แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด

ชุมชน ชุมชนต้นหาด

รหัสโครงการ 56-01505 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0947

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2013 ถึง 30 กันยายน 2014

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2013 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2014

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมกรรมการ

วันที่ 24 กันยายน 2013 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คณะกรรมการมีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้คณะกรรมการที่มีคุณภาพเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมจำนวน 15 คน และได้ร่วมกันคัดสรรยุวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมกรรมการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประธานแจ้งคณะกรรมการให้ทราบถึงการได้รับงบประมาณจาก ส.ส.ส
  2. จัดทำปฏิทินโครงการ
  3. คัดสรรและรับสมัครยุวชนเป็นสมาชิกโครงการ

 

15 15

2. ประชุมกรรมการ ครั้งที่2

วันที่ 11 ตุลาคม 2013 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมทีมทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของตนเอง  คณะกรรมการสอบถาม และจำนวนวันลงพื้นที่ และค่าใช้จ่ายเท่าไร ใช้แบบสอบถามข้อมูลนำมาให้ เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 12-19 ตุลาคม 2556 โดยเริมประชุมอบรมแก่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในแบบสอบถาม ส่วนการลงพื้นที่กำหนดไว้ 7วันตั้งแต่ 13-19 ตุลาคม2556  ประธานแจ้งเรื่องบในกิจกรรมนี้ว่ามีค่าอาหาร เครื่องดื่ม แก่เยาวชนที่ลงสำรวจ ที่ประชุมเข้าใจในคำอธิบายของประธาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เรื่องประธานแจ้งให้ทราบ  1.1 จำนวนเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก 50 คน  1.2 จัดอบรมเยาวชนให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ของเยาวชนต่อโครงการ  1.3 จัดอบรมให้เยาวชนเข้าใจแบบสอบถาม-สำรวจข้อมุล  1.4 จัดอบรม-ประชุมในวันที่ 12 ตุลาคม 2556        2. ประธานเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ  2.1 กำหนดวันลงสำรวจข้อมูลของกลุ่มเยาวชนกำหนดระยะเวลา และค่าใช้จ่าย                                                                                                                                                                                      3. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมลงมติ-อนุมัติ 3.1 กำหนดให้วันที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะของกลุ่มเยาวชนเป็นวันที่13-19ตุลาคม2556 3.2 กำหนดค่าใช้จ่ายอาหาร-เครื่องดื่มกับเยาวชนที่ลงสำรวจข้อมูลขยะโดยจ่ายเป็นเงินสดให้คนละ700/ต่อคน ต่อ7วันเพื่อเป็นค่าอาหาร  -ที่ประชุมลงมติ - อนุมัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานแจ้งรายชื่อเยาวชนแก่ คณะกรรมการ และให้รับทราบถึงวันประชุม-อบรม กลุม่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม 2556 เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของตนเอง  คณะกรรมการสอบถามประธานว่าแบบสอบถาม-สำรวจ นำมาจากไหน และจำนวนวันลงพื้นที่ และค่าใช้จ่ายเท่าไร  ประธานชี้แจง ดังนี้ิ แบบสอบถามข้อมูลนำมาจากการค้นคว้า จากอินเตอร์เน็ต และได้เอามาให้คณะกรรมการดู ต่อไปประธานชี้แจงว่าจะเริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่วันที่12-19ตุลาคม 2556 โดยเริมประชุมอบรมแก่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในแบบสอบถาม ส่วนการลงพื้นที่กำหนดไว้7วันตั้งแต่13-19ตุลาคม2556  ประธานแจ้งเรื่องบในกิจกรรมนี้ว่ามีค่าอาหาร เครื่องดื่ม แก่เยาวชนที่ลงสำรวจ ที่ประชุมเข้าใจในคำอธิบายของประธาน

 

15 15

3. จัดทำข้อมูลขยะ

วันที่ 12 ตุลาคม 2013 เวลา 10.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กและเยาวชน กรรมการ มีความเข้าใจในการจัดทำฐานข้อมูลสำรวจ ถ้าพบปัญหาขณะสำรวจมีปราชญ์ชุมชน ผู้รู้คอยให้คำแนะนำในการจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ประทับใจในความร่วมไม้ร่วมมือของกลุ่ม ร่วมกันสำรวจ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน ยินดีเป็นตัวแทนรณรงค์ลดขยะในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนร่วมกับกรรมการจัดทำข้อมูลขยะสำรวจการจัดการขยะในชุมชุมชนการกำจัดขยะ สร้างสัมพันธ์ภาพ แนะนำตัว และชักชวนช่วยกันจัดการขยะ นัดแนะ ให้มาเรียนรู้การจัดการขยะที่จุดรวมทำกิจกรรมของชุมชน โดยแบ่งโซนการสำรวจเป็น 10โซนมีเยาวชนร่วมกับแกนนำทำงานร่วมกันเพื่อให้เข้าใจปัญหาของโซนบ้านตนเอง

