task_alt

โครงการชาวบางหินร่วมใจ นำวิถีชีวิตไทย สู่สุขภาวะชุมชน

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการชาวบางหินร่วมใจ นำวิถีชีวิตไทย สู่สุขภาวะชุมชน

ชุมชน หมู่ที่ 2 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

รหัสโครงการ 55-01843 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1053

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน มีนาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ปี 2555

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 2 คน  ประกอบด้วย น.ส.สาวิตรี  รัชนิพนธ์  จนท.บันทีกข้อมูลโครงการฯ น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการฯ เข้าร่วมประชุมในวันที่ 4 - 5 พ.ย. 55

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนคณะทำงานผู้ร่วมประชุมมีความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการโครงการและได้ฝึกปฏิบัติการรายงานกิจกรรมผ่านเวปไซต์ได้ นำไปสู่การดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมปฏิบัติการ คณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 2 คน     เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ  ในวันที่ 4 - 5 พ.ย. 55 เกี่ยวกับ   - การบริหารจัดการ   - การป้อนข้อมูล   - การรายงานผลการดำเนินงานผ่าน www.โครงการคนใต้สร้างสุข

 

0 0

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:45 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจในคณะทำงานเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆในการดำเนินโครงการและร่วมกันกำหนดปฏิทินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงาน 5 คน ประกอบด้วย   คณะทำงาน  จำนวน 5 คน ประกอบด้วย   - นายส่อแล่ห์  ภักดี  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ   - นายดลร่าหมาน  ชิดเอื้อ  ประชาสัมพันธ์โครงการฯ   - น.ส.จินตนา  หนูรักษ์  ผช.เลขานุการฯ   - น.ส.สาวิตรี  รัชนิพนธ์  จนท.บันทึกข้อมูลฯ   - น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการ เข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการและร่วมกันกำหนดปฏิทินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานโครงการ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานจำนวน 5 คน ร่วมประชุมทำความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการโครงการจากตัวแทนที่ไปประชุมปฐมนิเทศ  โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังนี้ -คณะทำงานร่วมกันกำหนดปฏิทินกิจกรรม -คณะทำงานเรียนรู้การรายงานกิจกรรมผ่านเวปไซด์ -ตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุม ชี้แจงทำความเข้าใจในรายละเอียดกิจกรรมของโครงการ

 

0 0

3. -ประชุมชี้แจงเปิดโครงการแก่ชุมชน -ประชุมตัวแทนครัวเรือนอาชีพประมงชายฝั่งพื้นบ้านและทีมอนุรักษ์หอยขาวจำนวน 132 คน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.  คณะทำงานและพี่เลี้ยงระดับจังหวัดได้ร่วมพบปะพูดคุยชี้แจงเปิดโครงการแก่ชุมชน
2.  ตัวแทนครัวเรือนอาชีพประมงพื้นบ้านได้รับฟังและรับรู้สถานการณ์หอยขาวและหอยหวานจากผู้ใหญ่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คนได้รับทราบความเป็นมา วัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-คณะทำงานพร้อมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ร่วมพบปะชุมชน เพื่อชี้แจงเปิดตัวโครงการแก่ชุมชน จำนวน  60 คน  ได้แก่     - ตัวแทนผู้นำชุมชน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ชรบ. อสม. ฯ     - ตัวแทนครัวเรือนประมงชายฝั่งพื้นบ้าน     - ทีมอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน  หอยขาว
ชี้แจงสถานการณ์การลดน้อยลงของหอยหวานและหอยขาว

กิจกรรมที่ทำจริง

-คณะทำงานและพี่เลี้ยงระดับจังหวัดได้ร่วมพบปะพูดคุยชี้แจงเปิดโครงการแก่ชุมชน  จำนวน  60 คน  ได้แก่     - ตัวแทนผู้นำชุมชน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ชรบ. อสม. ฯ     - ตัวแทนครัวเรือนประมงชายฝั่งพื้นบ้าน     - ทีมอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน  หอยขาว
ชี้แจงสถานการณ์การลดน้อยลงของหอยหวานและหอยขาว

