task_alt

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลไกการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ในจังหวัดสงขลา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลไกการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ในจังหวัดสงขลา

ชุมชน พื้นที่ 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ 55-01192 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0393

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน มีนาคม 2557 ถึงเดือน เมษายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเวทีความร่วมมือ ระดับพื้นที่ อ.รัตภูมิ

วันที่ 5 มีนาคม 2557 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสมาคมผู้บริโภคสงขลา -เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคร่วมกันในระดับพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีการแลกเปลี่ยนปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ของอบต.เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการกินอาหารในงานศพ (การจัดแบบบุพเฟ่) ดูแลเรื่องความสะอาด  ประหยัด

การปลูกผักทานเอง

พื้นที่ปลูกผัก 5 พื้นที่ คือ ม.2 ม.4 ม.5 ม.6 ม.9 ของตำบลควนรู -เปิดตลาดขายผักปลอดสารพิษ -การให้ความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหารให้กับกลุ่ม -ให้คำปรึกษาการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ แจ้งชื่อสินค้าที่ตรวจพบสารพิษ ให้มีการหยุดใช้สินค้าตัวนั้นไปก่อน

ระดมปัญหาในพื้นที่

-การใช้บริการสายการบิน (เครื่องออกไม่ตรงเวลา )

-ปัญหา sms  รบกวน กินตังส์

-การย้ายค่ายโดยไม่แจ้ง

แนวทางการดำเนินงาน

-ใช้โอกาสการประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง ของสิทธิผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค

-อบต.จะเป็นศูนย์ในการรับเรื่องร้องเรียน

-อบต.จะเป็นส่วนที่ช่วยประสานการทำงานการรับเรื่องร้องเรียน การประชาสัมพันธ์ในพื้นที่

-การขับเคลื่อนประเด็นขนมหน้าโรงเรียน

ข้อเสนอในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

-สร้างความตระหนักในเรื่องการพิทักษ์สิทธิของตัวเอง

-การให้คำปรึกษา

-เผยแพร่ความรู้ในชุมชน ในเรื่องของสิทธิผู้บริโภค
-การให้ข้อมูล ขั้นตอนในการร้องเรียน ช่องทางการร้องเรียน
-พัฒนาศักยภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แกนนำ หลักสูตรการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มแกนนำในชุมชน

-ทำความร่วมมือ อบต. รพสต. ให้ความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเข้มแข็งของตัวผู้บริโภคในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โดยการจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่กับหน่วยงาน คือ อบต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

-มีการจัดเวทีความร่วมมือการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่อำเภอสทิงพระ ณ ห้องประชุมโอบต.ควนรู จำนวนผู้เข้าร่วม 24 คน โดยมีกระบวนการแลกปเลี่ยนสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในระดับพื้นที่

 

25 25

2. จัดเวทีความร่วมมือ ระดับพื้นที่ อำเภอกระแสสินธุ์

วันที่ 6 มีนาคม 2557 เวลา 13:00 -16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมผู้บริโภคสงขลา เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้ยริโภคร่วมกันในพื้นที่ และเกิดการรว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่  และแนวทางในการแก้ปัญหา 1.บริการสาธารณะ  = กรณีประปา  = ถ้าจ่ายช้าโดนปรับ 107 บาท /  รถโดยสารสาธารณะ  เลือกรับผู้โดยสาร สาย เกาะใหญ่-ระโนด