กิจกรรมที่ทำจริง

มีกรรมการเยาวชนและกลุ่มแม่บ้านรวม 77 คน ร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ของเยาวชนในการลงสำข้อมูลข้อมูลครัวเรือน แนะนำเอกสาร ทำตัวอย่างให้ฝึกทำแบบสำรวจเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีเอกสารผู้เข้าร่วมโครงการติดไว้ตามบ้าน และรณรงค์สถานที่ปลอดเหล้าและบุหรี่ปิดไว้ที่ครัวเรือนบ้านร่วมโครงการในการสำรวจ กำหนดลงสำรวจ ๗ วัน ตังแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึง 19 ตุลาคม 2556  พร้อมทั้งแนะนำกลุ่มเยาวชนแก่กลุ่มแม่บ้าน

 

65 77

4. ลงพื้นทีสำรวจข้อมูล

วันที่ 13 ตุลาคม 2013 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะได้รับผลสำเร็จ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี เยาวชนได้สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตัว และชักชวนช่วยกันจัดการขยะ นัดแนะให้มาเรียนรู้การจัดการขยะที่จุดรวมทำกิจกรรมของชุมชน มี 194 ครัวเรือน เข้าร่วม กระจายทั่วชุมชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ร่วมมือกันทำงานอย่างมีความสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนร่วมกับกรรมการจัดทำข้อมูลขยะสำรวจการจัดการ ขยะในชุมชน  ออกสำรวจขยะตามบ้านจัดทำฐานข้อมูลในชุมชนการกำจัดขยะ สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตัว และชักชวนช่วยกันจัดการขยะ นัดแนะให้มาเรียนรู้การจัดการขยะที่จุดรวมทำกิจกรรมของชุมชน โดยแบ่งโซนการสำรวจเป็น 10 โซน มีเยาวชนร่วมกับแกนนำทำงานร่วมกัน เพื่อให้เข้าใจปัญหาของโซนบ้านตนเอง

กิจกรรมที่ทำจริง

เยาวชนแบ่งกลุ่มเป็น10กลุ่ม 10โซน โดยแบ่งการรับผิดชอบกลุ่มล่ะ20ครัวเรือนโดยมีเยาวชนเข้าร่วม 53 คน จากนั้นเยาวชนได้ลงสำรวจพื้นที่เป็นกลุ่มได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มแม่บ้านและเยาวชนยังได้ชักชวนเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งได้ร่วมกันติดป้าย ลด ละ เลิก บุหรี่-เหล้าไว้ตามบ้านเรือนที่ลงสำรวจ และยังได้ยุวชนเข้าร่วมโครงการอีก 30 คน เห็นได้ชัดว่าเยาวชนที่ลงสำรวจได้รับการต้อนรับและร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย โดยมี 194 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 

 

65 53

5. ประชุมกรรมการ ครั้งที่3

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุททีมทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการลงพื้นที่สำรวจและร่วมกันดำเนินงานตามโครงการ โดยมีแกนนำเยาวชน คือ นายธีรโชติ แก้วหนู เป็นตัวแทนติดตามผลการทำข้อมูลตามบ้าน แกนนำได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมการลงพื้นที่ และเตรียมกิจกรรมในครั้งต่อไป โดยมอบหมายการทำงานให้คณะกรรมการทุกคนได้ช่วยดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ช่วยประสานงาน บอกชาวบ้า และกระตุ้นให้มีการทำงานครบทั้งชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน ในวันอาทิตย์ คณะกรรมการมีเยาวชนต้นกล้าด้วย มีการประชุมติดตามงาน ทบทวนงาน มอบหมายงาน และสรุปงานเพื่อวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประธานแจ้งให้ทราบ 1.1 การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะของกลุ่มเยาวชนจำนวน50คน  1.2 การลงพื้นที่ของลุ่มเยาวชนได้เชิญชวนกลุ่มแม่บ้านเข้าร่วมโครงการ หน้าบ้าน-น่ามอง  2. ประธานเสนอเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบ  2.1 แจ้งผลค่าใช้จ่าย  3.ที่ประชุมรับทราบ 3.1 จัดตั้งเวทีประชาคมการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการโครงการกลุ่มเยาวชนของโครงการและคณะกรรมการชุมชน 3.2 ประธานและเหรัญญิกรายงานค่าใช้จ่าย ในการประชุมครั้งต่อไป  -ที่ประชุมลงมติ- อนุมัติ

 

15 15

6. วิเคราะห์ข้อมูลขยะและเลือกคณะกรรมการเยาวชนต้นกล้า

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2013 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงาน เด็กและเยาวชน จำนวน 56 คน ร่วมกันเสนอความคิดเห็นข้อมูลขยะที่มีมากตามซอย และตามริมน้ำ ให้มีการจัดกิจกรรมนำขยะออกมาให้หมด ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีมาก มีรางวัลคนทำดีให้เด็ก ได้รับการสนับสนุนเรือจากเทศบาลเมืองปากพนังเพื่อพาเด็ก เยาวชนและกรรมการไปเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะที่ตำบลปากนคร เดินทางโดยทางเรือ และได้เลือกคณะกรรมการเยาวชนต้นกล้า มีประธานกลุ่ม และแกนนำตามซอยครอบคลุมทั้งชุมชน มีคณะกรรมการชุมชนเป็นพี่เลี้ยง ให้มีการดำเนินงานจัดการขยะได้ตามเป้าหมาย ได้ฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการขยะ กลุ่มเยาวชนได้ชักชวนกลุ่มแม่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอข้อมูลโดยเยาวชน ร่วมกับกรรมการ  และมีผู้ทรงคุณวุฒิช่วยดูข้อมูลโดยแบ่ง กลุ่มทำการสาธิตจัดการขยะ เป็น 10 กลุ่ม  และนำเสนอ การทำทุกกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มต้องกำหนดหัวหน้ากลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเยาวชนได้คัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มจำนวน 10 คนออกมากล่าวรายงานการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะของแต่ล่ะกลุ่มคณะกรรมการโครงการได้ทำการคัดเลือกประธานและคณะกรรมการกลุ่มเยาวชนเพื่อดำเนินงานประสานงานกับคณะกรรมการโครงการดังมีรายงานดังนี้  1.นายธีรโชติ แก้วหนู(ประธานเยาวชน)  2.นายศรเพชร วงศ์ขาว(รองประธาน)  3.น.ส.ศจี มัดโต๊ะสน(เลขานุการ)  4.น.ส.ดารณี มัดโต๊ะสน(เหรัญญิก)  5.นายธนพล หนูปาน(กรรมการ)  6.นายทินกร ดอนสกุล(กรรมการ)  7.นายศาลประสิทธ์ น้ำทอง(กรรมการ)  8.นายฉัตรชัย บัวงาม(กรรมการ)  9.นายนิพนธ์ จันทราทิพย์(กรรมการ) 10.นายนิรยุทธ์ จันทราทิพย์(กรรมการ)

 

65 56

7. ประชุมกรรมการ ครั้งที่4

วันที่ 4 มกราคม 2014 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมทีมทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการรับทราบถึงปัญหาและได้ร่วมกันหาวิธีแก้ไขโดยช่วยกันสรุปผล ทบทวน ติดตามการทำงาน และแบ่งหน้าที่กันไปตามกลุ่ม ตามซอยลงติดตาม แล้วมาสรุปผลร่วมกันอีกครั้ง เน้นให้มีคณะกรรมการเด็กและเยาวชนเข้ามาเป็นแกนนำหลักที่สำคัญ เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานตามสัญญาโครงการ ได้ร่วมปรึกษาเพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการช่วยกันจัดทำเอกสารเพื่อรายงานผลการคืบหน้าของโครงการต่อ สสส. และร่วมกันกำหนดกิจกรรมการทำงานในโครงการเพิ่มเติม แบ่งงานกันไปติดตามตามซอยและริมน้ำเพื่อติดตามโครงการให้ครอบคลุมทั้งชุมชน และประสานงานกับเทศบาลเมืองปากพนังให้เข้ามาร่วมติดตามผลร่วมกับชุมชนในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน ในวันอาทิตย์ คณะกรรมการมีเยาวชนต้นกล้าด้วย มีการประชุมติดตามงาน ทบทวนงาน มอบหมายงาน และสรุปงานเพื่อวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมเข้าร่วมการประชุมและได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้ร่วมปรึกษาเพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการช่วยกันจัดทำเอกสารเพื่อรายงานผลการคืบหน้าของโครงการต่อ สสส. และร่วมกันกำหนดกิจกรรมการทำงานในโครงการเพิ่มเติม แบ่งงานกันไปติดตามตามซอยและริมน้ำเพื่อติดตามโครงการให้ครอบคลุมทั้งชุมชน และประสานงานกับเทศบาลเมืองปากพนังให้เข้ามาร่วมติดตามผลร่วมกับชุมชนในครั้งต่อไป

 

15 15

8. ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย เชิญวิทยากรมาสาธิตการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน ให้นำมาทำปุ๋ย

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะ ปรับขยะเป็นปุ๋ยให้เกิดประโยชน์และเรียนรู้ทำต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การคัดแยกขยะ 2.ได้เรียนรู้การนำขยะมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน เศษผักผลไม้ แกนนำและคนในชุมชนสามารถจัดการขยะในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยได้ นำไปรดผัก ล้างห้องน้ำ ใส่ร่องน้ำไม่ให้เหม็นได้
  2. การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในท้องถิ่น โดยมีวิทยากรจากเกษ๖ร และ กศน.
    คือ คุณลำดวน คล้ายโสม เรื่องการคัดแยกและกำจัดขยะ คุณสุรศักดิ์ คงช่วย สอนเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ คุณถาวร เรืองดิษฐ์ สอนการทำปุ๋ยหมัก
    วิทยากรคนที่ 1 คุณลำดวนอบรมก่อน พูดขั้นตอนให้เข้าใจเรื่องการทำอย่างถูกวิธี นำขยะสาธิต ร่วมปฏิบัติการคัดแยกก่อนมาทำปุ๋ย แยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะเคมี และขยะมีค่า เมื่อคัดแยกเสร็จ ก็นำขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทิ้งถังขยะ ส่วนขยะที่มีประโยชน์ก็นำมาด้วยกัน โดยได้นำเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ มาททำน้ำหมักชีวภาพ วิทยากรช่วยสามคน เด็กช่วยกับผู้ใหญ่รวมแล้ว 81 คน นำขยะที่มีค่าแยกรอการขายเป็นทุนให้เด็ก สอนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของขยะ ที่ดูไม่มีค่าแต่มาทำให้เห็นถึงคุณค่าของขยะชัดเจน ทำการแยกขยะในครัวเรือนเป็นตัวอย่างในการอบรมครั้งนี้ หลังจากนั้นให้เยาวชนเอาขยะมาจากบ้าน สาธิตการคัดแยกด้วยตนเอง แบ่งเป็นกลุ่ม เพื่อได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง ช่วยกันดูแล หลังจากนั้น วิทยากร 2 คุณสุรศักดิ์ คงช่วย อบรมเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ ลงมือทำ ให้เข้าใจประโยชน์และวิธีการทำ เริ่มจากนำเศษอาหาร ผัก ผลไม้มาใส่รวมในถังหมัก จากนั้นเอากากน้ำตาลผสมน้ำคนให้เข้ากัน แล้วเติมสารเร่ง พด ลงไป กวนให้เข้ากันดี ปิดฝาไว้ เขียนชื่อเด็กบนฝาไว้ เพื่อให้เด้็กรับผิดชอบ ทิ้งไว้ 20 วันจึงได้น้ำหมักที่ดี จากนั้นช่วยกันทำตามแบบแผนที่อบรม โดยให้เด็กทำสาธิตให้วิทยากรดู เพื่อการเข้าใจได้ทำต่อที่บา้นได้ถูกต้อง ถูกวิธี และได้น้ำหมักไปใช้ประโยชนืได้อย่างแท้จริง
    วิทยากรคนที่ 3 คุณถาวร เรืองดิษฐ์ ได้อบรมขั้นตอน วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใหเห็นถึงคุณประดยชน์และวิธีการทำ อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการเอากากน้ำตาลผสมน้ำเตรียมเอาไว้ แล้วเทขุยมะพร้าวรองพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามด้วยดินและมูลสัตว์ ทำเป็นชั้นและพรหมด้วยกากน้ำตาลจนชุ่ม แล้วเริ่มชั้นใหม่ด้วยขุยมะพร้าง ชั้นดิน ชั้นมูลสัตว์และพรหมด้วยกากน้ำตาลให้ชุ่มปิดด้วยแกรบอีกชั้นหนึ่ง แล้วคลุมผ้าไว้ จากนั้นอีกสองวันมาเปิดผ้ายาง คลุกเล้าให้เข้ากัน คลุมไว้ 1 เดือน จึงได้ปุ๋ยชีวภาพสมบูรณ์ โดยน้ำและกากน้ำตาลต้องผสมสารเร่ง พด ไปด้วย เพื่อเพิ่มการย่อยสลายของมูลสัตว์และขุยมะพร้วและดินด้วยกัน หลังจากนั้นกลุ่มเยาวชนปฏิบัติร่วมกันตามขั้นตอนอีกครั้ง วิทยากรให้คำแนนะนำทุกขั้นตอน หลังจากการอบรมและลงมือปฏิบัติแล้ว ได้ให้ถังหมัก ปุ๋ย อุปกรณ์ ให้กลุ่มเยาวชน และแม่บ้านทุกคน เพื่อนนำไปทำที่บ้าน โดยมีกรรมการและเยาวชนลงพื้นที่ตามบ้านติดตามต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย เชิญวิทยากรมาสาธิตการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน ให้นำมาทำปุ๋ย และเตรียมการทำหน้าบ้านสวยงาม ไว้สำหรับประกวดบ้าน ให้ผู้เข้ารับการอบรมและกลุ่มเยาวชน  รับสมัครผู้สนใจจากผู้เข้ารับการอบรมเป็น สมาชิกเยาวชนต้นกล้ารักษ์ความสะอาดจัดการขยะในชุมชนเพิ่มเติมให้ครบทุกพื้นที่ตั้งแต่ ริมคลอง ริมถนน และในซอย ในกิจกรรมนี้ให้บ้านแกนนำ นำขยะในครัวเรือตนเองมาร่วมการสาธิต โดยแบ่งกลุ่มทำ 10 กลุ่ม และนำเสนอผลการทำทุกกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานโครงการกล่าวนำเสนอผลการทำงานที่ผ่านมา และบอกวันนี้ เพื่อเรียนรู้การจัดการขยะ เชิญวิทยากรมช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ร่วมปกิบัติาช่วยเพิ่มเติมในวันนี้ จากนั้นให้เด็กแบ่งกลุ่มทำ และทบทวนการทำ ติดตามผล คนสนใจมาก เด็กมีความสุข แกนนำเด็กช่วยกันทุกคนเลย

 

100 81

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 23 8                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 211,500.00 83,213.00                  
คุณภาพกิจกรรม 32 25                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมกรรมการ ( 3 พ.ค. 2014 )
  2. สร้างเยาวชนต้นกล้าคุณสะอาด ( 7 มิ.ย. 2014 )
  3. สร้างเยาวชนต้นกล้าคุณสะอาด จัดอบรมผู้เข้าร่วมเยาวชนคุณสะอาด แบ่งกลุ่มเด็กเดินตามซอยจัดการขยะ พัฒนาการทำงานเป็นทีม การพัฒนาชุมชน การมีจิตอาสาเพื่อส่วนร่วม ( 14 มิ.ย. 2014 )
  4. ประชุมคณะกรรมการ ( 15 มิ.ย. 2014 )
  5. ลงพื้นที่ติดตามชุมชน ( 21 มิ.ย. 2014 )
  6. ประชุมทีมกรรมการ ( 22 มิ.ย. 2014 )
  7. ประชุมกรรมการเยาวชนร่วมกับผู้ใหญ่และวางแผนการทำงานต่อเนื่อง ( 28 มิ.ย. 2014 )
  8. เยาวชนติดตามการจัดการขยะในครัวเรือน ( 29 มิ.ย. 2014 )
  9. เยาวชนมาร่วมติดตาม ทำข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อทำต่อเนื่อง ( 5 ก.ค. 2014 )
  10. เรียนรู้การจัดการขยะและติดตามบ้านตัวอย่าง ( 12 ก.ค. 2014 )
  11. ขยายเครือข่ายรณรงค์ความสะอาดจัดการขยะในชุมชน ( 13 ก.ค. 2014 )
  12. ขยายเครือข่ายเพื่อเกิดการจัดการขยะต่อเนื่อง ( 19 ก.ค. 2014 )
  13. ถอดบทเรียน ( 26 ก.ค. 2014 )
  14. สรุปผลงาน ( 27 ก.ค. 2014 )
  15. ประชุมกรรมการ ( 28 ก.ค. 2014 )

(................................)
นายนิยุทธิ์ จันทราทิพย์
ผู้รับผิดชอบโครงการ