมกับที่ประชุมหมู่บ้าน  พร้อมเตรียมการจัดทำข้อมูลและพื้นที่ว่างในชุมชน

     

    0 0

    2. ประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให่น่าอยู่โซนภาคใต้ตอนบน

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2012 เวลา 13:00 เป็นต้นไป น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให่น่าอยู่โซนภาคใต้ตอนบน จังหวัด ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานีที่โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • เสริมทักษะการรายงานผลการดำเนินงานโครงการผ่านเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ การจัดทำรายงานความก้าวหน้า รายงานการเงิน
    • ชุมชนเกิดทักษะการใช้งานอินเตอร์เน็ต การรายงานผลการดำเนินงานโครงการผ่านเว็ปไซด์
    • วิทยากรและพี่เลี้ยงให้ความสำคัญต่อผู้เข้าร่วมโครงการอย่างดีเยี่ยมในการดำเนินงานโครงการ

     

    0 0

    3. จัดเวทีประชุมในชุมชน

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางดำเนินงานโครงการ
    • ทำข้อมูลสถานที่ และพื้นที่ว่างในชุมชน (แผนที่ปลูกผักพื้นบ้าน)
    • รับสมัครครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
    • ขอรับบริจาคพันธ์ผักพื้นบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินงานโดยเข้าร่วมการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  (บ้านทรายขาว )    หมู่ที่ ๙  ตำบลถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี      เมื่อวันที่  ๗  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๕  ในเวลา  ๐๙.๐๐ น.  ณ. ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่  ๙    โดยในที่ประชุมทางคณะกรรมการโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้านและนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  - ๖  ได้เข้าร่วมประชุม  ซึ่งในที่ประชุมมีนายสมาน    หอมฤทธิ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๙  ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม  นอกจากนี้มีนายฐานันดร์  เจริญภักดี    นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขรพร้อมด้วยสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขรเข้าร่วมการประชุมด้วย  ทั้งนี้เพื่อร่วมรับทราบปัญหาและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน  และการประชุมในวันนี้นายชัยวัฒน์  ศรีสุวรรณ  ผู้รับผิดชอบโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการตลอดจนแนวทางในการดำเนินงานต่อไปข้างหน้าให้ที่ประชุมได้ร่วมรับทราบและเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมในการดำเนินการ  ทั้งนี้โครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน  ได้ขอใช้โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุดเป็นสถานที่ในการดำเนินงาน ( ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน )  ไม่ว่าสถานที่ในการจัดเก็บวัสดุ / อุปกรณ์ต่าง ๆ    ที่ทางโครงการดำเนินจัดซื้อจัดหามา  และพื้นที่สำหรับการเพาะเลี้ยงพันธุ์พืชผักพืชบ้าน    ไม่ว่าการผลิตปุ๋ยชีวภาพ  การก่อสร้างโรงเรือนเพาะชำ  และการใช้แปลงเกษตรของโรงเรียนเป็นแหล่งเพาะชำกล้าพืชพันธุ์ผักพื้นบ้านก่อนขยายลงถุงแจกจ่ายให้กับครัวเรือนในชุมชนได้นำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป    และจากการเชิญชวนที่ประชุมเข้าร่วมโครงการทางสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขรหมู่ที่  ๙  ( นายมนูญ  แสงเดช )  บริจาคเสาปูนซิเมนต์จำนวน  ๖  ต้น  และแสลมบางส่วนสำหรับอำพรางแสงแดดในการก่อสร้างโรงเรือนเพาะชำ  สำหรับการดำเนินงานโครงการจะดำเนินในรูปของคณะกรรมการและจะดำเนินงานไปตามแผนงานที่ได้กำหนดเอาไว้  ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว
    • ชาวบ้านมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.
    • ได้ข้อมูลสถานที่ และพื้นที่ว่างในชุมชน (แผนที่ปลูกผักพื้นบ้าน) คือ รั้วบัานของครอบครัวที่สนใจ วัดพฤกษาธรรมมาราม และบริเวณโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด
    • ได้ครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 83 ครอบครัว

     

    0 0

    4. กิจกรรมธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2012 เวลา 09.00 - 15.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สร้างโรงเรือนเพาะชำและทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการเก็บกล้าไม้ที่และบำรุงจะดำเนินการรับกล้าไม้จากชาวบ้านและผู้ปกครองโดยการร่วมมือจากคณะกรรมการ,ชาวบ้านและนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • โดยเมื่อวันที่    ๑๔    เดือนพฤศจิกายน    พ.ศ.  ๒๕๕๕    ทางคณะกรรมการโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน  ได้ระดมความร่วมมือในการดำเนินงานก่อสร้างโรงเรือนเพาะชำ  เพื่อใช้สำหรับเพาะเลี้ยงพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน    โดยดำเนินการก่อสร้างการยืนเสาปูนซิเมนต์ที่ได้รับการบริจาคจากสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขรหมู่ที่  ๙  ( นายมนูญ  แสงเดช )    และทางโครงการจัดซื้อแป๊บเหล็กและอุปกรณ์ประกอบการก่อสร้าง  เช่น  ลวดคุณภาพ (  ลวดที่ไม่ขึ้นสนิม )  น๊อตสำหรับยึดเสากับแป๊บเหล็ก  และแสลมอีกบางส่วนที่ยังขาดเหลืออยู่  โดยการก่อสร้างโรงเรือนมีทั้งคณะกรรมการและคณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุดช่วยกันก่อสร้าง  ใช้สถานที่ของโรงเรียน    ซึ่งจากการประชุมของคณะกรรมการมีมติว่าการก่อสร้างโรงเรือนจะต้องให้มีขนาดที่สามารถเพาะเลี้ยงพันธุ์พืชผักพื้นบ้านไม่น้อยกว่า  ๑,๐๐๐  ถุง  จึงก่อสร้างโรงเรือนที่มีขนาดความกว้าง  ๕    เมตร  ความยาว  ๑๒    เมตร  (  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน )  พร้อมทั้งจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  การสอนทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  โดยนายนัดดา  คนมั่น  และนายชัยณรงค์  นวลจันทร์  รับผิดชอบการเสนอแนะการจัดทำปุ๋ยครั้งนี้