 

0 0

4. พี่เลี้ยงเยี่ยมติดตามเพื่อเปิดตัวโครงการ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเยี่ยมพบปะพูดคุยกับชุมชน และเปิดตัวโครงการ  พร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมโครงการ  ชุมชนประกอบด้วย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงได้ชี้แจงเปิดตัวโครงการแก่ชุมชน  ประกอบด้วย จำนวน  60 คน  ได้แก่     - ตัวแทนผู้นำชุมชน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ชรบ. อสม. ฯ     - ตัวแทนครัวเรือนประมงชายฝั่งพื้นบ้าน     - ทีมอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน  หอยขาว
และให้คำแนะนำแก่คณะทำงานโดยให้ทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆไปก่อนเนื่องจากยังไม่ได้รับเงินโอน และให้จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ติดในกิจกรรมต่างๆด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-คณะทำงานและพี่เลี้ยงระดับจังหวัดได้ร่วมพบปะพูดคุยชี้แจงเปิดโครงการแก่ชุมชน ชุมชน  ประกอบด้วย     - จำนวน  60 คน  ได้แก่     - ตัวแทนผู้นำชุมชน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ชรบ. อสม. ฯ     - ตัวแทนครัวเรือนประมงชายฝั่งพื้นบ้าน     - ทีมอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน  หอยขาว

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานและพี่เลี้ยงได้ร่วมพบปะพูดคุยชี้แจงการดำเนินโครงการแก่ชุมชนและให้คำแนะนำแก่คณะทำงาน

 

0 0

5. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ติดป้ายไวนิล  ในแหล่งชุมชนที่มองเห็นได้ชัดเจน จำนวน 4 ป้าย ดังนี้
    1. บริเวรมัสยิดนูรุดดีน  ม. 2 บ.บางหิน ต.บางหิน อ.กะเปอร์
    2. หน้าอาคารเอนกประสงค์หมู่ที่ 2  บ.บางหิน
    3. รั้ว รพ.สต.ตะเคียนงาม  ม.3 บ.ตะเคียนงาม  ต.บางหิน   4. ศูนย์เรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน หอยขาว (ภาคพื้นดิน ) ช่วยให้ชุมชนได้รับรู้ถึงการจัดกิจกรรมโครงการ และสามารถสอบถามรายละเอียดจากคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ -แจกเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์  จำนวน 4 ป้าย ดังนี้
    1. บริเวรมัสยิดนูรุดดีน  ม. 2 บ.บางหิน ต.บางหิน อ.กะเปอร์
    2. หน้าอาคารเอนกประสงค์หมู่ที่ 2  บ.บางหิน
    3. รั้ว รพ.สต.ตะเคียนงาม  ม.3 บ.ตะเคียนงาม  ต.บางหิน   4. ศูนย์เรียนรู้กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์หอยหวาน หอยขาว (ภาคพื้นดิน ) ช่วยให้ชุมชนได้รับรู้ถึงการจัดกิจกรรมโครงการ และสามารถสอบถามรายละเอียดจากคณะทำงาน

 

0 0

6. รับสมัครเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อรับสมัคร  ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำเยาวชนเข้าร่วมเป็นอาสาอนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนและเยาวชนสมัครเข้าร่วมเป็นอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาวจำนวน 112 คน  พร้อมที่จะเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ติดป้ายประกาศรับสมัครแกนนำเยาวชนที่มีจิตอาสา , ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้าน  จำนวน 4 ผืน   -  สามแยกบ้านบางหิน ติดถนนเพชรเกษม   - ศาลาทางเข้า ซ.แหลมพ่อตา   - ศาลาท่าเรือแหลมพ่อตา   - ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว (ภาคพื้นดิน) และกรอกใบสมัครและลงทะเบียนรับบัตรประจำตัวเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอย  ณ ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว (ภาคพื้นดิน)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนครัวเรือน  จำนวน  72 คน  เป็น
  • แกนนำเยาวชน  จำนวน 40 คน  สมัครเข้าร่วมเป็นอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว
    กรอกใบสมัครและลงทะเบียนรับบัตรประจำตัวเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอย  ณ ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว (ภาคพื้นดิน )

