directions_run

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลไกการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ในจังหวัดสงขลา

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในระดับพื้นที่ในการคุ้มครอง ตนเองและสมาชิกในชุมชน
ตัวชี้วัด : เกิดแกนนำอาสาสมัครครบพื้นที่ 16 อำเภอ แกนนำอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องสิทธิผู้บริโภคมีการรวมกลุ่มในระดับพื้นที่ในรูปแบบคณะทำงาน มีปฏิบัติการกิจกรรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเดือนที่ 6 มีการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อย 8 พื้นที่ กลุ่มในพื้นที่สามารถรับเรื่องร้องเรียนประสานงานแก้ปัญหาเบื้องต้นกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างน้อย 100 กรณี และสามารถแก้ปัญหาได้ร้อยละ 70

 

 

-เกิดแกนนำอาสาสมัครทั้ง 16 อำเภอ

-เกิดการรวมกลุ่มในระดับพื้นที่

-มีการรับเรื่องร้องเรียนและส่งต่อในระดับพื้นที่

-มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่

2 2.เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : มีการทำงานเชื่อมโยงกันในพื้นที่ระหว่างเครือข่ายในพื้นที่กับสมาคมผู้บริโภคสงขลา มีข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนและสามารถแก้ปัญหา รวมทั้งเผยแพร่ได้ เกิดเรื่องเล่าการจัดการความรู้อย่างน้อย 10 พื้นที่ มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค เกิดกลไกการประสานงานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างท้องถิ่นและสมาคมผู้บริโภค

 

 

-มีการทำงานประสานเชื่อมโยงกับเครือข่าย

-มีการรับเรื่องร้องเรียนและสามารถแลกเปลี่ยนประเด็นได้

-มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อที่หลากหลาย

-มีกลไกประสานการทำงานระหว่างท้องถิ่นกับสมาคมผู้บริโภคสงขลาโดยแกนนำอาสาสมัครในพื้นที่

3 3.เพื่อสร้างนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
ตัวชี้วัด : เกิดคณะทำงานและติดตาม จัทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกิดนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างน้อย 5 พื้นที่

 

 

-มีแผนการทำงานร่วมกับท้องถิ่นในพื้นที่

-ท้องถิ่นมีนโยบายการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

-มีคณะทำงานซึ่งเป็นตัวแทนแต่ละพื้นที่

4 การสนับสนุนติดตามโครงการโดยทีม สสส.,สจรส.มอ.
ตัวชี้วัด : 1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานจากทีม สสส.,สจรส.มอ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 2. การจัดทำรายงานโครงการ (ส.1 ,ส.2,ง.1,ง.2 ,ส.3)

 

 

-มีการรเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สจรส.มอ และการประชุมติดตามโครงการของ สจรส.มอ.ร

-มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ ส่ง สสส.ได้ ตามงวดงาน