     

    0 0

    5. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2012 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประจำเดือนคณะทำงานเพื่อสรุปการดำเนินกิจกรรมของเดือนพฤศจิกายน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานรับรู้ในงานที่ได้ดำเนินงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีสรุป
    1. ให้โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุดเป็นสถานที่ในการดำเนินงาน ( ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน )  ไม่ว่าสถานที่ในการจัดเก็บวัสดุ / อุปกรณ์ต่าง ๆ    ที่ทางโครงการดำเนินจัดซื้อจัดหามา  และพื้นที่สำหรับการเพาะเลี้ยงพันธุ์พืชผักพืชบ้าน    ไม่ว่าการผลิตปุ๋ยชีวภาพ  การก่อสร้างโรงเรือนเพาะชำ  และการใช้แปลงเกษตรของโรงเรียนเป็นแหล่งเพาะชำกล้าพืชพันธุ์ผักพื้นบ้านก่อนขยายลงถุงแจกจ่ายให้กับครัวเรือนในชุมชนได้นำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป
    2. ทางคณะกรรมการโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน  ได้ระดมความร่วมมือในการดำเนินงานก่อสร้างโรงเรือนเพาะชำ และทำปุ๋ย เมื่อวันที่    ๑๔    เดือนพฤศจิกายน    พ.ศ.  ๒๕๕๕      ซึ่งกิจกรรมได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปด้วยความเรียบร้อย

     

    0 0

    6. ประชุมติดตามโครงการร่วมกับ สจรส. มอ.

    วันที่ 15 มกราคม 2013 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการทางเว็บไซด์
    • ตรวจสอบเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ลงรายงานความก้าวหน้าโครงการบางส่วน แต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องกลับไปสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลทางเว็บไซด์เพิ่มเติม

     

    0 0

    7. เวทีจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรผักพื้นบ้านในชุมชน

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมให้ความรู้เรื่องสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหารของผักพื้นบ้านที่มีในชุมชน โดยวิทยากรจากเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อบรมเรื่องสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหารของผักพื้นบ้าน มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นเยาวชนและคนในชุมชน จำนวน 80 คน
    • การดำเนินงานในครั้งนี้ทางคณะกรรมการโดยนายชัยวัฒน์    ศรีสุวรรณ    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการโดยประสานงานกับทางเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี    เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกคณะกรรมการและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน
    • เวลา    ๐๙.๐๐ น.  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี      โดยนายปราโมทย์    คงวุ่น  เจ้าหน้าที่บริหารงานเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม    พร้อมเจ้าหน้าที่เกษตร  ได้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่สมาชิกโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด  ( ป. ๔ – ๖ )  โดยการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ    ของพืชผักพื้นบ้าน  และการให้ความรู้เกี่ยวกับธาตุทั้ง  ๔  ในมนุษย์  ไม่ว่า  ธาตุดิน    ธาตุน้ำ    ธาตุลม  และธาตุไฟ    ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบว่าธาตุอะไรที่เป็นธาตุประจำของตัวเอง    เพื่อจะได้เลือกรับประทานพืชผักพื้นบ้านที่ถูกกับธาตุของตัวเอง  เพราะหากรับประทานพืชผักพื้นบ้านที่ตรงกับธาตุของตัวเองก็จะสามารถป้องกันโรคต่าง ๆ    ได้เป็นอย่างดี  และนอกจากนี้ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของพืชผักพื้นบ้าน  ไม่ว่าความปลอดภัยจากการรับประทาน  การได้ออกกำลังกายในการปลูกพืชผักพื้นบ้าน  ความรับผิดชอบ  ความสามัคคี  และส่งผลให้สุขภาพจิตที่ดีจากการปลูกพืชผักพื้นบ้าน    ตลอดจนการแนะนำในการเพาะปลูกพืชผักในพื้นที่ต่าง ๆ  ไม่ว่าบริเวณบ้าน ( ผักสวนครัว )  ปลูกในภาชนะ    ปลูกเป็นอุโมงค์  (  ผักตระกูลพืชเลื้อย  เช่น  ถั่วฝักยาว  มะระ  ฝัก  ฯลฯ )    อีกทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยชนิดต่าง ๆ    ไม่ว่า  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์    ปุ๋ยชีวภาพ    ตลอดจนการผลิตปุ๋ยชีวภาพทั้งชนิดแห้ง  และปุ๋ยชีวภาพแบบเปียก ( ปุ๋ยน้ำ หรือ น้ำชีวภาพ )  ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้เป็นอย่างดี  สามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้านได้เป้นอย่างดี  และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปบูรณาการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและประกอบเป็นอาชีพในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย

     

    0 0

    8. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประจำเดือนคณะทำงานเพื่อสรุปการดำเนินกิจกรรมการอบรมและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน ต.ค. 55 - ก.พ. 56  โดยการร่วมของคณะทำงาน  คณะครู  นักศึกษา  กศน.  และนักเรียน  เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานพร้อมสรุปการเงินที่ได้ดำเนินการมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานสรุปการดำเนินกิจกรรมการอรรมและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน ต.ค. 55 - ก.พ. 56  ซึ่งมี  3  มี  3  กิจกรรมหลัก  คือ
    1. จัดเวทีประชุมในชุมชน
    2. กิจกรรมธนาคารผัก
    3. เวทีจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรผักพื้นบ้าน

     

    0 0

    9. ประชุมเพื่อพัฒนาโครงการต่อเนือง

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2013

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    10. ประชุมเพื่อพัฒนาโครงการต่อเนือง

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2013 เวลา 08.30-21.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การรายงานผลการดำเนินงานที่เป็นจุดเด่นของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สิ่งที่ได้จากการดำเนินงาน คือ ความสามัคคีของชุมชน สุขภาพที่ดี และองค์ความรู้ต่างๆ

     

    0 0

    11. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานรับทราบผลการทำงานและการดำเนินงานของโครงการและมีการกำหนดการจัดกิจกรรมของโครงการ 'ล้อมรั้ว ล้อมรักด้วยผักพื้นบ้าน 'ในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการรับทราบการทำงานและการดำเนินงานของโครงการและพร้อมสนับสนุนในการทำงานครั้งต่อไป

     

    15 15

    12. ส่งเสริมการขยายพันธุ์ การเพาะพันธุ์ผักพื้นบ้าน

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมวิธีการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยนายจงศักดิ์ จินาชาญ ผู้มีความรู้ด้านเกษตรโดยตรงมาให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน ตั้งแต่การเตรียมดิน การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา (การปักชำ การเพาะเมล็ด)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อบรมวิธีการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยนายจงศักดิ์ จินาชาญ ผู้มีความรู้ด้านเกษตรโดยตรงมาให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน ตั้งแต่การเตรียมดิน การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา (การปักชำ การเพาะเมล็ด)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจและผลตอบรับดี เนื้อหาความรู้ไม่ยากมากเหมาะสมกับวัย นำความรู้ไปปฏิบิติได้

     

    80 80

    13. กิจกรรมธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาชน นักเรียน ร่วมกันโดยการทอดผ้าป่าขอรับบริจาคพันธุ์ผักพื้นบ้าน  ครอบครัวละ 5  ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชน นักเรียน ร่วมกันโดยการทอดผ้าป่าขอรับบริจาคพันธุ์ผักพื้นบ้าน  ครอบครัวละ 5  ต้น

     

    80 80

    14. ปฏิบัติการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยเยาวชน

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ โดยนายนัดดา  คนมั่น ปราชญ์ในชุมชนเป็นวิทยากรและให้คำแนะนำ ปฎิบัติการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยนักเรียน ชาวบ้านและคณะทำงาน ตั้งแต่การเตรียมดิน การเลือกกิ่งพันธุ์ การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษาจากพันธุ์ผักพื้นบ้านทีได้รับบริจาคจากนักเรียน ผู้ปกครองและคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านโดยเยาวชน (ใช้พื้นที่ในโรงเรียน เป็นสถานที่เพาะพันธุ์) เช่น ตะไคร้ ข่า มะกรูด ผักหวาน ชะอม และเมล็ดพันธุ์ผักต่างๆ เช่น บวบ ฟักแฟง น้ำเต้า จำนวน 480 ต้น
    • เกิดการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการอนุรักษ์พันธุ์พืชพันฑุ์ฝักในชุมชน โดยมีเยาวชนเข้าร่วมประมาณ 50 คน
    • เกิดความสัมพันธุ์ที่ดีระหว่างเด็กและคนในชุมชนผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน

     

    80 50

    15. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 1 สิงหาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประจำเดือนคณะทำงานเพื่อสรุปการดำเนินกิจกรรมของเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฏาคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมแจ้งผลการดำเนินงานให้คณะทำงานทราบ

    • กิจกรรมการรับบริจาคพันธุ์ผักพื้นบ้าน  ขอรับบริจาคในวันที่  30  กรกฎาคม  2556
    • กิจกรรมส่งเสริมการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านอบรมวิธีขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน  เชิญเกษตรตำบล หรือปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียนในวันที่  29  กรกฎาคม  2556
    • กิจกรรมขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน  เพาะเมล็ด  และการปักชำให้นาย นัดดา  คนมั่น  ปราชญ์ในชุมชน  เป็นวิทยากร  กำหนดจัดกิจกรรม ในวันที่  31  กรกฎาคม  2556

     

