แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง

ชุมชน หมู่ 3 ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-00244 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0283

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน เมษายน 2556 ถึงเดือน สิงหาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมแกนนำเตรียมงานและจัดทำปฏิทินเพื่อชี้แจงโครงการ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและทำปฏิทินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำประกอบด้วย พระประเสริฐ บาศาธิโก ท่านเจ้าอาวาสวัดปากเหมือง รศ.เปรมจิต ธนวงศ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช นางญาติกา งามขำ นายธาวง อุดมศิลป์ นายวินัย (ผู้รับผิดชอบโครงการ) นายทวี ทิพย์จันทร์ นางวราภรณ์ แก้วจันทร์ นางปรีดา อุดมศิลป์ นางอัมพร ชูแก้ว นายปรีดา หนูนวล นายธนพล จันทร์ปลอด นายบุญชม สวัสดิ์เกลี้ยง นายสมบัติ นายชเวง ร่วมกันเล่าเรื่องกิจกรรมที่ตนเองจะมาร่วมช่วยในโครงการ ได้เลือกผู้ทำหน้าที่เลขานุการและเหรัญญิก เพื่อให้พี่เลี้ยงสอนการจัดทำรายงาน โดยเลขานุการจะเป็นผู้บันทึกข้อมูล เหรัญญิกจะดูแลเรื่องการใช้จ่ายเงินและหลักฐานการเงินในดครงการ มีคณะกรรมการร่วมพิจารณาการทำงานทุกครั้ง กำหนดให้มีการประชุมกันทุกเดือน เพื่อทบทวนงาน เตรียมงาน และสรุปงาน ในวันนี้ได้จัดทำปฏิทินกันเป็นแบบฉบับร่างก่อน เพื่อนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมารับฟังและเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมในวันอาทิตย์หน้า ให้ทุกคนช่วยกันทำ กำหนดวันที่ทุกคนช่วยทำได้ มีหลักการพื้นฐานคือ จะทำกิจกรรมกลุ่มกันวันอาทิตย์ เนื่องจากคนในหมู่บ้านจะว่างส่วนใหญ่ มีเด็กและเยาวชนมาร่วมด้วยเพราะเป็นวันหยุด นอกจากนี้กำหนดให้ทำนาสาธิตและแปลงผักสาธิตในโครงการ เก็บข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเกษตรอินทรีย์กับเคมี อะไรจะดีกว่ากัน โดยมีอาจารย์เปรมจิตช่วยดูแลเรื่องวิชาการ มีนายสมบัติ เป็นเหรัญญิก และนายชเวง เป็นเลขานุการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมตามที่ตั้งแผนไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำและเจ้าอาวาสร่วมกันชี้แจงโครงการ พร้อมกับชาวบ้านและพี่เลี้ยง 14 คน

 

20 14

2. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงโครงการกับกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผุ้เข้าร่วมได้เข้าใจกิจกรรมตลอดโครงการ บอกว่าได้ไปชวนคนที่ไม่มาให้มาร่วมเพิ่ม มีอาจารย์หิ้น เกตุแก้ว ปราชญ์ชุมชนบ้านเกาะสุด ตำบลเขาพังไกร มาพูดคุยให้ข้อมูลการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำส้มควันไม้ มีนายนรินทร์ อดีตทำงานไปรษณีย์ มาช่วยพูดคุยชักชวนให้คนมาร่วมมากขึ้น มีความประทับใจในชาวบ้านมาก ที่ยกมือกันทุคน ชอบที่จะมาร่วม ยิ้มและมีความสุข นัดแนะกันว่าจะมาร่วมกิจกรรมในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ทุกคนตื่นเต้นที่ได้มาร่วม มีความพร้อมเพรียง คนที่จะแสดงหนังตะลุงมาบอกต่อ มีคนชอบมากเรื่องการแสดงหนังตะลุงเพื่อลดสารเคมี เตรียมการฝึกซ้อมเพื่อไปโชว์ได้ เสนอรำวงเวียนครก ทุกคนรู้สึกยินดีที่ได้ทำอินทรีย์ชีวภาพ คิดว่าจะลด ละ เลิก การใช้สารเคมี จากคำคมของอาจารย์หิ้น ทุกคนเห็นด้วย ได้พูดว่า "คนควนชลิตทำได้หลายเรื่อง มีวัดมีตำนาน ได้มาร่วมทำกันต่อไปจะขยายผลได้มากขึ้น" ทุกคนมีชีวิตชีวา ยิ้มทุกคน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อชี้แจงโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วมคือกลุ่มชาวบ้านในโครงการมาจากหมู่ที่ ๓ ตำบลควนชลิต ร่วมชี้แจงโครงการและที่มาของกิจกรรม ให้กลุ่มผู้ร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็น

