task_alt

โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

ชุมชน บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา

รหัสโครงการ 56-00245 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0377

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน เมษายน 2556 ถึงเดือน กันยายน 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมทีมทำงาน

วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนกระบวนการของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการวางแผนกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม  ศึกษาความเป็นไปได้ของกิจกรรมโดยคาดการณ์ จากบริบทของพื้นที่ ในบ้านป่าชิงโดยตรง  และร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นในแต่ละตัวกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานโครงการ งบประมาณที่ สสส.สนับสนุน แจ้งรายละเอียดกิจกรรมและแบ่งหน้าที่ความารับผิดชอบทีมทำงาน มีการวางแผนกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม  ศึกษาความเป็นไปได้ของกิจกรรมโดยคาดการณ์ จากบริบทของพื้นที่ ในบ้านป่าชิงโดยตรง  และร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นในแต่ละตัวกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แจ้งรายละเอียดโครงการ
  • ชี้แจงงบประมาณการทำโครงการ -พูดคุยแลกเปลี่ยนการวางแผนงานในระยะเวลา 1 ปี ผู้เข้าร่วมประชุม 14 คน

 

60 14

2. ประชุมทีมทำงาน

วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจ ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทุกคนร่วมกันวางแผนและจัดการหน้าที่กับตัวเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมทำงานวางแผนงาน - ร่วมกันวางแผนกิจกรรมแรกของโครงการเพื่อนำไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมโครงการของคนในหมู่บ้าน โดยที่ประชุมต้องการให้คนในหมู่บ้านเองเป็นกำลังหลักในการดึงดูดคนเข้ามาร่วมกิจกรรม  จึงมีข้อเสนอว่าเราต้องจัดกิจกรรมเพื่อนสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน สร้างความรักสามัคคี แน่นแฟ้น โดยให้คนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เล่าเรื่อง ประวัติการก่อตั้งบ้านป่าชิง วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่เป็นตัวก่อกำเหนิดให้พวกเราทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีจนถึงวันนี้

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันวางแผนกิจกรรมแรกของโครงการเพื่อนำไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมโครงการของคนในหมู่บ้าน โดยที่ประชุมต้องการให้คนในหมู่บ้านเองเป็นกำลังหลักในการดึงดูดคนเข้ามาร่วมกิจกรรม  จึงมีข้อเสนอว่าเราต้องจัดกิจกรรมเพื่อนสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน สร้างความรักสามัคคี แน่นแฟ้น โดยให้คนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เล่าเรื่อง ประวัติการก่อตั้งบ้านป่าชิง วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่เป็นตัวก่อกำเหนิดให้พวกเราทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีจนถึงวันนี้  มีผู้เข้าร่วม 11  คน

 

60 11

3. ลงพื้นที่ถ่ายภาพ "ทำบุญป่าช้า บ้านป่าชิง"

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม และตระหนักถึงความสำคัญของวิถีชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ถ่ายภาพรวม ของประเพณีในวันนั้น ทั้งภาพรวมของแต่ละบัว  และภาพรวมของการทำบุญตักบาตร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถ่ายทำประเพณี ภูมปัญญา และวิถีชีวิต  คนป่าชิงในสมัยก่อน เพื่อทำ สื่อสารคดี แนะนำความเป็นมาของชุมชนบ้านเรา ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ชิ้นแรก

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ลงพื้นที่ถ่านทำประเพณีการทำบุญป่าช้า บ้านป่าชิง ซึ่งเป็นสถานที่เก็บกระดูกและฝัง ร่างของบรรพบุรุษเรา แต่ก่อน เป็นทำบุญและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่จากเราไปแล้ว  รวมทั้งไปพบปะญาติพี่น้องอีกด้วย
ผู้ที่ถ่ายทำจำนวน 2 คน

 

60 2

4. ระดมความคิดเห็นเยาวชนครั้งที่1

วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดความรู้ใหม่ๆ  ที่ยังไม่เคยทราบมาก่อน  และเรียนรู้จากที่ไหนไม่ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยี่ยมตาฉั้น  นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตาฉั้นเล่าเรื่องทรัพยากร และวิถีชีวิตในอดีต ของบ้านป่าชิง กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมย่อยที่ทีมทำงาน  จะร่วมเก็บข้อมูลของพื้นที่ก่อจจะจัดกิจกรรมเวที เสวนา โดยกิจกรรมแลตา เยี่ยมยาย เป็นเสมือน  ผู้เข้าร่วม  5  คน

กิจกรรมที่ทำจริง

พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ ความทรงจำ  วิถีชีวิต ภาคภูมิใจในอดีต

 

60 10

5. พัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฝึกวิธีการสื่อสารข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านป่าชิง ความเป็นมาของชื่อป่าชิง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่สัมภาษณ์ตาวุ่น เพื่อสอบถามวิถีชีวิต คนป่าชิงสมัยก่อน  และสอบถามความเป็นมาของบ้านป่าชิง

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ตาวุ่น แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ตาวุ่นเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต -  ตาวุ่นเล่า เรื่องการตั้งชุมชนป่าชิง และเล่าความเป็นมาของชื่อป่าชิง
มีผู้เข้าร่วม 3 คน

 

60 3

6. ถ่ายงาน"วิถีชีวิต ป่าชิงในอดีต" (ตาเอี่ยม)

วันที่ 2 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฝึกวิธีการสื่อสารข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านป่าชิง ความเป็นมาของชื่อป่าชิง ได้ชุดความรู้เกี่ยวกับการสร้างถนน หน้าบ้านป่าชิง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่ถ่าย VDO

-ให้ตาเอี่ยมเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ตาเอี่ยม แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ตาเอี่ยมเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต -  ตาเอี่ยมเล่า เรื่องการตั้งชุมชนป่าชิง และเล่าความเป็นมาของชื่อป่าชิง ผู้เข้าร่วม  3  คน

 

60 3

7. ถ่ายงานวิถีชีวิต ป่าชิง "ทวดเพียร"

วันที่ 3 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฝึกวิธีการสื่อสารข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สัมภาษณ์ ทวดเพียร แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ทวดเพียรเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต
- ทวดเพียรเล่าเรื่องการสร้างวัดเชิงคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านป่าชิง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สัมภาษณ์ ทวดเพียร แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ทวดเพียรเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต
- ทวดเพียรเล่าเรื่องการสร้างวัดเชิงคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านป่าชิง

กิจกรรมที่ทำจริง

สัมภาษณ์ ทวดเพียร แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ทวดเพียรเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต
- ทวดเพียรเล่าเรื่องการสร้างวัดเชิงคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านป่าชิง

 

60 3

8. ระดมความคิดเห็นของเยาวชนในเชิงสร้างสรรค์ครั้งที่ 2

วันที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 18:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ไปเยี่ยมปู่จ้วน  บัวหนู  ถามไถ่ทุกข์สุข ปู่จ้วน  ย่าเกลื่อน  นั่งพูดคุย  ปู่จ้วนจะเล่าเรื่องราวที่ประทับใจในอดีต เล่าเรื่องราว ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของคนสมัยแต่ก่อน มีทีมทำงาน 7 คน  ลูกหลานปู่จ้วน 4 คน ปู่จ้วนและย่าเกลื่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ไปเยี่ยมลุงจ้วน  บัวหนู  ถามไถ่ทุกข์สุข ปู่จ้วน  ย่าเกลื่อน  นั่งพูดคุย  ปู่จ้วนจะเล่าเรื่องราวที่ประทับใจในอดีต เล่าเรื่องราว ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของคนสมัยแต่ก่อน มีทีมทำงาน 7 คน  ลูกหลานปู่จ้วน 4 คน ปู่จ้วนและย่าเกลื่อน

กิจกรรมที่ทำจริง

ไปเยี่ยมปู่จ้วน  บัวหนู  ถามทุกข์สุข ปู่จ้วน  ย่าเกลื่อน  นั่งพูดคุย  ปู่จ้วนจะเล่าเรื่องราวที่ประทับใจในอดีต เล่าเรื่องราว ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของคนสมัยแต่ก่อน มีทีมทำงาน 7 คน  ลูกหลานปู่จ้วน 4 คน ปู่จ้วนและย่าเกลื่อน

 

60 11

9. ประชุมทีมทำงาน

วันที่ 11 มิถุนายน 2556 เวลา 18:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนกิจกรรม สาสน์เสวนา ป่าชิงบ้านเรา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วางแผนงาน ต้องการรูปแบบงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง  นำเอาบรรยากาศเก่าๆ มานั่งกินข้าวล้อมวง นั่งพูดคุย
  • วางแผนการเชิญคนเฒ่าคนแก่มาพูดคุยเล่าประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของป่าชิงบ้านเรา
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเตรียมงานเวที สาสน์เสาวนา ป่าชิงอบอุ่น  เรียนรู้ป่าชิง "หลบมาแล ป่าชิงบ้านเรา"

  • วางแผนงาน ต้องการรูปแบบงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง  นำเอาบรรยากาศเก่าๆ มานั่งกินข้าวล้อมวง นั่งพูดคุย
  • วางแผนการเชิญคนเฒ่าคนแก่มาพูดคุยเล่าประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของป่าชิงบ้านเรา
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน

กิจกรรมที่ทำจริง

-วางแผนงาน ต้องการรูปแบบงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง  นำเอาบรรยากาศเก่าๆ มานั่งกินข้าวล้อมวง นั่งพูดคุย

-วางแผนการเชิญคนเฒ่าคนแก่มาพูดคุยเล่าประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของป่าชิงบ้านเรา - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน

มีผู้เข้าร่วม 10  คน

 

60 10

10. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ฝึกการรายงานผลการดำเนินโครการผ่านเว็ปไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ชีแจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินโครงการ
  • การติดตามกระประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • การสนับสนุนการติดตามประเมินผลผ่านเว็ปไซต์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชีแจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินโครงการ
  • การติดตามกระประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • การสนับสนุนการติดตามประเมินผลผ่านเว็ปไซต์

 

2 2

11. ระดมความคิดเห็นเยาวชนเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่3

วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้องๆ  มีความสนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นในการวางแผนการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่ศึกษาวิถีวัฒนธรรมของป่าชิง  บ้านเรา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การบริหารจัดการโครงการ
  • การบริหารจัดการงบประมาณ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การบริหารจัดการโครงการ  วางแผนการทำงาน ร่วมกันเสนอประเด็นที่น่าสนใจในชุมชนป่าชิงบ้านเรา  รวมถึงสถานที่สำคัญของป่าชิง  และออกแบบการมาตรการปกป้อองทรัพยากร
  • การบริหารจัดการงบประมาณ  แะการสนับสนุนกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 13  คน

 

60 13

12. ประชุมเตรียมความพร้อม และแบ่งงานกิจกรรม สาสน์เสวนา ป่าชิงอบอุ่น "หลบมาแล ป่าชิงบ้านเรา"

วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 21:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนและทำความเข้าใจกิจกรรมให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการวางแผนงาน  แต่เกิดการถกเถียงกันหลายประเด็นทำให้ได้พูดคุยกันยังไม่ครบทุกประเด็นตามที่วางแผนไว้
  • เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของบริบทพื้นที่ ทำให้ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเตรียมงาน สาสน์เสวนา ป่าชิงอบอุ่น (เรียนรู้ป่าชิง) ทีมทำงานร่สมกันวางแผนและจัดรู

กิจกรรมที่ทำจริง

-  คณะทีมทำงานร่วมกันประชุมเพื่อเตรียมงาน เวทีสาสน์เสวนา ป่าชิงอบอุ่น เรียนรู้ป่าชิง "หลบมาแลป่าชิงบ้านเรา"

-  วางแผนการทำงาน และแบ่งหน้าที่งาน

 

60 12

13. คืนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินเปิดบัญชี 

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินเปิดบัญชี

 

2 2

14. เตรียมงาน เวที สาสน์เสวนา "หลบมาแลป่าชิงบ้านเรา"

วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมความพร้อมงาน สาสน์เสวนา บ้านป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทีมสถานที่ เตรียมพร้อมเรื่องสถานที่ เตรียมพื้นที่ต้อนรับคนมาร่วมกิจกรรม
  • ทีมเทคนิค เตรียมเช็คเครื่องเสียง ไฟล์ข่าวพลเมือง สารคดีที่จะเปิดในงาน
  • ทีมศิลป์ จัดสถานที่จัดป้ายโครงการ และ จัดนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เตรียมจัดพื้นที่และวางแผนการทำกิจกรรมวันพรุ่งนี้ (23มิ.ย. 56)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมสถานที่ เตรียมพร้อมเรื่องสถานที่ เตรียมพื้นที่ต้อนรับคนมาร่วมกิจกรรม
  • ทีมเทคนิค เตรียมเช็คเครื่องเสียง ไฟล์ข่าวพลเมือง สารคดีที่จะเปิดในงาน
  • ทีมศิลป์ จัดสถานที่จัดป้ายโครงการ และ จัดนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก

ผู้เข้าร่วม 5  คน

 

60 5

15. สาสน์เสวนาบ้านป่าชิง

วันที่ 23 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเกิดความตระหนักรักษ์บ้าน(ป่าชิง)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคนเข้ามาเรียนรู้เกินตามเป้าหมายที่เราวางไว้ และคนเฒ่าคนแก่ก็มีข้อมูลหลายส่วนที่จะเล่าลงลึกได้มากกว่าประเด็นที่ได้รับมอบหมายให้บรรยาย จึงคิดว่าน่าจะนำไปสู่การต่อยอดการเรียนรู้ครั้งต่อไปที่ลึกกว่าวันนี้  และภูมิปัญญาบางอย่าง อยากจะลงมือปฏิบัติจริง

  • ช่วงหลังๆเด็กๆ เริ่มจะให้ความสนใจน้อยลง เพราะเป็นการบรรยายเพียงอย่างเดียว

  • การเรียนรู้ในซุ้มนิทรรศการ เด็กๆก็ให้ความสนใจ  แต่ยังมีของเล่นที่น้อยเกินไป น่าจะมีของเล่นที่มากกว่านี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมสาสน์เสวนา(dialogue) ป่าชิงอบอุ่น ผลัดกันดูแลลูกฉันลูกเธอ
วิธีการ
-พัฒนาแกนนำเด็กในการทำ Dialogue  เป็นกระบวนการนำสาสน์เสวนาโดยทีทมำงานสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดกระบวนการกลุ่มเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองผู้นำชุมชน
เพื่อให้เกิดภาพอันพึงประสงค์ร่วมกันของคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมตามแผนที่ทีมทำงานร่วมกันวางไว้และได้ปฎิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าร่วมเวที สาสน์เสวนาในครั้งนี้ คือต้องการผู้เข้าร่วมทุกวัย ทั้งคนเฒ่าคนแก่ คนกลางคน เด็กๆ มาร่วมวงเสวนาครั้งนี้เพื่อช่วยกันเติมเต็ม ความต้องการความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนบ้านป่าชิง  โดยมี - กิจกรรม ทานข้าวล้อมวง เสมือนกินข้าวบ้านพี่บ้านน้อง มาพบปะพูดคุยกันในวงอาหาร  มีการเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน - คนเฒ่าคนแก่ในบ้านป่าชิง เป็นทั้งปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญา เข้ามาให้ความรู้ในข้อมูลส่วนที่เป็นอดีต ดังนี้

1.ปู่จ้วน  บัวหนู  ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญา

2.ตาเอี่ยม เพชรศรี  ปราชญ์ชาวบ้านด้านประเพณีวัฒนธรรม

3.ตาฉั้น  บัวหนู    ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาชีพ  และครูภูมิปัญญาด้านการเกษตร

4.ตาเกลื้อม แก้วนะ  ครูภูมิปัญญา มโนราห์พื้นบ้าน โนราห์โรงครู

5.ตาเปือน ชูหนู  ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต บ้านป่าชิง

นอกจากนั้น  ยังมีคนเฒ่าคนแกในบ้านป่าชิง  มาเล่าวิถีชีวิต  และความเป็นอยู่ในสมัยแต่ก่อน อีก 2 ท่าน  คือ ตาภู่ มะลิวัลย์  และตาฉุ้น  บัวหนู

  • มีซุ้มนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก  ทั้งเดินกะลามะพร้าว  ฉับโพง  ม้าก้านกล้วย  ปืนก้านกล้วย  ไว้ให้เด็กๆ เข้ามาศึกษาเรียนรู้และได้ลองย้อนอดีตเล่นของเล่น แต่แรกของบ้านเรา ซึ่งเป็นของเล่นที่ทำขึ้นเอง  ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องขาย และที่สำคัญเป็นภูมิปัญญาที่สมัยนี้หาเล่นได้ยากมาก

บรรยากาศในวันนี้เปรียบเสมือน พ่อเฒ่าเล่านิทานแต่แรกให้ลูกๆ หลานๆฟัง ลูกหลาน สงสัยอะไรก็ซักถามพ่อเฒ่า และร่วมกันเติมเต็ม ภาพป่าชิงที่เราอยากเห็นทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 88 คน

  • วิทยากร 5 คน + ผู้ให้ความรู้เพิ่มเติม 2 คน =  7 คน

  • ทีมทำงาน                15  คน

  • ผู้เข้าร่วม                  64  คน

  • ทีมพี่เลี้ยงจาก สจรส.    2  คน

          รวมทั้งหมด  88 คน

 

60 100

16. ประชุมแกนนำเยาวชน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ  มีความตั้งใจและมีศักยภาพสูงกว่าที่คาดหวังไว้  ทำให้เขาออกแบบกิจกรรมได้น่าสนใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแกนนำเยาวชนที่สนในร่วมโรงการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำเยาวชนเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่เขาต้องการจะทำเสริม    อย่างเช่น - ปลูกต้นไม้รอบคลอง - ขุดลอกคลองกรวด ซึ่งเป็นคลองตายน้ำไม่ได้ถ่ายเปลี่ยน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำ - ปล่อยปลา ในคลอง  เพื่อเป็นแหลงอาหารให้คนป่าชิงและใกล้เคียง มีผู้เข้าร่วม 7  คน

 

60 7

17. ประชุมละติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรม ของทีมทำงาน

วันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ของมูลที่เป็นข้อเท็จจริงของชุมชน  และเกิดก่ีเรียนรู้ใหม่ๆ  เมื่อต่างฝคนต่างมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรม  ของทีมทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม  ที่ผ่านมา แล้วร่วมกันถอดบทเรียนกลไกที่ก่อให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อทีมทำงาน  และเด็กๆ ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม ทำให้เห็บพัฒนาการมีคนเข้ามามีส่วนร่วมและสนใจติดตามกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น นำเอาเรื่องราวที่เรียนรู้มาเล่าสู่กันฟังแล้วช่วยกันถอดบทเรียนร่วมกัน มีผู้เข้าร่วม 13 คน

 

60 13

18. สร้างสรรค์บ้านป่าชิง ครั้งที่ 1

วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้มีพื้นที่ในการคิดร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ  มาร่วมกันศึกษา การเล่นดนตรี  และร่วมกันแต่งเพลง  เกิดความสนุกสนาน ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการแต่งเพลงเพื่อสื่อสารออกมาได้ี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันแต่งเพลงเพื่อปลุกจิตสำนึกให้รักษ์ บ้านเกิด

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กๆ ร่วมกันแต่งเพลง “เพลง ให้บ้านเรา” แต่งเพลงที่มีความหมายให้  รัก และรักษ์  บ้านเรา  นำทีมโดยพี่วัจน์  สุวัจน์  มุสิการัตน์  ร่วมกันแต่งเนื้อเพลงและแกะคอร์ส เพลง  เพื่อเป็นการเรียนรู้การแต่งเพลงเบื้องต้น  น้องเจมส์  น้องข่า น้องตะใคร้ น้องฟิล  ช่วยกันแต่งเพลงรักษ์ป่าชิง  แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  สังเกตเห็นแววตาและความสนุกสนานของเด็กๆ เพราะว่าหลายคนอยากเล่นเครื่องดนตรี และร้องเพลง มีผู้เข้าร่วม 7 คน

 

60 7

19. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 1

วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางมาตรการปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลคลองพลู  และสามารถบอกถึงความสำคัญกับคนบ้านป่าชิงได้ และได้สื่อสารลงบนเฟสบุ๊ค ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารอีกช่องทางหนึ่ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันกำหนดกรอบในการออกสำรวจพื้นที่คลองพลู

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันกำหนดกรอบในการออกสำรวจพื้นที่คลองพลู  เพราะ พวกเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของคลองพลูแม้ว่าจะเป็นสายน้ำสายเล็กๆ แต่คลองพลูก็มีน้ำตลอดปี ไม่เคยแห้ง และที่สำคัญที่สุด คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน เราจึงมองเห็นความสำคัญของคลองพลู จึงตั้งทีม “นักสืบ สายน้ำ”  เพื่อเก็บข้อมูลของคลองพลูและการใช้น้ำอย่างละเอียดแล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ว่าน่าจะต้องสร้างฝายชะลอน้ำ  โดยต้องปรึกษากับผู้ที่รู้เรื่องนี้โดยตรง  แต่เด็กๆ ก็ช่วยกันเก็บข้อมูลพื้นฐานของคลองพลู  โดยแผนการที่วางไว้คือวันพรุ่งนี้  มีผู้เข้าร่วม 5  คน

 

60 5

20. เฝ้าระวังทางสังคมครั้งที่ 1

วันที่ 22 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางมาตรการปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กได้เรียนรู้ประโยชน์ของคลองพลูและการนำน้ำจากคลองไปใช้ประโยชน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล คลองพลู เพื่อศึกษาการพึ่งพาของคนกับคลองพลู

กิจกรรมที่ทำจริง

“นักสืบ สายน้ำ”  ลงพื้นที่ คลองพลู เด็กๆตั้งความคาดหวังก่อนที่จะออกเดินทางไปยังคลองพลูดังนี้ 1. เราต้องการจะสืบหาต้นน้ำของคลองพลูอย่างแท้จริง  ว่ามีกี่แห่ง 2. วัดขนาดความลึกของคลองพลู 3. กะความยาวของคลองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 4. สำรวจว่ามีสิ่งมีชีวิตกี่ชนิด 5. สำรวจพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรอบๆคลอง 6. สำรวจปริมาณน้ำ ในแต่ละช่วงฤดู เมื่อลงพื้นที่จริง เด็กๆ  เก็บข้อมูลได้ยังไม่ครบทุกข้อที่วางไว้ เนื่องด้วยสภาพของคลองมีความแตกต่างกันมาก ส่วนของต้นน้ำจะเป็นเส้นทางน้ำสายเล็กๆ และระยะทางห่างกันมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนแผน  ศึกษาแต่เฉพาะส่วนของต้นน้ำเท่านั้น จึงได้ข้อมูลเฉพาะส่วนของต้นน้ำ มีผู้เข้าร่วม 5 คน

 

60 5

21. ประชุมทีมทำงานและถอดบทเรียนงานที่ผ่านมา

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้ใหญ่และเยาวชนใยชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมทำงานได้มีส่วนร่วมรับรู้กิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการและร่วมกันเสนอแนะกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมทำงาน  ร่วมกันถอดบทเรียนงานที่ผ่านมา  และร่วมกันวางแผนการทำงานขั้นต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมทีมทำงาน  ร่วมกันถอดบทเรียนงานที่ผ่านมา  และร่วมกันวางแผนการทำงานขั้นต่อไป  และมีการพัฒนาวัดเชิงคีรี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลปกป้องสถานที่สาธารณะของชุมชน มีผู้เข้าร่วม 9 คน

 

60 9

22. ประชุมทีมเยาวชนทำสื่อ และถอดบทเรียนสื่อที่ผลิต

วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดกระบวนการคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีแกนนำจำนวน 5  คน  สนใจที่จะทำสื่อประชาสัมพันธ์บ้านป่าชิง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่นำเสนอข้อมูลกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการให้นักเรียนได้ทราบและร่วม กันวางแผนกิจกรรม และการทำข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

วางแผนการทำสื่อ  การผลิตสื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์บ้านป่าชิง  มีผู้เข้าร่วม 5 คน

 

60 5

23. กระบวนการใช้หลักจิตวิทยาบำบัด

วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฝึกสมาธิในการจัดการกับอารมณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้องๆ  มีพื้นฐานในการทำสมาธิ  จึงเกิดความนิ่งและทำกิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การใช้หลักจิตวิทยาบำบัด เพื่อให้เด็กมีกฏใจการจัดการกับอารมณ์ตนเอง  ออกแบบให้มีการวาดรูป  เพื่อให้เกิดสมาธิ

กิจกรรมที่ทำจริง

การใช้หลักจิตวิทยาบำบัด เพื่อให้เด็กมีกฏใจการจัดการกับอารมณ์ตนเอง  ออกแบบให้มีการวาดรูป  เพื่อให้เกิดสมาธิ มีผู้เข้าร่วม 6 คน

 

60 6

24. "เรียนรู้วิถีชีวิต คน-คลอง"

วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ และเรียนรู้แนวทางพึ่งตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้องๆให้ความร่วมมือและให้ข้อเสนอกิจกรรมที่หลากหลาย คิดเป็น 90 % และมีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับกิจกรรม ถือเป็นการพักผ่อนอีกวิธีหนึ่ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการคิดของเด็กในชุมชนว่าเกิดความสนใจหรือมีจิตสำนึกรักษ์บ้านมากน้อยเพียงไร 

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงพื้นที่คลองนาทับเพื่อศึกษาวิถีชีวิต คนรอบคลองนาทับ และได้ลงเก็บหอยนางรมด้วยตัวเอง เพ มีผู้เข้าร่วม 5  คน

 

60 5

25. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 1

วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกรบวนการคิดในการพึ่งพาตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้องๆให้ความร่วมมือและให้ข้อเสนอกิจกรรมที่หลากหลาย คิดเป็น 90 %

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการคิดของเด็กในชุมชนว่าเกิดความสนใจหรือมีจิตสำนึกรักษ์บ้านมากน้อยเพียงไร

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันเสนอสถานที่สำคัญของบ้านป่าชิง  ซึ่งมีน้องๆ เสนอ ตั้งแต่ วัด โรงเรียน ทวดเพชร ทวเลียบ  คลองนุ้ย  คลองโพมา  คลองพลู คลองเฉียงพร้า แล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าสถานที่ดังกล่าวมีความสำคัญกับตัวเรามากน้อยเพียงไร  มีผู้เข้าร่วม 10 คน

 

60 10

26. สร้างสรรค์ป่าชิง ครั้งที่ 2

วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้มีพื้นที่ในการคิดร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีเพลงที่เกี่ยวกับบ้านป่าชิง  เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนตระหนักถึงวิถีชุมชนที่บรรพบุรุษได้สร้างมา  เพราะเป็นวิถีที่ยั่งยืน คนที่ยังคงดำรงวิถีนี้อยู่จะอยู่ย่างมีความสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แต่งเพลงป่าชิงบ้านเรา

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กๆ ร่วมกันแต่งเพลง “เพลง ให้บ้านเรา” แต่งเพลงที่มีความหมายให้  รัก และรักษ์  บ้านเรา  นำทีมโดยพี่วัจน์  สุวัจน์  มุสิการัตน์  ร่วมกันแต่งเนื้อเพลงและแกะคอร์ส เพลง  เพื่อเป็นการเรียนรู้การแต่งเพลงเบื้องต้น  น้องเจมส์  น้องข่า น้องตะใคร้ น้องฟิล  ช่วยกันแต่งเพลงรักษ์ป่าชิง  แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  สังเกตเห็นแววตาและความสนุกสนานของเด็กๆ เพราะว่าหลายคนอยากเล่นเครื่องดนตรี และร้องเพลง มีคนเข้าร่วม  6  คน

 

60 6

27. ประชุมทีมทำงาน

วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ของผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พูดคุยสรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป มีทีมทำงานได้เสนอแนวคิดการทำกิจกรรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก  ผู้ปกครองของเด็กรับรู้และข้าใจการมาทำกิจกรรมของเด็ก  และทราบว่าแต่ละครั้งลงพื้นที่ที่ไหน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พูดคุยสรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป

กิจกรรมที่ทำจริง

พูดคุยสรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป  มีคนเข้าร่วมประชุม 7  คน

 

60 7

28. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 2

วันที่ 4 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความตระหนักคิด ถึงทรัพยากรของบ้านเรา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลของคลองตรงตามเป้าหมายที่วางไว้  น้องโม เป็นคนในพื้นที่รอบตคลองเฉียงพร้าได้บรรยายความสนุกเมื่อได้ลงไปเล่นน้ำคลองฉียงพร้า แล้วสามารถบอกได้ว่าส่วนไหนตื้น ส่วนไหนลึก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ศึกษาสภาพ รอบคลองเฉียงพร้า

กิจกรรมที่ทำจริง

“นักสืบ สายน้ำ”  ลงพื้นที่ คลองเฉียงพร้า เด็กๆตั้งความคาดหวังก่อนที่จะออกเดินทางไปยังคลองดังนี้ 1. เราต้องการจะสืบหาต้นน้ำของคลองเฉียงพร้าอย่างแท้จริง  ว่ามีกี่แห่ง 2. วัดขนาดความลึกของคลอง 3. กะความยาวของคลองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 4. สำรวจว่ามีสิ่งมีชีวิตกี่ชนิด 5. สำรวจพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรอบๆคลอง 6. สำรวจปริมาณน้ำ ในแต่ละช่วงฤดู เมื่อลงพื้นที่จริง เด็กๆ  เก็บข้อมูลได้ยังไม่ครบทุกข้อที่วางไว้ เนื่องด้วยสภาพของคลองมีความแตกต่างกันมาก ส่วนของต้นน้ำจะเป็นเส้นทางน้ำสายเล็กๆ และระยะทางห่างกันมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนแผน  ศึกษาแต่เฉพาะส่วนของต้นน้ำเท่านั้น จึงได้ข้อมูลเฉพาะส่วนของต้นน้ำ มีผู้เข้าร่วม 7 คน

 

60 7

29. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 2

วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลของบ้านป่าชิง ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมและตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เก็บข้อมูล เกี่ยวกับชุมชนป่าชิงเพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าในการสร้างหนังสั้น

กิจกรรมที่ทำจริง

เยาวชนกลุ่ม “หลบมาแล ป่าชิงบ้านเรา”  ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน  ตอน ความเชื่อของคนป่าชิง พวกเรามารวมตัวกันแล้ววางแผนในการลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลมา  อย่างถูกต้องที่สุด  โดยพวกเราชวนกันเดินขึ้นไปบนควนป่าชิง จุดมุ่งหมายของพวกเราคือ ศาลาทวดเพชร  โดยมี ตาฉุ้น  นายฉุ้น  บัวหนู  เป็นคนให้ความรู้ ตาฉุ้นเล่าว่า ทวดเพชรเป็นรุขเทวดาที่เราชาวป่าชิงเคารพนับถือมาเป็นระยะเวลานานมาแล้ว  ทวดเพชรที่ว่านี้เป็นต้นไข่เขียว หรือ ต้นไก่เขียว  ข้างลำต้นมีพอนของต้นออกมาเป็นรูปคนยืนอยู่ หันหน้าไปยังควนป่าชิง  คาดว่าต้นทวดนี้ น่าจะมีอายุประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ชาวป่าชิงนับถือบูชาเพราะเชื่อว่าทวดเพชรเป็นเทวดาที่คอยดูแลปกป้องบ้านป่าชิง  ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็จะบอกจะกล่าวขึ้นมาลอยๆ “ลูกจะไปข้างนอก  ให้ทวดเพชร ได้ปกป้องคุ้มครองด้วย”  หรือหากทำนาทำสวนจะให้ได้ผลดี ก็บอกกล่าวทวดให้ปกป้องพืชพันธุ์ ด้วย ตาฉุ้นยังเล่าอีกว่า ชาวบ้านจะทำบุญให้กับทวดทุกๆ ปีเพื่อแสดงความนับถือ และขอบคุณที่คอยปกป้องบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข มีผู้เข้าร่วม 6  คน

 

60 6

30. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 2

วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบวิธีการสร้างสื่อ  เพื่อสื่อสารเรื่องราวในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลในส่วนของ
-สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในคลองและรอบคลอง - การใช้ประโยชน์จากคลอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สำรวจเก็บข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของคลองเฉียงพร้า

กิจกรรมที่ทำจริง

สำรวจความอุดมสมบูรณ์ของคลองเฉียงพร้า
-  การใช้ประโยชน์จากคลอง -  ความสมบูรณ์ของคลอง

ผู้เข้าร่วม 7  คน

 

60 7

31. สรุปผลการเก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง

วันที่ 9 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงาน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เปลี่ยนรูปแบบการถอดบทเรียนมาเป็นการเขียนบรรยา  การทำกิจกรรมที่ผ่านมา  เรารู้สึกอย่างไร  ทำให้เด็กๆ ได้สะท้อนแง่คิดออกมาได้ดีกว่าการพูด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลการเก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง  และร่วมกันถอดบทเรียนการทำกิจกรรมที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการเก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง  และร่วมกันถอดบทเรียนการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้เราพบว่าบ้านเรา(ป่าชิง)ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ท้งทรัพยากร วัฒนธรรมวามเชื่อวิถีชีวิต และยังเป็นแลงเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด มีผู้เข้าร่วม 9 คน

 

10 10

32. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 3

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 11:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางมาตรการร่วมกันในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กมีความตั้งใจและร่วมมือในการเก็บข้อมูล และเกิดความรู้สึกตระหนักรักทรัพยากรในชุมชนมากขึ้น เมื่อน้องโม  เจอเห็ดนมหมูซึ่งเป็นตัวบ่งบอกควาสมบูรณ์ของพื้นที่  จึงเป็นประเด็นให้เด็กๆได้พูดจา แลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอาหารในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากคลองพลู

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันกำหนดกรอบในการออกสำรวจพื้นที่คลองพลู  เพราะ พวกเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของคลองพลูแม้ว่าจะเป็นสายน้ำสายเล็กๆ แต่คลองพลูก็มีน้ำตลอดปี ไม่เคยแห้ง และที่สำคัญที่สุด คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน เราจึงมองเห็นความสำคัญของคลองพลู จึงตั้งทีม “นักสืบ สายน้ำ”  เพื่อเก็บข้อมูลของคลองพลูและการใช้น้ำอย่างละเอียดแล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ว่าน่าจะต้องสร้างฝายชะลอน้ำ  โดยต้องปรึกษากับผู้ที่รู้เรื่องนี้โดยตรง  แต่เด็กๆ ก็ช่วยกันเก็บข้อมูลพื้นฐานของคลองพลู  มีผู้เข้าร่วม  7  คน

 

60 7

33. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง ครั้งที่ 3

วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบวิธีการสร้างสื่อ  เพื่อสื่อสารเรื่องราวในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ มีความตั้งใจในการวาดภาพ  และอยากให้ภาพที่ตนวาดอกมาสวยสะดุดใจ คนที่เข้ามาดู

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันออกแบบวิธีการสื่อสาร ให้คนบ้านป่าชิงเห็นถึงความสำคัญของคลองเฉียงพร้า  และคลองอื่นๆ  ในบ้านเรา

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กๆ ช่วยกันวาดรูปภาพป่าชิงในความประทับใจของแต่ละคน เพื่อเป็นมุมมองเล็กให้คนที่ดูได้เห็นว่ามุมมองเล็กของป่าชิงก็มีความหมาย อย่าเช่น ควนป่าชิง  ที่ทุกคนก็เห็นกันอยู่ทุกวันแต่ไม่ได้ใส่ใจ ว่ามีความสำคัญกับตัวเรามากน้อยแค่ไหน  และมีความสวยามอย่างไร คนที่มองผ่านภาพนี้แล้ว  คงจะไปหยุดดูความสวยงามของคลองป่าชิง "น้องตะใคร้ กล่าว ขึ้นมาขณะวาดรูป"
มีผู้เข้าร่วม  7  คน

 

60 7

34. เก็บข้อมูงชุมชนป่าชิงครั้งที่ 3

วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบวิธีการสร้างสื่อ  เพื่อสื่อสารเรื่องราวในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ  ให้ความร่วมมือและร่วมกันวาดภาพคลองเฉียงพร้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันออกแบบวิธีการสื่อสาร ให้คนบ้านป่าชิงเห็นถึงความสำคัญของคลองเฉียงพร้า  และคลองอื่นๆ  ในบ้านเรา

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กๆ ช่วยกันวาดรูปคลองเฉียงพร้าในมุมที่ตนเองชอบ  เพื่อสื่อสารว่าตัวเองต้องการสภาพคลองอย่างไร  พื่อเป็นสื่อให้คนในปาชิงได้ตระหนักถึงความสำคัญของคลอง และวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับคลอง  โดยมีผู้เข้าร่วม 9 คน

 

60 9

35. ระดมความคิดเห็นเยาวชนในเชิงสร้างสรรค์ครั้งที่ 4

วันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการคิด ออกแบบวิธีการสื่อสารในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ และผู้ใหญ่ ให้ความร่วมมือสะท้อนผลงานที่ได้ดูไป แล้ววิเคาระห์ว่าเราจะไม่ทิ้งกัน หากมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไป ทีมผู้ใฟหญ่ใหฟ้ความช่วยเหลือเด็กๆเต็มที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เด็กๆและเยาวชน  ร่วมกันทานข้าว โดยมีทีมที่ปรึกษาเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป

กิจกรรมที่ทำจริง

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเด็กและยาวชนป่าชิง ร่วมกันดูผลงาน วิคราะห์การทำงาน ที่ผ่านมา เพื่อสื่อสารว่าวิถีในอดีตและที่เป็นอยู่ยังมีความเป็นชุมชนที่แท้จริง  ดังนั้นคนที่จะวางแผนขับเคลื่อนชุมชนนั้นก็คือคนบ้านเราเอง  เพื่อเป็นสื่อให้คนในปาชิงได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องราวบ้านเราเอง  มีผู้เข้าร่วม 16 คน

 

60 16

36. ฝึกกระบวนการสร้างแกนนำเยาวชนในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับชุมชนบ้านป่าชิง

วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารในชุมชน โดยคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลเกินความคาดหวัง  มีนักเรียนให้ความสนใจกิจกรรม ประมาณ  80%

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่นำเสนอข้อมูงกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการให้นักเรียนได้ทราบและร่วม กันวางแผนกิจกรรม และการทำข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านป่าชิง  28 กรกฎาคม 2556
เริ่มต้นด้วยการดูภาพกิจกรรมการศึกษาชุมชนที่พี่จอยทำ มีเด็กๆ บางส่วนในห้องนี้ไปร่วมและมีรูปอยู่ด้วย
แนะนำตัวพี่จอยเป็นใคร ลูกใครมีใครเป็นพี่น้องบ้าง ชื่อน้อง เฟิร์น  บอล บาว โดน มีน นอกถนน ข้ามสะพานไปด้วย ดอน เฉียงพร้า  น้อยหน่า บ้านอยู่ควนมิน พิว ขิม ม้าเงย เชียร์ ศาลานำ้  อยู่ม้าเงย บ้านจริงอยู่กำแพงเพชร ดิว ควนมิน กาฟิว ถนนพาด กุ๊ก นารอบ จิกกี๊ ม้าเงย แอน นารอบ  พีชไทรขึง กวาง นารอบ พี่พี่กุ๊ก  พี่วัฒ บ้านอยู่ไทรขึง
พี่จอย มีโครงการสสส.สนับสนุนชุมชน มีงบประมาณอยู่ มาชวนพวกเราทำกิจกรรมชุมชน ชวนกันศึกษาชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน ทำให้เห็นเป็นรูปธรรม ทำให้เห็นได้  อย่างทำเป็นวิดีโอ พ่อแม่ทำสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวัน ถ้าน้องๆ ได้มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน ก็จะทำให้เห็นชัดขึ้น
มีพี่ๆ คนอื่นๆ พี่เจม ตอนนี้มีพี่รุ่นเก่าเป็นแกนนำ เราลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล ไปกันหลายที่แล้ว แอนไปคลองเฉียงพร้ามา วาดรูป เล่นนำ้ หาหอย
แอน วาดรูปและเขียนบรรยาย ไปงมหอยกัน  ของที่บ้านกวางไม่ได้กินพ่อเอาไปผัดเผ็ด กินอร่อย
น้องเฟิร์น ได้ไปนั่งคุยกับพี่ๆ ที่บ้านพี่จอย ไปกินข้าว ไก่ทอด แกงจืด ผัดเผ็ดหมู พี่ๆ คิดเมนูด้วยกัน แล้วเอาผลงานที่พี่ๆ เขาทำกันมา เอามาโชว์
เปิดซีดีชุดที่สอง  เล่าประวัติบ้านป่าชิง
ถามชื่อ คุณตาที่พูด ใครรู้จักบ้าง ตอบ ตาเชี่ยง
ป่าชิงเรามาจากไหนกันแน่ ข้อมูลที่พวกเราไปช่วยกันทำ จะทำให้เรารู้ว่าบ้านป่าชิงเรามาจากไหนกันแน่
พวกเราอยากทำอะไรกันบ้าง  วาดรูป  ทำวิดีโอ  ถ่ายภาพนิ่ง นิทรรศการของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น  ทำหนังสือพิมพ์ชุมชน สิ่งประดิษฐ์-ทำกระปุกออมสิน จากไม้ไผ่
โพรงงู สำคัญกับป่าชิง ตรงที่คนบ้านเราใช้นำ้มาทำนา
คลองเฉียงพร้า  ที่มีกอสาคูมากๆ
นักสืบสายนำ้ดูปลา แลสายนำ้  เขาจะสืบว่านำ้สายนี้มาจากไหน  คลองพลูจากจากควนไน คลองเฉียงพร้ามาจากเหมืองหิน ดูว่ามีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง ไปโดดคลองกันมา งมหอยโข่ง ได้มากถุงใหญ่ประมาณ 5  กิโลได้ เก็บกัน 7  คน
อยากทำกิจกรรมกันวันเสาร์อาทิตย์  บางคนไม่ไป เพราะเล่นเกม
สถานที่ที่น่าสนใจบ้านป่าชิง  คลองเฉียงพร้า คลองพลู คลองโพมา  คลองนุ้ย คลองตรวจ วัด โรงเรียน  คลองยาง  ทวดเพชร อยู่หลังวัด ทวดเลียบ ทวดโคมาเป็นโคนินตัวสีดำ ขี้ออกทอง ส่วนคลองโพมาใต้นำ้จะมีโพรง มีจระเข้อาศัยอยู่ คราวหน้าจะมีคนที่รู้มาเล่าให้ฟัง  ทางรถไฟ
อยากไปทำกิจกรรมที่คลองเฉียงพร้าเป็นที่แรก  สองคลองโพมา คลองโพมา  ทวดโพมา ทวดเพชร  คลองยาง คลองนุ้ย  คลองตรวจ วัด ทวดเลียบ  มีผู้เข้าร่วม 22  คน

 

60 22

37. นิเทศรายงานโครงการกับทีมพี่เลี้ยง

วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการ ร่วมปรึกษาและแก้ปัญหากับพี่เลี้ยงโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ติดตามและแก้ไขรายละเอียดเอกสารการเงิน รายงาน ส1  ส2

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานและติดตามการทำงานโครงการ เยาวนักพัฒนา(ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

กิจกรรมที่ทำจริง

รายงานและติดตามการทำงานโครงการ เยาวนักพัฒนา(ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)  ติดตามและแก้ไขรายละเอียดเอกสารการเงิน

 

2 0

38. ประชาคมหมู่บ้านและรายงานกิจกรรมที่ผ่านมา

วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนป่าชิงร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และเสนอแนวคิด  และร่วมกันหาทางออก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมประชาคมหมู่บ้านและรายงานกิจกรรมที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีประชาคมหมู่บ้าน...ประชาคมหมู่บ้านกับการจัดการตนเอง  และสรุปงานเยาวชนที่ผ่านมา

ตอนนี้โรงไฟฟ้าจะนะจะมาทำคูให้ เพื่อพิจารณาการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม  หลังจาก “อาจารย์จำลอง น้ารุณ ครูนพ” ประสานงานวางแผน พูดคุยกัน การดำเนินการมีการบริจาคที่ดิน ที่ต้องเปิดเป็นคลองขนาดกว้าง ยาว “ครูจำลอง” ให้ข้อมูลว่า มีการถมที่กันมาก ทางน้ำมี 4 เมตร ทางถนนรถไฟเดิมมีบ่อดิน สะพานรถไฟ น้ำต้องให้ไหลลงทางบ่อจีนเดิม ทำให้น้ำไหลสะดวก ตอนนี้มีเอื้องเต็มขวางทางน้ำการระบายน้ำลงแนวตามทางรถไฟ ตรงอื่นเป็นที่เอกชนเขาถมหมดแล้ว มีบ่อดินอยู่ 4 เมตร จะให้น้ำไหลไปทางทุ่งแนะก็ไม่ได้ เราต้องเปิดทางน้ำ ลอกด้านข้าง ขุดคลองใต้สายไฟแรงสูง ตั้งเป้าว่าจะขุดยี่สิบเมตร ประสานทางหลวงให้เจาะถนน เป้าหมายเพื่อระบายน้ำทุ่งป่าชิงให้ลงไปทุ่งและคลองแม่น้ำให้ได้เร็วที่สุด มีเจ้าของที่สามเจ้า น้าบูลหนึ่งแปลง น้องแหวง ลุงจันทร์ ได้ไปคุยสามแปลงนี้แล้ว ทุกคนให้เนื่องจากของน้าบูล ตรงนี้ห้าสิบเมตรความกว้างของสายไฟ ขุดพื้นที่ไปแล้วในที่ของน้าบูลเอง เมื่อขุดลึกประมาณแปดเมตร ที่เราคิดไว้ขุดแนวนี้ยี่ิสิบเมตร เอาดินมาทำถนนให้เขากว้างประมาณสิบเมตร ทำให้เขาเข้าที่ดินได้ ของลุงจันท์ไม่ติดถนน สามารถเข้าตรงนี้ได้เช่นเดียวกับของน้องแหวง ของน้าบูลเว้นทางด้านหลังเป็นทางเข้า มันจะกลายเป็นกำแพงขวางน้ำที่ผ่านมาได้ ได้พูดคุยกันสองสามครั้ง โดยวางไว้ว่าทางแรก ทำทาง อิฐบล๊อก ใช้งบประมาณล้านกว่าบาท เสนอให้ใส่ท่อหนึ่งเมตร ใช้งบประมาณห้าแสนกว่าบาท กระบวนการขุด ได้คุยกับโรงไฟฟ้า เขาจะออกเครื่องจักรในการขุด
ทางชุมชนเจรจาเรื่องพื้นที่ เรื่องนี้เป็นปัญหาของหมู่หนึ่งของเราเอง ความเห็นพี่น้อง จะเอางบมาจากไหน หนึ่งล้าน แปดแสน ห้าแสน มีการคุยคร่าวๆ ว่าอาจมีการเลี้ยงน้ำชา เป็นทางหนึ่ง รู้ปัญหาแล้วส่งผ่านไปทางหน่วยงานของท้องถิ่นด้วยได้ไหม ถ้าไม่ใช่ทางสาธารณะไม่สามารถกระทำได้ ทางท้องถิ่นจะช่วยผลักดันหาจากหน่วยงานอื่น ประสานทางอำเภอประสานรถไฟ ถนนรถไฟ การลอกเอื้อง รถไฟไม่ยินยอม จึงต้องไปขุดด้านนอก ทุ่งพระมีการขุดทางระบายน้ำทางรถไฟด้วย ถ้าคิดไปลอกใต้สะพาน โดยแรงคน ถ้าเป็นของรถไฟเขาทำได้ กระบวนการ พี่น้องเห็นด้วยว่าเป็นแนวทางที่ใช่ จากนี้จะขอให้ทางผู้ใหญ่บ้านทำเรื่องไปยังการรถไฟ ทางหลวง ร่วมกับไฟฟ้า ร่วมคุยกัน เพราะไฟฟ้ารับปากจะขุดที่ให้ ทางรถไฟก็ต้องชี้แจงปัญหาให้อย่างไร จะไม่รออนาคตจะขับเคลื่อนร่วมกันไป พี่น้องที่เสียสละที่ดินตรงนี้ให้ เป็นบุญคุณ ส่วนรายจ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อก่อนไม่มีการกั้นตรงดินหยุด ถมติดหมดแล้ว ช่องน้ำห้าหกช่อง ตันหมดแล้วเหลือที่วังไข่เน่า เหลืออยู่สองช่อง ที่นาน้ารุณ ถ้าเรารวมกันเราทำได้ ถ้าเขาไม่ยอมทางเลือกสุดท้ายอาจต้องมาร่วมกัน ป่าชิงเป็นทางน้ำธรรมชาติเดิม เมื่อมีการถมที่ทางเดิมเปลี่ยน มีทางน้ำธรรมชาติ
กรณีของลุงนิต เห็นใจคนบ้านเรา ที่ดินทางนายกช่วยขยับท่อให้เข้าไปอยู่กลางแดนเสีย ที่นายกทำโรงเรียนเด็กเล็ก จำเป็นต้องใช้ที่แต่ตรงนั้นเป็นลำรางน้ำเดิม จึงมีการขยับ ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ เก็บภาพไว้ และเห็นทำให้รู้ที่ไปที่มา
เรื่องผังเมืองสีเขียว  ส่วนของผังเมืองที่ประกาศทั่วประเทศ มีอยู่สามสิบจังหวัดที่ยังไม่ประกาศหนึ่งในนั้นมีจังหวัดสงขลาด้วย หากเราต้องการทำข้อมูลเพื่อให้บ้านเราเป็นพื้นที่สีเขียว เราพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ทุกวันนี้แล้วหรือยัง ตอนนี้ของสงขลาเป็นช่องว่างของกฎหมายทำให้คนที่ต้องการทำพื้นที่อุตสาหกรรมใช้ช่องนี้ในการหาผลประโยชน์ได้ อยากให้คนในหมู่บ้านได้เห็นมาบตาพุดด้วย ชาวบ้านจะได้ตื่นตัว เพราะเขากลัว เพียงเห็นภาพอาจไม่พอ ไม่อยากเห็นโรงงานอุตสาหกรรม อยากเลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก เคยทะเลาะกับรถไฟมาแล้วไม่กลัว พวกเรารุนรถถอยไปทิ้งที่ข้างทาง ถ้าเราร่วมมือกันจริงๆ ทำได้ กรณี จ.นครฯ บอกว่าให้ย้ายตัวเขาเอง ทั้งผุู้กำกับ พวกเราต้องใจมั่น ถ้าสิบคนก็สิบคนไปรอดแน่นอน เราไม่เอาอุตสาหกรรม ทำให้คนข้างนอกเห็นว่า เรามีมูลค่าทางทรัพยากรอยู่เท่าไร่ สะท้อนค่าให้เขาเห็นตัวเลข เพราะคนข้างบนมองไม่ออกว่าเราทำนาได้ผลผลิตเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะมีทีมพวกเราไปเก็บข้อมูล  ตอนนี้มีทีมพวกเราไปยื่นหนังสือกับผู้ว่ามาแล้ว วันนั้นผู้ว่าฯ พูดกับทีมที่ไปอย่างไร หลวงขาว เป็นหนึ่งในสามสิบคน เล่าให้ฟังว่า  มีเลขามาต้อนรับขึ้นห้องประชุม ไปนั่งโต๊ะกลมคุย มีเลขาโยธาจังหวัดที่เกี่ยวข้องเรื่องผังเมือง รองผู้ว่ามานั่งคุย ถามเรื่องการมีส่วนร่วมอยู่อย่างไร ที่ผ่านมาขี้หกทั้งนั้น การมีส่วนร่วมให้ชาวบ้านร่วมตัดสินใจ แต่ในความเป็นจริงเราไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจริงๆ หลังจากนี้เขาบอกจะลงหามีส่วนร่วม ประชาพิจารณาครั้งที่สอง  คนบ้านเราไปแสดงความคิดเห็นสี่คน เมื่อวันก่อนที่เขามาทำเวทีที่อนามัย นศ.จุฬา มาทำวิจัย ป.โท ผู้นำก็ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม    หลังจากนี้เราจะช่วยกันทำข้อมูล ขอความร่วมมือกับพี่ๆน้อง เพื่อยื่นยันคุณค่าของบ้านป่าชิงเรา  และจะมีทีมเด็กๆ  เข้ามาช่วยเก็บข้อมูลส่วนนี้ด้วย  ในการประชุมประชาคมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม  34  คน

 

60 34

39. ออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ความเชื่อคนป่าชิง

วันที่ 3 กันยายน 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลวัฒนธรรมความเชื่อบ้านป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วางแผน การเก็บข้อมูล  ความเชื่อของคนป่าชิง  แบ่งและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้เด็กๆ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อศึกษาเรื่องราวความเชื่อของคนป่าชิง

กิจกรรมที่ทำจริง

วางแผนจัดกิจกรรม ศึกษาความเชื่อคนป่าชิง วางแผนจัดกิจกรรมกับเด็กๆโรงเรียนป่าชิง  เพื่อแผนกิจกรรม และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยเราออกแบบกระบวนการการเก็บข้อมูล แบ่งหน้าที่บันทึกข้อมูล ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวีดีโอ เพื่อการเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์  มีน้องๆเข้าร่วมวางแผน 15  คน

 

60 15

40. ศึกษาความเชื่อของคนป่าชิง

วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลวัฒนะรรมความเชื่อของคนป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กมีความเข้าใจ ใส่ใจที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน  ให้ความร่วมมือในการทำข้อมูลทุกรูปบบ  ไม่ว่าจะถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ  และจดบันทึก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ศึกษาเรียนรู้ ประวัติความเป็นมา และความเชื่อที่คนป่าชิงมีเื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

กิจกรรมที่ทำจริง

เก็บข้อมูลบ้านป่าชิง กิจกรรมนี้มีการลงพื้นที่  วัดเชิงคีรี  โดยลงศึกษาพุทธประวัติ พระเจ้า 5 พระองค์ โดยมีตาฉั้น บัวหนู  และตาฉุ้น บัวหนู เป็นผู้เล่าถ่ายทอดความรู้ โดยเชื่อว่า พระมานุษิพุทธเจ้า คือพระผู้ซึ่งได้สำเร็จโพธิญาณ โดยอาศัยที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์มาแล้วเป็นลำดับ  ตามคติมหายานกล่าวไว้ว่า พระมานุษิพุทธเจ้า ก็คือพระพุทธเจ้า ที่เสด็จมาประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในมนุสสภูมิ หรือ ในโลกมนุษย์ นั่นเอง ตัวอย่างเช่นพระพุทธเจ้าในกัปป์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นกัปป์ที่มีพระพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์ ได้เสด็จลงมาแล้วถึง 4 พระองค์ และจะเสด็จมาตรัสรู้ภายหน้าอีกพระองค์หนึ่ง (กัปป์ที่มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เรียกว่าภัทรกัปป์)
ดังมีพระนามตามลำดับต่อไปนี้คือ
          1 พระกกุสันโธ
          2 พระโกนาคม
          3 พระกัสสปะ
          4 พระโคตมะ (ยุคปัจจุบัน)
          5 พระศรีอาริยเมตไตรย์ (ยังไม่เสด็จลงมา) ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโรงธรรม วัดเชิงคีรี  ในจังหวัดสงขลาเป็นเพียงวัดเเดี่ยวที่มีพระเจ้า 5 พระองค์ไว้บูชา กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 24  คน

 

60 24

41. เฝ้าระวังทางสังคม

วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสายน้ำกับวิถีชีวิตของคนป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ก่อนหน้านี้มีทีมแกนนำเยาวชนได้ลงพื้นที่คลองพลู  เพื่อเก็บข้อมูลไปแล้ว แต่ครั้งนี้มีน้องๆ ชั้นประถมปลาย มาศึกษาข้อมูลในโจทย์เดียวกัน  ได้ข้อมูลส่วนวิถีชีวิต  เพิ่มขึ้น  ทำให้เด็กๆ มีความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของคลองพลู

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากคลองพลู  และสามารถบอกถึงความสำคัญของคลองพลูได้

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงพื้นที่คลองพลู เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากคลองพลู คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน  และได้ศึกษาการดักไซกุ้ง  ของลุงภาพ เป็นอีกวิถีหนึ่งที่น่าจะอนุรักษ์ไว้  เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณค่า ของทรัพยากรบ้านเรา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ 9  คน

 

60 9

42. ประชุมทีมทำงาน

วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกิจรรมที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมทำงานได้มาปรึกษาพูดคุยและได้แลกเปลี่ยนความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมทำงานมีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ติชม กิจกกรมที่ผ่านมา  ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่พบเจอ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมทีมทำงาน รายงานผลการทำงานที่ผ่านมา และถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา ประชุมทีมทำงาน  เพื่อรายงานกิจกรรมที่มผ่านมาถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  แต่ค่อนข้างจะไปแบบช้าๆ เนื่องจากเด็กมักมีภารกิจเรื่องการเรียน ผู้เข้าร่วมจึงยังคงเป็นกลุ่มเดิม ไม่เติบโตมากนัก ตอนนี้มีเด็กจากโรงเรียนบ้านป่าชิง สนใจกิจกรรมมากขึ้น อาจจะเน้นกิจกรรมเด็กเล็กให้มากขึ้น  มีผู้เข้าร่วมประชุม 8  คน

 

60 8

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 70 42                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 188,400.00 44,511.00                  
คุณภาพกิจกรรม 168 144                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชาคมหมู่บ้านและรายงานกิจกรรมที่ผ่านมา ( 1 ก.ย. 2556 )
  2. ออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ความเชื่อคนป่าชิง ( 3 ก.ย. 2556 )
  3. ศึกษาความเชื่อของคนป่าชิง ( 7 ก.ย. 2556 )
  4. ประชุมทีมทำงาน ( 9 ก.ย. 2556 )
  5. เฝ้าระวังทางสังคม ( 9 ก.ย. 2556 )
  6. แข่งงมหอย ( 16 ก.ย. 2556 )
  7. หว่านกล้า (ห้องเรียนนาข้าว) ( 2 ต.ค. 2556 )
  8. น่ำข้าวเหนียวดำไร่ ( 4 ต.ค. 2556 )
  9. ผลิตสื่อ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ( 4 ต.ค. 2556 )
  10. อบรมผลิตสื่อ ( 5 ต.ค. 2556 )
  11. อบรมผลิตสื่อ ( 6 ต.ค. 2556 )
  12. ประชุมทีมสื่อเยาวชน ( 13 ต.ค. 2556 )
  13. ถ่ายทำสารคดีตักบาตรเทโว ( 19 ต.ค. 2556 )
  14. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนป่าชิง ทำป้ายรณรงค์ ( 23 ต.ค. 2556 )
  15. ถอนกล้า(นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้) ( 7 พ.ย. 2556 )
  16. ถอนกล้า (ห้องเรียน นาข้าว) ( 8 พ.ย. 2556 )
  17. นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้ ( 9 พ.ย. 2556 )
  18. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว) ( 12 พ.ย. 2556 )
  19. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว) ( 13 พ.ย. 2556 )
  20. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว) ( 14 พ.ย. 2556 )
  21. ดำนา (นาข้าว ป่าชิง) ( 15 พ.ย. 2556 )
  22. ทำกระทง ลองกระทง ( 17 พ.ย. 2556 )
  23. ตกปลา ในนาข้าว ( 29 ธ.ค. 2556 )
  24. ตกปลา ในนาข้าว ( 4 ม.ค. 2557 )
  25. เด็กทำดอกไม้ไปเวียนเทียน และทำว่าว ( 14 ก.พ. 2557 )
  26. ทำว่าว ( 16 ก.พ. 2557 )
  27. เก็บข้าว ( 12 มี.ค. 2557 )
  28. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว) ( 13 มี.ค. 2557 )
  29. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว) ( 14 มี.ค. 2557 )
  30. ทำรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 2 ( 28 มี.ค. 2557 )
  31. เรียนรู้ทุ่งนา ( 30 มี.ค. 2557 )

(................................)
นางสาวจินตหรา บัวหนู
ผู้รับผิดชอบโครงการ