task_alt

โครงการชาวบางหินร่วมใจ นำวิถีชีวิตไทย สู่สุขภาวะชุมชน

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการชาวบางหินร่วมใจ นำวิถีชีวิตไทย สู่สุขภาวะชุมชน

ชุมชน หมู่ที่ 2 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

รหัสโครงการ 55-01843 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1053

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2556 ถึงเดือน กันยายน 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่

วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นสัญลักษณ์จัดเขตปลอดบุหรี่ในบริเวณที่ดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีป้ายปลอดบุหรี่จำนวน  1  ป้าย  สามารถเคลื่อนย้ายได้  และใช้จัดเขตพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่  เพื่อแสดงว่าบริเวณที่จัดกิจกรรมเป็นเขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายปลอดบุหรี่  จำนวน  1ป้าย  ใช้แสดงเขตปลอดบุหรี่ในบริเวณที่ดำเนินกิจกรรม

 

0 0

2. อบรมยุวมัคคุเทศน์อนุรักษ์พันธุ์หอยหวานหอยขาว (เลื่อนมาจาก 5-7 เม.ย.56)

วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะยุวมัคคุเทศก์ให้แก่เด็กและเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-แกนนำเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะความรู้เป็นยุวมัคคุเทศน์จำนวน 20  คนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ศูนย์วิจัยป่าชายเลนตำบลหงาวและเรียนรู้เทคนิคการเป็นมัคคุเทศก์ ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ อ.เมือง จ.ระนอง     -ฝึกปฏิบัติการจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชน / พื้นที่อนุรักษ์ระยะเวลา 1วัน  เยาวชนสามารถเรียนรู้แผนที่ชุมชนและกำหนดจุดท่องเที่ยวของชุมชนได้ -พี่เลี้ยงได้ร่วมเยี่ยมพบปะผู้เข้ารับการอบรมด้วย  ทีมเยาวชนสนใจในกิจกรรมและการจัดกิจกรรมต่อเนื่องในพื้นที่โดยขอให้คณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงต่อเนื่องเพราะยังขาดประสบการณ์ในการประสานงานการเป็นมัคคุเทศก์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-คัดเลือกแกนนำเยาวชนเข้ารับการอบรมยุวมัคคุเทศก์อนุรักษ์หอยหวานหอยขาว  -ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ศูนย์วิจัยป่าชายเลน ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง  -จัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชน/พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หอยหวานหอยขาว

กิจกรรมที่ทำจริง

-แกนนำเยาวชนจำนวน 20คนเข้ารับการอบรมยุวมัคคุเทศน์อนุรักษ์หอยหวานหอยขาว-ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ศูนย์วิจัยป่าชายเลนตำบลหงาว
-ฝึกปฏิบัติจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชน / พื้นที่อนุรักษ์

 

0 0

3. จัด ตกแต่งศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พันธุ์หอยหวานหอยขาว (กิจกรรมจัดทำศุนย์เรียนรู้ต่อเนื่อง)

วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้มีศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พันธุ์หอย เผยแพร่วงจรชีวิตหอย  และวิถีชีวิตชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงกิจกรรมและการอนุรักษ์ -จัดทำไวนิลแสดงวงจรชีวิตหอย และศูนย์เรียนรู้ฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดทำไวนิลแสดงวงจรชีวิตหอย และศูนย์เรียนรู้ฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

-จัดทำศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงกิจกรรมและการอนุรักษ์ -จัดทำไวนิลแสดงวงจรชีวิตหอย และศูนย์เรียนรู้ฯ

 

0 0

4. อบรมทักษะการแปรรูปหอยและของที่ระลึกจากเปลือกหอย (เลื่อนมาจาก 25-29 เม.ย.56)

วันที่ 8 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ยุวมัคคุเทศน์ได้รับการเรียนรู้และฝึกทักษะการจัดทำของที่ระลึกเพื่อแสดงในศูนย์การเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำเยาวชนยุวมัคคุเทศก์ จำนวน 20 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ เทคนิคในการแปรรูปเปลือกหอย เช่นทำ พวงกุญแจ โมบาย  รูปสัตว์ต่าง ๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดอบรมฝึกทักษะการแปรรูปหอยและการจัดทำของที่ระลึกจากเปลือกหอยแก่ยุวมัคคุเทศน์  -ฝึกปฏิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำเยาวชนยุวมัคคุเทศก์  จำนวน 20 คน ได้รับการฝึกและร่วมกันนำเปลือกหอยมาทำของที่ระลึก 