 

50 50

3. ปฐมนิเทศน์โครงการ

วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ดำเนินงานในปี 2556 ระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2556

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน เข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการ
  • คณะทำงานมีความเข้าใจในการบริหารดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจในการบันทึกกิจกรรม และการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับฟังการบรรยาย ปฐมนิเทศโครงการใหม่ และปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลการดำเนินกิจกรรมบนเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการและการจัดทำเอกสารทางการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และฝึกปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลการดำเนินกิจกรรมบนเว็บไซต์

 

2 2

4. ทำปุ๋ยอินทรีย์(ครั้งที่ 1)

วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพและลดปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมในการปฎิบัตทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 56 คน มาจากชาวบ้าน หมู่ที่ 3 และ นักวิทยากร จากบุคคลภายนอก มีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ชาวบ้านมีความรู้ สามารถทำปุ๋ยอินทรีย์เป็น สำหรับเก็บเอาไว้ใช้ใส่พืชผักต่างๆ ไว้มาบริโภคในครัวเรือน แทนปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิต ชาวบ้านมีหน้าตายิ้มแย้มดีใจที่มีคนมาสอนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ และตื่นเต้นที่มีบุคคลภายนอกที่เป็นทั้งนักวิชาการ และนักวิจัย ที่คอยส่งเสริมชาวบ้าน มาจากอำเภอ ทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช และ จากจังหวัดกระบี่ ใหักำลังใจและบอกกับชาวบ้าน ว่าจะเอาเป็นตัวอย่างจะไปทำกับชุมชนเขาบ้าง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกลุ่มบอกกล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในการทำปุ๋ยและการใช้ปุ๋นอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นตอน

 

50 50

5. ปุ๋ยอินทรีย์ ( ครั้งที่ 2 )

วันที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพและลด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 52 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นตอน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกลุ่มบอกกล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในการทำปุ๋ยและการใช้ปุ๋นอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 52 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน

 

50 50

6. ปุ๋ยอินทรีย์(ครั้งที่3)

วันที่ 29 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพิ่มการใช้อินทรีย์ ชีวภาพลดปุ๋ยเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นมีนตอน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้ความความรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์แก่เยาวชนและชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม พร้อมปฎิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 56 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน

 

50 50

7. ปลูกผักอินทรีย์ ( ครั้งที่ 1 )

วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการปลูกผักอินทรีย์ข้างบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจถึงกิจกรรมการปลูกผักอินทรีย์ โดยมี รศ.เปรมจิตร ชนะวงษ์ และ วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ถึงเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ และให้ทุกคนเขียนชนิดของผักที่ปลูกรอบบ้านของแต่ละคน ว่ามีพืชชนิดอะไรบ้างและอยากจะปลูกพืชผักชนิดอะไรบ้าง ทุกคนตั้งหน้าตั้งตาเขียนอย่างขะมักเขม้น และหัวเราะดีใจที่เขาเขียน พืชผักได้หลายชนิด แต่บ้างคนเสียดายเขียนชื่อพืชผักไม่ถูก นั้นหมายถึงชุมชนของเรา ที่ต้องควรตระหนักถึงเรื่องภาษาอีกอย่างหนึ่ง และได้ถามชาวบ้านว่าใครบ้างอยากจะเขียนหนังสือให้เป็น ทุกคนชอบใจ และบ้างคนบอกว่า ขอแค่เขียนชื่อพืชผักเป็นก็พอแล้วแต่เป็นเด็กนักเรียน ตอนแก่ก็ดีเหมือนกัน ทุกคนหัวเราะยิ้มแย้มอย่างมีความสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มเป้าหม้ายในเรื่องของการปลูกผักอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3,6 ได้รับฟังการเรียนรู้ในเรื่องของการปลูกผักอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษ รวม 54 คน