2.โทรคมนาคม = โทรศัพท์มือถือ /  เอสเอ็มเอสรบกวน

3.บริการสุขภาพ  = การให้บริการของ รพ. / การรักษาพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐานกรณี ผ่าตัดคลอดที่ รพ.นาหม่อม ทำให้เจ็บแผลผ่าตัดมากกว่าที่ควรเนื่องจากการดูแลรักษาไม่สะอาด  / การรับฟังความเห็นของ สปสช. ที่ให้ผู้รับบริการสะท้อนปัญหาเพื่อการพัฒนาระบบการจัดการบริการสาธารณสุข ที่สามารถทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้ / กรณีการส่งต่อ  จาก รพ.จะนะ มา รพ.สงขลา  เด็กหอบส่งมาให้ รพ.สงขลา แต่ รพ.ไม่ดูแลไม่สนใจ ต้องนอนรอ ทำได้แต่ฉีดยาให้กับเด็ก ทำให้เด็กเกิดภาวะช็อก แล้วเสียชีวิต  กรณีชาเขียวปนเปื้อน / กรณีเกิดความเสียหายจากการรักษาพยาบาล  ติดต่อได้ ที่ สสจ. หรือ หน่วยรับเรื่องของ รพ. หรือ ศูนย์ ๕๐(๕)  /ปี ๕๔ นอนป่วย ที่รพ. สงขลา  แล้วกลับมาเข้านอน รพ.กระแสสินธุ์  แล้วเอายาให้ดู ปรากฏว่าพยาบาลให้ยาหมดอายุทาน

4.อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  = กรณีน้ำดื่มบรรจุขวดไม่สะอาด มีตะกอนก้อนสีดำคล้ายไข่แมลงสาบอยู่ที่ก้นขวด (น้ำดื่ม)  /สารเคมีปนเปื้อนแตงโมผสมฟูราดาน  /พืชผักปลอดสารเคมี = สสอ.มีรถโมบาย ๓ เดือนครั้ง  พบว่า ผักชี/ ถั่วงอก มาจากข้างนอก ใช้มาตรการทางสังคม ไม่ซื้อรับประทาน  / ตรวจตลาดสดน่าซื้อ / ให้คำแนะนำในการเลือกบริโภค / การตรวจเลือดเกษตรกรหาสารเคมีปนเปื้อน  ไม่เจอในเกษตรกร แต่เจอในผู้บริโภค  / น้ำดื่มบัวหลวง กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ไม่สะอาด ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  อ.กระแสสินธุ์ มี ๔ ยี่ห้อ  ผ่านมาตรฐาน ๓ ยี่ห้อ  ใช้มาตรการทางสังคมแบนน้ำยี่ห้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่ซื้อไม่ดื่ม  / สำอาง เก็บตัวอย่างส่งตรวจให้กับ สสอ.  /อาหารปนเปื้อน ตรวจสาร ส่งต่อ สสอ.  / ยาลูกกลอน ผสมสเตียรอยด์ ส่งต่อ สสอ.

5.สินค้าและบริการทั่วไป = รับรู้จากโทรศัพท์ ว่าคุณคือผู้โชคดี  1 ใน 50 คน ได้รับกล้องถ่ายรูปให้ไปรับที่ อ.หาดใหญ่ /ได้รับข้อความคุณคือผู้โชคดี (ปลัดเทศบาลตำบลเชิงแส) / ซื้อแอร์การ์ด บ.ดีแทค  ใช้แค่ 3-4 เดือน ก็มีหนังสือทวงหนี้จากบริษัททนายความ ให้ไปชำระค่าบริการที่ค้าง  เมื่อไปติดต่อศูนย์บริการปรากฏว่าเบอร์นี้ปิดแล้ว  ได้รับ

6.การเงินการธนาคาร  = ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าถึงเวลาชำระเงิน แต่ไม่เคยรู้จักธนาคาร  /กรณีได้รับภาษีคืนจากกรมสรรพากร  แต่มีการขอหมายเลขบัญชีเราไว้  เพราะถ้าได้รับคืนจริง ๆ จะต้องได้รับเอกสารจากกรมสรรพกรเป็นลายลักษณ์อักษร

7.สื่อสารและโทรคมนาคม = ค้างค่าใช้จ่ายอินเตอร์ประมาณ สองพันกว่าบาท  แต่ไม่เคยใช้เน็ตเลยค้างได้ไง (แทปเลต) บริษัทให้ข้อมูลว่าสมาร์ทโฟน สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอัตโนมัติ  /ขายประกันทางโทรศัพท์