    15 15

    16. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 6 สิงหาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานรับรู้ในงานที่ได้ดำเนินงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุม  ทั้งหมด  14 คน  โดยมีคณะทำงาน  ตัวแทนนักเรียน  นักศึกษา กศน.คีรีรัฐนิคม  ครูและตัวแทนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    • แจ้งกำหนดปิดโครงการ  เดือนกันยายน    พ.ศ. 2556    จากการไปสรุปโครงการของนายรัตตะพันธ์    แท่นนาค  คณะทำงานในสถานศึกษา  โดยมีความเห็นต่อโครงการ  โดย  สจรส.ม.อ.ซึ่งจะต้องแก้ไข
    • กำหนดจัดกิจกรรมนักสืบน้อยในวันที่  6  เดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2556    นั้น  เนื่องจากเกิดฝนตกเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน  จึงไม่สะดวกในการจัดกิจกรรม  ให้เลื่อน  และกำหนดวันจัดกิจกรรมขึ้นในภายหลัง
    • การจัดกิจกรรมสวนผักสาธารณะ (ชวนกันปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง)
      ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าให้กำหนดจัดกิจกรรม  ในวันที่  7  กันยายน    2556  โดยร่วมกับการประชุมของหมู่บ้าน  โดยให้คณะทำงานประสานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อทำกิจกรรม

     

    15 15

    17. ประกาศแนวทางการส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนทราบ

    วันที่ 15 สิงหาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประกาศแนวทางการส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนทราบโดยแจกแผ่นพับผักพื้นบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประกาศแนวทางการส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนทราบโดยแจกเอกสารประชาสัมพันธุ์(แผ่นพับ)  "ผักพื้นบ้าน" ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วยการรณรงค์เกี่ยวกับผักพื้นบ้าน  ความหมาย  และประโยชน์ของการบริโภคผักพื้นบ้าน  มีเนื้อหาในส่วนของ  ผักเหลียง  กฐิน  กล้วยน้ำว้า  ชะอม  ผักหวานบ้าน  สะตอ  มะแว้งต้น  และมะรุม

     

    100 100

    18. กิจกรรมสวนผักสาธารณะ (ชวนกันปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง)

    วันที่ 7 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมสวนผักสาธารณะ                การนำพันธุ์พืชผักพื้นบ้านมาแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง  และรั้วบ้าน  ในการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนกันยายน  ๒๕๕๖  (  วันที่  ๗    เดือนกันยายน  ๒๕๕๖  )  ทางโครงการล้อมรั้ว... ล้อมรัก.... ด้วยผักพื้นบ้าน  นำพันธุ์พืชผัก มาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนครอบครัวละ  ๕  -  ๗  ต้น      เพื่อนำไปปลูกบริเวณบ้านเรือนของตนเอง  และริมถนน  ไว้บริโภคในครัวเรือน  มีผักเหลียง  ชะอม  มะรุม  ต้นข่า  มะละกอ  บวบ  และแฟง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินงานในครั้งนี้    ทางคณะกรรมการโดยนายชัยวัฒน์    ศรีสุวรรณ    ผู้รับผิดชอบโครงการ                ได้ดำเนินการโดยประสานงานกับทางผู้นำหมู่บ้าน ( ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙ )  บ้านทรายขาว  ตำบลถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฏร์ธานี  นายสมาน  หอมฤทธิ์  เกี่ยวกับ  เรื่องการจัดกิจกรรมสวนผักสาธารณะ                การนำพันธุ์พืชผักพื้นบ้านมาแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง  และรั้วบ้าน  ในการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนกันยายน  ๒๕๕๖  (  วันที่  ๗    เดือนกันยายน  ๒๕๕๖  )  ทางโครงการล้อมรั้ว... ล้อมรัก.... ด้วยผักพื้นบ้าน  นำพันธุ์พืชผัก มาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนครอบครัวละ  ๕  -  ๗  ต้น      เพื่อนำไปปลูกบริเวณบ้านเรือนของตนเอง  และริมถนน  ไว้บริโภคในครัวเรือน  มีผักเหลียง  ชะอม  มะรุม  ต้นข่า  มะละกอ  บวบ  และแฟง
      ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนบ้านทรายขาวมีสุขภาพที่แข็งแรง  ปลอดภัยจากโรคภัย    และรณรงค์ให้ประชาชนหันมาบริโภคพืชผักพื้นบ้านให้มากขึ้น    รวมถึงให้พยายามขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านให้เพิ่มมากขึ้นและหลากหลายชนิด  เพราะเหลือจากบริโภคในครัวเรือนแล้ว  ยังสามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย    สำหรับในส่วนของพันธุ์พืชผักพื้นบ้านที่นำมาแจกจ่ายในครั้งนี้นั้น    ได้มาจาก  การทอดผ้าป่าพันธุ์พืชผักพื้นบ้านส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการปักชำขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านของสมาชิกของโครงการล้อมรั้ว... ล้อมรัก.... ด้วยผักพื้นบ้าน  ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและในส่วนของนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด    ที่ได้ใช้สถานที่โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุดเป็นศูนย์การเรียนรู้และดำเนินงาน                  ของโครงการดังกล่าว

     