 

50 50

8. ปลูกผักอินทรีย์ (ครั้งที่ 2 )

วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ พืชผัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมในการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ผัก โดยมีวิทยากรเป็นให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการคัดเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูก ชาวบ้านได้เข้าใจและได้ความรู้ จากวิทยากร 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มเป้าหม้ายในเรื่องของการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ พืชผัก

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3,6 ได้รับฟังการเรียนรู้ในเรื่องของการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ พืชผัก

 

50 50

9. ปลูกผักอินทรีย์ ( ครั้งที่ 3 )

วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนดสถานที่ปลูก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเสนอแปลงปลูกพักอินทรีย์ ของ นายนรินทร์ รามแก้ว เป็นต้นแบบ มีผักผสมผสานตั้งแต่ต้นไม้ ถึงเล็ก มีหลายชั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์กับครอบครัว กินผักที่ปลูก มีสมุนไพรมาตาก เช่น กระเจี๊ยบ ลูกยอ เฟืองมาทำน้ำหมัก กล้วยมาทำน้ำส้มกล้วยไว้ใช้แทนน้ำส้มสายชู ดี สุขภาพดี ให้เป็นคนต้นแบบบอกเพื่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของการหาพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้านจำนวน 50 คน หมู่ที่ 3 ได้คัดเลือก หาแปลงปลูกผัก

 

50 50

10. ติดตามโครงการและร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาเรื่องปลูกข้าว  ปัญหาเรื่องดินเสื่อมสภาพ  ปัญหาเรื่อง  ปัญหาเรื่องปุ๋ยราคราแพง ปัญหาเรืองเมล็ดพันธุ์ข้าวราคาสูงเกินไปไม่มีคุณภาพ  ปัญหาเรื่องการกำจัดศัตรูพืช มีผู้เข้าร่วมประชุม  4 กลุ่ม
1. กลุ่มบ้านเกาะสุด
ได้ทำกสิกรรมไร้สารพิษ  ทำนาเกษตรอินทรีย์ ได้ทำมาตั้งแต่ปี 2546  และได้มีกลุ่มที่ทำอยู่ คือ กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ ทำน้ำมักชีวิภาพ  และได้ถ่ายทอดให้นักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะสุด ได้ทำนาอินทรีย์ อยู่ในปัจจุบัน
2. กลุ่มบ้านขี้นาก ลุงจรัส  ปลูกผัก ปลูกพริก ปลอดสารพิษ โดยที่ไม่ต้องซื้อกิน ได้ทำกันทั้งหมด 4 หลังคาเรือน และได้มาร่วมกิจกรรมทำปุ๋ยมัก 3. กลุ่มบ้านผาสุก นางปรีดา หนูหมาน  ได้ปลูกผัก เช่นผักคะน้า ผักกาด ผักชี  และปลูกพริก  โดยมากปลูกพริกเป็นหลักประมาณ 20 ครัวเรือน และได้เข้ามาร่วมกิจกรรม อยู่เป็นประจำ
4. กลุ่มปากเหมือง
นางชอุ่ม  หนูโยม  ได้ปลูกปลอดสารพิษ
มะละกอ กล้วย  โหรภา ข่า  ได้ปลูกพริกเป็นอาชีพหลัก ประมาณ 20 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมเรียนรุ้นาอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้ตลอดวัน เรื่องปัญหาและแนวทางการทำนาอินทรีย์ จำนวน 60 คน มีการแสดงกลอนหนังให้ชาวบ้านและทีมจากบางใหญ่ได้ร่วมเรียนรู้

