แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง

ชุมชน ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 56-00269 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0475

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน กันยายน 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุม สจรส.มอ.

วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงแนวทางการติดตาม และการรายงานผลกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนคณะทำงานโครงการลด คัด แยก ขยะ จำนวน 1 คน คือ นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร เข้าร่วมการประชุมรับทราบการออกติดตามการดำเนินกิจกรรมของทาง สจรส.มอ. กำหนด และทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดพัทลุง คือ นายเสนี  จ่าวิสูตร จะคอยดูแลการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมผู้รับทุนสนับสนุน

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงแนวทางการติดตามผลงานของแต่ละโครงการโดยมีทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดเป็นผู้คอยดูแล และวิธีการรายงานผลกิจกรรมผ่านระบบโปรแกรมออนไลน์ที่ทาง สจรส.มอ.กำหนดให้

 

2 2

2. 1.จัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานของโครงการให้กับคณะทำงานของหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจในโครงการและวางแผนเตียมการขั้นตอนการขับเคลื่อนกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-กลุ่มแกนนำที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คนได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน , อสม , ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , ผู้ทรงคุณวุฒิ , ปราชญ์ชาวบ้าน ของม.3 และ ม.7 และ พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลร่มเมืองเข้าใจกระบวนการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดในโครงการและกำหนดรูปแบบกิจกรรมที่จะขับเคลื่อนในลักษณะที่เหมาะกับหมู่บ้านตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงการดำเนินงานของโครงการให้กับคณะทำงานของหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ เป็นเวลา 1 วัน   - ผู้รับผิดชอบโครงการจัดประชุมหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน   - ผู้รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินการโครงการและงบประมาณในการดำเนินงานตลอดโครงการให้แก่คณะทำงานของหมู่บ้านต้นแบบ   -ผู้รับผิดชอบโครงการและหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมของแต่ละหมู่บ้านเพื่อลงไปปฏิบัติงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

-การประชุมชี้แจงโครงการ เปิดประชุมโดยรองนายกเทศมาตรีตำบลร่มเมือง คือ คุณประพิศ  ศรีนอง กล่าวที่มาของโครงการจนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.
-นางสาววิยะดา วิเชียรบุตร ผู้เขียนโครงการชี้แจงรายละเอียดของแผนการดำเนินงานของโครงการในแต่ละกิจกรรม -กลุ่มแกนนำที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน , อสม , ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.3 และ ม.7 และ พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลร่มเมือง

 

60 48

3. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบให้ประชาชนมีความเข้าใจและร่วมกันแสดงความคิดเห็นพร้อมเสนอแนะการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบ และ ประชุมครัวเรือนนำร่องโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ ในการเข้าสู่การรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ม.3

วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงโครงการให้ประชาชนในมีความเข้าใจในรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 29 คน คณะทำงาน 10 คน -นายประพิศ  ศรีนอง รองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง ซึ่งเป็นคณะทำงานในโครงการได้กล่าวที่มาของการขอรับทุนสนับสนุนจาก สสส. จนได้รับทุนมาสนับนุนเพิ่มเติมจากเทศบาลตำบลร่มเมืองที่ได้จัดสรรเอาไว้แล้วนั้น -นายอำนวย  บุญชูศรี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ในการร่วมมือกันขับเคลื่อนบ้านหูแร่เป็นต้นแบบของหมู่บ้านการจัดการขยะ -นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร ในฐานะทีมทำงานของโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทางและเป็นผู้เขียนโครงการ ได้ชี้แจงความสำคัญของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และความร่วมมือของชาวบ้านในทุกกิจกรรม -ชาวบ้านมีข้อซักถามในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่เข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการและกิจกรรมการดำเนินการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ
  • แจ้งแบบตอบรับการเข้าประชุมเพื่อรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 4 กลุ่ม หลัก คือ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพ และกลุ่มแปรรูปของใช้
  • ประชุมครัวเรือนทั้ง 4 กลุ่มเพื่อดำเนินการขั้นตอนการสร้างกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายนัดประชุมชาวบ้าน ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ 3

 

60 39

4.

วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักและรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียงของหมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกวัน ในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. และ เวลา 18.00 - 19.00 น.
  • มีการขึ้นป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะในชุมชนโดยชุมชน ครัวเรือน ของแต่ละหมู่บ้านต้นแบบ ทั้ง 2 หมู่บ้าน ตามจุดพื้นที่สำคัญ
  • มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการคัดแยกขยะในวงเสวนาของชาวบ้านในชุมชน เช่น ร้านขายของ ร้านขายน้ำชา กาแฟ หรือบ้านเรือนของชาวบ้านที่เป็นที่ยอมรับในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีการกระจายข่าวข้อมูลของกิจกรรมผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้านให้มีความทั่วถึงทุกพื้นที่ในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

หมู่บ้านต้นแบบหมู่ที่ 3 มีการเปิดหอกระจายข่าวในตอนเช้าทุกวัน และ มีการขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์การคัดแยกขยะโดยชุมชนเพื่อชุมชน

 

0 0

5. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเป็นหมู่บ้านต้นแบบอย่างต่อเนื่อง และ รูปธรรม ม.3

วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบในการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นายอำนวย  บุญชูศรี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ จะทำการเปิดเสียงประชาสัมพันธ์การลด คัด แยก ขยะ โดยครัวเรือน ทุกวันในตอนเช้า เวลา 6.00 - 7.30 น  และ ในตอนเย็นเวลา 17.00 - 18.00 น
  • มีการแสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะด้วยตนเอง บริเวณจุดสำคัญของหมู่บ้าน 3 จุด คือ ถนนทางเข้าหมู่บ้าน สายนาท่อม  , ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน , ถนนทางเข้าหมู่บ้าน สายโคกแย้ม-บ้านลำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดเสียงกระจายข่าวหมู่บ้าน และ แสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะในจุดพื้นที่สำคัญของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 นายอำนวย บุญชูศรี ได้มีการเปิดหอกระจายข่าวแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่บ้านหูแร่รับทราบถึงการเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ โดยจะมีการเปิดเสียงรณรงค์การจัดการขยะในครัวเรือน โดยคัดแยกออกเป็นประเภทต่างๆ และ มีการรับซื้อขยะในวันที่จัดทำสวัสดิการหมู่บ้าน ณ ศาลาอเนกประสงคืบ้านหูแร่  และ มีการแสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกบริเวณจุดต่างๆใหมู่บ้าน

 

0 0

6. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบให้ประชาชนมีความเข้าใจและร่วมกันแสดงความคิดเห็นพร้อมเสนอแนะการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบ และ ประชุมครัวเรือนนำร่องโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ ในการเข้าสู่การรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ม.7

วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงโครงการให้ประชาชนในมีความเข้าใจในรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 81 คน คณะทำงาน 10 คน -นายเสนีย์ จ่าวิสูตร และทีมพี่เลี้ยงเข้าร่วมการชี้แจงประชาสัมพันธ์กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) -นางชะอ้อน นิลพันธ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 อธิบายเพิ่มเติมในการเข้าร่วมโครงการของ สสส.จากโครงการแรกคือชุมชนสีเขียวบรรยากาศสีขาวโดยการสนับสนุนการทำงานจากเทศบาลตำบลร่มเมือง  และโครงกรในวันนี้ที่ทางเทศบาลตำบลร่มเมืองได้คัดเลือกหมู่ที่ 7 เป็นหมู่บ้านต้นแบบของตำบลร่มเมืองในโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทาง -นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร ในฐานะทีมทำงานของโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทางและเป็นผู้เขียนโครงการ ได้ชี้แจงความสำคัญของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และความร่วมมือของชาวบ้านในทุกกิจกรรม -ชาวบ้านมีข้อซักถามในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่เข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการและกิจกรรมการดำเนินการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ
  • แจ้งแบบตอบรับการเข้าประชุมเพื่อรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 4 กลุ่ม หลัก คือ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพ และกลุ่มแปรรูปของใช้
  • ประชุมครัวเรือนทั้ง 4 กลุ่มเพื่อดำเนินการขั้นตอนการสร้างกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายนัดประชุมชาวบ้าน ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ 7

 

80 91

7. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเป็นหมู่บ้านต้นแบบอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมชัดเจน ม.7

วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักและรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียงของหมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกวัน ในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. และ เวลา 17.00 - 18.00 น.
  • มีการขึ้นป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะในชุมชนโดยชุมชน ครัวเรือน ของแต่ละหมู่บ้านต้นแบบ ทั้ง 2 หมู่บ้าน ตามจุดพื้นที่สำคัญ
  • มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการคัดแยกขยะในวงเสวนาของชาวบ้านในชุมชน เช่น ร้านขายของ ร้านขายน้ำชา กาแฟ หรือบ้านเรือนของชาวบ้านที่เป็นที่ยอมรับในหมู่บ้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-มีการกระจายข่าวข้อมูลของกิจกรรมผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้านให้มีความทั่วถึงทุกพื้นที่ในหมู่บ้าน -มีการแสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

หมู่บ้านต้นแบบหมู่ที่ 3 มีการเปิดหอกระจายข่าวในตอนเช้าทุกวัน และ มีการขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์การคัดแยกขยะโดยชุมชนเพื่อชุมชน

 

0 0

8. ศึกษา เรียนรู้ การจัดการหมู่บ้านต้นแบบให้กับคณะทำงานในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน

วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้กลุ่มหมู่บ้านต้นแบบได้มีแรงจูงใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม -เพื่อให้หมู่บ้านต้นแบบได้มีดอกาสสัมผัส แลกเปลี่ยน เรียนรู้ การดำเนินการจนเป็นต้นแบบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบของหมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 7 จำนวน 78 คนและคณะทำงาน 6 คน ร่วมเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ อบต.ท่าข้าม และ ทต.กำแพงเพชร - ช่วงเช้า อบต.ท่าข้ามกล่าวต้อนรับและนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะภายในตำบลท่าข้าม และแบ่งทีมศึกษาศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง คือ 1.ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน ได้แก่ การทำแก๊สชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน การใช้เตาถ่านพลังงานสูง เช่นการนำเศษไม้ กะลา เปลือกผลไม้(ทุเรียน มังคุด) ดอกไม้(ชบา) เมล็ดของลูกตาล  2.ศูนยืเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยจัดทำสูตรปุ๋ยต่างๆตามความต้องการของพืืช เช่นสูตรเร่งใบ เร่งดอก/ผล
-ชาวบ้านตัวแทนหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน ซักถามวิธีทำแก๊สเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำ การวักถามสูตรปุ๋ยที่ผ่านมาถึงความผิดพลาด หรือ การนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตนเอง
-ภาคบ่าย ณ ทต.กำแพงเพชร ผู้บริหารกล่าวต้อนรับและนำเสนอการดำเนินงานด้านการจัดการขยะในอดีตให้ทราบถึงความอดทน เพียรพยายามในการขับเคลื่อน โดยใช้เวลาเกือบ 10 ปี
- เรียนรู้ศูนย์คัดแยกขยะ ทต.กำแพงเพชร ซึ่งเทศบาลจะรับผิดชอบในส่วนของการจัดการขยะอันตราย และการนำขยะมารีไซคืเคิลในรูปแบบต่างๆ เช่น แจกันดอกไม้ กล่องใส่ทิชชู หมวก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนคณะทำงานหมู่บ้านละ 4 คนและผู้รับผิดชอบโครงการสำรวจและค้นหาแหล่งเรียนรู้การจัดการหมู่บ้านต้นแบบก่อนนำคณะทำงานเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านต้นแบบ ม.7และ ม.3ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนการจัดการขยะในครัวเรือน ณ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่  และ ทต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