 

0 0

5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้(จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี)

วันที่ 12 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การวิเคราะห์คุณค่าได้ 5มิติ  ดังนี้ 1.ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน  ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปหอยและการประดิษฐ์ของที่ระลึกจากเปลือกหอย  เกิดกลุ่มใหม่ในชุมชน คือ ยุวมัคคุเทศน์ และเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอย เกิดศูนย์เรียนรู้ 2.การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ ได้แก่  การจัดการขยะโดยการนำเปลือกหอยมาเป็นวัตถุดิบในการทำของที่ระลึก  3.ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน  ได้แก่มีข้อตกลงของชุมชนในการอนุรักษ์หอยในพื้นที่อนุรักษ์  4.กระบวนการชุมชน  คือมีการประสานงานระหว่าง กลุ่ม องค์กร เครือข่าย เช่น อบต.บางหิน ประมง ป่าชายเลนที่ 9 รน. มีการใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน ได้แก่ การใช้เรือพีช-เรือหางยาวของชาวบ้านในชุมชนมาใช้ในกิจกรรม  การใช้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในชุมชน  การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่ม  ได้แก่ เครือข่ายอาสาอนุรักษ์ลงพื้นที่เฝ้าระวังพื้นที่อนุรักษ์  การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ ปล่อยหอยลงพื้นที่อนุรักษ์  5.มิติสุขภาวะปัญญา ได้แก่  ยุวมัคคุเทศก์ภาคภูมิใจและสำนักรักบ้านเกิด  มีการใช้ชีวิตเรียบง่ายส่งเสริมประมงพื้นบ้านที่ไม่ใช้เครื่องทุ่นแรงในการจับหอย  ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรและการดำเนินกิจกรรมของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แบ่งกลุ่ม อภิปราย แลกเปลี่ยน และวิเคราะห์คุณค่าจากการดำเนินงาน พร้อมนำเสนอ

กิจกรรมที่ทำจริง

การวิเคราะห์คุณค่า 6 มิติ  ได้แก่ 1. ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน  2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ  3.การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ 4.ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน 5.กระบวนการชุมชน  6.มิติสุขภาวะปัญญา/สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

 

0 0

6. ติดตามโครงการครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน (เลื่อนมาจาก 27-28 ก.ค.56)

วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกิจกรรมการถอดบทเรียน และติดตามการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถบันทึกข้อมูลได้ครบถ้วน และจัดทำรายงานการเงินให้เป็นปัจจุบัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมติดตามการดำเนินโครงการ -รายงาน  -การเงิน  -ถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนคณะทำงานจำนวน 3 คน  เข้าร่วมกิจกรรม ถอดบทเรียน  และติดตามการดำเนินงาน 

 

3 3

7. ยุวมัคคุเทศก์และเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอยฯ ร่วมกิจกรรมสร้างความมั่นคงทางอาหาร (ปลูกข้าวไร่)

วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมอนุรักษ์วิถีชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ยุวมัคคุเทศก์ และเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอยฯ  ได้สร้างเครือข่ายอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชน  ร่วมกันสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการปลูกข้าวไร่ บริเวณหน้าศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พันธุ์หอยขาวหอยหวาน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะนำมาซึ่งสุขภาวะชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ยุวมัคคุเทศก์  เครือข่ายอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว  ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร  ร่วมกันปลูกข้าวไร่  ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ปลูกวันแม่ เก็บวันพ่อ

กิจกรรมที่ทำจริง

ยุวมัคคุเทศก์  เครือข่ายอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว  ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร  ร่วมกันปลูกข้าวไร่  ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ปลูกวันแม่ เก็บวันพ่อ

 

20 20

8. ติดตามเฝ้าระวังการอนุรักษ์หอยขาวหอยหวาน (เลื่อนมาจาก 22 มิ.ย. 56 เนื่องจากพายุ ฝนตกไม่สามารถลงพื้นที่ได้)

วันที่ 17 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวังเขตพื้นที่อนุรักษ์ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เครือข่ายอาสาอนุรักษ์และเยาวชน ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หอยขาวหอยหวาน พบว่า  ปริมาณหอยขาวมีเพิ่มขึ้นและบริเวณโหนหอยพบมีปูเพิ่มขึ้นมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เครือข่ายอาสาอนุรักษ์และเยาวชน ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หอยขาวหอยหวาน

กิจกรรมที่ทำจริง

เครือข่ายอาสาอนุรักษ์และเยาวชน ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หอยขาวหอยหวาน

 

52 52

9. ติดตามเฝ้าระวัง การอนุรักษ์หอยหวานหอยขาวครั้งที่ 3 (เลื่อนเป็น 1 ก.ย. 56 ) เลื่อนเป็น 24 ส.ค. 56 เหมือนเดิม

วันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังพื้นที่เขตอนุรักษ์หอยขาวหอยหวาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมเยาวชน  คณะทำงาน  และเครือข่ายอาสาอนุรักษ์พันธุ์หอยขาวหอยหวาน  ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโหนต่างๆ และเขตบ่ออนุรักษ์  เพื่อสำรวจเปรียบเทียบปริมาณหอย  พบว่ามีหอยที่มีขนาดโต สามารถเก็บได้แล้วในปริมาณที่มากขึ้นพอควร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมอนุรักษ์หอยและแกนนำเยาวชนลงพื้นที่ตรวจสอบ เฝ้าระวังการถูกทำลายของหอยหวานหอยขาว

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมเยาวชนลงพื้นที่เขตอนุรักษ์เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังปริมาณ ของหอยขาวหอยหวาน

 

52 52

10. ประชุมให้ความรู้แนวทางการอนุรักษ์หอยหวานหอยขาวแก่เยาวชนและเครือข่ายอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว

วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้แก่เครือข่าย และเยาวชนอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาวเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์พันธุ์หอย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เครือข่ายและเยาวชนอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาวจำนวน 92 คน เข้าร่วมประชุม  และร่วมตกลงกฏระเบียบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมให้ความรู้แก่เยาวชนและเครือข่ายอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว เกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์  และร่วมกำหนดกฏระเบียบในการอนุรักษ์

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมให้ความรู้แก่เยาวชนและเครือข่ายอาสาอนุรักษ์หอยหวานหอยขาว เกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์  และร่วมกำหนดกฏระเบียบในการอนุรักษ์  และจัดทำข้อตกลงเพื่อการอนุรักษ์หอยเป็นลายลักษ์อักษร

 

131 92

11. จัดทำรายงานและภาพถ่ายกิจกรรม

วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รวบรวมผลการดำเนินกิจกรรม  จัดทำรายงานและภาพถ่ายส่ง สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้สรุปรายงานและรวบรวมภาพถ่ายตลอดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานร่วมสรุปผลโครงการและจัดทำรายงานพร้อมภาพถ่ายเพื่อส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานสรุปผลโครงการ  จัดทำรายงาน  ฉบับสมบูรณ์ พร้อมรวบรวมภาพถ่าย

 

2 2

12. นำเสนอผลการดำเนินงานสู่ชุมชน

วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนในชุมชนและเครือข่ายต่างๆได้แก่  เครือข่ายอาสาอนุรักษ์อ่าวกะเปอร์/เครือข่ายตาสับปะรดกะเปอร์/ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ม่วงกลวง/อบต.บางหิน/ตัวแทนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย/สกว.  ได้ร่วมกิจกรรม  รับชมการนำเสนอการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ  และร่วมพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์หอยหวายหอยขาวบ้านบางหิน  /ที่ทำการกลุ่มยุวมัคคุเทศก์  โดยนายก อบต.บางหินเป็นประธาน  และยังมีการสาธิตกิจกรรมของกลุ่มยุวมัคคุเทศก์ในการทำอาหารจากหอยด้วย  นอกจากนี้  พี่เลี้ยงโครงการได้ร่วมพบปะเครือข่ายอีกด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินโครงการ  ให้ชุมชนรับทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีนำเสนอการดำเนินกิจกรรมโครงการสู้ชุมชน พร้อมเปิดศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์หอยหวานหอยขาวอย่างเป็นทางการ

 

250 250

13. ติดตามโครงการครั้งที่ 5 เพื่อส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และปิดโครงการ

วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนคณะทำงานจำนวน 2 คนและพี่เลี้ยง  เข้าร่วมประชุมจัดส่งเอกสาร  รายงานการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์ พร้อมปิดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุม จัดส่งเอกสาร  รายงานการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนคณะทำงานและพี่เลี้ยงจัดส่งเอกสาร  รายงานการดำเนินโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 29 26                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 206,000.00 206,724.00                  
คุณภาพกิจกรรม 104 75                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายส่อแล่ห์ ภักดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