 

0 0

7. ประชุมตัวแทนครัวเรือนอาชีพประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่2) จำนวน 60 คน

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขยายความคิด และกลไกลการฟื้นฟู เพื่อการอนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว สู่ครัวเรือนและเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย  เข้าร่วมประชุม  จำนวน  60 คน  ได้รับทราบความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และเข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงสถานการณ์การลดน้อยลงของหอยหวานและหอยขาว  แก่ตัวแทนครัวเรือนอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน  72 ครัวเรือน  ณ ห้องประชุม รพ.สต.ตะเคียนงาม หมู่ที่ 3 บ.ตะเคียนงาม  ต.บางหิน อ.กะเปอร์  จ.ระนอง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานได้ประชุมเปิดโครงการฯ และชี้แจงถึงสถานการณ์ลดน้อยลงของหอยหวานและหอยขาว
  • คณะทำงานโครงการฯได้แจกเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 72 ครัวเรือน  ณ ห้องประชุม รพ.สต.ตะเคียนงาม หมู่ที่ 3 บ.ตะเคียนงาม  ต.บางหิน อ.กะเปอร์  จ.ระนอง

 

0 0

8. สร้างศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ขยายพันธุ์หอยขาวและหอยหวาน

วันที่ 23 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อสร้างบ่อขยายพันธุ์หอยหวาน หอยขาว  จำนวน 2 บ่อ  เพื่อการเรียนรู้และการอนุรักษ์ -เพื่อเผยแพร่วงจรชีวิตหอยผ่านไวนิลและเอกสารแผ่นพับ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สร้างบ่อขยายพันธุ์หอยได้จำนวน 1 บ่อ ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 บ่อเนื่องจากต้องใช้เรือเป็นพาหนะออกไปสร้างบ่อขยายพันธุ์ในบริเวณที่กำหนด จำเป็นต้องตรวจสอบระดับน้ำทะเลและการขึ้นลงของน้ำ -การจัดทำไวนิลอยู่ระหว่างดำเนินการ  ส่วนเอกสารแผ่นพับเรียบร้อยแล้ว แต่สถานที่จัดแสดงศูนย์เรียนรู้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ -ในการสร้างบ่อขยายพันธุ์ได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนเป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-สร้างบ่อขยายพันธุ์หอยขาวหอยหวาน  จำนวน 2 บ่อ บริเวณพื้นที่อนุรักษ์  (โหนหอยขาวโต๊ะย๊ะ ) -จัดทำไวนิลและเอกสารแผ่นพับเผยแพร่วงจรชีวิตหอยและการขยายพันธุ์

กิจกรรมที่ทำจริง

-สร้างบ่อขยายพันธุ์หอยขาวในเขตพื้นที่อนุรักษ์บริเวณอ่าวกะเปอร์(แหลมพ่อตา) -ไวนิลวงจรชีวิตหอย และฤดูการอนุรักษ์อยู่ระหว่างดำเนินการ -จัดทำแผ่นพับวงจรชีวิตหอย และการอนุรักษ์

 

0 0

9. ลงพื้นที่ตรวจสอบเขตอนุรักษ์และติดตามเฝ้าระวังครั้งที่ 1(เลื่อนมาจากวันที่ 30 มี.ค.56)