ข้อเสนอแนะพื้นที่

o การใช้มาตรการทางสังคมของคนในพื้นที่ o การเฝ้าระวังสินค้าน่าสงสัยในพื้นที่ o การพัฒนากลไกร่วมกันระหว่างพื้นที่ให้เกิดการไกล่เกลี่ยร่วมกัน / มนโยบายสาธารณะท้องถิ่น (ใช้มาตรการร่วมกับเครือข่ายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาช่วย) o ส่งเสริมการใช้มาตรการร่วมกัน o พานิชย์จังหวัด เป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการคุ้มครองราคาสินค้า เช่น กรณีน้ำดื่ม เก็บตัวอย่างน้ำดื่มส่งต่อให้สมาคมฯตรวจ  (เป็นเครือข่ายอาสาสมัครแม่บ้าน) o การให้ข้อมูลเรื่องการดูวันหมดอายุของการใช้ยาแก่ชาวบ้านอย่างเคร่งครัด

ปัญหาในการร้องเรียน o ผู้บริโภคไม่สามารถต่อรองกับผู้ประกอบการได้
o มาตรการทางกฎหมายช้า

อาสาสมัครประสานงานแต่ละตำบล ต.เกาะใหญ่  :  นายไพฑูรย์  คชเสนีย์ ต.โรง  :  นางปราณี  ด้วงไข่ ต.กระแสสินธุ์ :  นางสุนันทา  ไกรสุรสีห์ (พี่ฉ้อง) ต.เชิงแส  :  นางสุรีรัตน์  ชัยเชื้อ (พี่อวบ)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สนับสนุนการจัดกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โดยจัดเวทีพูดคุยทำความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น คือ ที่ว่าการอำเภอกระแสสินธุ์  อบต.เชิงแส  และ สสอ.กระแสสินธุ์

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โดยจัดเวทีพูดคุยทำความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น คือ ที่ว่าการอำเภอกระแสสินธุ์  อบต.เชิงแส  และ สสอ.กระแสสินธุ์  โดยจัดเวที ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอกระแสสินธุ์ โดยมีนายอำเภอเป็นประธานในพิธีเปิด  กล่าวต้อนรับโดยผู้ประสานงานในพื้นที่  หลังจากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาผู้บริโภค

 

25 25

3. จัดเวทีความร่วมมือ ระดับพื้นที่ อ.สิงหนคร

วันที่ 12 มีนาคม 2557 เวลา 13:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมผู้บริโภคสงขลา เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้ยริโภคร่วมกันในพื้นที่ และเกิดการรว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

o ระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่  และแนวทางในการแก้ปัญหา o อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ -ขนมเด็กหน้า รร.  เป็นโรคไต เนื่องจากโซเดียมเยอะ  ต.สทิงหม้อ o สื่อสารและโทรคมนาคม -พนักงานเอไอเอส มารับสมัครตามบ้าน รายเดือน ใช้ได้ ๑๕ วัน มีหนังสือทวงหนี้มา ๑๕๐๐ บาท  (ประมาณ ๒ ปี ที่แล้ว  ) -คุณคือผู้โชคดี ได้รับตู้เย็น เป็นจม.มาถึงบ้าน แนะนำ ให้นำเอาหลักฐานนั้นไปแจ้งความเพื่อยืนยันว่าเราไม่ได้ใช้จริง -ได้รับหนังสือคุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัล -ได้รับข้อความของทรู ให้เปลี่ยน ได้เครื่องซัมซุงฮีโร่  แต่ต้องจ่ายภาษี ประมาณ ๑๐๐ กว่าบาท -ทรูมูฟละเมิดสิทธิในการเลือกใช้บริการของผู้บริโภค -กรณีเติมเงินแล้วเงินไม่เข้า  หรือ โดนหักเงิน -กรณียกเลิกเอสเอ็มเอสกินตังค์  กด *137 โทรออก  ดีแทค ยกเลิก ภายใน ๓ วัน -ทรูมูฟ  ยกเลิก ภายใน ๑๕ นาที ใน ๒๔ ชม.  ข้อเสนอแนะพื้นที่ o การเฝ้าระวังขนมเด็กหน้า รร. ในหมู่บ้าน
o การพัฒนากลไกร่วมกันระหว่างพื้นที่ให้เกิดการไกล่เกลี่ยร่วมกัน / นโยบายสาธารณะท้องถิ่น (ใช้มาตรการร่วมกับเครือข่ายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาช่วย) o การให้ข้อมูลเรื่องการดูวันหมดอายุของการใช้ยาแก่ชาวบ้านอย่างเคร่งครัด o จัดกิจกรรมมรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ ตามตลาดนัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สนับสนุนการจัดกิจกรรมเวทีความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่ อ.สิงหนคร

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ ณ ที่ว่าการอำเภอสิงหนคร

 

20 20

4. จัดเวทีความร่วมมือ ระดับพื้นที่ อ.เมือง จ.สงขลา

วันที่ 14 มีนาคม 2557 เวลา 13:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมผู้บริโภคสงขลา เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้ยริโภคร่วมกันในพื้นที่ และเกิดการรว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

o ระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่  และแนวทางในการแก้ปัญหา o บริการสุขภาพ -ค่ารักษาพยาบาล 90,000 บาท ถึงจะรับศพออกจากโรงพยาบาลได้ -การให้บริการของโรงพยาบาลสงขลา (เกาะยอ)
-คนที่เจอปัญหาไม่ให้ความร่วมมือในการร้องเรียน -ไม่ให้บริการในการทำเรื่องส่งต่อ -มีการร้องเรียนเรื่องการให้บริการต่อหัวหน้าตึก o สินค้าและบริการ -ราคาขนมจีน 10บาท แต่ คิดราคาเกิน o สื่อสารและโทรคมนาคม -การตอบรับการใช้บริการที่มากับ  SMS -การแก้ปัญหา SMS
-การยกเลิกการให้บริการ อินเตอร์เน็ต -การศึกษาโปรโมชั่นของแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต -เครื่องไอโฟนส่งซ่อมบริษัททรูบอกว่ารับได้เครื่องในเวลา 3 อาทิตย์ แต่ผ่านไปก็ยังไม่ได้  และต้องรออีก 10 วัน o การเงินการธนาคาร -เปิดบัญชีธนาคารพ่วงประกันชีวิต
 ข้อเสนอแนะพื้นที่ o น่าจะมีการทำวงพูดคุยกับผู้ประกอบการเพื่อหาแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน(นายกเทศมนตรี) o เสนอทำเรื่องของสารเคมี รณรงค์พืชผักปลอดสารเคมี  จำหน่ายผักปลอดสาร o เฝ้าระวัง อาหารปลอดภัย o ทำกลไกเฝ้าระวังรถ หาดใหญ่  - สงขลา  รถบัส  รถตู้ รถสองแถว o อบรมอาสาสมัครการรับเรื่องร้องเรียนเชิงรุกในระดับอำเภอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สนับสนุนการดำเนินงานจัดเวทีความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ อ.เมือง

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีความร่วมมือกับเทศบาลเมืองนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อหาแนวทางการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมมกัน

 

25 25

5. ลงพื้นที่จัดเวทีความร่วมมือกับ หน่วยงาน อ.ระโนด

วันที่ 17 มีนาคม 2557 เวลา 08:30-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมผู้บริโภคสงขลา เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้ยริโภคร่วมกันในพื้นที่ และเกิดการรว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

 ระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่  และแนวทางในการแก้ปัญหา o บริการสาธารณะ -การคิดค่าต่อไปฟ้า 107บาท o อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ -มีการขายยาลูกกลอนชุดละ 7000 บาท (ล่อซื้อ) -การขายน้ำผลไม้รักษาโรค ทางทีวีดาวเทียม -ขายน้ำเห็ดสกัดจากวิทยุชุมชน ที่มีการลิ้งสัญญาณจากภาคกลาง -คาวตอง -ต้นไชโค๊ะ ต้มรักษาโรคต่างๆได้สารพัดโรค o สินค้าและบริการ -(10 ปี มาแล้ว) มีไปรษณียบัตร มาบอกว่าเป็นผู้โชคดี ให้มารับกล้องถ่ายรูป แล้วหลังจากนั้นก็ให้จับคูปองลุ้นรางวัล -บังคลาเทศ  มีการแร่ขาย นาฬิกา แว่น  โทรศัพท์มือถือ -แร่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้กลยุทธ์ในการจับรางวัล
o สื่อสารและโทรคมนาคม -การตอบรับการใช้บริการที่มากับ  SMS -การแก้ปัญหา SMS
-โฆษณา ทางทีวีดาวเทียม  เสริมอก
o การเงินการธนาคาร -เปิดบัญชีธนาคารพ่วงประกันชีวิต
 ข้อเสนอแนะพื้นที่ o น่าจะมีการทำวงพูดคุยกับผู้ประกอบการเพื่อหาแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน o เสนอทำเรื่องของสารเคมี รณรงค์พืชผักปลอดสารเคมี  จำหน่ายผักปลอดสาร o เฝ้าระวัง อาหารปลอดภัย o อบรมอาสาสมัครการรับเรื่องร้องเรียนเชิงรุกในระดับอำเภอ


กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำความเข้าใจงานคุ้มครองผู้บริโภค และ ระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคระดับพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีความร่วมมือกับหน่วยงาน คือ รพ.สต.บ้านสามอ่าง ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่

 

25 25

6. จัดเวทีความร่วมมือ กับ ท้องถิ่นระดับพื้นที่ อำเภอสะเดา

วันที่ 24 มีนาคม 2557 เวลา 13:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเวทีระดมปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมกันระหว่างแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมผู้บริโภคสงขลา เพื่อร่วมหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคร่วมกันในพื้นที่ และเกิดการรว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ระดมสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่  และแนวทางในการแก้ปัญหา

บริการสาธารณะ //เจอค่าไฟ 30,000 บาท

อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  // ชาเย็น ชาต่างๆมีการตรวจสารต่างๆหรือไม่ (ชาพะยอม ชาฉุย )

สินค้าและบริการ -การหลอกลวงขายสินค้าสูงกว่าราคาที่เป็นจริง -การโกงตาชั่ง โกงราคา -ฉลากบนสินค้าในห้างช่วงมีโปรโมชั่น -การสซื้อขายสินค้าในตลาด ในห้าง -แก๊สหุงต้มในครัวเรือน วิธีการตรวจสอบขนาดบรรจุน้ำหนักของแก๊ส

สื่อสารและโทรคมนาคม -sms รบกวน กินเงิน
-sms ยกเลิกยาก -ขายประกันทางโทรศัพท์
-โทรศัพท์หลอกลวงว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล -ตู้โทรศัพท์สาธารณะในโรงเรียนใช้การไม่ได้

ข้อเสนอแนะพื้นที่ สมาคมผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภคทำงานในเชิงรุก ต้องสร้างความร่วมมือในหลายๆหน่วยงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ตามหน้าที่ มีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ปลูกฝังการเลือกซื้อสินค้า การทำหลักสูตรการเลือกสินค้าให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียน สร้างข้อตกลงในชุมชน ในหมู่บ้าน (โรงเรียนสมาคมไทยผลิตยา 2 โรงเรียนบ้านนาสนใจในการทำเรื่องขนมหน้าโรงเรียน ขนมในโรงเรียน) บ้านประดู่ ตลาดนัดเกษตรปลอดสาร นโยบายปลูกผักกินเอง โดยใช้กองทุนสุขภาพท้องถิ่น สปสช.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่ อ.สะเดา

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีความร่วมมือกับ หน่วยงานท้องถิ่น อบต.พังลา

 

