task_alt

โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

ชุมชน บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา

รหัสโครงการ 56-00245 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0377

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน กันยายน 2556 ถึงเดือน มิถุนายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. แข่งงมหอย

วันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเด็กๆใช้เวลาว่าง มาเรียนรู้บทเรียนที่หาเรียนในห้องเรียนไม่ได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆได้สำรวจคลองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชนิดของหอย เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขาแต่ไม่เคยสนใจเรียนรู้จนได้มาเรียนรู้กับเพื่อนๆทำให้เกิดความสนุกสนาน แทนเวลาปกติหากไม่มีกิจกรรมดังกล่าวเด็กๆก็จะเล่นเกมส์ และตามพี่ๆออกไปขี่รถนอกหมู่บ้าน ถือเป็นการเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กๆด้วยเช่นกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ใช้หลักจิตวิทยาบำบัด กับเด็กเยาวชน ผู้ปกคลอง

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม เล่นน้ำและแข่งขันงมหอย คลองเฉียงพร้ามีเด็กเข้าร่วม 15คน  วันนั้นเราได้จัดร่วมกลุ่มกันโดยมีทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายโดยจัดเป็นทีมคละๆกันเพื่อความเหมาะสม ร่วมทำกิจกรรมสำรวจคลองในเชิงอนุรักษ์ เล่นน้ำและแข่งขันงมหอยโข่งกัน ซึ่งมีอยู่เยอะในลำคลองแห่งนี้  โดยมีเวลาที่จำกัดให้ เด็กๆก็ได้รับความสนุกสนาน รวมทั้งความสามัคคีในทีม และก็ไม่มีความเอาเปรียบกัน วันนั้นมีแต่เสียงหัวเราะ เด็กหลายคนยังไม่รู้จักว่าหอยชนิดนี้ชื่อว่าอะไรเพราะเขาไม่เคยได้สนใจจกับสิ่งรอบๆตัว มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหอยแต่ละชนิดเป็นระยะๆ  สรุปว่าในคลองเฉียงพร้ามีหอยทั้งหมด 5 ชนิด ซื่งมี หอยขม ขอยข้าว หอยโข่ง หอยกาบ หอยเชอร์รี่ และเราก็ได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของทุกคน  จนพวกเขาไม่อยากที่จะกลับบ้าน

 

60 15

2. หว่านกล้า (ห้องเรียนนาข้าว)

วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีใทำงานร่วมกัน หว่านกล้านาอินทรีย์ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ของคนที่มีความสนใจทำนาอินทรีย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิถีที่หายไปจากชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ห้องเรียนน้าข้าวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทีมทำงาน และเด็กเยาวชนช่วยกันออกแบบ เพื่อได้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้วีการทำนาที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นการสอนจากผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำนา สอนลูก สอนหลาน ซึ่งเด็กๆก็ให้ความสนใจ การทำนาในวันนี้เป็นอีกกิจกรรมที่สามารถออกแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการทำนาจริงๆ

เป็นการเพาะเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย
        - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้หว่านกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง         - การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้ เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน - การหว่านกล้า
เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทำลายของศัตรูข้าวมีน้อย มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้         - การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับแปลงปักดำ แต่เพิ่มความพิถีพิถันมากขั้น ในการเก็บกำจัดวัชพืช และปรับระดับเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ
        - การเพาะเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-60 กรัมต่อตารางเมตร หรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้กล้าสำหรับปักดำได้ประมาณ 15-20 ไร่

        - การหว่านเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำแปลงกล้าให้แห้ง ทำเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกดีแล้วมาหว่านให้กระจายสม่ำเสมอตลอดแปลง ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงซึ่งมีความร้อนแรงมาก อาจทำให้เมล็ดข้าวตายได้

 

60 9

3. น่ำข้าวเหนียวดำไร่

วันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการเรียนรูวิถีชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเป็นทักษะชีวิตในอนาคต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  เด็กๆสะท้อนกิจกรรมในครั้งนี้ออกมาว่าเป็นวิถีที่อยู่ใกล้ตัวแต่พวกเขาไม่เคยได้ลองทำวันนี้ได้มาเรียนรู้และทำด้วยตัวเองรู้สึกว่าเกิดความรู้ มีความสนุกสนานและรู้สึกรักคนทำนาเพราะกว่าจะได้ข้าวมาให้เรากิน ยากลำบากนัก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนที่บ้านป่าชิง และเรียนรู้การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดมูลค่า โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กและผู้ที่สนใจรวมกิจกรรม  15 คน เราออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อ การลงพื้นที่ในวันนี้วางกิจกรรมหลัก คือเราต้องการเรียนรู้วิถีของคนบ้านเรา ช่วงนี้เป็นช่วงทำนาและทำข้าวไร่ เราจึงออกเรียนรู้วิถีของปู่ย่าตายาย จากป้ากลิ่น  ป่ากลิ่นทำไร่เหนียวดำทั้งหมด  3ไร่ และมีเพื่อนบ้านออกมาช่วยมากมาย เด็กๆจึงเข้าไปร่วมเรียนรู้และเอาเมล็ดพันธุ์เหนียวดำไปสมทบกับป้ากลิ้น เจ้าของไร่ด้วย เริ่มจากการแทงสัก  คือไม้กลมๆ เป็นคู่แทงลงในดินให้เป็นแถวก่อน หยอดเมล็ดข้าวลงไปประมาณ 3-5เมล็ด  ส่วนข้าวเหนียวเราจะใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ สั้นๆ ยาว1ศอก ใช้เม็ดหยอดลงแล้วใช้กระบอกไม้ไผ่ทิ่มปิดหลุม นอกจากเรียนรู้จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่แล้วเด็กๆก็ยังลงมือทำเองด้วย คนไหนที่ไม่มีไม้ไผ่ใส่เสม็ดข้าว ก็กำเมล็ดพันธุ์ลงไปหยอดในหลุมที่ได้ขุดรอไว้แล้ว เด็กเกิดความสนใจและถ่ายทำวีดีโอเก็บเอาไว้ดูการพัฒนาและเจริญเติบโตของข้าวเหนียวดำด้วย