    80 80

    19. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 8 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานรับทราบในงานที่ได้ดำเนินงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุม  ทั้งหมด  15  คน  โดยมีคณะทำงาน  ตัวแทนนักเรียน  นักศึกษา กศน.คีรีรัฐนิคม  ครู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    • การจัดกิจกรรมสวนผักสาธารณะ (ชวนกันปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง)
      เมื่อวันที่  7  กันยายน    2556  การนำพันธุ์พืชผักพื้นบ้านมาแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่า ริมถนน ข้างทาง  และรั้วบ้าน  ในการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนกันยายน  2556  โดยการนำพันธุ์พืชผัก มาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนครอบครัวละ  5-7  ต้น      เพื่อนำไปปลูกบริเวณบ้านเรือนของตนเอง  และริมถนน  ไว้บริโภคในครัวเรือน  มีผักเหลียง  ชะอม  มะรุม  ต้นข่า  มะละกอ  บวบ  และแฟง  กิจกรรมดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
    • กำหนดสรุปโครงการ  วันที่  18  กันยายน  2556  ณ  มอ.สุราษฎร์ธานี  ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าเร่งจัดกิจกรรมให้ทันตามกำหนดเวลาโดยกำหนดจัดให้ติดต่อกัน  ในวันที่ 11-16  กันยายน  2556  และรายงานสรุปกับคณะทำงานในวันที่  17  กันยายน  2556  และสรุปโครงการ  ในวันที่  18  กันยายน  2556
    • การจัดกิจกรรมกิจกรรมวันผักพื้นบ้าน ขอรับบริจาคพันธุ์ผักพื้นบ้านเข้าธนาคารผักพื้นบ้าน  ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าให้กำหนดจัดกิจกรรม  ในวันที่  11  กันยายน    2556
    • การจัดกิจกรรมปลูกผักริมรั้ว (รั้วโรงเรียน รั้วบ้าน)  ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าให้กำหนดจัดกิจกรรม  ในวันที่  13  กันยายน    2556
    • การจัดกิจกรรมนักสืบน้อย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์ผักพื้นบ้านและการทำเกษตรแนวใหม่  ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าให้กำหนดจัดกิจกรรม  ในวันที่  12  กันยายน    2556

     

    15 15

    20. กิจกรรมวันผักพื้นบ้าน

    วันที่ 11 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดให้มีกิจกรรมในชุมชนเพื่อขยายผลโครงการ แจ้งผลการดำเนินงาน  และกิจกรรม  ร่วมรับประทานอาหารจากเมนูผักพื้นบ้าน  ขอรับบริจาคพันธุ์ผักเข้าธนาคารผัก ขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านให้เพิ่มมากขึ้นและหลากหลายชนิด    และให้นักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด    ทำการเพาะพันธุ์ผักเข้าธนาคารผักในวันเดียวกัน  โดยมีผู้นำพันธุ์ผักมาบริจาค  เช่น ผักหวานบ้าน  เล็บครุฑ  ชะอม  เมล็ดบวบ  และอีกส่วนหนึ่งตัดจากต้นผักพื้นบ้านในโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว  ในการเพาะพันธุ์ในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินงานในครั้งนี้    ทางคณะกรรมการ  คณะทำงาน        ได้ดำเนินการโดยประสานงานกับผู้นำหมู่บ้าน ( ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙ )  บ้านทรายขาว  ตำบลถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฏร์ธานี  นายสมาน  หอมฤทธิ์  ซึ่งท่านเป็นคณะทำงานด้วยนั้น  ในวันที่  ๗  เดือนกันยายน  ๒๕๕๖  เกี่ยวกับ  เรื่องการจัดกิจกรรมวันผักพื้นบ้าน  ซึ่งได้กำหนดจัดขึ้นในวันที่  ๑๑  กันยายน  ๒๕๕๖  โดยชาวบ้านหมู่บ้านบ้านทรายขาว  คณะทำงาน  และนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด  จำนวน  96  คน  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  โดยจะเป็นการจัดให้มีกิจกรรมในชุมชนเพื่อขยายผลโครงการ แจ้งผลการดำเนินงาน  และกิจกรรม  ร่วมรับประทานอาหารจากเมนูผักพื้นบ้าน  ขอรับบริจาคพันธุ์ผักเข้าธนาคารผัก ขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านให้เพิ่มมากขึ้นและหลากหลายชนิด    และให้นักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด    ทำการเพาะพันธุ์ผักเข้าธนาคารผักในวันเดียวกัน  โดยมีผู้นำพันธุ์ผักมาบริจาค  เช่น ผักหวานบ้าน  เล็บครุฑ  ชะอม  เมล็ดบวบ  และอีกส่วนหนึ่งตัดจากต้นผักพื้นบ้านในโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว  ในการเพาะพันธุ์ในครั้งนี้  ได้พันธุ์ผักพื้นบ้าน  จำนวน    ๒๘๐  ถุง  เข้าธนาคารผัก  และจะแจกจ่ายให้นักเรียนและคนในชุมชนเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ว่างต่อไป

     