วันที่ 24 ธันวาคม 2555 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยพัฒนาทรัพยากรป่าเลน ที่ 9 กะเปอร์ นำแกนนำเยาวชนลงพื้นที่อ่าวกะเปอร์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมงานและแกนนำจำนวน 39 คน ลงพื้นที่ตรวจสอบเขตอนุรักษ์และสำรวจหอยหวานหอยขาวในเขตพื้นที่อ่าวกะเปอร์ บริเวณอ่าวแหลมพ่อตา  พบหอยขนาดต่างๆ ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้แนวเขตอนุรักษ์ บริเวณที่สร้างบ่อขยายพันธุ์ และการใช้อุปกรณ์เก็บหอยที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมอนุรักษ์หอยขาวและแกนนำเยาวชนลงพื้นที่ตรวจสอบเขตอนุรักษ์บริเวณอ่าวกะเปอร์ เขตพื้นที่บ้านบางหิน และสำรวจหอยหวาน หอยขาว

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน ทีมอนุรักษ์หอยขาว ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยพัฒนาทรัพยากรป่าเลน ที่ 9 กะเปอร์ นำแกนนำเยาวชนลงพื้นที่อ่าวกะเปอร์  เพื่อกำหนดและตรวจสอบแนวเขตอนุรักษ์และบริเวณบ่อขยายพันธุ์หอย

 

0 0

10. ติดตามโครงการครั้งที่ 1

วันที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนคณะทำงานมีความเข้าใจในการจัดทำโครงการมากขึ้น  และการใช้เว็บไซด์ในการบันทึกกิจกรรม  และรายงานงวด  สามารถบันทึกรายงานได้เป็นปัจจุบัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนคณะทำงาน  จำนวน 2 คน
  เข้าร่วมประชุมรายงานการติดตามโครงการครั้งที่ 1 โดย สจรส.มอ.

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 2 คน ที่ มอ.สุราษฏร์ธานี - นายส่อแล่ห์  ภักดี  ผู้รับผิดชอบโครงการ- น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการ

 

0 0

11. ประชุมร่วมภาคีเครือข่ายประมงจังหวัด

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อชี้แจงการวางทุ่นในแนวเขตอนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ตัวแทนคณะทำงานได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 2 คน นายส่อแล่ห์  ภักดี  ผู้รับผิดชอบโครงการ   - น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการ เข้าร่วมประชุมกับประมงจังหวัดระนองเพื่อชี้แจงกิจกรรมโครงการฯ และการวางทุ่นในแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว  ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านบางหิน  ต.บางหิน  อ.กะเปอร์ จ.ระนอง แก่ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย
  -  ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกะเปอร์
  -  ตัวแทนทีมอนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว
  -  ผู้นำชุมชน  กำนัน  ผู่ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  คณะกรรมการหมู่บ้าน   -  พ่อค้าคนกลางรับซื้อหอยหวาน หอยขาว ได้ชี้แจงกิจกรรมของโครงการ และการวางทุ่นแนวเขตในการอนุรักษ์หอยของโครงการแก่ประมงจังหวัดระนองเพื่อทราบ  ซึ่งในที่ประชุมมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโครงการและได้ร่วมกันกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการอนุรักษ์หอยขาวหอยหวาน  1.ห้ามจับหอยหวาน หอยขาวในบ่อขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์     2. ห้ามจับหอยขาว ขนาดเล็กกว่า 2.50 ซ.ม.และหอยหวานขนาด 2 ซ.ม.   3. ห้ามใช้เครื่องทุ่นแรง ได้แก่ แท็งก์สำหรับดำหอย  ในการหาหอยทั้ง 2 ประเภท  ( จากข้อ 2 ) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติของชุมชนต่อไป  ซึ่งจัดทำเป็นประกาศของประมงจังหวัดระนอง โดยมีคณะทำงานโครงการร่วมกำหนดข้อตกลงดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ตัวแทนคณะทำงาน  เข้าร่วมประชุมกับประมงจังหวัดระนองเพื่อชี้แจงกิจกรรมโครงการฯ และการวางทุ่นในแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว  ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านบางหิน  ต.บางหิน  อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

กิจกรรมที่ทำจริง

-ตัวแทนคณะทำงานจำนวน 2 คน
  นายส่อแล่ห์  ภักดี  ผู้รับผิดชอบโครงการ   - น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการ เข้าร่วมประชุมกับประมงจังหวัดระนองเพื่อชี้แจงกิจกรรมโครงการฯ และการวางทุ่นในแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว  ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านบางหิน  ต.บางหิน  อ.กะเปอร์ จ.ระนอง แก่ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย
  -  ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกะเปอร์
  -  ตัวแทนทีมอนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว
  -  ผู้นำชุมชน  กำนัน  ผู่ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  คณะกรรมการหมู่บ้าน   -  พ่อค้าคนกลางรับซื้อหอย ได้เข้าร่วมประชุม ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากประมงจังหวัด

 

0 0

12. กิจกรรมปล่อยพันธุ์หอยลงสู่บ่อขยายพันธุ์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์หอยแก่เยาวชนและชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีการจัดกิจกรรมบูรณาการร่วมกับ อบต.ทำให้กิจกรรมปล่อยหอยของโครงการฯเป็นที่สนใจแก่ประชาชนและมีภาคี องค์กรต่างๆเข้าร่วม เช่น อบจ. นายอำเภอ สถานีพัฒนาป่าชายเลน ที่ 9 อ.กะเปอร์ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ......มากกว่าจำนวนเป้าหมาย  สามารถสร้างกระแสปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้นอกจากมีการปล่อยพันธุ์หอยหวาน หอยขาว แล้วยังการปล่อยปูดำ  ประมาณ 200 กิโลกรัม  ซึ่งได้รับสนุนจากสถานีพัฒนาป่าชายเลน ที่ 9  อ. กะเปอร์ จ.ระนอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ คณะทำงาน  จำนวน  7 คน  ประกอบด้วย     นายวินัย  บุญสุข  ผญ.บ.  ( ประธานโครงการ )   นายส่อแล่ห์  ภักดี  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ   นายดลร่าหมาน  ชิดเอื้อ  ประชาสัมพันธ์โครงการฯ   น.ส.จินตนา  หนูรักษ์  ผช.เลขานุการฯ   น.ส.สาวิตรี  รัชนิพนธ์  จนท.บันทึกข้อมูลฯ   น.ส.อาทิตยา  เมืองมินทร์  เลขานุการโครงการ   น.ส.ดาราณี  หลีไมล์  จนท.การเงิน ทีมอนุรักษ์หอยหวาน  หอยขาว จำนวน  12 คน   แกนนำเยาวชน  จำนวน 40 คน และบุคคลทั่วไปประมาณ 300 คน ร่วมกันนำพันธุ์หอยหวาน หอยขาว จำนวน  400 กิโลกรัม  ปล่อยลงสู่บ่อขยายพันธุ์ของโครงการฯ  และ บริเวณพื้นที่อนุรักษ์หอยหวาน หอยขาว

 

0 0

13. ติดตามโครงการครั้งที่ 2

วันที่ 2 มีนาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจในคณะทำงานเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆในการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานจำนวน 5 คนร่วมประชุม  และได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมรายงานการติดตามโครงการครั้งที่ 2 โดย สจรส.มอ.

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยงแนะนำเรื่อง -การบันทึกข้อมูล  ภาพประกอบกิจกรรมให้สมบูรณ์ -แนะนำการสรุปผลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม โดยเขียนให้เห็นเชิงปริมาณ  และคุณภาพ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ - ให้เตรียมเอกสารพร้อมส่ง  เพื่อเบิกจ่ายเงินโครงการงวด ที่ 2 

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 29 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 206,000.00 81,532.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 36                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายส่อแล่ห์ ภักดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