25 25

7. เผยแพร่ข้อมูลผ่านวิทยุ

วันที่ 24 มีนาคม 2557 เวลา 06.00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้มีการจัดรายการวิทยุเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ช่องทางการร้องเรียน  สถานการณืปัญหาผู้บริโภคที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ตัวอย่าง  กสทช. พบทีวีช่องการเมือง โฆษณาผิดกฎหมาย อย.เพียบ  // กพย.จี้ตั้งระบบสอบบอร์ดสุขภาพ เหตุควบหลายที่อาจรับใต้โต๊ะบางบอร์ด ทั้งเอี่ยวธุรกิจเอกชน // ไทยติดอันดับ 2 ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากสุดในโลก // เตือนกิน 'ไก่ทาสีย้อมผ้า' อันตรายถึงตาย  เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการสภาผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุชุมชน สถานีวิทยุพุทธเรดิโอ เพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทุกวันจันทร์ เวลา 11.00-12.00 น. เอฟเอ็ม 106.75 Mhz. และผ่านทางสถานีวิทยุกระแสหลัก สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เอฟเอ็ม 88.0 MHz. ผ่ายรายการตลาดนัดผู้บริโภค ทุกวันเสาร์ เวลา 06.00-07.00 น.

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุโดยการดำเนินการจัดรายการสภาผู้บริโภค และ รายการตลาดนัดผู้บริโภค

 

300 300

8. เผยแพร่ข้อมูลผ่านเวปไซต์

วันที่ 25 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้บริโภคเข้ามาค้นหาข้อมูล และ ใช้ในการแลกเปลี่ยนปัญหาผ่านกระดานสนทนา เป็นช่องทางการร้องเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานผลการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลผ่านเวปไซต์ ประจำเดือน มี.ค.๕๗

กิจกรรมที่ทำจริง

เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดีย www.consumersongkhla.org

 

300 300

9. จัดเวทีความร่วมมือและทำความเข้าใจการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 26 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลการทำงานในระดับพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เกิดคณะทำงานติดตามและจัดทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -วางแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น -เกิดนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ปัญหาในระดับพื้นที่

 

40 55

10. จัดเวทีนำเสนอแนวทางและนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่

วันที่ 26 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดข้อเสนอนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เกิดคณะทำงานติดตามและจัดทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -วางแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น -เกิดนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ปัญหาในระดับพื้นที่

 

40 55

11. เวทีสังเคราะห์เรื่องร้องเรียนฯ

วันที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในระดับพื้นที่ในการคุ้มครองตนเองและสมาชิกในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-อาสาสมัครได้ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนจริง ๆ จากกรณีตัวอย่าง  สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้ในพื้นที่ เช่น การสอบข้อเท็จจริง  การประสานงานส่งต่อ  การแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สังเคราะห์เรื่องร้องเรียนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

-แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติรับเรื่องร้องเรียนตามที่ได้รับโจทย์มอบหมาย -ร่วมกันวิเคราะห์กรณีตัวอย่างปัญหา -ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

 

40 40

12. จัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานทั้งโครงการ

วันที่ 28 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การสนับสนุนพื้นที่ของสมาคมฯ ที่พื้นที่อยากให้มีการสนับสนุนเพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง คือ สื่อสำหรับการทำงาน เอกสาร แผ่นพับ ไวนิลโรลอัพ การลงพื้นที่สนับสนุนข้อมูลการจัดกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในระดับพื้นที่  สามารถทำให้ในพื้นที่เกิดการรวมกลุ่มคนทำงานได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปบทเรียนการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

-แบ่งกลุ่มเป็นโซนอำเภอ คือ โซนบน ประกอบด้วย ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ  สิงหนคร  เมือง  โซนกลาง ประกอบด้วย  นาหม่อม รัตภูมิ  ควนเนียง คลองหอยโข่ง  หาดใหญ่ บางกล่ำ  โซนล่าง  จะนะ  เทพา  สะบ้าย้อย  นาทวี สะเดา
-ร่วมกันแลกเปลี่ยนการทำงานในแต่ละพื้นที่ -นำเสนอผลการแลกเปลี่ยน

 

40 40

13. เผยแพร่ข้อมูลผ่านวิทยุ

วันที่ 14 เมษายน 2557 เวลา 06.00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการสภาผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุชุมชน สถานีวิทยุพุทธเรดิโอ เพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทุกวันจันทร์ เวลา 11.00-12.00 น. เอฟเอ็ม 106.75 Mhz. และผ่านทางสถานีวิทยุกระแสหลัก สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เอฟเอ็ม 88.0 MHz. ผ่ายรายการตลาดนัดผู้บริโภค ทุกวันเสาร์ เวลา 06.00-07.00 น.

กิจกรรมที่ทำจริง

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการสภาผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุชุมชน สถานีวิทยุพุทธเรดิโอ เพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทุกวันจันทร์ เวลา 11.00-12.00 น. เอฟเอ็ม 106.75 Mhz. และผ่านทางสถานีวิทยุกระแสหลัก สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เอฟเอ็ม 88.0 MHz. ผ่ายรายการตลาดนัดผู้บริโภค ทุกวันเสาร์ เวลา 06.00-07.00 น.

 

300 300

14. เผยแพร่ข้อมูลผ่านเวปไซต์

วันที่ 15 เมษายน 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้บริโภคสามารถสืบค้นข้อมูล แลกเปลี่ยนปัญหาผู้บริโภคบนกระดานสนทนา และ เป็นช่องทางการร้องเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเวปไซต์ ประจำเดือน เม.ย.๕๗

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดีย www.consumersongkhla.org

 

300 300

15. จัดเวทีความร่วมมือการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ อ.เทพา

วันที่ 18 เมษายน 2557 เวลา 09:00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสิทธิผู้บริโภค ตลอดจนการรับเรื่องร้องเรียนประสานงสยแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ให้เกิดแนวทางการทำงานร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคและนำไปสู่การปฏิบัติการร่วมกันในระดับพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ระดมปัญหาในพื้นที่

-ปัญหา sms  รบกวน กินตังส์

-การย้ายค่ายโดยไม่แจ้ง

-การบริการไม่สุภาพของหน่วยบริการ คือ รพ. หรือ รพสต.

ข้อเสนอแนะในการทำงาน

-การรวมกลุ่มของผู้บริโภค

-การให้ข้อมูลเรื่องสิทธิแก่ผู้บริโภคเพื่อการพิทักษ์สิทธิ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สนับสนุนการดำเนนิงานกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค โดยการจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาผู้บริโภคกับหน่วยงานท้องถิ่น คือ อบต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมเวทีความร่วมมือการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคกับหน่วยงานท้องถิ่น โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนร่วมกัน

 

25 25

16. สรุปบทเรียนการทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 19 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนงานร่วมกัน ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พื้นที่ได้แผนงานการทำงานเพื่อขยายผลต่อเนื่องในการทำงานต่อไปได้ เช่น การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายครู ในโรงเรียน เรื่องขนมเด็กหน้าโรงเรียน  การทำงานร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่ เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

อ.บางกล่ำ  กิจกรรม : อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับฉลากยา

อ.ควนเนียง  กิจกรรม : จัดรายการวิทยุขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้ บริโภค

อ.รัตภูมิ  กิจกรรม : ขยายผลงานคุ้มครองผู้บริโภค อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภค

อ.หาดใหญ่  กิจกรรม : ให้ความรู้พัฒนาศักยภาพการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค

อ.สะเดา  กิจกรรม  : ให้ความรู้เรื่องฉลากขนมเด็ก

อ.กระแสสินธุ์  กิจกรรม : การตรวจสารปนเปื้อนในผัก  เกษตรอินทรีย์

อ.ระโนด  กิจกรรม : อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับฉลากยา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คุยสรุปงานและเตรียมแผนงานการดำเนินงานในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมแลกเปลี่ยน วางแผนงานร่วมกัน

 

16 20

17. จัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 28 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ นำส่ง สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ คือ รายงานการเงิน ง.1งวดที่ 2 ,ส.2,ส.3

 

2 3

18. ตรวจสอบบัญชี

วันที่ 29 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ผู้สอบตรวจสอบบัญชีการใช้จ่ายโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ให้ผู้สอบตรวจสอบบัญชี เอกสารการเงินค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ ตั้งแต่เริ่มโครงการ 1 เมษายน 2556 - 30 เมษายน 2557

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

ให้ผู้สอบตรวจสอบบัญชี เอกสารการเงินค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ

 

5 5

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 53 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 517,450.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ 084-6316179
ผู้รับผิดชอบโครงการ