 

60 15

4. ผลิตสื่อ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

วันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อนนำเสนอเรื่องราวภายในชุมชนให้คนในชุมชนได้รับรู้    2. เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องที่เราสื่อสารออกไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การถ่ายทำสื่อในครั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามนี้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เด็กๆ ได้ฝึกทักษะในการผลิตสื่อเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในอนาคตอีกด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถ่ายทำสื่อ เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ และเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเสมือนมรดกของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันที่ 4 ตุลาคม 2556 เป็นวันชิงเปรตหรือวัสารท เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว  การชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย  ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่ อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น ชาวบ้านป่าชิง ยึดถือปฏิบัติประเพณีที่ดีงามนี้มายาวนาน เป็นเหมือนมรดกของชุมชน  การถ่ายทำสื่อในครั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามนี้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้

 

60 6

5. อบรมผลิตสื่อ

วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อนนำเสนอเรื่องราวภายในชุมชนให้คนในชุมชนได้รับรู้    2. เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องที่เราสื่อสารออกไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย การตัดต่อและงานเขียนด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พัฒนาศักยภาพเยาวชนในการสื่อสารเรื่องราวของป่าชิงและพื้นที่ใกล้เคียง

กิจกรรมที่ทำจริง

วันอบรมเปิดด้วยการทำความรู้จักกัน ทุกคนแนะนำตัว แล้วก็บอกความสารด้านสื่อสารว่าแต่ละคนมีประสบการณ์อะไรมาบ้าง มีน้องบางคนเคยทำงานเขียน เคยอบรมงานเขียน บางคนสื่อสารด้วยการวาดภาพ และเราก็วางความคาดหวังที่ต้องการจะได้หลังจากผ่านกระบวนการอบรม ทั้งหมด 16 คน รวมทั้งวิทยากร พี่เลี้ยง และทีมทำงาน
- ได้เรียนรู้เรื่องบ้านตัวเอง
- อยากให้เพื่อนๆ ทำได้สำเร็จในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
- ได้ความรู้ในการทำสื่อ ได้เรียนรู้จากลูกหลานในชุมชน เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ในตัวเอง - มาแบ่งปันประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆ ให้เกิดผลในการทำงานร่วมกันต่อไป
- อยากสื่อสารผลงานออกไปให้คนได้รู้ว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง
- อยากทำสารคดีสื่อให้คนในชุมชนตระหนัก  อยากได้ความรู้ด้านการทำสื่อ
- อยากให้รู้วิธีการ ขั้นตอนการทำสื่อก่อน ทำได้แล้วจะทำให้รู้สึกภูมิใจในผลงานของตัวเอง
- ใช้เทคนิคการทำสื่อเข้ามาช่วยสะท้อนผลกระทบของความเจริญที่เกิดขึ้น และสื่อสารเรื่องดีๆ ของเรา
มีปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนมาเล่าความเป็นมาบ้านป่าชิงให้น้องๆและทีมสื่อฟัง หลังจากนั้นน้องๆหาประเด็นที่ตนเองชอบ แล้วมาขอข้อมูลเชิงลึกกับปราชญ์ชาวบ้าน น้องกลุ่มที่ 1 ทำเรื่องพระเจ้า 5 พระองค์  ส่วนกลุ่มที่ 2 ทำเรื่อง ทวดเพชรหุ่น  แล้วต่างแยกย้ายลงพื้นที่เก็บภาพ ปรับสคลิปต์และตัดต่องานในวันรุ่งขึ้น

สรุปบทเรียนการพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร
จากการอบรมการทำสื่อ 2 วันที่ผ่านมาเราได้อะไร หรือให้อะไรเพื่อนไปบ้าง
- มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย
- รู้จักกันวันแรก พี่ๆมาสอนวิชาให้คนในชุมชนผลิตสื่อได้ ที่เคยเรียนมาในห้องก็ใช้ได้เยอะ
- คิดว่าครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกัน รู้จักเครื่องมือ ครั้งต่อไปอาจทำให้เป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้ เพราะในพื้นที่มีเรื่องราวเยอะ
- ตอนแรกเจอปัญหาน้องไม่สนใจ แต่พอลงพื้นที่เขาก็พาไปถ่าย เขาก็อยากถ่าย เขาก็สนุกขึ้น
- เราได้พัฒนาตัวเอง  ได้เครื่องมือเพิ่มเพื่อเอาไปใช้ในอนาคต
- งานนี้พี่เลี้ยงทำงานหนัก จำเป็นต้องพัฒนาทักษะ และลีลาหลายแบบ เพราะผู้เข้าร่วมยังอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่สนใจเรื่องชุมชนน้อย คนออกแบบต้องเตรียมตัวให้มากเพื่อการทำงานกับเยาวชนลักษณะนี้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

60 16

6. อบรมผลิตสื่อ

วันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อนนำเสนอเรื่องราวภายในชุมชนให้คนในชุมชนได้รับรู้    2. เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องที่เราสื่อสารออกไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย การตัดต่อและงานเขียนด้วย ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ให้น้องๆ มีทักษะการถ่ายภาพ ตัดต่อ ที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 2  เป็นขั้นของการลงเสียงและตัดต่อวีดีโอต่อจากกิจกรรมเมื่อวาน  ทีมวิทยากร ทีมพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยสนับสนุนสอนเทคนิคการตัดต่อและสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ ทั้งอัปวีดีโอขึ้นยูทูป และการแชร์ลิงค์ไปยังเวปไซต์ต่างๆ

 

60 16

7. ประชุมทีมสื่อเยาวชน

วันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจ ถอดบนเรียนการทำสื่อที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การเริ่มทำสื่อเป็นอีกหนึ่งแรงบันกาลใจในการเข้าเรียนต่อในสายการสื่อสาร
  • เกิดกำลังใจในการทำความดี
  • มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกระสบการณ์การสื่อสารแต่ละคนที่แตกต่างกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมเครือข่ายสื่อสาร เด็กเยาวชนและผู้ที่สนใจ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการเพื่อร่วมกันวางแผนการทำงาน และหาแนวทางแก้ปัญหาที่พบเจอ

กิจกรรมที่ทำจริง

พูดคุยเรื่องการนำการสื่อสารไปใช้ในพื้นที่  เอา งานวีดีโอ ที่พวกเราร่วมกันทำ เอาไปเปิดให้คนที่บ้านและละแวกบ้านได้ดู  มีการตอบรับและชื่นชมจากญาติ เป็นพลังหนึ่งที่ผู้ใหญ่สนับสนุนให้น้องๆมาผลิตสื่อให้ชุมชน เด็กๆจึงวางแผนการถ่ายทำวีดีโอชุมชน ไว้หลายเรื่อง ทั้งการทำนาข้าว งานตักบาตรเทโว งานชิงเปตร  และกิจกรรมของคนในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี และวางแผนการลงพื้นที่แบ่งกลุ่มการทำงาน แบ่งหน้าที่ตามที่ตนถนัด ผลของงาน -  เด็กๆมีความกระตือรือร้นในการทำงานสื่อสารเพิ่มขึ้น - การเริ่มทำสื่อเป็นอีกหนึ่งแรงบันกาลใจในการเข้าเรียนต่อในสายการสื่อสาร - เกิดกำลังใจในการทำความดี - มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกระสบการณ์การสื่อสารแต่ละคนที่แตกต่างกัน

 

60 7

8. ถ่ายทำสารคดีตักบาตรเทโว

วันที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฝึกในเยาวชนในพื้นที่ สื่อสารเรื่องราวดีๆในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้องๆและผู้ที่เข้าร่วม ได้ร่วมทำบุญและถ่ายทำสื่อ "ตักบาตรเทโว"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมตักบาตรเทโว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน เด็กๆจึงวางแผนว่าจะถ่ายทำงานสื่อออกมาสื่อสารให้คนในพื้นที่เห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมนี้

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมตักบาตรเทโว เป็นอีกกิจกรรมในช่วงออกพรรษาที่เราพุทธศาสนิกชนต้องมาทำบุญใหญ่ที่วัดและเชื่อว่าเป็นวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระญาติ และเป็นวันเดียวกับวันชักพระทางภาคใต้ คนจึงแห่กันมาทำบุญ ที่วัดควนมีดก็เช่นกัน แต่แปลกกว่าที่อื่นตรงที่มีการจำลองว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ จึงใชพระเดินลงบันไดมาจากเจดีย์วัดควนมีดและมีพี่น้องมาใส่บาตาเป็นอาหารแห้ง น้องๆที่ผลิตสื่อเห็นถึงความทสำคัญของประเพณีนี้จึงนัดหมายกันมาถ่านรูปทำสารคดีเรื่อง ตักบาตรเทโว 

 