 

50 50

11. จัดทำเอกสารส่ง สสส และเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ

วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำเอกสารส่ง สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รู้ปัญหาอุปสรรค ว่ายังมีการเก็บข้อมูลไม่ครบตามที่ให้พี่เลี้ยงตรวจ กลับค้นข้อมูลที่บ้านใหม่ 2 รอบ กว่าจะทำเสร็จ ต่อไปในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปได้รู้แล้ว ทำถูกแล้ว ได้เข้าใจ พี่เลี้ยงก็ได้ให้คำแนะนำได้ตรงกับสิ่งที่ต้องทำ และพัฒนาต่อยอด สรุปว่า ชัดเจนกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ส่งเอกสารงวดแรกให้ สสส

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการและพี่เลี้ยงร่วมจัดทำรายงานเพื่อส่ง สสส

 

20 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 35 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,650.00 100,084.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 34                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมประจำเดือนวางแผน เพื่อติดตามประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 6 ( 5 ก.ย. 2556 )
  2. ทำนาอินทรีย์ ( 7 ก.ย. 2556 )
  3. จัดแสดงหนังตะลุงโขนในงานเทศกาล ( 18 ก.ย. 2556 )
  4. จัดนิทรรศการร่วมสร้างสุขภาคใต้สู่วิถีการจัดการตนเอง ( 28 ก.ย. 2556 )
  5. ประชุมประจำเดือนวางแผน เพื่อติดตามประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 7 ( 15 ต.ค. 2556 )
  6. พี่เลี้ยงติดตามโครงการครั้งที่ ๑ ( 18 ต.ค. 2556 )
  7. กิจกรรมประชุมวางแผนกิจกรรมติดตามโครงการประจำเดือน ( 13 พ.ย. 2556 )
  8. ประชุมประจำเดือนวางแผน เพื่อติดตามประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 8 ( 15 พ.ย. 2556 )
  9. เยี่ยมโครงการ ( 16 พ.ย. 2556 )
  10. กิจกรรมการทำนาอินทรีย์ ( การเตรียมดินครั้งที่ 2 ) ( 30 พ.ย. 2556 )
  11. ประชุมประจำเดือนวางแผน เพื่อติดตามประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 9 ( 15 ธ.ค. 2556 )
  12. กิจกรรมการทำนาอินทรีย์ (การเพาะเมล็ดข้าวครั้งที่ 3) ( 28 ธ.ค. 2556 )
  13. จัดแสดงหนังตะลุงโขน ( 31 ธ.ค. 2556 )
  14. การดูแลรักษาต้นข้าว ครั้งที่ 1 ( 10 ม.ค. 2557 )
  15. กิจกรรมการดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนาอินทรีย์ (ครั้งที่ 2) ( 15 ม.ค. 2557 )
  16. ประชุมสัมมนาผู้รับผิดชอบโครงการ ของ สจรส. ( 17 ม.ค. 2557 )
  17. กิจกรรมการดูแลรักษาต้นข้าว นาอินทรีย์ (ครั้งที่ 3 ) ( 20 ม.ค. 2557 )
  18. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 1) ( 23 ม.ค. 2557 )
  19. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 2) ( 2 ก.พ. 2557 )
  20. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 3) ( 7 ก.พ. 2557 )
  21. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 1) ( 14 ก.พ. 2557 )
  22. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 2) ( 17 ก.พ. 2557 )
  23. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 3) ( 18 ก.พ. 2557 )

(................................)
นายวินัย อนุวัฒน์วงค์ 088-3820818
ผู้รับผิดชอบโครงการ