    100 96

    21. กิจกรรมนักสืบน้อย

    วันที่ 12 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมให้ความรู้แก่สมาชิก  คณะกรรมการ  และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    โดยเมื่อวันที่    ๑๒  เดือนกันยายน    พ.ศ.  ๒๕๕๖    เวลา    ๐๙.๐๐ น.  เป็นต้นไป    พร้อมด้วยคณะทำงานซึ่งมีความรู้ด้านการเกษตร  ปราชย์ชุมชน  และคณะครูโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด ร่วมกันทำกิจกรรมให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงแก่สมาชิกโครงการ  ล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด  ( ป. ๓ – ๖ )  โดยการอบรมและทำกิจกรรมนักสืบน้อย ค้นหาพันธุ์พืช พันธุ์ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในโรงเรียนโดยการให้นักเรียนสำรวจ พร้อมบอกประโยชน์  วิธีการขยายพันธ์  การปลูก  และการขาย  เช่นผักหวาน  คะน้า  ผักบุ้ง  ชะอม  เลียบ  บวบ  แฟง  เหลียง  ฯลฯ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์ผักพื้นบ้านในแต่ละกลุ่ม และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ  เกี่ยวกับการเกษตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินงานในครั้งนี้    ทางคณะกรรมการโดย นายชัยวัฒน์    ศรีสุวรรณ    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการโดยประสานงานกับนายวิทยา  เกื้อด้วง  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นมะพร้าวมิตรภาพที่  ๙๑  อำเภอคีรีรัฐนิคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี  เขต  ๒  เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก  คณะกรรมการ  และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    โดยเมื่อวันที่    ๑๒  เดือนกันยายน    พ.ศ.  ๒๕๕๖    เวลา    ๐๙.๐๐ น.  เป็นต้นไป    พร้อมด้วยคณะทำงานซึ่งมีความรู้ด้านการเกษตร  ปราชย์ชุมชน  และคณะครูโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด ร่วมกันทำกิจกรรมให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงแก่สมาชิกโครงการ  ล้อมรั้วล้อมรัก .... ด้วยผักพื้นบ้าน    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด  ( ป. ๓ – ๖ )  โดยการอบรมและทำกิจกรรมนักสืบน้อย ค้นหาพันธุ์พืช พันธุ์ผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในโรงเรียนโดยการให้นักเรียนสำรวจ พร้อมบอกประโยชน์  วิธีการขยายพันธ์                  การปลูก  และการขาย  เช่นผักหวาน  คะน้า  ผักบุ้ง  ชะอม  เลียบ  บวบ  แฟง  เหลียง  ฯลฯ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์ผักพื้นบ้านในแต่ละกลุ่ม และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ  เกี่ยวกับการเกษตร พืชผักพื้นบ้าน  การทำเกษตรแนวใหม่  การอนุรักษ์ป่าไม้การทำปุ๋ยชีวภาพ  การแนะนำในการเพาะปลูกพืชผักในพื้นที่ต่าง ๆ  ไม่ว่าบริเวณบ้าน ปลูกในภาชนะ  ริมรั้ว  (  ผักตระกูลพืชเลื้อย  เช่น  ถั่วฝักยาว  มะระ  ฝัก  แฟง)  รวมทั้งการเลี้ยงไส้เดือนดิน  ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้เป็นอย่างดี  สามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการล้อมรั้ว  ล้อมรัก  ด้วยผักพื้นบ้าน

     

    80 60

    22. กิจกรรมปลูกผักริมรั้ว (รั้วโรงเรียน รั้วบ้าน)

    วันที่ 13 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ดำเนินกิจกรรมปลูกผักริมรั้ว (รั้;โรงเรียน รั้วบ้าน)
    • ทำการปลูกต้นไม้ที่ได้มาจากการทอดผ้าป่าพันธุ์พืชผักพื้นบ้านส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการปักชำขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านของสมาชิกของโครงการล้อมรั้ว... ล้อมรัก.... ด้วยผักพื้นบ้าน  ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและในส่วนของนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด    ที่ได้ใช้สถานที่โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด                    เป็นศูนย์การเรียนรู้และดำเนินงานของโครงการดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินงานในครั้งนี้    ทางคณะกรรมการโดย นายรัตตะพันธ์  แท่นนาค      ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการโดยประสานงานกับครูในโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุดเพื่อหาแนวทาง  และวิธีการดำเนินงาน  และพื้นที่ว่าง  พื้นที่ริมรั้ว  ของโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมปลูกผักริมรั้ว (รั้วโรงเรียน รั้วบ้าน)  ซึ่งทางผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด                      นางสมนึก  อินทร์พรหม    และคณะครูให้ความร่วมมือในการวางแผนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างดี  โดยใช้พื้นที่                  ริมรั้ว  และแปลงเกษตร  “เศรษฐกิจพอเพียง”    ทำการปลูกต้นไม้ที่ได้มาจากการทอดผ้าป่าพันธุ์พืชผักพื้นบ้านส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการปักชำขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านของสมาชิกของโครงการล้อมรั้ว... ล้อมรัก.... ด้วยผักพื้นบ้าน  ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและในส่วนของนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด    ที่ได้ใช้สถานที่โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด                    เป็นศูนย์การเรียนรู้และดำเนินงานของโครงการดังกล่าว
    • พันธุ์ผักพื้นบ้านที่ปลูก มีผักเหลียง  ชะอม  มะรุม  ต้นข่า  มะละกอ  บวบ ผักหวาน  และแฟง  และพันธุ์ไม้ส่วนที่เหลือให้แจกนักเรียนกลับบ้านเพื่อนำไปปลูกที่บ้าน
    • สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากจะปลูกผักพื้นบ้าน  บริเวณโรงเรียนแล้ว  ยังเป็นการทบทวนขั้นตอนการปลูกจากเนื้อหาของการอบรมการขยายพันธุ์พืช/การปลูก  ในครั้งที่ผ่านมาด้วย  ซึ่งนักเรียนได้ใช้ความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์      เป็นอย่างดีโดยคำแนะนำของครูอีกทางหนึ่ง    โดยส่วนรวมสามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการล้อมรั้ว  ล้อมรัก  ด้วยผักพื้นบ้าน

     

    80 50

    23. ส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในชุมชน

    วันที่ 16 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำแผ่นพับ รณรงค์ เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาบริโภคผักพื้นบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในชุมชน รณรงค์ให้มีการปลูกผักและกินผักพื้นบ้าน โดยการแจกเอกสารแผ่นพับ " ผักพื้นบ้าน ผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง 10 อันดับ "  ผักที่มีเบต้าเคโรทีนสูง  ผักที่มีวิตามินซีสูง  พืชถอนพิษ  และประโยชน์ของผักพื้นบ้านโดยยกตัวอย่างผักกูดและแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล)  รณรงค์การกินผัก "กินเป็น  เน้นผัก  ระวังภัย  หวาน  มัน  เค็ม  เติมเต็มออกกำลังกาย"  โดยทำป้ายประชาสัมพันธ์  จำนวน  2  ป้าย
      1.  ติดที่โรงอาหารโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด
      2.  ติดที่ศาลา  หมู่ที่  9  ตำบลถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฏร์ธานี

     

    100 100

    24. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 17 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานรับทราบในงานที่ได้ดำเนินงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุม  ทั้งหมด  15  คน  โดยมีคณะทำงาน  ตัวแทนนักเรียน  นักศึกษา กศน.คีรีรัฐนิคม  ครู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ แจ้งสรุปผลการดำเนินงาน  ในการจัดกิจกรรม
    1. การจัดกิจกรรมกิจกรรมวันผักพื้นบ้าน ขอรับบริจาคพันธุ์ผักพื้นบ้านเข้าธนาคารผักพื้นบ้าน  ในวันที่  11  กันยายน    2556
    2. การจัดกิจกรรมนักสืบน้อย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้พันธุ์ผักพื้นบ้านและการทำเกษตรแนวใหม่ในวันที่  12  กันยายน    2556
    3. การจัดกิจกรรมปลูกผักริมรั้ว (รั้วโรงเรียน รั้วบ้าน)  ในวันที่  13  กันยายน  2556
    4. หลังจากสรุปโครงการ  ในวันที่  18  กันยายน  2556  นัดประชุมคณะทำงาน  ที่ประชุม

    - พิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรนัดชี้แจง  การสรุปโครงการ  ในวันที่ 20  กันยายน  2556

     

    15 15

    25. กิจกรรมปรุชุมสรุปปิดโครงการ และงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมงานคนใต้าสร้างสุข ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2556 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ 60 ปี ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นำเสนอผลการดำเนินงาน และร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนและท้องวถิ่นให้น่าอยู่ภาคใต้

     

    2 2

    26. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานผลการดำเนินตลอดทั้งโครงก่าร และจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ  เวลา 11.00-16.00 น. ณ ม.สงขลานครินทร์  วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานผลการดำเนินตลอดทั้งโครงก่าร และจัดส่งรายงานสรุปปิดโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านพืชอาหารในชุมชน
    ตัวชี้วัด : - จำนวนผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพรที่ปลูกในครอบครัว เพิ่มขึ้นอย่างน้อยครอบครัวละ 5 ชนิด - เกิดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านในชุมชน - เกิดแหล่งเพาะขยายพันธุ์พืชอาหาร ผักพื้นบ้านในชุมชน

     

    2 เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนและชุมชน
    ตัวชี้วัด : - ชาวบ้านหันมาบริโภคผักพื้นบ้านกันมากขึ้น - ส่งเสริมให้โรงเรียนมีเมนูผักพื้นบ้าน อย่างน้อย 2 มื้อ / สัปดาห์ - มีจุดจำหน่ายผักพื้นบ้านในชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านพืชอาหารในชุมชน (2) เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้านในโรงเรียนและชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน

    รหัสโครงการ 55-01847 รหัสสัญญา 55-00-0984 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
    • มีการจัดการพื้นที่บางส่วนในโรงเรียน สร้างโรงเรือนขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้าน ผักสมุนไพร เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมทางการเกษตรให้กับเยาวชน
    • ธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน
    • สร้างหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้ผักพื้นบ้าน ผ่านฐานการเรียนรู้ในธนาคารผักพื้นบ้านของโณงเรียน
    • สร้างธนาคารผักพื้นบ้าน ให้เป็นสถานที่ในการอนุรักษ์พันธุกรรมผักต่างๆ ที่มีในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

