directions_run

โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง(ต่อยอด)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1. สร้างครอบครัวและชุมชนให้อบอุ่น
ตัวชี้วัด : 1.1 มีลานชุมชนคนสามวัย 1.2 เกิดครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ ร้อยละ 70

 

 

1.1 มีลานชุมชนคนสามวัยที่มีกิจกรรมการจัดเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง โดยจัดที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาลาประชาคมของหมู่บ้าน กิจกรรมของลานชุมชนคนสามวัย ซึ่งให้ผู้สูงวัย และหรือคนวัยทำงาน มาสอนหรือเล่าเรื่องให้เด็กฯ ฟัง ได้แก่ การสอนวิธีทำของเล่นแบบง่าย ๆ เช่น การจักสานตะกร้อ ปลาตะเพียนจากทางมะพร้าว ของเล่นจากก้านกล้วย การสอนทำขนมไทย เช่น ขนมโค ขนมบัวลอย  การเล่านิทานหรือตำนานของชุมชน และการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ในชุมชน เป็นต้น

1.2 จากการร่วมกิจกรรมเข้าค่ายครอบครัวอบอุ่นทำให้ กลุ่มเป้าหมายในชุมชนเกิดครอบครัวอบอุ่นจำนวน 20 ครอบครัว มีการกำหนดว่า 1) ครอบครัวต้องปลอดบุหรี่และสิ่งเสพติดอื่นๆ 2)คนรุ่นปู่/ย่า ตา/ยายต้องชวนลูกหลานไปวัดในวันพระหรือวันสำคัญๆทางศาสนาต้องทำกิจกรรมร่วมกัน 3) ต้องมีการออมในครัวเรือน พร้อมทั้งสัญญาร่วมกันในการเฝ้าระวังเยาวชนทั้งในครัวเรือนตนเองและในชุมชนให้เป็นคนดี เกิดกลุ่มเยาวชน    สีขาวจำนวน 10 คน และขยายเป็น 30 คนทำหน้าที่ดูแลเยาวชนในชุมชนให้ห่างไกลสิ่งเสพติดและให้เป็นจิตอาสา ตลอดเกิดบุคคลต้นแบบลด-ละ-เลิกอบายมุข 80 คนและสามารถเป็นวิทยากรได้ 3 คน

2 ครัวเรือนปลอดหนี้
ตัวชี้วัด : 2.1 ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบคลุมทุกหลังคาเรือน 2.2 สมาชิกชุมชนมีการออมเพิ่มขึ้น 2.3 มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 

 

2.1 ทุกครอบครัวมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ทราบว่าครัวเรือมีรายรับและรายจ่ายไม่สมดุลกันจึงได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครอบครัวในเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำขึ้นเองในครัวเรือน เพื่อบริโภค /แลกเปลี่ยนกันและเหลือนำไปขายเป็นรายได้ครัวเรือน

2.2 มีการส่งเสริมการออมตั้งแต่ปีแรกที่ทำอย่างสม่ำเสมอด้วยการออมวันละบาท โดยมีสมาชิก 110 คน เงินออมในภาพรวมจนถึงปัจจุบัน 200,524 บาท ประกอบกับมีการตั้งธนาคารสุขภาวะเมื่อเดือน ส.ค.ปี57ที่เกิดจากการขายขยะและขายผักในชุมชนเป็นเงิน 3 พันบาทเศษ

2.3 เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่จัดดำเนินการในโรงเรียนบ้านแหลมยางนาโดยผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้ปกครองให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีมีการทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกพืชผักพื้นบ้านปลอดสารพิษและพืชสมุนไพร ส่วนในชุมชนจะมีต้นแบบศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรไทย และเกิดร้านมินิมาร์ทชุมชนปลอดเหล้าปลอดบุหรี่และปลอดสารเสพติดที่ใช้ทางการเกษตรทุกชนิด

3 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : 3.1 มีการสรุปรายงานที่ถูกต้อง 3.2 มีข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การต่อยอดและขยายผลการดำเนินงาน

 

 

3.1มีการจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์พร้อมทั้งแนบรายละเอียดสำคัญที่มีภาพถ่ายกิจกรรมและมีป้ายปลอดบุหรี่ตามที่กำหนดตลอดทั้งโครงการ

3.2 มีการสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและนำข้อเสนอเรื่องครอบครัวอบอุ่นเป็นข้อมูลสู่ชุมชนจัดทำเป็นนโยบายและเสนอต่อผู้บริหารทุกระดับเพื่อประกาศใช้ พร้อมทั้งนำเสนอต่อชุมชนอื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

4 เพื่อสนับสนุนการบริหารและดำเนินงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 4.1 โครงการเข้าร่วมการประชุมกับทางสสส. /สจรส.ม.อ. 4.2 มีรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งสสส. 4.3 มีการถ่ายภาพตลอดโครงการ มีป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่

 

 

มีการเข้าร่วมประชุมกับสสส./สจรส.มอ.ทุกครั้ง มีการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการ พร้อมทั้งแนบรายละเอียดสำคัญที่มีภาพถ่ายกิจกรรมส่งให้กับสสส. และมีป้ายปลอดบุหรี่ตามที่กำหนดตลอดทั้งโครงการ