 

60 78

9. ติดตามการดำเนินโครงการโดยพี่เลี้ยงประจำจังหวัด

วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้มีการรายงานผลกิจกรรมผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • พี่เลี้ยงประจำจังหวัดพัทลุง คือ นายเสณี  จ่าวิสูตร ได้มีการตรวจสอบการรายงานผลกิจกรรมที่โครงการได้ดำเนินการไปแล้วที่ละกิจกรรมพร้อมสอบถามข้อมูลผลของกิจกรรมนั้นๆ พร้อมทั้งการให้ข้อแนะนำ และวิธีการแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป  แนะนำการใช้ระบบโปรแกรมการรายงานผลที่ถูกต้อง
    -เจ้าของโครงการและคณะทำงานในโครงการช่วยกันป้อนข้อมูล รายงานผล และแสดงรูปภาพของกิจกรรมผ่านระบบโปรแกรมที่ สจรส.มอ.กำหนด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พี่เลี้ยงโครงการประจำจังหวัดพัทลุงติดตามการรายงานผลกิจกรรมลงในโปรแกรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมพี่เลี้ยงจัดการประชุมเพื่อติดตามการทำงานในโครงการและการรายงานผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ณ สจรส.มอ. ตั้งแต่เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป

 

2 2

10. ติดตาม ประเมิน ปรับปรุงครัวเรือนในหมู่บ้านต้นแบบให้ดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มแข็ง ทั้ง 2 หมู่บ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกระตุ้น สร้างความตต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-คณะทำงานในโครงการพร้อมด้วยทีมทำงานของหมู่ที่ 3 จำนวน 8 คน ลงพื้นที่ใภาคเช้าตั้งอต่เวลา 9.30 - 12.00 น.ติดตามครัวเรือน จำนวน 30 ครัวเรือน และในช่วงบ่าย เวลา 13.30 - 15.30 น. ทีมทำงานหมู่ที่ 7 จำนวน 10 คน ติดตามครัวเรือนในดครงการ จำนวน 35 ครัวเรือน
-ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะออกเป็น ขยะอินทรีย์  กระดาษ พลาสติก และขวด ไว้เพื่อจำหน่าย -การรับซื้อมีทั้งอกชนในพื้นที่เข้ารับซื้อ และ การกำหนดจุดรับซื้อโดยทีมทำงานในโครงการของหมู่บ้าน
 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานลงพื้นที่ติดตาม ประเมินครัวเรือนต้นแบบในการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมทำงานของม.3 , ม.7 ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหูแร่, บ้านลำ และ คณะทำงานของโครงการ โดยในช่วงเช้าได้ลงติดตามในพื้นที่ ม.3 และช่วงบ่ายในพื้นที่ ม.7

 

60 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 10                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 209,970.00 18,760.00                  
คุณภาพกิจกรรม 40 27                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมชาวบ้าน ม.3 และ ม.7 ครั้งที่ 2 ( 10 ต.ค. 2556 )
  2. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 3 ( 15 ต.ค. 2556 )
  3. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 4 ( 15 พ.ย. 2556 )
  4. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 5 ( 15 ธ.ค. 2556 )
  5. อบรมให้ความรู้ เพิ่มศักยภาพคณะทำงาน ( 30 ธ.ค. 2556 )
  6. .ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 6 ( 13 ม.ค. 2557 )
  7. ประชุมครัวเรือนในโครงการเพื่อขยายสู่ความเป็นกลุ่ม ( 15 ม.ค. 2557 )
  8. .ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 7 ( 15 ก.พ. 2557 )
  9. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการจัดการขยะ ( 20 ก.พ. 2557 )
  10. ติดตามกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ( 1 มี.ค. 2557 )
  11. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 8 ( 15 มี.ค. 2557 )
  12. ติดตามกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ( 23 มี.ค. 2557 )

(................................)
นางอารีย์ สังข์ทอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