    -

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    • จากการดำเนินงานโครงการทำให้มีการสร้างความร่วมมือกับคนทำงานทุกวัย โดยเฉาะกลุ่มเยาวชนที่เป็นเป้าหมายหลักใในการทำงาน จนเกิดการมอบหมายบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลธนาคารผักพื้นบ้านให้กับเยาวชนในโรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด
    • กลุ่มเยาวชนดูแลธนาคารผักพื้นบ้าน
    • จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างศักยภาพและทักษะความสามารถด้านต่างๆ ให้กับเยาวชน เมือ่ให้เยาวชนเกิดความรับผิดชอบ และสามารถบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินการได้เอง โดยให้คณุเป็นแค่พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • ธนาคารผักพื้นบ้านกลายเป็นที่เรียนรู้ของเยาวชนในโรงเรียนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ การทำเกษตรแบบอินทรีย์ เรียนรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ
    • ธนาคารผักพื้นบ้าน
    • พัฒนาแหล่งเรียนให้ครบวงจรเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค
    • มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการหันมาบริโภคผักพื้นบ้านที่ปลูกเองในชุมชนมากขึ้นแทนการซื้อผักจากตลาดมาบริโภค
    • ผักพื้นบ้านที่ปลูกเพิ่มริมรั้วบ้าน
    • สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนปลูกผักพื้นบ้าน พืชอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • ถึงแม้จะไม่มีการสร้างอาชีพเสริมจากผักพื้นบ้าน แต่ก็สามารถลดรายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อผักมาบริโภค
    • ผักริมรั้ว
    • ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือนเพิ่มขึ้น แล้วให้นำผักที่เหลือจากการรับประทานมาแลกเปลี่ยนกัน แทนการขาย ให้วิถีการตลาดแบบแลกเปลี่ยนสินค้าเหมือนในอดีต
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • การทำงานที่ผ่านมาโครงการ สามารถดำเนินงานจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เพราะมีการเชื่อมโยงประสานงานถาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน เช่น กศน. คีรีรัฐนิคม โรงเรียนบ้านบ่อน้ำผุด โรงเรียนบ้านต้นมะพร้าวมิตรภาพที่  ๙๑  อำเภอคีรีรัฐนิคม วัดถ้ำสิงขร อบต. มาหนุนเสริมกิจกรรมในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
    • ภาคีเครือข่ายที่มาช่วยเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรม
    • สร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายการทำงานที่มีต่อไป โดยให้ความสำคัญกับทุกภาคีเครือข่าย และใช้ศักยภาพของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้วย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
    • คณะทำงานโครงการ และคนในชุมชนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สร้างคุณค่า สิ่งๆ ดีๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การใช้ข้อมูลในการประเมินปัญหาและสถานการณ์ของชุมชน การวางแผนการทำงานจากข้อมูลและทุนที่มี การปฏิบัติการอยู่บนพื้นฐานของศักยภาพของชุมชน และมีการประมเนิผลสำเร็จของโครงการ ของกิจกรรมร่วมกันในการประชุมทีมงาน
    • กิจกรรมการประชุมคณะทำงานทุกเดือน
    • ใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการทำงานพัฒนาชุมชน แก้ไขทุกปัญหาของชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • โครงการมีการใช้ประโญชน์จากทุนต่างๆ ที่มีในชุมชน เช่น ทุนทรัพยากรธรรมชาิติอย่างผักพื้นบ้าน ทุนทรัพยากรมนุษย์อย่างครูภูมิปัญญา อบต. แกนนำชุมชน ทุนองค์กร กลุ่มองค์กร อย่างโรงเรียน เพื่อให้งานประสบผลสำเร็จ
    • ทุนทางสังคมของชุมชนบ้านทรายขาว
    • นำทุนทางสังคมในชุมชนอื่นๆ ที่มี มาหนุนเสริมการทำงานเพิ่มขึ้น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
    • มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องการเรียนรู้จากธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน การส่งเสริมให้มีการปลูกผักในครัวเรือน เพราะคนในชุมชนได้ประโยชน์และัเห็นความสำคัญของสิ่งที่โครงการทำให้
    • ธนาคารผักพื้นบ้าน
    • ผักริมรั้ว
    • ดำเนินงานโครงการด้านการส่วเสริมการผลุกผักพื้นบ้านริมรั้ว
    • ส่งเสริมกิจกรรมการกินผัก การกินอาหารที่ปรุงเองภายในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
    • คณะทำงานเกิดทักษะในการจัดการโครงการเพิ่มมากขึ้น มีการใช้ข้อมูลประกอบการทำงาน ประกอบการตัดสินใจ มีการทำแผนปฏิบัติงานโครงการที่มาจากพื้นฐานของข้อมูลที่มี มาจากบริบทและความเหมาะสมตามสถานการณ์ของชุมชน
    • ข้อมูลชุมชน
    • สามารถเขียนงานโครงการพัฒนาขอรับหารสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้และฝึกทักษะการบริหารงานโครงการที่แตกต่างกันออกไป
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยกันปลูกผักในโรงเรียน ในชุมชน
    • ครูภูมิปัญญารู้สึกภูิมิใจที่ไม่ถูกหลงลืม คนรุ่นหลังยังให้ความสำคัญ
    • คณะทำงานรู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยกันดูแลสขภาพของคนในชุมชน ได้มีผักปลอดภัยไว้บริโภค
    • จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
    • จัดกิจกรรมในรูปแบบอืนๆ เช่น การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ของดีชุมน คนต้นแบบในชุมชน ให้กับกลุ่มเยาวชน เพื่อให้เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดมากขึ้น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
    • คนในชุมชนเห็นประโญชน์ของส่วนร่วมมากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ช่วยกันผลูกผัก
    • จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • สร้างกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ให้คนในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง
    • คนในชุมชนหันมาใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายมากขึ้น เก็บผักริมรั้ว ริมทางมาบริโภคในครัวเรือน พึ่งพาผักในตลาดน้อยลง ทำให้ชีิวตตัวเองปลอดภัยจากสารเคมีมากขึ้น
    • วิถีชีวิตแบบคนกินผักปลูกเอง ผักริมรั้ว ผักพื้นบ้าน
    • รณรงค์ให้คนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ในครัวเรือน ปลูกผักบางชนิดที่ต้องการบริโภค หรือที่ชอบไว้กินเองในครัวเรือน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
    • ชุมชนเกิดความเอื้ออาทรกันมากขึ้น สังเกตได้จากการแบ่งปันผักที่ปลูกในบ้านแบบแบ่งปันกันกิน
    • ผักริมรั้ว
    • ส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนผักพื้นบ้านในชุมชน แทนการซื้อขาย เพื่อให้เกิดวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ที่คนในชุมชนพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน จังหวัด สุราษฎร์ธานี

    รหัสโครงการ 55-01847

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายชัยวัฒน์ ศรีสุวรรณ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด