directions_run

สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ”

ม.2 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นายชัยวุฒิ ปั้นแป้น 084-0570159

ชื่อโครงการ สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ ม.2 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-00278 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0480

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557


กิตติกรรมประกาศ

"สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.2 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ ม.2 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 56-00278 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2556 - 31 พฤษภาคม 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 203,500.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 45 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. พัฒนาศักยภาพแกนนำและผู้นำกลุ่ม ให้สามารถขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย พัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพ ชักนำสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนมาปรับสภาพพื้นที่บ่อรกร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ศูนย์ประสานงานกลุ่มเป็นสื่อกลางของการพัฒนาความรู้และพัฒนาอาชีพ
  2. 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพจากพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จาการมีส่วนร่วมของคนในทุกวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมทีมเพื่อจัดทำปฏิทินกิจกรรมตลอดโครงการ

    วันที่ 2 มิถุนายน 2556 เวลา 14:00-18.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการ หัวหน้ากลุ่มสามประสานได้ประชุมวางแผนงานและกำหนดปฏิทินโครงการ พี่เลี้ยงร่วมปฐมนิเทศให้สมาชิกได้เรียนรู้การดำเนินงานตลอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีปฏิทินกิจกรรมตลอดโครงการ แกนนำวางแผนงาน และทบทวนความรู้ ตัวคน ปราชญ์ชุมชน และพี่เลี้ยงในพื้นที่ช่วยกันกำหนดปฏิทินตลอดโครงการ เริ่มชี้แจงโครงการในวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2556 นี้

     

    20 20

    2. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 8 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงและบอกวัตถุประสงค์จของโครงการ รายละเอียดของกิจกรรมโครงการ และร่วมทำปฏิทินโครงการร่วมกันตามบริบทของคนในชุมชน มีเข้าร่วม ๔๕ คร้วเรือนตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแกนนำ ผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและพร้อมที่ร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สมาชิกในโครงการเสนอให้ทำปฏิทินโครงแจกทุกคน และมีปฏิทินแผ่นใหญ่ติดทีหน้าที่ทำการโครงการเพื่อจะได้เห็นและเตือนทุกคนว่าจะถึงกิจกรรมแล้วและมีประโยชย์สำหรับคนที่สนใจจะได้รู้และเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแผนประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและองค์กรอื่่นที่มาร่วมได้เข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น ทุกคนเห็นด้วยเพราะเป็นการกระตุ้นการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีหัวหน้ากลุ่มผู้เลี้ยงปลา อ.เชียรมาให้ความรู้และข้อมูลเรื่องการเลี้ยงปลา และสาเหตุของปัญหาปลาตายในช่วงฤดูร้อน จึงปรับวิธีการเลี้ยงโดยการปล่อยลูกพันธ์ปลาให้น้อยลง พยายามเตรียมบ่อให้ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมา ต้องตากบ่อให้แห้งจริง ๆ อย่างน้อย ๑ สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะสูบนำ้เข้า เพราะถ้าบ่อไม่แห้ง เชื้อโรคจะตกค้าง จะส่งผลให้ปลาตายในระยะต่อมา นอกจากนี้ได้มีกองทุนฟื้นฟูเข้ามาให้ความรู้เรื่องการชำระหนี้  ให้กำลังใจในการผ่อนผันการชำระหนี้และการดำเนินชีวิตเพื่ออยู่กับหนี้อย่างมีความสุข มีการพูดคุยในเรื่องหนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะภัยธรรมชาติโดยผิดจากการคาดการของเกษตรกรทำให้ขาดทุน ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติที่บังคับไม่ได้

     

    45 45

    3. ประชุมปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมปฐมนิเทศโครงการ และตรวจรายงานการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้การจัดทำโครงการ และเรียนรู้การจัดทำรายงานจาก สสส

     

    3 3

    4. ประชุมกลุ่มแกนนำ

    วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 13.00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มแกนนำมีผู้เข้าร่วมประชุมตามเป้าหมาย แจ้งสมาชิกกลุ่มให้เข้าร่วมกิจกรรมโดยการส่งหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงวันทำกิจกรรมพร้อมแนบปฏิทินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มแกนนำให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พร้อมกับทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี

     

    20 20

    5. ลงแขกครั้งที่ 1

    วันที่ 23 มิถุนายน 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกกลุ่มและแกนนำกลุ่มร่วมกันลงแขก โดยการช่วยกันตัดหญ้าและถางพื้นที่บริเวณสวนปาล์มของสมาชิกในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พร้อมนำอุปกรณ์ในการลงแขกกันมาเอง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกและแกนนำ ผู้นำชุมชน ร่วมกันพัฒนาพื้นที่เกษตรของสมาชิกกลุ่มบ้านที่มีการลงแขก อย่างเต็มแรง ด้วยความเต็มใจ สนุกสนานกับการลงแขก

     

    20 20

    6. ประชุมกลุ่มแกนนำ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำกลุ่มและผู้นำกลุ่มร่วมกันปรึกษาหารือเรื่องการติดต่ออุปกรณ์กลองยาวที่จะนำมาฝึกซ้อมและติดต่อปราช์ญและผู้ใหญ่ในชุมชนที่มีความรู้เรื่องกลองยาวเพื่อมาฝึกสอนประชาชนทุกวัยที่สนใจ โดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและผู้นำให้ความร่วมมือและเต็มใจให้ความช่วยเหลือตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

     

    20 20

    7. ปราชญ์และผู้ที่มีความรู้กลองยาว สอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราช์ญและผู้ที่มีความรู้ในชุมชนเรื่องกลองยาว สอนประชาชนทุกวัยที่สนในเรื่องกลองยาวจำนวน 20 คน ให้สามารถเล่นกลองยาวได้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาชนสนใจ การเล่นกลองยาวมากเป็นพิเศษ มีการมาซ่อมกันเป็นประจำ นอกเหนือจากเวลาเรียน ทำให้เด็กและเยาวชนสนใจดนตรีมากขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดี หลีกเลี่ยงการมั่วสุมอบายมุข เด็กเรียนรู้ได้รวดเร็ว

     

    23 23

    8. ลงแขกครั้งที่ 2

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำผู้นำกลุ่มผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มจำนวน 24 คนร่วมกันพัฒนาโดยการถางหญ้า ตัดหญ้า บนคันนา บริเวณที่ปลูกพืชบนคันนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกร่วมกันถางและตัดหญ้าบริเวณที่ปลูกพืชบนคันนาให้มีสภาพ โล่งและเหมาะกับการเจริญเดิบโตของพืชมากขึ้นกว่าเดิม

     

    20 24

    9. ประชุมกลุ่มแกนนำ

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำผู้นำกลุ่มและผู้นำชุมชนจำนวน 20 คนประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมการไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่ในวันที่ 14 กรกฏาคม  2556 แบ่งงานกันรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำผู้นำและผู้นำชุมชนเข้าประชุมโดยพร้อมเพียง สมาชิกรับงานไปทำตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ฝ่ายติดต่อประสานงานกับเจ้าของสถานที่ที่จะไปศึกษาดูงาน โดยไปดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานไร้สารพิษ สวนท่านขุนเจริญ ต.ท่าพญา จ.นครศรีธรรมราช ฝ่ายจัดหารถ  ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีการมอบหมายงาน ร่วมกันกำหนดบ้านที่ลงแขก เตรียมการจัดหาอุปกรณ์กลองยาวให้เด็ก ให้ลุงเด็จ ปราชญน์ชุมชน เรียกเด็กมาซ้อม และขอบริจาคกลองชำรุดของโรงเรียน มาให้ชชาวบ้านช่วยกันซ่อมแซม แกนนำผู้นำกลุ่มและผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

     

    20 20

    10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เรื่องอาชีพครั้งที่ 1

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและผู้นำกลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน 24 คน ไปศึกษาดูงาน ที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน  สวนท่านขุนเจริญ ต.ท่าพญา  จ.นครศรีธรรมราช แกนนำและผู้นำกลุ่มเข้าชมสวนท่านขุนเจริญ ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีลักษณะ คล้ายกับอาชีพของชุมชนบ้ายบางรากไม้ มีการเลี้ยงปลา การปลูกพืชปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยใช้เองในการปลูกพืช แกนนำมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสพการณ์ในการทำการเกษตร 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำผู้นำกลุ่มให้ความสนใจและได้ความรู้จากการแลกเปลี่ยนประสพการณ์การทำการเกษตรแบบผสมประสาน 

     

    20 24

    11. ปราชญ์และผู้มีความรู้เร่ชื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และผู้ทีมีความรู้ความสามารถในการเล่นกลองยาวสอนประชาชนที่สนใจดนตรีพื้นบ้าน กลองยาว โดยเฉพาะวัยเด็กสนในเป็นอย่างมาก มากว่าเป้าหมายที่วางไว้ ผู้นำชุมชนและแกนนำให้กำลังใจ คอยดูแลเอาใจใส่ การเรียนการสอนเป็นอย่างดี ให้สามารถเล่นได้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดปัญหาการมั่วสุมอบายมุขและยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสนใจเข้าร่วมโครงการ ร่วมเรียนและฝึกซ้อมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เด็กๆ เรียนรู้ได้เร็วกว่าที่คาดหวังไว้ โดยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ได้นำทีมกลองยาวไปเล่นโชว์ในงานอุปสมบทในชุมชน ได้รับรางวัลจากเจ้าภาพ เด็กยินดีกับผลงานของตนเองและทีมงาน

     

    23 24

    12. ลงแขกครั้งที่ 3

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการลงแขก จำนวน 24 คน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ สมาชิกให้ความร่วมมือกันดีมาก ช่วยกันถางวัชพืชทีแปลงมะนาวของสมาชิก จนเป็นพื้นที่ ที่ต้นมะนาวสามารถรับแสง และเจริญเติบโตได้ดีต่อไปในวันข้างหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่สำหรับทำการเกษตรของสมาชิก โล่ง ไร้วัชพีช ซึ่งเป็นผลดีกับเกษตรกร และต้นไม้ สมาชิกร่วมกันลงแขกอย่างสามัคคี ทำให้เกิดงานและความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