60 7

9. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนป่าชิง ทำป้ายรณรงค์

วันที่ 23 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันรณรงค์ ในคนในชุมชนรักษ์บ้านเกิด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กเยาชน และคนคนบ้านป่าชิงออกมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ได้ประสานงานกับทีมเดินด้วยรักษ์ พิทักษ์ 2 ฝั่งแล ว่าจะเข้าร่วมเดินด้วย และต้องการทำป้ายรณรงค์ร่วมรักษ์ป่าชิง

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ได้ประสานงานกับทีมเดินด้วยรักษ์ พิทักษ์ 2 ฝั่งแล ว่าจะเข้าร่วมเดินด้วย เด็กๆจึงอาสาทำป้ายรณรงค์ ให้ทุกคนรักษาทรัพยากร ของบ้านเราไว้ให้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

 

60 7

10. ถอนกล้า(นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้)

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ต้องการให้ผู้ที่สนใจ ร่วมกันทำนาอินทรีย์ เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่าง และพื้นที่เรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า ไปดำนั้นจะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน  เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วยแต่ในการทำนาร่วมกันในกิจกรรมเรียนห้องเรียนนาข้าว เราหว่านกล้าช้ากว่า คนอื่น เพราะสมาชิกที่มาร่วมทำนาข้าวต่างก็ต้องทำนาของตัวเองด้วย จึงกำหนดเวลาที่หลังจากต่างคนเสร็จภารกิจที่นาของตนก่อน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถอนต้นกล้าคือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนๆ ซึ่งการถอนกล้าก็ต้องมีความระมัดระวังในการถอนเป็นอย่างมากเนื่องจากหากเราถอนกล้าไม่เป็นก็จะทำให้กล้าขาดได้ ใช้มือข้างที่เราถนัดกำรวบบริเวณระหว่างกลางลำต้นถึงปลายต้นกล้าโดยให้หันฝ่ามือออกจากลำตัว แล้วใช้มือข้างที่เราไม่ถนัดกำรวบบริเวณโคนต้นกล้า แล้วใช้กำลังทั้งสองมือดึงเข้าหาตัวเองให้ออกกำลังทั้งสองพร้อมกัน ระวังอย่ากำรวบทีละมากเพราะจะทำให้รากขาด ความพอดีจะอยู่ที่การกำรวบแล้วถอนดึงซัก 3 ครั้งจะได้ต้นกล้า 1 กำมือที่จะวางไว้สำหรับการตัดปลาย การตัดปลายกล้าให้กำรวบด้วยสองมือพอดี ๆ แล้วจัดกล้าให้ได้ขนาดความสูงเท่า ๆ กัน จากนั้นใช้ตอกมัดกล้า จัดวางให้เรียบร้อย รอการดำต่อไป  ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

 

60 9

11. ถอนกล้า (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้ ห้องเรียนนาข้าว ร่วมกัน และร่วมกันถอนกล้า เพื่อดำนา

กิจกรรมที่ทำจริง

ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า ไปดำนั้นจะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน  เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วยแต่ในการทำนาร่วมกันในกิจกรรมเรียนห้องเรียนนาข้าว เราหว่านกล้าช้ากว่า คนอื่น เพราะสมาชิกที่มาร่วมทำนาข้าวต่างก็ต้องทำนาของตัวเองด้วย จึงกำหนดเวลาที่หลังจากต่างคนเสร็จภารกิจที่นาของตนก่อน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถอนต้นกล้าคือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนๆ ซึ่งการถอนกล้าก็ต้องมีความระมัดระวังในการถอนเป็นอย่างมากเนื่องจากหากเราถอนกล้าไม่เป็นก็จะทำให้กล้าขาดได้ ใช้มือข้างที่เราถนัดกำรวบบริเวณระหว่างกลางลำต้นถึงปลายต้นกล้าโดยให้หันฝ่ามือออกจากลำตัว แล้วใช้มือข้างที่เราไม่ถนัดกำรวบบริเวณโคนต้นกล้า แล้วใช้กำลังทั้งสองมือดึงเข้าหาตัวเองให้ออกกำลังทั้งสองพร้อมกัน ระวังอย่ากำรวบทีละมากเพราะจะทำให้รากขาด ความพอดีจะอยู่ที่การกำรวบแล้วถอนดึงซัก 3 ครั้งจะได้ต้นกล้า 1 กำมือที่จะวางไว้สำหรับการตัดปลาย การตัดปลายกล้าให้กำรวบด้วยสองมือพอดี ๆ แล้วจัดกล้าให้ได้ขนาดความสูงเท่า ๆ กัน จากนั้นใช้ตอกมัดกล้า จัดวางให้เรียบร้อย รอการดำต่อไป  ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

 

60 9

12. นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีของคนป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กได้เรียนรู้และสนุกสนานไปในตัว การเรียนรู้ที่ไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน แต่มาจากสิ่งรอบข้าง เกิดความเพลิดเพลิน กว่านั่งที่หน้าจอเล่นเกมส์ เพราะเขายังได้เล่นน้ำ ได้ดำนา เป็นการปฏิบัติที่สอดความสนุขสนานไปในตัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การเรียนรู้การทำนา เป็นโอกาสที่เด็กๆจะได้เรียนรู้ รากเหง้าของสังคมไทย วิถีชีวิตของชาวนา ความเรียบง่าย มานะอดทน และเห็นวิถีชีวิตพอเพียงแบบเป็นรูปธรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เราได้พาน้องๆ ออกเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นวันพิเศษที่น้องๆหลายคนรอคอยเพราะได้เรียนรู้และสนุกสนานไปในตัว โดยที่เราไม่ต้องมานั่งท่องจำ พี่ๆและน้องๆ ได้ออกเรียนรู้การทำนาของคนบ้านป่าชิง นำทีมโดยพี่จอย พี่วัจน์ พี่เจมส์ พี่ทราย น้องตะใคร่ น้องต้า น้องเชียร์ น้าเก่ง ป้าพิศ น้ารัตน์  น้องฝน น้องโต น้องมีน  ก่อนเราจะลงดำนา เด็กๆ ลงเล่นน้ำที่ร่องนาซึ่งเป็นของลุงภาพ ลุงภาพได้ขุดร่องนาไว้เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ยามที่ฝนเล้ง รวมถึงได้เลี้ยงปลา ปลูกบัว ไว้เป็นพื้นที่พักผ่อน มีกระท่อมเล็กๆ ณ ปลายนา ให้เราได้หลบความร้อนจากแดดที่แผดเผา บ่ายแก่ๆ แดดเริ่มสงบร่มรื่นขึ้น กรูกันลงจากกระท่อม ลงนา  พี่จอยก็ใช้มือแกะเชือกมันกำกล้าซึ่งเป็นยอดเหรง (ใช้มัดกล้า เพื่อไม่ให้หลุดร่วง ออกจากกำ และง่ายต่อการปักดำ) พี่จอยแบ่งกล้าให้ทุกๆคน คนละกำเล็กๆ พี่วัจน์บรรยาย สอนน้องๆ”เราหยิบต้นกล้าออกมา 4-5 ต้น แล้วแต่ว่าต้นเล็กหรือใหญ่ ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบเอาไว้เบาๆ แล้วปักลงไปในนาให้เป็นแถว โดยเราใช้นิ้วหัวแม่มือเป็นตัวนำ เมื่อถึงโคลนแล้วเราก็ปักต้นกล้าลง แล้วดึงมือกลับมาหยิบกอใหม่ ”ระหว่างบรรยายสอนน้องๆ พี่วัจน์ก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทุกคนตื่นเต้นกับกอข้าวที่ตัวเองดำ แล้วถามเป็นระยะว่าของตนดำสวยรึยัง เราต่างช่วยกันดำนาจนเพลิน ใครเบื่อก็ผลัดกันไปเล่นน้ำ แล้วกลับมาดำนาต่อ
ส่วนน้องเจมส์น้องทรายก็รับหน้าที่ถ่ายทำสารคดี เรื่อง"นาข้าวบ้านป่าชิง" เป็นการพัฒนาการสื่อสารต่อจากที่ได้อบรมได้เนื่อครั้งก่อน
นาที่เราดำเสร็จไป รอฝนที่จะทำให้ข้าวแตกกอ งดงาม เขียวชอุ่ม บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทุ่งนาบ้านเรา กับวิถีของคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ถ่ายทอดไปยังเด็กๆรุ่นหลัง ได้สืบทอดต่อไป

 

60 13

13. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้การทำนาอินทรีย์ และการซอแรง ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

 

60 10

14. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อนนำเสนอเรื่องราวภายในชุมชนให้คนในชุมชนได้รับรู้    2. เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องที่เราสื่อสารออกไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้การทำนาอินทรีย์ร่วมกัน และฟื้นวิถีการทำนาซอแรง

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

 

60 10

15. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เสริมทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

 

60 13

16. ดำนา (นาข้าว ป่าชิง)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ร่วมกัน และฟื้นฟูปรับพื้นที่นา ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

 

60 10

17. ทำกระทง ลองกระทง

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14.00-20.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้วัฒนธรรมการลอยกระทงที่ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นมาเป็นไปของประเพณีลอยกระทง
  • ได้ถกเถียงเรื่องวัฒนธรรมการลอยกระทงของวันรุ่น
  • ดึงเด็กที่กลัวจะมีปัญหากับแฟนในวันลอยกระทง มาทำกระทงร่วมกันและลอยร่วมกับเพื่อนๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ต้องการให้เด็กร่วมกันทำกระทงเพื่อช่วยลดขยะ รร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมของไทยที่มีมาอย่างช้านาน ให้เด็กๆได้เรียนรู้และเท่าทันปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา  ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญ ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ  เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด  แต่ในปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง เพราะเกิดความเชื่อใหม่ว่าหากไปลอยกระทงกับคนที่รักแล้วขอพร จะได้ดั่งใจหวัง จึงก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย และเป็นวันที่เด็กส่วนใหญ่เสียตัวให้กับคนที่รัก ในกิจกรรมวันนี้ออกแบบให้เด็กมาทำกระทงร่วมกัน ออกแบบกระทงตามที่ตัวเองชอบและพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความสำคัญของการไปลอยกระทงกับคนที่รัก เด็กๆหายคนมีความเห็นว่า เราน่าจะมีกิจกรรมทำกระทงร่วมกันแบบนี้ทุกๆปี

 

60 7

18. ตกปลา ในนาข้าว

วันที่ 29 ธันวาคม 2556 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมนี้ทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต การเอาตัวรอดในชีวิต เพราะคนแต่ก่อนก็สอนให้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เด็กๆ ได้เรียนรู้การตกปลาในนาข้าว เรียนรู้เทคนิคการตกปลา และเสวนาเรื่องการตกปลาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

กิจกรรมที่ทำจริง

      ตามวิถีชีวิตการหากิน ของคนแต่ก่อนมาจนถึงปัจจุบัน ตามพื้นที่ลุ่มน้ำ นาข้าวแล้วนั้นยังคงมีวิธีการจับปลาในนาข้าวที่ยังคงยืนต้นเขียวขจีแล้ว คำว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เห็นแท้ว่าคงจะจริงตามสำนวนนี้ เพราะที่ทุ่งนาป่าชิงในช่วงหลังจากฤดูฝนแล้วนั้น ปลาหมอขนาดตัวพอแกง มีมากเหลือเกินพวกเราและกลุ่มเด็กเลยคิดกิจกรรม ตกปลาขึ้นมา เพราะข้างๆทางของบ้านป่าชิงเป็นสายน้ำและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์มาก ได้มีชาวบ้านออกมาตกปลากัน เด็กๆเลยคิดสนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลังจากที่เป็นวันว่างในช่วงสุดสัปดาห์ พวกเขาคิดว่าดีกว่าไปเล่นเกมส์และไปยุ่งอยู่กับสิ่ง สำหรับกิจกรรมนี้พวกเด็กๆได้คิดขึ้นมาเองและนำมาเสนอ เราจึงเห็นควรที่จัดกิจกรรมนี้ให้  เลยชวนกันไปตัดไม้ไผ่นำมาเหลา ทำคันเบ็ดให้ครบทุกคน ส่วนตาเบ็ดและสายเอ็นก็ไปซื้อมา หลังจากทำเสร็จเรียบร้อย แล้วเหยื่อของปลาก็ใช้ไข่มดแดงซึ่งแยงเอาตามต้นไม้ข้างๆบ้านได้พอควร ก็เอาน้ำยางพารามาคลุกเคล้าให้เข้ากันแต่อย่าให้แข็งเกินปลาจะไม่กิน หลังจากเราได้เหยื่อมาแล้ว ก็พาเด็กๆไปตกปลากัน วันนั้นเราได้ปลามาพอแกงซึ่งเป็นปลาหมอซะส่วนใหญ่ ปลากินดีมากวันนั้น ชนิดที่ว่า หย่อนกินๆเด็กๆก็เพลิดเพลินมากจนไม่อยากที่จะกลับบ้านเลย แต่เวลานั้นเย็นมากแล้ว เลยกลับบ้านพาปลาที่ได้หลบไปกิน การหากินกับการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียงนี้ได้สอนอะไรๆให้กับเด็กให้สามารถรู้จักเอาตัวรอดได้ภายใต้ความปลี่ยนแปลงของสังคม

 

60 12

19. ตกปลา ในนาข้าว

วันที่ 4 มกราคม 2557 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิต คนกับความสัมพันธ์ของนาข้าวจึงเป็นบทเรียนที่เรียนรู้จากข้างนอกไม่ได้เลย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เด็กและเยาวชน 8 คน ทีมทำงาน 2 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เด็กๆกลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ให้ความสนใจกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารของบ้านเรา เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องกินอยู่ทุกวันนี้ พวกเราได้ออกเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากนา และก็เกิดความคิดอยากเรียนรู้ การตกเบ็ด ที่เป็นเสมือนวัฒนธรรมการทำนาของคนบ้านเรา เมื่อดำนาแล้วรอจนข้าวแตกกอ หรือหลังดำนาประมาณ 1 เดือน ปลาที่ฝังโคลนก็ได้ขยายพันธุ์และอาศัยต้นข้าวเป็นที่หลบร้อน เป็นแหลงอาหาร ทำให้ช่วงหน้านา มีปลาจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นปลาหมอและปลาช่อน
เมื่อเสร็จจากนา ว่านปุ๋ยข้าว หลังจากนั้นเมื่อปฏิบัติภารกิจหลักของคนบ้านเรานั้นก็คือตัดยางเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เวลาช่วงเที่ยงถึงบ่าย 2 เป็นการพักผ่อนหลังจากที่ต้องตื่นมาตัดยางบางคนก็ตี 1 บางคนก็ตี 4 ตี 5 แล้วแต่ความมากน้อยของสวนยางที่ตนตัด ตื่นมาก็ชวนเพื่อนบ้านข้างเคียง 2 คน 3 คน ถือคันเบ็ดเดินตามหลังกันเป็นแถว เหยื่อที่ใช้ตกปลาก็เป็นไข่มดแดง “เอาเหยื่อเกี่ยวเบ็ด แล้วหย่อน แล้วกะยักเลย” เสียงเล่าจากป้านวย ป้านวยเป็นชาวบ้านควนแก้ว มาตกปลาที่ทุ่งนาป่าชิงเกือบทุกวัน ป้านวยยังเล่าต่ออีกว่า “ปีนี้ปลามาก หย่อนแล้วยักๆ เพลินมากเลย” เป็นเสียงเล่าสะท้อนความสมบูรณ์ของพื้นที่บ้านเรา
เด็กๆ กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเราก็ออกมาเรียนรู้การตกปลาในนาข้าว น้องติณ เยาวชนบ้านป่าชิงซึ่งได้มาร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป็นครั้งแรก เป็นคนที่มีทักษะในการตกปลา “เราต้องหาที่ ไปเรื่อยๆ จนพบเองว่าที่ตรงไหนที่มีปลามาก แล้วก็ย้ายไปเรื่อยๆ” น้องติณไม่เพียงแค่พูดบอกคนอื่นๆเท่านั้น แต่น้องติณได้ทำให้พวกเราเห็นว่าที่เขาพูดออกมามันเป็นจริง เพราะเขาเป็นคนที่ตกปลาได้เยอะที่สุด เวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมงที่พวกเราช่วยกันตกปลา ทำให้วันนี้เราได้กับข้าว 1 มื้อ นี้คือตัวบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของผืนนาบ้านเรา ถึงแม้ว่าวันนี้พื้นที่นาบ้านเราหายไปมากแล้วเพราะที่นาเดิมถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อย่างเช่น สร้างบ้าน ปลูกยาง ปลูกปาล์ม ตามความต้องการของเจ้าของที่ แต่เราก็ยังหลงเหลือความสมบูรณ์ที่เราทุกคนช่วยกันรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ และเราคนรุ่นหลังก็ไม่ยากให้เรื่องเล่านี้เป็นเพียงแค่ตำนานของคนปาชิง แต่จะดูแลรักษาไว้ในคนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เหมือนกับที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้ แล้วเราก็ขอยืนยันว่านี้แหละคือความสุขที่แท้จริง ที่เราต้องการ

 

60 9

20. เด็กทำดอกไม้ไปเวียนเทียน และทำว่าว

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กมีทักษะร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆมีความตั้งใจที่จะทำดอกไม้ ให้ตัวเองและคนในครอบครัว และได้มองเห็นถึงการช่วยเหลือกัน น้องๆคนที่พับดอกไม้จากใบเตยเป็นก็มาสอนเพื่อที่ทำไม่เป็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป้าประสงค์ของกิจกรรมนี้คือ เพื่อให้เด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพุทธศาสนา และเนื่องด้วยเป็นวัน แห่งความรัก แต่อยากให้เด็กๆเน้นเข้าไปศึกษาเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของวันมาฆบูชา

กิจกรรมที่ทำจริง

วันมาฆบูชา กลุ่ม เด็กๆจากป่าชิง มาหาพี่ๆที่บ้านพี่จอยเพื่อที่จะทำดอกไปเวียนเทียนกันที่วัดเชิงคีรี(วัดป่าชิง)ในช่วงหัวค่ำ พวกเราเดินกันไปตามซอยต่างๆในหมู่บ้านเพื่อที่จะไปขอดอกไม้จากละแวกบ้าน แต่ช่วงนั้นฝนไม่ได้ตกลงมาเลยหลายเดือนแล้วทำให้ดอกไม้หายากมาก จึงนึกขึ้นมาได้ว่าใบเตยหอมข้างบ้านสามารถนำมาพับเป็นดอกกุหลาบได้ พวกเราจึงไปขอใบเตยหอมของคนข้างๆบ้านมาทำ  เราช่วยกันพับร่วมเวลาหลายชั่วโมงจนเกือบค่ำ เราได้ดอกไม้ช่องามๆหลายช่อ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ดอกไม้จริงก็ตามแต่เราช่วยกันทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ นั้นถือได้ว่าได้บุญแล้ว หลังจากนั้นเด็กๆก็พาดอกไม้ของแต่ละคนกลับบ้านเพื่อไปวัดเวียนเทียน กับพ่อแม่ พี่ๆฝึกให้น้องทำดอกไม้แต่ไม่ได้พาเด็กน้องๆไปเวียนเทียน  เราให้เขาไปกับครอบครัวจะได้มีความอบอุ่นขึ้น ความรักจากคนในครอบครัวทำให้เข้ารู้สึกได้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโดยมีพ่อแม่คอยให้ความรักอยู่ข้างๆ

 

60 9

21. ทำว่าว

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กออกแบบกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้ด้วยตัวเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆ สามารถออกแบบกิจกรรมของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้ ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นภาระให้พี่ๆ ผู้ปกครองไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การเล่นว่าวเป็นการละเล่นของคนไทยทุกยุคทุกสมัย ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก นำมาผ่าแล้วเหลา ให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกัน เป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว  เพื่อเป็นการละเล่นที่สืบทอดการละเล่นแบบไทย เด้กในปัจจุบ้นจึงนิยมเล่นว่าวกันมาก จึงเป็นอีกกิจกรรมที่เราร่วมกันทำเพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

“วันนี้เรามาทำว่าวกัน...แต่ก่อนไปทำว่าว พี่จอยพาโหมเราไปเล่นน้ำก่อนนะ “ ความต้องการของบ่าวดิว ที่เข้ามาเสนอกิจกรรมและออกแบบสิ่งที่เขาอยากทำให้ฉันฟัง วางกำหนดการณ์ของกิจกรรมวันนี้ และกำหนดเวลาอย่างชัดเจน 10.00          เราเจอกันและวางแผนการทำงานในวันนี้ ออกแบบการลงพื้นที่ พี่จะต้องดูแลน้อง ส่วนน้องก็ต้องเชื่อฟังพี่ 12.00-12-30 เราจะไปกินข้าวเที่ยงกัน(ที่ร้านป้าน้อง) 12.30-14.00 ไปเล่นน้ำคลองเฉียงพร้า 14.30-16.30 ทำว่าว ที่บ้านพี่จอย 16.30 เรากลับบ้านไปทำงานบ้านกัน เด็กๆ เริ่มที่จะออกแบบกิจกรรม ตามความเหมาะสมและความเป็นจริงได้เอง  โดยมีพี่ๆ คอนดูอยู่ห่างๆ เท่านั้น กิจกรรมที่น้องๆ ออกแบบอย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องทีคนมาคอยดูแลเขาหลายคน มีแค่ พี่จอยกะพี่วัจน์สองคน ก็เอาอยู่

 

60 7

22. เก็บข้าว

วันที่ 12 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสายน้ำกับวิถีชีวิตของคนป่าชิง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เสริมทักษะชีวิตของเด็ก และเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

 

60 9

23. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เสริมทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

 

60 9

24. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว)

วันที่ 14 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เสริมทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

 

60 9

25. ทำรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 2

วันที่ 28 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปิดงบประมาณ งวดที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำรายงานการปฏิบัติกิจกรรมทั้ง2 งวดเสร็จเรียบร้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน พี่เลี้ยงโครงการ 1คน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำรายงานงบประมาณงวดที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง สจรส. และติดตามผลโครงการ

 

2 2

26. เรียนรู้ทุ่งนา

วันที่ 30 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กๆมีกิจกรรมที่เสริมทักษะ ด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และเห็นคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น พร้อมที่จะเรียนรู้ในกิจกรรมถัดไป เกิดความสนุกสนาน มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ต้องการให้เด็กๆ มาเรียนรู้ประยุกต์กับการเล่นที่สอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น โดยการเล่นที่พัฒนาทักษะพัฒนาการคิด และสร้างจินตนาการให้เด้กๆ ได้เรียนรู้ของดีในท้องถิ่นเราและปรับตัวให้เข้ากับทรัพยากรในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

เด็กออกเรียนรู้วถีชีวิต คนบ้านเรากับนาข้าวมีความสำคัญอย่างไร เป็นคำถามที่เด็กๆวางไว้ก่อนออกลงพื้นที่ -ทำปี่ซังเข้า เด็กๆได้หัดทำและหัดเป่าปี่ซังข้าวโดยมีลุงรูญเป็นคนช่วยสอยการทำปี่ ปรับเสียงปี่ให้มีความสูงต่ำตามขนาดความใหญ่ ความสั้นยาวของต้นซัง เพื่อให้ได้เสียงที่หลากหลาย ทั้งเสียงต่ำเสียงสูง -มีการ สอนวาดรูปภาพเหมือนจากลุงรูญ เด็กๆรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้เป็นแบบให้ลุงรูญได้วาดรูปและเรียนรู้ทักษะการวาดรูปต่างๆจากลุงรูญ -ลงหาดินเหนียวในคลองเสือตาย แล้วปั้นดินเหนียวตามจินตนาการของแต่ละคน เด็กๆช่วยกันหาดินเหนียวมาตากแดด สักพักก็เอามานวดและแบ่งกันปั้น ทั้งสามกิจกรรมในวันนี้เด็กๆ สะท้อนให้เห็นว่า เราอยู่คู่กับธรรมชาติและทรัพยากรรอบตัวได้หากเราเปิดโอกาศให้ตัวเองเรียนรู้

 

60 7

27. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตาม และประเมินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ติดตามผลโครงการ รายงานโครงการเพื่อปิดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประเมินผลโครงการ

 

2 2

28. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

วันที่ 3 มิถุนายน 2557 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ติดตามประเมินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำรายงานปิดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตามโครงการและปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำรายงานปิดโครงการ

 

2 2

29. ส่งเอกสารรายงานสรุปปิดโครงการ

วันที่ 13 มิถุนายน 2557 เวลา 11:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจเอกสารรายงานสรุปปิดโครงการพร้อมส่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เอกสารปิดโครงการมีความครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ส่งเอกสารรายงานปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารสรุปปิดโครงการ พร้อมส่ง

 

2 5

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 70 71                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 188,400.00 96,292.00                  
คุณภาพกิจกรรม 284 254                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาวจินตหรา บัวหนู
ผู้รับผิดชอบโครงการ