     

    20 24

    13. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชนเข้าร่วมในการเรียนการสอนดนตรีพื้นบ้าน กลองยาวจำนวน 20 คน ผู้นำชุมชน แกนนำ มาร่วมเป็นกำลังใจ และดูแลเรื่องการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เด็กซ่อมกันต่อเนื่อง สมำเสมอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนเข้าร่วมในการเรียนการสอนกลองยาว ตามเป้าหมายที่วางไว้ เด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็วเกินความคาดหวัง เด็กสนใจการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

     

    23 20

    14. แลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกพื้นที่เรื่องอาชีพครั้งที่ 2

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ความสนใจในกิจกรรมของชุมชนได้เข้าร่วมในการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ด้วย จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 28 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำผู้นำและผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ประสพการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกพื้นที่ ในอาชีพ การเลี้ยงแพะ การปลูกพืช การเลี้ยงปลา การทำแก็สชีวภาพใช้ในครัวเรืยน โดยใช้วัสดุที่มีในครัวเรื่อน เช่น มูลโค มูลแพะ แกนนำให้ความสนใจและพร้อมจะเก็บเอาสิ่งที่ดีๆ ไปประยุกษ์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง

     

    20 28

    15. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และผู้ที่มีความรู้ความสามารถเรื่องกลองยาว สอนประชาชนทุกวัย จำนวน 20 คนที่สนใจเข้าร่วมการเรียนการสอน จนสามารถเล่นกลองยาวได้ แกนนำเข้าร่วมให้กำลังใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนทุกวัยสามารถ จำนวน 20 คนสามารถเล่นกลองยาวได้ และสามารถออกแสดงการเล่นกลองยาว เช่น การเล่นกลองยาวร่วมในพิธีการทอดผ้าป่า ที่วัดบางฉนาก ในวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2556

     

    23 20

    16. ลงแขกครั้งที่ 4

    วันที่ 4 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มจำนวน 20 คน ได้ร่วมกันตัดหญ้าในสวนปาร์ม โดยการแบ่งงาน แบ่งกลุ่ม ผู้ชายตัดหญ้า ผู้หญิงถอนหญ้าในแปลงพริก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แปลงสวนปาร์ม ปราศจากวัชพืช แปลงพริกสะอาดตา แปลงปาร์มและพริก ต้องได้รับผลผลิตมากขึ้นแน่นอน แบ่งช่วยทำกันเป็นโคก ผู้ชายตัดหญ้า ผู้หญิงเก็บและถอน ตกแต่งขอบ และริมโคก แยกส่วนโคกผัก และปาล์ม มีการใช้เครื่องสูบน้ำต่อท่อ บ้านนี้ปลูกพริกได้กิน เหลือขายได้มากกว่าเพื่อนบ้านคนอื่น เป็นบ้านต้นแบบเกษตรผสมผสาน 

     

    20 20

    17. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 13.30-20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กร่วมกับปราชญ์ซ้อมกลองยาวกันดี มีเด็กมาซ้อม 23 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กร่วมกับปราชญ์ซ้อมกลองยาวกันดี อย่างสนุกสนาน มี อสม.ลำใย ช่วยดูแล รับผิดชอบให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร ช่วยให้เด็กได้ฝึกซ้อม และทำอุปกรณ์กลองยาวกันเอง มีลุงเด็จเป็นกลองยาวเก่า ช่วยซ่อมอุปกรณ์ให้เด็กทำ

     

    23 23

    18. แสดงกลองยาว

    วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและปราชญ์ร่วมกันแสดงกลองยาวอย่างมีความสุข มีคนเข้าร่วม 200 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนที่เข้าร่วมมีความประทับใจเด็กมาก เด็กภูมิใจ มีการนัดแนะการฝึกซ้อมต่อเนื่อง เพื่อได้ออกงานอีก มีแม่หม้ายมาบอกว่า แต่งงานใหม่จะรับกลองยาวเด็ก คนในชุมชนให้ความร่วมมือดี ทุกคนพร้อมให้กำลังใจเด็กทุกคน ชื่นชมผู้ปกครองที่สนับสนุนเด็ก

     

    23 200

    19. ลงแขกครั้งที่ 5

    วันที่ 17 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนช่วยกันลงแขกบริเวณที่รกร้างบ้านนายนเรศ ระหว่างทำได้เล่าเรื่องการทำเกษตรผสมผสานให้เพื่อฟัง บอกเคล็ดลับการเลี้ยงปลาพง ให้ได้ผลดี ทุกคนช่วยกันทั้งวันจนเสร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสิ่งดีเกิดขึ้นมาก ได้แก่ มีการพัฒนาอาชีพเลี้ยงปลาพง จนมีคุณภาพจากการเรียนรู้ และทำเป็นกลุ่มเกษตรผสมผสาน มีอาชีพมั่นคงมากขึ้น คนในชุมชนมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น ได้ใช้ความรู้ที่มาแลกเปลี่ยนกัน มาลงแขกก็ได้แลกเปลี่ยนกันทุกเรื่อง ปลาสองน้ำกินอร่อย เป็นที่ต้องการของตลาด ที่มากกว่านั้นคือได้ความรู้ ได้เพื่อน ได้พัฒนาอาชีพให้กินดีอยู่ดีมากยิ่งขึ้น

     

    20 24

    20. ลงแขกครั้งที่ 6

    วันที่ 18 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกมาช่วยเพิ่มเติม ช่วยกันดีมาก 30 คนได้มากกว่าที่คิด ได้ทั้งความรู้และเพื่อน และอาชีพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคนที่มาเพิ่ม ก่อนนี้ไม่เป็นสมาชิก วันนี้มาช่วย มีการผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปช่วย เกิดความสามัคคี กลมเกลียว มาช่วย ทุกครั้งที่ลงแขกจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ได้ความรู้ไปทำเรื่องใหม่ๆ มีการพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน มีความประทับใจของทุกคน พี่จวน ทำเองไม่นอดแล้ว พอได้ลงแขก ได้ช่วยเพื่อที่เจ็บป่วย เพื่อบ้านช่วยกันอย่างเอื้อาทร

     

    20 30

    21. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่ววม

    วันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และเด็กร่วมกันฝึกซ้อม เพิ่มเพลงกลองยาวและดูแลอุปกร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กสามารถเล่นกลองยาวได้ รับงานได้ ต่อไปสามารถสร้างอาชีพให้เด็ก ได้เป็นทุนการศึกษาเด็กได้ เด็กมีกำลังใจ ปราชญ์มีความสุข ชอบสอน จากเดิมไม่มีอุปกรณื ไปหามาให้ ไปขอโรงเรียนมาให้เด็กได้ซ้อม ปราชญ์มีความภุมิใจที่มีเด็กมาสืบทอด มีปราชญ์มาช่วยเพิ่มเติม มีความสุขมากที่ได้สอนเด็ก เด็กไม่มาให้หลานไปรับมา คนสอนคอยสอนจนมีคนมารียนมากขึ้นเ

     

    30 40

    22. ลงแขกครั้งที่ 7

    วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ แกนนำกลุ่ม ผู้นำชุมชน เพื่อนบ้านนายสุรชัย ปานสี มีสามาชิก 22 คน มาช่วยกันลงแขก เจ้าของบ้านได้ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์เพิ่มเติม และเลี้ยงอาหารเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงแขกบ้านนายสุรชัย ปานสี ตัดต้นตอบนหัวนา สมาชิกนำไปแช่น้ำไว้ เพื่อไว้ทำคอกสัตว์ ส่วนที่เ็ป็นกิ่งเก็บไปเป็นอาหารแพะ มาช่วยลงแขกแล้วได้ทั้งความรู้ ความสามัคคี เพื่อนช่วนกันเอง และวัสดุนำไปใช้ประดยชน์ได้ด้วย ทุกคนอยากให้มีกันตอลด มีการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการใช้เศษวัสดุจากพื้นที่ร้างมาเป็นทุนการผลิตอาหารสัตว์ เชื่อมโยงทั้งกลุ่มเป็นผสมผสาน ทั้งกลุ่มเลี้ยงสัตว์บก เช่น แพะ เลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลานิล ปลาพง ได้ผล ปลูกพืชผัก โดยใช้น้ำในคูมารดผัก ปล่อยปลาในคูปาล์ม มีการพัฒนาต่อยอดเรื่องเกษตรผสมผสานได้ไปอีกมาก เริ่มเข้าใจคำว่าพอเพียง มีการผสมผสานจึงจะดีมาก

     

    20 22

    23. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและผู้นำกลุ่มได้เลือกบ้านต้นแบบ 10 บ้าน เพื่อจัดทำกิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบ โดยให้แกนนำบ้านต้นแบบเป็นวิทยากรในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและผู้นำกลุ่มเข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน เพื่อปรึกษา วางแผน เตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบ

     

    20 20

    24. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบครั้งที่ 1

    วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 09:00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำชุมชน และสมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนที่บ้านต้นแบบ (นางละเอียด คำขุนนุ้ย) ได้พูดคุยและเล่าถึงวิธีการ การทำการเกษตรแบบอินทรีย์ให้เพื่อนๆสมาชิกทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ หลังจากนั้นสมาชิกได้จัดกลุ่มเล่าถึงวิธีการทำการเกษตรของตนเองแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ความขยัน ความอดทน การรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้รู้จักประหยัด ใช้เวลาให้คุ้มค่า ทำทีละนิด ตามกำลังของตนเองที่ทำได้  พยายามทำทุกวัน ถ้าไม่ติดธุระ นางละเอียด เล่าถึงการทำงานของตนกับสามีว่า งานทุกอย่างต้องช่วยกัน แบ่งกันทำ การทำการเกษตรของนางละเอียด ที่ประสพผลสำเร็จ ทุกวันนี้ เพราะความขยัน และอดทน พยามยามปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ในการทำการเกษตร ให้ตรงไหนที่พอจะเป็นตัวอย่าวได้ก็นำมาทำ และหาความรู้ใหม่ๆ จากการศึกษาดูงาน จากเพื่อนๆ สมาชิกบ้าง นำมาปรับเปลี่ยนให้ดีขั้นอยู่เสมอๆ เป็นต้นแบบเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ประกอบด้วยการปลูกพืชบนคันนา การปลูกปาล์ม การเลี้ยงปลาในบ่อดิน วิธีการคือ การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน นางละเอียดจะใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำและผสมอาหารให้ปลากินและใช้น้ำหมักรดพืชผักบนคันนา ต้นปาล์มได้รับน้ำเลี้ยงจากร่องสวนโดยการใช้วิธีสลับน้ำกับบ่อเลี้ยงปลาหมุนเวียนเป็นวงกลม ปัจจุบัน นางละเอียดเป็นเกษตรกรตัวอย่างด้านการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับคนในชุมชน ได้มาศึกษาเรียนรู้อยู่เสมอ สมาชิกและแกนนำกลุ่ม จัดกล่มพูดคุย แลกเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรซึ่งกันและกัน แกนนำและสมาชิกกลุ่มได้ความรู้จากกบ้านต้นแบบและสมาชิก ในการร่วมจัดเวทีเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เกิดการรวมกลุ่มการทำเกษตรอย่างต่อเนื่องในชุมชน

     

    40 40

    25. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนในเข้าร่วม

    วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลุงเด็จสอนเด็กให้เล่นกลองยาว และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกัน เด็กและเยาวชนเข้าร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กลองยาวจำนวน 24 คน ปราชญ์ร่วมกันสอน กลองยาวกับเด็กและเยาชน สอนให้เด็กได้เล่นจังหวะ และเพลงใหม่ ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้นำชุมชนเข้าร่วม และมาร่วมบริจาคอุปกรณ์เพิ่มเติม ได้นำกลองที่ชำรุดไปช่วยซ่อมให้ และหามือคีบอดมาใหม่ มาสอนเด็กโดยเฉพาะ ขณะซ้อมพร้อมกันทุกคนชอบมาก มีความสุข เด็กมาแล้วไม่ยอมกลับ ชอบกันมาก เด็กและเยาวชนสามารถเล่นกลองยาวได้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ หลีกเลี่ยงการมั่วสุมอบายมุขและยาเสพติด ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ที่มีความรู้เรื่องกลองยาวในชุมชนร่วมกันสอนประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและเยาวชนให้ความสนใจในกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก เด็กและเยาวชนสามารถเล่นกลองยาวได้เป็นที่น่าพอใจ และคาดว่าเด็กและเยาวชนจะสามารถพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ  ตอนนี้ เด็กและเยาวชน สามารถรับงานแสดงกลองยาวได้แล้ว

     

    23 24

    26. ลงแขกครั้งที่ 8

    วันที่ 8 กันยายน 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและสมาชิกกลุ่มจำนวน 20 คน เช้าร่วมกันลงแขก บ้าน นางสาวสมนึก  แก้วเมือง โดยการปรับสภาพ ที่รกร้าง ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถ ปลูกพืชผักได้ ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรื่อน บ่อปลา พร้อมสำหรับการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันลงแขก ถางหญ้าที่รกร้างบนคันนา ให้สามารถ นำมาเป็นพื้นที่สำหรับปลูกพืชผัก ไว้กินในครัวเรือน ปลอดสารพิษ ลดรายจ่าย เหลือไว้ขายให้กับแหล่งรับซื้อ ผลิตผล ปลอดสารพิษในชุมชน

     

    20 20

    27. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 14 กันยายน 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และผู้ที่มีความรู้เรื่องกลองยาว สอนเด็กและเยาวชนที่สนใจ จำนวน 23 คน ให้สามารถ เล่นกลองยาวได้ นำเพลงใหม่ จังหวะใหม่ มาสอนเด็ก เด็กสามารถเล่นได้ เด็กและเยาวชน สนใจในการเรียนการสอนกลองยาว ดีมาก เรียนรู้ได้เร็ว พยายามทำตามครูผู้สอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน สามารถเล่นกลองยาวได้ รับงานแสดงได้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ คาดว่าเด็กจะสามารถพัฒนาฝีมือได้ดีขึ้นแน่นอน

     

    23 23

    28. จัดเวทีเรียนรู้บ้านต้นแบบครั้งที่ 2

    วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม จำนวน 40 คน ร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบ บ้านที่ ๒ ต้นแบบเรื่องการเลี้ยงปลาและการปลูกพืชผัก โดยการนำเอาความรู้ที่ได้จากการอบรมและการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ มาประยุกค์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ มีการทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในการเลี้ยงปลา และการปลูกพืชผัก วิทยากรบ้านต้นแบบ ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำเร็จของตนในการประกอบอาชีพ บอกแนะเพื่อนสมาชิก วิธีการทำน้ำหมัก และขั้นตอนในการเลี้ยงปลาให้ได้ผลผลิตสูงสุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและสมาชิกกลุ่ม ร่วมกันนำเสนอ วิธีการทำ การเกษตรของตนเอง แต่ละคน ต่างคนต่างวิธีบ้าง วิธีเดียวกันบ้าง  สมาชิกได้ แกนนำบ้านต้นแบบ สามารถเป็นวิทยากร ในการจัดเวทีที่บ้านต้นแบบได้

     

    40 40

    29. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และครูสอนกลองยาวเด็กและเยาวชน จำนวน ๒๓ คน ได้ร่วมกันเรียนรู้ ถึงวิธีการตีกลองยาว จังหวะในการตี การตีกลองยาวประกอบเพลง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน สามารถเล่นกลองยาวได้ อย่างเร็ว สามารถรับงานได้แล้ว งานประเพณีในหมู่บ้าน ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน แก้สินบน 

     

    23 23

    30. ลงแขกครั้งที่ 9

    วันที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและสมาชิกกลุ่มจำนวน ๒๐ คน ร่วมกันลงแขกบ้านสมาชิก โดยการร่วมกันตัดหญ้าบนคันนา และถางป่า ให้มีสภาพพร้อมสำหรับการปลูกพืชผัก และการเลี้ยงปู เลี้ยงปลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ ที่รกร้าง สามารถทำการเกษตรได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ออกกำลังกายโดยการปลูกพืชผัก สุขภาพจิตดี เกิดการเอื้อเฟื้อกันมากขึ้น เหลือจากกิน แบ่งให้เพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยนกัน เกิดความรักความสามัคคี 

     

    20 20

    31. ปราชญ์และผู้ที่มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์และครูสอนกลองยาวพร้อมกับกลุ่มแกนนำ ได้นำเด็กและเยาวชน จำนวน 24 คน เข้าร่วมแสดงกลองยาว ในงานจัดนิทรรศการ สร้างสุขภาคใต้ ที่ มอ. ในชุดการแสดงที่มีชื่อว่า กลองยาวรำวงพื้นบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน สามารถ เล่นกลองยาวได้ รับงานแสดงได้ สร้างรายได้ สร้างความบรรเทิงให้กับชุมชน เกิดความสนุกสนานภายในชุมชน คลายความเครียดได้ 

     

    23 24

    32. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 29 กันยายน 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูสอนกลองยาว ได้สอนให้เด็กและเยาวชนได้เรีียนรู้ถึงวิธีการตีกลองยาว การร้องเพลงประกอบการตีกลองยาว และจังหวะในการตีกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถเรียนรู้ และเล่นกลองยาวได้ สามารถรับงานแสดงการตีกลองยาวได้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้  ทำให้กิจกรรมในชุมชนเกิดความสนุกสนาน คลายเครียด

     

    23 23

    33. เบิกจ่ายค่าที่พักและค่าเดินทางประชุมงานคนใต้สร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมงานคนใต้สร้างสุขภาคใต้ นำกลองยาวไปแสดง นำผลผลิตในโครงการไปจัดนิทรรศการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้การสร้างสุข การพัฒนาด้านเกษตรพอเพียง มาเล่าเพื่อนบ้านได้อยู่หลายวัน เด็กและเยาวชน ผู้สูงองายุ มีความสุขมากที่ได้ไปแสดงงานใหญ่แบบนี้ เป็นครั้งแรกของกลุ่มด้วย มีความสุขทุกคน

     

    24 45

    34. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ทีสนใจเข้าร่วม

    วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราช์ญและครูสอนกลองยาว สอนเด็กและเยาวชน ให้สามารถเล่นกลองยาวได้ ฝึกการตีกลองยาว หลายจังหวะการตี ซ้อมเพลงใหม่ ๆ เด็กและเยาวชน ให้ความสนใจ และสามารถเรียนรู้ได้เร็ว สามารถซ้อมตามจังหวะที่ครูสอนได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน สามารถ เรียนรู้การตีกลองยาว ฝึกซ้อมการตีกลองยาว จนสามารถรับงานการแสดงการตีกลองยาวได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ หลีกเลี่ยงการมั่วสุมอบายมุขและยาเสพติด

     

    23 23

    35. ลงแขกครั้งที่ 10

    วันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและสมาชิก จำนวน ๒๐ คน กลุ่มร่วมกันพัฒนาพื้นที่ริมคันบ่อที่รกร้างของสมาชิก ให้สามารถ ทำเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ได้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ ที่รกร้าง ริมคันบ่อ สามารถปรับเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชผัก และเลี้ยงปู ปลาได้ ได้พูดคุยกันขณะลงแขก เกิดความเป็นกันเองมากขึ้น ได้รู้ว่า ตอนนี้ คนในชุมชน ทำอาชีพอะไรกันบ้าง ที่ประสพผลสำเร็จ ผลจากการทำกิจการรมลงแขก เกิดความรักความสามัคคี มีบุคคลที่ไม่ใช่ กลุ่มเป้าหมายเข้ามาร่วมในการลงแขกด้วย

     

    20 20

    36. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราช์ญและผู้ที่มีความรู้เรื่องกลองยาวในชุมชน สอนเด็กและเยาวชน จำนวน ๒๐ คน ให้สามารถเล่นกลองยาวได้ ฝึกซ้อมเพลงใหม่ ๆ จังหวะใหม่ ให้คร่อง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสามารถเล่นกลองยาวได้ อย่างคร่องแคล้ว ตีได้ตามจังหวะเพลง หลาย ๆ เพลง คนในชุมชนประทับใจ ในกิจกรรมนี้มาก ปราช์ญในชุมชน ภูมิใจและมีความสุข ที่ได้เห็นลูกหลานพยายามสืบทอด ดนตรีพื้นบ้าน ที่กำลังจะหมดไปกับคนรุ่นเก่่า สร้างสุขให้กับคนทุกวัยในชุมชน

     

    23 23

    37. ลงแขกครั้งที่ 11

    วันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและสมาชิกกลุ่ม จำนวน ๒๐ คน ช่วยกันปรับพื้นที่ในสวนปาร์มของสมาชิก ช่วยกันตัดวัชพืช ในสวนปาร์ม โดยการหลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าหญ้า แล้วยังสามารถ นำเอาเศษวัชพืชมีคลุมโคนปาร์ม เพื่อคุมดิน สร้างความชุ่มชื่นให้กับต้นปาร์ม และย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยชีวภาพในอนาคต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันตัดหญ้าในสวนปาร์มของสมาชิก หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าหญ้า ระหว่างการทำงานได้พูดคุยกัน ทำให้เกิดความเป็นกันเอง เกิดความสามัคคีในการทำงาน เกิดความสุข 

     

    20 20

    38. ลงแขกครั้งที่ 12

    วันที่ 18 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำชุมชน และสมาชิกกลุ่มร่วมกันพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการแยกกันไปทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งพื้นที่กันรับผิดชอบ ทำงานกันให้ลุ่งล่วง ตามพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำ ผู้นำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันพัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์

     

    20 20

    39. ปราชญ์สอนกลองยาวเด็กและเยาวชน

    วันที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำปราชญ์ชาวบ้านและผู้ใหญ่ในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ เรื่องการเล่นดนตรีพื้นบ้าน (กลองยาว) สอนเด็กและเยาวชน ที่มีความสนใจให้สามารถเล่นกลองยาวได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน สอนเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นกลองยาว จนสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้ เด็กและเยาวชน สามารถเล่นกลองยาวได้ดี จนรับงานการแสดงกลองยาวได้ มีการติดต่อให้ไปแสดงกลองยาวตามงานต่างๆ อาทิ เช่น งานทอดกฐินประจำปี งานขึ้นบ้านใหม่  งานแก้บน เป็นต้น หรือแม้แต่การแสดงเพื่อความรื้นเริง

     

    23 25

    40. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชน จำนวน 20 คน ปราชญ์และผู้ใหญ่ในชุมชน จำนวน 3 คน ได้ร่วมกันเรียนรู้และฝึกซ้อม การเล่นกลองยาว หาเพลงใหม่ๆมาให้เด็กได้ฝึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์และผู้ใหญ่ในชุมชนรวมถึงเด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเล่นกลองยาว และยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้เด็กและเยาวชนในชุมชนห่างไกลจาก ยาเสพติด ช่วยสร้างความสามัคคี ปรองดอง ระหว่างบุคคลในชุมชน

     

    23 23

    41. ลงแขกครั้งที่ 13

    วันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำ และ สมาชิกกลุ่ม ร่วมกันตัดหญ้าและถางป่าบริเวณพื้นที่ี่สมาชิกจะใช้ทำการเกษตร ให้กลับมาใช้สอยประโยชน์ได้อีกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำ ผู้นำ รวมสมาชิกกลุ่ม จำนวน 20  คน สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่รกร้าง เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ และ เป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม  เป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างบุคคลในชุมชน ให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง 

     

    20 20

    42. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาชน จำนวน 20 คน ปราชญ์ช่วบ้าน จำนวน 3 คน ได้มีการฝึกซ้อมกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์ และ ผู้ใหญ่ในชุมชน รวมถึงเด็กและเยาวชน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเล่นกลองยาว และ ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้เด็กและเยาวชนในชุมชนห่างไกลจาก ยาเสพติด ช่วยสร้างความสามัคคี ปรองดอง ระหว่างบุคคลในชุมชน

     

    23 23

    43. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้านต้นแบบครั้งที่ 3

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แบบต้นแบบบ้านที่ ๓ บ้านนายเสวียน  แท่นแสง เป็นต้นแบบด้านการทำเกษตรอินทรีย์และการทำน้ำส้มจาก  การเลี้ยงปลากระพง  การปลูกพืชบนคันนา และการเลี้ยงปลา นายเสวียน จะใช้น้ำหมักชีวภาพในการปลูกพืชและการเลี้ยงปลา  ทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืชที่ตัดจากคันนาผสมกับน้ำหมักชีวภาพ  ป่มพักไว้ประมาน  1 เดือน แล้วนำมาเป็นปุ๋ยสำหรับพืชที่ปลูกบนคันนา นายเสวียนเล่าถึงวิธีการทำเกษตรของตนเอง  ที่ประสบผลสำเร็จและสามารถเลี้ยงชีพได้ในปัจจุบัน  สมาชิกกลุ่มซักถาม  แลกเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรซึ่งกันและกัน เวทีนี้เป็นเวทีของทุก ๆ คน  ทุกคนพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและสมาชิกกลุ่มได้ผลสรุปในเรื่องการทำเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์  โดยการทำการเกษตรให้ได้รับผล จะต้องทำแบบผสมกัน อย่าทำอย่างเดียว เพราะในช่วงที่ปลายังขายไม่ได้ จะได้มีรายได้จากพืชผักบนคันนา และการเลี้ยงปลาที่ปราศจากกลิ่นสาบโคลน จะต้องใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำและผสมอาหารให้ปลากิน  เกินการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระพง  กลุ่มผู้เลี้ยงปลานิล  และการปลูกพืชเสริมสำหรับกินในครัวเรือน

     

    40 41

    44. ปราชญ์และผู้ที่มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์ในชุมชนสอนเด็กและเยาวชนให้สามารถเล่นกลองยาวได้  ซักซ้อมเพลงใหม่  และฝึกซ้อมจนคล่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับจังหวะการตีกลองยาวให้เข้ากับจังหวะเพลง ตอนนี้เด็กและเยาวชนสามารถสร้างทีมกลองยาวรับงานแสดงในพื้นที่ได้แล้ว  ชื่อทีมกลองยาวบ้านบางรากไม้

     

    23 23

    45. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้านต้นแบบครั้งที่ 4

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์ที่เป็นบ้านต้นแบบ ได้นำเสนอวิธีการทำการเกษตรของตนเอง มีการปลูกพืชผัก การปลูกปาร์ม การเลี้ยงปลาเชิงธรรมชาติ  การเลี้ยงแพะ  การปลูกพืชผักจะมีการหมักน้ำชีวภาพในการลดผัก ไล่แมลง  การเลี้ยงปลาแบบผสมหลายชนิดให้พึงพากันในระบบนิเวศ  แนะนำสมาชิกที่จะปลูกปาร์มว่า  ให้มีการจัดการที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น มิฉะนั้นจะประสพปัญหาภายหลัง  เช่น  ระยะห่างของต้นปาร์ม  ความกว้างของโคกปาล์ม  พันธ์ปาล์ม  และให้สมาชิกได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปว่าการทำการเกษตรจะให้ได้รับผลผลิตแบบต่อเนื่อง  จะต้องทำการเกษตรแบบผสมผสาน  มีทั้งการเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว  การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะจะได้รับผลผลิตที่หมุนเวียนต่อเนื่องตลอด ตามหลักเศษรฐกิจพอเพียง มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างกลุ่มอาชีพเสมอผ่านทางศูนย์ประสานงานกลุ่ม

     

    40 41

    46. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์ในชุมชนสอนเด็กและเยาวชนที่สนใจเรื่องดนตรีพื้นบ้าน ( กลองยาว ) จำนวน 20 คน ให้สามารถเล่นกลองยาวได้  ฝึกซ้อมวิธีการตีกลองยาวในจังหวะต่างๆ สอนการตีจังหวะกลองยาวให้เข้ากับการร้องเพลง  เด็กพยายามฝึกซ้อมกันอย่างตั้งใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสามารถเล่นกลองยาวได้ หลายจังหวะ และสามารถตีประกอบไปกับการร้องเพลง เด็กได้มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น จิตใจแจ่มใส ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากอบายมุขและยาเสพติด เกิดเป็นวงกลองยาวเด็ก ของชุมชนบ้านบางรากไม้ รับการแสดงได้ สร้างอาชีพให้เด็กและเยาวชน สร้างรายได้ เพื่อเก็บไว้ใช้สอย คนในชุมชนภาคภูมิใจในความสามารภของลูกหลานตนเอง เกิดความรัก ความสามัคคี เกิดความผูกพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ สร้างความบันเทิงให้กับชุมชน คนในชุมชนมีความสุข ลดความเคลียด

     

    23 23

    47. ลงแขกครั้งที่ 14

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำ สมาชิกกลุ่มจำนวน ๒๐ คนร่วมกันถางคันนาบ่อปลาเพื่อปรับสภาพให้เป็นบ่อปลา และปลูกพืชสวนครัวไว้ใช้ในครัวเรื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมารถปรับพื้นที่ที่รกร้าง ให้เป็นบ่อปลา และปลูกพืชผักสวนครัว สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ลดรายจ่าย มีการช่วยเหลือกันมากยิ่งขึ้นระหว่างคนในชุมชน จากการทำกิจกรรมการลงแขก เกิดความรักความสามัคคี เป็นกันเอง เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น จากเมื่อก่อน ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ มีกิจกรรมในชุมชน ประชาชนให้ความร่วมมือกันมากขึ้น

     

    20 20

    48. ปราชญ์และผู้มีความรู้เรืื่องกลองยาวสอนผู้ที่สนใจเข้าร่วม

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00-16 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์ในชุมชนสอนเด็กและเยาวชนที่สนใจ ดนตรีพื้นบ้าน ( กลองยาว ) ให้มีความรู้ความเข้าใจ จังหวะการตีกลองยาว การตีคู่กับการร้องเพลง ฝึกซ้อมเพลงใหม่ จนเกิดความชำนาญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน สามารถเล่นกลองยาวได้อย่างดี รู้จักการตีจังหวะให้เข้ากับเพลง เกิดความรักความสามัคคีระหว่างเด็กในชุมชน เกิดวงกลองยาวบ้านบางรากไม้ ตอนนี้ชุมชนใกล้เคียง เริ่มรู้จักวงกลองยาวเด็กบ้านบางรากไม้ มีการติดต่อให้ไปเล่นในงานวันเด็กที่ ม.๕ บ้านบางวำ ในวันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๗

     

    23 23

    49. ร่วมประชุมกับสจรส.

    วันที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมกับสจรส. เกี่ยวกับ การทบทวนรายละเอียดโครงการ  ข้อมูลในสัญญา  กติกา ระยะเวลาในการส่งรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำได้เข้าใจถึงวิธีการ ป้อนข้อมูล การดูรายละเอียดข้อมูลในสัญญา รับรู้กติกา การส่งรายงาน

     

    3 5

    50. แลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้านต้นแบบที่ 5 และพี่เลี้ยงติดตามโครงการ

    วันที่ 19 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำชุมชน อบต. แกนนำบ้านต้นแบบ เด็กและเยาวชน ร่วมกันเล่าเรื่องการดำเนินงานตามโครงการให้พี่เลี้ยงรับทราบและสัมภาษณ์เพิ่มเติม ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดความร่วมมือของชุมชนดีมาก มีการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วันนี้ ทุกคนได้เล่าและถามตอบกัน พบเรื่องเด่น ๓ เรื่อง และเรื่องดีที่สามารถขยายผลต่อเนื่องได้อีก ๔ เรื่อง ดังนี้ เรื่องดีที่ทุกคนเล่าอย่างมีความสุข ๑) ประทับใจการลงแขก ช่วยให้เกิดความรัก สามัคคีในกลุ่ม และขยายผลการทำงานไปยังอำเภอใกล้เคียงได้ ๒) จากการทำโครงการได้เห็นผลการเรียนรู้และการปรับพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ จนกระทั่งนายก อบต. เห็นผล จึงตั้งข้อบัญญัติของ อบต. เรื่องการสนับสนุนให้มีการลงแขกช่วย สนับสนุนเครื่องมือให้ แต่ชาวบ้านต้องจ่ายค่าน้ำมันเอง ๓)การเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบโดยมีวิทยากรคือเจ้าของบ้านที่เป็นคนปฏิบัติจริงจนงานสำเร็จ ช่วยให้ได้เรียนรู้กับคนที่รู้จริง เป็นปราชญ์ในเรื่องนั้น ช่วยให้มีการดำเนินงานในอาชีพ มีการเรียนรู้เพิ่มจนประสบความสำเร็จได้ ส่วนเรื่องดีที่ขยายผลได้ ๔ เรื่อง คือ ๑) การให้เด็กและเยาวชนมามีส่วนร่วม มีผู็ใหญ่สอนเด็กให้ช่วยดำเนินการ เรียนรู้ร่วมกันในครอบครัวและในเครือญาติ ช่วยให้เด็กและเยาวชนไม่ติดยาเสพติดควรทำต่อเนื่อง ๒) มีการเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบกับผู้ปฏิบัติจริงแล้วควรให้มีการจดบันทึกเพื่อเป็นเอกสารเรียนรู้ของหมู่บ้าน นำมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป ๓)มีเด็กและเยาวชนที่มีความสนใจเรื่องกลองยาวและทำได้ดีอยู่แล้ว สนับสนุนให้เด็กเหล่านี้ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ช่วยพัฒนาทักษะชีวิตในด้านอื่นๆ ได้ด้วย ๔)เกิดบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว ให้เรียนรู้แล้วมาทำ ควรใช้การเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง เช่น วันนี้ที่ประชุมเสนอการแปรรูปปลา เพื่อเพิ่มมูลค่า ควรเรียนรู้เพิ่มเติมและนำมาพูดคุยอีกครั้งเพื่อพัฒนาต่อเนื่อง

     

    40 42

    51. ลงแขกครั้งที่ 15

    วันที่ 25 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ผู้นำกลุ่ม สมาชิก เด็ก เยาวชนร่วมกันพัฒนาพื้นที่ ที่เสื่อมโทรม บริเวณพื่นที่ว่างเปล่า และบริเวณริมขอบบ่อปลา เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การร่วมกันทำกิจกรรมลงแขก ทำให้เกิดกลุ่มแกนนำด้านการเกษตร เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่มสมาชิก การนำสมาชิกในครอบครัว (เด็กและเยาวชน)ร่วมในกิจกรรมการลงแขก ทำให้เด็กและเยาวชนได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการลงแขก ต่อไปในอนาคต 

     

    20 20

    52. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00-17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและผู้นำกลุ่ม สรุปผลการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และวางแผนการทำกิจกรรมคร้้งต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการทำกิจกรรมที่ผ่านไปแล้ว วางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไป แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ แกนนำกลุ่มเข้าใจการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เกิดการประสานงานอย่างต่อเนื่อง เกิดกลุ่มแกนนำทีมีประสิทธิภาพในการทำงาน  สามารถขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย 

     

    20 20

    53. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบบ้านที่ 6

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการให้ปราชญ์บ้านต้นแบบ เล่าถึงวิธีการทำการเกษตรของตนเองที่ประสพผลสำเร็จ และให้ผู้นำกลุ่มเล่าถึงการทำเกษตรในกลุ่มของตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม เล่าถึงวิธีการทำ ปัญหา อุปสรรค และนำสมาชิกทั้งหมดที่มาร่วมจัดเวทีได้เยื่ยมชม การทำการเกษตรของบ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      การทำการเกษตรอินทรีย์ ให้ได้ผลสูงสุด จะต้องให้ธรรมชาติดูแลกันเอง เช่น การปลูกผัก ใช้นำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลงในการไล่แมลง การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้แทนการใช้ปุ๋ยเคมี

     

    40 40

    54. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบบ้านที่ 7

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00:16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรีียนรู้ที่บ้านต้นแบบ โดยปราชญ์บ้านต้นแบบเป็นคนเล่าถึงวิธีการทำการเกษตรที่ประสพผลสำเร็จ และนำสมาชิกทุกคนไปเยี่ยมชม แปลงเกษตรรอบบริเวณที่ทำ มีการเล่า แลกเปลี่ยนการทำงานซึ่งกันและกัน สรุปผลการทำการเกษตรโดยแกนนำ ได้ผลสรุปคือ การทำการเกษตร จะให้อยู่ได้ ต้องทำแบบ ผสมผสาน เพราะช่วงทีปาล์มยังไม่ได้ผล ผลิต จะได้ขายพืชผักไปก่อน พอเลี้ยงชีพ การทำเกษตรให้ได้ผลสูงสุด ต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อม  ช่วงอากาศแบบไหน สมควรทำอะไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำ ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม ชาวบ้านใกล้เคียง ได้เรียนรู้วิธีการทำการเกษตรที่ประสพผลสำเร็จ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการเข้าไปสัมผัสที่แปลงเกษตรโดยตรง ซักถามถึงวิธีการทำ การดูแล และการป้องกันปัญหา รวมถึงวิธีการแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาโดยตรง มีการแลกเปลี่ยนกัน โดยการสอบถาม ซักถาม และการบอกเล่าของปราชญ์บ้านต้นแบบ  มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้บ้านต้นแบบ เกิดปราชญ์บ้านต้นแบบ

     

    40 40

    55. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบบ้านที่ 8

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย ปราชญ์บ้านต้นแบบ เล่าถึงวิธีการทำการเกษตรที่ประสพผลสำเร็จของตนเอง และให้สมาชิกซักถาม พร้อมกับเล่าถึงวิธีการทำงานของตนเอง ปัญหา และอุปสรรค ให้สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าสัมผัสแปลงเกษตรโดยตรง ซักถามปราชญ์บ้านต้นแบบโดยตรง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้รับความรู้จากปราชญ์บ้านต้นแบบโดยตรง สามารถซักถามแลกเปลี่ยนประสพการณ์การทำการเกษตร สัมผัสของจริงในแปลงเกษตรของบ้านต้นแบบ เกิดความรู้เรื่องการทำการเกษตร และนำความรู้และประสพการณ์จากเวทีแลกเปลี่ยน ไปปรับใช้กับการทำการเกษตรของตนเอง ให้ได้รับผลที่ดีกว่าเดิม มีการถ่ายทอดความรู้และประสพการณ์ จากปราชญ์ สู่แกนนำ ผู้นำ สมาชิกกลุ่ม และประชาชนทั่วไป

     

    40 40

    56. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้านที่ 9

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00:16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบ มีการเข้าไปเรียนรู้กันในแปลงเกษตร เล่าและสอบถามถึงวิธีการทำโดยตรงจากปราชญ์บ้านต้นแบบ  เกิดแนวการทำการเกษตรที่แตกต่างกันแต่ละคน  นำเอาวิธีการที่ถูกต้องไปปรับใช้กับตนเอง เกิดขบวนการการเรียนรู้จากประสพการตรง ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดขบวนการเรียนรู้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเข้าไปสัมผัสการทำการเกษตรโดยตรง นำเอาวิธี กระบวนการ การทำการเกษตรที่ประสพผลสำเร็จของบ้านต้นแบบ ไปปรับใช้กับการทำการเกษตรของตนเอง  ทำให้เกิดการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

     

    40 40

    57. จัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบบ้านที่ 10

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์บ้านต้นแบบเป็นผู้นำในการจัดเวที โดยการเล่าถึงวิธีการทำงานของตนเอง และนำสมาชิกที่ร่วมจัดเวที ไปเยี่ยมชมการทำการเกษตรของตนเอง พร้อมตอบข้อซักถามต่างเท่าที่ตอบได้ เกิดขบวนการเรียนรู้จากประสพการณ์ตรง  มีการเล่าสู่กันฟังถึงการทำการเกษตรของกันและกัน  และพร้อมที่จะนำเอาวิธีการที่ถูกต้องไปปรับใช้กับของตน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดขบวนการ การเรียนรู้ เรื่องการทำการเกษตรอินทรีย์ จากปราชญ์ชุมชนโดยตรง สัมผัสและเรียนรู้โดยการเข้าไปเรียนรู้ถึงแปลงจริงๆ สามารถเก็บเกี่ยวทุกๆอย่างที่อย่างรู้โดยสายตา และจากการสอบถาม แลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิกกลุ่ม เพื่อที่จะนำไปพัฒนาการทำการเกษตรของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในวันหน้า  เกิดการช่วยเหลื่อเกื้อกูลกัน ระหว่างสมาชิกกลุ่ม ด้านการทำการเกษตร

     

    40 40

    58. ประชุมกลุ่มแกนนำ

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00-17::00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ และผู้นำกลุ่ม สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา รายละเอียดค่าใช้จ่าย วางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแกนนำกลุ่ม แผนการทำงานของกลุ่ม ขบวนการและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่าง  เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

    20 20

    59. ร่วมประชุกับสจรส.ที่ทวิลโลตัส

    วันที่ 1 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำความเข้าใจ การส่งรายงานงวด ปิดรายงานงวด ตรวจสอบเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบเอกสารการเงิน ปิดรายงานงวด

     

    2 2

    60. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 2 มีนาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม สมาชิกพัฒนาความรู้สามประสาน จำนวน 24 คน พูดคุยสรุปงาน และเตรียมการวันถอดบทเรียน ได้เสนอแนะวิธีการถอดบทเรียน มอบหมายคนทำงานในวันถอดบทเรียน โดยให้แกนนำกลุ่มเตรียมมาเล่าเรื่องผลงานของกลุ่มตัวเอง ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ กลุ่มพืชผัก หลังจากนั้นให้เตรียมความพร้อมคนมาร่วม เชิญวิทยากรมาร่วมถอดบทเรียน ให้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและคณะกรรมการ ได้เสนอแนะแนวทางการถอดบทเรียน ผู้นำกลุ่มทั้งสามกลุ่ม ได้แนวทางในการเตรียมตัว เตรียมสรุปผลงาน เตรียมความรู้เรื่องของตนเอง เพื่อมาเล่าในวันถอดบทเรียน ให้เพื่อนบ้าน และคนที่เข้าร่วมได้ทราบ แกนนำต้องไปติดตามผลการทำกิจกรรมสามประสานของสมาชิกกลุ่มก่อนวันมาเล่าเรื่อง ให้ไปสรุปและฝึกในกลุ่มย่อยก่อน ตามกลุ่มตนเอง แล้วนำมาเล่าในกลุ่มใหญ่ จะได้มีประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

     

    20 24

    61. เรียนรู้เรื่องแพะ

    วันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าของบ้านพาเดินดูและเล่าถึงวิธีการเลี้ยงแพะ ขั้นตอนการดูแล ต้องดูแลอย่างดี มีการฉีดวัคซีน กินแคลเซีมด้วย ช่วยกันซักถาม และสรุปกันทั้งวัน สนุกมาก ได้ความรู้มากด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเลี้ยงแพะทำได้ไม่ยาก ให้ตั้งใจ บ้านนี้เลี้ยงร้อยกว่าตัว ต้องขุนไว้ให้น้ำหนักพอขายได้ มีขั้นตอนการเลี้ยงสำคัญคือ ต้องฉีดวัคซีน ใส่บัตรที่หู ตอนนี้มีมาฉีดถึงบ้าน ต้องช่วยจับฉีด ต้องหาความรู้อยู่เรื่อย ให้แพะเลียแคลเซียม มีการให้ความรู้จากปศุสัตว์ อยู่เรื่อยๆ เลี้ยงดี ใส่ใจ ได้อาชีพ ราคาตัวละ 2000 - 3000 บาท เวลาเลี้ยง อย่าไปซื้อที่เขาโล๊ะทิ้ง ต้องหาพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เอง เกิดแล้วทำแม่พันธุ์ไปเรื่อยๆ 

     

    20 20

    62. ถอดบทเรียนครั้งที่ 1

    วันที่ 8 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานนำพูดคุย ให้สมาชิกกลุ่มเล่าเรื่องที่เตรียมไว้ มีการสัมภาษณ์ความประทับใจ ให้ทุกคนบอกการเปลี่ยนแปลงที่ทำมาในโครงการ เล่าทีละคน พบว่าคนที่ไม่สนใจมาร่วมเพิ่มมาก มาบ่อยในระยะหลัง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปการเล่าเรื่องที่ทำการเกษตรผสมผสานมา 3 ปี ในโครงการของ สสส พบว่า 1. การปลูกพืชผักทำได้ในครัวเรือน ไม่สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำเค็ม สภาพดินไม่เหมาะสม 2. การปลูกพืช เช่น มะพร้าว กล้วย มะละกอ มะขาม ปลูกได้ผลดี มีผลงอกงาม พื้นที่เหมาะสม 3. การเลี้ยงปลา ทำได้ดี โดยเฉพาะปลาพง ซึ่งเป็นปลาาน้ำเค็ม สามารถพัฒนาความรู้ เลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ปลดหนี้ได้ 4. เลี้ยงแพะ ทำได้ดี ทำดีในบ้านที่มีพื้นที่ให้แพะได้เดิน
    5. ปลานิลทำได้บางบ้าน ทำได้ดีเฉพาะบ้านที่มีการกักเก็บน้ำฝนไว้ ต้องใช้น้ำจืดในการเลี้ยงปลานิล 6. ประทับใจการจัดเวทีเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบมาก เนื่องจากได้เห็นภาพโดยตรงที่บ้าน เจ้าของบ้านเกิดความภูมิใจที่มีสมาชิกไปดูผลงานตัวเอง
    7. ประทับใจการลงแขก ต้องคงไว้ให้ต่อเนื่อง เกิดความสามัคคี สนิทสนม สามารถทำงานโดยไม่ต้องใช้งบเลย ออกปากกัน ไปบ้านโน้น บ้านนี้ สนุกมาก 8. กลุ่มเด็กกลองยาว ต้องมีการบริหารจัดการกลุ่มกันเอง เพราะพึ่ง สสส ไม่ได้ ต้องทำแล้วกันผลเป็นกองกลาง ช่วยเด็ก และผู้สูงอายุ ให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พึ่งตนเองในกลุ่มได้

     

    24 24

    63. ถอดบทเรียนครั้งที่ 2

    วันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสามประสานช่วยกันเล่าเรื่องเพิ่มเติม เปรียบเทียบก่อน และหลัง ทำกิจกรรม และช่วยกันเขียนสรุปรายงานผลโครงการ สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลังทำโครงการ พบว่า
    -ได้ความรู้เรื่อง การทำน้ำหมัก การทำปุ๋ยหมัก การศึกษาดูงานนอกพื้นที่ ได้ความรู้มามาก ชอบการจัดเวทีเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบ เห็นผลงาน และเรียนรู้ได้ นำความรู้ตรงนี้มาปรับใช้ในการทำเกษตรของตนเอง เมื่อก่อนทำแบบเดาสุ่ม ไม่รู้เรื่อง ตอนนี้ทำได้แบบมีความรู้ ตอนแรกได้กำไร แค่ 500 บาท แต่ตอนนี้ได้กำไร เป็นแสนบาท
    -ต้องลงมือทำจริง จะได้ผล เช่นการเลี้ยงปลานิล ต้องทำตามสูตร ใช้น้ำหมักบำบัดน้ำ และให้อาหารครบ กินอิ่ม ได้ผล ยิ่งกินมากยิ่งโตเร็ว ได้กำไรมาก พบบ้านต้นแบบเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ บ้านป้าเอียด บ้านจ่าเสริม บ้านน้องเปี้ยว บ้านน้าเตี้ยง คนที่ทำได้ต้องตั้งใจทำ ชอบทำ ได้รับผลคุ้ม แม้ว่าปลูกพืช เช่นกล้วย มะละกอ มะขาม ปลูกทิ้งไว้ก็ได้เงินใช้แล้ว
    -เกิดแรงกระตุ้นจากบ้านต้นแบบ มีการเปลี่ยนแปลง จากบ่อร้าง บ่อรั่ว ปรับปรุงใหม่ ทำมาหากินได้ ได้ทุนคืน ได้อาชีพ ครอบครัวหายเครียด -สมาชิกมีความสุขขึ้น มีรายได้ต่อเนื่อง เมื่อก่อนพบกันก้มหน้า ตอนนี้ไม่ก้มหน้าแล้ว ยิ้มให้กัน ไม่อึดอัด ยิ้มได้ พัฒนาต่อได้ -ตอนนี้กลุ่มกลองยาวเริ่มเห็นภาพการรวมตัวเพื่อทำให้ดีกว่าเดิม มีแรงทำมากขึ้น จากคนที่ไม่คิดทำอะไร เครียดเพราะขาดทุนนากุ้ง ตอนนี้มีการซ้อมทุกวัน ในระยะแรกที่เด็กมาซ้อม จนเป็นกลุ่มชัดแล้ว ขณะนี้มีผู้ใหญ่มาร่วมมาก เพิ่มเติม พัฒนาเป็นกลุ่มได้ สร้างรายได้เป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากทำเกษตรผสมผสานได้
    -กลองยาวมีชื่อเสียง (บนรับ) รับกลองยาวไปแก้บน มีชื่อเสียง
    -ลุงเด็จ ป้าตุ้น มีความสุขมาก จากที่เงียบเหงามานาน ได้ฟื้นฟูกลุ่มกลองยาวแล้ว เกิดความรักและหวงแหนชุดกลองยาวไว้ให้ลูกหลาน

     

    24 23

    64. เผยแพร่ผลงานและสรุปรายงานครั้งที่ 1

    วันที่ 15 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานสรุปกิจกรรมทั้งหมด มีการทำกิจกรรมประชุมกี่ครั้ง ลงแขกกี่ครั้ง จัดเวทีบ้านต้นแบบ ถอดบทเรียนได้อะไรบ้าง ช่วยกันเขียนสรุป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดกิจกรรมครบตามโครงการ มีการจัดมากกว่าที่กำหนดในโครงการ เนื่องจากสมาชิกชอบ เห็นว่าดีมาก ทำกันเองต่อเนื่อง ได้แก่ การลงแขกยังทำกันทุกเดือน เวทีเรียนรู้บ้านต้นแบบ ทำเกินไปสองบ้าน และจะทำเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ตอนนี้ผู้ช่วยผู้ใหญ่ทำบ้านไม่ต้องจ้าง ใช้การลงแขกของสมาชิกช่วยได้ และยังมีงบส่วนที่ สสส ให้ ใช้จ่ายเกี่ยวกับประชุมเหลือ จึงปรึกษากันว่าจัดอีกครั้ง เพื่อเผยแพร่ให้คนในตำบล ทั้ง 7 หมู่บ้าน ได้ร่วมเรียนรู้ ในงานประเพณีสงกรานต์ของ อบต. และได้กำหนดวันประชุมเพื่อที่จะปรึกษาพี่เลี้ยงในวันที่ 23 มีนาคม 2557 นัดแนะกับพี่เลี้ยงเพื่อได้มาช่วยสรุปเพิ่มเติม ก่อนไปโชว์เพื่อทั้งตำบล

     

    20 27

    65. สรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 23 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำพูดคุยเพื่อจัดกิจกรรมต่อเนื่อง แม้หมดโครงการ ประชุมสรุปผลงาน งบประมาณ เบิกจ่ายค่าอื่นๆ จาก สสส แบ่งหน้าที่กันเป็นหัวหน้าทีมทำงานต่อแม้โครงการเสร็จสิ้น ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผลการดำเนินงานให้ทุกคนได้เสนอความคิดเห็น และชี้แจงการใช้จ่ายงบในโครงการ ลงมติการจัดกิจกรรมการเผยแพร่การดำเนินงานให้หมู่บ้านอื่นได้เรียนรุ้ในระดับตำบล ในการจัดงานระดับตำบล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการ ปราชญ์ชาวบ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน ส.อบต. ร่วมกันสรุปผลงานและการวางแผนต่อเนื่อง ดังนี้ 1. ชาวบ้านในหมู่บ้านมาร่วมเรียนรู้การพัฒนาอาชีพแบบสามประสานแล้วนำไปปฏิบัติ เกิดผลลัพธ์ที่ดีทำให้สมาชิกประสบความสำเร้จในการเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก่ และการปลูกพืชตามริมขอบบ่อนากุ้ง ได้ใช้พื้นที่ว่างเกิดประดยชน์ดีมาก 2. มีการรวมกลุ่มการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงปลานิลจนได้เป็นแบบอย่างของตำบล เรื่องการพัฒนาความรู้ ทำเป็นความรู้ของหมู่บ้านได้ และมีกองทุนหมุนเวียนของหมู่บ้านเพื่อดำเนินงานต่อเนื่องได้เอง ทำเป็นกิจกรรมประจำของหมู่บ้าน 3. เกิดเป็นแบบอย่างหมู่บ้านจัดการตนเองได้ มีกลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้านสามารถเคลื่อนงานต่อเองได้แม้สิ้นสุดโครงการของ สสส 4. เกิดความร่วมมือ ความรัก สามัคคีของคนในหมู่บ้าน มีการสอนกลองยาวให้เด็ก และสามารถนำกลองยาวมาเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ การปฏิบัติ ขยายเครือข่าย ให้กับหมู่บ้านได้ 5. เกิดความภูมิใจของคนในหมู่บ้านและในตำบลที่มีเด็กและเยาวชนรวมตัวกันสืบทอดเรื่องการเล่นกลองยาวได้ เกิดความภูมิใจของปราชญ์ชุมชน ที่มีคนสืบทอด 6. ได้คิดพัฒนาต่อยอดกิจกรรมในโครงการต่อเนื่องได้เองโดยหมู่บ้านขับเคลื่อนงานเองได้ ที่ประชุมเสนอแนะและมอบหมายการพัฒนาต่อเนื่อง โดยให้ปราชญ์ชาวบ้าน (ลุงเด็จ คิดกลอนกลองยาว สอนเด็กให้เผยแพร่เรื่องดีดี ของหมู่บ้าน และส่งโครงการนี้เข้าสู่แผนงานของวันที่ 31 อบต. 7. นัดจัดกิจกรรมเผยแพร่โครงการในระดับตำบล ในวันที่ 31 มีนาคม 2557 ณ ลานกีฬาตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก มีคณะกรรมการนำเสนอผลงานในโครงการ และนำผลิตภัณฑ์ไปแสดง มีกลองยาวเด็กไปร่วมถ่ายทอดเรื่องราวการทำโครงการของ สสส ให้คนในตำบลใกล้เคียงได้ทราบ 8. เมื่อเสร็จกิจกรรมสุดท้าย ได้นัดแนะมาจัดทำรายงานพร้อมกันกับพี่เลี้ยง ณ ที่ประชุมหมู่บ้าน มีแกนนำร่วมกันทำต่อ ได้แก่ การลงแขกเดือนละครั้ง เดือนนี้ช่วยทำบ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่ มีงานบุญ ช่วยไปเป็นแม่ครัว ช่วยงานกัน มีการเรียนรู้ที่บ้านต้นแบบเพิ่มเติมต่อเนื่อง เพราะดีมาก และแจ้งที่ประชุมสรุปผลการใช้งบประมาณอื่นๆ จาก สสส

     

    20 24

    66. ร่วมกันสรุปและเผยแพร่ผลงานครั้งที่ 2

    วันที่ 30 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อาจารย์โฆษิต เวทยาวงศ์ โฆษกได้เล่าเรืื่องกิจกรรมโครงการในเวทีใหญ่ตำบล มีการแสดงกลองยาว เล่าเรื่องดีที่เกิดขึ้น โชว์บ้านต้นแบบ และกลุ่มกลองยาวเด็กและเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หมู่บ้านได้งบจาก สสส มาสร้างสุขภาวะชุมชน ทำกิจกรรมแล้ว ได้กิจกรรมของชุมชน มีความรู้เรื่องอาชีพ ทำให้มีอาชีพมั่นคง เกิดกลุ่มอาชีพ มีการสืบสานกลองยาว ที่นำมาแสดงโชว์ในวันนี้ นายก อบต. ให้ความสำคัญมาก ได้ใส่ในแผนตำบลไว้ เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้กลุ่มอย่างต่อเนื่อง และฟื้นฟูกลองยาว ซึ่งเป็นหัวใจของคนรากไม้ ไว้ให้ลูกหลา นำเข้าสู่แผน อบต. เพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไป 

     

    20 66

    67. เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 20 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 พัฒนาศักยภาพแกนนำและผู้นำกลุ่ม ให้สามารถขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย พัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพ ชักนำสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนมาปรับสภาพพื้นที่บ่อรกร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ศูนย์ประสานงานกลุ่มเป็นสื่อกลางของการพัฒนาความรู้และพัฒนาอาชีพ
    ตัวชี้วัด : 1. แกนนำและผู้นำกลุ่มมีศักยภาพด้านความรู้พัมนาอาชีพนำไปปฏิบัติและถ่ายทอดไปยังสมาชิกกลุ่มได้ จำนวน 20 ครัวเรือน 2. สมาชิกกลุ่มได้ใช้ศูนย์ประสานงานกลุ่มในการศึกษาหาความรู้ด้านการประกอบอาชีพเป็นแหล่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ของชุมชน เป็นแหล่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ของหน่วยราชการ โดยมีการเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้ง

    แกนนำและผู้นำกลุ่มมีศักยภาพด้านความรู้พัมนาอาชีพนำไปปฏิบัติและถ่ายทอดไปยังสมาชิกกลุ่มได้ จำนวน 45 ครัวเรือน สมาชิกกลุ่มได้ใช้ศูนย์ประสานงานกลุ่มในการศึกษาหาความรู้ด้านการประกอบอาชีพเป็นแหล่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ของชุมชน เป็นแหล่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ของหน่วยราชการ โดยมีการเรียนรู้เดือนละ 2 ครั้ง จัดงานำเสนอรอบปี ในระดับตำบล

    2 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพจากพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จาการมีส่วนร่วมของคนในทุกวัย
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนทุกวัยมาร่วมพัฒนาพื้นที่เกษตรอืนทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพจากพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ถูมิปัญญาท้องถิ่น ครอบครัวละ 3 คน จำนวน 45 ครัวเรือน รวม 135 คน 2. ครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมาย 45 ครัวเรือน สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพ การเลี้ยงปลากะพงขาว ปลานิล ปูดำ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

    ประชาชนทุกวัยมาร่วมพัฒนาพื้นที่เกษตรอืนทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพจากพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ถูมิปัญญาท้องถิ่น ครอบครัวละ 2-3 คน จำนวน 45 ครัวเรือน รวม 135 คน ครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมาย 45 ครัวเรือน สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพ การเลี้ยงปลากะพงขาว ปลานิล ปูดำ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาศักยภาพแกนนำและผู้นำกลุ่ม ให้สามารถขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย พัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพ ชักนำสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนมาปรับสภาพพื้นที่บ่อรกร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์  โดยใช้ศูนย์ประสานงานกลุ่มเป็นสื่อกลางของการพัฒนาความรู้และพัฒนาอาชีพ (2) 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับส่งเสริมอาชีพจากพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จาการมีส่วนร่วมของคนในทุกวัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    รหัสโครงการ 56-00278 รหัสสัญญา 56-00-0480 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 31 พฤษภาคม 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของกลุ่มคน เรียกว่ากลุ่มสามประสาน เรียนรู้แล้วมาทดลองทำในบ่อกุ้งร้าง ใช้สารอินทรีย์ในท้องถิ่น พัฒนาสูตรการดูแลกันเอง ทำและพัฒนาสูตร ปรับปรุงจนได้ผลดี เป็นชุดความรู้ของกลุ่ม มีบ้านน้องเปี้ยว บ้านป้าเอียด เป็นตัวอย่างให้เพื่อบ้านได้มาเรียนรู้ได้

    ชุดความรู้การเลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้งร้าง

    พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปลานิลในบ่อโดยใช้สารอินทรีย์ ให้เด็กนักเรียน กศน. ได้มาร่วมเรียนรู้ในวิชาเศรษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ปรับพื้นที่เกษตรแบบโดยใช้การลงแขก เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ผู้ไปช่วยลงแขกได้นำเศษวัสดุในพื้นที่มาพัฒนาต่อเพื่อประกอบอาชีพ เช่น เศษต้นกระถินมาทำคอกแพะ ฝักกระถินนำมารับประทาน เป็นต้น นอกจากนี้ในขณะที่ลงแขกได้มีการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาชีพสามประสานจนเกิดความคิดใหม่ในการนำไปพัฒนาอาชีพตนเองได้ จนเกิดผลว่า มีคนนอกโครงการมาขอลงแขกด้วย เพราะเห็นประโยชน์ในการได้รับความรู้ และนอกจากนี้มีการมอบหมายงานตามความถนัด เช่น ผู้หญิงเก็บเศษวัสดุ ผู้ชายตัดหญ้า ถางร่องเกษตร เป็นต้น เกิดการเอื้ออาทร เจ้าของบ้านและคนมาช่วยมีความผูกพันกัน แม้โครงการหมดก็จะทำกันอย่างนี้ต่อเนื่อง

    บ้านของกลุ่มสามประสานในบางรากไม้

    จัดขั้นตอนในกิจกรรมลงแขก ให้เกิดประโยชน์ โดยมีการกำหนดเรื่อง ห้วงเวลา และมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในพื้นที่ล่วงหน้าก่อนปฏิบัติการจริง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านต้นแบบ 20 บ้าน ได้นำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ว่าง ให้เกิดประโยชน์ ร่วมกันลงแขกกับเพื่อบ้าน พัฒนาอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ครอบครัวมีความสสุขมากขึ้น

    บ้านต้นแบบ

    นำความรู้ที่ได้มาพูดคุยกันในการประชุมทุกเดือน และนัดแนะกันลงแขกปรับพื้นที่สม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    เกิดกลองยาวเพื่อสุขภาพโดยปราชญ์ เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ร่วมกันพัฒนาทักาะเด็ก จนเป็นกลองยาวเสริมรายได้เพื่อการศึกษา

    กลุ่มกลองยาวเด็กบางรากไม้

    มีการสืบทอดรุ่นต่อรุ่น ให้มีการฝึกซ้อมกันต่อเนื่อง และพัฒนาวัฒนธรรมอื่นๆ เข้ามาผสมผสาน เช่น ท่ารำกลองยาวที่ถูกหลักความปลอดภัย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ปลดหนี้ได้จากการเปลี่ยนวิธีคิดการประกอบอาชีพ จากเดิมไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ หันกลับมาปรับพื้นที่รกร้างเป็นการทำเกษตร ร่วมกันพัฒนาความรู้จนประสบความสำเร็จ หายเครียด ปลดหนี้

    บ้านต้นแบบ บางรากไม้

    ขยายแนวคิด วิธีคิด แบบนี้ให้กับลูกหลานและเพื่อนบ้าน เพื่อการจัดการตนเองได้ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ปรับพื้นที่เกษตรแบบโดยใช้การลงแขก เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ผู้ไปช่วยลงแขกได้นำเศษวัสดุในพื้นที่มาพัฒนาต่อเพื่อประกอบอาชีพ เช่น เศษต้นกระถินมาทำคอกแพะ ฝักกระถินนำมารับประทาน เป็นต้น นอกจากนี้ในขณะที่ลงแขกได้มีการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาชีพสามประสานจนเกิดความคิดใหม่ในการนำไปพัฒนาอาชีพตนเองได้ จนเกิดผลว่า มีคนนอกโครงการมาขอลงแขกด้วย เพราะเห็นประโยชน์ในการได้รับความรู้ และนอกจากนี้มีการมอบหมายงานตามความถนัด เช่น ผู้หญิงเก็บเศษวัสดุ ผู้ชายตัดหญ้า ถางร่องเกษตร เป็นต้น เกิดการเอื้ออาทร เจ้าของบ้านและคนมาช่วยมีความผูกพันกัน แม้โครงการหมดก็จะทำกันอย่างนี้ต่อเนื่อง

    บ้านต้นแบบ บางรากไม้

    เรียนรู้กันต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ปลดหนี้ได้จากการเปลี่ยนวิธีคิดการประกอบอาชีพ จากเดิมไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ หันกลับมาปรับพื้นที่รกร้างเป็นการทำเกษตร ร่วมกันพัฒนาความรู้จนประสบความสำเร็จ หายเครียด ปลดหนี้

    บ้านต้นแบบ

    ขยายแนวคิด วิธีคิด แบบนี้ให้กับลูกหลานและเพื่อนบ้าน เพื่อการจัดการตนเองได้ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    นำความรู้ที่ปฏิบัติมาเล่าในที่ประชุมทุกเดือน จัดตารางคนพูดในทุกเดือน หมุนเวียนกันพูด

    รายงานประชุมหมู่บ้าน

    สรุปเป็นแนวทาง หรือชุดความรู้ นำไปปฏิบัติแล้วมาทบทวนใหม่อยู่บ่อยๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    ออกข้บัญญัติการพัฒนาพื้นที่รกร้างเป็นพื้นที่ทำเกษตรพอเพียง ให้การสนับสนุนจาก อบต.

    ข้อบัญญัติ และแผนของ อบต.ฝั่งตะวันออก

    ทบทวนแผนและข้อบัญญัติให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เชื่อมโยงกลุ่มอาชีพเกษตรอินทรีย์ในระดับตำบล และอำเภอ ในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นทีมงานพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ

    การจัดเวทีพัฒนาพื้นที่น้ำเค็มเพื่อการประกอบอาชีพ โครงการพระราชดำริ (ลุ่มมน้ำปากพนัง)

    จัดเวทีเรียนรู้กับเครือข่ายตำบล และอำเภอ ในลุ่มน้ำปากพนัง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เชื่อมโยงกลุ่มอาชีพเกษตรอินทรีย์ในระดับตำบล และอำเภอ ในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นทีมงานพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ

    การจัดเวทีพัฒนาพื้นที่น้ำเค็มเพื่อการประกอบอาชีพ โครงการพระราชดำริ (ลุ่มมน้ำปากพนัง)

    จัดเวทีเรียนรู้กับเครือข่ายตำบล และอำเภอ ในลุ่มน้ำปากพนัง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ลุงเด็จ เป็นปราชญ์ชุมชน อดีตเคยเป็นครูสอนกลองยาว แต่ได้หยุดเล่นไปนานแล้ว เนื่องจากมีภาระเรื่องครอบครัว เมื่อมีกิจกรรมในโครงการนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวลุงเด็จ เป็นการฟื้นจิตวิญญาณของลุง ให้กลับมารื้อฟื้้นอีกครั้ง ลุงได้ไปขอบริจาคกลองยาวชำรุดที่โรงเรียน มาซ่อมแซมจนพอได้สอนเด็ก ลุงเริ่มสอนเท่าที่เด็กมาเรียนก่อน ตอนแรกได้ไม่กี่คน แต่ต่อมามีผู้ใหญ่ใจดีมาสมทบอุปกรณ์ดนตรีเพิ่มเติม เช่น คีบอร์ด เครื่องเสียง ชุดกลองยาวของเด็ก ช่วยกันรวบรวมปราชญ์ในชุมชน นักดนตรี มาร่วมสอน พ่อแม่มาดูลูกซ้อมทุกตอนเย็น คนผ่านไปมา ได้ยินเสียงได้แวะชม ช่วยกันให้กำลังใจเด็ก ช่วยกันชื่นชม และช่วยกันสมทบ จนในที่สุดก็ได้กลองยาวเด็กเพื่อสุขภาพ ได้แสดงในงานประเพณีของชุมชน เกิดความภุมิใจประทับใจกับทุกฝ่าย -ขณะฝึกซ้อมได้ออกกำลังกาย ได้รอยยิ้ม ได้ความรู้สึกดี เกิดความรัก ความผูกพัน ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ลูกหลาน เมื่อได้แสดงในงานประเพณี ได้ภาพลักษณ์ของความสามัคคีของกลุ่มสามวัย ได้พัฒนาเป็นรายได้เพื่อการเรียนของเด็ก

    กลุ่มกลองยาวเพื่อสุขภาพเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย บ้านบางรากไม้

    สอนกลองยาวให้เด็ก และสามารถนำกลองยาวมาเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ การปฏิบัติ ขยายเครือข่าย ให้กับหมู่บ้านได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    จากสรุปภาพรวมโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 56-00278

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายชัยวุฒิ ปั้นแป้น 084-0570159 )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด